-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ปลูกถั่วหลังนา...ประสบการณ์ตรง
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปลูกถั่วหลังนา...ประสบการณ์ตรง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปลูกถั่วหลังนา...ประสบการณ์ตรง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/03/2010 3:00 pm    ชื่อกระทู้: ปลูกถั่วหลังนา...ประสบการณ์ตรง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูก 'พืชตระกูลถั่ว' หลังนา...

เนื่องจากข้าวมีราคาอยู่ในเกณฑ์ สูง ประกอบกับรัฐบาลได้จัดทำโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ ปลูกข้าว เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาทำนาปรังมากขึ้นในช่วงเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี
2552/53 นี้ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดการณ์ว่า จะมีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังประมาณ
9.50 ล้านไร่ แยกเป็น ในเขตชลประทาน 7.50 ล้านไร่ และนอกเขตชลประทาน 2 ล้านไร่ ซึ่ง
หลายพื้นที่ได้เกิด ปัญหาการแย่งชิงน้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะ การข้าวปลูกหนึ่งรอบการผลิต
ต้อง ใช้น้ำปริมาณมากทำให้น้ำไม่พอเพียงกับความต้องการ เป็นอีกหนึ่งประเด็นร้อนที่กำลังถูกจับ
ตา... กระทรวงเกษตรฯ จึงเร่งรณรงค์ให้งดปลูกข้าวนาปรังรอบ 2 และให้ปลูกพืชไร่-ผักที่มีช่อง
ทางการ ตลาดดีทดแทน

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า หลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังรอบที่ 1
แล้ว เกษตรกรควรพักดินและงดทำนาปรังรอบ 2 และควรปลูกพืชชนิดอื่นที่มีลู่ทางการตลาดดี
ทด แทนข้าวนาปรัง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และถั่วลิสง ซึ่งมีแนวโน้มราคาอยู่ในเกณฑ์ดี นอกจาก
เป็น พืชอายุเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อยที่สามารถช่วยประหยัดน้ำ และลดปัญหาการแย่งชิงน้ำเพื่อ
การ เกษตรแล้ว ยังช่วยตัดวงจรปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวได้อีกทางหนึ่งด้วย

เกษตรกรควรจัดระบบการปลูกพืชในนาข้าวใหม่ โดยปลูกพืชตระกูลถั่วสลับกับการทำนาปี-นาปรัง
เช่น ปลูกถั่วเหลืองหลังนา สามารถที่จะช่วยปรับโครงสร้างดินให้สมบูรณ์ขึ้น ได้ ถ้าไถกลบต้นถั่ว
เหลืองลงดินจะมีปริมาณธาตุไนโตรเจนที่ได้จากการสลายตัวของถั่วเหลือง 7 กก.ไนโตรเจน/ไร่
คิดเป็นปริมาณไนโตรเจนในปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 15 กก./ไร่ หรือไนโตรเจนในปุ๋ยแอมโมเนียม
ไน เตรท (21- 0-0) 34 กก./ไร่

เมื่อกลับไปปลูกข้าว เกษตรกรไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอีกเลย คาดว่าจะสามารถ ช่วยลด
ต้น ทุนค่าปุ๋ยไนโตรเจนในนาข้าวทั้งประเทศ ได้ปีละกว่า 4,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังจะมีราย
ได้ เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลผลิตถั่วเหลือง และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตข้าว คิดเป็นมูลค่า
รวม กว่า 12,032 ล้านบาท นอก จากถั่วเหลืองแล้ว อาจปลูกถั่วเขียวหรือถั่วลิสง ซึ่งเกษตรกรจะ
ได้รับ ผลตอบแทนใกล้เคียงกัน และ ที่สำคัญ ยังได้ปรับปรุงโครงสร้างดินในแปลงนาไปในตัวด้วย

นายเทวา เมาลานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร แนะนำว่า การเพาะปลูก
พืชในช่วงฤดู แล้ง เกษตรกรควรคำนึงถึงปริมาณน้ำต้นทุนที่จะหล่อเลี้ยงพื้นที่เพาะปลูกว่ามีเพียงพอ
หรือไม่ เพราะน้ำถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อระบบการผลิต หากปริมาณน้ำไม่เพียงพอเกษตรกร
ไม่ควรทำนาปรังแต่ควรปลูกพืชอายุสั้นและใช้น้ำน้อยแทน โดยเลือกปลูกพืชไร่ที่มีราคา ดี เช่น
ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และถั่วเขียว ซึ่งจะใช้น้ำประมาณ 400-600 ลบ.ม./ไร่/รอบการผลิต ทั้งยังต้อง
มองถึงช่องทางตลาดด้วยว่า พืชชนิดใดที่ตลาดมีความต้องการมากเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน

ขณะเดียวกันยังต้องเลือกใช้เมล็ดพันธุ์พืชพันธุ์ดีที่มีคุณภาพ ให้ผลผลิตสูงและเหมาะกับสภาพ
พื้นที่ อาทิ ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 เชียงใหม่ 2 เชียงใหม่ 5 นครสวรรค์ 1 พันธุ์ขอนแก่น ถั่ว
เขียวพันธุ์ชัยนาท 72 กำแพงแสน 1 กำแพงแสน 2 และพันธุ์ชัยนาท 36 ถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 6
ขอนแก่น 5 พันธุ์กาฬสินธุ์ 1 และกาฬสินธุ์ 2 เป็นต้น

การให้น้ำเป็นเรื่องสำคัญมาก ในช่วงอุณหภูมิสูงไม่ควรให้ขาดน้ำจนพืชเหี่ยวเฉา เพื่อให้การปลูก
ถั่ว เหลือง และถั่วเขียวได้ผลผลิตดีควรให้ น้ำทุก 10-14 วัน พยายามอย่าให้ขาดน้ำ โดยเฉพาะ
ระยะ ที่พืชออกดอกติดฝักไม่ควรให้ขาดน้ำอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้ดอกร่วงไม่ติดฝัก ส่งผล
ให้ได้ ผลผลิตลดลงและเสียหายได้ ส่วนถั่วลิสงควรให้น้ำเมื่อความชื้นในดินลดลง หรือสังเกตต้น
ถั่วเมื่อ ใบเริ่มเหี่ยวในตอนกลางวัน การให้น้ำควรมีช่วงห่างระยะ 10-15 วัน ต่อครั้ง ซึ่งคาดว่าน่าจะ
เป็น แนวทางช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตพืชฤดูแล้งหลังนาได้


ที่มา http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?
page=content&categoryId=344&contentID=52843


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/04/2010 5:42 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 21/03/2010 3:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูกถั่วหลังนา.....ประสบการณ์ตรง :


บริหารเวลา - บริหารดิน :
นาข้าวปีละ 2 รุ่น.....รุ่น 1 หว่าน/ดำ ก.ค. เกี่ยว ต.ค .....รุ่น 2 หว่าน/ดำ พ.ย. เกี่ยว ก.พ. .ทั้ง 2 รุ่นสามารถ +/- 1 เดือนได้.....ช่วงเดือน มี.ค. - เม.ย. - พ.ค. - มิ.ย. เป็นช่วงดินว่าง

เดือน มี.ค. - มิ.ย. ปลูกถั่วเขียว - ถั่วเหลือง - ถั่วแดง - ถั่วดำ - งา - ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ - ทานตะวัน ฯลฯ ซึ่งเป็นพืชไร่ใช้น้ำน้อย หรือต้องน้ำเพียงหน้าดินชื้นเท่านั้น

หมายเหตุ :
ทั้งการทำนาข้าว และพืชไร่ ต้องอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน คือ "มีน้ำ" เพราะต่างก็ต้องการน้ำเหมือนๆ กัน

วัตถุประสงค์ของการปลูกพืชหลังนา หรือช่วงดินว่างเพื่อ....
1.... ไม่เอาผลผลิต แต่เพื่อไถกลบเศษซากบำรุงดินสำหรับการทำนารอบต่อๆ ไป
2.... เอาผลผลิต แล้วไถกลบเศษซากบำรุงดิน


ลงทุนเพื่อลดต้นทุน :
ลงทุน :
1.... จัดสร้างระบบส่งน้ำ ทำครั้งเดียวอยู่ได้นานตลอดไป ใช้น้ำปลูกพืชได้ทุกชนิด
2.... มีรถไถเล็ก ลงทุนครั้งเดียวใช้ได้นานหลายสิบปี ทั้งทำในแปลงส่วนตัวและรับจ้าง
3.... มีเครื่องเก็บเกี่ยวผลผลิตถั่วส่วนตัว ลงทุนครั้งเดียวไช้ได้ตลอดไป
4.... การลงทุนสร้างบ่อบาดาล นอกจากได้ใช้น้ำแล้ว ยังทำให้ที่ดินมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ผลรับ :
1.... มีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตพืชไร่
2.... มีรายได้จากการรับจ้างแปลงข้างเคียง
3.... ได้สภาพดินดีที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืชทุกชนิดในอนาคต
4.... ดินดี ทำให้พืชสมบูรณ์แข็งแรง ส่งผลให้ผลผลิตดี
5.... ดินดี ทำให้พืชสมบูรณ์ แข็งแรง มีภูมิต้านทานสูง ส่งผลให้ไม่มีโรคแมลงรบกวน
6.... อนาคตอาชีพเกษตรกรรมดี


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©