-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-แบบทดสอบ O-NET วิชาเกษตร...
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 17-18-19 APR * แตงโม...
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 17-18-19 APR * แตงโม...

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 19/04/2019 5:51 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 17-18-19 APR * แตงโม... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 17-18-19 APR
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

สนับสนุนรายการโดย ....
* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช .... (02) 322-9175-6
http://www.nimut.com/

* ยิบซั่มธรรมชาติ ---- เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์แมกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็มแคล, แคลซี, แคลสตาร์, .... ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ .... (089) 144-1112
http://www.bkgmax.com/kaset/product.html

* บ.มายซัคเซส อะโกร --- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กลิ่นล่อ+กาวเหนียว ดักแมลงวันทอง ฟลายแอต สเปร์ย, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพรไบโอเจ๊ต, ใบมีด ตัดหญ้า+พรวนดิน ในตัวเดียวกัน, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ .... (081) 910-5034
http://www.mysuccessagro.com

* และ ชมรมสีสันชีวิตไทย เกษตรลดต้นทุน อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด แต่ละปัจจัยพื้นฐาน แต่ละวัตถุประสงค์ แต่ละใจเจ้าของ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ที่ (081) 913-4986 โทรศัพท์เข้ารายการคุยกันสดๆ ออกอากาศ สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน (02) 888-0881 และอินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิมดอทคอม เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

-----------------------------------------------------------------------------------


จาก : (085) 963-24xx
ข้อความ : ลุงคิมคะ ขอความรู้เรื่องแตงโมด้วยค่ะ ยังไม่ปลูกแต่อยากรู้....ขอบคุณค่ะ
ตอบ :
เกษตรกรไทยวันนี้...
* รัฐบาลช่วย ให้เงิน....
* ก.เกษตรช่วย ให้ความรู้....
* แต่เกษตรกรรับเงินอย่างเดียว ไม่รับสิ่งที่เรียกว่าความรู้ ....

ที่จริง รัฐบาลช่วย + ช่วยตัวเอง = 2 เด้ง ยกกำลังสอง

รัฐบาลช่วย ช่วย ช่วย ให้ราคาสินค้าเกษตรจากฟาร์มแพงๆ พ่อค้าคนกลางที่รับซื้อมาราคาแพงๆ ก็ต้องขายแพงๆ เป็นธรรมดา แบบนี้ คนกิน/ผู้บริโภค ก็ต้องซื้อแพงด้วยน่ะซี ว่ามั้ย

ผลผลิตจากฟาร์มขายแล้วได้กำไรน้อย อ้างว่าต้นทุนสูง แต่ไม่เคยมีใครถามเลยว่า "ต้นทุนค่าอะไร ? ลดได้ไหม ?"

ทำไมรัฐบาล/หน่วยส่งเสริม ไม่ ส่งเสริม/ให้ความรู้ แก่เกษตรกรในการ บริหาร/จัดการ ต้นทุนการผลิต ทำยังไงให้ ผลผลิตเพิ่ม-ต้นทุนลด-อนาคตดี

ความรู้วิชาการเริ่มจาก สุ. จิ. ปุ. ลิ. เสริมด้วย อ่าน. ดู. ทำ. ใช้. คิด. วิเคราะห์. เปรียบเทียบ. ต่อยอด. ขยายผล. ฟันธง.

* รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม ....
* รู้อะไรรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล....
* รู้แล้วติดตัวไปตลอดชีวิต ทำเองได้ ถ่ายทอดให้ลูกหลานได้ สอนคนอื่นได้ ....
* ความรู้ คือ ศักดิ์ศรี ….

** ความรู้มาจากการเรียน เรียนในสถานศึกษา เรียนด้วยตัวเองที่บ้าน เรียนในแปลง
**เกษตรเรียนในสถานศึกษา เรียนเรื่องเดียวจากครูสอนหน้าห้องคนเดียว จากหนังสือเล่มเดียว ได้รู้แค่นั้น
** ความรู้มาจากการเรียน เรียนด้วยตัวเอง เรียนเรื่องเดียวกัน จากหนังสือหลายๆ ๆๆ เล่ม ย่อมได้รู้มากกว่า
** ความเก่งที่พระเจ้าประทานให้ทุกคนเท่าๆกัน แต่ “แพ้/ชนะ” กันที่โอกาส

แนวทางส่งเสริมของที่นี่ รายการสีสันชีวิตไทย ส่งเสริมให้พัฒนาคนก่อน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ติดอาวุธทางปัญญา ด้วยการทำให้คนมี “ความรู้” เมื่อมีความรู้ก็จะ “พัฒนา-สร้าง-ทำ” อะไรต่ออะไรได้


จาก :
(062) 998-51xx
ข้อความ : ปีนี้ฝนแล้งมาก รัฐบาลบอกให้ปลูกข้าวโพดพืชใช้น้ำน้อย ก็ทำไม่ได้ เพราะใช้น้ำน้อยแต่ไม่มีน้ำ มันต่างกันยังไง กับปลูกแล้วไปขายที่ไหน ลุงคิมมีพืชใช้น้ำน้อยอย่างอื่นแนะนำไหมครับ ...ขอบคุณครับ เกษตรกรปากช่อง
ตอบ :
คำว่า “พืชใช้น้ำน้อย” มาจาก คนพูดเอง-ถามเอง-ตอบเอง ต้นไม้ต้นพืชไม่รู้เรื่อง เขาต้องการเท่าไหร่ ? เมื่อไหร่ ? อย่างไร ? ต้องให้เมื่อนั้น เท่านั้น อย่างนั้น

แนวคิดนี้มาจากเปรียบเทียบกับ “ต้นข้าว” ทั้งๆที่ในความเป็นจริง พืชตระกูลข้าวก็ไม่ได้ใช้น้ำมากขนาดนั้น แต่ต้องใส่น้ำมากๆเพราะต้องเผื่ออนาคตที่น้ำอาจจะน้อย .... ปัญหานี้เป็นเพราะ "ระบบชลประทาน" ของเราไม่ดีนั่นเอง

* ต้นข้าวน้ำมาก น้ำท่วมขังค้าง = ต้นสูง ต้นใหญ่ บ้าใบ รวงสั้น เมล็ดน้อย เมล็ดลีบ ท้องไข่ ไม่มีน้ำหนัก ....
* ต้นข้าวน้ำน้อย น้ำเจ๊อะแจ๊ะ เปียกสลับแห้ง = ต้นไม่สูง แตกกอดีๆ ใบเขียวนานถึงวันเกี่ยว รวงยาว เมล็ดมาก เมล็ดเต็ม เมล็ดแกร่ง เมล็ดใส ไม่ท้องไข่ น้ำหนักดี ....

ปัญหาเรื่องน้ำเกิดจากการ “บริหาร-จัดการ” ผิดพลาดนั่นเอง....

พืชไร่ใช้น้ำน้อยไม่ใช่มีแต่ข้าวโพดเท่านั้น ถั่วเหลือง/เขียว/แดง/ดำ/ขาว, ถั่วลิสง, งา (ราคาดีที่สุด) เปรียบเทียบเนื้อที่ไร่ต่อไร่กับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อย่างไหน MAKE MONEY ได้ดีกว่ากัน

ชาวนาใน ทีวี. ทำนาปลูกข้าวเป็นอย่างเดียว บอกว่า อย่างอื่นปลูกไม่เป็น ไม่มีความรู้ .... นี่คืออะไร ?

ในความเป็นจริง พืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว เขาต้องการน้ำใช้จริง เพื่อหล่อเลี้ยงต้นเพียงวันละ 1 ล. เท่านั้น แต่คนให้ 20 ล. ที่เหลือ 19 ล. คือน้ำที่คนราดรดลงดินเอง

ปรับ/เปลี่ยน การบริหร จัดการน้ำ :
พืชอายุสั้น/ฤดูกาลเดียว/พุ่มเตี้ย (พริก-มะเขือ-กระเจี๊ยบ-ฯลฯ), เถาเลื้อย (แตง-เขือเทศ-ฟัก-มะระ-ฯลฯ) ใช้น้ำจริงต้นละ 1 ล./วัน .... แนวทางปฏิบัติคือ ปลูกในถุง (ภาชนะปลูก) 1 ถุง/1 ต้น หรือ 1 ถุง/2-3-4-5-6 ต้น (ต้นโตขึ้นมาจัดเถาให้เลื้อยไปคนละทิศ รอบถุงปลูก)

1 ต้น 1 ถุง ใช้น้ำ 1 ล. หรือ 2-3-4 ต้น 1 ถุง ใช้น้ำ 1-2 ล. พื้นที่ปลูก 1 ไร่ ปลูก 200-300 ต้น ใช้น้ำจริง 200-300 ล. เท่านั้น .... สิ่งสำคัญที่สุด คือ “เครื่องมือ” ในการให้น้ำ .... ทฤษฎีการปลูกพืชอายุสั้น ฤดูกาลเดียว แบบนี้ ได้ผลสูงมากในอิสราเอล คือ ผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตดี ....

จาก :
(062) 782-36xx
ข้อความ : ลุงคิมคะ ช่วยเล่าเรื่องธรรมชาติของแตงโมให้ฟังหน่อย ว่าเขามีนิสัยอย่าง ไร จะเอาไปสอนวิชาการเกษตรในวิทยาลัยค่ะ ถ้ามีเวลาขอเรื่องปลูกแตงโมไร้เมล็ดด้วยค่ะ .... ขอบคุณค่ะ
ตอบ :
- เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับแตงโม รู้หมดแล้วเหรอ ? น่าจะหาข้อมูลที่เป็นเอกสารไปเก็บไว้โดยเฉพาะในสถานศึกษา เป็นห้องสมุดวิทยาลัย ห้องสมุดส่วนตัว

- วิทยาลัยสำหรับ นักเรียน นักศึกษา คนที่ไม่ได้เป็นนักเรียน นักศึกษา อยู่กับบ้าน อยู่กับสวนก็มีห้องสมุดส่วนตัวได้ไม่ใช่เหรอ ?

ข้อมูล : หนังสือ หัวใจเกษตรไท มินิ, ไม้ผลแนวหน้า :
แตงโม
ลักษณะทางธรรมชาติ :

- เป็นพืชเถาเลื้อยอายุสั้นฤดูกาลเดียว ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกภาคและทุกฤดูกาล เจริญเติบ โตได้ดีในดินร่วนปนทรายหรือดินดำร่วน มีอินทรีย์วัตถุมากๆ ๆๆ ระบายน้ำดี ไม่ทนต่อสภาพน้ำขังค้างต้องการความชื้นในดินสูงแต่ไม่ชอบแฉะ

- ปลูกได้ทุกฤดูกาล โดยมีระบบจัดการเรื่องน้ำเพียงอย่างเดียวให้ถูกต้องเท่านั้น
- อายุต้นตั้งแต่เริ่มงอกถึงออกดอก 20-25 วัน จากนั้นอีก 10-15 วันดอกก็พร้อมผสม อายุผลตั้งแต่ผสมติดถึงแก่เก็บเกี่ยว 30-40 วัน หรือตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยว 65-90 วัน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ว่าเป็นพันธุ์เบาหรือพันธุ์หนัก และการปฏิบัติบำรุง

- การจัดแปลงปลูกแบบพื้นราบ นิยมปลูกเป็นพืชที่สองในนาหลังเกี่ยวข้าวนาปีแล้ว ซึ่งเป็นช่วงหน้าหนาวมีน้ำค้างแรง ช่วยสร้างความชื้นในดินให้แก่แตงโม กับทั้งมีความแห้งแล้งของสภาพอากาศช่วยจึงทำให้แตงโมมีรสชาติดี

การปลูกในภาชนะปลูก (ถุง) บรรจุวัสดุปลูก (ดินปลูกปรุงสำเร็จ สูตรสำหรับพืชที่ปลูก) จัดวางภาชนะปลูกในที่ๆเหมาะสมต่อธรรมชาติของแตงโม เช่น ยกภาชนะปลูกให้พ้นน้ำ (น้ำท่วม) แล้วจัดทำค้างให้เถาเลื้อยขึ้นไปพร้อมกับมีเครื่องยกผล (ตาข่าย) ให้สูงขึ้นพ้นพื้นหรือพ้นน้ำท่วม (สูตรของไต้หวัน-อิสราเอล) ก็สามารถทำได้ โดยเฉพาะการปลูกในช่วงหน้าฝนซึ่งมีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยมากก็จะได้ราคาดี นอกจาก นี้วิธีปลูกในภาชนะปลูกยังสามารถควบคุมปริมาณน้ำ สารอาหาร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ง่ายอีกด้วย

- แปลงปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมควบคุมปริมาณน้ำได้สามารถปลูกได้ตลอดปี ส่วนใหญ่นิยมปลูก 3 รุ่น โดยรุ่นแรกปลูกเดือน ม.ค. เก็บเกี่ยวเดือน มี.ค. - เม.ย. ....รุ่น 2 ปลูกเดือน พ.ค. เก็บเกี่ยวเดือน ก.ค. - ส.ค. ....รุ่น 3 ปลูกเดือน ก.ย. เก็บเกี่ยวเดือน พ.ย. - ธ.ค. โดยรุ่น 3 จะมีคุณภาพดีที่สุดเพราะช่วงผลแก่ตรงกับหน้าแล้ง

- ฤดูหนาวเมล็ดพันธุ์งอกยาก แก้ไขโดยแช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50 องศา + ไคตินไคโตซานหรือธาตุรอง/ธาตุเสริม ทิ้งไว้จนน้ำเย็น แล้วนำขึ้นมาห่มความชื้นในที่อบอุ่น (กลางแดด) เมื่อรากเริ่มงอกก็ให้นำไปปลูกได้

- ดอกตัวผู้ (โคนดอกกลม) กับดอกตัวเมีย (โคนดอกเรียวตรง) แยกกันคนละดอกแต่อยู่ในต้นเดียวกัน ในแต่ละต้นจะมีดอกตัวผู้มากกว่าดอกตัวเมียถึง 7:1 (ดอกตัวผู้ 7 ดอก : ดอกตัวเมีย 1 ดอก) ดอกตัวเมียมักเกิดจากข้อที่ 3-4-9 และ 10 และต่อไปเรื่อยๆ ห่างกันดอกละ 4-5 ข้อใบ

การผสมเกสรต้องอาศัยแมลงเป็นหลัก ถ้าไม่มีแมลงก็ต้องช่วยผสมโดยเด็ดดอกตัวผู้ที่เกสรพร้อมผสมแล้ว ตัดกลีบดอกทิ้งไปเหลือแต่ก้านเกสรไว้ นำก้านเกสรตัวผู้ไปป้ายใส่ให้กับปลายก้านเกสรดอกตัวเมีย หรือใช้พู่กันขนอ่อนแห้งสนิทสะอาดป้ายเกสรตัวผู้ก่อนแล้วไปป้ายใส่เกสรตัวเมียก็ได้ ช่วยผสมเกสรช่วง 07.00-11.00 น.จะได้ผลดีที่สุด

- แปลงปลูกที่ปลอดสารฆ่าแมลงมานานมักมีผึ้งเข้าตอมเกสรช่วง 07.00-10.00 น.เสมอ ช่วงที่ผึ้งเริ่มเข้ามาในแปลงปลูกให้ถือกิ่งไม้เล็กๆแต่ยาวมีใบไล่ โดยโบกแกว่งไปมาช้าๆ พอให้ผึ้งเห็นแล้วรู้ตัวแต่ไม่ตกใจ เริ่มโบกกิ่งไม้ไล่จากหัวแปลงไปทางท้ายแปลง เมื่อผึ้งเห็นกิ่งไม้โบกไล่ไปมาจะบินขึ้นแต่ไม่ตกใจโผบินไปหาดอกต่อไปข้างหน้าระยะทางไม่ไกลนัก ปล่อยให้ผึ้งลงตอมดอกแตงโมดอกชุดใหม่สักครู่ก็ให้โบกกิ่งไม้ไล่อีก ผึ้งก็จะบินขึ้นโผไปหาดอกต่อไปข้างหน้าอีก ปล่อยให้ผึ้งตอมดอกแตงโมสักครู่ก็ให้โบกกิ่งไม้อีก ผึ้งก็จะบินขึ้นโผไปหาดอกต่อไปอีก ทำอย่างนี้เรื่อยไปจนถึงท้ายแปลง ถึงท้ายแปลงแล้วถ้าผึ้งยังติดใจตอมดอกแตงโมอยู่ ก็ให้โบกกิ่งไม้ไล่จากท้ายแปลงย้อนมาทางหัวแปลงด้วยวิธีการเดียวกันอีก จะทำ 2-3 รอบ/วันก็ได้ตราบเท่าที่ผึ้งยังอยู่ หรือทำ 2-3 วันติดต่อกันจนกระทั่งแน่ใจว่าเกสรแตงโมทุกดอกได้รับการถ่ายละอองเกสรจนเป็นที่พอใจแล้วก็ได้ ....

การมีชันโรง (หากินเก่งและขยันหากินมากกว่าผึ้ง) หรือผีเสื้อสวยงามในบริเวณใกล้เคียงเข้ามาช่วยให้ได้ประโยชน์อย่างมาก

- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์ เกิดจากขาดสาร อาหารและฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- แตงโมเป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว อวบน้ำ ย่อมต้องการน้ำสม่ำเสมอ ช่วงออกดอกติดผลจะขาดน้ำไม่ได้เลย การให้น้ำด้วยระบบน้ำหยดจะช่วยแก้ปัญหาน้ำไม่สม่ำเสมอได้ดี

- การเตรียมสารอาหารไว้ในดินปลูกอย่างเพียงพอตั้งแต่ช่วงเตรียมดินจะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตเร็วและสม่ำเสมอดีกว่าการใส่สารอาหารภายหลัง ทั้งนี้ปริมาณสารอาหารที่จะไปหล่อเลี้ยงต้นนั้น 9 ใน 10 ส่วนไปจากดิน

- เมื่อผลโตได้ประมาณ 25% ของขนาดผลเมื่อโตเต็มที่ ควรใช้ฟางหรือหญ้าแห้งหนาๆ รองผลเพื่อป้องกันผิวผลติดพื้นดิน แล้วให้กลับผลทุก 7-10 วัน เพื่อให้ด้านที่ไม่ได้แสงแดดได้รับแสงแดดแล้วสีผลจะเข้มเท่ากันทั้งผล

- สังเกตผลแก่ โดยดูที่มือเกาะอันที่ใกล้ผลที่สุดเริ่มเหลืองและเริ่มแห้ง หรือนวลใบเริ่มจาง
- หลังจากเก็บผลมาแล้วปล่อยทิ้งให้ลืมต้น 2-3 วัน รสชาติจะดีขึ้น

สายพันธุ์ :
พันธุ์มีเมล็ด :

ฟลาวเวอร์ ดราก้อน-122. ทาร์นิการ์. ลูกผสม เอฟ-1. ตอปิโด. จินตหรา. ชาร์ลตันส์เกรย์ (ผลใหญ่ 9-10 กก.). บางช้าง. บางเบิด. เรดโคช ไฮบริด (เนื้อขาว). วานลี เอฟ-2 (เนื้อขาว).

พันธุ์ไร้เมล็ด :

เยลโล เบบี้ ไฮบริด (เนื้อเหลือง). เฟ็งซาน เบอร์ 1 ไฮบริด (ผลใหญ่ 7-8 กก., นัมเบอร์วัน ไฮบริด. ซี้ดเลส. ฟาร์มเมอร์ วันเดอร์ฟูล ไฮบริด. ควอริตี้ (เนื้อเหลือง).
หมายเหตุ :
- พันธุ์ที่ไม่ได้ระบุสีคือพันธุ์เนื้อแดง
- พันธุ์ “ตอปิโด” มีคุณสมบัติทนฝนหรือปลูกหน้าฝนได้ดีกว่าพันธุ์อื่นๆ
- อายุเก็บเกี่ยวระหว่าง พันธุ์เบา-พันธุ์หนัก ต่างกันประมาณ 5-10 วันจึงไม่มีผลนักต่อแผนการปลูก
- สายพันธุ์ดั้งเดิมหรือนิยมปลูกกันมานานแล้ว เมื่อนำมาปลูกอีกสายพันธุ์มักผิดเพี้ยน เนื่องจากมีการผสมข้ามสายพันธุ์ไปมาโดยไม่รู้ตัวและไม่มีการควบคุมใดๆ

เตรียมเมล็ดพันธุ์

ทดสอบความสมบูรณ์เมล็ดโดยการแช่น้ำ คัดเมล็ดลอยออกทิ้ง นำเมล็ดจมขึ้นมาขลิบปลายด้านแหลมด้วยกรรไกตัดเล็บพอให้เปลือกนอกเปิด สารไคตินไคโตซานหรือธาตุรอง/ธาตุเสริมจะซึมเข้าสู่ภายในเมล็ดทางช่องเปลือกที่ได้ขลิบเปิดไว้ ทำให้เมล็ดได้สะสมสารอาหารไว้ในตัวเองตั้งแต่งอกซึ่งจะส่งผลต่อต้นเมื่อโตขึ้นสมบูรณ์แข็งแรงดี

สารไคติเนส. ในไคตินไคโตซาน. มีคุณสมบัติกำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์ได้ไม่ต่างจากสารเคมี การแช่เมล็ดในสารเคมีเพื่อกำจัดเชื้อโรคเท่ากับทำให้เมล็ดสะสมสารพิษซึ่งไม่ใช่สารอาหารไว้ในตัวเองตั้งแต่ก่อนเกิดนั่นเอง

2. นำเมล็ดที่ผ่านการแช่ในไคตินไคโตซานหรือธาตุรองธาตุเสริมครบกำหนดแล้ว ห่อด้วยผ้าชื้นต่ออีก 12-24 ชม. เมื่อเห็นว่าเริ่มมีรากงอกออกมาก็ให้นำไปปลูกต่อได้

เตรียมดิน ปลูกในถุง :

- เลือกดินขุยไผ่ มีเศษซาก ใบ/ราก/แห้ง/เก่า ผสมคลุกกับ ขุยมะพร้าวสับเล็ก ใบก้ามปูแห้ง ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบแกลบดำ ให้เข้ากันดี รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ให้ได้ความชื้น 50% ทำกอง อัดแน่น คลุมด้วยพลาสติกเพื่ออบความร้อน

- ระหว่างอบความร้อน ....
* ถ้าร้อน 40-60 องศา = ดี จุลินทรีย์มีประโยชนเจริญดี
* ถ้าร้อนน้อยกว่า หรือไม่ร้อนให้เพิ่มน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง +ยูเรีย เพื่อเร่งกระบวนการจุลินทรีย์ ....
* ถ้าร้อนเกิน 60 องศา = ไม่ดี จุลินทรีย์มีประโยชน์ตาย แก้ไขด้วยการกลับพลิกกอง แล้ว หมักต่อไป

- ระหว่างการหมักแล้วเกิดความร้อน มีควันลอยขึ้นมา ตรวจสอบระดับอุณหภูมิ แล้วกลับกองเพื่อระบายความร้อนและให้อากาศแก่จุลินทรีย์ กลับกอง/กดแน่น/คลุมกอง แล้วร้อน ให้กลับกองระบายความร้อนอีก ทำซ้ำทุกครั้ง จนในกองไม่มีความร้อน ใช้มือล้วงเข้าไปในกองแล้วรู้สึกเย็น นั่นคือ “ดินปลูก” พร้อมใช้งาน

- ข้อดีของการปลูกในถุง :
* ปลูกหน้าฝนหรือน้ำท่วมได้ โดยยกถุงขึ้นที่สูงหนีน้ำ
* ควบคุม ชนิด/ปริมาณ สารอาหารและน้ำได้เต็มที่
* ถุงไหนเป็นโรคทางดิน จะเสียหายเฉพาะ ถุง/ต้น นั้น ไม่ลามไปหาต้นอื่น
* ใช้งานปลูกรุ่นนี้เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เทดินปลูกออก ตากแดดฆ่าเชื้อโรค แล้วปรับปรุงใหม่ ใช้งานใหม่ได้อีก

เตรียมดินปลูกบนแปลง :

- ไถดิน ขี้ไถขนาดใหญ่ ตากแดดจัด 15-20 แดด ถ้าฝนตกให้ไถใหม่เริ่มนับ 1 ตากแดดใหม่
- ตากแดดดินครบกำหนด ใส่อินทรีย์วัตถุ ขุยมะพร้าวสับเล็ก ใบก้ามปูแห้ง ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น. ขี้วัวขี้ไก่แกลบเก่าแกลบดำ ผสมเข้ากันแล้วหว่านทั่วแปลง แล้วไถพรวนดีป่นดินให้ละเอียดมากๆ ปรับสันแปลงให้เป็นหลังเต่า คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหนาๆ

- คลุมหน้าแปลงแล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 แล้วทิ้งไว้ 20-30 วัน

(ไม่ต้องปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระแทก-กระทุ้ง เพราะในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงมีแล้วอนาคตยังมีทางใบ ทั้งปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนธรรมชาติ ให้อีก ที่สำคัญ ดินดี =ได้แล้วกว่าครึ่ง.... ดินไม่ดี = เสียแล้วกว่าครึ่ง...)

หมายเหตุ :

- ระยะเวลาจากให้น้ำหมักฯ 20-30 วัน เป็นการบ่มดิน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์เข้าทำการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและปรับสภาพดิน

- น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงมีส่วนผสม "ปลาทะเล. กากน้ำตาล. เลือด. ขี้ค้าง คาว. ไขกระดูก. นม. น้ำมะพร้าว." หมักนานข้าม 1-2-3 ปี จากส่วน ผสมทุกอย่างเป็น "อินทรีย์" แท้ๆ ....

เมื่อเติม 30-10-10, แม็กเนเซียม, สังกะสี, ธาตุรอง/ธาตุเสริม ลงไปเป็น “เคมี” นี่คือ อินทรีย์เคมี ผสมผสาน

- อย่ากังวลว่าไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระทุ้ง-กระแทก แล้วต้นแคนตาลูปจะไม่โต สาเหตุที่ไม่โตไม่ใช่เพราะปุ๋ยน้อย แต่เป็นเพราะ “ดิน” ยังไม่พร้อมจริง ....

ตราบใดที่ดินไม่ดี ดินไม่สมบูรณ์ ดินไม่มีอินทรีย์วัตถุ ดินไม่มีจุลินทรีย์ ดินเป็นกรด ต่อให้ใส่ปุ๋ยไร่ละกระสอบ สองสามกระสอบ ใส่ไร่ละตันต้นแคนตาลูปก็ไม่โต ตรงกันข้าม จะเล็กลงๆ ๆๆ เพราะ “ปุ๋ยเป็นพิษ-ดินไม่กินปุ๋ย”

- เกษตรกรอิสราเอล ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี กับอีกหลายประเทศที่มีเทคโนโลยีการ เกษตรสูงและมีความเข้าใจเรื่องพืชอย่างแท้จริง ปลูกไม้ผลตระกูลเถาอายุสั้นฤดูกาลเดียว เช่น แคนตาลูป แตงโม แตงกวา ฯลฯ ในถุง (ภาชนะปลูก) ด้วยดิน (วัสดุปลูก) ที่สามารถควบคุมชนิด/ปริมาณสารอาหาร/น้ำได้ และปลูกในโรงเรือนที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ (อิสราเอลร้อน-แล้ง...ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี หนาว)

เกษตรกรไทยไม่มีปัญหา ร้อน-หนาว-แล้ง จึงเหลือเพียงปัญหา “ดินหรือวัสดุปลูกและสารอาหาร” เท่านั้น การนำแนวทางบางอย่างของเกษตรกรในกลุ่มประเทศดังกล่าวมาประ ยุกต์ใช้บ้าง จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

ปลูกในถุง :

1. เตรียมภาชนะปลูก
2. บรรจุวัสดุปลูก (ดินหมักชีวภาพสำเร็จรูป) ลงถุงให้เต็ม อัดแน่นพอประมาณ คลุมปากถุงด้วยหญ้าหรือฟางแห้งหนาๆ

ปลูกในถุงแบบให้เลื้อยไปบนพื้น 1 ถุง/ 4,5,6 ต้น ลงกล้าเป็นวงที่ปากถุงรอบปากถุง ระยะห่างเท่าๆกัน กล้าโตขึ้นมาแล้วจับเถาเลื้อยจากปากถุงลงพื้น แล้วจัดทิศทางให้แต่ละต้นเลื้อยออกรอบทิศรอบถุงไม่ให้เลื้อยทับซ้อนกัน....จัดระยะห่างระหว่างถุงปลูกห่างกันแบบว่า เมื่อเถาโตเต็มที่เลื้อยไปแล้วไม่ ชน/ซ้อน ซึ่งกันและกัน

ปลูกในถุงแบบให้เลื้อยขึ้นค้าง
1 ถุง/ 2,3 ต้น ขึงลวดคล้ายราวตากผ้าเหนือแนวแถวปลูก ผูกเชือกปอพลาสติกจากราวตากผ้าลงมาที่พื้นโคนต้นแตงโมที่ปากถุง (มีไม้หลักเล็กๆยึดปลายเชือกปักลงดิน) เมื่อเถาโตขึ้น ระยะแรกช่วยจัดปลายเถาให้เกาะเชือกปอก่อน เมื่อต้นโตเต็มที่จะเกาะเชือกปอเอง จัดให้เถาที่เลื้อยไปแล้วแล้วไม่ ชน/ซ้อน ซึ่งกันและกัน เมื่อแตงโมเป็นลูก ใช้ตาข่ายใส่ลูกแล้วแขวนกับลวดรวตากผ้า

การปลูกในถุงช่วยให้ประหยัดน้ำได้ดีที่สุด ให้น้ำเท่าที่แตงโมใช้จริง ไม่มีการ ราด/เท น้ำลงพื้นดินให้สูญเปล่า


ระบบให้น้ำ :

1. ติดตั้งระบบน้ำ หยด/พุ่ง สำหรับให้น้ำและสารอาหารทางราก
2. ติดตั้งระบบสปริงเกอร์พ่นฝอยเหนือต้นสำหรับให้สารอาหารและสารสกัดสมุนไพรทางใบ

หมายเหตุ :

- กรณีปลูกในแปลงแล้วไม่มีระบบน้ำหยด เมื่อต้องการให้น้ำหรือสารอาหารทางรากสามารถทำได้โดยการปล่อยน้ำไปตามร่องระหว่างแปลงปลูก แล้วเพิ่มเติมด้วยน้ำพ่นฝอยจากสปริงเกอร์เหนือต้นฉีดพ่นน้ำลงพื้นเพื่อสร้างความชื้นหน้าดิน

- กรณีปลูกในถุงไม่มีทางเลือกจำเป็นต้องอาศัยสปริงเกอร์เท่านั้น แม้แต่สปริงเกอร์แบบพ่นฝอยเหนือต้นก็ไม่เหมาะสม เพราะน้ำที่ผ่านปากถุงลงไปถึงดินปลูกไม่เพียงพอ ต้องใช้สปริงเกอร์พ่นฝอยเหนือต้น 1 หัว แล้วติดหัวสปริงเกอร์ที่ปากถุงอีกถุงละ 1 หัวเท่านั้น

- สปริงเกอร์กะเหรี่ยงลอยฟ้า ท่อ พีอี.เมตรละ 7.50 บาท หัวสปริงเกอร์แบบหัวผีเสื้อ หัวละ 50 ตังค์ ซื้อที่บ้านโป่ง ราชบุรี…
* ให้ทางใบทางรากแยกกัน ไร่ละ 3,000-3,500 ไม่รวมค่าแรง ติดตั้งถาวร ใช้งานได้ 10-20-30 ปี ....
* เลิกปลูกแตงโมเปลี่ยนเป็นปลูก พริกมะเขือ = ได้ ....
* เลิกปลูกในถุงเปลี่ยนเป็นปลูกบนพื้น = ได้ ....
* หม้อปุ๋ยหน้าโซนฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุกวัน วันละ 3 เวลา

** เช้ามืด ตี.5 ...... ล้างน้ำค้าง ป้องกัน/กำจัด ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม
** เที่ยง ............. ให้ปุ๋ย +ไล่เพลี้ยไฟ
** ค่ำ ............... ไล่แมลงเข้าวางไข่ ทำลายไข่ฝ่อ กำจัดหนอน

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อแตงโม
1. บำรุงระยะต้นเล็ก
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 ล.) + 25-7-7 (1-2 กก.) ละลายน้ำให้เข้ากันดี ให้โคนต้น ให้ครั้งเดียวถึงระยะสะสมตาดอก

- ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น
หมายเหตุ :
- ดินต้องมาก่อน ดินต้องพร้อมจริง ผสมดินปรุงดินแล้ว ต้อง “บ่ม หรือ มักกอง” ไม่น้อยกว่า 3-6 เดือน ....

(ส่วนผสมดิน : ดินขุยไผ่ รากไผ่มากๆ, ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบแกลบดำ, ขุยมะพร้าวสับเล็ก, ใบก้ามปู, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง. จุลินทรีย์หน่อกล้วย, จุลินทรีย์จาวปลวก, นมสด)

- เมื่อต้นเริ่มงอกขึ้นมาจากเมล็ดได้ 2-3 ใบ ควรมีหญ้าแห้งหรือฟางคลุมโคนต้น ป้อง กันแดดเผาหน้าดิน และรักษาความชื้นหน้าดินให้คงที่อยู่เสมอ

- เริ่มให้สารอาหารทางใบเมื่อได้ใบ 2-3 ใบแล้ว
- เมื่อต้นเจริญเติบโตได้ 4-5 ใบให้ตัดยอด จากนั้นต้นจะแตกยอดใหม่ 3-4 ยอด เรียกว่า “เถาแขนง” ให้บำรุงเลี้ยงเถาแขนงนี้ต่อไปตามปกติ เมื่อเถาแขนงทั้ง 3-4 นี้ยาวขึ้นให้จัดระเบียบเลื้อยเข้าหากลางแปลงโดยไม่ทับซ้อนบังแสงแดดซึ่งกันและกัน และเตรียมความพร้อมอื่นๆ ให้ดีเพราะจะต้องเอาผลผลิตจากเถาแขนงเหล่านี้

- เมื่อเถาแขนงโตขึ้นได้ความยาว 25-30 ซม. หรือ 20-25 วันหลังปลูก หรือเริ่มมีดอกแรก ให้พิจารณาเลือกเถาแขนงสมบูรณ์แข็งแรงที่สุดไว้ 3 เถาสำหรับเอาผล ส่วนอีก 1 เถาให้เลี้ยงไว้สำหรับช่วยสังเคราะห์อาหารแต่ไม่เอาผลโดยเด็ดดอกที่ออกมาทิ้งทั้งหมด

2. บำรุงระยะออกดอก :
ทางใบ :

- ให้ 15-30-15 + สารสมุนไพร 2 รอบ
- ให้ เอ็นเอเอ. 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 ล.) + 25-7-7 (1-2 กก.) ละลายน้ำให้เข้ากันดี ให้โคนต้น ให้ครั้งเดียวถึงระยะสะสมตาดอก
- ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น
หมายเหตุ :
- ให้ก่อนวันเถาแขนงออกดอก 5-7 วัน
- จากเถาแขนงทั้ง 3 เถาที่เลี้ยงไว้เพื่อเอาผลนี้ เถาแขนงมักจะออกดอกพร้อมๆกัน โดยเริ่มออกดอกแรกตั้งแต่ข้อใบที่ 4-5 ซึ่งดอกชุดแรกนี้ให้เด็ดทิ้งทั้งหมด แล้วเริ่มไว้ผลแรกระหว่างข้อใบที่ 9-12 จำนวน 1 ดอก จากนั้นตามข้อใบต่อจากข้อเอาผลและข้อใบต่อๆไปจะมีดอกออกตามมาอีกทุกข้อ ก็ให้เด็ดทิ้งทั้งหมดอีกเช่นกัน ทั้งนี้ให้ไว้ผลเพียง 1 เถาแขนง/1 ผลเท่านั้น เพื่อ ให้ได้ผลคุณภาพสูงสุด

- แตงโมบางสายพันธุ์อาจจะไว้ผล 2-3 ผล/1 เถาแขนงได้ กรณีนี้ต้องไว้ผลให้ห่างกันโดยมีใบคั่นอย่างน้อย 4-5 ใบ/1 ผล การไว้ผลมากกว่า 1 ผล/1 เถาแขนง ต้องมีสารอาหารอย่างเพียงพอจึงจะได้ผลคุณภาพสูง

- นิสัยของแตงโมออกดอกเองเมื่อได้อายุ โดยต้นสมบูรณ์กว่าจะออกดอกดีกว่าต้นสมบูรณ์น้อยกว่าเท่านั้น การให้ฮอร์โมนเสริมเพียง 1-2 ครั้ง จะช่วยให้ออกดอกดีและสมบูรณ์กว่าไม่ได้ให้เลย

3. บำรุง “ผลเล็ก-กลาง” :
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5 วัน ฉีดพ่นพอปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสมุนไพรทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ปลูกในแปลง ให้ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (1 ล.) +21-7-14 (1-2 กก.) ละลายเข้ากันดี ให้โคนต้น ด้วยระบบให้น้ำที่ใช้
หมายเหตุ :
- หลังจากติดเป็นผลแล้วให้จัดระเบียบเถาและใบ อย่าให้ใบบังแสงแดดต่อผล กับทั้งให้มีวัสดุ (ฟาง หญ้าแห้ง) หนาๆรองรับผล เพื่อไม่ให้ผิวผลสัมผัสผิวดิน ถ้าผิวผลสัมผัสพื้นดินอาจจะมีเชื้อโรคเข้าทำลายผิวผลได้

4. บำรุง “ผลแก่” เก็บเกี่ยว
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ 0-21-74 + สารสมุนไพร 1 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ให้อย่างละ 1 ครั้ง ก่อนเก็บ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 13-13-21 ละลายน้ำแล้วผ่านไปกับระบบน้ำที่ใช้งาน
หมายเหตุ :
- ก่อนเก็บเกี่ยวถ้าให้ทางใบด้วย 0-0-50 หรือ 0-21-74 เพียง 1 รอบแล้วงดน้ำ 2-3 วัน จะช่วยให้ได้ความหวานสูงขึ้น

- ก่อนเก็บเกี่ยว 10-15 วัน สำรวจผล ถ้าด้านใดไม่ได้รับแสงแดด (สีเปลือกขาวเหลือง)ให้พลิกผลด้านนั้นขึ้นรับแสงแดด เพื่อให้สีเปลือกเป็นสีเดียวกันทั่วทั้งผล....ด้านที่สีเปลือกขาวเหลืองเนื้อในจะมีคุณภาพไม่ดี

แตงโม
....ประสบการณ์ตรง :

แตงโมที่ปลูกแบบปล่อยเถาเลื้อยไปบนพื้นนั้น ส่วนใหญ่ 1 กอ มักให้มี 2 ยอด แล้วไว้ผลยอดละ 1 ผล/ยอด

.... ช่วงแตงโมได้อายุต้นเริ่มออกดอก บำรุงทางใบด้วย "ฮม.ไข่" ทุก 4-5 วัน จะช่วยให้แตงโมออกดอกมากขึ้น หรือให้ 1 ครั้งได้ 1-2 ดอกเสมอ .... คู่กับให้ทางรากด้วย "น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24" โดยฉีดอัดลงดินบริเวณโคนต้น ทุก 15-20 วัน

....ช่วงออกดอกแล้วควรงดการฉีดพ่นทางใบทุกชนิดช่วง 08.00-11.00 เพราะเป็นช่วงที่เกสรต้องการผสม หากฉีดพ่นอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้

.... การช่วยผสมเกสรด้วยมือ นอกจากช่วยให้การติดเป็นผลดีแล้วยังช่วยให้เป็นผลที่คุณภาพดีอีกด้วย

.... วิธีหลอกผึ้งให้ช่วยผสมเกสร เช้าราว 08.00 แดดจัดฟ้าสดใส ผึ้งจะออกหากินในแปลงแตงโม จงเดินเข้าไปทางหัวแปลงก่อน ถือกิ่งไม้ 2 มือ กางแขน 2 ข้าง ก้าวเดินช้าๆพร้อมกับโบกกิ่งไม้เบาๆ ผึ้งเห็นกิ่งไม้โบกไปมาจะบินขึ้นแล้วบินไปเกาะดอกแตงโมข้างหน้าใหม่ ก็ให้เดินช้าๆตามไปอีกสัก 3-5 ก้าว เท่ากับระยะที่ผึ้งบินไปก่อนล่วงหน้า โบกกิ่งไม้อีก ผึ้งก็จะบินขึ้นหนีไปข้างหน้าอีก ทำซ้ำไปเรื่อยๆหลายๆ รอบ จนสุดแปลงแล้วย้อนทำซ้ำ ตราบเท่าที่ผึ้งยังไม่หนีไปไหน

.... เถาเดียวที่มีหลายผล ควรเว้นระยะ 1 ผล /7-8 ใบ เพื่อให้แต่ละผลมีใบสำหรับสังเคราะห์อาหาร เทคนิคไว้ผลแบบนี้ต้องเด็ดดอกทิ้งตั้งแต่ออกมาใหม่ๆ โดยเลือกเด็ดทิ้งกับเลือกเก็บไว้

.... เถาเดียวมีหลายผล ระหว่างผลต่อผลให้ทำไม้โค้งงอรูปตัว ยู. กดเถาบริเวณข้อให้แนบผิวดินแล้วคลุมทับด้วยเศษดิน เศษหญ้าแห้ง ไม่นานที่ข้อจะมีรากงอกออกมา รากนี้จะดูดซับสารอาหารไปเลี้ยงผลที่อยู่ถัดไปทางปลายเถา ควรทำต่อทุกผล จะทำให้แต่ละผลมีรากส่วนตัวแทนที่จะรอรับสารอาหารจากรากที่โคนเถาเพียงรากเดียว

แตงโมไร้เมล็ด :

1. ปลูกแตงโม พันธุ์ไร้เมล็ด สลับแถวหรือสลับต้นกับ พันธุ์มีเมล็ด ลงไปก่อน การบำรุงต้นทั้งสองสายพันธุ์ เช่น เด็ดยอด - เลี้ยงยอด - ไว้ดอก เหมือนกันตามปกติ

2. เมื่อได้ดอกของทั้งสองสายพันธุ์แล้วให้นำ เกสรดอกตัวผู้ของต้นพันธุ์มีเมล็ดไปผสมให้กับ เกสรดอกตัวเมียของต้นพันธุ์ไร้เมล็ด ด้วยวิธี "ต่อดอก" ตามปกติ

3. เมื่อเกสรของดอกตัวเมียจากต้นพันธุ์ไร้เมล็ด ได้รับการผสมจากละอองเกสรตัวผู้ของต้นพันธุ์มีเมล็ดแล้ว ผลที่เกิดมาจะไร้เมล็ดตามดอกต้นแม่
หมายเหตุ :
- แตงโมไร้เมล็ดมีเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะจำหน่าย แต่ราคาแพงกว่าแตงโมมีเมล็ด
- การปฏิบัติบำรุงทุกขั้นตอนต่อแตงโมไร้เมล็ดเหมือนแตงโมมีเมล็ดทุกประการ
- แตงโมไร้เมล็ดไม่ได้หมายความว่าไม่มีเมล็ดเลยแม้แต่เมล็ดเดียว เพียงมีเมล็ดสีน้ำตาลน้อยมากและขนาดเล็ก เมล็ดส่วนใหญ่จะเป็นเมล็ดสีขาวอ่อนนิ่ม เคี้ยวรับประทานได้เลย

***** การปฏิบัติบำรุงทุกขั้นตอนเหมือนแตงโมกินเนื้อทุกประการ *****

-----------------------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©