-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 15 พ.ย. * ข้าวแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 15 พ.ย. * ข้าวแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 15 พ.ย. * ข้าวแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 15/11/2022 6:02 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 15 พ.ย. * ข้าวแปรรูปสร้างมูลค่าเ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 15 พ.ย.

***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย.... ด้วยประสบการณ์เกือบ 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง

- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 19 พ.ย. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน
ไปวัดท่าตำหนัก ถ.เพชรเกษม (ขาล่อง) ใกล้แยกนครชัยศรี นครปฐม.... งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม


***********************************************************************
***********************************************************************

จาก : 06 724x 398x
ข้อความ : ทำนาขายข้าวโรงสี มีแต่จนกับจน ได้ข้าวแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม ทำอะไรดีครับ

จาก : 08 417x 729x
ข้อความ : ข้าวเม่าราคาดี นาข้าวใช้ปุ๋ยสูตรคุณตา ต้นทุนต่ำ คุณภาพดี ทำข้าวเม่าราคาดีแน่

MOTIVATION แรงบันดาลใจ :
ชาวนาเมืองอุบลฯ ทำ “ข้าวเม่า” ขาย รายได้เดือนละเกือบแสน :
คุณเกตธิดา มั่นวงค์ อายุ 36 ปี อยู่บ้านเลขที่ 200 หมู่ที่ 3 บ้านดอนงัว ตำบลไหล่ทุ่ง อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เป็นอีกผู้หนึ่ง ที่ทำข้าวเม่าขาย สร้างรายได้ในยามว่างเว้นจากการทำนา โดยคุณเกตธิดา เล่าว่า ตนเองทำข้าวเม่าขายมาเกือบ 20 ปีแล้ว แต่ก่อนก็ทำนาอย่างเดียว ต่อมาเห็นเพื่อนบ้านทำข้าวเม่าขายมีรายได้ดี จึงชวนสามีหันมาทำบ้าง โดยใช้เวลาว่างหลังจากดำนาเสร็จ กว่าจะถึงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตก็หลายเดือน ช่วงที่รอเก็บเกี่ยวข้าวในนา จึงถือเป็นช่วงเวลาทองที่ต้องรีบทำข้าวเม่าขาย ตนเองทำกับสามีและมีลูกสาวอีก 2 คน ที่กำลังเรียนอยู่ มาคอยช่วยเหลือในวันหยุดและในเวลาที่พวกเขาเลิกเรียนในวันธรรมดา ส่วนข้าวที่นำมาทำข้าวเม่านั้น ต้องไปซื้อที่อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี เพราะทางนั้นเขาจะปลูกข้าวก่อน เนื่องจากมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ส่วนที่หมู่บ้านพวกตนเอง ในช่วงที่ทำข้าวเม่านี้ ต้นข้าวยังไม่ออกรวงเลย

ราคาข้าวเม่าที่ขายในเวลานี้ก็คือ ขายส่งกิโลกรัมละ 100 บาท ซึ่งจะทำขายส่งอย่างเดียว เนื่องจากมีแม่ค้าที่อยู่ในหมู่บ้านเดียวกันมาซื้อทุกวัน แล้วเขาก็นำออกไปขายที่ท้องตลาดในตัวอำเภอตระการพืชผล ดังนั้น เรื่องตลาดจึงไม่มีปัญหา นอกจากนี้ ยังมีพ่อค้าแม่ค้าคนกลางที่มาจากต่างอำเภอ ต่างจังหวัด มาซื้อข้าวเม่าจากเพื่อนบ้านของตนเองไปจำหน่ายที่อื่นด้วย ทุกคนในหมู่บ้านที่ผลิตข้าวเม่า จึงไม่มีปัญหาด้านการตลาดเลย ในแต่ละวันถ้าผลิตได้มาก ก็จะได้เงินมาก ในแต่ละปีทุกคนจะทำข้าวเม่าขายในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน

ถามถึงกำไร…ในส่วนของตนเอง หลังจากหักลบต้นทุนผลผลิตแล้ว จะมีกำไร ตกวันละ 1,000 บาท เป็นอย่างต่ำ เดือนหนึ่งๆ ก็ตกประมาณ 30,000 บาท ก็พออยู่พอกิน และเหลือเก็บ พอได้ฝากธนาคารอยู่บ้าง ถ้ามีแรงทำมากกว่านี้ ก็จะมีกำไรดีกว่านี้ อย่างเพื่อนบ้านบางคนได้กำไรเป็นแสน เขามีแรงงานหลายคน ก็จะผลิตข้าวเม่าได้เยอะ เขาจึงมีกำไรมาก ตกเดือนละ 100,000 บาทก็มี หากท่านใดต้องการซื้อข้าวเม่าจากตนเอง ก็สามารถโทร.สั่งได้ โทร. (061) 692-7179 ข้าวเม่าที่นี่ อร่อย นุ่ม รสหอมหวาน เก็บไว้ได้นานวันอีกด้วย

คุณเกตธิดา เล่าถึงกรรมวิธี ขั้นตอนการผลิตข้าวเม่า ว่าเมื่อปักดำนาเสร็จ ก็จะไปหาซื้อข้าวที่ออกรวงแล้ว ซึ่งจะมีอยู่ที่ อ.ดอนมดแดง จ.อุบลราชธานี ห่างจากบ้านประมาณ 30 กิโลเมตร ที่นี่เขาทำนาปีละ 2 ครั้ง จึงมีข้าวที่พร้อมทำข้าวเม่าก่อนหมู่บ้านอื่น ส่วนข้าวในนาของพวกตนเองนั้นยังไม่ออกรวง ส่วนข้าวที่นำมาทำข้าวเม่านั้น คือข้าวเหนียว ซึ่งทำได้ทุกพันธุ์

เมื่อไปหาซื้อข้าวได้แล้ว ก็จะแกะเมล็ดข้าวดูว่า พอที่จะทำข้าวเม่าได้หรือยัง เมล็ดข้าวที่จะเอามาทำข้าวเม่าจะต้องไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป จากนั้นเลือกเอาเมล็ดข้าวที่ไม่สมบูรณ์ (เมล็ดข้าวลีบ) ออก ค่อยลงมือทำตามขั้นตอนคือ ขูดข้าวเม่าด้วยไม้ไผ่ที่เหลา บางๆ ยาวประมาณ 5 นิ้ว ใช้กระด้งรองข้าวที่ขูด แต่ในปัจจุบันได้ใช้เครื่องขูด จากนั้นนำไปนึ่ง ประมาณ 30 นาที แล้วเอามาคั่วจนมีกลิ่นหอม จึงนำไปตำด้วยครกมอง (ครกกระเดื่อง) ปัจจุบันใช้เครื่องยนต์รถอีแต๋น หรือรถไถนาเดินตาม ตามแทนแรงงานคน

ขั้นตอนการตำนี้จะยุ่งยากสักหน่อย มี 3 ขั้นตอน เรียกว่า ขั้นตำ คือทำให้เมล็ดข้าวกะเทาะออก แล้วนำมาร่อนรำออก ตามด้วยการฝัดเอาแกลบออก ต่อไปก็เป็นขั้นต่าว หรือเรียกว่าตำครั้งที่ 2 ตำเสร็จก็ร่อนรำร่อนแกลบออกเช่นเดิม และตำขั้นสุดท้าย เรียกว่า ขั้นซ้อม ปิดท้ายด้วยร่อนรำร่อนแกลบออก ซึ่งการตำแต่ละครั้งนั้น จะใช้เวลาประมาณ 20 นาที เมื่อทำเสร็จก็จะเอาใบกล้วยและใบตองชาด มารองหรือห่อ เพื่อรักษาความนิ่มของข้าวเม่า หากเก็บในภาชนะอื่น ข้าวเม่าจะแข็งตัวเร็ว และไม่มีกลิ่นหอม

เนื่องจากขั้นตอนการทำยุ่งยาก ในปัจจุบันนี้ พวกตนเองจึงได้พัฒนาการผลิตเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ทันต่อความต้องการของผู้บริโภค โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วย คือการใช้เครื่องจักรกลแทนคน แต่เวลาตำก็ใช้ครกมองเช่นเดิม เพียงแต่ใช้เครื่องยนต์ของรถไถนาเดินตาม มาต่อพ่วงให้ตำแทนคน โดยใช้เครื่องยนต์ติดตั้งที่หางครก ใช้ระบบสายพานคล้ายกับโรงสีข้าว เชื่อมโยงใส่กับครกมอง พอเปิดเครื่องยนต์ขึ้น ครกก็จะกระดกขึ้นลงเหมือนคนตำ แต่ทำให้เมล็ดข้าวแตกได้ในเวลาที่รวดเท่านั้น

จะเห็นได้ว่า คุณเกตธิดา มีความพยายามสูงที่จะฟันฝ่าอุปสรรคในการดำเนินชีวิต โดยรู้จักคิดนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาแต่ในอดีต คือการทำข้าวเม่า มาพัฒนาประยุกต์เปลี่ยนจากการทำเพื่อบริโภคในครัวเรือน ไปสู่งานอาชีพที่ยั่งยืนได้ในอนาคต อีกทั้งเป็นการสืบทอดและอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้อีกด้วย ที่สำคัญเงินรายได้จากการขายข้าวเม่าในแต่ละปีนั้น มากพอที่จะส่งให้ลูกสาว 2 คน เรียนจบในระดับปริญญาตรี ได้อย่างสบายๆ และยังจะทำให้ครอบครัวของเธอเอง มีความอยู่ดี กินดี ไม่ต้องหนีจากบ้านเกิดไปขายแรงงานยังต่างถิ่นอีกต่อไป

ที่มา : ผลิตภัณฑ์น่าซื้อ เทคโนโลยีชาวบ้าน
ผู้เขียน : กิตติภณ เรืองแสน



ข้าวกล้องอินทรีย์ PP@RICE 30,000 บาทต่อไร่ :
คุณสุกานดา ถือเป็นที่ผู้ที่ริเริ่มทำข้าวแบรนด์ PP@RICE ซึ่งหมายถึง พิมพ์พร คือ นามสกลดั้งเดิมของชาวกันทรารมย์ ที่บรรพบุรุษได้ประกอบอาชีพทำนาแบบดั้งเดิม สู่รุ่นลูกรุ่นหลานในปัจจุบัน สนับสนุนคนรุ่นใหม่ให้มีจิตใจรักการทำนาและการทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งข้าวแบรนด์ PP@RICE เป็นข้าวที่ผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ โดยกระบวนการที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี หรือสารสังเคราะห์ต่างๆ ในทุกกระบวนการผลิต ตั้งแต่การเตรียมดินในการปลูกจนกระทั่งการเก็บเกี่ยว ใช้กระบวนการตามธรรมชาติ เป็นมิตรและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค

จากนั้นให้นำข้าวกล้องหอมมะลิไปวางเกลี่ยไว้บนกระด้ง แล้วหยดน้ำขมิ้นที่ละลายน้ำแล้วใส่เติมลงไปทีละน้อย ใช้มือคลุกเคล้าให้เนื้อขมิ้นติดกับเมล็ดข้าว จนกลายเป็นสีของขมิ้นจนทั่วทุกเมล็ด และเมื่อคลุกเคล้าจนเข้ากันดีแล้วให้เกลี่ยเมล็ดข้าวให้ทั่วกระด้ง ก่อนนำออกไปตากแดด 1 ชั่วโมง ไม่ควรเกินกว่านี้ เพราะถ้าตากนานเกินจะทำให้เมล็ดข้าวกรอบแตกหักง่าย ไม่สวย

ต้นทุนการผลิต :
ต้นทุนในการทำนาอินทรีย์ของคุณสุกานดา จะใช้วิธีการหว่านเมล็ดโดยพื้นที่ 1ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อรวมค่าปุ๋ย ค่าแรงงาน ค่าเครื่องจักร และค่าวัสดุอื่นๆ ที่ต้องใช้ในจัดการแปลงนาด้วยแล้ว จะตกอยู่ที่ ประมาณ 3,000-3,500 บาทต่อไร่ คุณสุกานดา จะใช้น้ำหมักจุลินทรีย์จากผลจามจุรี และน้ำหมักจากดินจอมปลวก มาบำรุงต้นข้าว จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อีกมาก ได้ผลผลิต ประมาณ 400 กิโลกรัมต่อไร่ และทำการแปรรูปข้าวเปลือกให้เป็นข้าวกล้อง บรรจุถุงสุญญากาศจำหน่าย กิโลกรัมละ 80 บาท เมื่อหักต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมด จะได้กำไรสุทธิ อยู่ที่ 30,000 บาทต่อไร่

แผนการตลาด :
ด้านการตลาด คุณสุกานดา จะทำการตลาดเอง โดยการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ผ่านทางโซเซียลมิเดีย ออกร้านแสดงและจำหน่ายสินค้าในจังหวัดต่างๆ เพื่อให้สินค้าของกลุ่มสมาชิกเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น และสามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายกลุ่มผู้ที่ทำนาข้าวอินทรีย์ในจังหวัดและต่างจังหวัดได้ โดยคุณสุกานดา จะมีกลุ่มลูกค้าอยู่ 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มผู้ที่รักษาสุขภาพ และกลุ่มผู้ประกอบการที่จำหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพนำไปจำหน่ายต่อ ปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนทำข้าวอินทรีย์หนองปลากุ่ม มีผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว 8 ชนิด ได้แก่ ข้าวไรเบอร์รี่ ข้าวกล้องผสม 5 สายพันธุ์ ข้าวกล้องหอมมะลิสุโขทัย ข้าวกล้องมะลิเวช ข้าวหอมนิล ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวหอมมะลิ 105 ข้าวเหนียว กข6 ซึ่งทางกลุ่มได้รับการส่งเสริมด้านการตลาดจากสำนักงานพาณิชย์จังหวัดศรีสะเกษ โดยให้การสนับสนุนการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพิ่มช่องการตลาดในการจำหน่ายสินค้า โดยกลยุทธในการทำธุรกิจของตนนั้น จะมุ่งเน้นการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ ราคาไม่แพง และรักษามาตรฐานการผลิตให้มีคุณภาพมากที่สุด หากคำนวนรายได้ในการทำนาต่อฤดูกาลเพาะปลูก จะมีรายได้ 30,000 -35,000 บาท ต่อไร่ ต่อปีการผลิต

บทสรุป/ข้อเสนอแนะ :
ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยปลูกได้เกือบทุกสภาพพื้นที่ในประเทศ เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่มีน้ำท่วมขัง แต่การทำนาของชาวนาไทยยังต้องอาศัยธรรมชาติ ซึ่งแต่ละปีจะมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันไป บ้างปีแล้งจัด บ้างปีฝนตกชุก ส่งผลกระทบกับเกษตรกรชาวนา ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ไม่ดี และยังมีปัญหาเรื่องวัชพืช โรคแมลงศัตรูพืชตามมาอีกมาก ทำให้มีต้นทุนในการทำนาที่สูงขึ้น อีกทั้งยังเจอปัญหาราคาข้าวที่ตกต่ำ รวมถึงถูกพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบกดราคาในการรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา จากมูลเหตุนี้ คุณสุกานดา จึงมีแนวความคิด ลดต้นทุนการผลิต มาทำนาแบบอินทรีย์ ที่เน้นการผลิตข้าวที่มีคุณภาพออกจำหน่ายสู่ท้องตลาดโดยไม่ต้องพึ่งพ่อค้าคนกลาง ซึ่งทุกวันนี้ผลผลิตข้าวอินทรีย์ยังมีความต้องการของผู้บริโภคที่นิยมรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ

เรื่อง/ภาพโดย : คุณากร เยาวนารถ จนท.ศูนย์ประสานงานร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จ.อุบลราชธานี



ตอบ :
บำรุงต้นข้าวสูตรเลยตามเลย แบบหมาจ่าย :

- ให้ไบโออิ อย่างเดียวตั้งแต่ระยะกล้าถึงเกี่ยว ห่างกัน 7-10 วัน ....ทุกครั้งที่ให้ทางใบ + ยาน็อค สารสมุนไพรร่วมด้วยทุกครั้ง

- ป้องกันศัตรูพืช :
มาตรการ “กันก่อนแก้” : คือ แม็กเนเซียม. สังกะสี. ช่วยสร้างภูมิตานทานให้แก่ต้นข้าวเป็นพื้นฐาน แถมฉีดพ่นสารสมุนไพรทับเข้าไปอีก นี่คือ 2 เด้ง

มาตรการ “ป้องกัน + กำจัด” : ถ้าแปลงข้างๆกำลังเกิดระบาด ช่วงว่างระหว่าง 7-10 วัน ให้ฉีดพ่นสารสมุนไพรเดี่ยวๆ 2-3 รอบ ห่างกันวันเว้นวัน

บำรุงต้นข้าวสูตรเลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน แบบประณีต :
นาข้าวที่กำจัดวัชพืชไม่หมด ต้นข้าวโตขึ้นมาแล้วมีต้นข้าวกับต้นวัชพืช "ครึ่ง : ครึ่ง" จนเต็มนา แนะนำให้ใช้สูตร "เลยตามเลย หรือ ไหนไหนก็ไหนไหน" เพราะกำจัดวัชพืชไม่ได้แล้ว โดยเน้นบำรุงทางใบเป็นหลัก.....ดังนี้

ระยะกล้า :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะตั้งท้อง ออกรวง :
- ฉีดพ่น "ไทเป + ยาน็อค" 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะน้ำนม :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ 100 ซีซี. + ยูเรก้า + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
หมายเหตุ :
- การให้ทางใบเท่ากับบำรุงทั้งต้นข้าวและต้นวัชพืช แม้จะสิ้นเปลืองปุ๋ยแต่จำเป็นต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต้นข้าวก็จะไม่ได้ปุ๋ยเลย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตข้าวไปด้วย

- หลังจากต้น (ข้าว-วัชพืช) โตแล้ว ไม่ควรใส่ปุ๋ยทางราก เพราะธรรมชาติของต้นวัชพืชจะดูดสารได้เก่งกว่าต้นข้าว นี่คือ ต้นวัชพืชแย่งอาหารต้นข้าวนั่นเอง

- ปุ๋ยทางใบอยู่ที่ใบข้าว ต้นวัชพืชไม่สามารถแย่งได้ นั่นคือ ต้นข้าวยังได้รับปุ๋ยเท่าที่ให้อย่างแน่นอน
- หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนทำนารุ่นต่อไป ทำการไถกลบฟางพร้อมต้นวัชพืช ก็จะได้ปุ๋ยที่ต้นวัชพืชเอาไปกลับคืนมา

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=10

---------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©