-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 2 APR . *สละ vs มะม่วง...มะม่วง vs สละ
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 30 MAR *ปุ๋ยทางใบ-ทางราก ข้อดี VS ข้อเสีย
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 30 MAR *ปุ๋ยทางใบ-ทางราก ข้อดี VS ข้อเสีย

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 30/03/2021 6:08 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 30 MAR *ปุ๋ยทางใบ-ทางราก ข้อดี VS ข้อเ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 30 MAR
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

*****************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม ...

ผลิตรายการโดย....
กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

ผู้สนับสนุนรายการ ....
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ

เช่นเคย รายการเรา
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า

ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

........................................................................................................
........................................................................................................


งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปที่วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก

** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลงที่นั่น ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- งานสีสันสัญจรปกติตามวงรอบ งวดนี้ เสาร์นี้ ตรงกับวันที่ 27 มี.ค. ลุงคิมกับ อ.ณัฐ สมุนไพรสำหรับคน (086) 983-1966 .... ไปวัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์
สุพรรณบุรี.


- งานสัญจรระยะนี้ต้องร่วมกันป้องกัน COVID หลีกเลี่ยงจับกลุ่ม คนมากๆ แนะนำ สมช. สั่งปุ๋ยลุงคิม สั่งยา อ.ณัฐ โทรติดต่อโดยตรงแล้วได้นัดหมายรับส่งของกัน รับของแล้วแยกกันเลย มีปัญหาอะไรโทรศัพท์คุยกันก็ได้....

************************************************************
***********************************************************


30 MAR
จาก : (062) 881-47xx
ข้อความ : ลุงคิมบอกว่า ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยแห้ง ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยทางราก ปุ๋ยทางใบ ขอข้อดีข้อเสีย ครับ

จาก : (085) 720-61xx
ข้อความ : ขอทราบข้อดีและข้อเสีย ของการใช้ปุ๋ยทางใบด้วยครับ

จาก : (083) 447-19xx
ข้อความ : ปุ๋ยทางใบ ผสมไปกับ สารเคมี หรือสารสมุนไพร หรือทั้งสองอย่าง ได้ไหม
ตอบ :

เกษตรานุสติ :
เกษตรลุงคิม.คอม ลีลาสไตล์เว้ปนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า เพราะวิทยุพูดแล้วฟัง ฟังจบก็ลืม พูดซ้ำฟังซ้ำไม่ได้ แต่อ่าน จากเน็ตเกี่ยวเนื่องไปถึงหนังสือ จบแล้วอ่านซ้ำได้ อ่านอีก อ่านหลายๆรอบ อ่านหลายๆเที่ยว อ่านจนจำได้ จำได้ติดตัวไปตลอดชีวิต

- ปุ๋ยทางใบ สามารถให้แก่พืชได้ทั้ง ทางรากและทางใบ เทคนิคการให้ปุ๋ยทางใบแบบโชกๆให้ใบเปียกจนล้นลงถึงพื้นดิน จึงเท่ากับเป็นการให้ปุ๋ยทางรากไปในตัว เท่ากับพืชได้รับ 2 เด้งหรือทั้ง 2 ทาง

- ปุ๋ยทางใบมี "น้ำ" เป็นฟิลเลอร์ จึงไม่เป็นส่งผลเสียต่อดินเหมือนฟิลเลอร์ที่เป็นของแข็งในปุ๋ยทางราก

- ปุ๋ยทางใบที่เป็นคีเลต. เมื่อตกลงดินระบบรากสามารถดูดซับนำเข้าสู่ต้นได้ทันที ในขณะที่ปุ๋ยทางรากจะต้องผ่านกระบวนการเอ็นไซม์.โดยจุลินทรีย์ก่อน ต้นพืชจึงจะสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ การปรับสภาพปุ๋ยทางบใบให้เป็น "ทางด่วน" (ผ่านปากใบเข้าสู้ต้นได้เร็ว) สามารถทำได้โดยการเติม "น้ำตาลกลูโคส" ลงไปก่อนฉีดพ่น

- ปุ๋ยทางใบแสดงผลต่อพืชได้เร็วกว่าปุ๋ยทางราก ในพืชอายุสั้น (ผักสวครัว) จะมีอายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่าการให้ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว

- เทคนิคการให้ปุ๋ยทางใบ ควรให้ขณะที่ใบยังเปียกและปากใบเปิดเต็มที่แล้ว นั่นคือ ก่อนฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ควรฉีดพ่นน้ำเปล่าเพื่อให้ปากใบเปิดก่อน ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที จึงฉีดพ่นปุ๋ยตามไป นอกจากนี้เทคนิคการฉีดแบบ 2 ครั้ง โดยแบ่งปริมาณปุ๋ยทางใบที่จะให้ ณ รอบนั้นเป็น 2ส่วนๆ ละเท่ากัน โดยปฏิบัติดังนี้

ครั้งแรก ..... ฉีดพ่นน้ำเปล่า ทิ้งไว้ 10-15 นาที
ครั้งที่ 2 ..... หลังจากทิ้งไว้ 10-15 นาทีแล้ว ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบรอบแรก
ครั้งที่ 3 ..... หลังจากฉีดพ่นปุ๋ยทางใบรอบแรกทิ้งไว้ 10-15 นาที จึงฉีดพ่นรอบที่ 2

ซึ่งการให้ปุ๋ยทางใบแบบ 2 รอบนี้ เมื่อรวมปริมาณปุ๋ยแล้วจะได้เท่ากับการให้เพียงครั้งเดียว แต่ได้ผลกว่าเพราะขณะให้ปุ๋ยนั้น สภาพใบเปียกชื้น และจากการที่ใบค่อยๆดูดซึมปุ๋ยเข้าสู่ต้นอย่างช้าๆทำให้ต้นได้รับปุ๋ยมากขึ้น ในขณะที่การให้แบบครั้งเดียว ปุ๋ยส่วนหนึ่งหรือส่วนใหญ่จะตกลงพื้นเนื่องจากปากใบดูดซับไม่ทัน

- ปุ๋ยทางใบมีความจำเป็นอย่างมากต่อต้นที่มีปัญหาระบบราก หรือดินเสื่อม กล่าวคือ เมื่อต้นไม่สามารถรับสารอาหารทางรากก็ควรให้ทางใบแทน

- ราคาปุ๋ยทางใบเทียบกับปุ๋ยทางรากแบบหน่วย : หน่วย ปุ๋ยทางใบจะมีราคาสูงกว่า แต่เมื่อเทียบปริมาณการใช้กับประโยชน์ที่พืชได้รับแล้ว จะพบว่าปุ๋ยทางใบราคาถูกกว่ามาก

- ปุ๋ยทางใบจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดและต้นมีการตอบสนองดีก็ต่อเมื่อต้นมีสภาพความสมบูรณ์รองรับ สภาพอากาศและอุณหภูมิเหมาะสม

- พืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว เช่น ผักสวนครัว (กินใบ กินยอด กินต้น กินผล) ความจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยน้อย-น้อยมาก กรณีสารอาหารใน "ฮอร์โมนเขียว" แม้จะมีไม่มากนัก แต่ถ้าให้บ่อยๆ (วันต่อวัน วันเว้นวัน วันเว้น 2-3 วัน) ให้ผ่านใบลงถึงราก ก็สามารถทำให้พืชนั้นโตได้

หมายเหตุ 1 :
ดร.โช (เกาหลี....คนนี้เป็น ดร.กิติมศักดิ์จากทั่วโลก ยกเว้นจากประเทศตัวเอง) พบว่า ในสรีระผัก (ใบ ยอด ดอก ผล ต้น ราก หัว) สภาพสดใหม่สมบูรณ์ โต 50% ของอายุ มีสารอาหารที่พืชต้นนั้นรับเข้าไป ทั้งจากทางใบและทางราก ครั้นวิเคราะห์ต่อก็พบอีกว่า สารอาหารที่อยู่ภายในต้น คือ สารอาหารจากภายนอกต้น (คนให้ เกิดเองตามธรรมชาติ) ผ่านกระบวนการออกซิเดชั่น กระทั่งต้นนำไปใช้พัฒนาตัวเองได้

แนวคิด คือ :
- นำผักนั้นมาคั้นเอาน้ำแล้วให้พืชชนิดเดียวกัน น้ำคั้นผักนี้ผ่านกระบวนการอ๊อกซิเดชั่นมาเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ต้องออกซิเดชั่นอีก พืชต้นนั้นนำไปใช้ได้เลย เหมือน FAST FOOD

- สารอาหารตัวนี้ ต้นพืชรับได้ทั้งทางราก และทางใบ
- น้ำคั้นผักนี้มีสถานะภาพเป็น “ฮอร์โมน” ซึ่งไม่สู้แสงแดด (อุลตร้า ไวโอเร็ต) จึงต้องให้แก่พืชตอนไม่มีแสงแดด หรือให้ตอนค่ำจึงจะได้ผลสูงสุด

ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (OXIDATION) คือ ปฏิกิริยาที่อะตอมหรือโมเลกุลเกิดการสูญเสียหรือให้อิเล็กตรอน กับโมเลกุลหรืออะตอมอื่นเพื่อสร้างความเสถียรให้กับโมเลกุล โดยปฏิกิริยาออกซิเดชั่นจะเกิดควบคู่กับปฏิกิริยารีดักชั่น (REDUCTION) เสมอ...

HTTP://AMPROHEALTH.COM/MAGAZINE/OXIDATION/)

หมายเหตุ 2 :
สารคดีเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิกส์ รายงานว่า น้ำเดือด 100 องศา ซ. นาน 4 ชม. ต่อด้วยปล่อยให้ร้อนไอกรุ่นๆ 2 ชม. ทำให้โมเลกุลในอินทรีย์วัตถุ (เศษซากมนุษย์ สัตว์ พืช) ขนาดใหญ่สายยาวเดิม เปลี่ยนรูปเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก หรือโมเลกุลเดี่ยว สายสั้น .... รูปทางเคมีนี้ ร่างกาย (มนุษย์ สัตว์ พืช จุลินทรีย์) สามารถนำไปใช้เลย โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการออกซิเดชั่น เช่น น้ำเต้าหู้ น้ำนึ่งปลาก้นหม้อนึ่ง น้ำต้มก้นหม้อก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ

หมายเหตุ 3 :
จาก “เศษอาหารบด-น้ำคั้นผัก-น้ำต้มเดือด” ธรรมดาๆ อย่างเดียวเดี่ยวๆ หรือหลายอย่างรวมกันแล้ว เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก สารอาหารสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี ฮอร์โมน หรืออื่นๆ จาก เศษอาหารบด-น้ำคั้นผัก-น้ำต้มเดือด ธรรมดาๆ ก็จะพัฒนาเป็น “ซุปเปอร์” ขึ้นมาทันที .... ทำใช้ ทำขาย ทำแจก

- ฮอร์โมนเขียว อายุเก็บนานเท่าไร คำตอบคือ “ไม่รู้” เพราะวิธีการทำและปัจจัยเกี่ยวข้องของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่เท่าที่รู้ เห็นทำเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว เดือนนี้ทำอีกแล้ว.... เพื่อความมั่นใจ ใส่ “สารกันบูด” ลงไป 1-2% ก็น่าจะ (เน้นย้ำ...น่าจะ) ได้

- ฮอร์โมนเขียว คือ ฮอร์โมนชีวะ ฮอร์โมนธรรมชาติ ทำกับมือจากโรงงานไต้ถุนบ้าน ทำแบบ “ภูมิปัญญาพื้นบ้าน มาตรฐานโรงงาน มีหลักวิชาการรองรับ” เพราะฉะนั้น ทำทีใช้ที ใช้ใหม่ๆจะได้ผลดีกว่าทำนานเก็บนาน ....

- รายการสูตรฮอร์โมนในหนังสือหัวใจเกษตรไท : ฮอร์โมนสมส่วน ฮอร์โมนเขียว ฮอร์โมนบำรุงราก ฮอร์โมนเร่งรากกิ่งตอน ฮอร์โมนน้ำนึ่งปลา ฮอร์โมนแบลนด์ ฮอร์โมนลิโพ/เอ็ม/กระทิงแดง ฮอร์โมนนมหมักชีวภาพ ฮอร์โมนหอย ฮอร์โมนไส้เดือน/ปลา/หอย ฮอร์โมนนมสด จากคุณภาพสรรพคุณระดับธรรมดาๆ เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ให้เป็น “ซุปเปอร์” ดีมั้ย

ฮอร์โมนเขียว
วัสดุส่วนผสม และวิธีทำ :
เลือกผักสวนครัวกินใบ อายุสั้น ฤดูกาลเดียว เช่น ผักกาด ผักคะน้า ต้นที่สมบูรณ์ แข็งแรง โตเร็ว อัตราโตประมาณ 50% ของอายุ ไม่มีโรคแมลง และไม่มีการใช้สารเคมียาฆ่าแมลง หรือสารสมุนไพรทุกประเภท เก็บตอนเช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ถอนขึ้นมาทั้งต้น (ใบ+ราก) สลัดดินติดรากทิ้ง ไม่ต้องล้างน้ำ นำเข้าเครื่องปั่นแบบแยกกากแยกน้ำ (จุ๊ยเซอร์) น้ำคั้นผักที่ได้ เรียกว่า “ฮอร์โมนเขียว” พร้อมใช้ เก็บในภาชนะทึบแสง รักษาอุณหภูมิโดยการเก็บในตู้เย็นช่องแช่เย็นธรรมดา

วิธีใช้ :
ตกค่ำพระอาทิตย์สิ้นแสงแล้ว นำ “ฮอร์โมนเขียว” พร้อมใช้ 500 ซีซี. ผสมน้ำ (พีเอช 6.0) จำนวน 100 ล. นำไปรดให้แก่ผักประเภทที่นำมาคั้นน้ำนั้น (น้ำคั้นผักอะไรให้ผักชนิดเดียวกัน) ทุก 3-5 วัน จะช่วยบำรุงให้ผักนั้นโตเร็ว สมบูรณ์ แข็งแรง คุณภาพดี

สำหรับผักกินยอด กินใบ :
ใช้ "น้ำคั้นผักกินใบทั้งต้น + น้ำคั้นยอดผักกิน เด็ดด้วยมือ + น้ำคั้นหัวไชเท้า + น้ำมะพร้าวอ่อน" อัตรา ส่วน 1 : 1 : 1 : 5 ไม่ใช้กากน้ำตาลหรือกลูโคส เพราะในน้ำมะพร้าวอ่อนมีกลูโคสอยู่แล้ว

หมายเหตุ :
- ทำฮอร์โมนเขียว ซุปเปอร์. โดย "น้ำคั้นผัก + น้ำคั้นหัวไชเท้า+ น้ำมะพร้าวแก่" อัตราส่วน 10 : 10 : 1 แล้วใช้อัตราเดิมและวิธีเดิม

- ผักสวนครัว แปลงเล็ก ปลูกกินในบ้าน สามารถปรับสูตรหรืออัตราส่วนได้ ตามความถนัด หรือเท่าที่มี

แหล่งธาตุอาหารจากพืช : ผักสด. หมากเม่า (อะมิโน 25 ชนิด), กวาวเครือขาว (เอ็นเอเอ.), เหง้าตำลึง (พาโคลบิวทาโซล), น้ำมะพร้าวอ่อน (จิ๊บเบอเรลลิน), น้ำมะพร้าวแก่ (เอสโตรเจน, ไซโตไคนิน, ไคโตซาน, ฟอสเฟต, แม็กเนเซียม, แคลเซียม, กลูโคส), เกสรดอกตูม (ฟอสเฟต), ข้าวโพดหวาน (เร่งราก), หัวไชเท้า (ไซโตไคนิน. ไคโตซาน), เมล็ดงอก (จิ๊บเบอเรลลิน), หน่อไม้ไผ่ (ไซโตไคนิน. ไคโตซาน), หน่อไม้ฝรั่ง (ไซโตไคนิน. ไคโตซาน), มะเขือเทศสุก (แมงกานิส), จาวมะพร้าว (จิ๊บเบอเรลลิน. ไซโตไคนิน. เอสโตรเจน. โปรตีน), น้ำเต้าหู้ (อะมิโนโปรตีน), ข้าวน้ำนม (ไคโตซาน), แปะก๊วย (ฟลาโวนอยด์), สาโท (น้ำตาล, แอลกอฮอร์), เบียร์สด (น้ำตาล, แอลกอฮอร์)

แหล่งธาตุอาหารจากสัตว์ : นมสดจากฟาร์ม, นมเหลือง, น้ำนึ่งปลา, น้ำหอยเผา (ไซโตไคนิน. ไคโตซาน), หอย 2 ฝา(สังกะสี. แม็กเนเซียม. โซเดียม.), เลือด (อะมิโนโปรตีน. ไซโตไคนิน), น้ำเชื้อ (เอสโตรเจน), น้ำล้างปลา (ไนโตรเจน), ไส้เดือน (ไซโตไคนิน. ไคโตซาน), ขี้เพี้ย, มูลสัตว์ตั้งท้อง (เอสโตรเจน)



คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
ปุ๋ยอินทรีย์ :
ข้อดี :

1. ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน
2. อยู่ในดินได้นาน และค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ
3. ส่งเสริมจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมให้ปุ๋ยเคมีเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
5. ได้ผลดีทั้ง ระยะสั้น ระยะปานกลาง ระยะยาว และทำเองได้

ข้อด้อย :
1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่อน้ำหนักปุ๋ยต่ำ ต้องใช้ปริมาณมาก สม่ำเสมอ
2. ใช้เวลานานในการปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช
3. ราคาต่อน้ำหนักของธาตุอาหารพืชมีราคาสูง
4. มีจำนวนจำกัด ไม่สามารถหาซื้อในปริมาณมากๆ ได้
5. ใช้ระยะเวลานาน ทั้งการผลิต และการใช้
6. มีข้อจำกัดในการเลือก สูตร/ชนิด/ประเภท ให้ตรงกับ ระยะ/ชนิด ของพืช
7. สิ้นเปลืองค่าขนส่งสูง

ปุ๋ยเคมี :
ข้อดี :

1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่อน้ำหนักปุ๋ยสูง
2. ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชได้เร็ว
3. ราคาต่อน้ำหนักของธาตุอาหารพืชมีราคาต่ำ สะดวกต่อการขนส่งและเก็บรักษา
4. สูตรตรงตาม ชนิด/ระยะ/ปัจจัยเกี่ยวข้อง ของพืช
5. หาซื้อง่าย เพราะผลิตได้จากโรงงาน สามารถผลิตได้จำนวนมากตามต้องการ

ข้อด้อย :
1. ไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน
2. ปุ๋ยแอมโมเนีย ใช้ในปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ดินเป็นกรด .... ปุ๋ยฟอสฟอรัส ใช้ในดินปริมาณมากและติดต่อกันนานจะตรึงปุ๋ยตัวอื่นไม่ปล่อยให้พืชนำไปใช้ได้

3. การใช้ปุ๋ยเคมีต้องระมัดระวัง เพราะปุ๋ยเคมีทุกชนิดมีความเค็ม ถ้าใส่มากหรือใส่ติดโคนต้นพืชจะเป็นอันตรายต่อต้นพืชและการงอกของเมล็ด

4. ต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องปุ๋ย
5. สูญเสียเงินตราของประเทศ

ข้อดีและข้อจำกัดในการใช้ปุ๋ยทางใบ :
ข้อดี :

1. การปรับปรุงดินที่มีปัญหา ให้มีคุณสมบัติเหมะสมกับการใช้ปุ๋ยทางดิน ต้องใช้เวลาพอสมควร ในช่วงเวลาที่มีปัญหาดังกล่าว อาจแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารบางธาตุ โดยการพ่นทางใบโดยตรง ซึ่งไม่ต้องมีอุปสรรคเกี่ยวข้องกับการตรึง หรือลดความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน

2. ในหลายกรณีการให้ปุ๋ยทางใบมีประสิทธิภาพสูงกว่าใส่ในดิน โดยเฉพาะธาตุอาหารเสริม
3. ในบางระยะของการเจริญเติบโตของพืช ถ้าพืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารในระยะวิกฤ เช่น ก่อนออกดอก ในจังหวะเช่นนี้ ไม่มีวิธีใดให้ผลดีและรวดเร็วกว่าการให้ทางใบ หากใส่ปุ๋ยทางดินอาจไม่ทันกับความต้องการ และกระทบกระเทือนต่อผลผลิตอย่างรุนแรง การให้ปุ๋ยพวกธาตุอาหารเสริมทางใบอาจไม่ต้องทำบ่อย การให้ในความเข้มข้นที่เหมาะสมเพียงครั้งหรือสองครั้ง ก็เพียงพอไปจนตลอดชีพจักรของพืช

4. การให้ปุ๋ยทางใบ ได้ผลดีกับพืชที่มีใบใหญ่และใบมาก เพราะจะรับละอองปุ๋ยไว้ได้มาก วิธีนี้จึงให้ผลดีกับพืช ใบเลี้ยงคู่ เช่น ไม้ผล ผักต่าง ๆ มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดียว เช่น ข้าว อ้อย ในกรณีที่รากพืชไม่ค่อยเจริญเติบโตเท่าที่ควร เนื่องจากดินไม่ค่อยสมบูรณ์ มีการตรึงธาตุอาหารรุนแรง ธาตุอาหารสูญเสีย โดยการพังทลาย และการชะล้างอุณหภูมิอากาศต่ำ ความชื้นในดินมีจำกัด รากมีบาดแผล หรือเริ่มเป็นโรค หรือระบบรากค่อนข้างจำกัด ควรแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยการให้ปุ๋ยทางใบ

5. การให้ปุ๋ยทางใบเพื่อเสริมการใส่ในดิน จะให้ผลเด่นชัด เมื่อให้ตอนที่พืชมีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้าและระหว่างการออกดอก ขณะที่พืชออกดอกจะมีใบเต็มที่แล้ว แต่ความสามารถในการดูดธาตุอาหารของรากลดลง

ข้อจำกัด :
1. ควรถือว่าการให้ปุ๋ยทางใบเป็นวิธีเสริมการใส่ปุ๋ยทางดินตามปกติ
2. การพ่นปุ๋ยน้ำให้มีละอองเล็กและรวดเร็วต้องใช้เครื่องมือพิเศษ และต้องการความชำนาญพอสมควร

3. พืชหลายชนิด ไม่ค่อยตอบสนองต่อการพ่นปุ๋ยทางใบ องค์ประกอบทางเคมีและสัณฐานลักษณะของพืช มีผลกระทบต่อการเกาะติดที่ใบ และการใช้ประโยชน์จากปุ๋ย

4. หากใช้อัตราสูงเกินไป อาจเกิดอาการใบไหม้ได้อย่างรุนแรงกว่าการใส่ในดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ปุ๋ยธาตุอาหารเสริมจะต้องระมัดระวังในเรื่องอัตราที่ใช้อย่างมาก

5. ต้องไม่ใช้ปุ๋ยพ่นทางใบในขณะที่พืชเหี่ยวเฉาหรือขาดน้ำ หรืออากาศร้อนจัด ลมแรงหรือเมื่อคาดว่าฝนจะตก

6. การพ่นปุ๋ย อย่าให้ถึงกับเปียกโชกเพราะสิ้นเปลีองค่าปุ๋ยซึ่งมีราคาแพง ประสิทธิภาพของพ่นทางใบเมื่อตกลงดินจะมีประสิทธิภาพเท่ากับปุ๋ยที่ใส่ทางดินที่มีราคาถูกกว่ามาก

7. โดยปกติปุ๋ยที่ใช้อยู่ในรูปของอนินทรียสาร จึงกัดกร่อนอุปกรณ์การพ่นปุ๋ยมากกว่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทั่ว ๆ ไป

ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ 3 กลุ่ม :
กลุ่มที่ 1 เรียกว่า ธาตุอาหารหลัก ประกอบด้วย ไนโตรเจน. ฟอสฟอรัส. และโพแทสเซียม.
กลุ่มที่ 2 เรียกว่า ธาตุอาหารรอง ประกอบด้วย แคลเซียม. แมกนีเซียม. กำมะถัน.
กลุ่มที่ 3 เรียกว่า ธาตุอาการเสริม ประกอบด้วย เหล็ก. แมงกานีส. สังกะสี. ทองแดง. โบรอน.
โมลิบดินัม. คลอรีน. โซเดียม. ซิลิก้า.

การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบ มีข้อจำกัดหลายประการ แต่ประการที่สำคัญที่สุด คือ ความเข้มข้นของปริมาณธาตุอาหารที่มากเกินพอ จนทำให้พืชทนไม่ได้ และเกิดความเสียหายได้ อัตราแนะนำที่ต่ำเกินไป พ่นทางใบจะไม่ได้ผลเต็มประสิทธิภาพ เสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มค่าและเกิดความเข้าใจผิดเสียโอกาสแต่อัตราที่สูงเกินไปก็จะเกิดผลเสียหายแก่พืชอัตราการใช้ปุ๋ยพ่นทางใบแต่ละสูตรขึ้นอยู่กับ

1. ธาตุอาหารหลักที่สูตรปุ๋ยนั้น ๆ ถ้าใช้เกินความทนได้ของพืชแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงลำดับมากไปหาน้อย คือ ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน และโพแทสเซียม

2. ชนิดของพืชที่แนะนำให้ใช้ แบ่งพืชออกเป็น 3 กลุ่ม ตามความสามารถที่ทนได้ต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลัก

2.1 พืชกลุ่มที่ 1 พวกแตงต่าง ๆ ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา มะเขือ ต่างๆ ผักกาดหอม ไม้ดอก ไม้ประดับ และไม้ผลพืช ในกลุ่มนี้มีความทนต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารหลักได้ต่ำสุด

2.2 พืชกลุ่มที่ 2 พวกพืชตระกูลกระหล่ำ มีความทนได้ปานกลาง
2.3 พืชกลุ่มที่ 3 พืชหัว หอม กระเทียม แครอท มันฝรั่ง มันต่าง ๆ สับปะรด มีความทนได้สูง

3. การกำหนดอัตรา เพื่อเขียนลงในเอกสารกำกับปุ๋ยเคมี เพื่อจัดหาให้แก่เกษตรกร กำกับปุ๋ยสูตรที่ขอขึ้นทะเบียน และจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดอัตราการใช้เพียงครึ่งหนึ่งของความทนได้ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า การใช้ปุ๋ยพ่นทางใบของเกษตรกรนั้น ส่วนใหญ่ใช้ประมาณคร่าว ๆ และมักใช้เกินอัตราแนะนำ ดังนั้นการลดอัตราการใช้จากความทนได้ลงมาครึ่งหนึ่งก็เพื่อความปลอดภัยของพืชนั่นเอง

เวลาที่เหมาะแก่การพ่นทางใบ :
ควรพ่นในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ แดดไม่จัด และความชื้นสัมพัทธ์สูง เพื่อให้คงสภาพเป็นสารละลายนานที่สุด เนื่องจากพืชจะได้รับประโยชน์จากปุ๋ยที่ให้ทางใบก็ต่อเมื่อปุ๋ยนั้นอยู่ในรูปของสารละลาย การดูดซึมปุ๋ยทางใบจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉพาะเมื่อปุ๋ยยังอยู่บนผิวใบในรูปของสารละลาย

http://www.navy22.com/smf/index.php?topic=16558.0


ข้อดีและข้อเสียของการใช้ปุ๋ยทางใบ(ปุ๋ยน้ำ และปุ๋ยเกล็ด) :
ปุ๋ยทางใบ หมายถึง ปุ๋ยที่เป็นสารละลายแล้ว ฉีดพ่นทางใบเพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืช เนื่องจากรากพืชสัมผัสอยู่กับอนุภาคดินและสาร ละลายของดินโดยตรง รากจึงดูดธาตุอาหารได้ตลอดเวลา ส่วนใบพืชอยู่ในอากาศ จะมีโอกาสดูดธาตุอาหารได้เฉพาะ จากสารละลายที่มาสัมผัสใบเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ใบจึงได้รับธาตุอาหารตามธรรมชาติจากน้ำฝนและน้ำค้าง การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้แก่พืชเป็นการช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารได้มากขึ้นและเร็วขึ้นชนิดของปุ๋ยทางใบ

ปัจจุบันใช้ปุ๋ยทางใบมี 2 ชนิด :
1. ปุ๋ยเกล็ด คือปุ๋ยเคมีชนิดแข็งที่มีสภาพเป็นรูปผลึกของสารประกอบ ผลิตจากการนำแม่ปุ๋ยชนิดต่างๆมาผสมกับให้ได้สูตรที่ต้องการเป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำง่าย

2. ปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยเหลว คือปุ๋ยที่ได้จากการละลายแม่ปุ๋ยในน้ำให้ได้สัดส่วนเป็นปุ๋ยสูตรต่างๆ โดยที่แม่ปุ๋ยจะถูกละลายได้ทั้งหมด วิธีใช้ปุ๋ยเพียงแต่นำมาเจือจางด้วยน้ำในอัตราที่พอเหมาะแล้วนำไปฉีดพ่นพืชได้ทันที

ข้อดีของการใช้ปุ๋ยทางใบ :
1. ช่วยให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจากการย้ายปลูกและตั้งตัวได้แล้ว
2. ใช้กับอาการขาดธาตุอาหารในระยะแรกๆ ได้ดี
3. ใช้ผสมกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง และควบคุมวัชพืชได้เป็นการประหยัดแรงงาน
4. ใช้กับพืชที่ปลูกในดินที่มีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินเหนียวจัด หรือดินที่มีปัจจัยแวดล้อมขวางการดูดใช้ธาตุอาหารทางระบบราก

5. ใช้ในการเสริมธาตุหลัก คือ ไนโตรเจนในรูปปุ๋ยยูเรียและการให้ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมแก่พืช

6. พืชสามารถดูดธาตุอาหารโดยทางใบได้มากกว่า และเร็วกว่าการดูดทางราก ต้นไม้จึงใช้ประโยชน์จากธาตุอาหารได้เร็ว

7. ช่วยให้พืชฟื้นตัวเร็ว หลักจากชะงักเนื่องจากกระทบแล้งหรือถูกโรคแมลงทำลาย
8. ปุ๋ยน้ำ มีความสม่ำเสมอของเนื้อปุ๋ยแน่นอนกว่าปุ๋ยชนิดแข็งและปุ๋ยเกล็ด มีปริมาณเนื้อปุ๋ยรวม (N + P2O5 + K2O) สูงกว่าปุ๋ยเม็ดทำให้ทุ่นค่าใช้จ่ายในการขนส่งมากกว่า

9. ปุ๋ยน้ำผลิตง่ายและเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสูตรได้ง่าย จึงผลิตได้มากสูตรกว่าปุ๋ยชนิดแข็ง
10. ง่ายต่อการขนส่งและการใช้ เมื่อเปรียบเทียบปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางดิน ปุ๋ยทางใบ มิใช่จะดีกว่าปุ๋ยทางดินในทุกๆเรื่อง ข้อเสียหรือความไม่เหมาะสมของปุ๋ยทางใบมีหลายประการดังจะได้กล่าวต่อไป ฉะนั้นจึงควรพิจารณาข้อดีและข้อเสียก่อนจะเลือกใช้ปุ๋ยข้อเสียของการใช้ปุ๋ยทางใบ

ข้อเสียของการใช้ปุ๋ยทางใบ :
1. โดยทั่วไปการใช้ปุ๋ยทางใบเพียงอย่างเดียวไม่สามารถจะให้ธาตุอาหารแก่พืชได้อย่างเพียงพอในปริมาณ ที่เท่าเทียมกับปุ๋ยทางดิน เพราะถ้าให้ในระดับความเข้มข้นสูงเกินไปอาจทำให้พืชใบไหม้

2. การให้ปุ๋ยทางใบเพียงอย่างเดียวจะทำได้เฉพาะกับพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงมากเท่านั้น เพราะจะต้อง ให้ปุ๋ยบ่อยครั้งตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ

3. ปุ๋ยน้ำชนิดสารละลายไม่สามารถผลิตให้มีเกรดสูงๆได้ โดยทั่วไปมักมีปริมาณของธาตุอาหารรวมของ (N + P2O5 + K2O) ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์

4. ปุ๋ยเกล็ดมักมีคุณสมบัติดูดความชื้นจากอากาศได้ง่ายกว่าปุ๋ยเม็ด แม้จะมีการใส่สารป้องกันความชื้นแล้วก็ตามทำให้เสื่อมคุณภาพเร็ว

5. ราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยน้ำสูงกว่าราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยเกล็ด เพราะโดยทั่วไปปุ๋ยน้ำจะมีเกรดต่ำกว่าปุ๋ยชนิดแข็ง (ปุ๋ยเม็ด และปุ๋ยเกล็ด)

6. ราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยเกล็ดสูงกว่าราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยเม็ดมาก เพราะแม่ปุ๋ยที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยผสมชนิดเกล็ดมีราคาแพงกว่าแม่ปุ๋ยที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยเม็ด

7. ปุ๋ยน้ำละลายธาตุอาหารเสริมและธาตุอาหารรองได้น้อย ยกเว้นปุ๋ยน้ำที่ใช้แม่ปุ๋ยในรูปของสารประกอบพวกโพลิฟอสเฟตและสารคีเลต

8. ปุ๋ยน้ำโดยทั่วไปจะควบคุมคุณภาพได้ยากกว่าปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยเกล็ด

คุณสมบัติและลักษณะของปุ๋ยทางใบที่ดี :
ปุ๋ยทางใบที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้ :

1. ปุ๋ยพืชที่มีสูตรสูง อย่างน้อยควรมีผสมรวมของ N + P2O3 + K2O ไม่น้อยกว่า 30% สำหรับปุ๋ยน้ำ และ 60% สำหรับปุ๋ยเกล็ด

2. ควรประกอบด้วยธาตุอาหารเสริมบางธาตุหรือหลายๆ ธาตุนอกเหนือจากธาตุอาหารหลัก N-P-K

3. ควรเป็นปุ๋ยที่มีความเป็นกรดมากพอ ที่เมื่อนำไปละลายน้ำในระดับความเข้มข้น 0.25-0.30 % ของตัวปุ๋ย (ซึ่งเป็นอัตราที่ใช้อยู่ในประเทศไทย) จะได้ส่วนผสมของสารละลายปุ๋ยที่มีค่า pH ระหว่าง 4.5-6.0 ทั้งนี้เนื่องจากค่า pH ในช่วงดังกล่าวใบพืชจะสามารถดูดธาตุ อาหารได้ดีและเร็วกว่าค่า pH ของปุ๋ยที่ต่ำหรือสูงกว่านี้

4. ปุ๋ยน้ำควรเป็นปุ๋ยประเภทสารละลายที่ไม่มีความดัน
5. ปุ๋ยเกล็ดควรเป็นปุ๋ยที่สามารถละลายน้ำได้เร็วและละลายได้น้ำทั้งหมด
6. ปุ๋ยน้ำควรเป็นปุ๋ยที่ผลิตจากแม่ปุ๋ยฟอสฟอรัส ในรูปของสารประกอบหรือสารละลายโพลิฟอสเฟต

7. ปุ๋ยเกล็ดควรอยู่ในรูปผลึกขนาดเล็ก ที่มีความบริสุทธิ์สูง ไม่ชื้นง่าย และไม่ควรมีค่าความชื้นมากกว่า 1 เปอร์เซ็นต์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หรือที่
กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กทม 10900 โทร 0-2579-8515

http://www.ldd.go.th/menu_Dataonline/G7/G7_02.pdf

--------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©