-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 26 พ.ค. * ทุเรียน ทุเรียน และผสมเกสรทุเรียน
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 26 พ.ค. * ทุเรียน ทุเรียน และผสมเกสรทุเรียน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 26 พ.ค. * ทุเรียน ทุเรียน และผสมเกสรทุเรียน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 25/05/2022 5:29 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 26 พ.ค. * ทุเรียน ทุเรียน และผสม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 26 พ.ค.
***********************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน 30 เม.ย. ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา

** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด


- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 28 พ.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก กาญจนาภิเษก .... งานนี้

ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....


****************************************************************
****************************************************************

จาก : (093) 716-42xx
ข้อความ : ทุเรียนนนท์ราคาแพงมาก ขอสูตรบำรุงด้วยครับ

จาก : (082) 435-28xx
ข้อความ : ทุเรียนพูหลอก ลูกยอดไม่มีเนื้อ เพราะอะไร

จาก : (062) 820-61xx
ข้อความ : ทุเรียนมือใหม่ ขอวิธีผสมเกสรทุเรียนค่ะ
ตอบ :

คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :

เก็บตกงานสัญจร 28 ต.ค. วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก กาญจนาภิเษก :


สมช. : ลุงคิมครับ วันนี้ขอความรู้เรื่องทุเรียนหน่อยครับ ?
ลุงคิม : ขอความรู้เหรอ นิดหน่อยน่ะพอได้ มากๆคงไม่ได้

สมช. : ทุเรียนประเทศไทย จังหวัดไหนอร่อยที่สุดครับ ?
ลุงคิม : จังหวัดฟรี-ทุเรียนฟรี อร่อยที่สุดครับ อันนี้ ยืนยันนั่งยันนอนยันตะแคงยันตีลังกายัง....ทุเรียน คือ ทุเรียนน่ะคุณ จะให้ทุเรียนอร่อยอย่างมะม่วง มังคุด คงไม่ได้

สมช. : เท่าที่ผมสังเกต หมอนทอง/ก้านยาว จันท์. กับ นนท์. อร่อยต่างกันนะครับ
ลุงคิม : คำว่า “อร่อย” น่าจะหมายถึง “กลิ่น-รส” เป็นหลัก เพราะ “ขนาด-สี” ลิ้นคนวัดไม่ได้

สมช. : ใช่ครับ กลิ่น.กับรส.
ลุงคิม : จาก “กลิ่น-รส” ตามด้วย “ขนาด-เนื้อ-สี-น้ำหนัก” แม้จะทุเรียนเหมือนกันแต่ต่างกันได้เพราะ ปัจจัยพื้นฐาน ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธ์-โรค ต่อทุเรียน อย่าว่าระดับจังหวัดเลย ในสวนเดียวกัน ต้นนี้กับต้นนั้น การบริหารจัดการปัจจัยฯ เดียวกัน ผลที่ออกมายังต่างกันเลย เพราะ ความต่างบนความเหมือน-ความเหมือนบนความต่าง ทั้งนี้ปัจจัยแต่ละตัวของทุเรียนต้นนี้กับทุเรียนต้นนั้นต่างกันกันเอง

สมช. : ปัจจัยพื้นฐาน ดิน.จังหวัดนั้นจังหวัดนี้/ที่นั่นที่นี่/ต้นนั้นต้นนี้....ประวัติดินที่ลุงบอก ... น้ำ...แสงแดด/อุณหภูมิ ที่ต่างกัน....ครับ ผมเห็นแล้ว สารอาหาร-ปุ๋ย ครับ ตัวการหลักเลยใช่ไหมครับ...
ลุงคิม : ช่ายยยย เพราะปุ๋ยหรือสารอาหารนี่แหละ เป็นตัวสร้างทุกอย่างในต้น รวมทั้งคุณภาพของผลผลิตด้วย ... ปุ๋ยผิดใช้ถูก ปุ๋ยถูกใช้ผิด ไงล่ะ

สมช. : ลุงครับ ทุเรียนนท์ ลูกละหมื่น หลายๆหมื่น เป็นเพราะคุณภาพไหมครับ ?
ลุงคิม : ไม่เชิง ทุเรียนนนท์ ราคาแพงนั่นมันทุเรียนการกุศล ทุเรียนจังหวัดไหนๆก็รารคาแพงได้ ถ้าซื้อชายเพื่อการกุศล นั่นคนซื้อเจตนาทำบุญ ไม่ใช่เจตนาซื้อทุเรียน เพราะฉะนั้นต้องแยกให้ออก ระหว่างซื้อขายปกติกับซื้อขายการกุศล

สมช. : ครับ ซื้อขายกับการกุศล ต้องแยกจากกัน.... แล้วคุณภาพของทุเรียน คุณภาพจริงๆ ขอคำแนะนำด้วยครับ....
ลุงคิม : ก็อยู่ที่ปุ๋ยอีกนั่นแหละ ปุ๋ยผิดใช้ถูก/ปุ๋ยถูกใช้ผิด ถามหน่อย บำรุงทุเรียน
* ให้ปุ๋ยตัวไหนในจำนวน 14 ตัว ....
* ปุ๋ยสูตรไหนที่ 3 ตัวรวมกัน ....
* ได้ให้ทางใบไหม ....
* บำรุงแบบสะสม หรือให้แบบเฉพาะหน้า ....

สมช. : ส่วนมากไม่ได้ให้กัน เพราะถังฉีด ฉีดไม่ถึง
ลุงคิม : นี่คือส่วนหนึ่งที่ต้นทุเรียนไม่ได้รับ แทนที่เขาควรรับสารอาหารเต็มร้อย แต่ได้รับแค่ครึ่งเดียว .... บำรุงครึ่งเดียวแล้วได้ผลผลิตแค่ครึ่งเดียว มันก็ถูกแล้วไม่ใช่เหรอ ?

สมช. : สปริงเกอร์แพงครับลุง
ลุงคิม : อืมมม ถามหน่อย แล้วเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าถูกล่ะ .... เท่าที่เจอะเจอมานะ เฉพาะหัวสปริงเกอร์แบบที่ไร่กล้อมแกล้มใช้ ราคาหัวละ 3 บาท แบบเดียวกันที่นนท์บุรีหัวละ 12 บาท ที่พิจิตรหัวละ 38 บาท ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ร้านที่ขายเขาใช้มาตรฐานอะไร แบบนี้ลุงคิมคงช่วยอะไรไม่ได้

สมช. : นั่นน่ะซีครับ
ลุงคิม : เอาเป็นว่า ทุเรียน หรือไม้ผลทุกชนิด บำรุงเต็มที่ได้ผลเต็มที่ บำรุงครึ่งเดียวได้ผลครึ่งเดียว เป็นธรรมดา .... ยุคนี้ เทคนิค/เทคโน ช่วยแก้ปัญหาความล้มเหลวได้

สมช. : ครับ
ลุงคิม : อย่างที่บอกตอนแรก ทุเรียนคือทุเรียน ทุเรียนที่ไหนอร่อยสไตล์ทุเรียนที่นั่น เหลือแต่ว่า เราดึงความอร่อยออกมาได้ไหม

สมช. : ครับ
ลุงคิม : ตัวที่จะช่วยดึงความอร่อยออกมาได้ คือ ธาตุรอง/ธาตุเสริม นี่แหละ โดยเฉพาะ แม็กเนเซียม. สังกะสี. แคลเซียม โบรอน. น้ำตาทางด่วน. นี่แหละ ให้บ่อยๆ สม่ำเสมอ ประจำๆ ทั้งช่วงมีผลบนต้น ไม่มีผลบนต้น การที่จะให้บ่อยๆ สม่ำเสมอได้ ก็ต้องเครื่องทุนแรงอย่างสปริงเกอร์-หม้อปุ๋ย นี่แหละ....

สมช. : ลุงครับ ทุเรียนลูกยอดไม่มีเนื้อ แก้ไขยังไงครับ....
ลุงคิม : (หัวเราะ....) ลูกยอดไม่มีเนื้อเพราะไม่ได้ปุ๋ย เมื่อรู้ว่าเขาไม่ได้ปุ๋ยก็ให้ปุ๋ยซี่ ปุ๋ยตัวไหนใน 14 ตัว ปุ๋ยสูตรไหนที่ 3 ตัวรวมกัน ทางใบ/ทางราก นอกจากปุ๋ยแล้วฮอร์โมน ให้เท่าไหร่ ให้เมื่อไหร่ ให้อย่างไร....

ทุเรียนลูกยอดไม่มีเนื้อ :
คำตอบ :
ทุเรียนลูกนั้นไม่ได้รับสารอาหาร ทั้งจากทางใบและทางราก .... หลักการและเหตุผล คือ ธรรมชาตินิสัยของทุเรียน สารอาหารจากดินผ่านราก ผ่านต้น ผ่านกิ่ง สู่ลูกบนต้น ลูกแรกของกิ่งแรกของต้นจะกินอาหารก่อน กินอิ่มแล้วจึงจะปล่อยไปให้ลูกถัดไปของกิ่งเดียวกัน ลูกถัดไปกินอิ่มก็จะปล่อยให้ลูกถัดไป ทีละลูกๆ ตามลำดับจนถึงลูกสุดท้ายปลายสุดของกิ่งแรก ขณะที่แต่ละลูกของกิ่งแรกกำลังรับสารอาหารตามลำดับนั้น สารอาหารส่วนหนึ่งจะถูกแบ่งให้กิ่งที่สูงถัดขึ้นไป ซึ่งกิ่งนี้ก็จะส่งไปยังลูก ลูกแรกรับแล้วส่งต่อให้ลูกถัดไปตามลำดับเหมือนวิธีของกิ่งแรก....

การส่งสารอาหารจากกิ่งแรกไปกิ่งสูงถัดขึ้นไป ถัดขึ้นไป และถัดขึ้นตามลำดับจากล่างไปบน แต่ละกิ่งได้รับแล้วจะให้ลูกแรกของกิ่งก่อน แล้วจึงให้ต่อไปจนถึงลูกสุดท้ายของกิ่งของตัวเอง

นี่คือสาเหตุที่ทุเรียนลูกสุดท้ายปลายกิ่งของแต่ละกิ่ง และลูกสุดท้ายของปลายกิ่งที่สูงสุดของต้น ไม่ได้รับสารอาหารที่ส่งจากรากผ่านลำต้นขึ้นมา ทำให้ผลไม่มีคุณภาพ คือ ไม่มีเนื้อ หรือเป็นพูหลอก นั่นเอง

แนวทางแก้ปัญหา :
ให้สารอาหารทางใบ เมื่อใบสังเคราะห์แล้วจะส่งย้อนกลับมาทางลำต้น ระหว่างที่ส่งย้อนกลับนี้ ลูกแรกปลายสุดก็จะกลายเป็นลูกแรกได้รับโดยอัตโนมัติ เมื่อลูกปลายสุดๆได้รับสารอหารแล้ว ลูกกลางกิ่งก็ยังมีปัญหาอีกจนได้ แนวทาง แก้ไข คือ ให้มีใบบริเวณกลางกิ่งเป็นตัวสังเคราะห์สารอาหารให้ ทั้งนี้ เมื่อช่วงที่ทุเรียนออกดอก หรือ ติดผลเล็ก ซึ่งจะต้องตัดแต่งกิ่งที่แตกซ้อนออกใหม่นี้ทิ้ง ก็ให้คงเหลือใบบางส่วนไว้สำหรับสังเคราะห์อาหารให้ลูกกลางกิ่ง

สรุป :
ด้วยการเตรียมใบให้พร้อม แล้วให้สารอาหารทางใบ ใบก็จะสังเคราะห์อาหารให้แก่ทุกลูก ทุกตำแหน่งที่ติดลูก ทั่วทั้งต้น ส่งผลให้ทุเรียนทุกลูกไม่เป็น “พูหลอก”

ทุเรียนพูหลอก .... สาเหตุและการแก้ไข :
- ชาวสวนทุเรียนเรียกว่า “ลูกยอด” คือ ลูกที่อยู่ส่วนปลายของกิ่ง ทั้งกิ่งล่างกับกิ่งปลายยอดสูงสุด เป็นผลที่ไม่มีเนื้อ ชาวสวนไม่ใช่น้อยไม่รู้สาเหตุ ก็ว่าเป็นธรรมชาติของทุเรียนเอง แก้ไขไม่ได้

- สาเหตุ เพราะให้ปุ๋ยทางแต่ราก ต้นดูดขึ้นไปแล้ว ลูกแรกรับก่อน กินก่อน กินอิ่มแล้วจึงปล่อยให้ลูกถัดไป ลูกถัดไปกินอิ่มแล้วจึงจะปล่อยให้ลูกถัดไปอีก ตามลำดับ จากลูกแรกถึงลูกสุดท้ายที่ปลายกิ่งจะได้อะไร

แก้ไขด้วยการให้ปุ๋ยทางใบ เมื่อให้ปุ๋ยทางใบผลที่อยู่ปลายสุดของกิ่ง จะได้รับเป็นผลแรก ในขณะเดียวกัน ลูกกลางกิ่งก็จะได้รับปุ๋ยจากใบกลางกิ่ง ....

นิสัยธรรมชาติของทุเรียน ช่วงมีดอก ถึงผลเล็ก มักมีใบอ่อนแตกออกมา การปฏิบัติคือ ให้เลือกตัดแต่งกิ่งที่แตกใหม่ที่ท้องกิ่งใหญ่ทิ้งทั้งหมด ส่วนกิ่งด้านบนของกิ่งใหญ่ให้เหลือไว้เท่าที่จำเป็น 1 กิ่งเลี้ยง 1 ลูก แบบนี้จะทำให้ทุกลูกในกิ่ง ทั้งโคนกิ่ง กลางกิ่ง ปลายกิ่ง กิ่งล่าง กิ่งกลาง กิ่งสูง ของต้นได้รับสารอา หารเท่าเทียมกัน เมื่อได้รับสารอาหารก็จะไม่เป็นพูหลอก หรือมีพูเต็มนั่นเอง

- ทั้งนี้ ต้นอายุมากๆ ผลที่ติดต่ำๆ กับผลที่ติดชิดโคนกิ่ง จะมีคุณภาพดีกว่าผลที่ติดสูงๆหรือค่อนไปทางปลายกิ่ง (ลูกยอด) โดยผลที่อยู่ต่ำกับชิดโคนกิ่งจะได้รับอาหารที่ต้นลำเลียงส่งไปให้ก่อน ที่เหลือจึงจะผ่านไปให้ผลที่อยู่ถัดไป ทำให้ผลที่อยู่สูงมากๆ หรือสูงสุดได้รับธาตุอาหารน้อย

- ต้นสูงมาก 8-10 ม. ขึ้นไป เพิ่มปริมาณธาตุอาหารโดยให้ทางใบด้วยการติดตั้งสปริงเกอร์ในทรงพุ่มและเหนือยอดสูงสุดของต้น เมื่อให้ “น้ำ + ปุ๋ยทางใบ + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + ฮอร์โมน” ผ่านสปริงเกอร์พอเปียกใบ หรือให้จนโชกแล้วตกลงพื้นที่โคนต้นก็ถือเป็นการให้น้ำตามปกติได้ด้วย

- ตัดต้น (ยอดประธาน) เพื่อควบคุมความสูง และตัดกิ่งประธานเพื่อควบคุมความกว้างของขนาดทรงพุ่มแล้วสร้างใบใหม่ก็จะได้ต้นที่มีขนาดและรูปทรงตามต้องการ การตัดแต่งกิ่งเพื่อควบ คุมขนาดทรงพุ่มตั้งแต่ทุเรียนมีอายุต้นยังน้อยจะส่งผลดีต่อการเจริญ เติบโตของต้น และคุณภาพของผลผลิตระยะยาว

- เคยมีผู้เปรียบเทียบระหว่างต้นสูงมากๆ ตามธรรมชาติ กับต้นควบคุมความสูงไว้ที่ 5 ม. ด้วยการตัดแต่งตั้งแต่แรก พบว่า ต้นมีความสูงมากๆตามธรรมชาติ ผลที่ติด ณ ความสูง 1 ใน 3 ของความสูงต้นจากพื้น ทุกผลจะเป็นผลที่มีคุณภาพดี ส่วนผลที่ติดในบริเวณความสูง 2 ใน 3 ของต้นที่เหลือจะไม่ดี หรือในต้นทุเรียนที่มีความสูงมากๆ ตามธรรมชาติจะให้ ผลดีมีคุณภาพเพียง 1 ใน 3 ของผลทั้งต้นเท่านั้น .... ต้นที่มีการควบคุมความสูง 3-4 ม. ทรงพุ่มกว้าง 5-6 ม. ให้ปริมาณผลดกกว่า และคุณภาพเหนือกว่าต้นสูงตามธรรมชาติ

ข้อเปรียบเทียบนี้ได้จาก การบำรุงทุเรียนโดยให้ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว ไม่มีการให้ปุ๋ยทางใบ หรือให้ปุ๋ยทางใบน้อยมากเนื่องจากเครื่องมือให้ปุ๋ยทางใบไม่พร้อม (ลากสายยาง หรือสะพายเป้) แต่หากได้ให้ปุ๋ยทางใบ ถูกสูตร/ถูกระยะ/สม่ำเสมอ/ต่อเนื่อง ทั้งช่วงมีผลต้นและไม่มีผลบนต้น ด้วยเครื่องมือให้ปุ๋ยทางใบอย่างสปริงเกอร์หม้อปุ๋ย เมื่อปุ๋ยผ่านใบเข้าสู่ต้น ก็จะช่วยให้ลูกยอดที่ปลายกิ่งได้รับสารอาหาร ไม่เป็นพูหลอก กับทั้งคุณภาพดีเหมือนลูกโคนกิ่งโคนต้น

24. เทคนิคการผสมเกสรทุเรียน :
เรียบเรียง/จัดทำ โดย :
พัฒนา นรมาศ กองเกษตรสัมพันธ์
จัดทำเอกสารเผยแพร่โดย : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ถ้าเกสรทุเรียนผสมกันเองตามธรรมชาติ ถามว่า จะเกิดอะไรขึ้น ?
1. ทุเรียนจะติดผลน้อย โดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์ชะนีจะติดผลไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์ก้านยาวจะติดผลไม่เกิน 7 เปอร์เซ็นต์

2. ทุเรียนมักจะติดผลปลายกิ่งหรือกิ่งเล็ก ทำ ให้การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวลำ บากต้องมีการ โยกกิ่ง มักทำให้กิ่งฉีกหักได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อมีลมพายุหรือฝนตกหนัก จากสาเหตุ 2 ประการนี้ หากปล่อยทิ้งไว้จะทำ ให้การปลูกทุเรียนได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

การแก้ไข :
การนำเทคนิคการผสมเกสรทุเรียนมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการติดผลของทุเรียนจึงเป็นวิธีการ หนึ่งที่จะช่วยให้การติดผลของทุเรียนเกิดขึ้นได้ช้าเร็ว หรือมีขนาดของผลเท่าๆ กัน และมีคุณภาพดีได้ ด้วยนั้น เพียงใช้ขั้นตอนการปฏิบัติง่ายๆ ดังนี้

ที่มาข้อมลู : ฝ่ายเอกสารคำแนะนำ กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร PL – 078

การเตรียมอุปกรณ์ :
อุปกรณ์ที่ใช้ในการผสมเกสรทุเรียน มีดังนี้
1. พู่กัน
2. บันได
3. ถุงผ้าขาวบาง
4. กรรไกรตัดแต่งกิ่ง
5. กรรไกรเล็ก
6. ขวดหรือกระบอกพลาสติก
7. ไฟฉายหรือแสงสว่างชนิดอื่น
8. ป้ายสำ หรับบันทึกชื่อพันธุ์ วัน เดือน ปี

ขั้นตอนการผสมเกสรทุเรียน :
1. เวลา 09.00-12.00 น. ใช้กรรไกรเล็กตัดแต่งดอกพันธุ์แม่ให้เหลือเฉพาะดอกขาว และตัด เกสรตัวผู้ออกทิ้ง หลงัจากนั้น ใช้ถุงผ้าขาวบางคลมุ ดอกขาวพันธุ์แม่ไว้

2. เวลา 19.00-19.30 น. ทำ การเก็บละอองเกสรตัวผู้ของพันธุ์พ่อ โดยใช้กรรไกรเล็กตัด เฉพาะอับละอองเกสรตัวผู้ที่แตกใส่ไว้ในขวดหรือกระบอกพลาสติก สำหรับละอองเกสรนี้สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าซึ่งจะมีลักษณะเป็นละอองสีขาวเกาะติดอยู่กับอับละอองเกสร

3. เวลา 19.30 น. เป็นต้นไป เริ่มทำ การผสมเกสร โดยใช้ปลายพู่กันแตะละอองเกสรตัวผู้แล้ว นำไปแตะที่ยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่ ซึ่งดอกเกสรพันธุ์แม่นี้จะมีลักษณะดอกกลม สีเหลือง แล้วคลุมด้วยผ้าขาวบางไว้ตามเดิม ผูกป้ายบันทึก เขียนชื่อพันธุ์ วัน เดือน และ ปีที่ทำ การผสมเกสร กิ่งทุเรียน ในแต่ละต้นมักจะมีระดับความสูงตํ่าต่างกัน จึงแนะนำ ให้ปฏิบัติด้วยวิธีการดังนี้

วิธีผสมเกสรกิ่งที่อยู่ในระดับตํ่า :
1. ตัดดอกทุเรียนที่กำ ลังบานและพร้อมที่จะผสมเกสรของพันธุ์พ่อในเวลา 19.00-19.30 น. ไปทำ การผสมเกสรโดยให้ส่วนของอับเกสรตัวผู้ที่มีละอองเกสรตัวผู้สีขาวไปแตะกับยอดเเกสรตัวเมียพันธุ์แม่

2. ตัดเฉพาะชุดของเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อ โดยใช้มือจับก้านเกสรตัวผู้ ซึ่งที่ปลายก้านจะมีอับละอองเกสรตัวผู้กาะอยู่ แล้วนำไปแตะกับยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่
3. ตัดเฉพาะอับละอองเกสรตัวผู้ ที่มีละอองเกสรสีขาวเกาะอยู่ภายในดอกพันธุ์พ่อใส่ขวด แล้วใช้ปลายพู่กันแตะละอองเกสรตัวผู้นำ ไปแตะที่ยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่

วิธีผสมเกสรกิ่งที่อยู่ในระดับสูง :
1. เก็บละอองเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อใส่ขวดผูกเชือกแล้วคล้องคอ ซึ่งเกษตรกจะต้องทำ การปีนขึ้นต้นทุเรียนแลวใช้ปลายพู่กันแตะละอองเกสรตัวผู้ในขวดนำ ไปแตะที่ยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่

2. ทำการเก็บละอองเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อใส่ในกระป๋องพลาสติก แล้วใช้แปรงขนอ่อนต่อด้ามไม้ยาว ใช้ปลายแปลงแตะละอองเกสรตัวผู้ในกระป๋องนำ ไปแตะที่ยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่ วิธีนี้ไม่ต้องปีนขึ้นไปผสมเกสรบนต้นทุเรียน ในกรณีต้นพันธุ์พ่ออยู่ใกล้กับต้นพันธุ์แม่ ไม่ว่าจะเป็นกิ่งตํ่าหรือกิ่งสูง สามารถใช้แปรงขนอ่อนแตะละอองเกสรตัวผู้พันธุ์พ่อแล้วนำ ไปแตะที่ยอดเกสรตัวเมียพันธุ์แม่ได้เลย

คู่พันธุ์ที่เหมาะสมในการผสมเกสร :
การเลือกคู่พันธุ์ทุเรียนที่เหมาะสมสำ หรับการผสมเกสรเพื่อให้ทุเรียนติดได้ผลดี สามารถเลือก จากคู่พันธุ์ที่เหมาะสมได้ดังนี้

- เกสรตัวผู้พันธุ์หมอนทองและก้านยาว ผสมกับ พันธุ์แม่ชะนี
- เกสรตัวผู้พันธ์หมอนทองและชะนี ผสมกับ พันธุ์แม่ก้านยาว
- เกสรตัวผู้พันธุ์หมอนทองและชะนี ผสมกับ พันธุ์แม่อีหนัก
- เกสรตัวผู้พันธุ์หมอนทองต่างต้นและชมพูศรี ผสมกับ พันธุ์แม่หมอนทอง
- เกสรตัวผู้พันธุ์ชะนีและชมพูศรี ผสมกับ พันธุ์แม่กระดุม

ผลทุเรียนที่เกิดจากการผสมเกสร :
ผลทุเรียนที่ได้จากการใช้เทคนิคผสมเกสรนั้นจะสังเกตได้ 2 ลักษณะดังนี้
ลักษณะภายนอก :
- การเจริญเติบโตของผลทุเรียนจะเร็วกว่าการผสมเกสรกันเองตามธรรมชาติ
- รูปทรงของผลสวยงามไม่บิดเบี้ยว พูเต็มเกือบทุกพู
ลักษณะภายใน :
- ลักษณะเนื้อทุเรียน สีเนื้อทุเรียน รสชาติไม่แตกต่างจากทุเรียนที่ผสมเกสรกันเองตามธรรมชาติ
- ในแม่พันธุ์ชุนี จะได้พูเต็ม และจำ นวนพูต่อผลมากขึ้น
- ในแม่พันธุ์กระดุมทอง จะได้เมล็ดลีบตั้งแต่ 29-55 เปอร์เซ็นต์
- ในแม่พันธุ์หมอนทอง จะได้ความหนาของเนื้อมากตั้งแต่ 1.9-2.78 เซ็นติเมตร และมีเมล็ดลีบตั้งแต่ 40-59 เปอร์เซ็นต์

ประโยชน์ที่ได้รับ :
1. สามารถกำ หนดตำแหน่งการติดผล ตามกิ่งที่มีขนาดใหญ่ หรือกิ่งที่อยู่ในระดับตํ่าได้
2. จะช่วยให้ทุเรียนติดผลดีขึ้น
3. ช่วยในการปฏิบัติและดูแลรักษาสวนทำ ได้สะดวก
4. สามารถกำ หนดวันเก็บเกี่ยวได้ และเก็บเกี่ยวได้ง่าย
5. จะทำ ให้ผลทุเรียนแก่ใกล้เคียงกัน หรือพร้อมกัน
6. รูปทรงผลสวยงาม พูเต็มเกือบทุกพู นํ้าหนักและขนาดผลดี
7. ลักษณะคุณภาพของเนื้อทุเรียน และรสชาติไม่เปลี่ยนแปลง
8. ได้รับผลผลิตทุเรียนมากขึ้น
9. ผลผลิตทุเรียนจะเป็นที่ต้องการของตลาด

เอกสารอ้างอิง
ทรงพล สมศรี 2532. "การผสมเกสรทุเรียนให้ติดผลดกและคุณภาพดี" เอกสารประกอบ การสัมมนาอนาคตผลไม้ไทยปี 32 จังหวัดจันทบุรี. ทรงพล สมศรี. 2532. "การศึกษาการผสมเกสรทุเรียนพันธุ์ชะนีและก้านยาวโดยใช้เกสรตัวผู้พันธุ์ต่างๆ"

วิทยาสารสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ. วันทนา บัวทรัพย์ มนตรี วงศ์รักษ์พานิช. 2533. "การปลูกทุเรียน" กรมส่งเสริมการเกษตร.

www.puibuatip.com/index.php?lay=show&ac...Id...

-------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©