-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 30 NOV * ปลูกข้าว สูตรราชการ+สูตรคุณตา
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 30 NOV * ปลูกข้าว สูตรราชการ+สูตรคุณตา
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 30 NOV * ปลูกข้าว สูตรราชการ+สูตรคุณตา

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 29/11/2021 5:27 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 30 NOV * ปลูกข้าว สูตรราชการ+สูตรคุณต ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 29 NOV
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
***********************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

ผู้สนับสนุนรายการ :
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ

เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า

ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
*วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง)แยกนครชัยศรี นฐ.
* วันเสาร์สัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 4 ธ.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปพยัคฆาม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี....


- งานสัญจรระยะนี้ต้องร่วมกันป้องกัน COVID หลีกเลี่ยงจับกลุ่ม คนมากๆ แนะนำ สมช. สั่งปุ๋ยลุงคิม สั่งยา อ.ณัฐ โทรติดต่อโดยตรงแล้วได้นัดหมายรับส่งของกัน รับของแล้วแยกกันเลย มีปัญหาอะไรโทรศัพท์คุยกันก็ได้....

*******************************************************
*******************************************************


จาก : (095) 841-93xx
ข้อความ : ลุงครับ ขอความรู้เรื่องปลูกข้าวทำพันธุ์ เทคนิคของกรมการข้าว เพียวๆ แท้ๆ ขอบคุณครับ จากศิษย์เก่าโควิด

จาก : (082) 514-27xx
ข้อความ :ทำไมข้าวพันธุ์โรงสีต้องการ กับราชการส่งเสริม ไม่เหมือนกัน เราควรเลือกพันธุ์ไหน ทำนาตามพ่อ ไม่อยากตกงาน

จาก : (064) 174-36xx
ข้อความ : อยากปลูกข้าว สูตรราชการ + สูตรคุณตา จากคนตกงาน

บ่น
รู้เรื่องข้าวรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล ที่นี่ เกษตรลุงคิมดอทคอม เขียนเรื่อง “นาข้าว” มากที่สุดในบรรดาพืชด้วยกันทั้งหมด ตามไปอ่านซี่ แล้วจะรู้ว่า ที่ถามไม่ได้ตอบ ที่ตอบไม่ได้ถาม กับ คำถามหนึ่งถามลุงคิมคนเดียวได้คำตอบเดียว แต่ถ้าถามหลายคนย่อมได้คำตอบหลายคำ นั่นคือโอกาสของคนถามที่พบทางเลือก

บอกแล้วไง....
.............. ทำอย่างเดิม = ได้อย่างเดิม ได้น้อยกว่าเดิม .........
............ คิดใหม่ ทำใหม่ = ได้ดีกว่าเดิม ได้มากกว่าเดิม .........

......... ขายได้เท่าเดิม ได้เท่าข้างบ้าน แต่ต้นทุนลด คือกำไรเพิ่ม ....
........... ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้ เพราะ .... ต้นทุนสูง ต้นทุนสูญเปล่า .....

....... ทุกคนเกิดมา เก่งเท่ากัน รู้เท่ากัน .... แต่ แพ้-ชนะ กัน ที่โอกาส ........
............. เรื่องง่ายทำไม่ได้ .... เรื่องยากทำได้ .... เพราะ “ใจ” ............

........................ ทำน้อย .... ทำถูก = ได้มาก ..............
........................ ทำมาก .... ทำผิด = ได้น้อย ..............

.................. คนที่จะช่วยเราได้ดีที่สุด คือ คนในกระจก ..............



ตอบ :

หลักการและเหตุผล :

- เมล็ดพันธุ์ข้าว 1 ชุด สามารถใช้ปลูกติดต่อกันได้เพียง 3-4 รุ่น หากนำมาปลูกเป็นรุ่นที่ 4-5 หรือรุ่นต่อๆมาจะกลายพันธุ์หรือผิดเพี้ยนไปจากสายพันธุ์เดิม

- เมล็ดพันธุ์แท้รุ่นแรกหายาก ปัจจุบันทางราชการสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์แท้ได้เพียง 50,000-60,000 ตัน/ปี ในขณะที่ชาวนาทั่วประเทศมีความต้องการประมาณ 100,000 ตัน/ปี

- การที่คุณภาพข้าวผิดเพี้ยนไปจากสายพันธุ์แท้ถือเป็น ต้นทุนที่สูญเปล่า อย่างหนึ่ง

เมล็ดพันธุ์ 1 เมล็ด ได้ต้นข้าว 1 กอ....
ต้นข้าว 1 กอ มี 20 ลำ....
ต้นข้าว 1 ลำ มี 1 รวง....
ข้าว 1 รวง มี 100 เมล็ด....


นั่นคือ เมล็ดพันธุ์ 1 เมล็ด เมื่อขยายพันธุ์แล้วจะได้ข้าวถึง 2,000 เมล็ด

- การขอรับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์จากทางราชการแต่ละครั้ง จะได้มาเพียงเล็กน้อยซึ่งไม่พอเพียงต่อการใช้ในแต่ละรุ่นอยู่แล้ว ดังนั้น เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์แท้พอเพียงต่อการปลูกในแต่ละรุ่น ผู้ปลูกข้าวต้องนำเมล็ดพันธุ์จำนวนน้อยที่ได้มานั้นขยายพันธุ์เองด้วยวิธี "นาดำ" แล้วบำรุงต้นข้าวด้วยวิธีทำนาแบบประณีตเพื่อเพิ่มปริมาณก่อน โดยปฏิบัติดังนี้

เตรียมแปลงตกกล้า :
- ปรับเรียบเพื่อให้มีระดับน้ำหน้าดินและใต้ผิวดินเสมอกันทั่วทั้งแปลง
- แปลงอยู่กลางแดด ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน
- วัดค่ากรด-ด่างของดิน แล้วปรับให้ได้ค่าที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว
- มีน้ำบริบูรณ์และช่องทางน้ำเข้า-ออก สามารถนำน้ำเข้าออกได้ทุกเวลาที่ต้องการ
- การติดตั้งสปริงเกอร์แบบ ถอด-ประกอบ จะช่วยให้การฉีดพ่นสารอาหารทางใบ-ทางราก ฮอร์โมน และสารสกัดสมุนไพรได้สะดวก

หมายเหตุ :
การเตรียมแปลงตกกล้าจะต้องพิถีพิถันมากว่าการเตรียมแปลงปลูกทั่วๆไป เพื่อให้ได้ต้นและเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ที่สุด

เตรียมเทือกตกกล้า :
- ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ + กระดูกป่นหรือปลาป่น + ปุ๋ยคอกหมักข้ามปี หรือ ปุ๋ยคอกน้ำ (อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ทั้งทุกอย่างๆละเท่าๆกัน) + ปุ๋ยน้ำชีวภาพหว่านให้ทั่วแปลง ไถดะไถแปรและไถพรวนหลายๆรอบ

- หลังจากไถพรวนแล้วปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วันระหว่างนี้ให้เติมจุลินทรีย์ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน เพื่อเป็นการบ่มดิน หรือเป็นการให้เวลาแก่จุลินทรีย์ในการปรับสภาพโครงสร้างดินและย่อยสลายอินทรีย์วัตถุต่างๆจนได้ฮิวมิค แอซิด

หมายเหตุ :
การบ่มดินควรใช้ระยะเวลานานที่สุดเท่าที่จะนานได้ เพื่อให้เกิดสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับต้นข้าว ซึ่งจะส่งผลให้ได้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี

เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
แช่เมล็ดพันธุ์ใน ไคโตซาน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม นาน 24 ชม. นำขึ้นห่มชื้นต่ออีก 24-48 ชม. เมื่อรากเริ่มแทงออกมาจึงนำไปหว่านในแปลงที่เตรียมพร้อมแล้ว

บำรุงต้นกล้าในแปลงตกกล้า :
ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2-3 รอบ และให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จนถึงวันถอนกล้าไปดำในแปลงจริง

หมายเหตุ :
กล้าที่ถอนขึ้นมาจากแปลงตกกล้า มัดรวมกำแล้วนำไปวางตั้งแช่ใน “น้ำ + มูลค้างคาว” พอท่วมรากก่อนนาน 24 ชม. แล้วจึงนำไปปักดำ จะช่วยให้แตกกอดีจำนวนมาก ส่งผลให้ได้จำนวนรวงมากขึ้นด้วย

การปักดำ :
เหมือนการนาดำในการทำนาข้าวแบบประณีต

การปฏิบัติบำรุง :
- การปฏิบัติบำรุงทุกระยะ ปฏิบัติเหมือนการทำนาข้าวแบบประณีต
- การสำรวจแปลงเพื่อกำจัดข้าวปน ถือเป็นมาตรการสำคัญมากเพราะผลผลิตที่ได้จะต้องเป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์มากที่สุด

แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าว :
1. เมื่อเกษตรกรได้รับเมล็ดพันธุ์ดีจากทางราชการมาแล้ว ควรเลือกแปลงนาที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ โดยขนาดพื้นที่ขึ้นอยู่กับพื้นที่นาทั้งหมดที่มีอยู่ เช่น หากมีนา 50 ไร่ จำเป็นต้องใช้พันธุ์ข้าวประมาณ 350 กิโลกรัม สำหรับนาดำ หรือ 900 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับนาหว่าน ดังนั้น พื้นที่แปลงพันธุ์ที่ต้องการ คือ 1 ไร่ สำหรับนาดำ หรือประมาณ 3 ไร่ สำหรับนาหว่าน

2. การเตรียมแปลง ควรกำจัดข้าวเรื้อในนาออกให้หมด โดยการไถพรวนแล้วไขน้ำเข้าให้ข้าวเรื้องอก แล้วไถคราดกำจัดข้าวเรื้อก่อน จึงทำการตกกล้า หรือหว่านข้าว

3. หลังจากข้าวงอกหรือปักดำ ควรทำการกำจัดข้าวปนที่ทำให้พันธุ์ข้าวไม่บริสุทธิ์ โดยควรทำทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งแรกในระยะแตกกอ ให้ดูลักษณะการแตกกอ การชูใบ ความสูง สีของใบและลำต้น ถ้าพบลักษณะที่ผิดปกติ ให้ตัดกอหรือต้นข้าวทิ้ง ครั้งที่ 2 ในระยะออกดอก ให้ตัดกอข้าวที่ออกดอกผิดเวลากับต้นข้างเคียง อย่าเสียดายเหลือไว้แต่ข้าวที่ออกดอกพร้อมกัน ครั้งที่ 3 ในระยะที่เมล็ดข้าวส่วนใหญ่สุกเหลือง ก็ให้ตัดข้าวที่มีลักษณะเมล็ดผิดปกติทิ้งไป

4. ก่อนการเก็บเกี่ยว ควรตรวจดูในแปลงอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเห็นว่ามีต้นข้าวบางต้นยังมีลักษณะผิดไปจากต้นข้าวส่วนใหญ่ เช่น ลำต้นสูงหรือต่ำผิดปกติ ให้เกี่ยวออกต่างหาก เมื่อเห็นว่าต้นข้าวในแปลงสุกแก่เสมอกันดีให้ทำการเก็บเกี่ยวแล้วนวดทันที ไม่ควรตากข้าวไว้ในนา เพราะอาจจะถูกฝน ทำให้คุณภาพข้าวเสื่อมไปได้ การนวดข้าว ควรแยกข้าวส่วนอื่น และแน่ใจว่าเครื่องนวดไม่มีเมล็ดข้าวอื่นตกค้างอยู่ แล้วนำมาตากแดด 1-2 แดด ฝัดให้สะอาดแล้วบรรจุกระสอบเก็บไว้ในที่แห้งร่มเย็น

การกำจัดข้าวปน :
เป็นการรักษาพันธุ์ข้าวให้บริสุทธิ์ มีลักษณะถูกต้องตรงตามลักษณะพันธุ์ จึงมีความจำเป็นมากที่ต้องหมั่นตรวจแปลง เพื่อกำจัดข้าวเรื้อ ข้าวปน หรือข้าวกลายพันธุ์ เพราะการเกิดการปะปนของเมล็ดพันธุ์ข้าวเพียงเมล็ดเดียว หรือข้าวเรื้อเพียงกอเดียว จะทำให้เมล็ดข้าวที่ผลิตได้ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งไม่สามารถใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ได้ ฉะนั้น การตรวจและกำจัดข้าวปนควรทำในระยะต่าง ๆ ดังนี้

1. ระยะต้นอ่อน : ดูสีของต้นว่าจะมีสีตรงตามลักษณะพันธุ์หรือไม่ และผิดแปลกไปจากต้นอื่น ๆ หรือไม่

2. ระยะเจริญเติบโตหรือระยะแตกกอ : ดูลักษณะทรงกอ การแตกกอ ความสูง สี ต้น กาบใบ และใบ

3. ระยะออกดอก : กำจัดต้นที่ออกดอกไม่พร้อมกับต้นข้าวส่วนใหญ่
4. ระยะข้าวแก่ : ดูลักษณะเมล็ด สีของเปลือกให้ตรงตามพันธุ์ ลักษณะต่าง ๆของต้นในการพิจารณา

ข้าวปนหรือข้าวกลายพันธุ์ :
สิ่งที่สังเกตง่ายๆ คือ ลักษณะการเจริญเติบโตของต้น ได้แก่ ทรงกอ ความสูงใบ ขนาดของใบลักษณะการชูใบ บางพันธุ์ใบตั้ง บางพันธุ์ใบแผ่บางพันธุ์ใบตก

วันออกดอก :
ข้าวพันธุ์เดียวกันควรมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอกันออกดอกพร้อมกัน ไม่ควรแตกต่างกันมากเกินกว่า 7 วัน เมล็ดมีหาง เมล็ดที่มีหางมักจะปรากฎเสมอในต้นข้าวกลายพันธุ์

รวง :
ลักษณะของรวงข้าวแต่ละพันธุ์แตกต่างกัน ความสั้นยาวของรวง ความถี่ ห่างของระแง้

ข้าวกล้องข้าวเจ้า :
จะมีข้าวกล้องใส ข้าวเหนียวจะมีข้าวกล้องขุ่น นอกจากนี้ ข้าวเจ้าบางพันธุ์ จะมีท้องไข่

การคัดข้าวไว้ทำพันธุ์ :
เมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นปัจจัยประการแรกที่สำคัญต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตข้าว ปัจจุบันการผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ดีจากทางราชการ ไม่สามารถสนับสนุนเกษตรกรได้เพียงพอ เกษตรกรควรจะหันมาจัดระบบการทำแปลงพันธุ์ไว้ใช้เอง การจัดทำแปลงพันธุ์ข้าวจะเป็นการลดต้นทุนในการซื้อเมล็ดพันธุ์ ทำให้มีเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ คุณภาพดี โดยมีข้อแนะนำดังนี้

1. เมื่อเกษตรกรได้รับเมล็ดพันธุ์ดีจากทางราชการมาแล้ว ควรเลือกแปลงนาที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ โดยขนาดพื้นที่ขึ้นอยู่กับพื้นที่นาทั้งหมด เช่น มีที่นา 50 ไร่ ปลูกโดยวิธีหว่าน ซึ่งใช้เมล็ดพันธุ์ 15 กิโลกรัม/ไร่ จะเป็นปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการ คือ 50 คูณ 15 เท่ากับ 750 กิโลกรัมหากเกษตรกรเคยทำนาได้ผลผลิต 750 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้น จะคำนวณพื้นที่แปลงพันธุ์ได้ 1 ไร่พอดี

2. การเตรียมแปลง ควรกำจัดข้าวเรื้อออกให้หมด ไม่มีเมล็ดลีบหรือเมล็ดไม่สมบูรณ์อื่น ๆ การทำแปลง ควรใช้วิธีปักดำ แต่ถ้าจำเป็นจะใช้วิธีหว่านก็ได้

3. เมื่อข้าวในแปลงพันธุ์งอกแล้ว ควรทำการกำจัดข้าวปนที่ทำให้พันธุ์ข้าวไม่บริสุทธิ์ หรือข้าวผิดปกติอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุให้ได้ข้าวพันธุ์ไม่ดี ควรทำทั้งหมด 3 ครั้ง

- ครั้งแรก ในระยะแตกกอ ให้ดูลักษณะการแตกกอ การชูใบความสูงของลำต้น สีของใบและลำต้น ถ้าพบลักษณะผิดปกติให้ถอนทิ้ง

- ครั้งที่สอง ในระยะออกดอก กำจัดต้นข้าวที่ออกดอกผิดเวลากับต้นข้างเคียง อย่าเสียดายเหลือไว้แต่ข้าวที่ออกดอกพร้อมกัน

- ครั้งที่สาม ระยะที่เมล็ดข้าวส่วนใหญ่สุกเหลือง ต้องตัดข้าวที่มีเมล็ดผิดปกติทิ้ง โดยเฉพาะเมล็ดข้าวที่มีหาง ต้องกำจัดทิ้งโดยเร็ว เพราะเป็นเมล็ดกลายพันธุ์

4. ก่อนทำการเก็บเกี่ยว ควรตรวจดูในแปลงอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเห็นว่าต้นข้าวบางต้นยังมีลักษณะผิดไปจากต้นข้าวส่วนใหญ่ เช่น ลำต้นสูงหรือต่ำผิดปกติไปจากต้นอื่นให้เกี่ยวออกต่างหากเมื่อต้นข้าวในแปลงสุกแก่เสมอกันดีให้ทำการเก็บเกี่ยวแล้วนวดทันที ไม่ควรตากข้าวไว้ในนา

5. ในการนวด ถ้าใช้เครื่อง ต้องกำจัดเมล็ดข้าวที่ติดมากับเครื่องออกให้หมดเสร็จแล้วนำข้าวที่นวดตากแดดให้แห้ง ฝัดให้สะอาด เก็บในกระสอบหรือวัสดุอื่นเก็บรักษาไว้ในที่แห้งร่มเย็นสูงจากพื้นอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อรอการนำไปทำพันธุ์ต่อไป

การเก็บรักษาข้าวไว้ทำพันธุ์ มีวิธีเก็บรักษาไม่แตกต่างจากการเก็บรักษาข้าวเพื่อรอการจำหน่าย แต่เนื่องจากการเก็บรักษาข้าวไว้ทำพันธุ์มีจุดประสงค์เพื่อนำเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกในรายการต่อ ๆ ไปดังนั้น จึงต้องการความประณีตในการเก็บรักษามากกว่า เพื่อเสริมให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่ดีตามคุณลักษณะที่กำหนด โดยการเก็บไว้ในกระสอบขณะที่ความชื้นไม่ควรเกิน 14 % แล้วบรรจุไว้ในยุ้งฉางที่ระบายอากาศได้ดี และสามารถป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ เกษตรกรควรมีป้ายบอกชื่อพันธุ์ วันเดือนปีที่เก็บเกี่ยว และข้อความอื่น ๆ ที่จำเป็นผูกติดไว้ทุกกระสอบ ตั้งกระสอบเรียงไว้ให้เป็นระเบียบ

อีกวิธีที่สามารถกระทำได้ในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ คือเก็บไว้ในกระพ้อม ที่ป้องกันสัตว์ แมลงศัตรูข้าวได้ โดยเก็บไว้ใต้ถุนบ้าน มีฝาปิดเรียบร้อย หรือในกรณีที่เมล็ดพันธุ์มีน้อย เกษตรกรสามารถเก็บรักษาไว้ในปี๊บ หรือภาชนะที่ป้องกันความชื้นได้ ปิดฝาให้แน่น ที่สำคัญคือข้าวเปลือกที่นำมาเก็บรักษาจะต้องลดความชื้นให้เหลือ 12-14% จะช่วยให้รักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ได้อย่างดี

อนึ่ง ข้าวเปลือกที่เกษตรกรจะนำมาเก็บรักษาไว้ทำพันธุ์นี้ ควรที่จะต้องผ่านการคัดเลือกตามหลักการคัดพันธุ์มาแล้วอย่างดี คือ เป็นพันธุ์แท้ มีความสมบูรณ์ทุกเมล็ด ปราศจากการทำลายของแมลงศัตรูพืช หากเกษตรกรปฏิบัติได้ดังนี้ก็จะมีเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีไว้ปลูกได้ทุก ๆ ปี แน่นอน

(ข้อมูลจากกองส่งเสริมพืชไร่นากรมส่งเสริมการเกษตร)
โทร. 0-2940-6079, 0-2579-3787 โทรสาร. 0-2579-1981



บำรุงต้นข้าวเลยตามเลย แบบหมาจ่าย :
- ให้ไบโออิ อย่างเดียวตั้งแต่ระยะกล้าถึงเกี่ยว ห่างกัน 7-10 วัน ....ทุกครั้งที่ให้ทางใบ + ยาน็อค สารสมุนไพรร่วมด้วยทุกครั้ง

- ป้องกันศัตรูพืช :
มาตรการ “กันก่อนแก้” : คือ แม็กเนเซียม. สังกะสี. ช่วยสร้างภูมิตานทานให้แก่ต้นข้าวเป็นพื้นฐาน แถมฉีดพ่นสารสมุนไพรทับเข้าไปอีก นี่คือ 2 เด้ง

มาตรการ “ป้องกัน + กำจัด” : ถ้าแปลงข้างๆกำลังเกิดระบาด ช่วงว่างระหว่าง 7-10 วัน ให้ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ 2-3 รอบ ห่างกันวันเว้นวัน

ขั้นตอนทำนาข้าวอย่างประณีต :
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมแปลง
ขั้นตอนที่ 2 เตรียมเทือก
ขั้นตอนที่ 3 เตรียมเมล็ดพันธุ์
ขั้นตอนที่ 4 เตรียมเพาะกล้า
ขั้นตอนที่ 5 บำรุงระยะกล้า

ขั้นตอนที่ 6 บำรุงระยะแตกกอ
ขั้นตอนที่ 7 บำรุงระยะตั้งท้อง (แต่งตัว)
ขั้นตอนที่ 8 บำรุงระยะออกดอก
ขั้นตอนที่ 9 บำรุงระยะน้ำนม
ขั้นตอนที่ 10 บำรุงระยะก่อนเกี่ยว (พลับพลึง)

การปฏิบัติ :
ระยะกล้า :

- ฉีดพ่น "ไบโออิ + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะตั้งท้อง ออกรวง :
- ฉีดพ่น "ไทเป + ยาน็อค" 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะน้ำนม :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ 100 ซีซี. + ยูเรก้า + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

หมายเหตุ :
- การให้ทางใบเท่ากับบำรุงทั้งต้นข้าวและต้นวัชพืช แม้จะสิ้นเปลืองปุ๋ยแต่จำเป็นต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต้นข้าวก็จะไม่ได้ปุ๋ยเลย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตข้าวไปด้วย

- หลังจากต้น (ข้าว-วัชพืช) โตแล้ว ไม่ควรใส่ปุ๋ยทางราก เพราะธรรมชาติของต้นวัชพืชจะดูดสารได้เก่งกว่าต้นข้าว นี่คือ ต้นวัชพืชแย่งอาหารต้นข้าวนั่นเอง

- ปุ๋ยทางใบอยู่ที่ใบข้าว ต้นวัชพืชไม่สามารถแย่งได้ นั่นคือ ต้นข้าวยังได้รับปุ๋ยเท่าที่ให้อย่างแน่นอน

- หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนทำนารุ่นต่อไป ทำการไถกลบฟางพร้อมต้นวัชพืช ก็จะได้ปุ๋ยที่ต้นวัชพืชเอาไปกลับคืนมา


http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=10

.................................................................................


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©