-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - แมลงก้นกระดก (Rove Beetles)
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
ตอบตอบ: 10/09/2010 11:09 am    ชื่อกระทู้:

ง่ายๆ ยังงี้น่ะเหรอ เสียฟอร์ม KU

บ่อยมั้ยที่เป็นแบบนี้.....ที่ KU มีกี่คน ?
KU65
ตอบตอบ: 10/09/2010 10:28 am    ชื่อกระทู้:

5555 งั้นก็ลืมๆไปเถอะค่ะ
kimzagass
ตอบตอบ: 08/09/2010 7:52 pm    ชื่อกระทู้:

รู้จักซี่ "อาจารย์เจริญ" ..... ในประเทศไทยมีคนชื่อเจริญ 1,248,921 คน ที่เป็น
อาจารย์ (กลองยาว หมอดู) ชื่อเจริญ มีทั้งสิ้น 25,629 คน

อีหอยหอยหลอด...ถามอะไร (วะน่ะ....)
ลุงคิมครับผม
KU65
ตอบตอบ: 08/09/2010 11:10 am    ชื่อกระทู้:

เป็นแผลเป็นที่คอ เเต่จางแล้วค่ะเพราะโดนตั้งแต่ปี 1 บัดนี้ก็ผ่านมา 5 ปีแล้ว

อ้อ ลุงคิมร้องเพลงนี้ได้ด้วย อิอิ

ลุงรู้จักอาจารย์เจริญไหมคะ
kimzagass
ตอบตอบ: 31/08/2010 11:07 am    ชื่อกระทู้:

KU65 บันทึก:
ตอนที่เรียนอยู่หอหญิง ม.เกษตร กำแพงแสน นี่ก้นกระดกเยอะมาก เคยโดนครั้งนึง
เป็นเเผลเเดงปื้นๆ เหมือนโดนน้ำร้อนลวก เเสบ คันๆ รอยใหญ่มาก มีแผลเป็นด้วย เเค้นมันมากค่ะ

วิธีกำจัด คือ.... เอาสก๊อตเทปใสเเปะตัวมัน พอตัวมันติดสก๊อตเทปค่อยเอาไปทิ้งค่ะ ตอนนั้นนะคะ เเปะก้นกระดกสตาฟไว้ข้างฝาห้อง อย่างกะนิทรรศการก้นกระดกเลย



.... เกษตรนี้หล่อจริงจริง ผ้หญิงเขาอยากรู้จัก
เกษตรนี่หล่อยิ่งนัก ถ้าใครรู้จักกินผักฟรีฟรี.....

ถึงขนาดมี "แผลเป็นเลยเหรอ" อิ้อฮือ หวาดเสียวจัง
ถ้าเป็น "แผลเป็น" จริง แผลนั้นก็ต้องยังอยู่ซีนะ
ถ่ายรูปให้ดูหน่อยซี่ อยากดู๊ อยากดู...


ลุงคิมครับผม
KU65
ตอบตอบ: 31/08/2010 10:52 am    ชื่อกระทู้:

ตอนที่เรียนอยู่หอหญิง ม.เกษตร กำแพงแสน นี่ก้นกระดกเยอะมาก เคยโดนครั้งนึง
เป็นเเผลเเดงปื้นๆ เหมือนโดนน้ำร้อนลวก เเสบ คันๆ รอยใหญ่มาก มีแผลเป็นด้วย เเค้นมันมากค่ะ

วิธีกำจัด คือ.... เอาสก๊อตเทปใสเเปะตัวมัน พอตัวมันติดสก๊อตเทปค่อยเอาไปทิ้งค่ะ ตอนนั้นนะคะ เเปะก้นกระดกสตาฟไว้ข้างฝาห้อง อย่างกะนิทรรศการก้นกระดกเลย
piglatte
ตอบตอบ: 30/08/2010 9:42 pm    ชื่อกระทู้:

ตอนที่พักอยู่ ม.เกษตร กำแพงแสน จ.นครปฐม จะพบแมลงชนิดนี้อยู่เป็นฤดูกาลครับ นักศึกษาหรือชาวบ้านแถวๆนั้นรู้จักกันดี เพราะโดนกันบ่อย (ผมเองก็โดนมาแล้ว) มุ้งลวดก็มุ้งลวดเถอะ ตัวเล็กๆมันยังพอเล็ดรอดได้เพราะตัวค่อนข้างเรียวยาว ถ้าเห็นพวกมันเข้ามาห้องพักมากละก็ได้ปิดไฟย้ายห้องหนี้เลยทีเดียว

ถ้าเราเจอตัวมันแล้วไปขยี้โดน แล้วเอามือนั้นไปป้ายผิวหนังส่วนอื่นต่อละก็ ดูไม่ได้เลยเชียว แผลจะเป็นทางเหมือนกับโดนแมงกะพรุนไฟเลยแล ดีนะที่แถวบ้านผมยังไม่เจอชนิดที่มีพิษรุนแรงขนาดนี้
ott_club
ตอบตอบ: 30/08/2010 9:00 pm    ชื่อกระทู้:

แถวบ้านผมจะเรียก"แมลงตด" ครับ ถ้าพบเจออย่าไปจับเล่นเป็นอันขาด ถ้ามันปล่อยแก๊สเข้าตาถึงบอดได้เลยนะครับ
hearse
ตอบตอบ: 30/08/2010 8:50 pm    ชื่อกระทู้: แมลงก้นกระดก (Rove Beetles)

แมลงก้นกระดก

แมลงก้นกระดก หรือด้วงก้นกระดก และยังมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปอีก เช่น ด้วงปีกสั้น ด้วงก้นงอน มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษคือ Rove beetles (Genus Paederus) เป็นแมลงจัดอยู่ใน Family Staphyllinidae , Order Coleoptae, Class Insecta

แมลงในกลุ่มนี้มีประมาณ 622 ชนิด ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วโลก แมลงปีกแข็ง Paederus ทำให้เกิดการระบาดของโรคผิวหนังในหลาย ๆ ประเทศ เช่น ออสเตรเลีย มาเลเซีย ศรีลังกา ไนจีเรีย เคนยา อิหร่าน ในทวีปอาฟริกาตอนกลาง เช่น ยูกานดา โอกินาวา Sierra Leone อาเจนตินา บราซิล ฝรั่งเศส เวเนซุเอลา เอกวาดอร์ และอินเดีย

ชนิดที่พบในประเทศไทยมีชื่อวิทยาศาสตร์ Paederus fuscipes Curtis เป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวเต็มวัย (adult) ลำตัวยาวประมาณ 7-10 มิลลิเมตร ขนาดรอบลำตัวกว้าง 0.5 -1 มิลลิเมตร แมลงก้นกระดกมีขนาดใหญ่กว่ายุงประมาณ 1 เท่าครึ่ง หัวดำ ลำตัวและท้องมีสีส้ม ยกเว้นปล้องสุดท้ายของท้องมีสีดำ ปีกคู่แรกแข็งมีสีน้ำเงินเข้ม รูปร่างเปรียว ว่องไว เวลาเคลื่อนไหวจะงอส่วนท้องส่ายขึ้นลงเมื่อเกาะอยู่กับพื้น จึงเรียกกันว่า แมลงก้นกระดก

ตามปรกติแมลงชนิดนี้จะอาศัยในที่ชื้น ใกล้แหล่งน้ำ หรือตามพงหญ้า กินวัตถุเน่าเปื่อยที่กองทับถมกัน แมลงชนิดนี้สามารถปล่อยของเหลวที่เรียกว่า coelomic fluid มีสาร paederin ออกมาซึ่งเป็นพิษสามารถทำลายผิวหนังและเซลเนื้อเยื่อ

แมลงก้นกระดกชอบแสงไฟและจะออกมาเล่นแสงไฟนีออนเวลาพลบค่ำ และมักพบว่ามีชุกชุมในช่วงหน้าฝน ปรกติแมลงก้นกระดกจะไม่กัดและต่อย แต่หากเราไปสัมผัสโดยบังเอิญหรือโดยการตบตี หรือขยี้ตัวแมลงบนผิวหนัง เช่น ที่แขน ขา หรือบริเวณผิวหนังใต้ร่มผ้า เมื่อตัวมันแตกออกจะมี coelomic fluid ไหลออกมาพร้อมสารพิษ paederin (C25H45O9N) ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์จำพวก amide เมื่อร่างกายไปสัมผัสสารดังกล่าวจะรู้สึกคัน ปวดแสบ ปวดร้อน บางรายที่เป็นมากอาจมีไข้ ปวดศีรษะ และหากสาร paederin ไปสัมผัสถูกตาอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นร้ายแรงได้ บริเวณแผลบนผิวหนังที่สัมผัสสาร paederin จะมีลักษณะเป็นทางยาว อาจพบเป็นเม็ดพองใส และเมื่อตุ่มเม็ดใสแตกออกจะเป็นแผลมีลักษณะคล้ายแผลน้ำร้อนลวก หากมีอาการไม่รุนแรงอาการดังกล่าวจะหายได้เองภายในเวลา 1-2 สัปดาห์

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
โดยล้างบริเวณผิวหนังที่สัมผัสแมลงชนิดนี้ด้วยน้ำสะอาดทันที ประคบด้วยน้ำเย็น และไม่ควรใช้มือเกาเพราะจะเกิดเป็นแผลบริเวณกว้างลุกลามต่อไปได้ หากเกิดอาการคันให้ใช้ยาทาจำพวกคาลาไมด์ (calamide) หรือรับประทานยาแก้แพ้ (antihistamine) หรือทาด้วย steroids หากเกิดแผลลุกลามอาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

การป้องกัน
- หากพบเห็นแมลงก้นกระดกให้หลีกเลี่ยง และไม่ควรให้ร่างกายไปสัมผัสแมลงชนิดนี้หรือขยี้ด้วยมืออย่างเด็ดขาด
- ควรปิดหน้าต่างหรือติดมุ้งลวด เพื่อป้องกันมิให้แมลงบินเข้ามาภายในห้องพัก หากมุ้งลวดชำรุดหรือเสียหายให้ทำการซ่อมแซมทันที
- หากพบว่ามีแมลงก้นกระดกเข้ามาสัมผัสบนผิวหนังให้พยายามเขี่ยออกอย่างนุ่มนวล และล้างบริเวณที่สัมผัสแมลงด้วยสบู่และน้ำสะอาด
- หากพบแมลงบนที่นอนหรือตามผนังห้องควรใช้แปรงขนขนาดเล็กค่อย ๆ เขี่ยตัวแมลงลงบนแผ่นกระดาษและนำไปทิ้ง หรือใช้สารเคมีกำจัดแมลงประเภท Pyrethroids ฉีดทำลาย
- หมั่นตรวจสอบบริเวณห้องพัก ห้องนอน ห้องนั่งเล่น และทำความสะอาดบริเวณโดยรอบอย่างสม่ำเสมอ หากสงสัยว่าจะมีแมลงชนิดดังกล่าวเข้ามาอาศัยอยู่


เอกสารอ้างอิง
1. Indian Journal of Dermatology, Venereology and Leprology, Vol. 73, No. 1, January-February, 2007, pp. 13-15.

ที่มา http://www.angelfire.com/journal2/c_prapan/paederus.htm