-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 1 JAN..... * ข้อมูลข้าวขาวดอกมะลิ
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 1 JAN..... * ข้อมูลข้าวขาวดอกมะลิ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 1 JAN..... * ข้อมูลข้าวขาวดอกมะลิ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 01/01/2020 6:47 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 1 JAN..... * ข้อมูลข้าวขาวดอกมะลิ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 1 JAN
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม

ผลิตรายการโดย :
กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ :
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม "...?..."
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

สนับสนุนรายการโดย :
*บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช .... (02) 322-9175-6
http://www.nimut.com/

* ยิบซั่มธรรมชาติ ---- เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์แมกซ์, .... ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ .... (089) 144-1112
http://www.bkgmax.com/kaset/product.html


กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ที่ (081) 913-4986 โทรศัพท์เข้ารายการคุยกันสดๆ ออกอากาศ สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน (02) 888-0881 และอินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิมดอทคอม เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

----------------------------------------------------------------------------------

จาก : (089) 116-73xx
ข้อความ : เรียนคุณตาผู้พัน อาจารย์ฟังวิทยุคุณตา อาจารย์ให้นักเรียนทำรายงาน หนูขอข้อมูลข้าวหอมมะลิ 105 หัวข้อ ประวัติความเป็นมา นาปีนาปรัง เกรดคุณภาพ เรื่องอื่นๆที่มี จะเอาไปเขียนรายงาน.... ขอบพระคุณคุณตาอย่างสูงค่ะ

จาก : (093) 612-48xx
ข้อความ : ข้าวหอมมะลิปลูกจังหวัดอื่น นอกภาคอิสานได้ไหม ขอบคุณครับ

จาก : (090) 723-16xx
ข้อความ : ปีนี้แล้ง แล้งคือแล้ง ไม่แล้งก็ท่วม ปีหน้าเอาใหม่ถ้าได้เอา สนใจข้าวหอมมะลินอกอิสาน...

ตอบ :

ประวัติข้าวขาวดอกมะลิ 105 (Khao Dawk Mali 105) :

ชนิด - ข้าวเจ้าหอม (หอมมะลิ) นาสวน ไม่ไวต่อช่วงแสง

ประวัติพันธุ์ :
- ได้มาโดยนายสุนทร สีหะเนิน เจ้าพนักงานข้าว รวบรวมจาก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อ พ.ศ.2493-2494 จำนวน 199 รวง แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ (pure line selection) และปลูกเปรียบ เทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง แล้วปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ในท้องถิ่น ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 4-2-105 ซึ่งเลข 4 หมายถึง สถานที่เก็บรวงข้าว คืออำเภอบางคล้า เลข 2 หมายถึงพันธุ์ทดสอบที่ 2 คือ ขาวดอกมะลิ และเลข 105 หมายถึง แถวหรือรวงที่ 105 จากจำนวน 199 รวง

การรับรองพันธุ์ :
- คณะกรรมการการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502

ลักษณะประจำพันธุ์ :
- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 ซ.ม.
- ไวต่อช่วงแสง
- ลำต้นสีเขียวจาง ใบสีเขียวยาวค่อนข้างแคบ ฟางอ่อน ใบธงทำมุมกับคอรวง เมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาว
- ข้าวเปลือกสีฟาง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พ.ย.
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.6 x 2.5 x 1.9 ม.ม.
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.5 x 2.1 x 1..8 ม.ม.
- ปริมาณอมิโลส 12-17 %
- คุณภาพข้าวสุก นุ่ม มีกลิ่นหอม

ผลผลิต :
- ประมาณ 363 กก./ไร่

ลักษณะเด่น :
- ทนแล้งได้ดีพอสมควร
- เมล็ดข้าวสารใส แกร่ง คุณภาพการสีดี
- คุณภาพการหุงต้มดี อ่อนนุ่ม มีกลิ่นหอม
- ทนต่อสภาพดินเปรี้ยว และดินเค็ม

ข้อควรระวัง :
- ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม โรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ และโรคใบหงิก
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว และหนอนกอ

พื้นที่แนะนำ :
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนบน
-----------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลทางวิชาการ จากศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ :
- การประเมินผลผลิตข้าวหอมมะลิในฤดูนาปรัง ปี 2552/53 ที่ อ.ชุมพลบุรี และ อ.รัตนบุรี รวม 14 แปลง
- การทดสอบการประเมินความชอบคุณภาพข้าวสารและข้าวสุกอุ่น ระหว่างข้าวหอมมะลิที่ปลูกในฤดูนาปรัง ปี 2552/2553 กับข้าวหอมมะลิที่ปลูกในฤดูนาปี 2552 รวม 5 ตัวอย่าง พบว่า ความชอบของข้าวหอมมะลิในฤดูนาปรังมีคะแนนสูงกว่าในฤดูนาปี

* ปลูกข้าวหอมมะลิ ในฤดูนาปรังดีกว่า :
- การปลูกข้าวหอมมะลิในฤดูนาปรังไม่มีระยะเฉื่อย (Vegetative Lag phase) ข้าวจะมีการเติบโตตลอด (ในนาปีข้าวมักจะมีระยะเฉื่อยเพราะปลูกข้าวเร็วไป) ทำให้ข้าวในฤดูนาปรังมีอายุสั้นกว่า (ข้าวที่จะให้ผลผลิตสูงควรมีอายุตั้งแต่ 100-120 วัน)

- นาปีล้มง่าย แต่ข้าวในฤดูนาปรังไม่ค่อยล้ม เพราะอายุสั้น
- ข้าวหอมมะลิในฤดูนาปีมีรวงใหญ่ ยาว ในฤดูนาปรังรวงเล็ก สั้น เมล็ดต่อรวงน้อย ดังนั้นการปลูกในฤดูนาปรังต้องให้ได้รวงมาก .... พื้นที่ 1 ตร.ม. มี 250 ต้น = 250 รวง, 1 รวงมี 100 เมล็ด., 1 ไร่ได้ 1,000 กก., ข้อแม้ต้นต้องไม่ล้ม, ระดับน้ำไม่เกิน 10 ซม.

* หลักการผลิตข้าวหอมมะลิในฤดูนาปรัง :
- นาปรังทำแล้วหวังผลสูง เรื่องพื้นที่จึงสำคัญมาก
- วันปลูก เนื่องจากช่วงแสงที่เหมาะสมในฤดูนาปรังสั้นมาก ประมาณ 1 เดือน ดังนั้น ต้องกำหนดระยะเวลาปลูกให้เหมาะสม (ที่กำหนดไว้ 20 ธ.ค. - 10 ม.ค.) ซึ่งจากการปฏิบัติจริงช่วงเดือนธันวาคมเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม

- วิธีการปลูก โดยวิธี หว่านน้ำตม/หว่านข้าวแห้ง อัตราเมล็ดพันธุ์ 20 กก. /ไร่
- การดูแลรักษาทั่วไป เช่นเดียวกับคำแนะนำในเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับข้าวนาชลประทานฤดูแล้ง

* ความหอมของข้าวหอมมะลิในฤดูนาปรัง :
- กลิ่นหอมเกิดจากการปลูกตามธรรมชาติ เช่นเดียวกับฤดูนาปี
- การสังเคราะห์สารหอม 2AP ในทุกส่วนของต้น ยกเว้นราก เพราะรากอยู่ในน้ำสังเคราะห์ไม่ได้
- การสังเคราะห์ 2AP มีประสิทธิภาพสูง เมื่ออุณหภูมิสูง และการสะสม 2AP มีประสิทธิภาพสูงเมื่ออุณหภูมิต่ำ

สรุปก็คือ ในฤดูนาปี ปลูก (ร้อน) ---------------> เก็บเกี่ยว (เย็น)
ในฤดูนาปรัง ปลูก (เย็น) ---------------------> เก็บเกี่ยว (ร้อน)

* การวิจัยและพัฒนา :
- ข้าวหอมมะลิปลูกในฤดูนาปรังได้ และได้ผลผลิตสูงกว่าฤดูนาปี โดยมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ แต่ต้องทำความเข้าใจกับเกษตรกรชาวนา ต้องไม่ปลูกเหมือนฤดูนาปี เพราะช่วงฤดูนาปรังมีช่วงแสงเหมาะสมจำกัด

- ภาคอีสาน ยังเรียกนาปี/นาปรังได้ เพราะน้ำเป็นตัวจำกัดให้ ทำได้/ทำไม่ได้ แต่ภาคกลางข้าวไม่ไวแสง มีน้ำพร้อมปลูกข้าวได้หลายรอบ จึงไม่มีนาปี/นาปรัง

* ความหอมของข้าว :
- ข้าวหอมมะลิจะหอมมากหอมน้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะพันธุกรรมของข้าวว่า มีสารหอมระเหยกลิ่นใบเตยที่เรียกว่า 2AP (2-acetyl-1-pyroline) ปนอยู่ในเนื้อแป้งข้าวมากแค่ไหน ซึ่งเป็นลักษณะจำเพาะของข้าวหอมมะลิที่ไม่เหมือนข้าวพันธุ์อื่น การรักษาความหอมของข้าวหอมมะลิให้คงอยู่นานนั้น จึงควรเก็บข้าวไว้ในที่เย็น อุณหภูมิประมาณ 15 องศา ซ. เก็บข้าวเปลือกที่มีความชื้นต่ำ 14-15% ลดความชื้นข้าวเปลือกที่อุณหภูมิไม่สูงเกินไป และจากการศึกษาของกรมการข้าวมาตั้งแต่ปี 2550 โดยอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาช่วยวัดค่าความหอม พบว่าพันธุ์ข้าวหอมมะลิแท้ ยังคงความหอมเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง .... แต่สิ่งที่ทำให้ความหอมลดลงมาจากสภาพแวดล้อมในปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิม

นายไพฑูรย์ อุไรรงค์ รองอธิบดีกรมการข้าวบอกว่ามาจากหลายปัจจัยด้วยกันอาทิ ภาวะโลกร้อน อุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลให้น้ำมันหอมที่อยู่ในแป้งข้าว ระเหยหายไปได้เร็วกว่าเมื่อก่อน ยิ่งการรีบเอาข้าว เปลือกมาสีเป็นข้าวสาร น้ำมันหอมจะระเหยเร็วกว่าอยู่ในสภาพเป็นข้าวเปลือก .... โครงการรับจำนำข้าว ที่กำหนดกฎเกณฑ์ให้รีบแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสารโดยเร็ว และเก็บรักษาไม่ดีไม่เก็บในอุณหภูมิต่ำ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ข้าวหอมมะลิมีกลิ่นเจือจางลง

- อีกปัจจัยหนึ่งก็คือ การใช้เมล็ดพันธุ์ที่นำมาปลูก ยังนิยมใช้ข้าวเก่ามาทำพันธุ์ต่อเนื่อง โดยไม่ยอมเปลี่ยนพันธุ์ไปใช้พันธุ์แท้ ทั้งที่มีข้อมูลทางวิชาการยืนยันว่า ข้าวไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ไหนๆ ถ้านำไปปลูกติดต่อกันเกินกว่า 3 ฤดูกาล ลักษณะเด่นประจำพันธุ์มักจะเพี้ยนเปลี่ยนไป และจะมีข้าวพันธุ์อื่นมาปนผสมอีกต่างหาก แค่มีข้าวพันธุ์อื่นมาปนเพียง 1 เมล็ดพันธุ์ มันจะเติบโตเป็นข้าว 1 กอ ให้เมล็ดข้าวประมาณ 2,000 เมล็ด และเมื่อนำไปปลูกในฤดูกาลที่สอง เมล็ดพันธุ์ปนจะเพิ่มเป็น 4,000,000 เมล็ดพันธุ์ .... ถ้าเอาไปปลูกต่อในฤดูกาลที่ 3-4-5 จะเหลือเมล็ดพันธุ์แท้ๆ ให้เก็บเกี่ยวจำนวนเท่าไร

* กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้แบ่งชั้นของข้าวหอมมะลิ :
1. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 (ดีพิเศษ) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 5%
2. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 2 (ดี) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 15%
3. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 3 (ธรรมดา) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 30%

COMMENT :
- ข้าวหอมมะลิปลูกได้แน่นอน ทั้งนาปีนาปรัง
- ข้าวหอมมะลิ ถือกำเนิดขึ้นที่ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา จึงไม่เรื่องแปลก หากจะย้ายไปปลูกในเขตภาคอื่นบ้าง ตัวอย่างเช่น ข้าวหอมมะลิ 105 ปลูกที่ลำพูน. ลำปาง, พิจิตร. สุพรรณบุรี, ลพบุรี กับอีกหลายจังหวัดแต่ไม่เป็นข่าว รวมทั้งลาว เขมร พม่า .... ข้าวหอมมะลิที่บางคล้า ไม่มีกลิ่นหอมมีแต่ความนุ่ม ครั้นไปปลูกที่อิสาน หอมมะลิกลับมีกลิ่นหอม คาดว่าเกิดจากดินอิสานที่มีเกลือสินเธาว์ ส่วนหอมมะลิที่ไปลูกในจังหวัดอื่นไม่มีกลิ่นหอม หรือกลิ่นคงเดิมเหมือนถิ่นกำเนิด

ข้อสังเกต 1 .... คำว่า “ปรัง” เป็นภาษาเขมร แปลว่า “แล้ง” ในความแล้งที่เกี่ยว ข้องกับพืชก็คือ “แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล” อันเป็นปัจจัยพื้นฐานต่อพัฒนาการของพืชโดยตรง เมื่อมาสังเกตทีละประเด็นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรง จะพบว่าในความแล้งที่มีผลต่อพืชโดยตรง คือ ฤดูกาล (ร้อน หนาว ฝน) และ อุณหภูมิ (ร้อน หนาว อบอุ่น)

* ฤดูร้อน ฤดูหนาว เดือน พ.ย. ต่อไปถึง เม.ย. รวม 6 เดือนใน 1 ปี คือ คามแห้งแล้ง และไม่มีน้ำ
* ฤดูหนาว คือ อุณหภูมิต่ำหรือหนาว อากาศหนาวทำให้ระบบรากของต้นข้าวไม่ดูดซับสารอาหาร ไม่ออกรวง หรือออกรวงแต่เกสรไม่สมบูรณ์ ทำให้ผสมไม่ติด

ข้อสังเกต 2 .... หอมมะลิปลูกที่อิสานได้ผลผลิตเฉลี่ย 35-45 ถัง/ไร่ ในขณะที่หอมมะลิภาคอื่น ได้ผลผลิตเฉลี่ย 70-80 ถัง สาเหตุเพราะ อิสานน้ำน้อย ดินขาดอินทรีย์วัตถุ ส่วนภาคอื่นน้ำมาก มีอินทรีย์วัตถุ นั่นเอง

ข้อสังเกต 3 .... จากงานวิจัย และเทคนิคการปลูกข้าวหอมมะลิ (รวมถึงข้าวทุกสายพันธุ์) ส่งเสริม/แนะนำ ให้ใส่แต่ยูเรีย. 16-20-0 เท่านั้น ไม่มีการให้ แม็กเนเซียม. สังกะสี. และ 16-8-8 (2:1:1 หรือ 3:1:1 .... อ้างอิง : IRRI)

ข้อสังเกต 4 .... ไม่ไถกลบฟาง จึงไม่มีฟางทำหน้าที่เสมือนฟองน้ำคอยกักเก็บน้ำไว้ไต้ดิน ช่วงหน้าแล้งจึงไม่มีน้ำอย่างเพียงพอสำหรับข้าว

ข้อสังเกต 5 .... สาร 2AP (2-acetyl-1-pyroline) มีอยู่ในใบเตยสด หากใส่ใบเตยสดเป็นส่วนผสมของน้ำหมักชีวภาพ หรือใช้น้ำคั้นใบเตยสด (ฮอร์ โมนเขียว) ฉีดพ่นทางใบ ก็อาจจะ (เน้นย้ำ....อาจจะ) ช่วยให้ข้าวมีกลิ่นหอมมากขึ้นได้

- ข้อสังเกต 6 .... ข้าวขณะที่ยังอยู่ในเปลือก (แกลบ) จะยังคงกลิ่นหอมนานนับหลายๆ เดือน แต่หากสีเอาเปลือก (แกลบ) ออก จะคงความหอมได้ไม่เกิน 1-2 อาทิตย์ เท่านั้น

- ข้อสังเกต 7 .... ข้อมูลจากงานวิจัยระบุว่า “ระยะปลูกที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ ระยะปลูกที่ 15 ธ.ค.” นั่นคือ หลังจากปลูก 60 วัน ข้าวออกรวงซึ่งไม่ตรงกับช่วงอากาศหนาว เป็นผลให้เกสรผสมติดดี จึงเป็นผลให้ได้ผลผลิตดี

* การปฏิบัติ :
- วางแผนลงมือปลูกกลางเดือน ธ.ค. จึงควรเตรียมทำเทือกรอไว้ล่วงหน้า 1-2 เดือน (ต.ค. - พ.ย. -ธ.ค.)
- ทำนาดำ นาข้าวแบบประณีต อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของข้าวหอมมะลินาปรัง จังหวัด.. ?..

- เน้นการให้ “สังกะสี อะมิโน คีเลต” ทางใบ สม่ำเสมอ โดยเฉพาะให้ก่อนอากาศเริ่มหนาว เพื่อให้ต้นมีเวลาเตรียมตัว

-----------------------------------------------------------------------------------



.



แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/01/2020 7:59 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©