-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 24 JUL *ส้มเขียวหวาน (5)
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 24 JUL *ส้มเขียวหวาน (5)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 24 JUL *ส้มเขียวหวาน (5)

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 24/07/2017 12:05 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 24 JUL *ส้มเขียวหวาน (5) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 24 JUL

AM 594 เวลา 07.35-08.00 (ทุกวัน) และ 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียว ดัก/ล่อ/ฆ่า แมลง ฟลายแอต สเปร์ย,
กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด, ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......


**********************************************************


สายตรง : (087) 562-90xx
สรุปคำถาม : ขอให้เล่าประการณ์ตรงเรื่องส้มเขียวหวาน...
ตอบ : ตกลง...

สายตรง : (062) 449-26xx
สรุปคำถาม : ทำไมต้นส้มเขียวหวานที่ จ.แพร่ จึงอายุยืน ในเมื่อ จนท.เกษตร จ.น่าน ก็ศิษย์สำนักเดียวกันกับ จนท.เกษตร ทั่วประเทศ...
ตอบ : อย่าว่าแต่ต้นส้มเขียวหวานเลย ต้นไม้อื่นๆก็อีหร็อบเดียวกัน ต่างกันที่การปฏิบัติต่อต้นไม้....บำรุงต้นส้มตามใจต้นส้ม ไม่ใช่ตามใจคน ก็เท่านี้แหละ

สายตรง : (061) 748-14xx
สรุปคำถาม : ฟังกลอนนายกทาง ทีวี. เรื่องเกษตรกรแล้วน่าเห็นใจนายก แนวทางที่นายกแนะนำโตช้ามาก มันน่าจะเป็นกระแสให้คนแห่ตามกัน ไม่เหมือนพ่อค้าขายปุ๋ยขายยาที่เกษตรกรส่วนใหญ่เชื่อ ยิ่งขายแพงยิ่งชอบ ถึงขนาดบอกเลยว่า “อั้ยตัวนี้ดีนะ ยิ่งแพงยิ่งดี เอ็งจะหาของดีราคาถูกๆ น่ะไม่มีหรอก....”
ตอบ :
- กลอนนายกฯ ในเนต เกษตรลุงคิมดอทคอม ก็มี....เรื่องนายกฯ บอกแล้วไง ต่อให้อีก 500 นายกฯ ก็ช่วยไม่ได้ คนที่จะช่วยเราได้ คือ “คนในกระจก” เท่านั้น

- เรื่องส้มเขียวหวาน วันนี้พูดทางวิทยุหยุดแค่นี้ ทั้งๆที่ยังมีข้อมูลเหลืออีกมาก กับยังมีคำถามรอคิวอีกเยอะ อย่างที่บอก บางคำถาม ถามสั้นๆบรรทัดเดียว เขียนหนังสือได้เป็นเล่มๆ เพราะฉะนั้น สนใจใคร่รู้จริงๆ ก็ให้ตามไปอ่านในอินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิมดอมคอม ไม่มีอินเตอร์เน็ต ให้ไปที่ร้านอินเตอร์เน็ต ที่เด็กไปเล่นเกมส์กันนั่นแหละ

ประสบการณ์ตรงส้มเขียวหวาน :

(1) ส้มเขียวหวาน ยกร่องน้ำหล่อ หน้าดินสันแปลงไม่มีหญ้าขึ้นแม้แต่ต้นเดียว สวนสะอาดกว่าลานวัด บอกว่า หญ้าแย่งอาหาร-หญ้าแย่งอาหาร เมื่อไม่มีหญ้าแย่งอาหารซักต้นเดียว แล้วทำไมต้นส้มถึงไม่รอดล่ะ สังเกตตอนแล่นเรือปากเป็ดรดน้ำแต่ละครั้ง รดน้ำแล้ว 3 ชม. น้ำถึงซึมลงดินหมด ลองแหวกดินดู น้ำลงไปได้แต่ฝ่ามือเดียว นี่แสดงว่า ดินนั้นทั้งเหนียว ทั้งแน่น นี่คือ ในเนื้อดินไม่มีอินทรีย์วัตถุแม้แต่ชิ้นเดียว ไม่มีสารปรับปรงบำรุงดิน ไม่มีปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก ไม่มีจุลินทรีย์ที่ช่วยให้ดินโปร่ง ร่วนซุย น้ำและอากาศผ่านสะดวก .... ธรรมชาติของพืชทุกชนิด เมื่อมีน้ำที่ไหน รากเขาจะเจริญยาวไปหาน้ำที่นั่น ส้มเขียวหวานสวนยกร่องน้ำหล่อก็เช่นกัน รากต้นส้มจะเจริญยาวไปหาน้ำในร่อง พอไปถึงน้ำแล้วก็เน่า จะเห็นรากปลายกุดเป็นนิ้วด้วนทั้งนั้น เรื่องนี้เจ้าของสวนส้มรู้ดี

(2) ส้มเขียวหวาน ยกร่องน้ำหล่อ ย่านตลาดเขต บางปลาม้า สุพรรณบุรี แนะนำให้เอาน้ำในร่องออก รักษาระดับผิวน้ำถึงสันแปลง 1 ม. จากนั้นเพียง 1 เดือน ส้มเขียวหวานทั้งแปลงแตกยอดใหม่ สมบูรณ์ดีมากๆ

(3) ส้มเขียวหวาน ยกร่องน้ำหล่อ ย่านองค์รักษ์ นครนายก แนะนำให้เอาน้ำในร่องออก รักษาระดับผิวน้ำถึงสันแปลง 1 ม. หาฟางแห้งคลุมแปลงหนาๆ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ สารปรับปรุงบำรุงดิน ให้จุลินทรีย์ เพียง 1 เดือน ส้มทั้งแปลงแตกยอดใหม่ สมบูรณ์ดีมากๆ

(4) ส้มเขียวหวาน ยกร่องน้ำหล่อ ย่านวังน้อย อยุธยา ... ช่วง 3 เดือนแรก บอกให้ใส่น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 2 ล./ไร่/เดือน หลังจากนั้นเพียง 2 เดือน ส้มแตกใบอ่อนใหม่ทั้งสวน ต้นสมบูรณ์ดีมาก เจ้าของเห็นเข้าใจร้อน คราวนี้ใส่น้ำหมักฯ 5 ล./ไร่ อาทิตย์เดียวส้มใบเหลืองร่วงทั้งสวน ครึ่งสวนยืนตาย

เจ้าของสวนบอก “ต่อไปนี้ กูไม่เชื่อผู้พันคิมอีกแล้ว....”
ลุงคิมไปทันที แล้วถาม “มึงไม่เชื่อ กูไม่ว่าอะไร แต่ขอถามหน่อย มึงเชื่อใคร...”
เจ้าของสวนกลับไม่ตอบ
เลยถามว่า ก็ตอนแรกอัตราที่มันดีอยู่แล้ว ทำไมตอนนี้ใช้มากจัง คำตอบคือ
“ใส่น้ำหมักมากๆ อยากให้โตเร็วๆ ....”
"โถ พ่อเจ้าประคุณ คนเรากินข้าว 1 จาน กับกินข้าว 10 จาน เหมือนกันไหม ?....”


(5) ส้มเขียวหวาน ยกร่องน้ำหล่อ ย่านวังน้อย อยุธยา ... เนื้อที่ 200 ไร่ ใช้เรือปากเป็ดรดน้ำ ครั้งละ 2 ลำ ใช้แรงงานพม่า 2 คน ให้น้ำเช้ายันเที่ยง พักเที่ยงขึ้นมากินข้าว บ่ายลงต่อถึง 4 โมงเย็น ใช้ระยะเวลา 7 วันจึงครบรอบ ... คิดดู คนทำงานให้น้ำทุกวัน แต่ต้นส้ม 7 วันได้น้ำครั้งเดียว แนะนำสปริงเกอร์ก็บอก สปริงเกอร์แพง

(6) ส้มเขียวหวาน ยกร่องแห้ง พื้นราบ จ.แพร่ ส้มเขียวหวานบางมด พันธุ์เดียวกันกับที่รังสิต วันนี้ส้มเขียวหวานแพร่อายุ 40-50 ปี ยังให้ผลผลิตดีอยู่ ต้นยิ่งอายุมาก ลูกยิ่งดก คุณภาพยิ่งดี แต่ส้มรังสิตอายุแค่ 4-5 ปีเท่านั้น ต้องปลูกแซม เพราะต้นรุ่นแรกเริ่มทยอยตาย

(7) ส้มโชกุน ยกร่องแห้ง พื้นราบ เชียงใหม่ ตระกูลส้มเปลือกล่อนเหมือนกัน ปลูกมาแล้ว 20-30 ปี ต้นยังอยู่ สมบูรณ์ดีด้วย

(8 ) ส้มเขียวหวาน กำแพงเพชร มีนักวิชาการจากเยอรมันมาทำงานวิจัยในไทย ไปดูสวนส้มเขียวหวานแล้วเปรียบเทียบระหว่าง “แปลงยกร่องน้ำหล่อ ใช้เรือปากเป็ดรดน้ำ กับ แปลงพื้นราบ ใช้ปริงเกอร์รดน้ำ” สรุปว่า แปลงยกร่องน้ำหล่อ ใช้เรือปากเป็ดรดน้ำ มีข้อเสียมากกว่า แปลงพื้นราบ ใช้สปริงเกอร์ .... เยอรมันสงสัย ทำไมเกษตรกรไทยจึง “คิด-วิเคราะห์-เปรียบเทียบ” ไม่เป็น

อนิจจัง วัฏสังขารา....ส้มเขียวหวาน
ส้มเขียวหวานบางมด ปลูกที่ จ.น่าน หรือ จ.แพร่ (ไม่แน่ใจ....ไม่ใช่ประเด็น) ปัจจุบันอายุต้นกว่า 40 ปี นอกจากยังไม่ตายแล้วยังให้ผลผลิตดีเหมือนเดิมเมื่อครั้งต้นยังสาว .... ส้มฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันอายุต้นเกิน 100 ปี นอกจากยังไม่ตายแล้วยังให้ผลผลิตดีเหมือนเดิม แล้วทำไมต้นส้มย่าน รังสิต ธัญญะ หนองเสือ วิหารแดง ฯลฯ จึงมีอายุเพียง 4-8 ปี เท่านั้น หลังจากปลูกรุ่นแรกลงไปแล้ว เมื่ออายุต้นขึ้นปีที่ 4 ชาวสวนจะเริ่มปลูกส้มรุ่นน้องแซมแทรกระหว่างต้นรุ่นแรก นัยว่าเพื่อจะได้มีต้นส้มให้ผลผลิตต่อจากรุ่นพี่ แล้วก็ทำเช่นนี้เรื่อยๆ มา

เกษตรกรดีเด่นระดับชาติ เจ้าของฉายาระบบน้ำหยดแห่ง จ.ชุมพร ปลูกส้มโชกุน บอกว่า “สู้โรคไม่ไหว” โค่นทิ้งทั้งสวนแล้วลงลำไยแทน ก็ให้อดสงสัยไม่ได้ว่า ไม่รู้จักโรคส้ม แล้วรู้จักโรคลำไยหรือ.....ส้มโชกุน. ก็คือพืชตระกูลส้ม เช่นเดียวกันกับ ส้มเขียวหวาน. ส้มโอ. มะกรูด. มะนาว. พวกนี้โรคเดียวกัน

ส้มเขียวหวานย่าน รังสิต. ธัญญะ. หนองเสือ. วิหารแดง. ฯลฯ มีต้นทุนค่า “ปุ๋ยและสารเคมี” ตกราว 100,000 บาท /ไร่ /รุ่น บนเนื้อที่ย่านนี้กับย่านใกล้เคียงรวมกันกว่า 100,000 ไร่ เมื่อคิดรวม 100,000 x 100,000 = ? ถามว่าเงินจำนวนมหาศาลนี้ไปอยู่ในมือใคร

เมื่อวันที่สวนส้มบางมดล่มสลายนั้น วิเคราะห์สาเหตุลึกๆ แล้วพบว่าเกิดจาก สารเคมี (ยาฆ่าหญ้า และสารเคมีกำจัดโรคและแมลง) และปุ๋ยเคมี. เป็นหลัก .... สวนล่มไปหลายปี วันหนึ่งเกิดอัศวินม้าขาว (กุนซือ แปะแบ๊) เข้ามากู้สถานการณ์ ส่งเสริมให้ปลูกส้มเขียวหวานบางมดอีกครั้ง คราวนี้ระมัดระวังในเรื่องของสารเคมีอย่างมาก แต่ก็ไปไม่รอดเพราะ “น้ำทะเล” เปลี่ยนแปล (ส้มเขียวหวานบางมดชอบน้ำแบบ ลักจืดลักเค็ม) เปลี่ยนจากน้ำทะเลสะอาดเป็นน้ำทะเลเสีย เนื่องจากสภาพแวดล้อม แต่ก็ยังพอมีหลงเหลืออยู่บ้างไม่กี่สวนที่ยังยืนหยัดสู้น้ำทะเลเสียได้ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะอึดไปได้สักกี่น้ำ

เมื่อครั้งชาวสวนส้มย่าน รังสิต ธัญญะ หนองเสือ วิหารแดง ฯลฯ ประท้วงโรงฟ้าฟ้าวังน้อย อยุธยา กล่าวหาว่าโรงไฟฟ้าเป็นต้นเหตุปล่อยคลื่นกระแสไฟฟ้า ออกมาทำให้ต้นส้มตาย เรียกร้องค่าเสียหายไร่ละ 20,000 บาท โดยมีน้องสาว สส.ใหญ่ แห่ง จ.ปทุมธานี เป็นแกนนำ ออกเรี่ยไรชาวสาวนส้มที่ได้รับความเสียหายให้ลงขันไร่ละ 50 บาท ถ้าใครไม่ลงขัน เมื่อได้รับเงินช่วยเหลือก็จะไม่ได้รับเงินนั้น เบื้องหลังจริงๆ น้องสาว สส.ใหญ่ คนนี้มีสวนส้มเขียวหวานอยู่ที่ อ.วิหารแดง 3,000 ไร่

โรงไฟฟ้าวังน้อยในฐานะผู้ถูกกล่าวหา ต้องร้องขอนักวิชาการจาก กรมวิชาการเกษตร. และกรมส่งเสริมการเกษตร. มาให้คำตอบถึงสาเหตุที่แท้จริง นักวิชาการจากทั้ง 2 กรม ไม่สามารถยืนยันถึงผลเสียจากโรงไฟฟ้าโดยตรงได้ เพราะไม่เคยมีงานวิจัยเรื่องนี้มาก่อน ทั้งงานวิจัยในประเทศและต่างประเทศ คำยืนยันจากปากนักวิชาการจึงออกมาแบบ อ้อมแอ้ม ๆ ไม่เต็มปากเต็มคำ แต่ค่อนข้างจะเข้าข้างชาวสวนส้ม ซึ่งก็สร้างความพอใจให้แก่ชาวสวนส้มระดับหนึ่งถึงช่องทางที่จะมีโอกาสได้รับค่าชดชยความเสียหายไร่ละ 20,000 สุดท้ายจริงๆ ก็คือไม่มีข้อสรุป

โรงไฟฟ้าไม่อาจจ่ายค่าชดเชยความเสียหายทันทีโดยไม่มีหลักฐานทางวิชาการยืนยันได้ จึงร้องขอนักวิชาการจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. มาชี้ถึงสาเหตุที่แท้จริง คราวนี้นักวิชาการจาก 3 สถาบันหลักดังกล่าว ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันถึงสาเหตุต้นส้มยืนต้นตายเพราะ

1. ดินเป็นกรดจัด เนื่องจากชั้นดินตามธรรมชาติด้านล่างเป็นกรดจัด (กำมะถัน) การขุดร่องน้ำจึงเท่ากับเป็นการเจาะตาดินให้กำมะถันขึ้นมาได้

2. สภาพโครงสร้างดินชั้นบนเสียอย่างรุนแรง สาเหตุมาจาก น้ำในร่องแปลงปลูก. สะสมสารพิษจากยาฆ่าหญ้า. และสารเคมีกำจัดโรคและแมลง. อย่างต่อเนื่องยาวนานหลาย 10 ปี

3. ต้นขาดสารอาหารที่จำเป็น (แม็กเนเซียม. สังกะสี.) กับ ธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน. อย่างรุนแรง ต่อเนื่องมานานหลาย 10 ปี ผลจากการวิเคราะห์ดินแล้วพบว่า ในดินมีฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม. ตกค้างสะสมอยู่ในปริมาณมากจนเป็นอันตรายแก่ต้นส้ม

4. ภายในต้นสะสมสารเคมีกลุ่ม “ค็อปเปอร์ ออกซี่ คลอไรด์” ที่ชาวสวนใช้กำจัดโรคแคงเคอร์.จำนวนมาก สารกลุ่มนี้เมื่อสะสมภายในต้นมากๆ จะยับยั้งขัดขวางระบบลำเลียงสารอาหารจากรากไปสู่ส่วนต่างๆของต้น ทำให้ต้นไม่ได้รับสารอาหารจึงตาย

5. น้ำในร่องสวนเป็นกรดจัด สาเหตุมาจากกำมะถันใต้ดินซึมขึ้นมา กับส่วนหนึ่งเกิดจากละอองสารเคมีฆ่าแมลงปลิวลงไป แล้วชาวสวนก็นำน้ำนั้นขึ้นมารดให้แก่ต้นส้ม

6. ต้นส้มส่วนใหญ่เป็นโรครากเน่าโคนเน่า (ไฟธอปเธอร่า) หรือ “รากถอดปลอก” สาเหตุมาจากดินเป็นกรดจัด

7. ต้นส้มส่วนใหญ่ปลายรากด้วนและเน่า สาเหตุเพราะเมื่อรากเจริญยาวไปถึงน้ำในร่องแล้วจะหยุดการเจริญยาว กลายเป็นรากด้วนไม่สามารถดูดซับสารอาหารได้ เมื่อแนะนำถึงสาเหตุพร้อมคำอธิบายอบย่างละเอียด มีหลักวิชาการรองบรับแล้ว ก็ได้แนะนำวิธีแก้ไข คือ

1. เปลี่ยนวิธีการให้ปุ๋ยโดย ลดธาตุหลัก แล้วเพิ่มธาตุรอง ธาตุเสริม และฮอร์โมน
2. ยกเลิกระบบน้ำหล่อในร่อง โดยนำน้ำออกให้หมด หรือลดระดับผิวน้ำให้ต่ำกว่าสันแปแลง 1-1.20 ม.
3. เลิกใช้ยาฆ่าหญ้า แล้วใช้วิธีตัดแทน
4. เลิกใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลงโดยเฉพาะ ค็อปเปอร์ ออกซี่ คลอไรด์. อย่างเด็ดขาด แล้วหันมาใช้วิธีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชแบบ ไอพีเอ็ม. หรือสารสมุนไพร.แทน

จากคำแนะนำแบบมีเหตุมีผล ทั้งจากภาพลักษณ์ของนักวิชาการที่ไม่มีผลประโยชน์จากผลิตภัณฑ์เคมีเพี่อการเกษตรเข้ามาเกี่ยวข้องนี้ สร้างความไม่พอใจแก่ชาวสวนส้มเป็นอันมาก ถึงขนาดโห่ฮาขับไล่ แล้วไม่ยอมรับคำแนะนำแบบนี้อีกต่อไปอย่างเด็ดขาด

วันเวลาผ่านไปนานนับปี การชุมนุมเรียกร้องจากชาวสวนยังดำเนินไปหลายครั้ง ทุกครั้งก็จะมีการเชิญนักวิชาการจากกรมวิชาการเกษตร. และกรมส่งเสริเมการเกษตร. หน่วยเดิม แต่เปลี่ยนหน้าคนใหม่เท่านั้น ซึ่งคำแนะนำจากหน่วยงานทั้งสองก็ยังอ้อมแอ้มๆ ไม่เต็มปากเต็มคำ เข้าข้างชาวสวนเหมือเดิม

สุดท้ายของเกมส์นี้ :

1. โรงฟ้าฟ้าสนับสนุนให้ชาวสวนที่มีสวนอยู่ติดโรงไฟฟ้าให้ทำสวนส้มบางมด โดยมีนักวิชาการจาก พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร. จุฬาลงกรณ์. และธรรมศาสตร์. เป็นผู้ให้คำแนะนำ ด้วยระยะเวลาผ่านไปเพียง 1-2 ปี ส้มเขียวหวานบางมดสวนนี้เจริญเติบโตให้ผลผลิตดี ถึงวันนี้ที่เวลาผ่านไป 5-6 ปีแล้วก็ยังยืนต้นสมบูรณ์แข็งแรง ให้ผลผลิตดีทั้งคุณภาพและปริมาณ ทั้งๆที่อยู่ติดรั้วโรงไฟฟ้า

2. กลุ่มชาวสวนส้มที่เคยเรียกร้องความเสียหาย ได้อพยพไปหาเช่าที่ดินย่าน กำแพงเพชร. ขอนแก่น. ลพบุรี. ถึง ฝาง เชียงใหม่ รายละ 100-500-1,000 ไร่ แล้วทำสวนส้มเขียวหวานตามแบบเดิม (ยกร่องน้ำหล่อ. สารเคมี-ปุ๋ยเคมี) ทุกอย่าง สูตรเดิมวิธีเดิม ...... สวนส้มแหล่งใหม่บางรายอยู่ได้เพียง 2 ปี ส้มยืนต้นตายทั้งแปลง บางแปลงอยู่ 4 ปียังไม่ให้ผลผลิต หรือให้ผลผลิตไม่คุ้มทุน ...... ถึงวันนี้จริงๆ เหลือน้อยรายมากที่ยังคงทนทำต่อไป แต่ส่วนใหญ่กลับมา รังสิต. ธัญญะ. หนองเสือ. วิหารแดง. ฯลฯ กลับมาแล้วเห็นคนที่ไม่ได้อพยพไปต่างประสบความสำเร็จจากการปรับทัศนคติแนวคิดเรื่องทำการเกษตรใหม่บนแผ่นดินผืนเดิม เห็นแล้วอดกลืนน้ำลายตัวเองไม่ได้


จาก : (082) 183-50xx
ข้อความ : ลุงคิมครับ ส้มเขียวหวาน อายุ 2-3 ปี สวนพื้นราบ ฝนตกชุกแล้วมีน้ำขังโคนต้น แตกใบอ่อนใหม่ พอแก่แล้วเป็นใบแก้ว แก้ไขอย่างไร .... สวนส้มชลบุรี
ตอบ :
- พืชตระกูลส้ม (ส้มเขียวหวาน ส้มโชกุน ส้มโอ ส้มเช้ง ส้มแก้ว มะนาว มะกรูด) มีโอกาสเกิดโรค ใบแก้ว ใบเหลือง หรือกรีนนิ่ง (โรคเดียวกัน) เสมอ

- ส้มชอบน้ำ “ชื้น” (ชื้น ชุ่ม โชก แฉะ แช่) สวนพื้นราบน่าจะทำร่องทางเดินน้ำระหว่างแถว ให้น้ำไหลจากสูงไปต่ำ พร้อมกับพูนโคกหรือสันแปลงให้สูงเข้าไว้ เขาชอบอย่างนั้น

- แตกใบอ่อนแล้วเป็นใบแก้ว เกิดจากความแข็งแรง ความสมบูรณ์สะสม หรือภูมิต้านทานในต้นมีน้อย สาเหตุหนึ่งมาจากระบบรากไม่ดี รากไม่ดีเพราะน้ำขังค้าง งานนี้อาจะมีรากเน่าโคนเน่าแถมด้วย

โรค/แมลงศัตรูพืช พาหะ และวิธีแก้ไข :

โรคกรีนนิ่ง (ใบแก้ว) : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีแมลงเพลี้ยไก่แจ้ส้มเป็นพาหะ .... แก้ไข : บำรุงต้นให้สมบูรณ์เพื่อสร้างภูมิต้านทานในต้น

โรคทริสเตซ่า : (ยางไหล) เกิดจากเชื้อไวรัส มีแมลงเพลี้ยอ่อนส้ม (Toxoptera citricidus) เป็นพาหะนำโรค .... แก้ไข : บำรุงต้นให้สมบูรณ์เพื่อสร้างภูมิต้านทานในต้น

โรครากเน่าโคนเน่า : เกิดจากเชื้อราไฟทอปเธอร่า (Phytophthora parasitica) เป็นเชื้อราในดิน .... แก้ไข : ลด/ละ/เลิก การใส่กรดลงดิน (ปุ๋ยเคมี สารเคมียาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า), ใส่จุลินทรีย์, โรคนี้เกิดจากดินเป็นกรด แก้ไขดินเป็นกรดได้แล้วใส่จุลินทรีย์กลุ่มไตรโคเดอร์ม่า

โรคแคงเกอร์ : มีหนอนชอนใบเป็นพาหะ .... แก้ไข : ฉีดพ่นน้ำปูนใส
เพลี้ยไฟ : พบการระบาดช่วงยอดอ่อน ดอก และผลอ่อน ดูดกินน้ำเลี้ยง .... แก้ไข : ฉีดพ่นน้ำตอนเที่ยงเพื่อสร้างความชื้น

เพลี้ยไก่แจ้ : ดูดกินน้ำเลี้ยงยอดอ่อนส้มที่แตกใหม่ ยอดจะหงิกงอและแห้งตายได้ เป็นพาหะของโรคกรีนนิ่ง .... แก้ไข : ฉีดพ่นสารสมุนไพรกลุ่มเบื่อเมา

เพลี้ยอ่อน : ดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนส้ม ทำให้ใบอ่อนม้วนและหงิกงอ ทำให้เกิดราดำบนใบ เป็นพาหะนำโรคไวรัสทริสเตซ่า .... แก้ไข : ฉีดพ่นสารสมุนไพร น้ำส้มสายชู + เหล้าขาว, เลี้ยงมดแดง

ไรแดงแอฟริกัน : ดูดกินน้ำเลี้ยงบนใบส้มด้านหน้าใบทำให้ใบส้มเปลี่ยนเป็นสีเขียวจางหรือซีดและหน้าใบเป็นมัน และเป็นคราบฝุ่น หรือผงสีขาวอยู่ตามบริเวณหน้าใบ นอกจากนี้ทำลายผลส้มอ่อนอาจทำให้ผลเปลี่ยนเป็นสีซีดและกระด้าง .... แก้ไข : ฉีดพ่นน้ำเปล่าตอนเที่ยงเพื่อสร้างความชื้น

ราสนิม : ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและผลส้ม ทำให้เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลคล้ายสนิม หากทำลายในระยะผลอ่อน ทำให้ชะงักการเจริญเติบโตได้ .... แก้ไข : ฉีดพ่นน้ำเปล่าตอน ตี.5 เพื่อล้างน้ำค้าง

หนอนชอนใบ : หนอนกัดกินเนื้อใบใต้เยื่อผิวใบและชอนไชอยู่ระหว่างผิวใบ การทำลายทั้งด้านหลังใบและหน้าใบ มองเห็นเป็นฝ้าสีขาวกวนตามทางที่หนอนทำลาย ทำให้ใบหงิกงอ และลดประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของใบ เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้เชื้อสาเหตุของโรคแคงเกอร์ เข้าทำลายได้ง่าย .... แก้ไข : ฉีดพ่นสารสมุนไพรกลุ่มเบื่อเมา, เลี้ยงมดแดง

หนอนแก้ว : กัดกินใบอ่อนและใบเพสลาด เมื่อพบเห็นเก็บตัวทำลายได้เลย.... แก้ไข : ฉีดพ่นสารสมุนไพรกลุ่มเบื่อเมา, เลี้ยงมดแดง
หมายเหตุ :
โรคที่เกิดจากการขาดธาตุอาหาร เนื่องจากต้นส้มต้องการธาตุอาหารครบทั้ง 16 ธาตุ และมีความอ่อนแอต่อการขาดธาตุอาหารรอง คือ ธาตุแมกนีเซียม ธาตุสังกะสี และธาตุเหล็ก ต้นส้มที่ขาดธาตุอาหารต่างๆ จึงมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ขนาดใบเล็กลง ใบสีเหลืองเขียวซีด.... การขาดธาตุแมกนีเซียม. ทำให้ใบส้มมีสีเหลือง โดยเส้นกลางใบและพื้นที่ใบบริเวณโคนใบมีสีเขียวเป็นรูปลิ่ม หรือตัววี (V) กลับหัว แต่ถ้าต้นส้มขาดธาตุสังกะสี. ใบส้มจะเขียวซีดหรือเหลือง โดยที่เส้นกลางใบและเส้นแขนงมีสีเขียว โรคที่เกิดจากการขาดธาตุอาหารนี้ เกิดจากการที่ต้นส้มได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ หรือต้นส้มไม่สามารถดูดธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินไปใช้ประโยชน์ได้ การปรับปรุงสภาพและคุณสมบัติของดินที่ปลูกให้มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะ สม โดยการใช้อินทรีย์วัตถุ การให้ธาตุอาหารอย่างสมดุล และเพียงพอแก่ต้นส้มจะสามารถป้องกันและแก้ไขโรคนี้ได้

ประสบการณ์ตรงที่ไร่กล้อมแกล้ม :

- แคงเคอร์ .................................. ใช้น้ำปูนใส
- หนอนแก้ว ................................ เลี้ยงมดแดงจับหนอนกิน
- เชื้อราต่างๆ ............................... ใช้สมุนไพร “เผ็ด + ร้อน”
- เพลี้ยอ่อน ................................. ใช้ เหล้าขาว + น้ำส้มสายชู
- เพลี้ยไฟ ................................... ฉีดน้ำเปล่าตอนเที่ยง
- กรีนนิ่ง (ใบแก้ว), ตริสเตรซ่า (ยางไหล)... ให้แม็กเนเซียม. สังกะสี. ธาตุรอง ธาตุเสริม


เกร็ดความรู้เรื่องส้ม :

* เป็นไม้ยืนต้นอายุยืนหลายสิบปี ทรงพุ่มขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ ส้มโอ ส้มแก้ว และส้มเช้ง ที่ปลูกในประเทศไทยมีอายุยืนนานเกิน 10 ปี บางสวนถึง 20 ปียังให้ผลผลิตดี แต่ส้มเขียวหวานกลับมีอายุเพียง 4-6 ปีต้นตายแล้ว ในขณะที่ส้มเปลือกล่อนของอเมริกา (ฟลอริด้า ซันเครส ฟรีมองต์ ฯลฯ) ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับส้มเขียวหวานอายุนานถึง 100 ปี

* พืชตระกูลส้ม ได้แก่ ส้มเขียวหวาน. ส้มโชกุน. ส้มเช้ง (ส้มตรา-ส้มซ่า-ส้มกา). ส้มแก้ว. ส้มโอ. ส้มมือ. ส้มจี๊ด. ส้มทองเฮง. ส้มเปลือกหวาน. มะนาว. มะกรูด. มะสัง. มะขวิด. สามารถขยายพันธุ์แบบทาบกิ่ง ติดตาหรือเสียบยอดซึ่งกันและกันได้

* ส้มเขียวหวาน ส้มโชกุน เรียกว่ากลุ่ม ส้มเปลือกล่อน เนื่องมาจากคุณลักษณะเฉพาะตัวที่มีเปลือกบาง ล่อนหรือลอกออกจากเนื้อได้ง่ายซึ่งต่างจาก ส้มโอ ส้มเช้ง มะนาว มะกรูด

* ส้มสายพันธุ์ปลูกในกระถาง (ไม้ประดับ) ได้ผลผลิตดี ได้แก่ ส้มกิมจ๊อ หรือกัมควอท(รับประทานได้ทั้งเปลือก). ส้มจี๊ด (คาราเมนติน). ส้มหลอด (ผลหวาน/ผลเปรี้ยว) และส้มใบด่าง.

* ส้มจุก. ของไทยเคยนิยมปลูกมากในเขตภาคใต้ มี 2 สายพันธุ์ คือ จุกใหญ่ และ ไม่มีจุก ปัจจุบันพอมีให้เห็นบ้าง

* เป็นพืชรากลอย ชอบหาอาหารบริเวณหน้าดินไม่ลึกนัก
* ชอบดินที่มีอินทรีย์วัตถุ ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม 3 ส่วน + มูลไก่ 1 ส่วน..... หมักข้ามปี.)ยิบซั่มธรรมชาติ. กระดูกป่น. หญ้าคลุมผิวดินโคนต้น แต่ไม่ชอบยาฆ่าหญ้า-วัชพืช. สารเคมีกลุ่มทองแดง (ค็อปเปอร์ออกซี่คลอไรด์). รากแช่น้ำในสวนยกร่องน้ำหล่อ.

* ติดดอกออกผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่นหรือฤดูกาล เป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ผสมตัวเอง หรือต่างดอกในต้นเดียวกัน หรือต่างดอกต่างต้นได้

* เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

* ปรับปรุงบำรุงดินด้วยยิบ ปุ๋ยคอก ซั่มธรรมชาติและกระดูกป่น ต้นจะตอบสนองดีกว่าใช้ปูนมาร์ล โดโลไมท์ และหินภูเขาไฟ

* การใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่มีส่วนผสมของกากน้ำตาล (หมักใหม่) ค่าความเป็นความกรดสูง (พีเอช 3.0-4.0) นอกจากทำให้หยุดการเจริญเติบโตของผลแล้วยังเป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อรามีลาโนสอีกด้วย

* การใช้สารกลุ่มคอปเปอร์ ออกซี่ คลอไรด์(กำจัดโรคแคงเคอร์)บ่อยๆ จนเกิดอาการสะสมในต้น สารคอปเปอร์ ออกซี คลอไรด์.(ทองแดง) จะขัดขวางการลำเลียงสารอาหารจากรากไปยังส่วนต่างๆของต้น เป็นเหตุให้ต้นไม่ได้รับสารอาหารที่ให้ทั้งทางรากและทางใบ

* โรคกรีนนิ่ง (ใบแก้ว). โรคตริสเตรซ่า (ยางไหล). เป็นเชื้อไวรัสที่ติดมากับสายพันธุ์ซึ่งแพร่หลายออกไปทั่วประเทศจนพูดได้ไม่มีต้นพันธุ์ไม้ผลตระกูลส้มใดปลอดโรคดังกล่าวนี้ และปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีใดๆ กำจัดให้หายขาดได้ แนวทางแก้ไข คือ บำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอเพื่อกดเชื้อไว้ไม่ให้อาการกำเริบ ถ้าต้นอ่อนแอหรือขาดความสมบูรณ์เมื่อใด อาการโรคจะปรากฏออกมาทันที

* ต้นพันธุ์เสียบยอดหรือติดตาบนตอมะสัง. มะขวิด. มะกรูด. ทรอยเยอร์ (ส้มสามใบ). คลีโอพัตรา. สวิงเกิ้ล. มักได้ผลดีเฉพาะช่วงต้นเล็กอายุยังน้อยเท่านั้น เมื่อต้นอายุมากขึ้นจะมีอาการโคนต้น (ตอเดิม) ใหญ่และใหญ่ขึ้นเรื่อยๆตามอายุ เรียกว่า "ตีนช้าง" ในขณะที่ส่วนของพันธุ์ที่นำมาเสียบหรือติดตาจะเล็กหรือโตตามปกติ นอกจากนี้ระบบรากเคยดีเมื่อช่วงต้นเล็กก็จะเปลี่ยนเป็นเลวลง

* ต้นลำเปล้าเดี่ยวๆหรือมีกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 50-80 ซม. ระบบลำเลียงน้ำเลี้ยงจากรากไปสู่ส่วนต่างๆของต้นดีกว่าต้นไม่มีลำเปล้าหรือกิ่งง่ามแรกอยู่ชิดพื้นดิน

* การให้สารรสหวาน (กลูโคส น้ำตาล) เป็นอาหารทางด่วนมากหรือบ่อยเกินไปจะทำให้เกิดอาการใบกร้านและชะงักการเจริญเติบโตได้

* สวนยกร่องน้ำหล่อควรลดระดับน้ำจากสันแปลงถึงผิวน้ำไม่น้อยกว่า 1-1.20 ม. เนื้อดินที่สันแปลงเหนียวแก้ไขด้วยการฉีดอัดจุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศลงไปลึกๆ จุลินทรีย์กลุ่มนี้ช่วยลดความเหนียวจัดของเนื้อดินได้ พร้อมกันนั้นให้ใช้หลักการล่อรากจากใต้ดินลึกให้ขึ้นมาอยู่ที่ผิวดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ รากเกิดใหม่ที่ผิวดินจะทำหน้าที่แทนรากส่วนที่อยู่ลึกใต้ดินได้

* เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นบนส่วนใดส่วนหนึ่งของต้น อย่ารีบด่วนตัดสินใจว่าเป็นเชื้อโรคส้มเพราะลักษณะบางอย่างอาจเกิดจากการขาดธาตุรอง ธาตุเสริม หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมก็ได้

* ช่วงที่ผลกำลังเจริญเติบโตแล้วได้รับอากาศหนาวเย็นสีเปลือกจะมีสีเหลืองเข้มหรือเหลืองอมแสด แต่หากได้รับอากาศร้อนสีเปลือกจะมีสีเขียวจัดหรือมีสีเหลืองเล็กน้อย

* ช่วงผลกำลังพัฒนา ถ้าต้นได้รับไนโตรเจนน้อยผลจะโตช้าหรือไม่โต แต่ถ้าช่วงเดือนสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยวต้นยังคงได้รับไนโตรเจนมาก จุก (เปลือกติดขั้ว) สูง เปลือกหนา รสเปรี้ยว กลิ่นไม่ดี

* ช่วงผลกำลังพัฒนา ถ้าต้นได้รับน้ำไม่เพียงพอหรือไม่สม่ำเสมอ ผลส้มจะมีเส้นรกมาก เปลือกหุ้มกลีบหนาและเหนียว รับประทานแล้วมีชานมาก

* ช่วงผลแก่จัดใกล้เก็บเกี่ยวแล้วได้มีฝนตกชุก และผลอายุแก่เกินมากตัวกุ้ง(เนื้อ) จะแข็งกระด้าง (ข้าวสาร) ล่อนกระจายไม่เกาะกัน แต่หากอายุยังไม่ถึงกำหนดตัวกุ้งเล็ก ฉ่ำน้ำ รกหนา รับประทานไม่อร่อย

* หลังเก็บเกี่ยวลงมาแล้วทิ้งไว้ 3 วัน - 1 เดือน (แล้วแต่ชนิด) ให้ลืมต้นจะได้รสชาติดีขึ้น
* เนื่องจากธรรมชาติของส้มเขียวหวานที่ต้นสมบูรณ์มากมักติดผลดกมาก จึงเป็นภาระที่ต้นต้องหาอาหารส่งไปเลี้ยงผลบนต้นจำนวนมาก ต้นจึงมักจะโทรม กรณีนี้แก้ไขด้วยการให้แม็กเนเซียม อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

* อัตราการใส่ปุ๋ยทางราก 1/2 กก./ต้น/เดือน สำหรับต้นที่ติดผลไม่ดกนัก และอัตราใส่ 1 กก./ต้น/15 วัน สำหรับต้นที่ติดผลดกมาก

* การให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพหมักจากปลาทะเล และมีส่วนสมของกากน้ำตาล อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องนานหลายๆเดือนจะทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต (ไม่แตกใบอ่อน) ดังนั้นการให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพจึงต้องให้อย่างระมัดระวังหรือต้องเฝ้าสังเกตการเจริญเติบโตของต้นอยู่เสมอ ซึ่งบางครั้งอาจต้องหยุดหรือเว้นระยะห่างของการให้บ้าง

* การใช้มูลสัตว์ปีก (ไก่-นกกระทา) เพื่อเสริมการออกดอกนั้นไม่ควรใช้มากจนเกินจำเป็น โดยเฉพาะมูลค้างคาวไม่ควรใช้กับส้มเพราะจะทำให้มีเมล็ดมากและขนาดใหญ่

* ต้นทรงพุ่มรกทึบ ใบมาก จนแสงแดดผ่านรอดเข้าไปไม่ทั่วถึง บริเวณเปลือกลำต้นและกิ่งแก่จะมีราต่างๆ (หลายสี) เกาะจับ แก้ไขด้วยการฉีดพ่นปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือจุลินทรีย์หน่อกล้วยบ่อยๆควบคู่กับตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง ความร้อนจากแสงแดดจะช่วยกำจัดราจับเปลือกได้

(อ้างอิง : หนังสือ ไม้ผลแนวหน้า, หนังสือ หัวใจเกษตรไท)

---------------------------------------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©