-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - อยากปลูกมะละกอ
ผู้ส่ง ข้อความ
Yuth-Jasmine
ตอบตอบ: 01/08/2010 11:38 pm    ชื่อกระทู้:

poompooy บันทึก:
ผมอยากปลูกอ้อยเหมือนพี่ยุทธครับ
อยากได้สัก 80 ตันต่อไร่เหมือนวังขนายได้ยินข่าวว่าทำ้ำระบบน้ำหยด
เพราะที่บ้านโรงน้ำตาลมารับซื้อครับ ห่าง 3กิโลเองครับ
แถวบ้านทำได้ประมาณ10 ตัน
พี่ยุทธช่วยแนะนำด้วยครับเอาพันธุ์ไรดีครับ
ได้ยินว่ามีสารพัด k เลย
หลังหน้าเก็บเกี่ยวจะลงเลยประมาณไม่เกินมกราคม
พอน้ำหลาก กันยาอ้อยน่าจะสูงพ้นน้ำแล้วคงไม่น่าตาย
ขอพ่อไว้สัก10ไร่
อยากลงถั่วลิสงด้วยครับที่บ้านมีคนมารับซื้อ
น่าจะประมาณปิ๊ปละ160 บาท
ลุงที่บ้านบอกให้ลงหน้าแล้งถั่วค่อยดก หน้าฝนเมล็ดไม่ค่อยมี
ไม่รู้จริงหรือเปล่า



นวัตกรรมใหม่ของกลุ่มวังขนาย…ที่ไม่เหมือนใคร


การปลูกอ้อยสูตร 100 ตันต่อไร่
เมื่อพูดถึงนวัตกรรมใหม่ เรามักจะนึกถึงเทคโนโลยีล้ำยุคไกลตัว เครื่องจักรทันสมัยพร้อมกลไกที่เผาผลาญพลังงานมากมาย
โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อธรรมชาติและพืชผลที่ปลูกอยู่ในพื้นที่แวดล้อม

วันนี้ที่กลุ่มวังขนาย ได้คิดนวัตกรรมใหม่ที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง เป็นนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นจากจิตสำนึกที่เคารพความ
เป็นธรรมชาติอย่างรอบคอบและรอบด้าน ทุกกระบวนการทางความคิด ทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กรรมวิธีเพาะปลูก และดูแล
ทุกขั้นตอน ถูกคิดค้นและควบคุมให้อยู่ในวงจรบริสุทธิ์ของธรรมชาติ นับเป็นนวัตกรรมใหม่ในการปลูกอ้อยธรรมชาติ ส่งผลให้
ทุกวันนี้ วังขนาย สามารถปลูกอ้อย "สูตร 100 ตัน/ไร่" ได้ผลสมบูรณ์แบบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน



หัวใจของการปลูกอ้อยสูตร 100 ตันต่อไร่
ก่อนเริ่มกระบวนการเพาะปลูก ปัจจัยแรกสุดที่ให้ความสำคัญและคัดเลือกอย่างพิถีพิถัน คือ พื้นที่เพาะปลูก จะต้องมีสภาพแวดล้อม
ทางธรรมชาติที่ดี คัดเลือกพื้นที่ให้อยู่ห่างจากมลพิษทั้งหลาย คือถนนหลวง โรงงาน และแปลงปลูกพืชที่ใช้สารเคมี และจะต้อง
ศึกษาประวัติด้านการเกษตรของพื้นที่นั้นอย่างถี่ถ้วน เพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่อาจส่งผลกระทบต่อความบริสุทธิ์ของอ้อยอินทรีย์

หัวใจของการปลูกอ้อยสูตร 100 ตัน/ไร่
ประกอบด้วย 4 กระบวนการ ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันเป็นวงจร เพื่อดูแลหล่อเลี้ยงต้นอ้อยให้เติบโตสมบูรณ์ คือ

1. ดิน
2. พันธุ์อ้อย
3. น้ำ
4. ปุ๋ย


โดยมีวิธีการปลูกดังนี้
การเตรียมดิน
เนื่องจากดินเป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตของอ้อย การศึกษาเรื่องของดินอย่างลึกซึ้งถึงแก่น ทำให้ทราบว่า ดินที่อ้อยต้องการ
จะต้องมีคุณสมบัติครบ 4 ประการ คือ น้ำ อากาศ อินทรียวัตถุ และแร่ธาตุ ดังนั้น การเตรียมดินจะต้องใช้ปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน,
ฟิวเตอร์เค้กและขี้เถ้า ผสมกันในอัตราที่เหมาะสม เพื่อทำให้ดินมีอินทรียวัตถุมากขึ้น สภาพพื้นที่ที่ใช้ปลูกอ้อยสามารถระบายน้ำ
ได้ดี มีแหล่งน้ำที่สะอาด อยู่ในมาตรฐาน หรือเป็นแหล่งน้ำชลประทาน

วิธีการปลูก
ก่อนอื่นจะต้องมีการคัดเลือกพันธุ์อ้อย พันธุ์ที่ใช้ในแปลงนี้ คือ พันธุ์ LK92-11 ที่มีคุณสมบัติแตกกอดี มีความต้านทานต่อโรคสูง
ให้ความหวานสูงและให้ผลผลิตต่อไร่สูงอีกด้วย เมื่อคัดพันธุ์อ้อยได้แล้ว เราจะตัดส่วนที่เป็นข้อตาออกมาเพาะไว้ในถุงเพาะชำทีละถุง
จนข้อตาเริ่มงอกเป็นหน่อและโตขึ้น เราก็จะคัดเลือกหน่ออีกครั้ง ใช้วิธีการปลูกด้วยข้อตาโดยตัดห่างจากข้อตาด้านละ 2 นิ้ว 1 ถุง
เพาะกล้า ใช้ 1 ข้อตา เมื่อกล้ามีความสูงประมาณ 15 เซนติเมตร หรืออายุประมาณ 30 - 45 วัน ก็นำลงปลูก ซึ่งก่อนปลูกให้ใส่
ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นในอัตรา 12.5 กิโลกรัม/แถว แล้วนำต้นกล้าออกจากถุง นำมาลงดินให้พอดีกับร่องอ้อย โดย 1 ร่อง สามารถลง
อ้อยได้ 2 ต้น วางเป็นบล็อกๆ เรียงคู่ขนานกันยาวตลอดร่องอ้อย แล้วจึงกลบดินให้แน่น แปลงปลูกจะมีขนาด 40 เมตร x 40 เมตร
จำนวน 40 แถว โดย 1 แถวจะใช้กล้าจำนวน 1,600 ต้น หรือใช้ทั้งหมดจำนวน 64,000 ต้นต่อไร่

การให้น้ำ
ใช้กระบวนการคำนวณที่แม่นยำ รู้ปริมาณน้ำทั้งหมดที่อ้อยต้องการในแต่ละวัน เพื่อนำมาตั้งค่าควบคุมปริมาณน้ำในแต่ละครั้งให้พอดี
คิดระบบวางท่อน้ำในไร่อ้อย โดยใช้ท่อน้ำ เจาะรูตามระยะที่คำนวณไว้ เมื่อเปิดน้ำ น้ำจะฉีดขึ้นเหมือนน้ำพุเตี้ย และตกลงมาเหมือน
สายฝนธรรมชาติ ที่รดต้นอ้อยตั้งแต่ยอดใบลงมาตลอดลำต้นอย่างทั่วถึง ไม่สิ้นเปลืองน้ำ ประหยัดแรงงาน และได้ประสิทธิภาพสูง
ใช้วิธีการให้น้ำแบบน้ำพุเตี้ย ระยะเวลาการให้น้ำวันเว้นวัน วันละประมาณ 20 นาทีหรือประมาณ 12,000 ลิตร/ไร่

การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นก่อนปลูกอัตรา 12.5 กิโลกรัม/แถว และใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1 เดือนครั้ง จนอ้อยอายุครบ 6 เดือน

การดูแลรักษา
การปลูกอ้อยสูตร 100 ตันต่อไร่ เกษตรกรจะต้องดูแลเอาใจใส่มากกว่าการปลูกอ้อยปกติ เพราะมีหลายขั้นตอน แต่อย่างไรก็ตาม
ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปกติ ไม่มีปัญหาเรื่องโรคและแมลง แต่ถ้าหากอ้อยมีน้ำหนักมาก ลมพัดแรง อาจทำให้อ้อยล้ม ดังนั้น จะต้อง
มีการนำไม้ไปค้ำไว้เพื่อป้องกันไม่ให้อ้อยล้ม ถึงแม้ต้นทุนต่อไร่จะสูงกว่าปลูกอ้อยปกติ แต่ก็ให้ผลผลิตมากกว่าเดิม 10 เท่า แต่ใช้
พื้นที่เพียงแค่ 1 ไร่เท่านั้น ซึ่งเหมาะกับเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกน้อย และต้องการปลูกเพื่อนำไปขยายพันธุ์ต่อไป

โครงการปลูกอ้อยสูตร 100 ตันต่อไร่ นับเป็นความภูมิใจของกลุ่มวังขนาย และมุ่งมั่นที่จะนำความสำเร็จนี้ขยายสู่เกษตรกรชาวไร่อ้อย
ให้สามารถเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนในพื้นที่เพาะปลูกที่มีจำกัดได้ อีกทั้งยังรองรับแผนการขยายอ้อยพันธุ์ดีเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกร
ชาวไร่อ้อยปลูกขยายพันธุ์ในรูปแบบอ้อยอินทรีย์ ซึ่งเป็นอ้อยธรรมชาติบริสุทธิ์ที่นำไปแปรรูปเป็นน้ำตาลธรรมชาติบริสุทธิ์ที่แท้จริงได้ในที่สุด

ที่มา : http://wangkanai.co.th/new/activity.php?Id=109



สวัสดีครับ ทั้งสองคนเลย (ไอ้ตัวเล็กด้วย)
สบายดีกันน่ะครับ คิดถึงอยู่น่ะ

คืองี้ครับ อ้อยน่ะ ลุงเคยสอนว่า จริง ๆ แล้ว เรื่องพันธุ์ มิใช่หัวใจสำคัญเท่ากับการดูแลรักษา
อันนี้จริงน่ะครับ ถึงเรามีอ้อยพันธุ์ดีแค่ไหน แต่ถ้าขาดการบำรุงที่ถูกต้องก็ไม่ได้ดีเท่าที่ควร
ตรงกันข้ามใช้พันธุ์อ้อยที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น แต่บำรุงอย่างถูกวิธีนี่สิครับ ยิ้มแน่ ๆ เลย แต่ถ้า
พันธุ์ดีบำรุงดีนี่โอ้โหอย่าให้พูดเลยครับ

อ้อยวังขนายสำหรับผมแล้ว ยังถือว่า เป็นแค่อุดมคติครับ (อนาคตไม่แน่ครับ) เหตุเพราะว่า
กำลังผมยังไม่ถึงครับ ต้องใช้ทุนสูงมาก ประคบประหงมสารพัด แต่ถ้าวันไหนเราพร้อมล่ะก็น่าดู

แนวทางที่เป็นไปได้จริง ก็แนวทางที่ลุงสอนผมมานี่ล่ะครับ ไม่ไกลเกินฝัน เริ่มจากน้อยไป
หามาก ต่อจากมากก็เอาให้พุงแตกไปเลย

ผมปฏิบัติยังงี้ครับ กันอ้อยส่วนหนึ่งไว้เป็นท่อนพันธุ์เมื่อถึงเวลาสำหรับปลูก (ต้องดูแลดี ๆ
น่ะครับมากกว่าอ้อยหีบหน่อยถ้าทำได้) ไม่ซื้อท่อนพันธุ์จากที่อื่น เพื่อตัดปัญหาการติดโรค
กระจายข้ามพื้นที่ เพราะถ้ามีเรื่องนี้กับอ้อย สำหรับผมแล้วมันคือหายนะดี ๆ นี่เองครับ และ
ลดต้นทุน (อ้อยพันธุ์แถวบ้านราคาแพงมาก ถึงขนาดบางครั้งต้องกอดปืนนอนเฝ้ากันเลย)

เลือกอ้อยพันธุ์ท้องถิ่นที่เหมาะสมต่อสภาพภูมิประเทศได้ดี (ตรงนี้ต้องตรวจสอบในพื้นที่น่ะ
ครับ)อย่างผมนี้ ลง LK-11 เพราะว่าไม่ใช่เพราะ ให้ผลผลิตดีที่สุด แต่เขตไร่ผมนี้น้ำท่วมครับ
ขังอยู่ประมาณเดือนนึง อ้อยพันธุ์นี้ทนน้ำได้ดีครับคือน้ำท่วมไม่กลัวว่างั้นเถอะ ไอ้ครั้นจะปลูก
อ้อยข้ามแล้งเพื่ออาศัยจังหวะน้ำท่วมมา ช่วยเรื่องการให้น้ำ พอถึงเวลาตัดก็ไม่รู้จะไปส่งให้ใคร
เพราะโรงงานยังไม่เปิดหีบน่ะครับ ลืมบอกไป ผมทำอ้อยโควต้าน่ะครับ เลือกได้ว่า จะหีบทำ
น้ำตาลหรือผลิตเอธานอล ฉะนั้นสำหรับผมแล้ว การปลูกอ้อยก็ต้องดูให้สัมพันธ์กับช่วงเวลาที่
โรงงานเขาจะเปิดรับหีบอ้อยด้วยน่ะครับ อย่าให้ล่าช้ามากน้ำหนักจะหาย เงินก็จะพลอยหายไปด้วย
ไวไป ความหวานก็น้อย CCS ละ ๑๐ กว่าบาทต่อตันนี่ คือความหมายมากน่ะครับ ได้เพิ่มสัก ๓-
๔ CCS นี่โอ้โห ล้มหมูเลี้ยงกันเลย ต้องดูให้เหมาะสมจริง ๆ ประโยชน์ของการทำอ้อยโควต้าก็
คือเรื่องเงิน Advance ที่เราขอรับมาลงทุนได้ครับ แต่ไม่ทั้งหมดน่ะ ก็ยังดีครับ เมื่อตัดอ้อย
แล้วก็เคลียร์กันไปส่วนใหญ่ก็เริ่มด้วยวิธีนี้กันครับ จากนั้นก็พลิกแพลงกันเองภายหลัง

สำหรับ คุณปุ้ยแล้ว ถ้าแถวบ้านน้ำท่วม แล้วคิดจะลงอ้อยก็พันธุ์ที่ผมใช้นี่แหละครับ แต่บอกตาม
ตรงว่า ไม่ทราบว่าแถวนั้นพันธุ์นี้หายากไหม จะหาจากที่อื่นก็โดนค่าขนส่ง อ่วมอรทัยน่าดูเลยครับ
ถ้าจะลงจริง ๆ ก็คุยกันเป็นระยะ ๆ แล้วกันเนอะ

ปีแรกเอาทุนคืนให้ได้ก็ถือว่าผ่านแล้วครับ ทำอ้อยเหนื่อยครับ แต่สนุกสำหรับลูกผู้ชายอย่างเรา
ต้องหัดเหวี่ยงจอบแม่น ๆ เดินกันเป็นกิโล ๆ สนุกครับ แถวบ้านบางเจ้าทำได้ถึง ๙ ตอ ยังมีเลยครับ
รวยไม่รู้เรื่องสิครับ เชื่อไหม เคยถามพวกเจ้าใหญ่ ๆ น่ะ รับเงินทีว่ากันเป็น ๑๐ ล้านขึ้น เลย (หัก
แล้วไม่รู้เหลือเท่าไหร่ แต่ระดับนี้ต้องว่ากันเป็น ๑,๐๐๐ ไร่ครับ)

อีกอย่างนึงทำอ้อยนี่มีเวลาเหลือไปทำอย่างอื่นได้อีกเยอะครับ ให้อย่างมากน่ะครึ่งปีก็มากแล้ว
สำหรับเวลาทำอ้อย คือไม่ได้ไปทำทุกวันน่ะครับ เวลาที่เหลือก็ทำอย่างอื่นได้จริงไหม ก็ลองดูน่ะ
ครับ หาข้อมูลดี ๆ และอย่าลืมครับ ปรึกษาลุงมาก ๆ ครับ ไม่รู้ถามครับเดี๋ยวนี้น่ะ
ผมถามลุง ๓ เวลา หลังอาหารเลยจริงนะไม่ได้โม้ เอาน่ะครับ ไม่ว่าจะทำอะไรผมก็
ยินดีและเอาใจช่วยครับ มีอะไรก็ถามได้ครับ เราพี่น้องกัน ไม่เบื่อไม่รำคาญแน่นอน

สุขภาพแข็งแรงน่ะครับ

ไอ้ยู้ดดดด...ครับผม
ott_club
ตอบตอบ: 01/08/2010 10:56 pm    ชื่อกระทู้:

คำพูด:
ในฉี่มีอะไร.....หรือ


มี"ไวอากร้า"มั้ง(ล้อเล่นคร้าบบบ)
poompooy
ตอบตอบ: 01/08/2010 10:56 pm    ชื่อกระทู้:

แม่น้ำชีอยู่ที่ อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่นครับ แต่ไม่ค่อยจะไหวครับ ประมาณเดือนตุลาคม พอน้ำไหลหลากมา ท่วมสะพานอย่างที่เห็นในรูป
และท่วมนาหมดเลย (นาผมมีประมาณ 30 ไร่) ต้องใช้เรือสัญจรเลยหละครับ Confused Confused ผมกะว่าเดี๋ยวกลับ
บ้านอีกครั้งเดือนกันยา-ตุลา จะถ่ายรูปมาอัพให้ดูใหม่ครับ ว่าน้ำมันท่วมน่ากลัวขนาดใหน
poompooy
ตอบตอบ: 01/08/2010 10:48 pm    ชื่อกระทู้:

โรคมะละกอใบหงิก พึ่งค้นพบวิธีแก้ครับ
กลับบ้านมาเมื่อกี้ได้คุยกับตาผมครับ
แกพึ่งค้นพบครับเลยบอกผม
ช่วยวิเคราะห์ตัวสารให้หน่อยครับ
มีต้นมะละกอใบหงิกเกือบตายแล้วที่นี้
ไหนๆก็จะตายแล้วตาผมก็ช่วยเร่งให้มันตายโดย
ฉี่ใ่ส่ปรากฎว่าใบที่เสียหายมากก็ร่วง
ส่วนใบที่ไม่เป็นมากก็เริ่มกลับมาดีขึ้น
ภายในสามสัปดาห์ก็หายพร้อมทั้งแตกใบใหม่เพิ่มด้วยครับ
ในฉี่มีอะไร.....หรือ
Yuth-Jasmine
ตอบตอบ: 01/08/2010 10:44 pm    ชื่อกระทู้:

ott_club บันทึก:
คำพูด:
ทุ่งนา....สายหมอก...เสียงลม และสองเรา...


กะจะเอาไปจากบ้านหรือไปหาที่โน่นละครับ Laughing

คำพูด:
ผมมีข้อสังเกตุอย่างนึงน่ะครับ คงต้องให้ลุงช่วยอธิบาย
คือถ้าปลูกมะละกอ โปรดระวังน่ะครับ ย้ำเลย "ยาฆ่าหญ้าครับ"
ใบมะละกอหงิกงอเสียหายหมดเลยครับ
ผมเองก็สงสัยน่ะ ทำไมล่ะครับลุง มะละกอแถวข้างไร่เขาปลูกกันไว้
ตายเรียบเลยครับ แค่โดนละอองของยาฆ่าหญ้าเข้าไปนิดเดียวเอง
มันร้ายแรงมากเลยเหรอครับลุง ไอ้ยาฆ่าหญ้าที่ว่านี่
(อามีทรีน, ไกลโฟเซต ฯลฯ)


สารพวกนี้เป็นฮอร์โมนทั้งสิ้น ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่า"สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช" เพราะฉนั้นมันน่าจะไปมีผลต่อการเจริญ
เติบโตของมะละกอ ทำให้มะละกอใบหงิกอย่างว่า โดยที่ไม้อื่นไม่มีผลข้างเคียงอย่างมะละกอ
(เป็นความคิดส่วนตัวนะครับ)


ชัดเจนมากเลยครับพี่อ๊อด ขอบคุณครับ ว่าแต่คืนนี้ล่ะว่าไงจ้ะ
ott_club
ตอบตอบ: 01/08/2010 10:41 pm    ชื่อกระทู้:

คำพูด:
ทุ่งนา....สายหมอก...เสียงลม และสองเรา...


กะจะเอาไปจากบ้านหรือไปหาที่โน่นละครับ Laughing

คำพูด:
ผมมีข้อสังเกตุอย่างนึงน่ะครับ คงต้องให้ลุงช่วยอธิบาย
คือถ้าปลูกมะละกอ โปรดระวังน่ะครับ ย้ำเลย "ยาฆ่าหญ้าครับ"
ใบมะละกอหงิกงอเสียหายหมดเลยครับ
ผมเองก็สงสัยน่ะ ทำไมล่ะครับลุง มะละกอแถวข้างไร่เขาปลูกกันไว้
ตายเรียบเลยครับ แค่โดนละอองของยาฆ่าหญ้าเข้าไปนิดเดียวเอง
มันร้ายแรงมากเลยเหรอครับลุง ไอ้ยาฆ่าหญ้าที่ว่านี่
(อามีทรีน, ไกลโฟเซต ฯลฯ)


สารพวกนี้เป็นฮอร์โมนทั้งสิ้น ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่า "สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช" เพราะฉนั้นมันน่าจะไปมีผลต่อการเจริญ
เติบโตของมะละกอ ทำให้มะละกอใบหงิกอย่างว่า โดยที่ไม้อื่นไม่มีผลข้างเคียงอย่างมะละกอ
(เป็นความคิดส่วนตัวนะครับ)
somchai
ตอบตอบ: 01/08/2010 10:39 pm    ชื่อกระทู้:

เห็นบอกแม่น้ำชี อยู่จังหวัดไหนครับ ปลูกมะละกอ ต้องไปหาดูสวนที่เขาปลูกมานานก่อนนะ ผม
ยังอยากไปเลย เคยเห็นในทีวีเขามีขั้นตอนการดูแลอย่างไร ก็คนชอบเที่ยวนะ

สมชาย กลิ่นมะพร้าว
poompooy
ตอบตอบ: 01/08/2010 10:37 pm    ชื่อกระทู้:

ผมอยากปลูกอ้อยเหมือนพี่ยุทธครับ
อยากได้สัก 80 ตันต่อไร่เหมือนวังขนายได้ยินข่าวว่าทำ้ำระบบน้ำหยด
เพราะที่บ้านโรงน้ำตาลมารับซื้อครับ ห่าง 3กิโลเองครับ
แถวบ้านทำได้ประมาณ10 ตัน
พี่ยุทธช่วยแนะนำด้วยครับเอาพันธุ์ไรดีครับ
ได้ยินว่ามีสารพัด k เลย
หลังหน้าเก็บเกี่ยวจะลงเลยประมาณไม่เกินมกราคม
พอน้ำหลาก กันยาอ้อยน่าจะสูงพ้นน้ำแล้วคงไม่น่าตาย
ขอพ่อไว้สัก10ไร่
อยากลงถั่วลิสงด้วยครับที่บ้านมีคนมารับซื้อ
น่าจะประมาณปิ๊ปละ160 บาท
ลุงที่บ้านบอกให้ลงหน้าแล้งถั่วค่อยดก หน้าฝนเมล็ดไม่ค่อยมี
ไม่รู้จริงหรือเปล่า
Aorrayong
ตอบตอบ: 01/08/2010 10:01 pm    ชื่อกระทู้:

บ้านน่าอยู่จัง บรรยากาศดีกว่ามาบตาพุดตั้งไหนๆ (ได้ข่าวมาว่าโรงงานแถวมาบตาพุดไม่ตอกเสาเข็ม จริงหรือเปล่าไม่รู้ น่ากลัว)

ล่าสุดได้ปรึกษาลุงเรื่องมะละกอ เรื่องโรคที่สำคัญคือ"ไวรัสวงแหวน" ลุงบอกว่าไม่มีสารเคมีใดในโลกที่จะมารักษาโรคนี้ได้
สิ่งที่ทำได้คือสร้างภูมิคุ้มกันให้มะละกอ บำรุงให้ต้นแข็งแรง และใช้วิธีป้องกันโดยการพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ
เพื่อไล่แมลงที่เป็นพาหะของโรค

วันนี้มีโอกาสได้พูดคุยกับเกษตรกรที่ปลูกมะละกอ และกำลังพบปัญหาโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งสาเหตุเพราะดินเป็นกรดจัด

ก่อนปลูกต้องเรียนรู้ให้ถ่องแท้ วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค แนวทางแก้ไข แล้วอย่าลืมเรื่องการตลาดด้วยนะ

เอาใจช่วยจ้ะ

น่าอิจฉาจังเลย หน้าหนาวอากาศคงดีมากใช่หรือเปล่า?.... ทุ่งนา....สายหมอก...เสียงลม และสองเรา...ว่ามั้ย
Yuth-Jasmine
ตอบตอบ: 01/08/2010 10:00 pm    ชื่อกระทู้:

อื่อฮือ น่าอยู่มากเลยครับ เห็นแล้วอิจฉาอีกและ
เอาใจช่วยเต็มที่ครับ ว่าแต่สบายดีกันน่ะครับ

ผมมีข้อสังเกตุอย่างนึงน่ะครับ คงต้องให้ลุงช่วยอธิบาย
คือถ้าปลูกมะละกอ โปรดระวังน่ะครับ ย้ำเลย "ยาฆ่าหญ้าครับ"
ใบมะละกอหงิกงอเสียหายหมดเลยครับ
ผมเองก็สงสัยน่ะ ทำไมล่ะครับลุง มะละกอแถวข้างไร่เขาปลูกกันไว้
ตายเรียบเลยครับ แค่โดนละอองของยาฆ่าหญ้าเข้าไปนิดเดียวเอง
มันร้ายแรงมากเลยเหรอครับลุง ไอ้ยาฆ่าหญ้าที่ว่านี่
(อามีทรีน, ไกลโฟเซต ฯลฯ)

เอาใจช่วยเต็มที่เลยครับ

ยุทธ ครับ
poompooy
ตอบตอบ: 01/08/2010 9:44 pm    ชื่อกระทู้:

แม่น้ำชีถ้าน้ำหลากฝั่งประมาณเอว

Thanks: ฝากไฟล์รูปฝาก ตรวจสอบมูลค่าเว็บ

ที่นาประมาณต้นขา

Thanks: ฝากไฟล์รูปฝาก ตรวจสอบมูลค่าเว็บ

หลังจากน้ำลงก็จะมีน้ำตามร่องน้ำเก่า

Thanks: ฝากไฟล์รูปฝาก ตรวจสอบมูลค่าเว็บ
poompooy
ตอบตอบ: 01/08/2010 9:21 pm    ชื่อกระทู้: อยากปลูกมะละกอ

กลับบ้านตอนเข้าพรรษาค่ะ พอดีไปดูที่นาที่พ่อปรับที่เพื่อหว่านข้าว หลังเก็บเกี่ยวกะว่าจะลงมะละกอพันธ์ฮอลแลนด์
และครั่งค่ะ แต่ติดปัญหามากมายเลย คือที่นาที่จะลงมะละกออยู่ติดแม่น้ำชีค่ะ พอหน้าแล้งน้ำไม่มี แต่พอหน้าน้ำหลากมา
น้ำก็ท่วมข้าวที่หว่านไว้หมดก็เลยยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี กะว่าจะเจาะน้ำบาดาลค่ะ ไม่ทราบว่า ลุงคิมและพี่ ๆ
มีความคิดเห็นกันอย่างไรบ้าง รบกวนแนะนำน้องใหม่บ้างค่ะ

กานต์ กะ ปุ้ย










<a><img></a>


Thanks: ฝากไฟล์รูปฝาก ตรวจสอบมูลค่าเว็บ


Thanks: ฝากไฟล์รูปฝาก ตรวจสอบมูลค่าเว็บ