-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 20 MAY *สปริงเกอร์ สปริงเกอร์ และสปริงเกอร์
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 20 MAY *สปริงเกอร์ สปริงเกอร์ และสปริงเกอร์
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 20 MAY *สปริงเกอร์ สปริงเกอร์ และสปริงเกอร์

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/05/2021 10:41 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 20 MAY *สปริงเกอร์ สปริงเกอร์ และ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 20 MAY ...
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

*****************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม ...

ผลิตรายการโดย....
กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

ผู้สนับสนุนรายการ ....
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ

เช่นเคย รายการเรา
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า

ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

........................................................................................................
........................................................................................................


งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปที่วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก

** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลงที่นั่น ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

งานสีสันสัญจรปกติตามวงรอบ งวดนี้ เสาร์นี้ ตรงกับวันที่ 22 พ.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ สมุนไพรสำหรับคน (086) 983-1966 .... ไปวัดท่าตำหนัก ถ.เพชรเกษม (ขาล่อง) ก่อนถึงแยกนครชัยศรี 200 ม. นครปฐม


- งานสัญจรระยะนี้ต้องร่วมกันป้องกัน COVID หลีกเลี่ยงจับกลุ่ม คนมากๆ แนะนำ สมช. สั่งปุ๋ยลุงคิม สั่งยา อ.ณัฐ โทรติดต่อโดยตรงแล้วได้นัดหมายรับส่งของกัน รับของแล้วแยกกันเลย มีปัญหาอะไรโทรศัพท์คุยกันก็ได้....

************************************************************
***********************************************************

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 20 MAY

จาก :
(098) 187-46xx
ข้อความ : สนใจเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง ระบบสปริงกอร์ของไร่กล้อมแกล้ม ความเหมือนบนความต่าง ความต่างบนความเหมือน ทั้งหมดเหมือนต่างกันอย่างไร ขอบคุณครับ

จาก : (084) 720-48xx
ข้อความ : ลุงคิมบอกว่า สปริงเกอร์ไร่กล้อมแกล้ม ทำไม่ได้ คือ ห่อผลกับตัดแต่งกิ่ง ช่วยเล่ารายละเอียดด้วยครับ
ตอบ :

คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม
16 APR
เก็บตกงานสัญจร 10 เม.ย. วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี : สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย

สมช. :
ลุงครับ ขอปรึกษาเรื่องสปริงเกอร์หน่อยครับ
ลุงคิม : (หัวเราะ...) หน่อยเดี่ยวนะ หน่อยเดียวปรึกษาฟรี ปรึกษามากคิดค่าตัว วินาทีละแสน....

สมช. : ตกลงครับ
ลุงคิม : สปริงเกอร์สปริงเกอร์.... ตอนนี้ทำเกษตร ปลูกอะไรพืชไร่พืชสวนพืชน้ำไม้ผล ทำสวนแบบไหนพื้นราบยกร่องขั้นบันไดโรงเรือน แปลงใหญ่แปลงเล็ก

สมช. : ทำเกษตรผสมผสานครับ
ลุงคิม : ผสมผสาน เอาอะไรผสมกับอะไร ผสานกับอะไร ฟันธงเลยได้ไหม

สมช. : ไม้ผลมะม่วง 10 ไร่ ผักสวนครัวกินใบกินผล 10 ไร่ เป็นสวนพื้นราบปกติ มีสระน้ำไร่ครึ่ง มีน้ำตลอดปี ในน้ำเลี้ยงปลานิลครับ
ลุงคิม : ก็ดี ตอนนี้ถ้ายังมีพื้นที่ๆปลูกพืชว่างก็ เสริม/แซม/แทรก ลงไป อาจจะเลือกพืชที่ใช้แสงแดดน้อย แม้แต่ริมบ่อ เลี้ยงไก่ไข่ซัก 10 ตัว ไว้กินไข่ในบ้าน ทำเล้าริมบ่อ ยื่นไปในสระซัก 3 ม. 5. ม. ไก่ขี้ลงน้ำเป็นอาหารปลา

สมช. : เห็นด้วยครับ เลี้ยงไก่ริมบ่อ
ลุงคิม : จะทำอะไรก็แล้วแต่ อ่านงานที่ทำว่าหัวใจหรือความสำคัญ ของงานอยู่ตรงไหน มีอะไรบ้าง เพราะทำแล้วต้องให้สำเร็จ อย่างที่บอก ผลผลิตเพิ่มทั้งปริมาณคุณภาพ ต้นทุนลด ทั้งที่จ่ายที่ไม่ได้จ่าย อนาคตดีเกรด เอ. จัมโบ้. คนซื้อคนกินจองล่วงหน้า ....

สมช. : ครับ
ลุงคิม : โลกเราทุกวันนี้ ทุกอย่างจะโตได้ด้วยเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง งานเกษตรก็เหมือนกัน ภาคเกษตรปฏิเสธเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงทุกชนิด ทำด้วยคน ทำด้วยมือ ผิดกับภาคอุตสาหกรรม นั่นเขาพยายามขวนขวายค้นหาเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงทุกอย่างเอามาแทนแรงงานคน คิดดู เครื่องจักรเครื่องนึงใช้คนแค่ 20 คนแต่ถ้าใช้คนทำต้องใช้ถึง 200 คน มองเห็นอนาคตคนตกงานไหม ?....

วันนี้นำร่องคุยกันเรื่องสปริงเกอร์ เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงตัวนี้น่ะ เดินมาถูกแล้ว สวนเกษตร พืชทุกอย่างที่ปลูกต้องมีน้ำเป็นหัวใจ จากน้ำอย่างเดียวเดี่ยวๆ +ปุ๋ยทางทางใบทางราก +ยาสมุนไพรยาเคมี ทั้ง 3 อย่างไปพร้อมกันเลย แรงงานคนเดียว ชั่วโมงเดียวเสร็จ เนื้องานได้อะไร จากเดิมทำด้วยมือ ใช้เวลาทั้งวัน เนื้องานได้อะไร

หลายบ้านสอนลูกหลาน อย่าทำเลยเกษตร มันเหนื่อย แต่ไม่คิดเลยว่า ที่เหนื่อยน่ะทำด้วยมือ ทำไมไม่สอนลูกหลานให้ใช้เครื่องทุ่นแรงก็ไม่รู้

จากสปริงเกอร์เดี่ยวๆ วันนี้เพิ่มหม้อปุ๋ย หม้อปุ๋ยหน้าโซน ถังปุ๋ยที่ปั๊ม เนื้องานก็จะสมบูรณ์แบบเหนือขึ้นไปอีก

สปริงกอร์ เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน ประหยัดต้นทุน ประหยัดอารมณ์ ประหยัดร่างกาย กับอีกหลายๆประหยัด


พูดถึงประหยัด ๆๆ
* ประหยัดต้นทุน : ลากสายยาง ค่าไฟฟ้า ค่ำน้ำมันปั๊ม เช้ายันเย็น ......... สปริงเกอร์ ชั่วโมงเดียว

* ประหยัดเวลา : ลากสายยาง ค่าไฟฟ้า ค่ำน้ำมันปั๊มเช้ายันเย็น .............. สปริงเกอร์ชั่วโมงเดียว

* ประหยัดอารมย์ : ไม่เครียด คนงานลูกจ้างทำงานไม่ดี นายจ้างดุ วันหลังเขาไม่มา .... สปริงเกอร์ ไม่เครียด ทั้งนายจ้าง คนรับจ้าง

* ประหยัดร่างกาย : ฉีดพ่นสารเคมียาฆ่าแมลงกับสารสมุนไพร สุขภาพร่างกายต่างกันยังไง ต้นทุนค่าสุขภาพร่างกายเป็นล้านเป็นแสนก็ซื้อไม่ได้ .... งานนี้ได้ทั้ง คนทำ คนกิน
*

สมช. : ครับ
ลุงคิม : สัจจธรรมเกษตร .... บำรุงเต็มที่ ได้ผลเต็มที่ ประเด็นอยู่ที่ บำรุงด้วยอะไร อย่างไร เมื่อไร เท่าไร ทุกหัวข้อ O.K. มาที่อุปกรณ์เครื่องมือในการทำงาน คืออะไร อย่างไร

สมช. : ครับ
ลุงคิม : ....


คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
วันนี้ เทคโนโลยี สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย ไม่ใช่เครื่องมือรดน้ำธรรมดาๆ เท่านั้น แต่ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน ให้ปุ๋ยไปพร้อมกับน้ำ ให้ยา (สมุนไพร/เคมี) ไปพร้อมกับน้ำ ทั้งหมดนี้มิใช่แค่ให้อย่างใดอย่างหนึ่งทีละอย่าง แต่ให้ไปพร้อมกันทั้ง 2 อย่าง หรือทั้ง 3 อย่างเลยก็ได้ .... วางแผนจัดแปลงเป็นโซนๆ แปลงผักโซนละ 1 ไร่ ไม้ผลยืนต้นโซนละ 20-50 ต้น แต่ละโซนใช้เวลา 5-10 นาที แรงงานคนเดียว

ประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน :
ให้ทางใบ ฉีดพ่น “ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยาสมุนไพร/น้ำเปล่า” ได้ตามวัน เวลา และระยะเวลาที่ต้องการ การให้ปุ๋ยทางใบที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต้องให้ตอนปากใบเปิด (10 โมงเช้า ถึงบ่าย) .... การฉีดพ่นสารสมุนไพร เช่น ฉีดพ่นตอนเช้ามืดก่อนสว่างเพื่อล้างน้ำค้าง, ฉีดพ่นตอนเที่ยงเพื่อกำจัดเพลี้ยไฟ ไรแดง, ฉีดพ่นตอนหลังค่ำเพื่อไล่แมลงแม่ผีเสื้อที่จะเข้ามาวางไข่ หรือป้องกันกำจัดแมลงปากกัดปากดูดที่มาตอนกลางคืน,

ให้ทางราก “น้ำเปล่า/น้ำหมักชีวภาพ/ปุ๋ยเคมี” ตามวัน เวลา และระยะเวลาที่ต้องการ

ติดตั้งระบบสปริงเกอร์ครั้งหนึ่ง อยู่นานใช้งานได้ 10-20-30 ปี

การให้ปุ๋ยไปกับระบบสปริงเกอร์แบบนี้ อเมริกาทำมานานกว่า 50 ปีแล้ว เรียกว่า การให้ปุ๋ยทางท่อ หรือ การให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ำ

หม้อปุ๋ยหน้าโซน V.S. ถังปุ๋ยที่ปั๊ม :
หม้อปุ๋ยหน้าโซน :
ความจุเนื้อ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา สำหรับจำนวนต้นเฉพาะในโซน, สูตรเฉพาะไม้โซนนั้น, ไม่มีเนื้อปุ๋ยตกค้างในท่อ, ใช้แรง งานคนเดียว, ราคาแพง,

ถังปุ๋ยที่ปั๊ม : ความจุเนื้อ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา สำหรับจำนวนต้นไม้ทั้งแปลงที่สปริงเกอร์ไปถึง, สูตรเดียวกันทั้งสวน, มีเนื้อปุ๋ยตกค้างในท่อ, แปลงใหญ่มากตกค้างในท่อมาก, ใช้แรงงาน 2 คน, เนื้อปุ๋ยกัดลูกยางซีลปั๊ม, ราคาถูก,

ให้น้ำเปล่า, น้ำ+ปุ๋ย, น้ำ+ยา, น้ำ+ปุ๋ย+ยา, ยาสมุนไพร-ยาเคมี ใช้ได้ทั้งนั้น

ทำงานครั้งละ 3-5-10 นาที แรงงานคนเดียว ติดตั้งครั้งเดียวใช้งานได้ 10-20-30 ปี คุ้มเกินคุ้มนะ...

ไม้ผลแบ่งเป็นโซน ๆละ 50 ต้น ให้ น้ำ, น้ำ+ปุ๋ย, น้ำ+ยาสมุนไพร, น้ำ+ปุ๋ย+ยาสมุนไพร มีหม้อปุ๋ยประจำหน้าโซน ทำงานให้ทางใบครั้งละ 3-5 นาที ให้ทางรากครั้งละ 5-10 นาที ต่อการทำงาน 1 รอบ :

เปรียบเทียบ : ลากสายยาง 50 ต้น ๆละ 5 นาที = 250 นาที/ครั้ง VS สปริงเกอร์ 50 ต้น ใช้เวลา 5 นาที = 5 นาทีไฟฟ้า/ครั้ง

สรุป : ลงทุนครั้งเดียว ทำงาน 5ปี 10ปี 20ปี ต้นทุนค่าไฟฟ้า ค่างแรง ประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน ความเครียดในการทำงาน เครดิตความน่าเชื่อถือ .... ต่างกันเท่าไหร่ ?

สปริงเกอร์สั่งได้ :
ตี.5 : ........................... ล้างน้ำค้าง ป้องกัน/กำจัด ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม
สาย : .......................... ให้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน
เที่ยง : ......................... ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยไฟ ไรแดง
ค่ำ : ............................ ป้องกันแม่เสื้อเข้าวางไข่ ไข่แมลงฝ่อ ฆ่าหนอนที่ออกหากินลางคืน

กลางวัน-กลางคืน : .... ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ ทุกวัน วันต่อวัน วันเว้นวัน ทำได้ตามต้องการ
กลางวันฝนตก : …..... ก่อนฝนตกหรือหลังฝนหยุด ให้ปุ๋ยทางใบป้องกันการแตกใบอ่อน
กลางวันฝนตก : ..…... ฝนหยุดแดดออก (ฝนต่อแดด) ล้างน้ำฝน ป้องกัน/กำจัด แอ็นแทร็คโนส, ไม้ผล ระยะสะสมตาดอก หรือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช

เปรียบเทียบสปริงเกอร์ :
- ราคา
- อายุใช้งาน
- ต้นทุนแรงงาน (ทำเอง/จ้าง)
- ต้นทุนพลังงาน (ไฟฟ้า/น้ำมัน)
- ต้นทุนเวลาที่ทำงาน
- ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของเนื้องาน
- สุขภาพร่างกาย (คนใช้/คนกิน)
- เครดิตความน่าเชื่อถือ (สังคม/ทั่วโลก)

- สปริงเกอร์ คือ เครื่องฉีดพ่นที่ไม่ธรรมดา เพราะนอกจากฉีดพ่นน้ำ น้ำเปล่าๆ ปรับ/ปรุง/เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก เป็น น้ำ+ปุ๋ย+ยา+ฮอร์
โมน อย่างเดียว หรือหลายอย่างรวมกันไปพร้อมกันได้ ด้วยสโลแกนที่ว่า ประหยัด เวลา/แรงงงาน/พลังงาน/อารมณ์ เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน สร้างเครดิตความน่าเชื่อถือ

- ต้นสูง สูงมากสูงน้อย สปริงเกอร์ให้ปุ๋ยทางใบก็ต่อท่อจากพื้นให้สูงขึ้น สูงขึ้นไปให้ถึงยอด สูงกว่ายอดประมาณ 50 ซม. ถ้ามีหลายหัวในต้นเดียวกันหรือในโซนเดียวกัน ก็ให้ทุกหัวสูงเท่าๆกัน หรือ สูง/ต่ำ กว่ากันไม่เกิน +/- 10% ของความสูง .... แค่นี้ไม่พอ ต้องมีระบบวางท่อให้เป็นแบบมี “แรงดัน-แรงอัด” สายน้ำหมุนวนแบบไฟฟ้าที่เรียกว่า “อนุกรม” อีกด้วย ไม่ทำแบบนี้ น้ำพ่นออกที่หัวสปริงเกอร์เหนือยอดจะไม่แรง แต่ละหัวแรงไม่เท่ากัน ปล่อย ปุ๋ย/ยา ไปกับสปริงเกอร์ไม่ได้

- ที่ RKK เคยมีต้นมะม่วงติดมากับสวน สูงเท่าสันจั่วบ้าน 2 ชั้น (9-10 ม.) ขนาดทรงพุ่มเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-7 ม. (2 คนโอบ) จำนวน 3 ต้น ติดสปริงเกอร์เหนือยอดต้นละ 2 หัว เปิดน้ำแล้วคนไปยืนโคนต้นเปียกเหมือนฝนตก

- สปริงเกอร์ RKK แบบ “กะเหรี่ยงหน้ามืด” วางท่อเดี่ยววิ่งผ่านโคนต้นทุกแถว ติดวาวล์คู่ทางใบทางรากประจำต้นที่โคนต้นทุกต้น จะให้ทางใบเปิดวาวล์ทางใบปิดวาวล์ทางราก จะให้ทางรากเปิดวาล์วทางรากปิดวาวล์ทางใบ 1 โซน 50 ต้น เดินเปลี่ยนวาวล์ทีละต้นๆ ๆๆ 3 ก้าวก้มๆ แค่ 20 ต้นหน้ามืด....หน้าโซนมีหม้อปุ๋ย....ในโซนมีวาวล์ล้างท่อรวม

- สปริงเกอร์ RKK แบบ “กะเหรี่ยงเจ้าพระยา” วางท่อคู่วิ่งผ่านโคนต้น ท่อสำหรับทางใบ 1 ท่อ ท่อสำหรับทางราก 1 ท่อ ติดวาวล์คู่ “ทางใบ-ทางราก” ที่หน้าโซน จะให้ทางใบเปิดวาวล์ทางใบปิดวาวล์ทางราก จะให้ทางรากเปิดวาล์วทางรากปิดวาวล์ทางใบ 1 โซน 50 ต้น เปลี่ยนวาวล์ที่เดียวครั้งเดียวหน้าโซน....หน้าโซนมีหม้อปุ๋ย....ในโซนมีวาวล์ล้างท่อ แยกทางใบทางราก

- สปริงเกอร์ RKK แบบ “กะเหรี่ยงคอยาว” หัวสปริงเกอร์สูงกว่าต้น พ่นน้ำ 90 องศา พื้นราบ กระจายทั่วทรงพุ่ม

- สปริงเกอร์ RKK แบบ “กะเหรี่ยงหน้าง้ำ” หัวสปริงเกอร์สูงกว่าต้น พ่นน้ำคว่ำลง ครอบขนาดทรงพุ่มพอดีต้นเดียว

- สปริงเกอร์ RKK แบบ “กะเหรี่ยงลอยฟ้า” หัวสปริงเกอร์อยู่เหนือต้น พ่นน้ำลงมาตรงๆ หรือพ่นรอบตัว

- สปริงเกอร์ RKK แบบ “กะเหรี่ยงปากเป็ด” หัวสปริงเกอร์แบบพ่นน้ำด้านเดียว

- สปริงเกอร์ RKK แบบ “ไม่มีกรอง ล้างตัวเองได้” ระบบกรองประจำโซนแต่ละโซนทุกโซน กับระบบกรองที่หัวกะโหลก (ในสระน้ำ) สนนราคาอันละ 3 บาท (มั้ง...) .... หม้อกรองอิสราเอล อันละเป็นหมื่น (+) หม้อกรองไต้หวันทำเทียม อันละพัน (+)

- สปริงเกอร์ RKK วางท่อแบบ “แรงดัน-แรงอัด 3ครึ่ง-3-2-1-ครึ่ง” โซนห่างจากปั๊ม 200 ม. (ตลับเมตรวัด) ขนาดโซน 50 ต้นเหมือนโซนติดปั๊ม แรงพ่นน้ำแต่ละต้นยังรัศมี 3 ม. (ผ่าศูนย์กลาง 6 ม.) เท่ากับโซนแรกติดปั๊ม

- สปริงเกอร์ RKK วันนี้ “แบ่งเป็นโซนๆ” ทั้งสวนรวม 20 โซน ประมาณการแล้วว่าสามารถเพิ่มพื้นที่ออกไปได้อีก 20 โซนสบายๆ เพราะระบบ “แรงดัน-แรงอัด 3-2-1-ครึ่ง” นี่เอง

- สปริงเกอร์ RKK วางท่อแบบ “อนุกรม (ไฟฟ้า)” ใน 1โซน 50หัว หรือ 1โซน 7แถว ๆละ 7หัว = 49หัว หรือ 49ต้น เปิดวาวล์รวมตัวเดียวคลุมได้ทั้งโซน พ่นน้ำออกที่หัวสปริงเกอร์รัศมี 3 ม. (ผ่าศูนย์กลาง 6 ม.) เท่ากันทุกหัว หัวไหนพ่นน้ำค่อยแสดงว่าหัวนั้นเสียให้เปลี่ยนหัว ....

- สปริงเกอร์ RKK วางท่อแบบ “ขึงหัว ขึงท้าย” ในแต่ละโซนไม้ที่ปลูกเป็นแถวแล้ววางท่อตามแนวโคนต้นทุกต้น รวม 7 แถวของ 1 โซน ที่ปลายท่อด้านหัวแถวของทุกแถวเชื่อมต่อกันด้วยท่อขนาด 1 นิ้ว (เรียกว่า "ขึงหัว") กับปลายท่อด้านท้ายแถวของทุกแถวเชื่อมต่อกันด้วยท่อขนาด 1/2 นิ้ว (เรียกว่า "ขึงท้าย") ซึ่งการ "ขึงหัว ขึงท้าย" นี้ คือ หัวใจที่ทำให้น้ำถูกดันออกที่หัวสปริงเกอร์เท่ากันทุกหัว ของทั้งโซน

สปริงเกอร์แบบเป็นแถว หัวแถวมีวาวล์แถวใครแถวมัน เปิดกี่แถวได้เท่านั้นแถว เปิดวาวล์แล้วหัวแรกแรง แรงมาก หัวกลางออกกลาง หัวท้ายออกค่อย ค่อยมาก ไม่ออกเลย แบบนี้ให้น้ำออกไม่เท่ากันทั้งๆที่อยู่ในแถวเดียวกันด้วยซ้ำ บางคนแก้ไขโดยการใส่วาวล์ซ้อนที่ท่อตั้งติดหัวสปริงเกอร์เวลาทำงานจะลดวาวล์ซ้อนที่หัวแถว เพื่อให้เหลือแรงดันน้ำไปให้หัวปลายแถวแบบนี้เรียกว่า “เกือบใช่” ที่สำคัญ แบบนี้ปล่อย “ปุ๋ย/ยา/ฮอร์โมน” ไปพร้อมกับระบบน้ำ หรือไปทางท่อไม่ได้

- สปริงเกอร์ RKK เปิดน้ำโซนเดียวแรงพ่นน้ำได้ “รัศมี 3 ม. หรือผ่าศูนย์กลาง 6 ม.” แต่ถ้าเปิดน้ำพร้อมกัน 2 โซน (98หัว หรือ 98ต้น) แรงพ่นน้ำได้รัศมี 1.5 ม. หรือผ่าศูนย์กลาง 3 ม. ถ้าเป็นการให้ทางใบ ความกว้างรัศมีพ่นน้ำขนาดนี้อาจจะไม่พอ แต่ถ้าเป็นการให้ทางราก ความกว้างรัศมีพ่นน้ำขนาดนี้อาจจะ (เน้นย้ำ....อาจจะ) พอ

- สปริงเกอร์ RKK ถังปุ๋ยที่ปั๊ม 1 ถัง ใส่ปุ๋ย “สูตรเดียว” สำหรับทุกโซนตามระยะพัฒนาการของพืช

- สปริงเกอร์ RKK แบบ “ยาวตัด-สั้นต่อ-ไม่พอซื้อ-ไม่ดีรื้อทำใหม่” (ซาเล้งร้องไห้ เพราะเอาไป REUSE ใช้ใหม่ไม่ได้....)

- สปริงเกอร์ RKK ใช้งานมาแล้ว “10 ปี” คาดว่าจะใช้ได้ต่ออีก 10-20-30 ปีได้

- สปริงเกอร์ RKK ตรวจว่า “น้ำ + ปุ๋ย + ฯลฯ” ส่งไปตามท่อกระจายทั่วแปลง (โซน) โดยตัดท่อที่พื้นราบแล้วต่อเชื่อมด้วยกระบอกแก้วใส 2-3-4 จุด เมื่อเปิดวาวล์ทำงานจะเห็นน้ำเป็นสีชัดเจน เท่ากันทุกจุด

- สปริงเกอร์ RKK ทดสอบอาการ “กระจายเนื้อปุ๋ย” โดยละลายน้ำผสมยิบซั่มใส่ลงหม้อปุ๋ย แล้วเปิดวาวล์ทำงานปกติ ใช้น้ำละลายยิบซั่ม มาก/น้อย ตามต้องการ เสร็จแล้วปล่อยให้พื้นในแปลงแห้ง จะเห็นผงยิบซั่มติดที่ยอดหน้าหน้าดินขาวโพลนทั่วทั้งแปลง

- หม้อปุ๋ยหน้าโซนแบบ “เวนจูรี่” (สมช.ทำงานแท่นเจาะน้ำมันในอ่าวไทยบอก เพราะระบบทำงานเป็นสุญญากาศเหมือนกัน) เปิดวาวล์เปิดหม้อปุ๋ยทำงาน แรงดันรัศมีพ่นน้ำไม่ลด ( 1 โซน 3 ม., 2 โซน 1.5 ม.) .... แต่หม้อปุ๋ย MADE IN USA รง.บางปู สมุทรปราการ ราคาอันละ 20,000 ส่งออก ตปท. เปิดวาวล์เปิดหม้อปุ๋ยทำงาน เปิดโซนเดียว แรงดันรัศมีพ่นน้ำลดลงครึ่งหนึ่งทันที

- หม้อปุ๋ยหน้าโซน 1 หม้อ 1 โซน เพื่อแยก “สูตรปุ๋ย” สำหรับแต่ละโซนตามระยะพัฒนาการของพืช

- หม้อปุ๋ยหน้าโซน ปริมาณปุ๋ยชนิดน้ำสำหรับไม้ผล 1 โซนคำนวนจาก ทดสอบใช้ปุ๋ยทางใบอัตราปกติ 20 ซีซี.+ น้ำ 20 ล. ในเป้สะพาย ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่มทั้งใต้ใบบนใบได้กี่ต้น ฉีดพ่นให้ครบทุกต้นใน 1 โซนแล้วรวมว่าใช้ทั้งหมดกี่เป้ สมมุติว่าใช้ 6 เป้ นั่นคือ ไม้ผลโซนนี้ใช้ปุ๋ยทางใบ 120 ซีซี. (เป้ละ 20 ซีซี.) ว่าแล้ว ให้เติมปุ๋ยน้ำทางใบที่จะให้แก่ไม้ผลโซนนั้น 120 ซีซี. +/- นิดหน่อย ไม่มีปัญหา

- หม้อปุ๋ยหน้าโซน RKK ถึงวันนี้มีกว่า 10 VERSION แล้วกับที่ยังอยู่ในหัวอีกหลาย VERSION ทุก VERSION ลุงคิมคิดเอง จดทะเบียนลิขสิทธิ์ได้


https://www.youtube.com/watch?v=3KP3wkZVlVE&feature=youtu.be
หม้อปุ๋ยหน้าโซน....

https://www.youtube.com/watch?v=lmovICjXwi0
หม้อปุ๋ยหน้าโซน....

https://www.youtube.com/watch?v=2Cdu-sW6C3U
หม้อปุ๋ยหน้าโซน....

https://www.youtube.com/watch?v=lkfLQv1BaTs
หม้อปุ๋ยหน้าโซน....

https://www.youtube.com/watch?v=3LxYoEdpPY8
https://www.youtube.com/watch?v=3LxYoEdpPY8
หม้อปุ๋ยหน้าโซน....

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2690
หม้อปุ๋ยหน้าโซน....

http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5892&sid=33450de97c9bc3d1b736850ae860c096
หม้อปุ๋ยหน้าโซน.... สมช.

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5930

--------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©