-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* เกษตรต่างแดน .................... 1914
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * เกษตรต่างแดน .................... 1914
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* เกษตรต่างแดน .................... 1914

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11554

ตอบตอบ: 07/11/2021 6:21 am    ชื่อกระทู้: * เกษตรต่างแดน .................... 1914 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.....


*************** เกษตรต่างแดน ***************



ปุจฉา วิสัชนา :

* สหรัฐ อเมริกา ฉลอง 200 ปี กำเนิดประเทศ พร้อมกับ กรุงเทพฯ ฉลอง 200 ปี (พ.ศ. 2325) นั่นคือ สหรัฐ อเมริกา มีอายุเท่ากับกรุงเทพ แต่สหรัฐ อเมริกา เจริญกว่าไทย 200 ปี

* เกาหลีไต้สิ้นสุดสงคราม พ.ศ. 2496 แล้วเริ่มพัฒนาประเทศ เคยส่งเกษตรกรมาดูงานทำนาประเทศไทย วันนี้ชาวนาเกาหลีล้ำหน้าชาวนาไทย 60 ปี เท่าระยะเวลาเกาหลี “เริ่ม” พัฒนาประเทศ

* สิงค์โปร์ กำเนิดประเทศหลังจากอังกฤษคืนเอกราชให้มาเลเซียเมื่อ 50 ปีที่แล้ว มาเลเซียไม่เอาสิงค์โปร์เพราะทั้งเกาะไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเลย ด้วยเวลาเพียง 50 ปี สิงค์โปร์ล้ำหน้าประเทศไทย 50 ปี

* ไต้หวัน กำเนิดประเทศตอนที่ เจียง ไค เชค พาพลพรรคหนี เหมา เจ๋อ ตุง ไปอยู่เกาะฟอร์โมซา แล้วตั้งเป็นประเทศไต้หวัน เมื่อ 50 ปีที่แล้ว วันนี้ไต้หวันล้ำหน้าไทย 50 ปี

* วันนี้ประเทศคู่แข่งที่กำลังหายใจรดบ่าไทย คือ เวียดนาม.....
.......................................................................................



เกษตรเกาหลี

http://mcot-web.mcot.net

เกษตรธรรมชาติเกาหลีตามแนวทางของเกาหลีได้รับการเผยแพร่โดย ฮาน คิว โซ ผู้อำนวย การสถาบันเกษตรธรรมชาติจานอง (Janong Natural Farming Institute) เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมเกษตรธรรมชาติเกาหลี ก่อนเกษียณได้มีการนำแนวคิดการใช้จุลินทรีย์ท้อง ถิ่นและวัสดุเหลือใช้ทาง การเกษตรในพื้นที่ชุมชน เพื่อใช้เป็นปัจจัยการผลิตในระบบเกษตรธรรมชาติ โดยเริ่มต้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เสร็จสิ้นลง โดยฮาน คิว โซ เป็นคนหนุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม ทำให้ต้องหยุดเรียนหนังสือ เนื่องจากมหาวิทยาลัยต้องปิดยาว ฮาน คิว โซ ได้สังเกตเห็นว่า เทคนิคการหมักพืชผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ในถังหมักของชาวเกาหลี เป็นวิธีการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง (การทำคิมจิ) โดยเมื่อนำของหมักดองไปรับประทานหมดแล้วก็จะเหลือแต่น้ำหมัก ซึ่งชาวเกาหลีมักจะเททิ้งก่อนทำความสะอาดถังหมักใหม่ ฮาน คิว โซ สังเกตว่าพืชผักที่ในนาและต้นไม้ข้างโรงหมักจะเจริญงอกงามดี เมื่อได้รับน้ำหมักจากการถนอมอาหาร ฮาน คิว โซ จึงได้รวบรวมสิ่งที่ได้จากการสังเกตและนำภูมิปัญญาของเกษตรกรเกาหลีมารวบรวมไว้เพื่อเผยแพร่มากกว่า 50 ปี โดยมีแนวคิดว่าการเกษตรที่พึ่งพาตนเองโดยใช้วัสดุเหลือใช้ในพื้นที่ร่วมกับจุลินทรีย์ท้องถิ่นจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและทำให้เกษตรกรสามารถะพึ่งพาตนเองได้

เกษตรธรรมชาติตามแนวทางเกาหลีเป็นรูปแบบเกษตรธรรมชาติวิธีหนึ่งที่มีแนวทางแตกต่างจากแนวทางของฟูกูโอกะ และโอกาดะ โดยจะมีความแตกต่างกัน ในส่วนของรูปแบบการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น โดยการใช้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในพื้นที่ในป่าหมู่บ้าน หรือชุมชนใกล้เคียง มาเป็นตัวเพิ่มความหลากหลายของธรรมชาติในพื้นที่เกษตรกรรม มีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ดินแดงในป่า รำข้าว รวมถึงมูลสัตว์มาหมักร่วมกับจุลินทรีย์ท้องถิ่น แล้วนำไปใช้ปรับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการนำวัสดุที่มีอยู่ในท้อง ถิ่นทั้งในรูปของจุลินทรีย์และวัสดุต่างๆ มาใช้ร่วมกันด้วยวิธีการหมักที่เห็นความรวดเร็ว โดยการเลือกใช้วัสดุที่สามารถสลายตัวได้รวดเร็วใช้แรงงานน้อยลง จึงเป็นแนวทางที่แตกต่างกับวิธีของฟูกูโอกะ และมีผลทำให้ได้มูลค่าตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์สูงขึ้น ในระยะเวลาที่ไม่แตกต่างกับระบบการเกษตรแผนปัจจุบัน จึงทำให้ระบบเกษตรธรรม ชาติเกาหลีแพร่หลายเป็นที่นิยมใช้กันมากในประเทศไทยและทั่วโลกมากกว่าวิธีของฟูกูโอกะที่เน้นการฟื้นฟูโดยจุลินทรีย์ในธรรมชาติเช่น กัน แต่ไม่เน้นการทำปุ๋ยหมักจากวัสดุต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารและขยายปริมาณจุลินทรีย์ ดังนั้นวิธีของฟูกูโอกะจึงใช้ระยะ เวลาเริ่มต้นในการปรับเปลี่ยนที่มากกว่า จึงทำให้ไม่ทันใจเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนจากระบบเกษตรแผนปัจจุบันไปเป็นเกษตรธรรมชาติ

เกษตรธรรมชาติตามแนวทางของเกาหลี มีความใกล้เคียงกับเกษตรธรรมชาติคิวเซเป็นอย่างมาก ทั้งในรูปแบบของการปฏิบัติและวิธีการ โดยรูปแบบและวิธีการที่ต่างกันมีเพียงการเลือกใช้จุลินทรีย์ โดยเกษตรธรรมชาติคิวเซจะเลือกใช้จุลินทรีย์ อีเอ็ม (EM) หรือจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพที่มีการผลิตสำเร็จรูปตามมาตรฐานเป็นแบบ อย่างเดียวกัน แล้วจึงนำไปเผยแพร่ทางการค้า โดยผ่านองค์การศาสนา ซึ่ง อีเอ็ม จะมีการเผยแพร่เพื่อส่งเสริมแนวทางเกษตรธรรมชาติคิวเซรูปแบบเป็นจุลินทรีย์เหมือนกันทั่วประเทศ ในขณะที่ เกษตรธรรมเกาหลีจะเน้นการใช้จุลิทรีย์ท้องถิ่น (ไอเอ็มโอ หรือ Indigeneous Microorganism : IMOs) โดยมีหลักการที่ว่า จุลินทรีย์จะมีความแตก ต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะมีความสมดุลในระบบนิเวศของชนิดและปริมาณจุลินทรีย์ที่สมบูรณ์ เนื่องจากมีการปรับตัวตามสภาพแวด ล้อมที่เปลี่ยนแปลงมานับเป็นเวลาหลายพันปี

ทฤษฎีธรรมเกษตรธรรมชาติ :
1. เข้าใจบทบาทของสิ่งมีชีวิตและทำงานร่วมกับธรรมชาติ หลัก การของการทำเกษตรธรรมชาติของ ฮาน คิว โช คือ การทำงานร่วมกับธรรมชาติ เข้าใจกฎการทำการเกษตร รวบรวมองค์ความรู้ของมนุษย์ร่วมกับกรใช้แรงงานในการผสมผสานสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ ได้แก่ ธาตุอาหารพืช แสงแดด อาหาร ดินและน้ำ สิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็นในการทำเกษตรธรรมชาติ คือ การสังเกตและยอมรับในบทบาทของธรรมชาติ เพราะทุกชีวิตมีหน้าที่และมีบทบาทของตัวเอง โดยทุกชีวิตจะแยกจากกันไม่ได้ ต้องพึ่งพาอาศัยกันอยู่ร่วมกันเป็นระบบนิเวศ ดังนั้นเราต้องเข้าใจถึงวัฏจักรของสิ่งมีชีวิต และยอมรับในความ สามารถของพืช สัตว์ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่รอบๆ ตัวตามศักยภาพที่มีอยู่อย่างเหมาะสมที่สุด คง เหลือไว้ให้มนุษย์รุ่นต่อๆ ไปได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติได้เช่นกัน

การทำเกษตรธรรมชาติของ ฮาน คิว โช จะเน้นให้เกษตรกรรู้จักบทบาทของตัวเองในการทำการเกษตร ในขณะเดียวกันก็ควรยอมรับในบทบาทของพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ซึ่งแตกต่างจากระบบเกษตรแผนใหม่ในปัจจุบันที่เน้นการผลิตพืชและสัตว์เพื่อเป็นวัตถุดิบใช้ป้อนโรง งานอุตสาหกรรมเท่านั้น โดยความสำคัญของการเกษตร คือ การทุ่มเทแรงงานไปเพื่อการผลิตอาหารสำหรับมนุษย์ และการมีสุขภาพที่ดีจากการทำงานร่วมกับธรรมชาติ

2. รู้จักใช้สิ่งที่มีอยู่รอบๆ ตัวให้เป็นประโยชน์ ประเทศเกาหลีเป็นประเทศในเขตหนาว ซึ่งในรอบปีจะสามารถทำการเกษตรได้เพียง 4-5 เดือน ดังนั้นผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่จะถูกเก็บรักษาไว้ในรูปของหมักดอง ซึ่ง ฮาน คิว โช ได้ค้นพบโดยบังเอิญว่าน้ำที่ได้จากการทำผักดองของเกาหลีที่เรียกว่า “กิมจิ” เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ จากการสังเกตว่าเมื่อเทน้ำเหล่านี้ทิ้งลงแปลงพืช ทำให้พืชเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่ดี ซึ่งถ้าพิจารณาส่วนประกอบในน้ำหมักดองจะพบว่ามีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์อยู่เป็นจำนวนมาก ในน้ำผักดองนั้นประกอบด้วยจุลิน ทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหมัก และสารอินทรีย์ต่างๆ ที่จุลินทรีย์ผลิตขึ้นมากมาย และสาร อินทรีย์เหล่านั้นล้วนเป็นประโยชน์ต่อพืชทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ เอนไซม์ ฮอร์โมน และธาตุอาหารต่างๆ เช่น กรดอะมิโน และวิตามิน เป็นต้น ทำให้เกิดความคิดการทำน้ำหมักจากเศษวัตถุดิบที่เหลือใช้หรือมีอยู่มากรอบๆตัว มาใช้ให้เป็นประ โยชน์ ไม่เน้นการซื้อหามาจากแหล่งจากอื่น

นอกจากนี้ยังพบว่าจุลินทรีย์มีอยู่รอบๆ ตัวเรา ซึ่งสามารถทำการเก็บเชื้อจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ได้ในการทำเกษตรธรรมชาติ และสามารถเก็บได้เองในพื้นที่ โดยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นจะเป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและปรับตัวทำงานได้ดีที่สุด จุลินทรีย์ที่ดีควรมีความหลากหลาย เกษตรธรรมชาติเกาหลีไม่เน้นการใช้จุลินทรีย์เฉพาะ ตัวใดตัวหนึ่งและไม่สนับสนุนการใช้จุลินทรีย์ต่างถิ่นที่ต้องซื้อหามาใช้เป็นปัจจัยในการผลิต

3. ให้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมตามธรรมชาติองสิ่งมีชีวิต กระ บวนการผลิตมีความ สำคัญมากกว่าในกาผลิต เนื่องจากรูปแบบของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ จะมีลักษณะเฉพาะ การทำเกษตรสมัยใหม่จะมีเป้า หมายอยู่ที่ปริมาณการผลิต โดยไม่ใส่ใจลักษณะเฉพาะและความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัว เช่น การเลี้ยงไก่ในกรงตับ การเลี้ยงสุกรหรือวัวที่เป็นคอกพื้นซีเมนต์ ฯลฯ เกษตรกรควรใส่ใจ และยอมรับในความสุขของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รู้จักสังเกตสิ่งที่เป็นพฤติ กรรมทางธรรมชาติของพืชที่ปลูก และสัตว์ที่เลี้ยง สิ่งนี้คือ หัวใจของเกษตรธรรมชาติที่แท้จริง

4. เชื่อในพลังของธรรมชาติ และมุ่งเน้นการผลิตโดยคำนึงถึงคุณภาพ เกษตรธรรมชาติมีอิทธิพลอย่างมาก ในการกระตุ้นในเกษตร กรเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ในการผลิตพืชและสัตว์ แนวคิดของเกษตรธรรมชาติเป็นอะไรที่จะฟังดูแปลก และมีความเสี่ยง ไม่มีเหตุผล หรือ ไม่สามารถอธิบายข้อสงสัยของเกษตรกรได้หมดความเชื่อในวิธีเกษตรธรรมชิปรากฏออกในลักษณะที่เกษตรกรไม่คุ้นเคย เนื่องจากหลักการและสมมุติฐานนี้ใหม่ดูแล้ไม่น่าจะถูกต้อง แต่ในกฎเกณฑ์ของธรรม ชาติมีความเป็นไปได้ ถ้าเกษตรกรเชื่อในพลังของธรรมชาติ เข้าและทำงานร่วมกันกับธรรมชาติ มนุษย์ต้องทำการเกษตรให้กลมกลืนอยู่กับธรรมชาติ แต่เกษตรกรส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นหวังที่จะให้ได้ผลผลิตจากการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ให้ได้ประมาณมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของผลผลิตที่ได้

5. ปล่อยให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ ช่วยเหลือกันเอง และช่วยเหลือตัวเองก่อน เกษตรกรควรให้ความช่วยเหลือ และดูแลให้สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ให้เหมาะสมและใช้วิธีการถูกต้อง เช่น ถ้ามีแมลงรบกวนก็ควรจะควบคุมตัวอ่อนของแมลง ถ้าวัชพืชเป็นปัญหาก็ควรใช้วิธีหยุดการงอดของเมล็ดวัชพืช การปล่อยให้วัชพืชต้องแข่งขันกันเองในแปลงปลูก จนเกินจุดสมดุลของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่รอบๆ ก็เป็นวิธีการควบคุมวัชพืชวิธีหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าวัชพืชบางชนิดก็มีประโยชน์เช่นกัน

ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมชาติแม่โจ้
www.maejonaturalfarming.org
--------------------------------------------------------------


แนวคิดเกษตรธรรมชาติคิวเซ

http://www.oknation.net/blog/kontan

เกษตรธรรมชาติคิวเซ เป็นทฤษฎีเกษตรธรรมชาติหนึ่งที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยระบบเกษตรธรรมชาติคิวเซเป็นระบบเกษตรรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เกษตรธรรมชาติคิวเซ อาศัยหลักการและปรัชญาของโมกิจิ โอกาดะ โดยมีพื้นฐานของการทำเกษตรธรรมชาติ คือ การเรียนรู้พลังของธรรมชาติ เน้นการดูแลรักษาดินให้ดีอยู่เสมอตามหลักปรัชญาที่ว่า “เกษตรธรรมชาติ คือ การทำให้ดินมีชีวิต” และทำระบบการผลิตทางการเกษตรให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ให้ความสำคัญกับระบบนิเวศซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ ส่งเสริมสุขภาพที่ดีของมนุษย์ และมีความยั่งยืน

โมกิจิ โอกาดะ เป็นชาวญี่ปุ่นผู้ก่อตั้งองค์กรศาสนาเซไคคิวเซเคียวโดยมีกิจกรรมการส่งเสริมระบบเกษตรธรรมชาติคิวเซเป็นหลัก มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดทุกข์ของมวลมนุษยชาติ เขาได้ศึกษาค้นคว้าวิธี การทำเกษตรธรรมชาติอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี และได้ตระ หนักถึงสิ่งที่จะเกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพอาหารของ มนุษย์ในอนาคตจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร โดยได้คาด การณ์ไว้ว่า “ในอนาคตผักผลไม้ที่มีจำหน่ายอยู่จะไม่เหมาะสมที่จะนำ มาบริโภค” และมลพิษที่จะเกิดขึ้นในโลก อันได้แก่ มลพิษทางดิน มลพิษทางน้ำ และมลพิษทางอากาศ จะส่งผลเสียต่อมนุษย์และสิ่ง แวดล้อม ซึ่งทั้งหมดเป็นผลมาจากการ ปฏิวัติเขียว (The Green Revolution) ซึ่งมีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชเป็นจำนวนมากและแพร่หลายในการผลิตอาหารเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการบริ โภคของมนุษย์ โดยเริ่มต้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ความต้องการสารเคมีทางการเกษตรก็ทวีจำนวนมากขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้ รวมถึงในประเทศญี่ปุ่นที่มีนโยบายการผลิตทางการเกษตรด้วยการใช้สารเคมีต่างๆ เช่นเดียวกัน เพื่อให้ได้ผลผลิตในปริมาณที่เพียงพอต่อการเลี้ยงประชากรในประเทศ เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้แพ้สงครามและถูกสั่งปิดประเทศ โมกิจิ โอกาดะได้ประกาศตั้งองค์การเกษตรธรรมชาติคิวเซขึ้นในปี 2478 โดยได้ปฏิบัติตามแนวทางเกษตรธรรมชาติในที่ดินส่วนตัว แต่ก็ต้องหลบๆ ซ่อนๆ เพราะเคยถูกทางการญี่ปุ่นจับกุมตัวในฐานที่ไม่ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐ รูปแบบเกษตรธรรมชาติตามแนวคิดของ โมกิจิ โอกาดะ ให้ความสำคัญกับดินเป็นอย่างมาก เขาได้สังเกตดินโดยใช้ดินป่าธรรมชาติเป็นต้นแบบ ซึ่งพบว่าผิวดินนั้นมีความสำคัญแตกต่างเป็นชั้นๆ ดังนี้

ชั้นที่ 1 เป็นใบไม้ กิ่งไม้แห้ง ปกคลุมทั่วไป
ขั้นที่ 2 เป็นส่วนที่ใบไม้ กิ่งไม้แห้งที่เริ่มผุพัง
ชั้นที่ 3 เป็นส่วนที่ใบไม้ กิ่งไม้แห้งผุพังเน่าเปื่อยปนกับดิน
ชั้นที่ 4 เป็นดินดานที่ไม่มีอินทรีย์วัตถุ

ส่วนที่มีใบไม้ กิ่งไม้ผุเน่าปะปนอยู่กับดินนั้น มีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ดินส่วนนี้จะมีรากพืชส่วนที่เป็นรากฝอยและรากขนอ่อนอยู่มาก เมื่อนำดินส่วนนี้มาดมจะพบว่ามีกลิ่นหอมเหมือนเห็ด เขาเรียกดินส่วนนี้ว่า “ดินที่มีชีวิต”

โมกิจิ โอกาดะ มีเป้าหมายการทำเกษตรธรรมชาติดังนี้ :
1. เป็นการเกษตรที่ให้ผลผลิตคุณภาพดีและไม่ทำลายสุขภาพมนุษย์
2. เป็นการเกษตรที่ไม่ทำลายดิน และได้ผลผลิตของพืชเพิ่มขึ้นในแต่ละปี
3. เป็นการเกษตรที่ให้ผลผลิตเท่าเทียมกับเกษตรเคมี และสามารถทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของเกษตรกรดีขึ้น

หลักการส่งเสริมแนวทางดังกล่าวในช่วงแรกของการทำเกษตรธรรมชาตินั้น เป้าหมายที่ 1 และ 2 บรรลุผล แต่เป้าหมายที่ 3 ไม่ประสบความสำเร็จ การทำเกษตรธรรมชาติไม่สามารถให้ผลประโยชน์ทาง ด้านเศรษฐกิจได้เท่าเทียมกับการทำเกษตรเคมี เพราะในช่วงแรกมีต้นทุนที่สูงกว่า ได้ผลผลิตต่ำกว่าเกษตรเคมีและไม่สามารถป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชได้ ดังนั้นเกษตรธรรมชาติคิวเซยังไม่แพร่หลายทั่วโลก

ทฤษฎีเกษตรธรรมชาติคิวเซ :
การเกษตรของโมกิจิ โอกาดะมีเกณฑ์หรือหลักในการดำเนินการยึดตามแบบอย่างของดินและระบบนิเวศในป่าธรรมชาติ โดยมีหลัก การดำเนินงาน 3 ประการ คือ
1. หลักการคลุมดิน การคลุมดินในแปลงผัก และแปลงไม้ผลให้ประโยชน์หลายประการ ได้แก่
1.1 รักษาความชื้นในดินและรักษาหน้าดินไม่ให้ถูกชะล้าง
1.2 ช่วยกำจัดวัชพืชได้บางส่วนและทำให้ถอนวัชพืชง่าย
1.3 ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดี
1.4 อินทรียวัตถุที่ใช้คลุมดินจะถูกย่อยสลายเป็นธาตุอาหารพืชได้ง่าย

2. การไม่ไถพรวนดิน การไถพรวนดินจะทำลายสภาพการทำงาน และสภาพแวดล้อมของจุลินทรีย์ในดิน ทำให้ดินแห้งและการกลับหน้าดิน ซึ่งอาจทำให้ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำพลิกกลับมาอยู่บนผิวดิน อย่างไรก็ตามบางครั้งก็จำเป็นต้องไถพรวนบ้างเพื่อกำจัดวัชพืช และช่วยยกแปลงให้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น เนื่องจากบางครั้งดินบริเวณแปลงจะแข็งและมีวัชพืชมาก

3. การไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตร การไม่ใช้สารเคมีมีความ สำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นจุดเริ่มของการคืนสภาพความเป็นธรรมชาติแก่โลกหรือดิน เมื่อดินเป็นธรรมชาติพลังงานของดินจะให้ประโยชน์แก่พืชทั้งหลายโดยธรรมชาติอย่างถาวร และโมกิจิ โอกาดะ ได้ให้แนวคิดว่า หากใช้เคมีผสมผสานกับเทคนิคเกษตรธรรมชาติ จะทำให้การคืนสภาพดินสู่ธรรมชาติไม่สมบูรณ์ยั่งยืน

โมกิจิ โอกาดะ ได้พยายามปฏิบัติและพัฒนาการทำเกษตรธรรมชาติคิวเซมาตลอดระยะเวลา 40 ปี แต่ก็ไม่สามารถทำให้เป้าหมายข้อ 3 ประสบผลสำเร็จได้ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 เขาได้ผู้ร่วมงานคือ ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ จบจากมหาวิทยาลัยริวกิว โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่นและได้ค้นพบเทคนิคการใช้ “อีเอ็ม” (Effective Microorganism : EM) ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพจำนวน 80 สายพันธุ์ จึงสามารถบรรลุเป้าหมายการทำเกษตรธรรมชาติของโมกิจิ โอกาดะ ทำให้เกษตรธรรมชาติคิวเซเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง โดย “อีเอ็ม” ทำให้ดินดีขึ้นอย่างเห็นชัด และสามารถลดต้นทุนการผลิต ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น รวมถึงสามารถป้องกันและกำจัดโรค แมลงศัตรูพืชได้ในเวลาเดียวกัน

EM ได้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและช่วยบำรุงดิน ทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดน้ำเสีย และ กลิ่นเหม็น การสุขาภิ บาลในฟาร์มปศุสัตว์ และใช้ผสมในอาหารสัตว์ทำให้เจริญเติบโตดีอีกด้วย

การศึกษาค้นคว้าพัฒนาจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติหลายกลุ่มมาเลี้ยงรวมกัน โดยเน้นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ทำให้ดินดี ใช้เวลายาวนานถึง 15 ปี จนได้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) ประกอบด้วย จุลินทรีย์ต่างๆ มากกว่า 80 สายพันธุ์ เช่น จุลินทรีย์กลุ่มผลิตกรดแลคติก ยีสต์ แอคติโนมัยซีต จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง และเชื้อราที่ช่วยในการหมัก เป็นการค้นพบวิธีการทำเกษตรธรรมชาติแนวใหม่ โดยใช้จุลินทรีย์มาช่วยในระบบการผลิต

การเผยแพร่เกษตรธรรมชาติคิวเซในประเทศไทย :
ปี พ.ศ. 2511 คาซูโอะ วาคุกามิ ชาวญี่ปุ่นได้เดนทางมาเผยแพร่กิจกรรมทางด้านศาสนาในประเทศไทยและได้จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ใช้ชื่อว่า “มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณ ประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา” โดยมีความตั้งใจที่จะทำประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย เนื่องจากเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ และต้องการให้เกษตรธรรมชาติคิวเซเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ

อีเอ็ม (EM) ถูกนำเข้าประเทศไทยในปี พ.ศ. 2529 และในปี พ.ศ. 2531ได้มีการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและเผยแพร่เกษตรธรรมชาติคิวเซขึ้น ณ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ภายใต้มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประ โยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา “อีเอ็ม” ได้เผย แพร่ไปทั่วโลก โดยมีการใช้ในการเกษตร ปศุสัตว์ และประมง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการเกษตรของประเทศไทย เช่น กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่ยอมรับการใช้ “อีเอ็ม” ทางการเกษตร เนื่องจากยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนและจำแนกสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ใน “อีเอ็ม” กับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในขณะเดียวกันก็มีหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจของประเทศไทยยอมรับเทคโนโลยีเกษตรธรรมชาติและนำไปใช้ รวมถึงนำไปส่งเสริมอย่างแพร่ หลายต่อเกษตรกรและชุมชน โดยในปัจจุบันถือว่าเกษตรธรรม ชาติคิวเซ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีกับผู้สนใจไม่น้อยกว่า 30,000 คนต่อปี

ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมชาติแม่โจ้
www.maejonaturalfarming.org

------------------------------------------------------------------


การทำเกษตรธรรมชาติฟูกูโอกะ

มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เป็นเจ้าของแนวคิดเกษตรธรรมชาติที่เป็นที่รู้จักในหมู่เกษตรกรและนักวิชาการชาวไทยเป็นอย่างดี ภายหลังจากที่หนังสือ One Rice Straw Revolution หรือในชื่อไทยคือ ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว ได้รับการเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2530 ฟูกูโอกะได้รับรางวัล แมกไซไซ ในปี 2531 จากผลงานเกษตรธรรมชาติซึ่งมีหลัก การสี่ประการได้แก่ การไม่ไถพรวน การไม่ใช้ปุ๋ยเคมี การไม่กำจัดวัชพืช และการไม่ใช้สารเคมี ซึ่งหลักการของฟูกูโอกะได้สวนทางกับการเกษตรกรรมแผนปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ฟูกูโอกะเป็นนักโรคพืชวิทยาที่ผันตัวเองไปเป็นเกษตรกรมาไม่ต่ำกว่า 50 ปี โดยพยายามที่จะฟื้นฟูดินและระบบนิเวศในไร่นาให้กลับมามีชีวิตดังเดิม สร้างเสริมความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พรรณไม้และพืชผลในทางคุณภาพและปริมาณอีกด้วย

มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2454 ในหมู่บ้านเล็กๆ บนเกาะซิโกกุทางตอนใต้ของญี่ปุ่น และจบการศึกษาทางจุลชีววิทยา สาขาโรคพืชวิทยา เคยทำงานเป็นนักวิจัยทางการเกษตรของกรมศุลกากรเมืองโยโกฮาม่าในการตรวจสอบพันธุ์พืชที่จะนำเข้าและส่ง ออก เมื่อเขาอายุได้ 25 ปี ได้ตัดสินใจลาออกจากงานและกลับไปทำเกษตรกรรมที่บ้านในชนบท เขาใช้เวลากว่า 50 ปี ไปกับการพัฒนาวิธีการทำการเกษตรธรรมชาติ

ฟูกูโอกะเป็นผู้นำงานจากห้องทดลองออกมาสู่ไร่นา เขาอธิบายว่า ชาวนาเชื่อว่าทางเดียวที่จะให้อากาศเข้าไปปรับสภาพเนื้อดินได้ดี คือ ต้องใช้จอบ พลั่ว ไถ หรือใช้แทรคเตอร์พรวนดิน แต่ยิ่งไถพรวนมาก ดินก็จะแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมากขึ้นทำให้อนุภาคของดินแตกกระจายออกจากกันทำให้อนุภาคของดินเหล่านี้เข้าไปอุดอยู่ในช่องว่างในดิน ดินก็จะแข็งขึ้นเกิดชั้นดินดาน ถ้าปล่อยให้วัชพืชทำหน้าที่นี้แทน รากของวัชพืชจะซอนไซลงไปได้ลึกได้ถึง 30-40 ซม. ซึ่งจะช่วยทำให้ทั้งอากาศและน้ำผ่านเข้าไปในเนื้อดินได้ เมื่อรากเหล่านี้ตายก็เป็นอาหารของจุลินทรีย์ทำให้แพร่ขยายจำนวนมากขึ้น ไส้เดือนก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นและตัวตุ่นก็จะมีตามมา ซึ่งจะช่วยขุดดิน เป็นการช่วยพรวนดินตามธรรมชาติ ดินจะร่วนซุย และสมบูรณ์ขึ้นเองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องให้มนุษย์ช่วย เพียงแต่ปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง

ทฤษฎีของฟูกูโอกะนี้เป็นการเดินตามหลักเกณฑ์ของธรรมชาติ และเป็นวิธีบำรุงธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยมุ่งเน้นวิธีการคลุมดิน ไม่มุ่งเน้นในเรื่องการทำปุ๋ยหมัก เพราะการคลุมดินจะช่วยปรับสภาพดินได้เป็นธรรมชาติกว่า

ทฤษฎีเกษตรธรรมชาติของฟูกูโอกะ :
1. ไม่มีการไถพรวนดินด้วยเครื่องจักรกล
2. ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี แต่จะใช้วิธีการปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน โดยไม่สนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก แต่ให้ใช้ฟางข้าวโรยคลุมดินแทน

3. ไม่มีการกำจัดวัชพืช แต่ใช้หลักการคุมปริมาณวัชพืช โดยใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน หรือใช้ฟางข้าวคลุมดิน

4. ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลง แต่อาศัยการควบคุมโรคและแมลงด้วยกลไก การควบคุมกันเองของ สิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ โดยเชื่อว่าวิธีการควบคุมโรคและแมลงที่ดีที่สุด คือ การปลูกพืชในสภาพแวดล้อมที่มีความสมดุลทางนิเวศวิทยา

ฟูกูโอกะเชื่อในการบำรุงรักษาดิน และการปล่อยให้สภาพแวด ล้อมคงอยู่ตามธรรมชาติ ไม่แยกสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันตามธรรมชาติออกจากกัน โดยเขาได้กล่าวไว้ว่า “ถ้าเราเปลี่ยน แปลงวิธีการเพาะ ปลูกธัญญาหารของเราเท่ากับเราเปลี่ยนแปลงลักษณะอาหาร เปลี่ยน แปลงลักษณะสังคม และเปลี่ยนวิถีชีวิตค่านิยมของเราไปด้วย”

การทำเกษตรธรรมชาติของฟูกูโอกะไม่ได้ปล่อยให้ธรรมชาติจัดการทุกอย่างเอง โดยที่เกษตรกรนั่งดูอยู่เฉยๆ โดยไม่ลงมือปฏิบัติอะไรเลย แต่ตัวเกษตรกรเองจะต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และทำการเกษตรกรรมโดยประสานความร่วมมือกับธรรมชาติ มากกว่าพยายามที่เปลี่ยน แปลงธรรมชาติ และเพื่อลดการใช้ปัจจัยการผลิตที่ไม่จำเป็นลง มีจุดมุ่งหมายของการทำการ เกษตรไม่ใช่เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้นเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของผลผลิต ฟูกูโอกะได้กล่าวว่า “การทำเกษตรกรรมด้วยความรู้สึกที่เป็นอิสระในแต่ละวัน คือ วิธีดั้งเดินของเกษตรกรรม ซึ่งมนุษย์เรามิได้มีชีวิตอยู่ด้วยอาหารเพียงอย่างเดียว”

ข้อดีและข้อจำกัดของการทำเกษตรธรรมชาติฟูกูโอกะ :
ข้อดี :

1. สมดุลทางธรรมชาติไม่ถูกทำลาย
2. ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อคนและสัตว์
3. สามารถปรับปรุงการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมให้ดีขึ้น
4. ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพปราศจากสารพิษ
5. ลดต้นทุนการผลิต และใช้แรงงานน้อย

ข้อจำกัด :
1. ต้องใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ
2. เห็นผลช้า ไม่รวดเร็วทันใจ
3. เกษตรกรต้องมีความพยายามและมีความอดทน
4. ผลิตผลไม่สวยงามเมื่อเทียบกับการเกษตรสมัยใหม่
5. ไม่สามารถผลิตเป็นการค้าได้ทีละมากๆ

ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมชาติแม่โจ้

-----------------------------------------------------------------



เกษตรเกษตรอิสราเอล

ได้เรียนรู้อะไรใน Arava Farm
* เรียนรู้คนและการจัดการคน
* เรียนรู้งานและการจัดการงาน
* เรียนรู้ตัวเองและการจัดการตัวเอง
* เรียนรู้ทักษะเกษตร
- การปลูกพืชให้ออกสู่ตลาดทุกวัน
- การปลูกพืชด้วยระบบน้ำหยด
- การแก้ไขปัญหาระบบน้ำหยด
- การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
- การจัดการศัตรูพืช โดยวิธีการแบบ IPM (Integrated Pest Management)
http://aravafarm.blogspot.com


อิสราเอลมีแต่ทรายทั้งประเทศ แต่อิสราเอลสามารถสร้างผลผลิตทางการเกษตรส่งออกต่างประเทศได้เป็นว่าเล่น

อิสราเอลประชากรน้อย ขาดแรงงานอย่างรุนแรง คนไทยไปช่วยทำงานในฟาร์มเกษตร คนอิสราเอลพอใจมากถึงขนาด THANK YOU คนไทย

- นิทัศน์การงานเกษตรที่อิสราเอล มีบู๊ธขายผลิตภัณฑ์และบู๊ธวิชาการเหมือนของไทย แต่คนอิสราเอลมุ่งเข้าแต่บู๊ธวิชาการ บางครั้งกำหนดจัดงาน 7วัน 10วัน คนไม่เลิกสนใจ ต้องเพิ่มระยะเวลาจัดงาน ในขณะที่งานเกษตรไทย คนเข้าแต่บู๊ธซื้อผลิตภัณฑ์ ไม่สนใจบู๊ธวิชาการ .... งานนิทัศน์การเกษตรไทย คนไทยในใจแต่บู๊ธขายสินค้า ปล่อยบู๊ธวิชาการเป็นบู๊ธผีหลอก

- เกษตรกรอิสราเอลปลูกพืชอายุสั้นในถุง ใช้วัสดุปลูกเป็นทรายล้วน เป็นทรายฆ่าเชื้อด้วยความร้อนกำจัดสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งจุลินทรีย์มีประโยชน์และจุลินทรีย์เชื้อโรค เกษตรกรไม่พึ่งจุลินทรีย์สร้างสารอาหารแต่เป็นคนให้สารอาหารทุกอย่างแก่พืชเอง เพราะเกรงว่า จะมีจุลินทรีย์เชื้อโรคแฝงเข้ามาอยู่ด้วย.... เหมือนไฮโดรโปรนิกส์ ที่มีแต่สารอาหารจากฝีมือคน ไม่มีสารอาหารจากฝีมือจุลินทรีย์เลย

- เกษตรกร 1 หรือ 1 ราย สนใจปลูกแคนตาลูป (สมมุติ) ไปปรึกษา

จนท.เกษตร ทางราชการพร้อมสนับสนุนแต่มีข้อแม้ว่า ต้องมีจำนวน สมช.เกษตรกรปลูกมากกว่านี้ เมื่อปลูกแล้วต้องได้ผลผลิตระดับส่งออกได้ เพราะการส่งออกหมายถึงรายได้ของประเทศ เกษตร กรต้องไปรวม สมช. รวมพื้นที่ได้ตามเกณฑ์ แล้ว จนท.เกษตรจะเปิดอบรมเทคนิคการทำแคนตาลูปตามต้องการก่อน ระหว่างการปลูกก็จะตามไปดูแล ให้คำแนะนำ ตั้งแต่เริ่มต้นจนเก็บเกี่ยว

- เกษตรกรอิสราเอล ปลูกมะเขือเทศเอาเมล็ดพันธุ์ เอาไปขายที่อเมริกาได้ กก.ละ 125,000 $ อเมริกาซื้อเมล็ดแล้วปลูกเอาผลผลิต ต้องได้มะเขือเทศ 2 ตู้รถไฟจึงจะได้มูลค่าเท่ากับเมล็ดพันธุ์ 1 กก. ....

(ประเทศไทย : ..... ปลูกผักบุ้งจีนเอาเมล็ดที่ ต.พังตรุ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ได้เมล็ดแล้วใส่กระสอบปุ๋ยไป PACKAGING ที่เมืองจีน แล้วกลับมาประเทศไทยอีกที คราวนี้ขาย 1 ซอง 50 เมล็ด 50 บาท .... ปลูกผักกาด ผักคะน้า ฯลฯ ที่เชียงราย เอาเมล็ด ได้เมล็ดแล้วใส่กระสอบปุ๋ยไป PACKAGING ที่เมืองจีน แล้วกลับมาประเทศไทยอีกที คราวนี้ขาย 1 ซอง 20 เมล็ด 50 บาท....)

- คนไทยนับหมื่นคนไปทำงานที่อิสราเอล ได้รู้ได้เห็นได้ใช้ เทคโนโลยีใหม่ๆ สไตล์อิสราเอล แต่พอกลับมาเมืองไทย ยังเผาฟางเหมือนเดิม

- นักวิชาการไทย ทำปริญญาเอกด้านเกษตรที่อิสราเอล กลับมาเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง เล่าว่า ได้ถามเกษตรกรอิสราเอลถึงปุ๋ยทางใบที่ใช้ สูตรว่าอย่างไร ? เกษตรกรอิสราเอลตอบว่า บอกไม่ได้ เป็นความลับของชาติ....

- นศ.ไทย ไปฝึกงานที่อิสราเอล กลับมาเรียนต่อในเมืองไทย จบปริญญาแล้วกลับไปทำเกษตรของตัวเองที่บ้าน หรือไปทำงานด้านส่ง เสริมการเกษตรก็ยังทำเกษตรแบบเดิมๆ แบบที่พ่อแม่ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านทำแล้วมีแต่หนี้ แม้แต่จะรวมกลุ่มกันเป็น “กิ๊บบุด” แบบอิสราเอลก็ไม่ทำ ....

----------------------------------------------------------


เกษตรไต้หวัน

รู้จากคนชอบพอกัน ทำธุรกิจ ไทย-ไต้หวัน :
อุดมการณ์แห่งชาติ เกษตรกรต้องทำเพื่อ “ส่งออก” เท่านั้น นั่นคือเศรษฐกิจของชาติที่โตขึ้น เมื่อเศรษฐกิจชาติโต เศรษฐกิจประชาชนก็จะโตด้วย ในทางกลับกัน ถ้าประชาชนมีแต่หนี้ แล้วเศรษฐกิจชาติจะโตได้อย่างไร .... ไต้หวันมุ่งมั่นอย่างเดียวต้องเหนือ “จีน” แผ่นดินใหญ่ให้ได้ มิฉะนั้น โดนจีนแผนดินใหญ่ยึดคืนแน่

เกษตรกรทำผลิตแล้วส่งออกได้ จะนำตัวเลขที่ส่งออกได้นั้นมาขอรับการช่วยเหลือจากราชการ เช่น ปุ๋ย น้ำมัน หรือพัสดุภัณฑ์เพื่อการเกษตรทุกชนิดได้

ประชาชนไต้หวันยอมรับ ซื้อ/กิน ผลผลิตทางการเกษตรแบบตกเกรดด้วยความยินดี นัยว่า ของดีๆ ให้ส่งออกต่างประเทศเพื่อเอาเงินเข้าประเทศ ปัจจุบันลูกค้ารายใหญ่ของไต้หวัน คือ จีนแผนดินใหญ่ โดยเฉพาะฮ่องกง มาเก๊า

เกษตรกรบางรายทำผลผลิตได้ไม่ถึงเกรดส่งออก ไปร้องขอความช่วยเหลือ “ปุ๋ย น้ำมัน หรือพัสดุภัณฑ์เพื่อการเกษตร” จากราชการบ้าง อ้างว่า คนที่ส่งออกได้มีรายได้ดีแล้ว แต่คนที่ส่งออกไม่ได้ มีรายได้น้อย งานนี้ราชการรู้ว่า นี่คือเกษตรกรประเภท “มิจฉา ทิฐิ” จึงแนะนำ (สั่งแกมบังคับ) ให้ไปดูแปลงของคนที่เขาทำส่งออกได้ แล้วให้ทำตามนั้น
---------------------------------------------------------------------


เกษตรเกาหลี


http://www.hayhaytv.vn

รู้จากคนเกาหลี มาท่องเที่ยวเมืองไทย :
เมื่อยุคปาร์ค จุง ฮีย์ พ่อของ ปาร์ค กึน ฮีย์ ประธานาธิบดี (หญิง) เกาหลีคนปัจจุบัน เมื่อครั่งพ่อเป็นประธานาธิบดี ได้ส่งเกษตรกรชาวนาข้าวเกาหลี 200 คน มา เรียน/รู้ วิธีการทำนาข้าวกับชาวนาไทย ไปกินไปนอนอยู่ที่บ้านชาวนาไทย ตั้งแต่เริ่มทำเทือกจนถึงวันเกี่ยว เอาข้าวไปขายส่งที่โรงสีกันเลย

กลับไปแล้วเอาปรับใช้กับนาข้าวของตัวเอง พร้อมกับ แนะนำ/ส่งเสริม/สอน ชาวนาบ้านข้างเคียงด้วย ชาวนากลุ่มนี้จะได้รับการ ช่วย เหลือ/สนับสนุน จากรัฐบาลหลายรายการจนสามารถเลี้ยงตัวเองได้

มีชาวนาบางคนไม่ยอมรับ อ้างว่า นั่นข้าวไทย ไม่ใช่ข้าวเกาหลี ไม่ยอมทำตามแบบข้าวไทยที่เพื่อนบ้านแล้วประสบความสำเร็จ

จนท.ราชการ จึง สั่งแกมบังคับ (สไตล์ไต้หวัน) ให้ทำตามชาวนาข้างบ้าน ถ้าไม่ประความสำเร็จ ราชการจึงจะช่วย

---------------------------------------------------------------


เกษตรสิงค์โปร์

การเกษตรแนวตั้ง หรือ Vertical Farm หมายถึง การปลูกพืชเป็นชั้น ๆ มีการให้น้ำ อาหาร และแสงโดยการควบคุมจากมนุษย์ ปลูกในโรงเรือนที่มีหลังคา มีตาข่ายป้องกันแมลงเข้ามากัดกินผลผลิต ปลูกพืชได้โดยไม่จำกัดฤดูกาล และสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ บริษัท Skygreens ในประเทศเพื่อนบ้านสิงคโปร์ของเรา ได้เริ่มมีการทำฟาร์มแนวตั้งเพื่อป้อนผลผลิตออกสู่ตลาดแล้ว โดยในสิงคโปร์มีพื้นที่ทำการเกษตร 250 ไร่ เป็นพื้นที่การเพาะปลูกแบบธรรมดา ซึ่งไม่สามารถให้ผลผลิตได้เพียงพอต่อผู้บริโภค จึงได้มีแนวคิดในการจัดทำฟาร์มเกษตรแนวตั้งขึ้น โดยฟาร์มแห่งนี้ สามารถป้อนผลผลิตเข้าสู่ตลาดได้มากถึงวันละ 1 ตัน ซึ่งมากกว่าฟาร์มปกติ 5-10 เท่า โดยเปรียบเทียบจากพื้นที่ขนาดเดียวกัน

โดยฟาร์มแห่งนี้ทำงานด้วยระบบไฮโดรลิค ใช้พลังงาน และน้ำน้อยมาก มีเทคโนโลยีที่เรียกว่า A-Go-Go โดยโครงสร้างจะเป็นเสา 2 เสาค้ำกันคล้ายกับรูปตัว A แต่ละเสามีความสูง 6 เมตร มีการหมุนเพื่อให้พืชได้รับน้ำและแสงแดดในปริมาณที่เท่ากัน ระบบหมุนไม่ต้องใช้ไฟฟ้า เพราะใช้ระบบเติมน้ำเพื่อหมุนรอก น้ำก็จะวนกลับไปกลับมา น้ำเสียจากพืชก็จะนำไปหมักแล้วสามารถนำมาใช้ใหม่ได้ หลังคาเป็นพลาสติกพีวีซีใส สามารถปลูกพืชที่ชอบอากาศร้อนได้ตลอดทั้งปี ซึ่งการเพาะปลูกแบบปกติในพื้นที่เปิดจะทำไม่ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดทางด้านฤดูกาล และปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในการสูบน้ำ มีค่าไฟฟ้าเพียง 105 บาทต่อเดือนต่อ 1 โครงสร้างตัว A เท่านั้นเอง

นี้ก็เป็นเทรนเกษตรในต่างประเทศที่เขาเริ่มทำแล้ว
ผมว่า รู้เขารู้เราไว้ ก็ไม่เสียหายนะครับ
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะครับ


Cr : www.theguardian.com ,www.techinsider.io

รู้จากคนสิงค์โปร์ มาท่องเที่ยวเมืองไทย :
สิงค์โปร์ส่งเสริมการเกษตรแบบ ทำน้อยมาก-การตลาดนำการผลิต นั่นคือ ทำกล้วยไม้ “ฟาแลนน็อฟซิส” ขายส่งโรงแรมชั้น 1 ระดับ 5 ดาวทั่วโลก โดย CONNECTING ไว้ล่วงหน้า

ฟาแลนน๊อฟซิส สิงค์โปร์ 1 ไร่ มูลค่าเท่ากับ หวายมาดาม ไทย 10 ไร่ ระยะเวลาเท่ากัน
http://www.prachachat.net
http://www.oknation.net

--------------------------------------------------------------------


เกษตรมาเลเซีย

เที่ยวเมืองแห่งธรรมชาติ คาเมรอน เพลินชมไร่ชา....สตรอเบอรี่ มาเลเซีย

รู้จากคนมาเลเซีย มาท่องเที่ยวเมืองไทย :
มาเลเซียทั้งประเทศไม่มีภูเขาหัวโล้นแต่ก็ไม่มีภูเข่าป่าไม้ ในมาเลเซียมีแต่ภูเขา ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ที่รัฐบาลสั่งให้ปลูกเพื่อให้ประชาชนเข้าไปถือครองแบบ “เช่า แต่ไม่ซื้อ”

ต้นยางพารา ต้นปาล์มน้ำมัน ก็เป็นไม้ป่าขนาดใหญ่ สร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอาหาร และเป็นแหล่งต้นน้ำได้เช่นเดียวกับไม้ป่าธรรมชาติ

กฎหมายมาเลเซียไม่ให้ประชาชนมีสิทธิครอบครองที่ดิน หรือที่ดินทั้งหมดเป็นของรัฐ เหมือนประเทศจีน รัฐบาลเข้าไป บริหาร/วางแผน การใช้พื้นที่ทำการเกษตร หรือทุกกิจการ แล้วให้ประชาชนที่มีความประสงค์เข้าไปทำ เช่น รัฐบาลกำหนดพื้นที่ปลูกยางพารา หรือปาล์มน้ำมัน หรือพืชไร่ หรือไม้ผล หรือผักสวนครัว โดยการลงทุนให้ก่อน จากนั้นจึงให้ประชาชนที่ผ่านการคัดเลือกแล้วเข้าไปทำ นี่คือการ ZONING พื้นที่การเกษตรแบบบูรณาการที่ดีที่สุด ทั้งเกษตรกรผู้รับการสนับสนุน และรัฐบาลผู้สนับสนุน พบกันครึ่งทางลอดเวลา

http://www.photoontour9.com
http://smart-farm.blogspot.com

----------------------------------------------------------------------

เกษตรออสเตรเลีย

http://www.tnamcot.com/content/192248

รู้จากข่าว ทีวี. :
เมื่อครั้ง REFUGEE จากเวียดนามไต้ไปอยู่ที่ออสเตรเลีย โดยการช่วยเหลือของรัฐบาลนั้น รัฐบาลออสเตรเลียไม่ต้องการให้ REFUGEE เหล่านั้นทำงานในเขตเมือง เพราะจะเป็นแย่งงาน และเกิดปัญหาสังคมแก่ประชาชนของตัวเอง แต่ต้องการ REFUGEE ไปทำงานเกษตรในเขตทะเลทราย โดยรัฐบาลสนับสนุนทุกอย่าง ตั้งแต่เงินค่าครองชีพประจำวัน (เงินเดิม) อุปกรณ์และพัสดุภัณฑ์เกี่ยวกับการเกษตร ไปถึงระบบตลาดรับซื้อผลผลิต ทั้งนี้สิ่งที่รัฐบาลออสเตรเลียต้องการ คือ เปลี่ยนทะเลทรายให้เป็นป่า ซึ่ง REFUGEE ทุกคนต่างก็พอใจ

ป่าไม้หรือไม้ป่าที่ออสเตรเลียส่งเสริมให้ REFUGEE ปลูกอย่างหนึ่ง คือ “ทุเรียน” โดยเฉพาะทุเรียน หมอนทอง ก้านยาว ชะนี ฯลฯ รวมทั้งผลไม้ดีๆจากประเทศไทย รวมไปถึงจากประเทศข้างเคียงกับประเทศไทย ซึ่งออสเตรเลียนำเข้าต้นพันธุ์เฉพาะทุเรียนจากประเทศไทยรวมกว่า 100,000 ต้น เมื่อทุเรียนเหล่านั้นโตขึ้น ให้ผลผลิตแล้วปรากฏว่า “กินไม่ลง” เพราะเนื้อเป็นเสี้ยนแข็ง นี่คือ “สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โลก” (GI) นั่นเอง

------------------------------------------------------------------


เกษตรเยอรมัน

http://www.bloggang.com

ข้อมูล : สารคดีดิสคัพเวอร์รี่ :
เกษตรกรจากจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา ไปดูงานข้าวสาลีที่เยอรมัน เนื่องจากเทคโนโลยีของเยอรมันทำให้ได้ผลผลิตมากกว่าของอเมริกาถึง 4 เท่า ทั้งๆที่ไม่ใช่ จีเอ็มโอ. หรือการดัดแปลงพันธุกรรมใดๆ เป็นไปตามธรรมชาติของข้าวสาลีแท้ๆ แต่ที่ได้เผลผลิตมากเพราะเป็นผลมาจากดิน ส่วนที่เพิ่มขึ้น 75% หรือ 3 ใน 4 ที่เหลือ 25% หรือ 1 ใน 4 มาจากปัจจัยอื่น คือ น้ำ แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค ....

เยอรมันใช้วิธี ไถโรตารี่ตีป่นหน้าดิน ที่มีเศษซากรากเหง้าของต้นข้าวสาลี พร้อมกับปล่อยจุลินทรีย์ลงไปคลุกกับดิน หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์แล้วก็บำรุงตามปกติทุกประการ

หลังจากเกษตรกรจอร์เจียกลับมาทำในแปลงของตัวเองที่อเมริกาแล้ว ก็ได้ผลผลิตเพิ่มจากปกติที่เคยได้เหมือนที่เยอรมันเป๊ะ เกษตรกรเยอรมันที่เคยถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ให้ ได้มาเยี่ยมแปลงข้าวสาลีที่อเมริกา เห็นผลงานจากแปลงนี้แล้วบอกว่าไม่แปลกใจ แต่ที่สงสัยอย่างมากๆก็คือ ทำไมแปลงข้างเคียงไม่เอาบ้างเท่านั้นแหละ

ถึงวันนี้ ยืนยันนั่งยันนอนยันตีลังกายัน อเมริกา ยุโรป ทำเกษตรแบบ อินทรีย์นำ-เคมีเสริม ไม่เผาเศษซากพืชในแปลง แต่ใช้วิธีไถกลบหรือนำมาบดป่นก่อน ทั้งที่ไถกลบทันทีกับที่นำมาปดป่นก่อน ต่างก็ทำให้เป็น “ซุปเปอร์” ด้วยการใส่ เสริม/เติม-เพิ่ม/บวก สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ได้แก่ สารอาหารอินทรีย์ (ปุ๋ยคอก) สารอาหารสังเคราะห์ (ปุ๋ย เคมี) และจุลินทรีย์เป็นผู้ดำเนินการแปลงให้ทั้งสิ่งที่มีอยู่ในดินเดิม กับส่งที่ใส่ลงไปใหม่ เปลี่ยนเป็นสารอาหารพืช

เกษตรกรหรือประเทศที่ไม่เผาฟางเผาเศษซากพืช แต่ ปรับ/เปลี่ยน ให้เป็นอินทรีย์ วัตถุบำรุงดินส่งผลไปถึงพืชที่ปลูก นอกจาก ยุโรป อเมริกา แล้ว อาฟริกา แม้แต่อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ก็ไม่เผาฟางเผาเศษซากพืช ที่ไม่รู้ก็คือ พม่า ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ติมอร์ ว่าเผาฟางเผาเศษซากพืชหรือไม่ ส่วนอินโดเนเซียมีข่าวเผา เผาแบบปรับพื้นที่ ไม่ใช่เผาฟาง

---------------------------------------------------------------


เกษตรอเมริกา

สายตรงจากอเมริกา :
ราว พ.ศ. 2540 เมื่อรายการสีสันชีวิตไทย แจกเอกสารฟรี “ปุ๋ยน้ำชีวภาพ สูตรกล้อมแกล้ม” เอกสารชุดหนึ่งไปโผล่ที่อเมริกา ที่ SURPRISE อย่างมากๆก็คือ เอกสารชิ้นหนึ่งไปอยู่ในมือของเพื่อเรา อดีตทหารอเมริกัน SERGANT TOMMY นักรบสงครามเกาหลีด้วยกัน มันจำได้ สายตรงจาก SANFRANCISCO มาทันที่ บอกว่า .... “อเมริกันรู้จักน้ำหมักชีวภาพ แล้วก็ทำใช้มาตั้ง 50 ปีแล้ว ประเทศไทยเพิ่งตื่นเหรอ....ฯลฯ....”

- หลุยส์ เซียร์น่า รัฐเดียวของอเมริกา ใหญ่กว่าปะเทศไทยทั้งประเทศ รัฐนี้ทำนาปลูกข้าวทั้งรัฐ ชาวนาบางรายมีที่แค่ 100 เฮกต้า (700 ไร่) ถือว่าเป็นแปลงขนาดเล็ก แต่ชาวนาทั้งรัฐ หรืออาจจะทั้งประเทศไม่เผาฟาง แล้วเขาทำนาทันได้อย่างไร .... “?” ....

- กรณีเผาฟาง เผาวัชพืชในไร่นา ขนาดอินโดเนเซียเผาไร่ควันท่วมประเทศ ข้ามมามาเลเซีย ต่อมาถึงสิงค์โปร์ ภาคเหนือของเมียนมาเผาไร่ ควันลอยข้ามมาไทย ภาคเหนือของไทยเผาไร่ ควันลอยข้ามไปถึงลาว แค่เผาไร่เผาวัชพืชแปลงเล็กๆ ควันยังไปไกลขนาดนี้ แล้วถ้าหลุยส์ เซียร์น่า ของอเมริกาเผาฟางบ้าง จะเกิดควันขนาดไหน แสดงว่าชาวนาชาวไร่ของอเมริกาไม่เผาฟาง ไม่เผาวัชพืช แต่ใช้วิธีไถกลบนั่นเอง

- ชาวนาหลุยส์ เซียร์น่า ใช้เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงทุกชนิด ที่นั่นเตรียมดินเตรียมแปลงโดยใช้รถแทรคเตอร์ขนาดใหญ่ หน้ารถมีแทงค์ขนาดใหญ่บรรทุกปุ๋ยอินทรีย์ (ปรุงเฉพาะตามพืช) แห้งผงละเอียด โรยผงปุ๋ยอินทรีย์ลง ช้าหรือเร็วควบคุมได้ ไต้ท้องรถตรงกลางมีผานจานทำหน้าที่ไถดะ ท้ายรถมีผานโรตารี่ทำหน้าที่ไถพรวน ทำหน้าที่ผสมดินกับผงปุ๋ยอินทรีย์ให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ด้วยเวลาเพียง 1 วัน แรงงานคนเดียว ทำงานได้เนื้อที่กว่า 100 ไร่

- สับปะรดฮาวายกินสดไม่ได้เพราะเนื้อหยาบต้องทำสับปะรดกระป๋องเท่านั้น อุตส่าห์เอาสับปะรด ปัตตาเวีย-ศรีราชา ไปปลูก ปลูกได้แต่โตขึ้นมากินไม่ได้ แม้แต่ ทุเรียน-มังคุด-เงาะ-ลำไย-ส้มเขียว หวาน-ส้มโชกุน กับอีกหลายผลไม้ บางอย่างปลูกไม่ได้เลย บางอย่างปลูกได้แต่มีผลผลิตออกมากินไม่ได้ แม้แต่ข้าว “หอมมะลิ” ไทย เป็น ได้แค่ “แจ๊สแมน” เท่านั้น เช่นกัน อีก 500 ปี ประเทศไทยก็ปลูกถั่วเหลืองอย่างอเมริกาไม่ได้ (ไทยได้น้อยกว่าอเมริกา 3-4 เท่า ต่อพื้นที่เท่ากัน) เพราะโซนภูมิศาสตร์โลกระหว่างวอเมริกากับไทยต่างกันนั่นเอง....นี่คือ แม้อเมริกาจะสูงส่งทางด้านเทคโนโลยีเพียงใด ก็ไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้

- รัฐบาลรับจำนำ ข้าว/ถั่ว จากเกษตรกรแล้ว ไม่ต้องการให้ไถ่ถอน เพราะจะเอาไปช่วยประเทศอื่นๆ

-----------------------------------------------------------------------


เกษตรญี่ปุ่น

รู้จากข่าว ทีวี. :
- หนุ่มสาว เป็นมนุษย์เงินเดือน ทำงานที่โตเกียว เสาร์-อาทิตย์-วันหยุดนักขัตฤกษ์ นั่งรถไฟ ซิงกันเซ็น เร็วที่สุดในโลก ไปทำนาข้าวที่ โอซาก้า ห่างไป 200 กก. บอกว่าเป็นเกษตรกรวันหยุด เนื้อที่นา 10 ไร่ ถือว่าใหญ่ ใช้เครื่องทุ่นแรงทุกขั้นตอน ทำทุกอย่างเสร็จในครึ่งวัน

- หนุ่มสาวไทย เป็นมนุษย์เงินเดือน อยู่บ้าน เสาร์-อาทิตย์-วันหยุดนักขัตฤกษ์ นอน ทั้งๆที่บ้านตัวเองทำเกษตร แต่ไม่ทำเกษตรเป็นงานอดิเรก

- ไม่ได้เรียนเกษตรโดยตรง แล้วไม่สนใจอ่านหนังสือเกษตร จึงไม่มีความรู้ทางวิชาการไปบอก พ่อแม่พี่น้อง ในเขตบ้าน

* ชาวนาญี่ปุ่น ทำนาข้าวลงทุน 23,000 บาท/ไร่ ขายได้ตันละ 130,000

* คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ :
- ต้นทุน 23,000 เกษตรกรจ่ายครึ่งหนึ่ง รัฐบาลช่วยครึ่งหนึ่ง
- ทำนาแบบ START UP FARM นั่นคือ ผลผลิตที่ได้ ปลูกข้าวเอง แปรรูปเอง ขายเอง ทุกอย่างทุกขั้นตอนมีเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง + ความรู้ทางวิชาการ

- ผลผลิตที่ได้เกรด ซูพรีม พรีเมียม การตลาดนำการผลิตที่แท้จริง
- ทุกขั้นตอน ทั้งผู้รับการสนับสนุน (ชาวนา) และผู้สนับสนุน (รัฐ) พบกันครึ่งทาง
* ชาวนาไทย ทำนาข้าวลงทุน 7,000 (+) บาท/ไร่ ขายที่โรงสีได้ 8,000

* คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ :
- ต้นทุน 8,000 ชาวนาไทยจ่าย 750 รัฐบาลช่วย 50 (ปุ๋ย 1 กส.)
- ชาวนาไทยทำนาแบบ .... “?” ....
- ผลผลิตที่ได้เกรดรวมกอง
- ทุกขั้นตอน ผู้รับการสนับสนุน (ชาวนา) และผู้สนับสนุน (รัฐ) ไม่พบกัน
* ชาวนาไทย ลงทุน (ปุ๋ย-ยา-เทคโน-โอกาส .... ทำเอง) 1,000 บาท/ไร่ = ไม่เอา
* ชาวนาไทย ได้ข้าว 1 ตัน ทำ START UP ขายปลีก กก.ละ 50 ได้ตันละ 50,000 .... ขายปลีก กก.ละ 100 ได้ 100,000 = ไม่เอา

- ชาวนาไทย START UP (แปรรูป .... ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ) ทำคนเดียวไม่ได้ ไม่มีพลัง ให้รวมกลุ่มกันทำ ทำตามสัญญากับผู้รับซื้อ = ไม่เอา

* เกษตรกรไทย ทำเกษตรอินทรีย์ ปลอดสารพิษ 100% ทั่วโลกต้องการ = ไม่ทำ

------------------------------------------------------------------


เกษตรไต้หวัน

ยุทธศาสตร์ชาติไต้หวันที่รัฐบาลตั้งขึ้น แล้วบูรณาการให้ประชาชนร่วมมือด้วย ได้ผลเกิน 100% โดยว่า ผลิตภัณฑ์ทุกชนิด ถ้าส่งออกนำเงินต่างประเทศเข้าประเทศไม่ได้ ประเทศไต้หวันจะไม่พบกับความเจริญอย่างเด็ดขาด เมื่อไต้หวันไม่เจริญรุ่งเรืองก็จะถูกจีนแผ่นดินใหญ่ครอบครอง .... ผลผลิตทางการเกษตร ทุกอย่างต้อง ซูพรีม พรีเมียม เกรด เอ. จัมโบ้ โกอินเตอร์ การตลาดนำการผลิต ส่วนใหญ่ส่งออกฮ่องกง มาเก๊า (สมัยนั้นป็นประชาธิปไตย)

คนไต้หวันเห็นผลผลิตทางการเกษตรเกรดดีๆ จะพูดว่า ทำไมไม่ส่งออก เอาเงินเข้าประเทศ เราอยู่ในประเทศกินแบบตกเกรดก็ได้

เกษตรกรส่งออกได้ จะได้รับช่วยเหลือจากรัฐบาลตามเปอร์เซ็นต์ส่งออก เป็นพัสดุภัณฑ์เพื่อการเกษตรทุกชนิดตามต้องการ จากร้านจำหน่ายทั่วประเทศได้เลย

เกษตรกรรายใดทำผลผลิตเกรดส่งออกไม่ได้ ไปร้องขอรัฐบาลให้ช่วยเหลือ รัฐบาลจะไม่ช่วยโดยตรง แต่ให้ไปขอรับคำแนะนำจากเกษตรกรที่ทำเกรดส่งออกได้ แล้วให้ทำตามนั้นแทน

เกษตรกรบ้านจัดสรร ดูงานการทำปุ๋ยอินทรีย์ไต้หวัน

ทั่วโลกยอมรับว่ากระบวนการ “ชีวภาพ” สมบูรณ์ที่สุดอยู่ในโลก คือ ประเทศไทย
ถ้าเกษตรกรไทยจะทำจริงๆ (เน้นย้ำ....ทำจริงๆ) “ไบโอ ซัมมิต” นี่แหละดีที่สุด
ปุ๋ยเคมีเปอร์เซ็นต์ปุ๋ยต่ำมาก นี่คือประหยัดต้นทุน
สับปะรดคุณภาพได้แค่โรงงาน กินสดไม่ได้ เพราะโซนภูมิศาสตร์โลกไม่เหมาะสม

----------------------------------------------------------------


เกษตร เออีซี

รู้จากข่าว ทีวี. :
ใน 2-3 ปีข้างหน้า จับตาดูผลผลิตทางการเกษตรใน เขมร ลาว พม่า ให้ดี ลำพังประชาชนใน 3 ประเทศนี้คงไม่เท่าไหร่ แต่นายทุนจาก จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน สิงค์โปร์ ที่มาเช่าที่ดินด้วยสัญญาเช่า 99 ปี ต่างหาก นายทุนเหล่านี้มาพร้อมกับเทคโนโลยีการผลิตที่เหนือกว่าเกษตรกรไทย ด้วยแรงงานท้องถิ่นที่ราคาถูก กับตลาดที่เป็นประเทศของตัวเอง นี่คือความเหนือกว่าเกษตรไทยชนิดปฏิเสธไม่ได้เลย

พม่า ลาว เขมร มีข้าวพันธุ์ดี ดีกรีชนะเลิศระดับโลกเหมือนข้าวหอมมะลิไทย ถ้าจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน สิงค์โปร์ ปลูกแล้วส่งกลับไปขายยังประเทศตัวเอง .... ไทยจะทำยังไง

พม่า ลาว เขมร ปลูกผลไม้ชั้นดีแบบไทยด้วยพันธุ์จากไทย ถ้าจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน สิงค์โปร์ ปลูกแล้วส่งกลับไปขายยังประเทศตัวเอง .... ไทยจะทำยังไง

------------------------------------------------------------------------





แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/01/2023 11:06 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11554

ตอบตอบ: 05/01/2023 7:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©