-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 18 MAY *เก็บตกงานสัญจร "ผักอินทรีย์"
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 15 MAY * น.ร. รายงาน "ไม่เผาฟาง"
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 15 MAY * น.ร. รายงาน "ไม่เผาฟาง"

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/05/2020 6:45 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 15 MAY * น.ร. รายงาน "ไม่เผา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 15 MAY....
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

*****************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม ...

ผลิตรายการโดย....
กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

ผู้สนับสนุนรายการ ....
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ

*** ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ คุณภาพผลผลิต (ยอด-ใบ-ดอก-ผล-เมล็ด-เนื้อ-ต้น-ราก) จะดกดี สีสวยสด รสจัดจ้านได้ ด้วยธาตุรอง/ธาตุเสริม ....

*** แม็กเนเซียม. สังกะสี. สาหร่ายทะเล. แคลเซียม โบรอน. ส่วนผสมเอาไปทำเอง ....
*** กลิ่นล่อดักแมลงวันทอง, กาวเหนียวดักแมลงศัตรูพืช.... คิดง่ายๆ ถ้าแมลงศัตรูพืชไม่มาที่กับดัก เขาก็จะไปที่ต้นพืช ว่ามั้ย ..... (089) 144-1112

เช่นเคย รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ที่ (081) 913-4986 อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

งานสัญจร....
วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
วันเสาร์ของสัปดาห์สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
วันเสาร์ของสัปดาห์สามของเดือน ไปที่วัดท่าตำหนัก ถ.เพชรเกษม (ขาล่อง) ก่อนถึงแยกนครชัยศรี นครปฐม,
วันเสาร์ของสัปดาห์สี่ของเดือน ไปที่วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก

- งานสัญจรพิเศษ
เดือนนี้ พ.ค. มี 5 เสาร์ สัญจร 5 ครั้ง วัดเสาร์สุดท้ายของเดือนนี้ตรงกับวันที่ 30 พ.ค. ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา ถ้ามี สมช.สนใจ เดือนหน้าเดือนต่อๆไปไม่ต้องรอวันเสาร์ เลือกเอาวันธรรมดาๆนี่ก็ได้ เดือนละซักครั้งก็พอ

- งานสัญจรปกติ
วันเสาร์รอบนี้ วันที่ 16 พ.ค. ไปวัดท่าตำหนัก นครชัยศรี นครปฐม งานนี้ลุงคิมไปโตย มี ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ยูเรก้า. ไทเป. หัวโต. ยาน็อค. ทั้งขายทั้งแถม สน ใจซื้อปุ๋ย โทรนัดหมายล่วงหน้าหน่อยก็ดี รับของจ่ายเงินเสร็จแยกกันเลย อย่าอยู่ใกล้กัน ป้องกัน “รับเชื้อ-แพร่เชื้อ” ส่วนปัญหาก็ติดต่อกันทางโทรศัพท์ ทั้งก่อนเจอกันในงานสัญจร หรืออยู่บ้าน อยู่ในสวนในแปลง โทรปรึกษาได้ทั้งนั้น ....

- อ.ณัฐ....สมุนไพรสำหรับคน แปะก๊วย-หลินจือ-ถังเช่า-ขมิ้นชัน-ฟ้าทะลายโจร กับอีกหลายๆตัวกำลังมาแรง .... วันนี้ทั่วโลกยอมรับแล้วว่า ยาสมุนไพรจากซินแส กับ ยาแผนปัจจุบันจากโรงพยาบาล ใช้ร่วมกันได้ (086) 983-1966

กรณีงานสัญจรประจำไม่เฉพาะ วัดเสือ ศรีประจันต์, วัดหลวงพ่อโหน่ง สองพี่น้อง, วัดท่าตำหนัก นครชัยศรี, วัดส้มเกลี้ยง โรงกรองประปา, วัดทุ่งสะเดา แปลงยาว เท่านั้น .... วัดอื่นวัดไหน บ้านอื่นบ้านไหน ที่อื่นที่ไหน อ.ไหน จ.ไหน ไปได้ทั้งนั้น ติดต่อนัดหมายล่วงหน้ามาก่อนก็แล้วกัน ...

สัญจรแต่ละครั้งแต่ละที่ สมช.ที่มา มีปัญหาอะไร เอามาคุยกัน พูดคุยถามตอบกันแบบ FACE TO FECT MOUTH TO MOUTH .... ได้ทำ ทำถูกต่อยอด-ทำผิด = ไม่ได้อะไร ... ไม่ได้ทำ = ไม่ได้อะไร แก้ไขยังไง

ฝากให้คิด งานเกษตรที่ตัวเองทำอยู่นั้นมี “ข้อมูล” อะไรบ้างไหม ที่จะทำให้ “ผลผลิตเพิ่ม-ต้นทุนลด-อนาคตดี” เชื่อไหม ทำออกมาแล้วขาย ขายได้เท่าเดิมขายได้เท่าข้างบ้าน แต่กำไรได้มากกว่า เพราะต้นทุนต่ำกว่า ที่ต่ำไม่ใช่ต่ำตามใจคน แต่ต่ำตามใจพืช

กับดัก/กลิ่นล่อ แมลงวันทอง กาวเหนียวดักแมลงศัตรูพืช ทั้งประเภทมากลางวัน ประเภทมากลางคืน ผลิตภัณฑ์ที่ขายในประเทศไทยวันนี้ นำเข้าจากประเทศจีนทั้งนั้น ก็ให้น่าสงสัยว่า เทคนิค/เทคโนโลยี แค่นี้ประเทศไทยทำไม่ได้ ?... ก็ถ้าแมลงศัตรูพืชพวกนี้ไม่มาที่กับดัก มันก็ไปที่พืชใช่ไหม ? ....

งานนี้ กับดักแมลงวันทอง มี สมช.เราไปขอรับที่ร้านน้ำส้ม หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (085) 055-7706 กับจากด่านมะขามเตี้ย มาที่ไร่กล้อมแกล้ม มาเห็นกับดักแมลงวันทอง แขวนโชว์ อยากได้เลยขอไปใช้บ้าง งานนี้ไม่ขายแต่แจกฟรี คนละอัน 2อัน ชอบอันไหนเลือกเอาตามใจชอบ เอาไปให้หลานมันดู ให้มันออกแบบ ทำรุ่นใหม่-แบบใหม่-เวอร์ชันใหม่ ขึ้นมาอีกไงๆ ติดต่อโทรนัดหมายล่วงหน้าก่อนก็ดี ....

หม้อปุ๋ยหน้าโซน อันนี้ต้องคุยกันยาว วิธีทำ/วิธีใช้ ต้องติดต่อนัดหมายล่วงหน้า เพราะของมันใหญ่ การขนย้ายมีปัญหา ....รวมกลุ่มกันมาหลายๆบ้านซี่

วันนี้ เทคโนโลยี สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย ไม่ใช่เครื่องมือรดน้ำธรรมดาๆ เท่านั้น แต่ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน ให้ปุ๋ยไปพร้อมกับน้ำ ให้ยา (สมุนไพร/เคมี) ไปพร้อมกับน้ำ ทั้งหมดนี้มิใช่แค่ให้อย่างใดอย่างหนึ่งทีละอย่าง แต่ให้ไปพร้อมกัน 2 อย่าง หรือ 3 อย่างเลยก็ได้ ทำงาน ณ เวลาที่ต้องการ ตี 5 ล้างน้ำค้าง, ตอนสายให้ปุ๋ย, ตอนเที่ยงไล่เพลี้ยไฟ, ตอนค่ำไล่แมลงฆ่าหนอน ....

วางแผนจัดแปลงเป็นโซนๆ แปลงผักโซนละ 1 ไร่ ไม้ผลยืนต้นโซนละ 20 ต้น สปริงเกอร์/หม้อ ปุ๋ย ทำงานครั้งละ 3-5-10 นาที แรงงานคนเดียว ติดตั้งครั้งเดียวใช้งานได้ 10-20-30 ปี คุ้มเกินคุ้มนะ...

- หนังสือ "หัวใจเกษตรไท มินิ" สูตร ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา/จุลินทรีย์ ทำใช้ ทำขาย ทำแจก ทำเททิ้ง สูตรเดียวก็เกินคุ้ม, .... หนังสือไม้ผลแนวหน้าบอกวิธี บำรุงไม้ผล ตั้งแต่ ก.ไก่ แก้วมังกร ถึง อ.อ่าง องุ่น ว่าตั้งแต่เริ่มต้น เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยว ทำนอกฤดู เกรด เอ. จัมโบ้

มีหนังสือไว้ในบ้านเหมือนเป็น เอกสาร/ตำรา/คัมภีร์/มรดก ใช้ได้ตลอดชีวิต ถ่ายทอดให้ลูก หลานเหลนโหลน อ่านในบ้าน อ่านในแปลงไต้ต้นไม้ อ่านไปดูไป เชื่อเถอะ รุ่นเดียวรอบเดียว ก็เก่งได้ .

ใครมีเล่มเดียว ระวังนะ คนขอยืมแล้วไม่คืน.....

เคยมี คนเดียวซื้อ 1โหล 12ล่ม เอาไปเป็นของขวัญฝากคนที่รัก เขียนลายเซ็นไว้ที่ปก เชื่อเถอะ คนที่ได้รับของขวัญชิ้นนี้แล้ว เขาไม่ทิ้งหรอก ทุกครั้งที่หยิบขึ้นมาอ่าน เห็นลายเซ็นคนที่มอบให้ เขาจะรู้สึกดีๆ ต่อคนให้ทันที แล้วก็ทุกครั้งด้วย....

สังเกต .... วันนี้ สปอนเซอร์ถอนตัวไป 1 งานนี้ใครสนใจก็ติดต่อเข้ามา วิทยุ ปตอ. AM ระยะแพร่คลื่น 100% ได้ 20 จังหวัด แพร่คลื่นแบบกระโดดเป็นหย่อมๆ อีก 20 จังหวัด น่าจะดีกว่า FM ทั้งคลื่นหลัก คลื่นชุมชน ที่แพร่คลื่นไปได้แค่จังหวัดเดียวเท่านั้น ลองซี่ ว่างๆ วิ่งรถเดินทางไป ตจว. ถึง จว.ไหนก็ได้ ยิ่งไกลยิ่งดี เปิดวิทยุในรถระบบ
AM คลื่น 594 ก็จะรู้ว่า ว่ารับได้หรือไม่ได้ รับได้ ได้แค่ไหน รับไม่ได้คือรับไม่ได้ แค่นี้ก็รู้ ลองดูซี่ ..... โฆษณาที่นี่ ไม่ใช่พูดอย่างเดียว แต่มีกิจกรรมเสริมโฆษณา (เน้นย้ำ....กิจกรรมเสริมโฆษณา) อีก ตอนนี้คิดคร่าวๆได้ราว 20 กิจกรรมเสริม อันนี้ต้องมาคุยกัน วางแผนร่วมกันว่าจะเสริมยังไง....

********************************************************************
********************************************************************


จาก : (068) 187-62xx
ข้อความ : ขอเรื่อง วิธีไม่เผาฟางและประโยชน์ของฟางข้าวในนา จะเอาไปเขียนรายงานส่งครูค่ะ ขอข้อมูลที่คุณตาผู้พันเขียนขึ้นมาเองค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ.... สุณิสา บางปลาม้า สุพรรณ บุรี

บ่น :
- ข้อมูลเรื่องนี้อยู่ในอินเตอร์เน็ตเกษตรลุงคิมดอทคอม ลุงคิมไม่ได้เขียนเองแต่เอาข้อมูลจากสารพัดแหล่งมา REWRITE ใหม่เท่านั้นแหละ กรณีหนูสุณิสาฯ ก็เหมือนกัน อย่า COPY ทั้งดุ้น แต่ให้อ่าน อ่าน อ่าน ทำความเข้าใจ แล้วเขียนขึ้นมาใหม่ด้วยสำนวนลีลาของตัวเอง

- ยังมีอีกหลากหลายมากมายเรื่องนาข้าว เริ่มจากฟาง แล้วขยายผลไปมิติอื่นที่เกี่ยวข้องกับข้าวอีกก็จะดีไม่น้อย .... รู้มากๆ ไม่ใช่รู้มาก .... รู้เรื่องข้าวรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล....

- เมื่อรู้ว่าฟางข้าวมีประโยชน์แล้ว สิ่งที่ควร (เน้นย้ำ....ควร) ตามมา คือ เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง จากฟางธรรมดาแปรรูปเป็นฟางซุปเปอร์ใช้ได้กับทุกกิจจกรรมที่จำเป็นต่อมนุษย์

- รถแทร็คเตอร์อเมริกา ด้านหน้าติดตั้งถังบรรจุ ปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยเคมี, กลางรถติดตั้งผานสามไถดิน ไถดะ, ท้ายรถติดตั้งผานเจ็ดไถพวนดิน ไถแปร, ทุกอย่างทำงานพร้อมกันเมื่อรถแทร็คเตอร์เริ่มดิน

- กับอีกหลากหลาย “เทคนิค-เทคโนโลยี” ที่ภาคเกษตรไทยปฏิเสธ


ตอบ :
หลากหลายวิธีไม่เผาฟาง
หลักการและเหตุผล :

ฟาง คือ อินทรีย์วัตถุประเภทเศษซากพืชที่มีราคาประหยัดที่สุด และมีประโยชน์ต่อต้นข้าวมากที่สุด กล่าวคือ ฟางคือต้นข้าว ในต้นข้าวย่อมมีสารอาหารที่ต้นข้าวต้องใช้พัฒนาตัวเอง เมื่อฟางถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ สารอาหารที่เคยมีในฟางก็จะออกมากลายเป็นสารอาหารพืชสำหรับข้าวต้นใหม่ นอกจากเป็นสารอาหารพืชแล้ว ฟางยังมีคุณสมบัติที่ดีต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวอีกหลายประการ อาทิ เป็นแหล่งอาหารจุลินทรีย์ ทำให้ดินโปร่งร่วนซุย น้ำและอากาศผ่านสะดวก ช่วยซับหรืออุ้มน้ำไว้ใต้ดินโคนต้น เป็นต้น

ต้นข้าวในแปลงปลูกที่ดินมีความความชื้นสูง (ดินแฉะ) จะเจริญเติบโต แตกกอ สมบูรณ์แข็งแรง มีภูมิต้านทานสูงและให้ผลผลิตดีกว่าต้นข้าวในแปลงปลูกที่ดินมีน้ำขังท่วม

มาตรการทำให้ดินมีความชื้นสูง มีน้ำใต้ผิวดินมากๆ ทั้งๆ ที่หน้าดินแห้งจนแตกระแหงก็คือ การให้มีอินทรีย์วัตถุ (เศษซากพืช เศษซากสัตว์ และจุลินทรีย์)อยู่ในเนื้อดินมากๆ ถึงอัตราส่วน 1:1 สะสมต่อเนื่องติดต่อกันมานานหลายๆปี

แนวทางปฏิบัติ :
หลังจากรถเกี่ยวข้าวออกไปแล้ว ให้ดำเนินการส่งฟาง และ/หรือ เศษซากพืช-อินทรีย์วัตถุอื่นๆ ลงไปอยู่ใต้ผิวดิน ผสมคลุกกับเนื้อดินให้เข้ากันดี ตามขั้นตอน หรือ ลัดขั้นตอนก็ได้ ดังนี้

1. ตากฟาง-ไม่ตากฟาง :
วัตถุประสงค์คือ ต้องการให้ฟางแห้ง เพื่อให้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายทำให้ฟางเปื่อยได้เร็วขึ้น อันที่จริงนั้น จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายได้ทั้งฟางสดและฟางแห้ง เพียงแต่การย่อยสลายฟางแห้งทำได้ง่ายและเร็วกว่าฟางสดเท่านั้นเอง ดังนั้น การตากฟางหรือไม่ตากก่อนไถกลบจึงไม่ต่างกันนัก ก็ให้พิจารณาตามความเหมาะสม

2. เกลี่ยฟาง-ไม่เกลี่ยฟาง :
วัตถุประสงค์คือ ต้องการให้ฟางกระจายตัวเท่าๆกันทั่วแปลง และแห้งเร็วๆ เมื่อไถกลบลงไปในดินแล้วเนื้อดินผสมกับฟางสม่ำเสมอกันซึ่งจะส่งผลให้ดินมีคุณภาพเท่าๆกันทั้งแปลงนั่นเอง.......ล้อรถเกี่ยวข้าวเป็นสายพานตีนตะขาบ ขณะที่รถเกี่ยววิ่งไปนั้น ตอซังที่ถูกสายพานตีนตะขาบเหยียบย่ำจะแบนราบแนบติดพื้น ส่วนตอซังที่อยู่บริเวณใต้ท้องรถเกี่ยวจะไม่ถูกเหยียบย่ำ ยังคงเป็นตอตั้งตรงเหมือนเดิม นอกจากนี้เศษฟางที่รถเกี่ยวพ่นออกมา ซึ่งรถเกี่ยวข้าวบางรุ่นพ่นเศษฟางให้ฟุ้งแผ่กระจายไปทั่วได้ แต่รถเกี่ยวบางรุ่นพ่นเศษฟางตรงๆลงทับบนตอซังกลายเป็นกองเศษฟาง กรณีนี้ ถ้าต้องการให้ฟางแผ่กระจายก็ให้ใช้ไม้เขี่ยฟางที่เป็นกองออก แต่ถ้าไม่ต้องการให้ฟางแผ่กระจายก็ไม่จำเป็นต้องเขี่ยออก เพราะช่วงที่รถไถผานโรตารี่เข้าทำเทือกนั้น ผานโรตารี่ก็จะช่วยกระจายฟางไปในตัวเองได้แต่อาจจะไม่กระจายดีกับการเกลี่ยก่อนเท่านั้น

3. ย่ำฟาง-ไม่ย่ำฟาง :
วัตถุประสงค์คือ ทำให้ฟาง ฉีก-ขาด-ช้ำ เพื่อเป็นช่องทางให้จุลินทรีย์ผ่านเข้าไปง่ายๆแล้วย่อยสลายฟาง ปฏิบัติโดยการใช้รถไถเดินตามล้อเหล็กวิ่งย่ำไปบนเศษฟางให้ทั่วแปลง วิ่งย่ำซ้ำหลายๆรอบ ฟางที่ถูกล้อเหล็กย่ำจะ ฉีก-ขาด-ช้ำ เกิดเป็นบาดแผลช่วยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายฟางให้เปื่อยยุ่ยได้เร็วกว่าฟางที่ยังคงเป็นชิ้นๆอยู่

4.หมักฟาง :
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ฟางเปื่อยยุ่ยโดยเร็ว ไม่ว่าฟางในแปลงนาจะตากแห้งแล้วหรือยังสด เกลี่ยกระจายแล้วหรือยังเป็นกลุ่มกอง ย่ำให้เป็นแผลช้ำแล้วหรือยังเป็นชิ้นเดิมๆ ทุกสภาพของฟางไม่อาจรอดพ้นฝีมือของจุลินทรีย์ไปได้ เริ่มด้วยการปล่อยน้ำเข้าแปลงพร้อมกับใส่จุลินทรีย์ 2-5 ล./ไร่ รักษาระดับน้ำให้ลึกราว 20-30 ซม. ทิ้งไว้ราว 10-20 วัน น้ำจะเปลี่ยนสีเป็นสีชาอ่อนๆ สภาพของฟางเริ่มเปื่อยยุ่ย เมื่อเดินย่ำลงไปจะมีฟองเกิดขึ้น ให้สังเกตฟอง ถ้ามีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจุลินทรีย์เป็นพิษให้ ระบายน้ำออกทั้งหมดแล้วเติมน้ำใหม่ พร้อมกับจุลินทรีย์ชุดใหม่เข้าไปแทน แล้วเริ่มหมักใหม่อีกรอบ....ถ้าฟองนั้นไม่มีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจุลินทรีย์ดี ให้หมักต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าฟางจะเปื่อยยุ่ยได้ที่ตามต้องการแล้วจึงลงมือทำเทือก

ถ้าหมักฟางยังไม่ได้ที่หรือยังมีกลิ่นเหม็น (แก๊ส) จะมีผลต่อต้นข้าวระยะกล้า (ต้นเหลืองโทรม) เรียกว่า “เมาตอซัง” กรณีนี้แก้ไขโดยระบายน้ำเก่าออกพร้อมๆกับส่งน้ำใหม่เข้าไปแทนที่หรือใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย จากนั้นบำรุงต้นกล้าด้วยฮอร์โมนทางด่วน 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 3-5 วัน

5. ไถกลบฟาง :
วัตถุประสงค์คือ การส่งฟางลงไปคลุกเคล้ากับเนื้อดินจนเป็นเนื้อเดียวกันแล้วให้จุลินทรีย์ย่อยสลายจนเปื่อยยุ่ยกลายเป็นปุ๋ยฟางที่อยู่ในแปลงนานั้นจะตากหรือไม่ตาก เกลี่ยหรือไม่เกลี่ย ย่ำหรือไม่ย่ำ หมักหรือยังไม่หมัก สามารถไถกลบลงดินได้ทั้งสิ้น เพียงแต่แบบไหนจะยากง่ายกว่ากัน ด้วยเครื่องมือต่างๆ ดังนี้

- ไถด้วยรถไถจอบหมุนโรตารี่ เป็นรถไถขนาดกลางนั่งขับ ขณะไถมักมีฟางพันผาน แก้ไขโดยการเดินหน้าสลับกับถอยหลังเพื่อสลัดฟาง หรือยกผานขึ้น ใส่เกียร์ถอยหลังแล้วเร่งเครื่องแรงๆ ผานจะหมุนฟรีแล้วสลัดฟางออกเองได้

- ไถด้วยรถไถเดินตาม (ควายเหล็ก) ผานเดี่ยว (ผานหัวหมู) ขณะไถมักมีฟางพันผาน แก้ไขโดยต่อใบผานให้ยาวขึ้น 10-12 นิ้ว หรือมากกว่า เพื่อส่งขี้ไถและฟางให้ตกห่างจากผานมากๆ

- ย่ำด้วยลูกทุบ (อีขลุบ) ลากด้วยควายเหล็ก ลูกทุบจะย่ำฟางให้ยุบลงแนบกับเนื้อดินบริเวณผิวหน้าดินเท่านั้นไม่ได้ลงไปคลุกหรือจมลงไปในเนื้อดิน เมื่อหว่านเมล็ดข้าวลงไป เมล็ดพันธุ์ส่วนหนึ่งจะติดค้างอยู่บนหญ้าที่หน้าดิน ช่วงที่เมล็ดเริ่มงอก ระบบรากยังแทงไม่ทะลุกองหญ้าลงไปถึงเนื้อดินด้านล่างได้ ครั้นเมื่อปล่อยน้ำเข้าแปลง ฟางจะลอยขึ้นพร้อมกับยกต้นกล้าข้าวให้ลอยตามขึ้นมาด้วย กรณีนี้แก้ไขโดย ปล่อยให้รากต้นข้าวเจริญยาวลงไปถึงเนื้อดินล่างดีแล้วจึงปล่อยน้ำเข้า หรือนำเส้นฟางออกเหลือแต่เหง้ากับรากต้นข้าวแล้วย่ำ....วิธีการหมักฟางนานๆจนเปื่อยยุ่ยดี แล้วย่ำด้วยอีขลุบหลายรอบ ให้มากรอบที่สุดเท่าที่จะมากได้ ฟางที่เปื่อยยุ่ยแล้วถูกย่ำด้วยล้อเหล็กจนแหลกละเอียดจะคลุกเคล้าผสมกับเนื้อดินบริเวณผิวหน้าดิน กรณีนี้แม้ต้นกล้าข้าวจะงอกบนเศษฟางเปื่อย เมื่อปล่อยน้ำเข้าก็จะไม่ยกต้นกล้าข้าวให้ลอยตามขึ้นมา นาข้าวที่ผ่านการไถกลบฟางมา 2-3 รุ่น จนขี้เทือกลึก
ระดับครึ่งหน้าแข้งแล้ว การทำนารุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องไถอีก แต่ให้ปล่อยน้ำเข้าเพื่อหมักฟางหรือล่อให้วัชพืชขึ้นจากนั้นหมักทิ้งไว้ 10-15 วัน จนแน่ใจว่าฟางเปื่อยยุ่ย ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่าและเมล็ดวัช พืชงอกขึ้นมาจนหมดแล้วก็ให้ลงมือย่ำด้วย “อีขลุบหรือลูกทุบ” ได้เลย ทั้งนี้ลูกทุบหรืออีขลุบจะช่วยคลุกเคล้าเนื้อดินกับฟางและวัชพืชให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้ ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนค่าไถลงได้

6.ไม่ไถ :
หลังจากรถเกี่ยวเสร็จสิ้นภารกิจ ในแปลงมีตอซังและเศษฟาง แนวทางการทำเทือกโดยไม่ต้องไถ ไม่ว่าจะเป็นการไถด้วยรถไถใหญ่ผานจาน 3 หรือผาน 7 รถไถเดินตามผานจานเดี่ยวหรือคู่ รถไถโรตารี่สามารถทำได้โดยจัดการกับตอซังและเศษฟาง ตากฟางหรือไม่ตาก เกลี่ยหรือไม่เกลี่ยก็ได้ แล้วเริ่มด้วยการสูบน้ำเข้าให้ลึกประมาณ 30 ซม. ใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วยหรือกากน้ำตาล 5-10 ล./ไร่ สาดให้ ทั่วแปลง ทิ้งไว้ 7-10 วัน จนน้ำเปลี่ยนสีเป็นสีชาอ่อนๆ จากนั้นให้ลงมือย่ำด้วย อีขลุบ หรือ ลูกทุบ ได้เลย ย่ำหลายๆรอบจนกว่าตอซังและเศษฟางรวมทั้งเศษซากต้นวัชพืชแหลกละเอียดลงไปคลุกกับเนื้อดิน เสร็จแล้วทิ้งไว้อีก 7-10 วัน ก็ให้ลงมือย่ำรอบสองด้วยวิธีการเดิม แล้วทิ้งไว้อีก 7-10 วัน ตรียมการย่ำต่อรอบสามเป็นรอบสุดท้าย ก่อนลงมือย่ำรอบสามให้ใส่อินทรีย์วัตถุ และ ปุ๋ย สำหรับนาข้าวตาม ปกติ เสร็จแล้วให้ลงมือปลูก (ดำหรือหว่าน) ข้าวได้เลย ถ้าเป็นนาข้าวที่เตรียมแปลงแบบไม่เผาฟางหรือไถกลบฟางครั้งแรก จะพบว่าชี้เทือกลึกเหนือกว่าตาตุ่มอย่างชัดเจนซึ่งถือว่าเพียงต่อการเพาะปลูกข้าวแล้วทั้งดำและหว่าน....หากเป็นนาที่เคยไม่เผาฟางแต่ไถกลบมาหลายรุ่นแล้ว การย่ำเพียงรอบแรกรอบเดียวก็จะได้ขี้เทือกลึกถึงระดับครึ่งหน้าแข้ง

ประโยชน์ที่ได้จากการย่ำเทือกหลายๆ รอบที่เห็นชัดที่สุด คือ นอกจากได้กำจัดวัชพืชโดยไม่ต้องพึ่งสารเคมีกำจัดวัชพืชแล้วยังได้ปุ๋ยอินทรีย์จากเศษซากพืชอีกด้วย

หมายเหตุ :
- ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือแบบใด ที่ด้านหน้ารถดัดแปลงให้มีตะแกงสำหรับตั้งถังขนาดจุ 20-50 ล. เจาะรูก้นถัง 2-3 รู มีก๊อกปรับอัตราการไหลช้า/เร็วได้ ในถังใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือจุลินทรีย์น้ำ แล้วปล่อยให้ไหลออกมช้าๆ ขณะที่รถไถวิ่งไปนั้นก็จะปล่อยปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือจุลินทรีย์หยดลงพื้นที่ด้านหน้า แล้วถูกผานด้านหลังไถผสมลงไปคลุกผสมกับเนื้อดินเอง

- การทำนาแบบไถกลบฟางลงดินรุ่นแรก หมักฟางนานๆจนเปื่อยยุ่ยดี แล้วย่ำซ้ำหลายๆรอบ จะทำให้ได้ “ขี้เทือก” ลึก 20-30 ซม.(ครึ่งหน้าแข้ง) ในขณะที่การทำเทือกแบบเผาฟางก่อนนั้นจะได้ขี้เทือกลึกน้อยกว่ามาก

- นาข้าวแบบไถกลบฟาง จากรุ่นแรกที่ไถกลบนั้นจะมีฟางลงไปอยู่ในเนื้อดินราว 1 ตัน ต่อมารุ่นที่ 2 ก็จะมีฟางชุดใหม่ลงไปสมทบอีก 1 ตัน หรือทำนาข้าวจะได้ฟางรุ่นละ 1 ตัน และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแบบรุ่นต่อรุ่น ทั้งนี้เนื่องจากฟางรุ่นแรกๆ แม้จะเปื่อยยุ่ยดีแล้วแต่ก็ยังคงมีเศษซากหลงเหลืออยู่ ยิ่งมีเศษซากฟางอยู่ในดินมากเท่าใดยิ่งทำให้ได้ขี้เทือกลึกมากเท่านั้น

จากประสบการณ์ตรงพบว่า การทำเทือกแบบไถกลบฟางสี่รุ่นติดต่อกัน ปรากฏว่าได้ขี้เทือกลึกถึงหัวเข่าซึ่งถือว่ามากเกินไป ผลเสียคือ เดินเข้าไปสำรวจแปลงได้ยาก ก่อนเกี่ยวซึ่งต้องงดน้ำ 7-10 วันเพื่อให้หน้าดินแห้งทำไม่ได้ และทำให้รถเกี่ยวเข้าทำงานไม่ได้อีกด้วย

แนวแก้ไข คือ ไถกลบฟาง 2 รุ่นติดต่อกันไปก่อน เมื่อจะทำนารุ่น 3 ให้นำฟางออกเหลือแต่เหง้ากับรากในดินก็พอ ต่อมาเมื่อจะทำนารุ่น 4 ก็ให้วิเคราะห์ปริมาณเศษซากฟางในดินก่อนว่า สมควรนำฟางของนารุ่น 3 ออก แล้วเหลือแต่เหง้ากับราก หรือต้องไถกลบฟางรุ่นใหม่เติมลงไปอีก ทั้งนี้ความ ลึกของขี้เทือกจะเป็นตัวชี้บอก ประเด็นสำคัญก็คือ จะต้อง “ไม่เผา” อย่างเด็ดขาด.ตามเกณฑ์ของการเตรียมดินปลูกข้าว ควรมีอินทรีย์วัตถุประเภทเศษซากพืช 2-3 ตัน/ไร่/รุ่น

- ฟางข้าวในนาข้าว คือ อินทรีย์วัตถุหรือปุ๋ยพืชสดที่มีราคาต่ำที่สุดและมีประโยชน์มากที่สุด ฟางข้าวเป็นทั้งแหล่งสารปรับปรุงบำรุงดิน บำรุงจุลินทรีย์ และเป็นแหล่งสารอาหารสำหรับต้นข้าวทั้งรุ่นปัจจุบัน รุ่นหน้า และรุ่นต่อๆไป นอกจากฟางแล้วควรจัดหาแหล่งเศษซากพืชอื่นๆเสริมเพื่อเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้มากขึ้น

เกษตรกรชาวนาและชาวไร่ของสหรัฐอเมริกา หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตในนาหรือในไร่แล้วไม่มีการเผาทิ้งหรือนำออก แต่ใช้วิธีการไถกลบด้วยรถไถกลบขนาดใหญ่ ซึ่งขณะไถกลบนั้นก็จะเติมอินทรีย์วัตถุสารปรับปรุงบำรุงดิน จุลินทรีย์ และสารอาหารอื่นๆไปพร้อมๆกัน เพื่อประหยัดเวลา แรง งาน และให้เกิดความหลากหลายตามธรรมชาติ

www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1699
หลากหลายวิธีไม่เผาฟาง....

www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=10
รวมเรื่องนาข้าว....

แถม :
นาข้าว 1 ไร่ ได้ผลผลิต 100 ถัง ฟางที่เหลือเมื่อนำมาตรวจวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารแล้วพบว่ามี... ไนโตรเจน 32 กก., ฟอสฟอรัส 22 กก., โปแตสเซียม 8 กก., แคลเซียม 14 กก., แม็กเนเซียม 6 กก., กำมะถัน 2 กก., ซิลิก้า 13 กก., ธาตุอาหารต่างๆที่กล่าวรวมกันติดไปกับเมล็ดเพียง 2
กก.เท่านั้น
(ที่มา : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

----------------------------------------------------------------------------------




.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©