-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 12 ม.ค. ....... * ทุเรียน หลงลับแล-หลินลับแล
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 12 ม.ค. ....... * ทุเรียน หลงลับแล-หลินลับแล
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 12 ม.ค. ....... * ทุเรียน หลงลับแล-หลินลับแล

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/01/2023 3:59 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 12 ม.ค. ....... * ทุเรียน หลงลับแล-หลิ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 12 ม.ค.

***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

*** วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย....
*** ด้วยประสบการณ์ร่วม 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....

*** งานสีสันสัญจรวันเสาร์ เสาร์นี้วันที่ 14 ม.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี, ....
*** งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม หนังสือไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม........ใครไม่ซื้อ ไม่ซื้อแต่แจก แจกหนังสือไม้ผลแนวหน้า คนละ 1 เล่ม


***********************************************************************
***********************************************************************

จาก : 08 284 728x
ข้อความ : ท่ามะกาปลูกทุเรียนไม่ได้ แต่สังขละบุรีปลูกได้ ดีด้วยครับ

จาก : 09 628x 261x
ข้อความ : ขอข้อมูลทุเรียน หลงหลินลับแล หลงลับแล หลินลับแล เหมือนหรือต่างกัน


จาก : 09 390x 791x
ข้อความ : มะม่วงระยะชิด ทุเรียนระยะชิด ได้ไหมคะ


MOTIVATION แรงบันดาลใจ :

ตลาดทุเรียนต้องสั่นสะเทือน คนจีนปลูกทุเรียนได้สำเร็จแล้ว เตรียมเก็บเกี่ยวตุลา 65 :

ปาริชาติ โชคเกิด
ต้องบอกว่า งานนี้ตลาดทุเรียนไทยมีหนาว สั่นสะเทือนแน่นอน เพราะคนจีนมีทุเรียนเป็นผลไม้สุดโปรด สั่งนำเข้าจากไทยแต่ละครั้งมหาศาลหลายแสนตัน ถ้าจีนผลิตเองได้ ปัญหาเรื่องการขนส่งโลจิสติกส์ การคาดการณ์วันล่วงหน้าสำหรับการสุกในระยะที่ไปถึงจีนแล้วได้ทานในรสชาติที่อร่อย สุกกำลังดีจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป เพราะปลูกได้เอง ปลูกเอง ขายเอง ซื้อกินภายในประเทศเอง ก็อาจนำไปสู่การลดการส่งออกทุเรียนจากไทยได้

ล่าสุด เกษตรจีนชาวจีนบริเวณมณฑลม้าวหมิง กว่างตง ปลูกทุเรียนพันธุ์มูซานคิงและพันธุ์หนามดำที่นำต้นกล้าไปจากมาเลเซียสำเร็จแล้ว เริ่มปลูกครั้งแรกเมื่อปี 2561 เพิ่งประสบความสำเร็จเมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 คาดว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเดือนตุลาคม 2565

พื้นที่สำหรับปลูกทุเรียนทั้งสองสายพันธุ์นั้น ตั้งอยู่บริเวณตำบลกวนจู เมืองม้าวหมิง เป็นพื้นที่ของเติ้ง ยู่เฉียง ที่มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 125 ไร่ แบ่งเป็นปลูกลิ้นจี่และไม้กฤษณา 83 ไร่ ส่วนพื้นที่ปลูกทุเรียนประมาณ 41 ไร่ ปัจจุบัน มีต้นกล้าที่ติดตาต่อกิ่งแล้วจำนวน 20,000 ต้น คาดว่าจะเติมตาต่อกิ่งจนครบ 2 แสนต้นในอนาคต

ก่อนที่จะเริ่มปลูก เติ้งเชิญผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเกษตรจีนตอนใต้ (South China Agricultural University) จากกว่างโจว รวมทั้งได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญจากมาเลเซีย เติ้ง ยู่เฉียงระบุว่า พื้นที่ทดลองเพาะปลูกทุเรียนนี้มีหลายสายพันธุ์ด้วยกัน แต่มีแผนจะพัฒนาสายพันธุ์มูซานคิงและหนามดำจากมาเลเซียเท่านั้นเพราะเป็นพันธุ์ที่มีมูลค่าสูง


จีนบริโภคทุเรียนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ที่ผ่านมา ไทยเป็นประเทศเดียวที่ได้รับอนุญาตนำเข้าทุเรียนสดเข้าประเทศจีนได้ ปี 2553-2562 ปริมาณการบริโภคทุเรียนนในจีนเพิ่มขึ้นกว่า 16%

สำนักงานศุลกากรแห่งชาติจีนระบุตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2564 จีนนำเข้าทุเรียนจำนวน 809,200 ตัน คิดเป็นมูลค่า 4,132 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 140,488 ล้านบาท เป็นมูลค่าและปริมาณที่สูงเป็นประวัติการณ์ ทุบสถิติการนำเข้าสูงสุดของปี 2562 ที่นำเข้าทั้งสิ้น 604,500 ตัน ทุบสถิติมูลค่านำเข้าสูงสุดที่ 2,305 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 78,370 ล้านบาท

ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ความต้องการบริโภคทุเรียนเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ต้นทุนค่าขนนส่งที่เพิ่มขึ้นก็ทำให้ราคานำเข้าทุเรียนปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ปี 2563 ราคานำเข้าทุเรียนในจีนเฉลี่ยที่ราคา 4 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 136 บาทต่อกิโลกรัม

ปี 2564 ราคานำเข้าทุเรียนปรับเพิ่มเป็น 5.11 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 173 บาทต่อกิโลกรัม ยิ่งมีโควิดที่เป็นปัญหาในการขนส่งและขั้นตอนพิธีการศุลกากรที่เข้มงวดทำให้ราคานำเข้าทุเรียนขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก

พื้นที่ที่นำเข้าทุเรียนมากที่สุดคือมณฑลกว่างตง เขตปกครองตนเองกวางซีจ้วงและเมืองฉงชิ่ง เฉพาะ 11 เดือนของปี 2564 ก็นำเข้าปริมาณมหาศาล 2 แสนตัน


5 อันดับแรก เมืองที่นำเข้าทุเรียนจากไทยมากที่สุด :
- กว่างตง 2.33 แสนตัน มูลค่า 1.09 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 3.9 หมื่นล้านบาท
- กวางซีจ้วง 2.18 แสนตัน มูลค่า 1.228 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 4.4 หมื่นล้านบาท
- ฉงชิ่ง 1.24 แสนตัน มูลค่า 597 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 2.1 หมื่นล้านบาท
- เจ้อเจียง 7.8 หมื่นตัน มูลค่า 432 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 1.55 หมื่นล้านบาท
- ยูนนาน 6.5 หมื่นตัน มูลค่า 321 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 1.1 หมื่นล้านบาท


เมืองที่สั่งนำเข้าทุเรียนน้อยที่สุด 5 อันดับ :
- ส่านซี 976.3 ตัน มูลค่า 4.53 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 162 ล้านบาท
- ไห่หนาน 963.4 ตัน มูลค่า 4.98 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 175 ล้านบาท
- ปักกิ่ง 572.3 ตัน มูลค่า 2.85 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 102 ล้านบาท
- เฮยหลงเจียง 96.7 ตัน มูลค่า 5.4 แสนเหรียญสหรัฐหรือ 19.4 ล้านบาท
- กานซู่ 13.2 ตัน มูลค่า 7 หมื่นเหรียญสหรัฐหรือ 2.5 ล้านบาท

ปี 2563 ไทยส่งออกทุเรียนอันดับ 1 ของโลก ปริมาณการส่งออกทุเรียน 6.21 แสนตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.35 แสนตัน เทียบกับปี 2562 ส่งออกทุเรียนไปจีนคิดเป็น 93% ของปริมาณการส่งออกทุเรียนทั่วโลก ปี 2564 ถือเป็นปีทองของทุเรียนไทยทั้งปริมาณและมูลค่าในการส่งออกสู่จีนสูงเป็นประวัติการณ์คือนำเข้าทุเรียนกว่า 8 แสนตัน มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท

ไทยมีพันธุ์ทุเรียนเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมกว่า 20 สายพันธุ์ แต่ส่งออกมายังจีน 3 สายพันธุ์ คือทุเรียนหมอนทอง ทุเรียนชะนี ทุเรียนก้านยาว โดยทุเรียนหมอนทองมีสัดส่วนในตลาดจีนมากที่สุดเกือบ 90% เมืองที่นำเข้าทุเรียนของจีนส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนใต้เพราะเป็นเมืองหน้าด่านและติดชายแดน แต่เมืองทางตอนเหนือก็มียอดการบริโภคเติบโตต่อเนื่อง

- ทุเรียนมาเลย์ มาแรง ! ชาวจีนทุ่มซื้อพันธุ์ “มูซัง คิง” ภายใน 1 ชั่วโมง 60 ตัน 458 ล้านบาท
- จีนกระชับความสัมพันธ์มาเลย์ฯ ทุ่มซื้อทุเรียนไม่พอ เตรียมซื้อน้ำมันปาล์ม 1.7 ล้านตันถึงปี 2023

ที่มา – Asean Thai, DITP



ตอบ :
ลักษณะประจำพันธุ์ของทุเรียน หลงลับแล-หลินลับแล :

ทุเรียนหลง-หลินลับแล เป็นพันธุ์เฉพาะถิ่น ที่สร้างชื่อเสียงให้กับ ชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ ด้วยรสชาติ อันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่นเดียวกับทุเรียนก้านยาว ของ จ.นนทบุรี ซึ่งหากนำพันธุ์ไปเพาะปลูกที่อื่น จะทำให้ผลผลิตที่ได้มีรสชาติผิดแผกไปจากเดิม หรืออาจไม่ติดผลผลิตก็เป็นได้ ด้วยการเจริญเติบโต และ การสะสมอาหารในเนื้อผลนั้นจำต้องใช้สภาพแวดล้อม หรือ แม้แต่ธาตุอาหารในดินเฉพาะก่อน อันเป็นถิ่นกำเนิดดั้งเดิม จึงทำให้ผลผลิตของทุเรียน หลิน-หลงลับแล ออกสู่ตลาดน้อย และมีราคาค่อนข้างแพงถึง กิโลกรัมละ 400-600 บาท ด้วยมีคุณภาพของผู้ผลิตเป็นเครื่องการันตี ให้ผู้ชื่นชอบทุเรียนชนิดนี้ยอมควักกระเป๋าจ่ายโดยผู้ขายไม่จำเป็นต้องโฆษณาสรรพคุณแต่อย่างใด

ด้วยความที่เป็นทุเรียนที่มีราคาต่อหน่วยค่อนข้างสูง ดังนั้น การเลือกหารับประทานผู้บริโภค ควรมีความรู้เรื่องลักษณะประจำพันธุ์ของทุเรียนหลิน-หลงลับแล ไว้เพื่อป้องกันการถูกย้อมแมวขายทุเรียนอื่นที่ผู้ค้าอาจนำมาแอบอ้าง เพื่อหวังผลประโยชน์ของตนเอง ซึ่ง สํานักงานจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับลักษณะจำเพาะของทุเรียนทั้งสองชนิดนี้ไว้เป็นแนวทางให้แก่ผู้บริโภคดังนี้

ทุเรียนหลงลับแล :
ประวัติความเป็นมา : ต้นเดิมขึ้นอยู่ที่ม่อนน้ำจํา หมู่ 7 บ้านผามูบ ตําบลแม่พูล อําเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เจ้าของต้นเดิมคือ นายลม - นางหลง อุประบ้านเลขที่ 126 หมู่ 1 บ้านนาปอย เขตเทศบาล ตําบลหัวดง ตําบลแม่พูล อําเภอลับแล เป็นทุเรียนที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม จากการประกวดทุเรียนที่ปลูกจากเมล็ดซึ่งร่วมดําเนินการจัดประกวดระหว่างกรมวิชาการการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรและจังหวัดอุตรดิตถ์เมื่อปี พ.ศ. 2520 และได้รับการรับรองพันธุ์ในวันที่ 20กันยายน 2521 ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ต่อมาในปีพ.ศ. 2528 สํานักงานเกษตรอําเภอลับแล โดย นายเกรียงไกร คะนองเดชาชาติ เกษตรอําเภอลับแล ได้สนับสนุนให้เกษตรกรในตําบลแม่พูล ได้แก่ นายเมือง แสนศรีนายสมบุญ เกิดทุ่งยั้งและนายแสง ม่านแก้ว นํายอดทุเรียนหลงลับแลจากต้นเดิมมาขยายพันธุ์โดยวิธีการเสียบยอดจนได้รับความสําเร็จก่อนที่ต้นเดิมจะตายเพราะอายุมาก (อายุประมาณ 60 ปี)

ลักษณะประจําพันธุ์ : จากการศึกษาลักษณะพันธุ์ประจําพันธุ์โดยวิธีเสียบยอด ซึ่งเป็นสวน ของนายเมือง แสนศรี(เป็นสวนแรกที่ต้นขยายติดผล) ทุเรียนหลงลับแลมีอายุต้น 15 ปี สูง 11.7 เมตรเส้นผ่าศูนย์กลางพุ่ม 8 เมตร แผ่นใบเรียบแผ่ออกจนเกือบแบนราบ

ใบ เป็นรูปขอบขนาน อัตราส่วนความยาวต่อความกว้างใบเท่ากับ 3.19 : 1 ปลายใบสอบแหลม โคนใบมน หลังใบมีสีเขียวอมสีเหลือง
ดอก กลีบดอกมีสีขาวอมสีเขียว ผลมีขนาดเล็กถึงปานกลาง น้ำหนักผล 0.5-3.5 กิโลกรัมต่อผล
ผล ทรงผลกลมรูปไข่ ฐานผลค่อนข้างกลม หรือ นูนขึ้นมาเล็กน้อย ตรงบริเวณหนามรอบขั้วผล
ปลายผล มน หรือ กลม
ก้านผล มีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 1 : 63 เซนติเมตร
หนามผล ทรงพีรามิด ขอบหนามโค้งเข้า
เปลือกผล มีสีเขียวอมเหลือง
ร่องพู ไม่ชัดเจน
เนื้อผล ละเอียด สีเหลืองค่อนข้างจัด
รสชาติ หอมหวานมันกลิ่นอ่อน อัตราส่วนน้ำหนักเนื้อต่อน้ำหนักผล 0.35 : 1 และในหนึ่งผลมีเมล็ดลีบ เฉลี่ยร้อยละ 97.5
อายุการเก็บเกี่ยว ประมาณ 105-110 วัน (นับตั้งแต่วันดอกบานจนถึงผลแก่ตัดได้)
ฤดูออกผล ช่วงผลผลิตประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี

ทุเรียนพันธุ์หลินลับแล :
ประวัติความเป็นมา :
ทุเรียนหลินลับแล ต้นเดิมปลูกโดย นายหลิน ปัดลาด บ้านเลขที่ 126 หมู่ 7 บ้านผามูบ ตําบลแม่พูล อําเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวคือในปี พ.ศ. 2493 นายหลิน ปัดลาด ได้นําเมล็ดทุเรียนมาปลูกแล้วเกิดการ กลายพันธุ์มีลักษณะที่แปลกกว่าทุเรียนพันธุ์อื่นๆ จึงนําให้เพื่อนบ้านกินหลายคนบอกว่ารสชาติดี ต่อมาในปีพ.ศ. 2520 เจ้าของต้นเดิมได้ส่งทุเรียนพันธุ์นี้เข้าประกวดในการประกวดทุเรียนที่ปลูกจากเมล็ด ซึ่งร่วมดําเนินจัดประกวดระหว่างกรมวิชาการการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรและจังหวัดอุตรดิตถ์แม้ว่าในปีดังกล่าวทุเรียนพันธุ์หลงลับแลจะได้รับรางวัลยอดเยี่ยมก็ตาม หลินลับแลก็ยังได้รับความนิยมจากนักบริโภคทุเรียนไม่น้อยกว่าทุเรียนพันธุ์หลงลับแล เพื่อเป็นเกียรติแก่นายหลิน ปัดลาด ผู้ปลูกทุเรียนต้นเดิมจึงตั้งชื่อทุเรียนพันธุ์นี้ว่า "หลินลับแล"และ ประกอบกับต้นเดิมขึ้นอยู่ที่บ้านผามูบ จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า "ผามูบ 1" หลังจาก นายหลิน ปัดลาด ถึงแก่กรรม ต้นเดิมจึง อยู่ในความดูแลและขยายพันธุ์โดยนายสว่าง ปัดลาด บุตรชาย

ลักษณะประจําพันธุ์ : จากการศึกษาลักษณะประจําพันธุ์หลินลับแล ในปี พ.ศ. 2543 พบว่าต้น เดิมมีอายุ ประมาณ 50 ปี สูง 13 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลําต้น 680 เซนติเมตร ทรงพุ่มรูปกองฟางเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 15 เมตรใบ - เป็นรูปขอบขนาน จนถึงรูปหอกแกมรูปไข่ อัตราส่วนความยาวต่อความกว้างใบเท่ากับ 2.85-3.861 ปลายใบสอบแหลม หรือสิบแหลมโค้ง โคนใบมน หลังใบเขียวแกมเหลือง
ดอก กลีบดอกรูปช้อนค่อนข้างสั้น อัตราส่วนความยาวต่อความกว้างกลีบดอกเท่ากับ 2.6:1 กลีบดอกมีสีเหลือง
ผล ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนัก ผล 1.1-1.8 กิโลกรัม ผลทรงกระบอก ฐานผลเว้าลึก
ปลายผล ตัด
ก้านผล มีขนาดเล็ก(เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 1.38 เซนติเมตร)
หนามผล โค้งแหลมคม
เปลือกผล สีเขียวอมเหลือง
เนื้อผล ละเอียดมากสีเหลืองอ่อน
รสชาติ หวานมัน กลิ่นอ่อนมาก อัตราส่วนน้ำหนักเนื้อต่อน้ำหนักผล เท่ากับ 0.13:1 และในหนึ่งผลมีเมล็ดลีบ เฉลี่ยร้อยละ 71.4
อายุการเก็บเกี่ยว ผลประมาณ 110-115 วัน (นับตั้งแต่วันดอกบานจนถึงผลแก่ตัดได้)
ฤดูออกผล ช่วงผลผลิตประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี

แหล่งจําหน่ายทุเรียนพันธุ์หลง-หลินลับแล :
1. ตลาดผลไม้บริเวณหน้าศูนย์ราชการกระทรวงการคลัง อําเภอเมืองอุตรดิตถ์
2. ตลาดสดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ทุกตลาด
3. ตลาดหัวดง อําเภอลับแล
4. ตลาดผลไม้บ้านแม่เฉย อําเภอเมืองฯ (ถนนสานพิษณุโลก - อุตรดิตถ์ – เด่นชัย

การเลือกดูทุเรียนแก่ :
1. นับอายุโดยประมาณ ตั้งแต่ดอกบานจนถึงผลแก่พร้อมที่จะตัดได้พันธุ์กระดุม 90-100 วัน พันธุ์ชะนี 100-110 วันพันธุ์ก้านยาว, พันธุ์กบ 120-135 วัน พันธุ์หมอนทอง 115-120 วัน พันธุ์หลงลับแล 105-110 วัน พันธุ์หลินลับแล 110-115 วัน

2. การดูปากปลิง หากทุเรียนแก่จัดที่ปากปลิงจะพองโตเห็นรอยเด่นชัด
3. ดูที่หนาม ผลทุเรียนแก่ปลายหนามจะออกสีน้ำตาลเข้ม หนามจะแข็งไม่มีสปริง
4. บีบปลายหนาม ถ้าเป็นทุเรียนแก่เมื่อบีบปลายหนามเข้าหากันจะมีลักษณะเหมือนมีสปริง แต่ถ้าเป็นทุเรียนที่อ่อนหนามจะแข็งไม่มีสปริง

5. ดูที่ก้านผล ก้านผลทุเรียนแก่ จะมีลักษณะแข็งเป็นสปริงแม้จะเก็บไว้นานหลายวันก็ตาม ส่วนก้านผลทุเรียนอ่อนจะมีลักษณะอ่อนน่วมไม่มีสปริง

6. ดูสีของผล เมื่อมองจากด้านบน ผลทุเรียนแก่จะเห็นหนามเป็นสีคล้ำ แต่ผลจะมีสีนวลตัดกันเห็นชัดแต่ขึ้นอยู่กับพันธุ์ด้วย

7. ดูร่องพูถ้าเป็นทุเรียนแก่ร่องพูจะเป็นสีน้ำตาลปนเหลืองเด่นชัดถ้าทุเรียนอ่อนร่องพูจะออกสีเขียว
8. เคาะเปลือกหรือกีดหนาม สำหรับทุเรียนแก่เมื่อเคาะเปลือก หรือกีดหนาม จะได้ยินเสียงโพรกดังหลวมๆ ไม่ทึบ แต่ถ้าเป็นทุเรียนอ่อนเสียงจะดังแน่นทึบไม่โพรก

9. ชิมปลิง เมื่อตัดขั้วผลหรือปลิงทุเรียนแก่จะเห็นน้ำที่ขั้วผลใสๆ ซึมออกมา ชิมดูจะมีรสหวาน แต่ถ้าเป็นทุเรียนอ่อนน้ำที่ซึมออกมาจะไม่ใสจะข้นชิมดูจะรสฝาด

10. ดมกลิ่น ทุเรียนจะมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ โชยออกมาจากผล

ข้อมูล : สำนักงานจังหวัดอุตรดิตถ์ โทร 0-5541-1003
แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
"ทุเรียนหลินลับแล-หลงลับแล" สำนักงานจังหวัดอุตรดิตถ์. ( ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://www.uttaradit.go.th/doc/turean_utt.pdf
https://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=8995&s=tblplant


ทุเรียน 100 ปี ที่สังขละ กาญจนบุรี :
ฮือฮา พบทุเรียนป่าสายพันธุ์ดี อายุมากว่า100ปี เนื้อหนา เม็ดลีบ สุกผลมีสีแดง นอภ.ฟันธง อนาคตเป็นทุเรียนที่มีชื่อเสียง แน่นอน ด้าน อบต.ไล่โว่ วางแผนสนับสนุนให้มีการขยายพันุ์ พร้อมส่งเสริมให้ ชาวบ้านปลูก เพื่อเป็นพืชเศรษฐกิจและอนุรักษสายพันธุ์

วันนี้ 7 มิ.ย. 62 ที่บ้านสเนพ่อง หมู่ 1 ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี นายปกรณ์ กรรณวัลลี นอภ.สังขละบุรี พร้อมด้วย นายสมชาย วุฒิพิมลวิทยา นายก อบต.ไล่โว่ ได้มาร่วมกิจกรรมทำความสะอาด คลองและลำน้ำสาธารณะ ตามโครงการคลองสวย น้ำใส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยมี ผู้นำชุมชน ประชาชน และจิตอาสาพระราชทาน เข้าร่วมกันกำจัดวัชพืชทำความสะอาดลำคลอง ก่อนเข้าสู่ฤดูฝน พร้อมทั้งทำความสะอาดถนนภายในหมู่บ้าน

ต่อจากนั้น นายปกรณ์ กรรณวัลลี และนายสมชาย วุฒิพิมลวิทยา ได้เดินทางไปดูต้นทุเรียนของนายหยี่ซองเจ้ง สังขเพลินไพร อายุ 77 ปี อยู่บ้านเลขที่ 1 หมู่ 1 บ้านสะเนพ่อง ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นต้นทุเรียนที่มีอายุ กว่า 100 ปี ปลูกไว้กลางป่าห่างจากหมู่บ้านกว่า 3 ก.ม. โดยพื้นที่ที่ปลูกอยู่บริเวณพื้นที่ราบกลางหุบเขา และเป็นพื้นที่ต้นน้ำชื่อลำห้วยปุปุ ที่ชาวบ้านนำน้ำมาผลิตเป็นน้ำประปาในหมู่บ้าน

ซึ่งเส้นทางเดินมีความยากลำบาก เนื่องจากต้องปีนเขาขึ้นไป เมื่อไปถึงพบต้นทุเรียนขนาดใหญ่จำนวนกว่า10 ต้น ที่ปลูกกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ประมาณ5ไร่ โดยมีทุเรียนต้นหนึ่งซึ่งมีความสูงกว่า25 เมตร มีลำต้นใหญ่กว่า 2 คนโอบ บนต้นมีผลทุเรียนจำนวนหลายสิบลูก

โดยนายหยี่ซองเจ้ง เล่าให้ฟังว่า ทุเรียนต้นนี้เป็นต้นพันธุ์ที่ปลูกโดยคุณพ่อของนายหยี่ซองเจ้ง ซึ่งมีอายุกว่า100 ปีมาแล้ว ซึ่งตนโตขึ้นมาก็พบทุเรียนต้นนี้แล้ว เมื่อก่อนทุเรียนต้นนี้ให้ผลดกมากถึง 300-400 ลูก ที่สำคัญเมื่อสุกจะมีผลสีแดง รสชาดหวาน มัน เนื้อหนา เม็ดเล็ก

ส่วนสาเหตุที่คุณพ่อมาปลูกทุเรียนในซอกเขาแห่งนี้ เนื่องจากในอดีต บ้านสเนพ่อง นิยมเลี้ยงควายโดยการปล่อยให้หากินตามธรรมชาติ การจะปลูกต้นผลไม้ก็มักจะถูกควายทำลาย พ่อตนเองจึงมาทำสวนและปลูกทุเรียนที่นี่เนื่องจาก สัตว์เลี้ยงและควายไม่สามารปีนเขาขึ้นมาได้

ตอนสมัยที่ตนยังแข็งแรง เวลาที่ทุเรียนสุก ตนเองจะนำทุเรียนใส่แพ ล่องลงไปขายที่ตัวเมืองสังขละบุรี คนที่เคยกินจะติดอก ติดใจ ถามหาโดยเฉพาะข้าราชการที่มาทำงานในสังขละบุรีเมื่อ 40 ปีก่อน จะรู้จักทุเรียนของตนเองดี

ด้านนายปกรณ์ กรรณวัลลี นอภ.สังขละบุรี เปิดเผยกับผู้สื่อข่าว หลังจากได้ชิมทุเรียนแล้ว เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า รสชาดดีมาก หวาน มัน เนื้อหนา เม็ดเล็ก ในอนาคตหากมีการส่งเสริมคิดว่าจะเป็นทุเรียนที่มีชื่อเสียงอย่างแน่นอน โดยตนเองจะมอบหมายให้เกษตรอำเภอสังขละบุรี เข้ามาศึกษาข้อมูลและทำการขยายพันธุ์เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูก เพื่อจำหน่ายและอนุรักษ์สายพันธุ์ทุเรียนต้นนี้ต่อไป พร้อมจะตั้งชื่อให้ว่า ทุเรียนสะเนพ่อง เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายหยี่ซองเจ้ง และหมู่บ้านสะเนพ่อง ต่อไป

https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_2594266


ปลูกทุเรียนระยะชิด :
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ได้นำคณะอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เดินทางเข้าศึกษาดูงานการปลูกทุเรียนระยะชิด ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี (ห้วยสะพานหิน) เมื่อวันก่อน

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ได้นำคณะอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เดินทางเข้าศึกษาดูงานการปลูกทุเรียนระยะชิด ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี (ห้วยสะพานหิน) เมื่อวันก่อน

ซึ่งศูนย์แห่งนี้ได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และช่วยเกษตรกรในการลดต้นทุนด้านการผลิตในหลากหลายชนิดพืช เพื่อขยายผลสู่การนำไปใช้ของเกษตรกร ซึ่งการปลูกทุเรียนในระยะชิด ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ศูนย์ฯ แหล่งทำการศึกษาและประสบความสำเร็จ ได้รับคำตอบที่ดีที่สามารถขยายสู่การนำไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกร

โดยทางศูนย์ฯ ได้เริ่มต้นจากการทดลองปรับระยะต้นทุเรียนที่ปลูกให้แคบที่สุด คือ 3 เมตร x ระยะระหว่างแถว 13 เมตร ปลูกในแนวทิศเหนือใต้ ซึ่งเป็นแนวของแถวขวางทางขึ้นลงของดวงอาทิตย์ หรือเท่ากับ 42 ต้นต่อพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อให้สะดวกต่อการนำเครื่องจักรกลเกษตรเข้าจัดการได้ มีการจัดทรงต้นแบบคล้าย ๆ กับการยืนกางแขน ด้วยการตัดแต่งกิ่งให้เหลือเฉพาะที่อยู่ในแนวทิศตะวันออกตก ทำมุมกับต้น 60 องศา พร้อมควบคุมจำนวนกิ่งเพื่อให้ติดลูกไม่เกิน 10-12 กิ่ง ต่อ 1 ต้น และจำกัดความสูงของต้นไม่เกิน 4-4.5 เมตร

กับอีกรูปแบบหนึ่ง คือ การจัดการแบบสวนแนวตั้ง มีระยะห่างของต้น 4 เมตร x ระหว่างแถว 7 เมตร หรือเท่ากับ 60 ต้นต่อพื้นที่ 1 ไร่ จัดทรงพุ่มเป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่น ทรงพีระมิด แบบปล่อยตำแหน่งกิ่งให้เป็นไปตามธรรมชาติ และตำแหน่งกิ่งแบบบันไดเวียน และทรงสี่เหลี่ยม ตำแหน่งกิ่งตามธรรมชาติและตำแหน่งกิ่งแบบบันไดเวียน

อีกทรงคือแบบแกนปั่นด้ายเรียว โดยไว้จำนวนกิ่งตั้งแต่ 15-20 กิ่งต่อ 1 ต้นเป็นอย่างน้อย และจำกัดความสูงไม่เกิน 5-5.5 เมตร ทั้งนี้ การจัดการ 2 แบบเป็นการเน้นจัดการโครงสร้าง เพื่อเพิ่มจำนวนต้นและมีศักยภาพการให้ผลผลิตสูงสุด

พร้อมการปลูกเป็นเนินดินลูกฟูก ด้วยการยกสูงจากพื้นขึ้นมาประมาณ 30-50 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย และกว้างประมาณ 3 เมตร เพื่อการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศที่ดี ส่วนการจัดการให้น้ำให้ปุ๋ยและการดูแลอื่น ๆ เป็นไปตามปกติ ซึ่งพบว่าหลังปลูก 2 ปีครึ่งถึง 3 ปีทุเรียนเริ่มออกดอกและติดผลในกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้วขึ้นไป แต่ที่ทางศูนย์แนะนำคือให้เริ่มไว้ลูกได้เต็มที่เมื่อทุเรียนมีอายุ 4 ปีแล้ว เพื่อสร้างต้นให้สมบูรณ์แข็งแรงก่อน

พร้อมกันนี้หากเกษตรกรใช้ระบบการจัดการสวนแบบเกษตรเชิงประณีต มีการตัดแต่งกิ่งโดยเลือกไว้กิ่งที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตสูง ให้ทุเรียนสะสมอาหารได้เต็มที่จากแสงส่องผ่านได้ทั่วถึงทั้งทรงพุ่ม การให้น้ำให้ปุ๋ยและการดูแลอย่างเหมาะสม ตรงช่วงเวลาที่พืชมีความต้องการ จะส่งผลต่อการให้ผลผลิตที่เฉลี่ย 4 ผลขึ้นไปต่อ 1 กิ่ง หรือไม่น้อยกว่า 40-48 ผลต่อ 1 ต้น หรือประมาณ 1,680-2,016 ผลต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่ โดยปลูกระยะชิด 3×13 เมตร และเฉลี่ย 2 ผลขึ้นไปต่อ 1 กิ่ง หรือไม่น้อยกว่า 30-40 ผลต่อ 1 ต้น หรือ 1,800-2,400 ผล/ต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่ โดยปลูกด้วยระบบสวนแนวตั้ง 4×7 เมตร

และการจัดการสวนด้วยระบบดังกล่าวจะช่วยเกษตรกรลดปัญหาการใช้แรงงานคนได้มากขึ้น และสามารถนำเครื่องจักรกลเกษตรเข้ามาแทนได้ การทำงานง่ายขึ้นและลดขั้นตอน ทั้งยังไม่ค่อยเกิดโรคระบบรากในทุเรียน ทำให้ลดการใช้ยาและสารเคมีในการป้องกันกำจัดได้มากขึ้น ซึ่งนั่นก็คือการลดต้นทุนที่เป็นกอบเป็นกำสำหรับเกษตรกร แถมสุขภาพก็จะดีขึ้นอีกต่างหาก.

... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/1413460/

------------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©