-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 28 มี.ค. * ความรู้เรื่องจุลินทรีย์
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 28 มี.ค. * ความรู้เรื่องจุลินทรีย์
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 28 มี.ค. * ความรู้เรื่องจุลินทรีย์

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 27/03/2022 5:41 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 28 มี.ค. * ความรู้เรื่องจุลินทรี ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 28 มี.ค.
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
***********************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า

ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

ผู้สนับสนุนรายการ วิทยุ/เน็ต :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน . ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา

** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- วันนี้วันจันทร์ที่ 28 มี.ค. เฉพาะวันจันทร์ ทุกวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย.. .แจก ! กับดักแมลงวันทอง เลือกเอา 2-3-4 อัน ..... ด้วยประสบการณ์เกือบ 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง

- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 2 เม.ย. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี ....งานนี้


.... ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....

แจก ! .... กับดักแมลงวันทอง


****************************************************************
****************************************************************

เก็บตกงานสีสันสัญจร วัดส้มเกลี้ยง 26 มี.ค.

สมช. :
ลุงครับ ขอความรู้เรื่องจุลินทรีย์หน่อยครับ
ลุงคิม : หน่อยเดียวเหรอ มักน้อยนะ จุลินทรีย์มีเป็นล้านชนิด...

สมช. : ครับจุลินทรีย์มีเป็นล้านล้าน ผมสนใจจุลินทรีย์ที่มีในธรรมชาติ เกิดเองตามธรรมชาติครับ
ลุงคิม : อืมมม นั่นคือ จุลินทรีย์ประจำถิ่น เป็นจุลินทรีย์ที่เกิดเองแล้วก็อยู่ได้เองตามธรรมขชาติ ธรรมชาติของที่นั่นด้วย ธรรมชาติที่อื่นก็เป็นจุลินทรีย์ของที่อื่น ของที่นั่นไป นี่แหละที่เขาเรียกว่า จุลินทรีย์ประจำถิ่นไง....

สมช. : จุลินทรีย์ประจำถิ่นคือจุลินทรีย์ที่จำกัดเฉพาะชนิดนั้นๆ ไม่หลากหลาย แล้วถ้าเราต้องการความหลากหลายล่ะครับ
ลุงคิม : เราก็เอาจุลินทรีย์จากหลากหลายหลายหลากที่มา เอามารวมกันซะ อันนี้ถ้าเป็นจุลินทรีย์ประเภทดีมีประโยชน์เหมือนๆกัน เขาจะอยู่ด้วยกัน โตด้วยกัน ขยายพันธุ์ด้วยกันได้

สมช. : ลุงฟันธงเลยครับ
ลุงคิม : เริ่มจากแหล่งจุลินทรีย์ประจำถิ่นก่อน เป็นตัวเริ่มต้น STARTER แล้ว เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก จุลินทรีย์ พด. จุลินทรีย์ปราชญ์ชาวบ้าน. จุลินทรีย์เกษตรกรดีเด่น.

สมช. : ครับ
ลุงคิม : ที่จริง จุลินทรีย์ที่ดีที่สุด คือ จุลินทรีย์ประจำถิ่น จุลินทรีย์ในดิน สวนไหนสวนนั้น ไม้ต้นไหนต้นนั้น หน้าสวน ท้ายสวน มาก/น้อย/สมบูรณ์/แข็งแรง/อ่อนแอ อยู่ที่สภาพแวดล้อม ดิน/น้ำ/แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล/สารอาหาร/สายพันธุ์/โรค เหมือนปัจจัยสำหรับพืชเลย

สมช. : ครับ
ลุงคิม : ถ้าเราบริหารจัดการปัจจัยพื้นฐานตัวนี้ได้ เราก็จะได้ทั้งจุลินทรีย์ทั้งพืช

สมช. : ครับ
ลุงคิม : ง่ายๆ อินทรีย์วัตถุ เศษซากพืช เศษซากสัตว์ พืชไม่ได้กินสารอาหารนี้เป็นแท่งเป็นดุ้นโดยตรง แต่จะให้จุลินทรีย์ย่อยสลาย ย่อยละเอียดระดับโมเกุลก่อน สารอาหารตัวนี้ต้องปนกับน้ำด้วย รากพืชก็จะดูดซึมไปใช้เอง .... เกมส์นี้ง่ายๆ ว่าแล้วก็เติมน้ำพอชื้นกับสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ทับลงไป สารอาหารที่ว่าก็คือ “กากน้ำตาล สารรสหวานทุกประเภท” ไงล่ะ ....

อืมมม .... เกษตรกรอิสราเอลปลูกพืชอายุสั้นในถุง ใช้วัสดุปลูกเป็นทรายล้วน เป็นทรายฆ่าเชื้อด้วยความร้อนกำจัดสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งจุลินทรีย์มีประโยชน์และจุลินทรีย์เชื้อโรค เกษตรกรไม่พึ่งพาจุลินทรีย์สร้างสารอาหารแต่เป็นคนให้สารอาหารทุกอย่างแก่พืชเอง เพราะเกรงว่าจะมีจุลินทรีย์เชื้อโรคแฝงเข้ามาอยู่ด้วย....เหมือนไฮโดรโปรนิกส์ ที่มีแต่สารอาหารจากฝีมือคน ไม่มีสารอาหารจากฝีมือจุลินทรีย์เลย

สมช. : ครับ
ลุงคิม : แต่ถ้าจะทำจุลินทรีย์ในภาชนะเฉพาะ ในถัง ในกอง ก็ว่ากันไปอีกเรื่องนึง งานนี้ต้องมีหลักวิชาการ เรื่องนี้ยาว

สมช. : ครับ
ลุงคิม : ในหนังสือนี่ไง ทุกจุลินทรีย์ ทุกสูตร วิธีทำ วิธีใช้ วิธีขยายผล บอกไว้ละเอียดยิบ

สมช. : ครับ ผมขอซื้อหนังสือเล่มนึงครับ
ลุงคิม : ไม่ต้องซื้อหรอก เอาไปเลย อันนี้แจก

สมช. : ขอบคุณครับ


ตอบ :
คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :

อ้างอิง :
หนังสือ "หัวใจเกษตรไท มินิ" (500 หน้า)

เกร็ดความรู้เรื่องจุลินทรีย์ :
จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ แบคทีเรีย. ไวรัส. ยีสต์. และรา. ซึ่งกลุ่มใหญ่ๆ เหล่านี้แยกออกเป็นประเภทต่างๆ อีกหลายประเภท เช่น

- ประเภทที่มีประโยชน์ (ฝ่ายธรรมะ) มีประสิทธิภาพในการสร้างและส่งเสริมปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร (ดิน-น้ำ-อุณหภูมิ-สายพันธุ์-โรค) ให้พืชเจริญเติบโต

- ประเภทที่ไม่มีประโยชน์หรือเชื้อโรค (ฝ่ายอธรรม) มีประสิทธิภาพในการทำลายปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร ทำให้พืชไม่เจริญเติบโตหรือตาย

- ประเภทไม่ต้องการอากาศ ชอบและอยู่ในดินลึกที่อากาศลงไปถึงได้น้อยหรือไม่มีอากาศเลย แต่ยังเป็นจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืช มีพลังในการย่อยสลายเหนือกว่าจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ

- ประเภทต้องการอากาศ ชอบและอยู่บริเวณผิวหน้าดินที่อากาศผ่านหรือถ่ายเทสะดวก
- ประเภทต้องการความชื้นน้อย เจริญเติบโต ขยายพันธุ์ได้ดีภายใต้สภาพความชื้นน้อยๆ หรือแห้งแล้ง
- ประเภทต้องการความชื้นมาก เจริญเติบโตได้ภายใต้สภาพความชื้นที่เหมาะสม เช่น ชื้นพอดี ชื้นแฉะ น้ำขังค้าง

- ประเภทเกิดได้เร็ว เกิดและขยายพันธุ์ได้ในถังหมักหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมภายใน 3-10 วัน
- ประเภทเกิดได้ช้า เกิดและขยายพันธุ์ได้ในถังหมักหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต้องใช้ระยะเวลานานนับเดือนหรือหลายๆ เดือนทั้งจุลินทรีย์ประเภทเกิดได้เร็วและเกิดได้ช้า ถ้าเป็นจุลินทรีย์ฝ่ายธรรมะย่อมมีประโยชน์ต่อพืชเหมือนๆ กันดังนั้นการใช้จุลินทรีย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงควรใช้ทั้งจุลินทรีย์ประเภทหมักใหม่และหมักนานแล้วร่วมกัน

การเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์จากป่าธรรมชาติ :
การเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์จากป่าธรรมชาติ ที่มาของจุลินทรีย์ มาจากป่าธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และมีระบบนิเวศ สภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ใกล้กับแปลงเกษตรของเรา (พื้นที่เดียวกัน) วิธีการเก็บจุลินทรีย์จากป่า โดยเก็บจากหน้าดินที่มีอินทรีย์วัตถุทับถม (บริเวณหน้าดินที่เรียกว่า ดินดี) หรือเก็บดินมาจากหลาย ๆ จุด เช่น จากยอดเขา กลางเขา ตีนเขา ลำธาร โค่นต้นไม้ กอไผ่ โดยเก็บดิน จำนวนรวมกันแล้วประมาณ 1- 2 กก.

วิธีการสังเกตุดินดี มือจับดูนุ่มมือ กลิ่นหอม สีดำ วัสดุเพาะจุลินทรีย์ :
1. ดินดีจากป่า 1 ส่วน
2. รำอ่อน 1 ส่วน
3. กากน้ำตาล 0.5 ล.
4. ใบไผ่หรือใบจามจุรีหรือฟางข้าว (อินทรีย์วัตถุที่หาง่ายในท้องถิ่นอะไรก็ได้)
5. น้ำพอประมาณ

วิธีการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ :
ขั้นที่ 1 :
นำรำอ่อนผสมคลุกเคล้าดินป่าที่เก็บมา แล้วน้าไปคลุกกับใบไผ่ หรือ จามจุรีที่เตรียมไว้(ใบไผ่) จากนั้นน้ากากน้ำตาลที่ละลายน้ำรดที่วัสดุเพาะพอหมาดความชื้นประมาณ 40% (ใช้มือกำแล้วบีบ น้ำไจะไม่ไหลออกมา) คลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นนำไปบ่มไว้ในกอง หรือ กระสอบป่านทิ้งไว้ประมาณ 5 - 7 วัน แล้วน้าไปเพาะเลี้ยงขั้นที่ 2

2. ขั้นที่ 2 (ขยายปริมาณ)
วัสดุอุปกรณ์ :

- ถังขนาด 200 ล.
- น้ำ 20 ส่วน (ประมาณ 160 ล.)
- กากน้ำตาล 1 ส่วน (ประมาณ 8 กก.)
- รำอ่อน 1 ส่วน (ประมาณ 8 กก.)
- จุลินทรีย์จากขั้นที่ 1 จำนวนทั้งหมด

วิธีการเพาะเลี้ยงขั้นที่ 2
- นำน้ำใส่ถัง จ้านวนประมาณ 160 ล.
- เทกากน้ำตาลลงในน้ำ ผสมละลายให้เข้ากันจนกากน้ำตาลละลายหมด
- นำจุลินทรีย์จากขั้นที่ 1 ที่ห่อด้วยมุ้งเขียวใส่ลงไปในถัง (ห่อเพื่อป้องกันการกระจัดกระจายของวัสดุในถัง)

- หลังจากนั้นโรยรำละเอียด (แกลบมุก) ลงไปในถัง (รำละเอียดจะใช้ หรือไม่ใช้ก็ได้ ถ้าเราใช้จะช่วยให้เชื้อจุลินทรีย์ขยายได้เร็วขึ้นแต่จะเปลืองค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นด้วย)

- ปิดฝาถัง ไม่ต้องปิดสนิท
- ทิ้งไว้ประมาณ 15-20 วัน สังเกตจะมีกลิ่นเปรี้ยว สามารถน้าไปใช้ได้

วิธีการใช้ประโยชน์ นำไปทำปุ๋ยหมัก ใส่ในแปลงพืชผัก นา และใช้แทน อีเอ็ม (EM), พด. และจุลินทรีย์ท้องถิ่น ศูนย์เรียนรู้สถาบันพัฒนาทรัพยากรและเกษตรกรรมยั่งยืนแม่ทา 61 หมู่ที่ 5 บ.ป่านอต ต.แม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่

วิธีการเก็บตัวอย่างหัวเชื้อจากป่าธรรมชาติ :
1) เก็บตัวอย่างจากโคนไม้ที่ผุพังที่มีเชื้อราสีขาว หรือเชื้อเห็ดหอมดมกลิ่นตัวอย่างเชื้อ จะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นของเห็ดโคน

2) เก็บตัวอย่างจากบริเวณใบไผ่จากป่าดิบชื้นจากธรรมชาติ จะสังเกตเห็นการผุพัง และการเกิดเชื้อราฝ้าขาวจับผิวไม้ไผ่ จะมีกลิ่นหอม

3) เก็บตัวอย่างจากโคนผิวเนื้อไม้ที่มีไลเคนที่เขียวขึ้น ขูดเอาเฉพาะผิวหน้า จะมีความชื้นสูง และกลิ่นหอมคล้ายเชื้อเห็ด

4) เก็บตัวอย่างจากโคนไม้ใหญ่ที่มีรากฝอย บริเวณพูดอน ขูดเอาผิวดินบริเวณพูดอน จะมีความอุดมสมบูรณ์สูง และมีกลิ่นหอมคล้ายเชื้อเห็ด อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างจุลินทรีย์ กล่องพลาสติก ถุงพลาสติก หรืออื่นๆ

วัสดุการเพาะเลี้ยง (สูตรการทำ) :
1) หัวเชื้อราจากป่าชนิดต่างๆ ประมาณ 1 กก.
2) ร้าละเอียด 0.5 กก.
3) ใบไผ่ที่มีอยู่ในท้องถิ่น 3 กก.
4) กากน้ำตาล 0.5 กก.

วิธีทำจุลินทรีย์แบบแห้ง :
1) น้าหัวเชื้อราจากป่าชนิดต่าง ๆ ประมาณ 1 กก.
2) น้าหัวเชื้อคลุกเคล้ากับใบไม้ไผ่ในท้องถิ่น โรยด้วยรำละเอียด
3) น้ากากน้ำตาลที่ผสมรวมกับน้ำประมาณ 10 ล. ตีกากน้ำตาลร่วมกับน้ำให้เข้า กัน รดลงน้ำบนกองไม้ไผ่

4) ให้กองจุลินทรีย์ชุ่มน้ำพอประมาณอย่าให้เปียกมาก
5) คลุมด้วยกระสอบป่านไว้ประมาณ 3-7 วัน เมื่อเปิดดูจะพบว่าเกิดเชื้อราสีขาว สี เขียว ฯลฯ
การจัดเก็บจุลินทรีย์แบบแห้งสามารถเก็บบรรจุกระสอบป่านไว้ หรือจะเก็บแบบผึ่งลม จะอยู่ได้นานประมาณ 6-8 เดือน การเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์จากป่าธรรมชาติ

วิธีทำจุลินทรีย์แบบน้ำ :
1) เอาหัวเชื้อจุลินทรีย์แบบแห้งที่เพาะเลี้ยงไว้ประมาณ 1 กก. มาห่อหุ้มด้วยถุง มุ้งเขียว
2) หากมีถังพลาสติกประมาณ 200 ล. ใส่น้ำไปประมาณ 180 ล.
3) น้ากากน้ำตาล 10 ล. เทลงไปในถังใบ้ไม้คนให้กากน้ำตาลกับน้ำให้เข้ากัน
4) ใส่ถุงหัวเชื้อราในข้อ 1 ลงไปในถังกากน้ำตาล
5) ปิดฝาถังด้วยพลาสติกมัดปากหรือฝาพลาสติกก็ได้
6) ประมาณ 3-7 วัน จะเกิดปฏิกิริยาความพุดของการเดินหัวเชื้อ หลังจากนั้นจะค่อยๆ เป็นเชื้อราสีขาว ปกคลุมทั่วทั้งถัง เมื่อเชื้อผ่านไปได้ 7 วัน สามารถนำไปใช้ได้ในการย่อยสลายฟาง

การขยายเชื้อลงปุ๋ยชีวภาพ และใส่พืชผัก ไม้ผลได้โดยตรง ศูนย์เรียนรู้สานสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งอยู่ เลขที่ 28 หมู่ 4 บ.ดอนแก้ว ต.ดอนแก้ว อ.สารภี จ.เชียงใหม่

http://www3.oae.go.th/rdpcc/images/filesdownload/km/Knowledge/productions/1.pdf


1. จุลินทรีย์ธรรมชาติ :
หลักการและเหตุผล :

- การที่จะรู้ว่าพื้นดินหรือแหล่งปลูกพืชบริเวณใดมีจุลินทรีย์ประเภทใดได้นั้น สังเกตการเจริญเติบโตของต้นพืชที่ขึ้นในบริเวณนั้นหรือใกล้เคียงเป็นหลัก ถ้าต้นพืชเจริญเติบโตดีแสดงว่ามีจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ แต่ถ้าต้นพืชไม่เจริญเติบโตแสดงว่ามีจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์

- ประเภทของจุลินทรีย์ธรรมชาติในแหล่งธรรมชาติ
*** รากหญ้าแฝก หญ้าขน หญ้าประเภทหน้าแล้งตายหน้าฝนฟื้น มีจุลินทรีย์อะโซโตแบ็คเตอร์
*** ปมรากถั่วลิสง มีจุลินทรีย์คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซ่า.
*** รากมะกอกน้ำ มีจุลินทรีย์บาซิลลัส
*** รากกล้วย มีจุลินทรีย์แอ็คติโนมัยซิส
*** รากพืชตระกูลถั่วยืนต้น เช่น สะดา เหลียง มะขามเทศ
*** เศษใบไม้ เศษกิ่งไม้ ผุเปื่อย
*** ดินผิวดินที่ประวัติเคมีมีเห็ดธรรมชาติเกิดประจำ

วิธีขยายเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ :
น้ำ (พีเอช 6.7-7.0) 10 ล.
กากน้ำตาล 1 ล.
น้ำมะพร้าว 1 ล.
วัสดุจุลินทรีย์เริ่มต้นหลายๆอย่าง 1-2 กก.
คนเคล้าให้เข้ากันดี
เติมอ๊อกซิเจนตลอด 24 ชม. 7-10 วัน
ได้ "หัวเชื้อ" พร้อมใช้งาน
ใช้ "หัวเชื้อ 1 ล./น้ำ 500 ล." (1:500) ราดรดลงดิน หรือบนกองปุ๋ยอินทรีย์

หมายเหตุ :
การนำวัสดุที่เป็นแหล่งจุลินทรีย์ธรรมชาติ หลายๆอย่าง สับเล็ก ใส่ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์หมักในกอง ก็จะทำให้จุลินทรีย์จากแหล่งธรรมชาติที่ใส่ร่วมลงไปนั้นขยายเชื้อเพิ่มปริมาณได้

2. จุลินทรีย์ อีแอบ. :
เตรียมเชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้น :

1. ใช้ “ปลาทะเลสดยังมีชีวิตทั้งตัวบดละเอียด 1 กก. + กากน้ำตาล 50 ซีซี. + หัวกระเทียมบดละเอียด 200-300 กรัม.” ผสมนวดให้เข้ากันดี

2. นำเนื้อปลาที่นวดดีแล้วห่อด้วยใบตองหลายๆ ชั้น รัดห่อด้วยเชือกเป็นเปราะๆ เหมือนห่อหมูยอ แล้วเก็บไว้ในตู้กับข้าว ทิ้งไว้ 7-10 วัน ช่วงอุณหภูมิอากาศปกติ หรือ 15-20 วันช่วงอุณหภูมิอากาศเย็น ได้ “ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ." เข้มข้น พร้อมนำไปขยายเชื้อ

ขยายเชื้อจุลินทรีย์ :
1. เตรียมน้ำต้มเดือดจัดเพื่อฆ่าเชื้อโรค ปล่อยทิ้งให้เย็น 10 ล.ในภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ สะอาด ใส่กากน้ำตาลลงไป 1 ล. หรืออัตราส่วน 10 : 1 คนให้เข้ากันดี

2. นำก้อนเชื้อจุลินทรีย์ออกมาจากห่อ ใส่ลงไปในน้ำ ขยายเชื้อ คนเคล้าให้เข้ากันดี
3. ใส่ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ลงไปแล้วช่วงการหมัก 24-48 ชม.แรกให้ปิดฝาสนิท อย่าให้อากาศเข้าได้ ผ่าน 24-48 ชม.ไปแล้วคลายฝาออกปิดพอหลวม ระวังอย่าให้สิ่งแปลกปลอมตกลงไป ติดปั๊มออกซิเจนเพื่อเติมอากาศให้แก่จุลินทรีย์

4. ตรวจสอบประจำวันด้วยการสังเกตฟองที่เกิดขึ้นในถังขยายเชื้อ ถ้ามีฟองผุดขึ้นมามากแสดงว่ามีจุลินทรีย์จำนวนมาก สมบูรณ์ และแข็งแรง แต่ถ้ามีฟองผุดขึ้นมาน้อยแสดงว่ามีจุลินทรีย์น้อยให้ใส่เพิ่ม “ก้อนเชื้อจุลินทรีย์” พร้อมกับเติมกากน้ำตาลอีก อัตรา ¼ ของที่ใส่ครั้งแรกกับน้ำมะพร้าวอ่อนเล็กน้อยลงไป คนเคล้าให้เข้ากันดีอีกครั้งแล้วหมักขยายเชื้อต่อไป

- หลังจากหมดฟองแล้วได้ “หัวเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ.เข้มข้น” ให้นำออกใช้ทันทีในวันรุ่งขึ้น
- ขั้นตอนการหมัก การตรวจสอบ และการนำออกไปใช้ ให้ปฏิบัติเหมือนขยายเชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่น

หมายเหตุ :
- ไม่ควรเก็บจุลินทรีย์ที่ขยายเชื้อจนเจริญดีแล้วไว้ในน้ำขยายเชื้อนานเกินไป เพราะจะทำให้จุลินทรีย์กลุ่มแรก (จุลินทรีย์ที่ต้องการ) ซึ่งเกิดก่อนต้องตายแล้วเกิดจุลินทรีย์กลุ่มใหม่ (ไม่รู้จัก) ขึ้นมาแทน ทั้งนี้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรส่วนใหญ่ต้องการความชื้นเพียง 30-70 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

- การควบคุมอุณหภูมิในถังขยายเชื้อหรือถังหมักให้อยู่ที่ 40 องศา ซี. อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้จุลินทรีย์เจริญและขยายพันธุ์ได้เร็วขึ้น

* ดร.สุริยา ศาสนรักกิจ. ตรวจสอบจุลินทรีย์ อีเอ็ม. ว่ามีจุลินทรีย์กลุ่มไหนบ้าง จากนั้นพยายามคัดสรรสารพัดวัสดุเพื่อนำมา เพาะ/ขยายเชื้อ จนกระทั่งพบว่าปลาทะเล. ทำให้ได้จุลินทรีย์กลุ่มเดียวกันกับ อีเอ็ม. ทันทีที่พบถึงกับอุทานว่า "แอบ" อยู่นี่เอง และนี่คือที่มาของชื่อว่า "อีแอบ" ที่ลุงคิมตั้งให้เอง

3. จุลินทรีย์ อีแอบ. ซุปเปอร์ :
เตรียมเชื้อเริ่มต้น :

ใช้ “ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ.เข้มข้น” หมักนานจนพร้อมใช้งานแล้ว

การขยายเชื้อและวิธีใช้ :
- เตรียมน้ำขยายเชื้อเหมือนเดิม
- ใส่ “ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ.เข้มข้น + จุลินทรีย์ท้องตลาดหรือจุลินทรีย์อื่นๆ” ลงในถังขยายเชื้อ คนเคล้าให้เข้ากันดี

- กรรมวิธีการหมักขยายเชื้อเหมือนการทำจุลินทรีย์ อีแอบ.ทุกประการ

หมายเหตุ :
- จุลินทรีย์ท้องตลาดได้แก่ ยาคูลท์ โยเกิร์ต และร้านขายสินค้าเกษตรทั่วไป
- จุลินทรีย์อื่นๆ หมายถึง พด. จุลินทรีย์หน่อกล้วย. จุลินทรีย์ประจำถิ่น. ฯลฯ ที่พร้อมใช้งานดีแล้ว ซึ่งจะทำให้ใน อีแอบ. มีจุลินทรีย์กลุ่มอื่นเพิ่มขึ้น

------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©