-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 27 AUG *สารสมุนไพร หลักการและเหตุผล
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 27 AUG *สารสมุนไพร หลักการและเหตุผล
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 27 AUG *สารสมุนไพร หลักการและเหตุผล

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/08/2021 3:20 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 27 AUG *สารสมุนไพร หลักการและเหตุผล ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 27 AUG
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
**********************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

ผู้สนับสนุนรายการ :
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ

เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปที่วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลงที่นั่น ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- งานสีสันสัญจรสิงหาคม วันเสาร์ วันที่ 28 สิงหาคม ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก กาญจนาภิเษก....


- งานสัญจรระยะนี้ต้องร่วมกันป้องกัน COVID หลีกเลี่ยงจับกลุ่ม คนมากๆ แนะนำ สมช. สั่งปุ๋ยลุงคิม สั่งยา อ.ณัฐ โทรติดต่อโดยตรงแล้วได้นัดหมายรับส่งของกัน รับของแล้วแยกกันเลย มีปัญหาอะไรโทรศัพท์คุยกันก็ได้....

***********************************************************
***********************************************************


จาก : (069) 176-92xx
ข้อความ : อยากเลิกใช้สารเคมีแล้วใช้สารสมุนไพร ให้ได้ผล SURE อย่างมีหลักการและเหตุผล ขอสูตรด้วยครับ
ตอบ :
ปฏิทิน ลด-ละ-เลิก สารเคมี :

กาปฏิทิน วันที่ 1 ถึงวันสุดท้ายของเดือน แล้วปฏิบัติตามวันที่ในปฏิทิน ดังนี้...
- วันที่ 1 ในปฏิทิน ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร 1 ล. + สารเคมี 100 ซีซี.
- วันที่ 2 - 3 - 4 ในปฏิทิน..... งด

- วันที่ 5 ในปฏิทิน ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร เดี่ยวๆ 1 ล.
- วันที่ 6 - 7 - 8 ในปฏิทิน.... งด

- วันที่ 9 ในปฏิทิน ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร เดี่ยวๆ 1 ล.
- วันที่ 10 - 11 - 12 ในปฏิทิน.... งด

- วันที่ 13 ในปฏิทิน ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร 1 ล. + สารเคมี 50 ซีซี.
- วันที่ 14 - 15 - 16 ในปฏิทิน.... งด

- วันที่ 17 ในปฏิทิน ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร เดี่ยวๆ 1 ล.
- วันที่ 18 - 19 - 20 ในปฏิทิน.... งด

- วันที่ 21 ในปฏิทิน ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร เดี่ยวๆ 1 ล.
- วันที่ 22 - 23 - 24 ในปฏิทิน.... งด

- วันที่ 25 ในปฏิทิน ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร 1 ล. + สารเคมี 25 ซีซี.
- วันที่ 26 - 27 - 28 ในปฏิทิน.... งด

- วันที่ 29 ในปฏิทิน ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร เดี่ยวๆ 1 ล.
- วันที่ 30 - 31 ในปฏิทิน.... งด

สรุป :
- ฉีด 1 ครั้ง เว้น 3 วัน ขึ้นวันที่ 4 ให้ฉีด
- ฉีดสมุนไพร 2 ครั้ง สลับด้วย สมุนไพร+เคมี 1 ครั้ง
- ทุกครั้งที่ให้สารเคมี ลดอัตราใช้ลงครึ่งหนึ่งของครั้งที่แล้ว
- ธรรมชาติไม่มีตัวเลข เพราะฉะนั้นในการปฏิบัติจริงอาจจะ +/- หรือ เพิ่ม/ลด ได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น

- ฉีดสมุนไพรแบบ เช้ารอบค่ำรอบ/ค่ำรอบเช้ารอบ ไม่เป็นอันตรายต่อพืช แล้วศัตรูพืชจะทนอยู่ได้ยังไง
- สารออกฤทธิ์ที่ได้จากสารเคมี คือ กลิ่น-รส-ฤทธิ์ ในขณะที่สารออกฤทธิ์ที่ได้จากสารสมุนไพรคือ กลิ่น-รส-ฤทธิ์ เช่นเดียวกัน ... คนกินยาสมุนไพร สู้กับโรคได้เหมือนยาโรงพยาบาล ฉันใดก็ฉันนั้น
หรือ .
ครั้งที่ 1 .......... ใช้สารสมุนไพร + สารเคมี
ครั้งที่ 2 .......... ใช้สารสมุนไพรเดี่ยวๆ
ครั้งที่ 3 .......... ใช้สารสมุนไพรเดี่ยวๆ
ครั้งที่ 4 .......... ใช้สารสมุนไพร + สารเคมี
ครั้งที่ 5 .......... ใช้สารสมุนไพรเดี่ยวๆ
ครั้งที่ 6 .......... ใช้สารสมุนไพรเดี่ยวๆ
แต่ละครั้งห่างกัน 3 วัน หรือใช้สารเคมีทุก 7 วัน นั่นคือ เพียง 2 รอบ (14 วัน) ศัตรูพืชก็ตายแล้ว ถึงไม่ตายด้วยสารเคมีก็หมดอายุขัย

จาก : (099) 802-81xx
ข้อความ : ลุงคิมมีวิธีคัดเลือกสมุนไพรอย่างไร ที่ทำแล้วได้ตัวยาแรงและดี
ตอบ :
สารพัดสูตรสารสมุนไพร :
สูตรเฉพาะ :
หมายถึง สมุนไพรตัวหนึ่ง ที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับศัตรูพืชชนิดหนึ่งโดยเฉพาะตอนทำก็ทำแยกถัง ตอนใช้ก็ใช้ทีละอย่างตามต้องการ เช่น สะเดา หนอนตายหยาก หางไหล กลอยน้อยหน่า ซาก มันแกว มะลินรก ขอบชะนาง ฯลฯ ต่างก็มีสารออกฤทธิ์ต่อ“หนอน” โดยเฉพาะ (สรรพคุณเทียบเท่า“ยาน็อค” สารเคมี) เลือกใช้สมุนไพรเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวในการ ป้องกัน/กำจัด หนอน

สูตรรวมมิตร : หมายถึง สมุนไพรหลายตัว แต่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับศัตรูพืชชนิดเดียวกัน ตอนทำก็ทำแยกถัง แต่ตอนใช้ เอาหลายๆอย่างมารวมกันแล้วใช้ เช่น

- สะเดา หนอนตายหยาก หางไหล กลอย น้อยหน่า ซาก ขอบชะนาง มะลินรก ฯลฯ มีสารออฤทธิ์ต่อ “หนอน” โดยเฉพาะ

- สาบเสือ ดาวเรือง บอระเพ็ด พริก ยาสูบ ฟ้าทะลายโจร ฯลฯ มีสารออกฤทธิ์ต่อ “แมลง” โดยเฉพาะ
- ว่านน้ำ. กานพลู. ตะไคร้. กระเทียม. ข่า. ขิง. ขมิ้น. กระชาย มีสารออกฤทธิ์ต่อ “โรค” โดยเฉพาะ

สูตรสหประชาชาติ : หมายถึง สมุนไพรหลายตัว แต่ละตัวต่างก็มีสารออกฤทธิ์ตรงกับศัตรูพืชชนิดนั้น แล้วเอามารวมกัน ทำพร้อมกัน ในถังหรือภาชนะเดียวกัน เช่น สมุนไพร ป้องกัน/กำจัด หนอน + สมุนไพร ป้องกัน/กำจัด แมลง + สมุนไพร ป้องกัน/กำจัด โรค แล้วใช้รวมกัน หรือพร้อมกัน

สูตรหนามยอกหนามบ่ง : หมายถึง สมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ในพืชสมุนไพร เช่น....
- สะเดา โดนหนอนทำลาย ใช้น้อยหน่า ป้องกัน/กำจัด
- น้อยหน้าโดนหนอนทำลาย ใช้สะเดา ป้องกัน/กำจัด
- สาบเสือโดนเชื้อรา ใช้พริก

สูตรผีบอก : มิได้หมายถึงสมุนไพรโดยตรง แต่หมายถึงสิ่งที่เป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตหรือวงจรชีวิตของศัตรูพืช กระทั่งทำให้ศัตรูพืชนั้นตายได้

สูตรข้างทาง : เช่น สาบเสือ ผกากรอง สะเดา กระเพาผี
สูตรในสวน : เช่น สบู่ต้น โด่ไม่รู้ล้ม ว่านน้ำ หญ้าหนวดขาว ตะบองเพชร ส้มเช้า
สูตรในครัว : เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย กระเพา โหระพา แมงลัก พริกเครื่องแกง ถัวเน่า

สูตรในบ้าน : เช่น ยาฉุน ลูกเหม็น น้ำยาล้างจาน สบู่เหลว ปูนกินหมาก ปูนขาว ขี้เถ้า น้ำมันก๊าด น้ำมันขี้โล้

งานวิจัย Grainge and Ahmed (1988) :
ในโลกนี้มีพืช 2,400 ชนิด มีสารออกฤทธิ์ใช้ ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืชได้ .... คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ แล้ว สรุปได้เป็น 3 คือ กลิ่น-รส-ฤทธิ์ ในพืชที่เรียกว่า “สารสมุนไพร หรือสารออกฤทธิ์ หรือตัวยา” มีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ศัตรูพืชนั่นเอง

สมการสารสมุนไพร :
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำถูก + ชนิดพืชถูก + ระยะใช้ถูก + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำถูก + ชนิดพืชผิด +ระยะใช้ผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำผิด + ชนิดพืชผิด + ระยะใช้ผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชผิด + วิธีทำผิด + ชนิดพืชผิด + ระยะใช้ผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรผิด+ตัวศัตรูพืชผิด+วิธีทำผิด+ชนิดพืชผิด+ระยะใช้ผิด+วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลัง 6
ตัวสมุนไพรถูก+ตัวศัตรูพืชถูก+วิธีทำถูก+ชนิดพืชถูก+ระยะใช้ถูก+วิธีใช้ถูก=ได้ผล ยกกำลัง 6

จาก : (068) 102-59xx
ข้อความ : ลักษณะพืชที่ขาดสารอาหารกับเป็นโรค เหมือนกันหรือต่างกัน อย่างไร
ตอบ :
ลักษณะอาการพืช ขาดธาตุอาหาร :
1. ไนโตรเจน :
อาการขาด :
การเจริญเติบโตหยุดชะงัก และใบมีสีเหลืองซีดจากการขาดคลอโรฟีลล์ โดยเฉพาะบริเวณใบแก่ ใบอ่อนยังคงมีสีเขียวนานกว่า ในพืชพวกข้าวโพดและมะเขือเทศ ลำต้น ก้าน ใบ ผิวใบด้านล่างเปลี่ยนเป็นสีม่วงได้

อาการเป็นพิษ : พืชมีสีเขียวเข้มรวมกับอาการเฝือใบ ระบบรากถูกจำกัด ในมันฝรั่งมีหัวเล็ก ลง การออกดอกออกผลของพืชช้าลง (พืชแก่ช้า)

2. ฟอสฟอรัส :
อาการขาด :
พืชจะแคระแกร็นและมีสีเขียวเข้ม มีการสะสมสารสีของแอนโทไซยานิน อาการ ขาดเบื้องต้นเกิดในใบแก่ และทำให้พืชแก่ช้า

อาการเป็นพิษ : บางครั้งอาการที่ปรากฏคล้ายกับอาการขาดธาตุทองแดงและสังกะสี หาก ได้รับฟอสฟอรัสมากเกินไป

3. โพแทสเซียม :
อาการขาด :
ในเบื้องต้นสังเกตที่ใบแก่ .... ในพืชใบเลี้ยงคู่ใบมีสีซีด ระยะต่อมาจะพบจุดสีเข้มที่เนื้อใบตายกระจายเป็นจุด .... ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวหลายชนิด บริเวณปลายใบและเส้นใบตายก่อน .... อาการขาดโพแทสเซียมในข้าวโพด ลำต้นอ่อนแอ

อาการเป็นพิษ : เนื่องจากพืชมักดูดใช้โพแทสเซียมมากเกินไปในส้ม ผลส้มมีผิวหยาบ เมื่อพืชดูดใช้โพแทสเซียมมากเกินไปจะชักนำให้พืชมีอาการขาดแมกนีเซียม และเป็นไปได้ว่าจะขาดแมงกานีส, สังกะสี, และเหล็ก

4. กํามะถัน :
อาการขาด :
ไม่ค่อยพบมากนัก แต่ถ้าเกิดอาการขาดโดยทั่วไปใบมักมีสีเหลือง โดยเกิดที่ใบอ่อนก่อน

อาการเป็นพิษ : ลดการเจริญเติบโตและขนาดของใบ ซึ่งยากต่อการสังเกต บางครั้งพบว่า ใบเหลือง หรือใบไหม้

5. แมกนีเซียม :
อาการขาด :
เกิดอาการซีดในพื้นที่ใบที่อยู่ระหว่างเส้นใบ ในขณะที่เส้นใบยังคงเขียวอยู่ อาการซีดจะเกิดที่ใบพื้นที่บริเวณใกล้เส้นกลางใบก่อน แล้วลามไปที่ปลายใบ โดยเกิดในใบแก่ก่อน

อาการเป็นพิษ : มีข้อมูลน้อยมาก เนื่องจากยากต่อการสังเกต

6. แคลเซียม :
อาการขาด :
การพัฒนาของตายอดชะงักการเจริญเติบโต และปลายรากตาย เกิดในใบอ่อนก่อนใบแก่ และเส้นใบบิดเบี้ยว มีจุดแห้งตายของใบ

อาการเป็นพิษ : ยากต่อการสังเกต มักเป็นร่วมกันกับอาการเป็นพิษจากคาร์บอเนต

7. เหล็ก :
อาการขาด :
อาการซีดคล้ายกับอาการขาดแมกนีเซียม แต่เกิดขึ้นในใบแก่
อาการเป็นพิษ : ในสภาพธรรมชาติมักไม่พบชัดเจนนัก แต่เมื่อมีการฉีดพ่นเหล็กกับพืชทดลองปรากฏเป็นเนื้อเยื่อมีลายเป็นจุด ๆ

8. คลอรีน :
อาการขาด :
ใบมีอาการเหี่ยวแล้วค่อยๆเหลือง แล้วตายเป็นลำดับ หรือบางครั้งมีสีบรอนด์เงินรากจะค่อยๆแคระแกรน และบางลงใกล้ปลายราก
อาการเป็นพิษ : ปลายใบหลังเส้นใบไหม้เป็นสีบรอนด์ ใบเหลือง ใบร่วง และซีด ขนาดใบเล็กลง อัตราการเจริญเติบโตลดลง

9. แมงกานีส :
อาการขาด :
อาการแรกมักซีดตรงระหว่างเส้นใบในใบอ่อนหรือแก่ขึ้นอยู่กับชนิดพืช แผลเนื้อเยื่อตายและใบร่วงในเวลาต่อมา คลอโรพลาสต์ไม่ทำงาน

อาการเป็นพิษ : บางครั้งมีสีซีดๆ อาการคล้ายกับขาดธาตุเหล็กในสับปะรด คือ คลอโรฟีลล์ ไม่กระจายตัว การเจริญเติบโตลดลง

10. โบรอน :
อาการขาด :
อาการผันแปรตามชนิดของพืช ลำต้นเนื้อเยื่อเจริญปลายรากมักตาย ปลายรากมักบวมมีสีซีด ในเนื้อเยื่อพืชมักมีสีซีด ไม่ทำงาน (โรคใบเน่าของพีท) ส่วนใบแสดงอาการต่างไป ประกอบด้วยใบบาง แตกง่าย (ผุ) ใบหงิก เหี่ยวเฉาและเป็นจุดสีซีด

อาการเป็นพิษ : ปลายใบเหลืองตามด้วยเนื้อเยื่อ ใบตายจากปลายใบหรือเส้นใบไปยังแกนใบ

11. สังกะสี :
อาการขาด :
ข้อปล้องของพืชสั้น ขนาดใบเล็ก เส้นใบมักบิดหรือย่น บางครั้งซีดระหว่างใบ
อาการเป็นพิษ : เกิดอาการซีดจากเหล็กเป็นพิษในพืช

12. ทองแดง :
อาการขาด :
การขาดทองแดงในสภาพธรรมชาติหายาก ใบอ่อนมีสีเขียวแก่ และบิดหรือผิดรูป มักพบจุดแผลตายบนใบ

อาการเป็นพิษ : การเจริญเติบโตลดลง ตามด้วยสีซีดจากเหล็กเป็นพิษ แคระแกรน ลดการแตกพุ่ม รากมีสีเข้ม และยางผิดปกติ

13. โมลิบดินั่ม :
อาการขาด :
สีซีดในพื้นที่ระหว่างเส้นกลางใบหรือทั้งเส้นกลางใบ ในใบแก่ คล้ายกับอาการ ขาดไนโตรเจน บางครั้งแกน ใบไหม้เกรียม

อาการเป็นพิษ : ยากต่อการสังเกต ใบมะเขือเทศจะมีสีเหลืองทอง กลากะหล่ำดอกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงสด

14. โซเดียม :
อาการขาด :
พืชที่ปลูกบริเวณนั้นตายเป็นหย่อมๆ
อาการเป็นพิษ : อาการของพืชขอบใบไหม้ แคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต

http://www.maejohydroponics.org/pdf/symtom.pdf


---------------------------------------------------------------------------------



.



[color=red]
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©