-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ขบวนการ oxidationและAnti-oxidant ที่เกี่ยวกับพืช
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ขบวนการ oxidationและAnti-oxidant ที่เกี่ยวกับพืช
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ขบวนการ oxidationและAnti-oxidant ที่เกี่ยวกับพืช

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 23/08/2009 1:37 pm    ชื่อกระทู้: ขบวนการ oxidationและAnti-oxidant ที่เกี่ยวกับพืช ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปฏิกิริยาเคมี คำแปล [n.] chemical reaction

oxidation ความหมาย [n.] ปฎิกิริยาเคมีที่เกิดจากการรวมตัวของออกซิเจนกับสารอื่น

Anti-oxidant (n.) การที่ยับยั้งขบวนการ oxidation
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 23/08/2009 1:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตัวอย่าง

ที่มาhttp://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2008/09/J6981661/J6981661.html

เรื่องบางส่วน....

อยากทราบถึงกระบวนการของ Oxidation ที่ทำให้แร่ธาตุในดินสลายตัว..


กระบวนการ Oxidation คือปฎิกิริยาเพิ่มอ็อกซิเจน เป็นกระบวนการสำคัญในการย่อยสลาย แร่ประกอบหินที่มีโมเลกุลใหญ่ ๆ ให้แตกตัวเล็กลง ธาตุอาหารพืช เช่น K หรือ P ที่เดิมอยู่ในแร่ประกอบหิน จะถูกตรึงยึดของอะตอมของธาตุอื่นในรูปโมเลกุล พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ (อยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์) โมเลกุลเหล่านี้ เมื่อถูกOxidizied ก็แตกเป็นสารประกอบใหม่ ที่มีโมเลกุลเล็กลงระหว่างการเกิดปฎิกริยา K หรือ P บางส่วนก็เป็นอิสระถูกปลดออกมาพืชก็นำไปใช้ประโยชน์ได้ เพราะกระบวนการเกิด Oxidation ค่อนข้างที่จะมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและสิ่งแวดล้อมหลาย ๆ อย่าง


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 23/08/2009 2:00 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 23/08/2009 1:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา www.pigfim.com/book/0-1-2-52/26.doc


การสร้างพลัง แอนตี้ออกซิเดชั่น อาศัยจุลินทรีย์ 2 ประเภทนี้ ในขบวนการของปุ๋ยจุลินทรีย์



เมื่อเรานำอินทรีย์วัตถุ อย่างขยะสดใส่ลงไปในดิน ก็จะทำให้เน่าและมีกลิ่นเหม็น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมีการทำงานของจุลินทรีย์เน่าเปื่อย ........ แต่เมื่อเราได้นำปุ๋ยที่มีจุลินทรีย์ในกลุ่มสร้างสรรค์ที่เพิ่มจุลินทรีย์ให้มีมากมาย เมื่อนำไปใส่บนขยะ จะไม่เกิดกลิ่นเหม็น จะมีกลิ่นที่เป็นของจุลินทรีย์เอง ...........เมื่อเรานำปุ๋ยจุลินทรีย์ไปใส่ต้นไม้ ต้นไม้นั้นจะเจริญงอกงามอย่างไม่น่าเชื่อ .........ที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ก็เพราะว่า ในดินนั้นไม่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เป็นภัยขึ้น เนื่องจากการทำงานของ แอนตี้ออกซิเดชั่น ........ ผลก็คือการทำให้รากของพืชถูกกระตุ้นขึ้น พลังในการดูดซึมธาตุอาหารในดินก็จะเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ยังสามารถผลิตฮอร์โมนที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอีกด้วย ( ผู้ที่-เคยเรียนเรื่องจุลินทรีย์ คงจะยังจำได้ถึงพันธะเพฟไทด์ ) จึงทำให้การทำงานของพืชโดยรวมถูกกระตุ้นและพลังในการสังเคราะห์แสงก็จะสูง ขึ้น ฮอร์โมนในดินนั้น เมื่อดินอยู่ในสภาพที่ไม่ดี ก็จะเกิดการออกซิเดชั่นและสลายหายไป แต่เมื่อใช้ปุ๋ยที่ทำขึ้นจากจุลินทรีย์ ก็จะทำให้ดินกลายสภาพเป็นแอนตี้ออกซิเดชั่น ฮอร์โมนจึงยากต่อการสลาย กล่าวคือพืชจะสามารถดูดธาตุอาหารที่เป็นสารอินทรีย์และฮอร์โมน เพื่อการกระตุ้นในการเจริญเติบโตได้ดีขึ้น

เมื่อมีแอนตี้ออกซิเดชั่นในดินกรดอมิโนจะไม่กลายเป็นสารอะไมด์(Amaide) แอมโมเนียหรือไนเตรดจะถูกพืชดูดเข้าไปในลักษณะที่เป็นกรดอมิโนและกลายเป็น โปรตีน ส่วนกรดอินทรีย์จะกลายเป็นน้ำตาลในทันทีทันใด ซึ่งในดินทั่วไปยากที่จะมีคุณสมบัติเหล่านี้

ดินที่อยู่ในสภาพออกซิเดชั่น กรดอมิโนจะถูกเปลี่ยนเป็นแอมโมเนียหรือไนเตรด ก่อนถูกดูดเข้าไปในลำต้น หากเป็นดินท้องนา ก็จะเป็นแอมโมเนีย หากเป็นดินไร่ก็จะกลายเป็นไนเตรด

กล่าวคือ จะถูกพืชดูดเข้าไปในลักษณะของไนโตรเจนที่เป็นอินทรียวัตถุ ตราบใดที่อินทรีย์ไนโตรเจนไม่ผสมกับน้ำตาลก็จะไม่กลายเป็นกรดอมิโน พืชผลิตน้ำตาลจากการสังเคราะห์แสงได้ก็จริง แต่ในการที่จะต้องสร้างโปรตีนจากอินทรีย์ไนโตรเจนนั้นต้องใช้พลังงานมาก เพราะจะต้องใช้น้ำตาลที่จะสร้างจากกรดอินทรีย์ แต่เมื่อดินอยู่ในสภาพแอนตี้ออกซิเดชั่นแล้ว พืชจะสามารถดูดกรดอมิโนเข้าไปโดยตรง จึงไม่มีการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง ด้วยเหตุนี้ ผลความแตกต่างของความเจริญเติบโตของพืชที่เกิดจากสภาพของดินจึงแตกต่างกัน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©