-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 6 OCT *สมุนไพรป้องกัน/กำจัดศัตรูพืช(2)
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 6 OCT *สมุนไพรป้องกัน/กำจัดศัตรูพืช(2)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 6 OCT *สมุนไพรป้องกัน/กำจัดศัตรูพืช(2)

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 06/10/2017 6:27 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 6 OCT *สมุนไพรป้องกัน/กำจัดศัตรูพืช(2) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 6 OCT

AM 594 เวลา 07.35-08.00 (ทุกวัน) และ 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด, ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......


**********************************************************


จาก : (069) 740-12xx
ข้อความ : ใช้สารเคมียาฆ่าแมลงพร้อมกับสารสมุนไพรไล่แมลง ต้องใช้อย่างละเท่าไร ต้องใช้บ่อยไหม ยาสมุนไพรต้องใช้ตัวไหนมาก ตัวไหนน้อย....ขอบคุณค่ะ
ตอบ :
- “ต้องใช้บ่อยไหม”
.... บ่อยไม่บ่อย ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
แบบป้องกันก่อนระบาดอาจจะวันเว้นวัน วันเว้นสองวัน วันเว้นสามวัน
แบบกำจัดกำลังระบาดต้องถี่หน่อย วันต่อวัน วันเว้นวัน ....
ใช้ถี่ใช้บ่อย ทำได้หรือทำไม่ได้ขั้นอยู่กับเครื่องมือในการใช้งาน

- “ยาสมุนไพรต้องใช้ตัวไหนมาก ตัวไหนน้อย” .... ใช้สารสมุนไพรทั้งเพื่อป้องกันและกำจัด ใช้ตัวไหนมากตัวไหนน้อย ขึ้นอยู่กับตัวศัตรูพืช ใช้สมุนไพรเพื่อกำจัดตรงกับชนิดศัตรูพืชมาก ใช้สมุนไพรเพื่อกำจัดตรงกับชนิดศัตรูพืชน้อยหน่อย

จาก : (086) 910-36xx
ข้อความ : ที่ไร่กล้อมแกล้มไม่ใช้เป้ฉีดยาแต่ใช้หม้อปุ๋ยไปกับสปริงเกอร์ แล้วใช้ยาสมุนไพรครั้งละกี่ ซีซี. ...
ตอบ :
- ใช้จริงวันนี้ ใส่ทีละโอ้กๆๆ เป้สะพาย 20 ล. ใส่ปุ๋ยครึ่งถ้วยกาแฟ ใส่ยาสมุนไพร 1 ถ้วยกาแฟ (กี่ ซีซี.ไม่รู้) หม้อปุ๋ยหน้าโซน ใส่ปุ๋ย 500 ซีซี. ใส่ยาสมุนไพร 200 ซีซี. .... ใส่เกินใส่มากไม่เป็นไรเพราะทำเอง ใช้แล้วต้นไม้ใบไม่ไหม้ก็ O.K.

- โดยหลักการ คือ ที่ RKK แบ่งแปลงไม้ผลเป็นโซน โซนละ 50 ต้น ใช้เป้สะพายขนาดจุน้ำ 20 ล. + ปุ๋ย 20 ซีซี. + ยาสมุนไพร 100 ซีซี. ฉีดพ่นทีละต้นๆ ๆๆ จนครบทุกต้น ใช้ 5 เป้ .... นั่นคือ พื้นที่ 1 โซน 50 ต้น ใช้ปุ๋ย 5 เป้ x 20 ซีซี. = 100 ซีซี. ใช้สารสมุนไพร 5 เป้ x 100 ซีซี. = 500 ซีซี.

- ใช้น้อย แต่บ่อยครั้ง ดีที่สุด

จาก : (084) 289-61xx
ข้อความ : เรียนผู้พันคิม กรุณาอธิบายวิธี ลด/ละ/เลิก สารเคมี อย่างละเอียด จะบันทึกเทป....ขอบคุณครับ เกษตรกรบ่อพลอย
ตอบ :
- อย่างละเอียดๆ ๆๆ ละเอียดแค่ไหน เรื่องนี้ เรียนระดับปริญญาตรี 4 ปี เขียนหนังสือได้เป็นเล่มๆ พูดได้เป็นปีๆ เวลาที่นี่แค่ 45 นาที พอเหรอ ?

- เรื่องนี้ สำคัญที่ใจ ใจเอาเดี๋ยวเดียวรู้เรื่อง ใจไม่เอา อัดเทป/ฟัง/อ่าน 100ครั้ง 1,000เที่ยวก็ไม่รู้เรื่อง .... ทางออก คือ อ่านจากอินเตอร์เน็ต (ไปร้านอินเตอร์เน็ตที่เด็กๆไปเล่นเกมส์) อ่านจากหนัง รวมสูตรสารสมุนไพร, หัวใจเกษตรไทย,

- ลองเถอะ ไม่ลองไม่รู้แบบ เด่น ดอกประดู ว่า ลองแล้วลองอีก ลองซ้ำหลายครั้ง ลองให้เห็นทั้งสำเร็จ ทั้งไม่สำเร็จ ลงท้ายจะรู้เอง ใครถามพูดได้เต็มปาก ก....ทำกับมือ ม.อย่าเถียง....

ปฏิทิน ลด-ละ-เลิก สารเคมี
------------------------------------------------------------
วันที่............น้ำ....................สมุนไพร.....................สารเคมี
------------------------------------------------------------
1 ............100 ล. .............. 200 ซีซี. .................. 100 ซีซี.
2 ............ - ........................ - ........................... -
3 ............ - ........................ - ........................... -
4 ........... 100 ล. .............. 200 ซีซี. ..................... -
5 ........... - ......................... - ........................... -
6 ........... - ......................... - ........................... -
7 ........... 100 ล. .............. 200 ซีซี. ................... 50 ซีซี.
8 ........... - ......................... - ........................... -
9 ........... - ......................... - ........................... -
10 ......... 100 ล. ............... 200 ซีซี. .................... -
11 ........... - ........................ - .......................... -
12 ........... - ........................ - .......................... -
13 ......... 100 ล. ............... 200 ซีซี. .................. 25 ซีซี.
14 ........... - ........................ - .......................... -
15 ........... - ........................ - .......................... -
16 ......... 100 ล. ............... 200 ซีซี. .................... -
17 ........... - ........................ - .......................... -
18 ........... - ........................ - .......................... -
19 ........ 100 ล. ................ 200 ซีซี. .................. 10 ซีซี.
20 ........... - ........................ - .......................... -
21 ........... - ........................ - .......................... -
22 ......... 100 ล. ............... 200 ซีซี. .................... -
23 ........... - ........................ - .......................... -
24 ........... - ........................ - .......................... -
25 ......... 100 ล. .................. - ......................... 5 ซีซี.
26 ........... - ........................ - .......................... -
27 ........... - ........................ - .......................... -
28 ......... 100 ล. ............... 200 ซีซี. ..................... -
29 ........... - ........................ - ........................... -
30 ........... - ........................ - ........................... -
31 ......... 100 ล. ................ 200 ซีซี. .................. 2.5 ซีซี.

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2474
---------------------------------------------------------------------------------

การปฏิบัติ :
สมุนไพร :

1. ตัวเลขวันที่ หมายถึงวันที่ในปฏิทิน.... ตัวเลข น้ำ 100 ล. สารสมุนไพร 200 ซีซี. หมายถึง อัตราใช้ที่นิยมใช้ตามปกติทั่วไป.... ตัวเลขสารเคมี 100 ซีซี. เป็นตัวเลขสมมุติ โดยตัวเลขที่แท้จริง คือ อัตราใช้ที่ระบุของสารเคมีแต่ละยี่ห้อ

2. เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับชนิดของศัตรูพืช
3. สกัดสมุนไพรให้ได้สารออกฤทธิ์ตามหลักวิชาการ
4. เลือกใช้ "สูตรรวมมิตร" หรือ "สูตรเฉพาะ" ตามความเหมาะสม
5. ฉีดพ่นบ่อยๆ ด้วยมาตรการ "กันก่อนแก้" ด้วยสารสมุนไพรเดี่ยวๆ
6. ฉีดพ่น "สารสมุนไพร + สารเคมี" เมื่อเกิดการระบาด
7. สารออกฤทธิ์ในสมุนไพรไม่เป็นอันตรายต่อแมลงธรรมชาติ
8. สารสมุนไพรได้มาจากพืช เมื่อเข้าสู่ปากใบพืชจึงไม่เป็นพิษต่อพืช
9. ฯลฯ

สารสมุนไพร :
1. ใส่สารสมุนไพรก่อน เพื่อช่วยปรับ Ph น้ำให้เป็นกรดอ่อนๆ แล้วจึงใส่สารเคมี
2 . เลือกสารเคมีที่มีสรรพคุณตรงกับชนิดของศัตรูพืช
3. ใช้สารสมุนไพรตัวเดิมซ้ำ 2-3 รอบ เพื่อความแน่ใจว่าได้ผล

สารเคมี :
1. เลือกสารเคมีที่มีสรรพคุณตรงกับชนิดของศัตรูพืช
2. ใช้สารเคมีเพียง "ยี่ห้อ" เดียว ต่อการใช้แต่ละครั้ง
3. ใช้สารเคมีตัวเดิมซ้ำ 2-3 รอบ เพื่อความแน่ใจว่าเลือกใช้ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง
4. สารเคมีเป็นอันตรายต่อแมลงธรรมชาติ
5. สารเคมีไม่ใช่สารอาหารแต่เป็นสารพิษ เมื่อเข้าสู่ปากใบพืชจึงทำให้ต้นพืชได้รับสารพิษ
6. ผสมสารเคมีทุกครั้งควรปรับค่า pH น้ำให้เป็นกรดอ่อนๆ โดยใส่สารสกัดสมุนไพรก่อนแล้ววัดค่า pH เมื่อได้ค่า pH ตามต้องการแล้วจึงใส่สารเคมีตาม แต่หากใส่สารสมุนไพรแล้ววัดค่า pH ยังไม่ได้ตามต้องการก็ให้ปรับค่า pH ด้วยน้ำส้มสายชู วัดค่า pH อีกครั้ง กระทั่งได้ค่า pH ตามต้องการแล้วจึงใส่สารเคมี
7. ฯลฯ

เหตุผลของปฏิทิน ลด-ละ-เลิก สารเคมี :
1. สารสมุนไพรกับสารเคมีสามารถ "ผสม" หรือ "รวม/ร่วม" กันได้
2. ใช้สารสมุนไพรบ่อยๆ ทุก 3 วัน เพื่อให้ได้ผลทั้ง "ป้องกันและกำจัด"
3. กำหนดการใช้สารเคมีทุก 7 วัน (ตามระบุในฉลาก) จึงเลือกใช้ 7 วัน/ครั้ง ตามฉลาก
4. ศัตรูพืชดื้อต่อสารเคมี แต่จะไม่ดื้อต่อสารสมุนไพร
5. การลดสารเคมีลงครั้งละครึ่งหนึ่งของการให้ครั้งที่แล้ว ได้ผลเพราะศัตรูพืชเริ่มอ่อนแอลง จนกระทั่ง แม้สัมผัสกับสารเคมีเพียงเล็กน้อยก็ตายได้

หลักการและเหตุผล :
- การใช้สมุนไพร "ป้องกัน/กำจัด" ศัตรูพืชมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ (อียิปต์)
- ปัจจุบัน เยอรมันมุ่งค้นคว้าวิจัยเรื่องสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรป้องกัน/กำจัดศัตรูพืชอย่างมาก โดยนำเข้าสะเดาจากอินเดีย ปีละ 50,000 ตัน นำเข้าหางไหลจากอินโดเนเซีย ปีละ 30,000 ตัน นำเข้าหนอนตายหยากจากไทย ปีละ 30,000 ตัน....ผลงานวิจัยได้ตีพิมพ์เป็นเอกสารตำราภาษต่างๆ ทั่วโลก 17 ภาษา ยกเว้นภาษาไทย

- สารออกฤทธิ์ในสมุนไพร ได้รับการค้นคว้าวิจัยโดยนักวิชาการระดับดอกเตอร์ เช่นเดียวกับสารเคมี จึงไม่มีเหตุใดที่จะบอกว่า "เป็นไปไม่ได้ หรือ ไม่น่าเชื่อถือ"

- ชีวิตของศัตรูพืชบอบบางมาก เมื่อสัมผัสกับสารออกฤทธิ์ระดับ พีพีเอ็ม. ก็ตายได้
- วงรอบชีวิตของ หนอน-แมลง ประกอบด้วย "แม่ผีเสื้อ-ไข่-หนอน-ดักแด้" หากช่วงใดช่วงหนึ่งของวงจรชีวิตถูกตัดหรือขาดลง หนอนและแมลงก็หมดไปเอง

- นอกจากสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรเป็นพิษโดยตรงต่อศัตรูพืชแล้ว ยังทำให้สภาพแวดล้อมสำหรับศัตรูพืชเปลี่ยนแปลงจนศัตรูพืชนั้นอยู่ไม่ได้เอง

- ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำตัว ดังนั้นมาตรการเพื่อต่อสู้กับศัตรูพืชที่ดีที่สุด คือ "ป้องกันก่อนกำจัด หรือ กันก่อนแก้" เท่านั้น

- สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญพัฒนาของศัตรูพืช ย่อมไม่เหมาะสมต่อการเจริญพัฒนาของแมลงธรรมชาติ ขณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญพัฒนาของแมลงธรรมชาติ ย่อมไม่เหมาะสมต่อการเจริญพัฒนาของแมลงศัตรูพืช

- สภาพแวดล้อม คือ ความหลากหลาย วิธีต่อสู้กับศัตรูพืชที่ดีที่สุด คือ วิธีป้องกัน/กำจัดแบบผสมผสาน (I.P.M.) เท่านั้น

--------------------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©