-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - ชาวสวน ชาวไร่...................เบี้ยล่างนายทุน
ผู้ส่ง ข้อความ
catcaty
ตอบตอบ: 28/10/2010 10:21 am    ชื่อกระทู้:

Yuth-Jasmine บันทึก:
ไปในเมืองก่อน เดี๋ยวบ่ายมาบรรเลง จองที่ไว้ก่อน

ไอ้ยู้ดดดดด....ศิษย์ "คาราบาว"

ชาวสวน ชาวไร่.......เบี้ยล่างนายทุน

จริงครับเบี้ยล่างจริง ๆ ตลอดชาติยันลูกยันหลายเลยมั่งครับ
อ่านความคิดเห็นของลุงและเพื่อนหลาย ๆ ท่านแล้วก็เลยอยากจะ
แสดงความคิดเห็นกะเขาบ้าง

ถ้าท่านจะฝันหวานว่าวันข้างหน้าจะมีอะไรดี ๆ เกิดขึ้นก็ฝันต่อไปเถอะครับ
เพราะ "นรก" กำลังรอท่านอยู่ ชั่วชีวิตผม สิ่งที่พบเห็นก็คือ
เกษตรกรอย่างเรา ๆ ไม่ใช่เป็น "เบี้ยล่าง" ครับ แต่เป็น "ขี้ข้า" ต่างหาก
ไม่มีทางหรอกครับที่จะทำให้เกิดสิ่งดี ๆ ในสังคมเกษตรกรรมทุกวันนี้
ตราบใดที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองยังเป็นแบบนี้ ไม่ได้อคติน่ะ แต่มันเป็นความจริงที่เจ็บปวดครับ
ผมถามหน่อย หัวใจหลักของประเทศเราคืออะไรครับ "ภาคเกษตรกรรม" ใช่ไหมครับ
แต่ตลอดชีวิตผมหรือชีวิตใครในนี้อีกหลาย ๆ คน มีใครเห็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่มีอำนาจ
ให้ความสนใจอย่างจริงจังบ้างไหม ใครรู้วานบอกผมที

ว่ากันตั้งแต่ ยุคเริ่มเปลี่ยนแปลงจนมาถึงปัจจุบัน มีอะไรเปลี่ยนแปลงไหมครับ
ไม่มีหรอก นโยบายภาคเกษตร ท่านแขวนป้ายไว้หน้าห้องตัวโต ๆ ชัดเจนมากครับ
มีสองข้อพอแล้ว จำง่าย ท่องขึ้นใจได้สบาย

๑. สูเจ้าทั้งหลาย ช่วยเหลือตัวเองไปเถอะน่ะจ้ะ
๒. ไม่เข้าใจให้อ่านข้อ ๑ ซ้ำอีกหลาย ๆ รอบ


เป็นไงชัดไหมครับ อย่าหลอกตัวเองอีกเลย อ่านง่ายแต่ทำยากใช่ไหมล่ะพี่น้อง
แต่ถ้าไม่ทำก็ไม่มีอะไรดีขึ้นมาหรอกครับ

น่ะ ศักดิ์ศรีของเกษตรกรอย่างเรา ๆ ก็มีเยอะครับ เรียกมันกลับมา
ปิดหูปิดตาตัวเองก็เท่านั้น หวังลม ๆ แล้ง ๆ ก็เท่านั้น ไม่มีใครช่วยก็ช่วยตัวเองครับ
ตัวอย่างในหมู่พวกเรามีหลายท่านครับ ที่เห็นแสงสว่างแล้ว เป็นแนวทางที่ดีที่ควรเอาเป็นแบบอย่าง
ลุงก็ย้ำ ทำเหมือนเดิมแย่กว่าเดิม ปรับแนวทางใหม่ก็ยังไม่สายครับ

ศึกษาหาความรู้ทุกสำนักให้ชัดเจน เคี่ยวจนข้น ข้นจนคลัก เอามาผสมผสานกันครับ
เลือกทำ เลือกซื้อในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ได้ห้ามรวมกลุ่มน่ะครับ แต่ให้ตัวเราเองยืนให้มั่นคงเสียก่อนดีไหม
เรื่องกลุ่มก้อนก็จะตามมาเอง ถ้าทุกท่านพร้อมจะให้ เพราะในความเป็นจริง
มันรวมยากครับ เอาแต่ละคนให้ถึงฝั่งของตัวเองก่อนดีไหมครับ ผมไม่เถียงว่า
นกกระจาบหลายตัวช่วยให้หลุดตาข่ายนายพรานได้ แต่ถ้านกกระจาบแต่ละตัว
ขี้โรคหมดเรี่ยวหมดแรง รวมกันจะไหวไหม เอ้าใครว่าไงทักท่วงได้ครับ

อ่านแล้วเหมือนน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหลงเหลง แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็แค่ข้อคิดเห็น
ของคนบ้าอย่างผม ง่าย ๆ ครับ วิธีอะไรก็ได้ครับ ที่ทำให้ตัวเองอยู่รอดได้อย่าง
ยั่งยืน (มีคุณธรรมสักหน่อยก็ดีน่ะครับ)

แถวบ้านผม เขาว่า "เอาตัวเองให้รอดก่อนครับ" เอาแบบที่ให้นายทุน
เอาเปรียบเราให้น้อยที่สุด ผมเองก็พยายามทำอยู่ครับ
หลังจากนั้น ค่อยมามองกันอีกทีครับว่าจะรวมกลุ่มกันต่อไปอย่างไร

ถ้าอ่านแล้วไม่ถูกใจขอประทานโทษน่ะครับ ห่วงเพื่อน ๆ ทุกคน
แต่ขอห่วงตัวเองให้มากที่สุดก่อนครับ ถ้าตัวเองยังไม่รอดผมก็คงไม่สามารถ
ไปช่วยใครได้หรอกจริงไหมครับ

เนอะสร้างความเข้มแข็งให้ตัวเองก่อนอันดับแรกครับ
ง่ายแต่ยาก ผมก็เข้าใจสัจธรรมข้อนี้ครับ

ไอ้ยู้ดดดดด...ขะรับ


ย้อนกลับมาเรื่องเก่าๆบ้างเผื่อใครมีความคิดดีๆๆ
หมึกครับผม
kimzagass
ตอบตอบ: 13/10/2010 8:01 am    ชื่อกระทู้:




พ่อค้าหอบทุเรียน แจ้งความ กินแล้วอ้วกแตก

พ่อค้าเมืองคอน บุกโรงพัก หอบทุเรียนเข้าแจ้งความ เผย เตรียมนำส่งขายนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่มีสารเคมีตกค้างเพียบ ผ่าให้ลูกกิน แล้วอ้วกแตก หน้าซีด ชักดิ้นชักงอ หวั่นเสียชื่อไทย...

ผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อเวลา 07.15 น.วันที่ 29 ม.ค. นายสิรภพ หรือยุทธ ศรีศักดิ์ อายุ 38 ปี มีอาชีพเป็นพ่อค้าขายส่งผลไม้ อยู่บ้านเลขที่ 2/1 หมู่ 6 ต.พรหมโลก อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช ขับรถยนต์ปิกอัพ โตโยต้าไทเกอร์ ตอนครึ่ง สีบรอนซ์ทอง ทะเบียน บร-9811 สุราษฎร์ธานี มาจอดที่หน้า สภ.เมืองนครศรีธรรมราช จากนั้นได้หยิบทุเรียนที่อยู่ในรถจำนวนหนึ่ง ขึ้นไปบนโรงพัก เข้าพบ พ.ต.ท.อนันต์ เปาะทองคำ สารวัตรเวร เพื่อแจ้งความ โดยนายสิรภพ ให้การว่า ตน มีอาชีพค้าส่งผลไม้ โดยจะรวบรวมผลไม้ที่นักท่องเที่ยวจากยุโรปและประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียชื่น ชอบ ส่งให้กับโรงแรม ร้านอาหาร ในจังหวัดภูเก็ต เมื่อเย็นวันที่ 27 ม.ค. ได้ซื้อทุเรียนหมอนทอง จากผู้ค้าขาประจำ คือ แผงผลไม้ป้าจาย ในตลาดย่อยบัวตอง ตั้งอยู่ภายในตลาดค้าส่งผักผลไม้ภาคใต้ (ตลาดหัวอิฐ) ถนนกะโรม ต.โพธิ์เสด็จ อ.เมืองนครศรีธรรมราช เป็นทุเรียนหมอนทองคัดเกรด 66 ลูก และทุเรียนย่อยอีก 30 กว่าลูก เป็นเงิน 7,500 บาท นำขึ้นรถไปจอดไว้ที่บ้าน เตรียมส่ง จ.ภูเก็ต เนื่องจาก ต้องรอผลไม้อื่น อาทิ มังคุด แตงโม เงาะ ลองกอง ให้เต็มรถ ปรากฏว่า ขณะจอดอยู่ที่บ้าน ลูกของตนบอกว่าทุเรียนสวยน่ากิน ขอกินหน่อย ตนจึงหยิบทุเรียนบนรถ จำนวน 3 ลูก มาผ่าให้ รวมทั้งหลาน และ ลูก ของเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้กันกิน รวม 7-8 คน โดยหยิบทุเรียนอีก 3 ลูกมาผ่าเพิ่มให้กิน

แต่ เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เมื่อลูก หลาน และ ลูกของเพื่อนบ้าน ที่กินทุเรียนเข้าไป เกิดอาเจียนอ้วกแตกกันเป็นแถว บางคนหน้ามืดเป็นลมล้มลง บางคนชักดิ้นทุรนทุราย ตน และเพื่อนบ้านที่พอมีความรู้เรื่องแพทย์แผนไทยอยู่บ้าง ช่วยกันนำมะพร้าวมาผ่า ให้เด็กๆ ดื่มน้ำมะพร้าวเป็นการช่วยล้างท้อง จากนั้นได้นำส่งสถานีอนามัยใกล้บ้าน เจ้าหน้าที่อนามัยระบุว่าเด็ก กินอาหารเป็นพิษ และเจ้าหน้าที่ได้ช่วยเหลือจนอาการปลอดภัย จึงตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าทุเรียนที่กิน เมื่อฉีกออกจะมีกลิ่นหอมหวลชวนรับประทาน แต่เมื่อดมใกล้ๆ จะพบว่ามีกลิ่นของสารเคมีอยู่ที่ผล และมีสีซีดผิดปกติ มั่นใจว่ามีสารตกค้างในทุเรียน หลังจากนั้นได้นำทุเรียนมาพบ ผู้ค้าที่แผงในตลาดค้าส่ง แจ้งเรื่องให้ทราบและขอคืนทุเรียนลอตนี้ แต่ผู้ค้าปฏิเสธการรับคืนสินค้า จึงตัดสินใจเข้าแจ้งความกับตำรวจ นายสิรภพได้นำใบเสร็จการซื้อสินค้า และฉีกทุเรียนให้ตำรวจตรวจสอบ ซึ่งเบื้องต้นพบว่า เนื้อทุเรียนเมื่อดมใกล้มีกลิ่นของสารเคมีอย่างรุนแรงจริง ทั้งนี้ทำให้บน สภ.เมืองนครศรีธรรมราชโชยคละคลุ้งไปด้วยกลิ่นทุเรียน นายสิรภพ ได้มอบใบเสร็จการซื้อขายไว้ให้ตำรวจเพื่อเป็นหลักฐานด้วย

นายสิรภพ กล่าวอีกว่า สาเหตุที่เข้าแจ้งความกับตำรวจ เนื่อง จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหาผู้รับผิดชอบไม่ได้ ประการสำคัญหากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ รับประทานทุเรียนลอตนี้เข้าไป แล้วอาเจียน หน้ามืด ชักดิ้นชักงอ ได้รับอันตราย จะเสียชื่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก

ทางด้าน พ.ต.ท.อนันต์ เปาะทองคำ พนักงานสอบสวน สภ.เมืองนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ได้ลงบันทึกประจำวันการแจ้งความของนายสิรภพไว้เป็นหลักฐานก่อน และจะต้องสอบปากคำเพิ่มเติม เนื่องจาก พื้นที่ที่เด็กกินทุเรียนแล้วมีอาการอาเจียน หน้ามืด เป็นลมและชักนั้น เหตุเกิดในท้องที่ อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช แต่นายสิรภพซื้อทุเรียนไปจากท้องที่ อ.เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งถือเป็นเหตุเกี่ยวเนื่อง อย่างไรก็ตาม จะได้เชิญผู้ค้าส่งที่ตลาดหัวอิฐมาสอบสวน ถึงที่มาของทุเรียนว่าได้มาอย่างไร และจะต้องส่งทุเรียนของกลางไปตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ด้วย

ผู้สื่อข่าว ได้เดินทางไปที่ตลาดค้าส่งผักและผลไม้ภาคใต้ (ตลาดหัวอิฐ) และสอบถามเรื่องนี้กับ นางจาย รัติพรหม อายุ 65 ปี อยู่บ้านเลขที่ 87 หมู่ 7 ต.โพธิ์เสด็จ อ.เมืองนครศรีธรรมราช ระบุว่า นายสิรภพ ได้ซื้อทุเรียนไปจากตนจริง และ เป็นลูกค้า หรือคู่ค้ากันมานานแล้วด้วย รู้ว่าส่งไปขายภูเก็ต ได้มาขอคืนและแจ้งเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้ทราบ แต่กรณี นี้ตนไม่รับคืน เพราะว่าไม่สามารจะรู้ได้ว่าทุเรียนที่ขายอยู่นั้น ลูกไหนหรือชุดไหนที่มีสารตกค้าง เนื่องจาก จะมีพ่อค้าไปรับซื้อมาจากชาวสวน นำมาส่งขายต่อให้ ถ้าจะแก้ปัญหาเรื่องสารตกค้างในผลไม้ ผู้เกี่ยวข้องต้องจัดการตั้งแต่ต้นเหตุ ไม่ใช่มาว่ากันที่ปลายเหตุ ตนค้าขายมาหลายสิบปีไม่เคยเจอเหตุการณ์อย่างนี้

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ที่มา
http://tnews.teenee.com/weird/46827.html
อ่าน : 138; มีคนตอบทั้งหมด : 0; Permalink: http://www.thaiblogonline.com/pajeab.blog?PostID=12152
http://www.thaiblogonline.com/pajeab.blog?PostID=12152
kimzagass
ตอบตอบ: 13/10/2010 7:43 am    ชื่อกระทู้:

[img]http://news.212cafe.com/images_cache/dailynews-12049077525334.jpg[/img









http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1&imgurl=http://ads.dailynews.co.th/news/images/2008/agriculture/2/28/155919_69768.jpg&imgrefurl=http://www.phtnet.org/news51/view-news.asp%3FnID%3D137&h=239&w=340&sz=16&tbnid=zUUKb4uvsZz8GM:&tbnh=84&tbnw=119&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%25AA%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1&zoom=1&q=%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1&hl=th&usg=__hI0WMeHU6rw5mOj1oRxK5i2eMpU=&sa=X&ei=O_60TPXTNYLUvQOUlfWCCg&ved=0CB4Q9QEwAQ&start=0#tbnid=AHVuPo-uTyqvzM&start=8
kimzagass
ตอบตอบ: 13/10/2010 7:31 am    ชื่อกระทู้:

ข้าว และ ส้มโอจากลุ่มน้ำปากพนัง จำหน่ายที่สิงคโปร์

ข้าว และ ส้มโอจากลุ่มน้ำปากพนัง ที่นำไปแสดงและจำหน่ายที่สิงคโปร์ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง และยังเปิดช่องทางจำหน่ายผลไม้ที่บางปีมีปัญหาล้นตลาดด้วย

ข้าว และ ส้มโอจากลุ่มน้ำปากพนัง ที่นำไปแสดงและจำหน่ายที่สิงคโปร์ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง และยังเปิดช่องทางจำหน่ายผลไม้ที่บางปีมีปัญหาล้นตลาดด้วย นายวันชัย ไชยวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยถึงความสำเร็จในการนำผลผลิตจากพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ซึ่งเป็นพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรง พระราชทานพระราชดำริ ในการดูแลและจัดระบบน้ำเพื่อการเกษตร ไปร่วมแสดงในงานแสดงสินค้าไทยที่ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 2-4 กันยายน 2553 ซึ่ง ผลผลิตทางการเกษตรที่นำไปประกอบด้วย ข้าวพันธ์พื้นเมืองของจังหวัดนครศรีธรรมราช เช่น ข้างสังข์หยด ข้าวกาบดำ ช้างเชี้ยง ข้าวเล็บนก เป็นต้น ซึ่งในส่วนของข้าวสังข์หยด ได้มีผู้ที่ได้รับไลเซ่นส์ นำเข้าข้าวสังข์หยดไปจำหน่ายแล้ว ทำให้เริ่มเป็นที่รู้จักของตลาด

แต่เนื่องจากราคาในประเทศก็อยู่ในระดับที่สูง การไปจำหน่ายต่างประเทศจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เข้าไปอีก จึงได้นำเสนอข้าวชนิดอื่น ๆ ให้เป็นที่รู้จักของผู้ประกอบการและผู้บริโภค โดยเน้นการนำเสนอ เรื่องของอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่ง สถานเอกอัครราชฑูตไทยประจำสิงคโปร์ได้มีการประสานงานกับผู้ประกอบการ มีผู้ได้รับไลเซ่นส์ให้นำเข้าข้าวจำนวน 3 รายให้ความสนใจ ในส่วนของ ส้มโอทับทิมสยาม จากลุ่มน้ำปากพนังที่ได้นำไปแสดง จำหน่ายในงานดังกล่าว ได้รับความชื่นชมชื่นชอบจากผู้บริโภคในเรื่องของรสชาติมาก เช่นเดียวกัน

รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า สิ่งที่อยู่นอกเหนือจากโปรแกรมในการเดินทางไปในครั้งนี้คือ การได้ มีโอกาสนำเสนอผลผลิตทางการเกษตรของชาวสวนผลไม้ไปยังผู้ประกอบการของสิงคโปร์ 2 ราย นั่นคือ เรื่องของ มังคุด เงาะ ทุเรียน และ ลองกอง ซึ่งเมื่อได้มีการนำเสนอถึงการปลูกผลไม้โดยเฉพาะมังคุดที่มีลักษณะเป็นการปลูกเกือบเหมือนธรรมชาติมาก และมีการประสานงานเพื่อการรับซื้อไปจำหน่ายยังประเทศสิงคโปร์ในปีหน้าด้วย

โดยในเดือนพฤศจิกายนนี้ ผู้ประกอบการจะเดินทางมาดูพื้นที่สวน กระบวนการผลิต ด้วยตนเองอีกครั้ง ซึ่งหากส่งออกไปยังสิงคโปร์วันละ 20 ตัน ก็จะทำให้ปริมาณผลผลิตได้กระจายออกนอกพื้นที่ เกษตรกรจำหน่ายได้ราคาดี คุณภาพชีวิตของเกษตรกรจะดีตามไปด้วย อย่างไรก็ตามยังคงเน้นเรื่องของการรักษาคุณภาพมาตรฐาน อาหารปลอดภัย และการรวมกลุ่มของเกษตรกร ด้วย : จิรา วงศ์สวัสดิ์

แหล่งข่าว : สวท.นครศรีธรรมราช
http://www.nakornsri.com/index.php?action=recent
kimzagass
ตอบตอบ: 13/10/2010 7:18 am    ชื่อกระทู้:

เกษตรนครฯ สัมมนาเกษตรกรเตรียมแก้ปัญหาผลไม้ล้นตลาด

เกษตร จัดสัมมนาเกษตรกรชาวสวนไม้ผล ตามโครงการบริหารจัดการสินค้าเกษตร ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะ 4 พืชหลัก คือ มังคุด ทุเรียน เงาะ และลองกอง คาดว่าจะมีผลผลิตรวมในปี 2553 ไม่ต่ำกว่า 1 แสน 4 หมื่นตันเศษ การสัมมนาในครั้งนี้เป็นการระดมสมองเพื่อเตรียมการแก้ไขปัญหาผลไม้ล้นตลาด
ในเชิงบูรณาการอย่างเป็นระบบ

นายยงยุทธ สุวรรณฤกษ์ เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า
สำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดประชุมสัมมนาเกษตรกรชาวสวนไม้ผลตามโครงการบริหารจัดการสินค้าเกษตร เพื่อแก้ไขปัญหาผลไม้ล้นตลาด ปี 2553 ณ ห้องประชุมอาคารกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2553

มีเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเข้าสัมมนาจำนวน 167 คน

เพื่อเป็นการชี้แจงทำความเข้าใจกับเกษตรกร ในการเตรียมความพร้อมในการผลิตผลไม้ให้มีคุณภาพ และเตรียมการบริหารจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การขนส่ง และการจัดหาตลาด ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ได้ประชุมและมีมติตกลงกันไว้

โดยการกำหนดเป็นแผนที่ชัดเจนและมอบหมายให้ สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานสหกรณ์จังหวัด สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานการค้าภายในจังหวัด ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร องค์การบริหารส่วนจังหวัด และสมาคมชาวสวนมังคุดจังหวัดนครศรีธรรมราช เตรียมการรองรับการจัดการผลผลิต ในปี 2553 นี้

ซึ่งคาดว่าจะมีผลผลิต เงาะประมาณ 15,000 ตัน มังคุดประมาณ 10,000 ตัน ทุเรียนประมาณ 3,000 ตัน และลองกองประมาณ 2,000 ตัน ผลผลิตจะออกสู่ตลาดในช่วงต้นเดือน กรกฎาคม – ปลายเดือนสิงหาคม 2553 นี้

ในการจัดสัมมนาในครั้งนี้นอกจากการให้ความรู้ทางวิชาการแล้ว ยังได้เชิญพ่อค้ามาพูดคุย ประสานงานเป็นการเบื้องต้น และจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง สมาชิกชาวสวน ทั้งเรื่องการผลิตและการตลาดด้วย เกษตรจังหวัดกล่าว

ส่วนนายประคอง ฤทธิรงค์ ประธานวิสาหกิจชุมชนไม้ผล ตำบลละอาย อำเภอฉวาง และ นายมณฑล ธราพร สมาชิก อบต.ละอาย และกรรมการวิสาหกิจชุมชนไม้ผล ตำบลละอาย ผู้เข้าสัมมนา ร่วมกันให้ข้อมูลว่า

ในปี 2552 กลุ่มฯ ได้ดำเนินการรับซื้อผลผลิต เงาะและมังคุดของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอฉวาง และอำเภอใกล้เคียง สามารถช่วยระบายสินค้า โดยเฉพาะเงาะรับซื้อได้ 7 แสนกิโลกรัม ในราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.50 บาท โดยใช้เงินทุนสำรองของกลุ่มฯ มาหมุนเวียน

ส่วนในปี2553 นี้ มีแผนงานที่จะรับซื้อ เงาะ มังคุด และลองกอง โดยจะเป็นการซื้อ-ขาย แบบ เน้นคุณภาพและจะต้องคัดเกรดทั้งหมด ส่วนตลาดปลายทางจะขายไปให้พ่อค้าในจังหวัดราชบุรี พิษณุโลก และกรุงเทพมหานคร เป็นหลัก

ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่องทางและโอกาสในการช่วยเหลือเกษตรกรโดยตรง และกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต ตามนโยบายของรัฐบาล ประธานวิสาหกิจชุมชนไม้ผล ตำบลละอาย กล่าวในที่สุด

__________________
NAKHON SI THAMMARAT
Historical City & Golden Pagoda

http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=855540&page=179
Yuth-Jasmine
ตอบตอบ: 13/10/2010 5:43 am    ชื่อกระทู้:

ไปในเมืองก่อน เดี๋ยวบ่ายมาบรรเลง จองที่ไว้ก่อน

ไอ้ยู้ดดดดด....ศิษย์ "คาราบาว"

ชาวสวน ชาวไร่.......เบี้ยล่างนายทุน

จริงครับเบี้ยล่างจริง ๆ ตลอดชาติยันลูกยันหลายเลยมั่งครับ
อ่านความคิดเห็นของลุงและเพื่อนหลาย ๆ ท่านแล้วก็เลยอยากจะ
แสดงความคิดเห็นกะเขาบ้าง

ถ้าท่านจะฝันหวานว่าวันข้างหน้าจะมีอะไรดี ๆ เกิดขึ้นก็ฝันต่อไปเถอะครับ
เพราะ "นรก" กำลังรอท่านอยู่ ชั่วชีวิตผม สิ่งที่พบเห็นก็คือ
เกษตรกรอย่างเรา ๆ ไม่ใช่เป็น "เบี้ยล่าง" ครับ แต่เป็น "ขี้ข้า" ต่างหาก
ไม่มีทางหรอกครับที่จะทำให้เกิดสิ่งดี ๆ ในสังคมเกษตรกรรมทุกวันนี้
ตราบใดที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองยังเป็นแบบนี้ ไม่ได้อคติน่ะ แต่มันเป็นความจริงที่เจ็บปวดครับ
ผมถามหน่อย หัวใจหลักของประเทศเราคืออะไรครับ "ภาคเกษตรกรรม" ใช่ไหมครับ
แต่ตลอดชีวิตผมหรือชีวิตใครในนี้อีกหลาย ๆ คน มีใครเห็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่มีอำนาจ
ให้ความสนใจอย่างจริงจังบ้างไหม ใครรู้วานบอกผมที

ว่ากันตั้งแต่ ยุคเริ่มเปลี่ยนแปลงจนมาถึงปัจจุบัน มีอะไรเปลี่ยนแปลงไหมครับ
ไม่มีหรอก นโยบายภาคเกษตร ท่านแขวนป้ายไว้หน้าห้องตัวโต ๆ ชัดเจนมากครับ
มีสองข้อพอแล้ว จำง่าย ท่องขึ้นใจได้สบาย

๑. สูเจ้าทั้งหลาย ช่วยเหลือตัวเองไปเถอะน่ะจ้ะ
๒. ไม่เข้าใจให้อ่านข้อ ๑ ซ้ำอีกหลาย ๆ รอบ


เป็นไงชัดไหมครับ อย่าหลอกตัวเองอีกเลย อ่านง่ายแต่ทำยากใช่ไหมล่ะพี่น้อง
แต่ถ้าไม่ทำก็ไม่มีอะไรดีขึ้นมาหรอกครับ

น่ะ ศักดิ์ศรีของเกษตรกรอย่างเรา ๆ ก็มีเยอะครับ เรียกมันกลับมา
ปิดหูปิดตาตัวเองก็เท่านั้น หวังลม ๆ แล้ง ๆ ก็เท่านั้น ไม่มีใครช่วยก็ช่วยตัวเองครับ
ตัวอย่างในหมู่พวกเรามีหลายท่านครับ ที่เห็นแสงสว่างแล้ว เป็นแนวทางที่ดีที่ควรเอาเป็นแบบอย่าง
ลุงก็ย้ำ ทำเหมือนเดิมแย่กว่าเดิม ปรับแนวทางใหม่ก็ยังไม่สายครับ

ศึกษาหาความรู้ทุกสำนักให้ชัดเจน เคี่ยวจนข้น ข้นจนคลัก เอามาผสมผสานกันครับ
เลือกทำ เลือกซื้อในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ได้ห้ามรวมกลุ่มน่ะครับ แต่ให้ตัวเราเองยืนให้มั่นคงเสียก่อนดีไหม
เรื่องกลุ่มก้อนก็จะตามมาเอง ถ้าทุกท่านพร้อมจะให้ เพราะในความเป็นจริง
มันรวมยากครับ เอาแต่ละคนให้ถึงฝั่งของตัวเองก่อนดีไหมครับ ผมไม่เถียงว่า
นกกระจาบหลายตัวช่วยให้หลุดตาข่ายนายพรานได้ แต่ถ้านกกระจาบแต่ละตัว
ขี้โรคหมดเรี่ยวหมดแรง รวมกันจะไหวไหม เอ้าใครว่าไงทักท่วงได้ครับ

อ่านแล้วเหมือนน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหลงเหลง แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็แค่ข้อคิดเห็น
ของคนบ้าอย่างผม ง่าย ๆ ครับ วิธีอะไรก็ได้ครับ ที่ทำให้ตัวเองอยู่รอดได้อย่าง
ยั่งยืน (มีคุณธรรมสักหน่อยก็ดีน่ะครับ)

แถวบ้านผม เขาว่า "เอาตัวเองให้รอดก่อนครับ" เอาแบบที่ให้นายทุน
เอาเปรียบเราให้น้อยที่สุด ผมเองก็พยายามทำอยู่ครับ
หลังจากนั้น ค่อยมามองกันอีกทีครับว่าจะรวมกลุ่มกันต่อไปอย่างไร

ถ้าอ่านแล้วไม่ถูกใจขอประทานโทษน่ะครับ ห่วงเพื่อน ๆ ทุกคน
แต่ขอห่วงตัวเองให้มากที่สุดก่อนครับ ถ้าตัวเองยังไม่รอดผมก็คงไม่สามารถ
ไปช่วยใครได้หรอกจริงไหมครับ

เนอะสร้างความเข้มแข็งให้ตัวเองก่อนอันดับแรกครับ
ง่ายแต่ยาก ผมก็เข้าใจสัจธรรมข้อนี้ครับ

ไอ้ยู้ดดดดด...ขะรับ
bombon
ตอบตอบ: 13/10/2010 12:07 am    ชื่อกระทู้:

ตอนนี้ จากที่ผมเห็นปัญหาจากการรวมกลุ่มเกษตรกรนะครับ คือว่า

ทางเกษตรกรรวมกันเมื่อไหร่ ทางล้งก็จะเล่นตัวเหมือนกัน เช่น การรวมกลุ่มของเกษตรกรสวนลำไยเกิดขึ้น ทางล้งลำไยก็จะรวมตัวและเล่นตัวในการซื้อลำไยจากชาวสวน (เนื่องจากมีทุนสูง ยอมขาดทุนเพื่อให้การรวมตัวของชาวสวนล้มลง) จนชาวสวนลำไยที่รวมตัวกันนั้นไม่กล้าที่จะต่อรองมากเกินไป (เนื่องจากไม่มีทุนในการต่อรอง เพราะถ้าคอยนาน จนผลผลิตร่วงหล่นเสียหายก็จะไม่มีกองทุนในการรับผิดชอบ ทำให้การรวมตัวไม่เป็นผล เพราะเบื้องต้นในกมลสันดานมนุษย์จะเป็นคนเห็นแก่ตัวเมื่อของเริ่มร่วงเสีย ขายได้เท่าไหร่ก็ต้องขาย เพราะเมื่อปล่อยให้เสียไปแล้วตรูจะเอาอะไรไปใช้หนี้...เขา.....ละ.....วะ่)



แนวทางแก้ไข :

1. อย่างน้อยต้องมีกองทุนไว้ป้องกันและชดเชย หลังล้งรวมตัวกันเพราะอย่างน้อยล้งจะไม่ยอมให้เสียหายได้นาน เพราะมีสัญญาทางบริษัทไว้ส่งออกไว้ (อย่างน้อยก็อุ่นใจได้

2.ให้คนอื่นคิดมั่ง
catcaty
ตอบตอบ: 12/10/2010 11:27 pm    ชื่อกระทู้:

หายไปไหนกันหมดพี่น้องเรา? ไม่มีใครต่อยอดเลย ทิ้งกระทู้ให้เดียวดายเลยนะนี่
หมึกครับผม
catcaty
ตอบตอบ: 10/10/2010 9:45 pm    ชื่อกระทู้:

ฝากถึงคุณ k500 ด้วยครับ เมื่อวาน 9/10/53 แม่บ้านบอกผมว่า มีคนโทรมาเรื่องจะมาดูลำไย พอดีแม่บ้านผมเขาไม่รู้เรื่องก็เลยสื่อสารกันไม่เข้าใจ

ผมเองก็อยู่ที่สวน ไม่รู้ว่าใช่คุณ k500 หรือเปล่า ? ถ้าใช่ก็ขอโทษด้วยครับ เอางี้ เบอร์มือถิอผม (089)098-8911 ครับ โทรคุยกันได้ครับ หรือจะมาเที่ยวก็ยินดี
kimzagass
ตอบตอบ: 08/10/2010 10:32 pm    ชื่อกระทู้:

Soup บันทึก:
เมื่อกี้ไปค้นในเว็บของลุงคิมมา สงสัยว่า ฮ.ม.เอ็นเอเอ เนี่ยทำหน้าที่อะไร เอาไว้ให้มันแตกรากใหม่เพื่อหาอาหารเลี้ยงลูกได้ดีหรือเปล่าครับ




1.
นอกจากนี้พืชบางชนิดออกรากได้ยาก แต่ถ้ามีการใช้ออกซินเข้าช่วยก็จะทำให้ออกรากได้ง่ายขึ้น

สารที่นิยมใช้ในการเร่งรากคือ เอ็นเอเอ (NAA) และไอบีเอ (IBA) ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้จัดว่าเป็นออกซินอย่างอ่อน มีพิษต่อพืชน้อย

รากที่เกิดขึ้นจากการใช้สาร 2 ชนิดนี้จึงมักไม่มีอาการผิดปกติ แต่ถ้าใช้สารพวก 2,4-ดี หรือ 4-ซีพีเอ ซึ่งมีฤทธิ์ของออกซินสูง จะทำให้รากผิดปกติ คือกุดสั้น รากหนาเป็นกระจุก ประโยชน์ของออกซินอีกข้อหนึ่งคือ ใช้ป้องกันผลร่วงได้ในพืชหลายชนิด เช่น มะม่วง มะนาว ส้ม ลางสาด ขนุน มะละกอ เนื่องจากออกซินมีคุณสมบัติยับยั้งการสร้างรอยแยก (abscission layer) ในบริเวณขั้วผลได้ อย่างไรก็ตาม ออกซินไม่สามารถยับยั้งการร่วงของผลได้ในบางกรณี เช่น การร่วงเนื่องจากโรคและแมลงเข้าทำลาย การร่วงของผลที่ไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น หรือการร่วงเนื่องจากความผิดปกติของผล ออกซินที่นิยมใช้ในการป้องกันการร่วงของผลคือ เอ็นเอเอ, 2,4-ดี และ4-ซีพีเอ แต่จะไม่ใช้ ไอบีเอ เนื่องจาก ไอบีเอ ก่อให้เกิดพิษกับใบพืช ทางด้านการเร่งดอกนั้น อาจกล่าวได้ว่า ออกซินไม่มีคุณสมบัติทางด้านนี้โดยตรง

ในต่างประเทศเคยมีการใช้ เอ็นเอเอ เพื่อเร่งดอกสับปะรด ซึ่งก็ได้ผลดีพอสมควร ต่อมาจึงพบว่าการที่สับปะรดออกดอกได้นั้น เกิดขึ้นจากการที่ เอ็นเอเอ ไปกระตุ้นให้ต้นสับปะรดสร้างเอทิลีนขึ้นมา และเอทิลีนนั้นเองเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดดอก

ผลทางด้านอื่น ๆ ของออกซินได้แก่ การเปลี่ยนเพศดอก ซึ่งปัจจุบันชาวสวนเงาะในประเทศไทยใช้กันอยู่ทุกแห่ง โดย

ใช้ เอ็นเอเอ พ่นไปที่ช่อดอกเงาะบางส่วน ทำให้ช่อดอกที่ถูกสารเปลี่ยนจากดอกสมบูรณ์เพศที่ทำหน้าที่ตัวเมียกลายเป็นดอกตัวผู้ขึ้นมาแทน ซึ่งทำให้เกิดการถ่ายละอองเกสรและเกิดการปฏิสนธิขึ้นได้


การใช้ออกซินความเข้มข้นสูง ไม่ว่าชนิดใดก็ตาม มักจะก่อให้เกิดความเป็นพิษกับพืช เช่น ใบร่วง ต้นชะงักการเติบโต จนกระทั่งทำให้ต้นตาย ดังนั้นจึงมีการใช้สาร 2,4-ดี ซึ่งมีฤทธิ์ของออกซินสูงมาก เป็นยากำจัดวัชพืชอย่างกว้างขวาง

http://www.doae.go.th/library/html/detail/hormone/hormone3.htm



2.
ฮอร์โมน เอ็น.เอ.เอ. (N.A.A)
ฮอร์โมนเอ็นเอ.เอ. ที่ใช้ เร่งการออกดอกของมะม่วง นี้มีชื่อการค้าหลายอย่างเช่น แพลนโนฟิกซ์ แพลนนิโมนศ์ฟิกซ์แพนเตอร์ เป็นต้น หลักการทำงานของฮอร์โมนชนิดนี้ คือ เมื่อฉีดไปที่ต้นมะม่วงแล้วจะ ส่งเสริมให้มะม่วงมีการสังเคราะห์เอทธิลีน ได้มากขึ้น และเอทธิลีนนี้เองที่จะเป็นตัวไปกระตุ้นให้มะม่วงออกดอก

วิธีปฏิบัติ ให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอ.เอ. ที่มีชื่อการค้าว่า แพลนโนฟิกซ์ อัตรา 3-5 ซี.ซี. ผสมน้ำประมาณ 20 ลิตร และผสมกับโปแตสเซียมไนเตรทอัตรา 300-500 กรัม เมื่อผสมเสร็จแล้วให้การทำการฉีดพ่นใบมะม่วงที่แก่เต็มที่ (ซึ่งเป็นใบที่แตกจากใบอ่อนครั้งสุดท้าย) ก่อนถึงฤดูกาลออกดอกของมะม่วงตามธรรมชาติ (เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์) จะทำให้มะม่วงแทงช่อดอกให้เห็นภายหลังจากฉีดสารไปแล้วประมาณ 12 วัน วิธีการนี้จะทำให้มะม่วงออกดอกได้เร็วกว่าปกติถึง 30-40 กรัม

http://www.it.mju.ac.th/dbresearch/organize/extention/book-fruit/fruit043.htm


3.
การจัดการเพื่อส่งเสริมการติดผล
: การช่วยให้เงาะผสมเกสรได้ดีขึ้น โดยการเพิ่มปริมาณเกสรตัวผู้ ทำได้หลายวิธี เช่น
- พ่นฮอร์โมนพืช เมื่อช่อดอกส่วนใหญ่ของต้นบานได้ร้อยละ 5 ให้ฉีด พ่นช่อดอกบริเวณส่วนบนของทรงพุ่มด้วยฮอร์โมน เอ็น เอ เอ ในอัตรา 2 ซีซี/น้ำ 20 ลิตรประมาณ 4 – 5 จุด/ต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติโดยทั่วไป

http://www.talaadthai.com/web/resource/detail.asp?groupid=13&subjectid=58&pageno=


4.
ฮอร์โมน เอ็น.เอ.เอ. หรือที่มีขายกันตามท้องตลาดในชื่อการค้าว่า แพลนโนฟอกซ์ใช้ในอัตรา 50 ซี.ซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร และปุ๋ยยูเรีย 4-5 กิโลกรัม หยอดไปที่ยอดสับปะรด อัตรา 60 ซี.ซีต่อต้น สามารถบังคับให้สับปะรดออกดอกก่อนฤดูได้เช่นกัน

http://www.it.mju.ac.th/dbresearch/organize/extention/book-fruit/fruit043.htm



5.
หลังจากที่องุ่นแทงช่อดอกออกประมาณ 16-17 วัน เกษตรกรอาจจะเพิ่มคุณภาพขององุ่น โดยใช้ฮอร์โมน จิบเบอเรลลิน, เอ็น.เอ.เอ. หรืออาหารเสริมทางใบ เพื่อยืดช่อดอกองุ่นให้ยาวใหญ่ขึ้น แต่การใช้ฮอร์โมนยืดช่อดอก เกษตรกรจะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และต้องรู้จักวิธีการใช้ เพราะหากใช้ผิดพลาดแล้วจะเกิดผลเสียหายต่อดอกและผลองุ่น เช่น ดอกยาวเกินไป ดอกร่วง หรือทำให้องุ่นไม่ติดผลได้

http://www.xn--12ca4dscc8ayd2f.com/tag/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%94%E0%B8%B9/


พอมั้ง.....ขี้เกียจแล้ว (ว่ะ).........



ประเด็นวิเคราะห์ :
ฮอร์โมนตัวหนึ่ง มิได้มีประสิทิภาพเฉพาะเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวต่อพืชชนิดเดียว เท่านั้น

ฮอร์โมนตัวเดียวกันแต่มีประสิทธิภาพแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ชนิดพืช. ระยะพัฒนาการ. ความสมบูรณ์สะสมหรือความพร้อม. เป็นหลัก

ในธรรมชาติไม่มีตัวเลขและไม่มีสูตรสำเร็จ ฉันใด ฮอร์โมนก็มิได้เจาะจงเฉพาะประสิทธิภาพเพียงอย่างเดียว ฉันนั้น



ค้นคว้ามากๆ แล้วเลือกใช้ตามความเหมาะสม
ลุงคิมครับผม
catcaty
ตอบตอบ: 08/10/2010 9:58 pm    ชื่อกระทู้:

kimzagass บันทึก:
ลำไย (ไม้ผลยืนต้นทุกชนิด) ช่วงออกดอก (ดอกตูม) แล้วมีฝน ถ้าต้นขาด หรือไม่ถึง สูตร "บำรุงดอก" สลับด้วย "แคลเซียม โบรอน" เสริมด้วย "ฮ.ม.เอ็นเอเอ." ซัก 1-2 รอบ จะไม่รอดเอานะ


บอกหน่อยเซ่ ได้บำรุงอะไร ยังไง บ้างหรือเปล่า



พูดจั้งงงง มือใหม่....มือใหม่..... เอาแต่พูดแล้วเมื่อไหร่จะมือเก่าได้ซะที
ลุงคิมครับผม

อ้า...ไม่ขาดครับ ขั้นตอนการบำรุงมีอยู่ในเว็ปลุงแล้วนี่ครับ ตั้งแต่แทงดอกนี่ทั้ง ฮ.ม. แคลเซียม +กันหนอน เพลี้ยไฟ +สูตรบำรุงดอก 7 วันฉีดไม่มีคลาดเคลื่อน ผมทำบันทึกตารางไว้ครับ ที่จะมีปัญหาก็ฝนนี่แหละไม่รู้จะหมดหรือยัง ?ถ้าชุกตอนดอกบานคงงานเข้าแน่นอนใช้สูตรผสมเทียมแซมเข้าไปด้วยแหละกันพลาดไม่รู้ว่าจะได้ผลหรือเปล่า? ก็อยากเป็นมือเก่านะครับที่กลัวคือมือจะขาดซะก่อนนี่แหละ
หมึกครับผม
Soup
ตอบตอบ: 08/10/2010 9:34 pm    ชื่อกระทู้:

เมื่อกี้ไปค้นในเว็บของลุงคิมมา สงสัยว่า ฮ.ม.เอ็นเอเอ เนี่ยทำหน้าที่อะไร เอาไว้ให้มันแตกรากใหม่เพื่อหาอาหารเลี้ยงลูกได้ดีหรือเปล่าครับ
Soup
ตอบตอบ: 08/10/2010 9:19 pm    ชื่อกระทู้:

แหมเมื่อกี้พิมพ์เสียยาว หายไปเองซะงั้น งั้นตัดให้เหลือสั้น ๆ ละกัน

ถ้าลุงว่าผมพูดผิดผมคงต้องไปดูตัวจริง ตอนนี้ไปไหนไกลไม่ได้ เมียท้อง 5 เดือนกว่า พร้อมเมื่อไหรจะติดต่อไปครับ Very Happy
kimzagass
ตอบตอบ: 08/10/2010 8:52 pm    ชื่อกระทู้:

ลำไย (ไม้ผลยืนต้นทุกชนิด) ช่วงออกดอก (ดอกตูม) แล้วมีฝน ถ้าต้นขาด หรือไม่ถึง สูตร "บำรุงดอก" สลับด้วย "แคลเซียม โบรอน" เสริมด้วย "ฮ.ม.เอ็นเอเอ." ซัก 1-2 รอบ จะไม่รอดเอานะ


บอกหน่อยเซ่ ได้บำรุงอะไร ยังไง บ้างหรือเปล่า



พูดจั้งงงง มือใหม่....มือใหม่..... เอาแต่พูดแล้วเมื่อไหร่จะมือเก่าได้ซะที
ลุงคิมครับผม
catcaty
ตอบตอบ: 08/10/2010 8:28 pm    ชื่อกระทู้:

ผมเองก็มือใหม่ซิงๆเลยนะครับคุณ k500

ผ่านการทำลำไยมาบ้างนิดหน่อยถ้าจะมาเที่ยวที่สวนก็ยินดีเลยครับ

ตอนนี้ลำไยที่สวนกำลังแทงช่อดอกใกล้จะบานแล้วทำไว้สองร้อยกว่าต้น

ผมอยู่ สะตอน สอยดาว
โทรคุยกันบ้างก็ได้ครับ (039)394-027
kimzagass
ตอบตอบ: 07/10/2010 9:42 pm    ชื่อกระทู้:

Soup บันทึก:

...... ลุงคิมเป็นคนดี มีปณิธานในการช่วยเหลือประเทศไทย ช่วยเหลือเกษตรกรไทย ลุงคิมปิดทองหลังพระ (ไม่คุยโม้โอ้อวดตัวเองว่า ตัวเองทำเพื่อผู้อื่นอย่างไร) ทำไป ทำไป ทำไปเรื่อย ๆ ผมพูดถูกหรือเปล่าครับลุง




ไม่ใช่ .... ไม่จริง .... ไม่ถูกต้อง ...... ยืนยันหัวเด็ดตีนขาด
Soup
ตอบตอบ: 07/10/2010 8:56 pm    ชื่อกระทู้:

ผมอยู่พญากำพุช จากทับไทรมา 9 กิโลเมตร ถ้ามาจากทับไทรอยู่ขวามือเลยหลัก ก.ม.9 มา 200 เมตร หน้าสวนหญ้ารก ๆ มีต้นสัก คนที่มาครั้งแรกมักจะเลยครับ 0๘๖-๓0๑-๔๒๖๑

ผมไม่ได้จบเกษตร ไม่เก่ง และรู้น้อย แต่พยายามค้นคว้าและทดลองสิ่งรอบ ๆ ตัวที่จะนำมาเป็นปัจจัยการผลิตได้ ถ้าจะมาเยี่ยมชมก็ทำใจหน่อยนะครับ หญ้าเยอะหน่อย Smile

k500 บันทึก:
ผมพึ่งกลับมาอยู่ที่บ้านแฟนได้ปีเดียว (ลำไยของผมอายุ 3 ปีแล้ว ยังไม่เคยให้ผลผลิต) ยังไม่มีความรู้เรื่องการเกษตรเลย พึ่งเริ่มศึกษาจากเวปลุงคิม และอ่านกระทู้ ของคุณcatcaty ได้ความรู้มากเลยครับ (ผมก็อยู่โป่งฯครับ เลยคลองขนุนไปหน่อย)


ผมเคยได้หนังสือพ็อคเก็ตบุคชื่อ "กล้อมแกล้มทำเอง" และ "ภูมิปัญญาพื้นบ้าน" มาจากเพื่อนของอาม่าของผม เป็นหนังสือที่ให้เนื้อหาสาระเกี่ยวกับการเกษตรมาก ๆ มองหาชื่อคนเขียนคือ "คิมซากัสส์" เอ...ใครหว่า ชื่อคิม.นี่เป็นคนเกาหลีหรือเปล่า ตอนนั้นที่สวนไม่มีอินเตอร์เน็ต ไม่นานมานี้ได้ลองค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับลำไยก็มาเจอเว็บของลุงคิม ก็เลย "อ๋อ" เจอแล้ว คิม ซา กัสส์. อยู่ที่นี่เอง ก็เลยอ่าน ๆ ๆ ...... ลุงคิมเป็นคนดี มีปณิธานในการช่วยเหลือประเทศไทย ช่วยเหลือเกษตรกรไทย ลุงคิมปิดทองหลังพระ (ไม่คุยโม้โอ้อวดตัวเองว่า ตัวเองทำเพื่อผู้อื่นอย่างไร) ทำไป ทำไป ทำไปเรื่อย ๆ ผมพูดถูกหรือเปล่าครับลุง

ตอนนี้เมียท้อง 5 เดือนครึ่ง ผมไปไหนไม่ได้ไกล ถ้าคลอดแล้วมีคนมาช่วยดูว่าจะไปหาลุงคิมอยู่นี่แหละ
eawbo
ตอบตอบ: 07/10/2010 12:53 pm    ชื่อกระทู้:

คิดง่ายทำยาก

การจะสร้างราคาแน่นอนต้องรวมเป็นกลุ่ม

พอรวมเป็นกลุ่มแล้วคนในกลุ่มต้องต้องคิดว่าแต่ละคนพร้อมจะเสียสละอะไร ข้อนี้ทำยากมากเพราะแต่ละคนส่วนใหญ่จะคิดแต่ผลประโยชน์ที่จะได้รับ

เมื่อไม่พร้อมเสียสละจะไปต่อลองราคากลับใคร มีแต่เวลาราคาดีก็เล่นตัวยังไม่ขาย แต่พอราคาตกก็แย่งกันขายราคาก็ยิ่งตกเร็วขึ้น

จะเล่าเรื่องการรวมกลุ่มของผู้เลี้ยงปลาดุกเมื่อประมาณ 25 ปีที่แล้ว สมัยนั้นปลาดุกที่เลี้ยงเป็นปลาดุกด้าน มีแหล่งเพราะพันธุ์อยู่แถวบางงัว บ้านระกาด สองครอง ฉะเชิงเทรา แถบสุพรรณเคยลองนำไปเพราะพันธุ์แต่ก็ไม่ประสพความสำเด็จ ตอนนั้นผมก็รวมกลุ่มกับเขาด้วย ในกลุ่มมีประมาณ 20 ราย เป็นผู้เลี้ยงรายใหญ่ทั้นนั้น ผู้เลี้ยงที่มารวมกลุ่มกันมาจากทางสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และผู้เลี้ยงใหญ่อันดับ 1 อยู่ที่สารายา นครปฐม ขาดแค่ผู้เลี้ยงอันดับ 2 ที่อยู่สองพีน้องสุพรรณบุรี มีการประชุมกันเดือนละครั้ง การจะขอราคาขึ้นกับพ่อค้าคนกลางแต่ละครั้งไม่ใช้ทำง่าย ๆ ส่วนใหญ่จะเรียกราคาได้ก็ช่วงหน้าเล้งประมาณเดือน เม.ย-กย.หลังจากนั้นราคาก็จะตก เพราะปลารุ่นใหม่เริ่มโตพอออกตลาดได้ ช่วงนี้พ่อค้าคนกลางจะไปจับปลากับผู้เลี้ยงรายล็กซึ่งมีจำนวนมากทำให้ราคาตก โดยการผสมโรงของผู้เลี้ยรายใหญ่ที่รวมกลุ่มกัน ทำให้ราคาตกเร็วขึ้น พอเข้าหน้าเล้งของปีต่อไปทางกลุ่มถึงจะเรียกราคากับพ่อค้าคนกลางใหม่ รวมกลุ่มกันได้ 5-6 ปี ก็เกิดปลาดุกลูกผสม บิ๊กอุย เป็นการผสมระหว่างพ่อปลาดุกรัสเซียกับแม่ปลาดุกอุย ตัวปลาดุกลูกผสมบิ๊กอุยเพราะพันธุ์ได้จากเหนือสุดยันใต้สุด เพราะพันธุ์ได้ทั้งปีทำให้การเลี้ยงปลาดุกไม่มีรุ่นมีปลาใหม่ออกมาทั้งปี หลังจากปลาดุกบิ๊กอุยเกิดประมาณ 3 ปี กลุ่มผู้เลี้ยงปลาดุกก็แตก เพราะผู้เลี้ยงปลาดุกมีมากและขยายไปทั้วประเทศจนทางกลุ่มไม่สามารถต่อลองกับพ่อค้าคนกลางอีก

และนี่คือสาเหตุที่ทำให้ปลาดุกด้านหายไปจากตลาด ช่วงสิบกว่าปีมานี้ไม่เคยเห็นปลาดุกด้านเลยไม่รู้หายไปไหนหมด ความจริงปลาดุกด้านเนื้อไม่เละผัดแกงน่ากินกว่าปลาดุกบิ๊กอุย เวลานำไปย่างเนื้อปลาดุกบิ๊กอุยก็หยาบไม่ละเอียดน่ากินเหมือนปลาดุกอุย
k500
ตอบตอบ: 06/10/2010 11:51 pm    ชื่อกระทู้:

การรวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อสร้างตลาด สร้างอำนาจที่จะต่อรองกับนายทุน หรือพ่อค้าคนกลาง ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ และเป็นไปไม่ได้อีกนาน (เท่าไหร่ก็ไม่รู้) เกษตรกรแต่ละราย ย่อมมีปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ที่แตกต่างกัน การจะรวมกลุ่มได้นั้น สิ่งที่เกษตรกรทุกคนต้องมี คือ

..... ความคิดดที่เหมือนกัน
..... มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน และ
..... พร้อมที่จะก้าวเดินไปพร้อมๆกัน

แต่ถ้าเกษตรกรมีปัจจัยพื้นฐานที่ต่างกัน ปัจจัยเหล่่านั้นจะเป็นตัวแปร ที่ส่งผลให้ไม่สามารถรวมเป็นกลุ่มได้ ตัวแปรยิ่งมาก ปัญหายิ่งเยอะ โอกาสที่จะรวมกลุ่มได้ยิ่งลดน้อยลง

ยกตัวอย่าง กลุ่มของผมมีสมาชิก 10 คน คือ นาย 1-นาย 10ในกลุ่มนี้ นาย 10 เป็นคนที่ชอบเล่นการพนันมาก (ที่ผมพบมาชาวสวนส่วนใหญ่ ชอบเล่นการพนันมาก เรียกได้ว่าเป็นกิจกรรมนันทนาการ ทั้งในยามว่างและไม่ว่าง) เล่นแต่ละครั้งเสียเงินเป็นแสน

ไม่มีเงินลงทุนในสวน ลำพังที่กู้สหกรณ์แต่ละปีก็ต้องลุ้นกันตัวโก่ง กว่าจะส่งคืนได้หมด

ก็ได้นายทุนนี่แหละครับยื่นมือเข้ามาช่วย พร้อมคำมั่นสัญญาว่า "ผลผลิตปีนี้ขายให้ผมก็แล้วกัน เหลือเท่าไหร่เดี๋ยวคืนให้ ขาดเท่าไหร่ค่อยว่ากัน" ซึ่งสมาชิกในกลุ่มเองคงไม่มีใครมีปัญญาที่จะช่วยได้ (คนประเภทนี้คงไม่มีใครอยากช่วย) เพราะแต่ละคนก็ลูกค้าสหกรณ์ทั้งนั้น และถ้าเกิดว่า นาย 10 มีสวนเป็นร้อยไร่ ส่วนคนอื่นมีกันแค่คนละ 5 ไร่ ก็เข้าทางนายทุนเลยครับ

พวกนายทุนเขาก็คงไม่โง่หรอกครับ อะไรที่เราจะได้ประโยชน์แล้วเขาเสียประโยชน์ ผมว่าเขาไม่ให้มันเกิดขึ้นได้หรอกครับ อย่างที่ลุงคิมว่า "น้ำไม่พึ่งเรือ เสือไม่พึ่งป่า" ทุกวันนี้เลยมีแต่เราเสียประโยชน์อยู่ฝ่ายเดียว

แต่ผมก็เห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องการรวมกลุ่ม อยากให้มันเกิดขึ้นจริง เพราะผมก็อยากเป็นคนหนึ่งในกลุ่มด้วย

คุณsoup กับคุณcatcaty อยู่โป่งฯ แถวไหนครับ พอจะระบุพิกัดให้แคบลงหน่อยได้ไหมครับ อยากหาโอกาสไปชมแปลงลำไยบ้าง ผมก็เป็นคนหนึ่งครับที่ทำสวนลำไย

ผมพึ่งกลับมาอยู่ที่บ้านแฟนได้ปีเดียว (ลำไยของผมอายุ 3 ปีแล้ว ยังไม่เคยให้ผลผลิต) ยังไม่มีความรู้เรื่องการเกษตรเลย พึ่งเริ่มศึกษาจากเวปลุงคิม และอ่านกระทู้
ของคุณcatcaty ได้ความรู้มากเลยครับ (ผมก็อยู่โป่งฯครับ เลยคลองขนุนไปหน่อย)
kimzagass
ตอบตอบ: 06/10/2010 5:57 am    ชื่อกระทู้:

ใครมีความเห็นเป็นอื่นอีกไหม ?

เกษตรกรไทย รวมกลุ่มได้ จริงๆหรือ ?

ที่นี่ประเทศไทย อะไรๆ ก็แบบไทยๆ เพราะฉนั้นการรวมกลุ่มก็ต้องรวมกลุ่มแบบ
ไทยๆ แล้วมันเป็นยังไงล่ะ รวมกลุ่มแบบไทยๆ น่ะ


เสนอแนะหน่อยน่า พวกเรา....
ลุงคิมครับผม
Soup
ตอบตอบ: 05/10/2010 9:15 pm    ชื่อกระทู้:

Catcaty บันทึก:
ที่จริงบ้านเราน่าจะมีตั้งนานแล้วนะครับสหกรณ์ชาว สวนลำไยนี่ คนเก่งๆ อำเภอเรามีตั้งเยอะ หรือคนเก่งๆ บ้านเราเป็นคนของ "ล้ง" ลำไยหมดแล้วครับคุณsoup


ยอมรับครับว่ามีคนเก่ง ๆ อยู่กับล้งเยอะ ผมเองอยู่โป่งน้ำร้อนมาได้ 4 ปี กับ 8 เดือนแล้ว มาซื้อที่เขา ปีนี้ทำลำไยเป็นปีแรก คนที่ช่วยให้คำแนะนำการทำลำไยกับผมก็ทำงานให้กับล้งเหมือนกัน เป็นพี่ที่เก่งเรื่องลำไยคนนึง เขาเป็นคนดี คอยช่วยเหลือคนอื่นอยู่ตลอด เคยคุยกัน เขาบอกว่าล้งนี้เป็นล้งที่ดี ไม่เอาเปรียบชาวสวน เขาเลยเข้าไปช่วย

ผมว่าพ่อค้าที่ดียังพอมีอยู่แต่มีอยู่น้อยและเรายังไม่ได้เจอเขาแค่นั้นเองครับ

Kimsugus บันทึก:
รวมกลุ่ม....รวมกลุ่ม....รวมกลุ่ม.....เพื่อสร้าง ตลาด ของเกษตรกรไทย เป็นเรื่องเพ้อฝัน ฝันกลางวัน ฝันกลางฤดูฝน ฝันลมๆแล้งๆ ฝันสลาย

เกษตรกรไทยรวมกลุ่มเพื่ออย่างเดียวเท่านั้น.....ค้ำประกันเงินกู้ ไงล่ะ

เกษตรกรไทยรวมกลุ่ม ...... มือขวาเช็คแฮนด์ แต่มือซ้ายถือมีดซ่อนไว้ข้างหลัง

มันต้องรวมกลุ่มคนดีก่อนครับลุง จากกลุ่มเล็ก ๆ(เหมือนที่ลุงทำที่ไร่กล้อมแกล้มนั่นแหละ) แล้วค่อยขยายออก พูดไปก็ไม่มีน้ำหนัก ทำให้สำเร็จก่อนแล้วค่อนมาเถียงกับลุงดีกว่า ขอเวลาสัก 5 ปี ^_^
kimzagass
ตอบตอบ: 05/10/2010 9:56 am    ชื่อกระทู้:

รวมกลุ่ม....รวมกลุ่ม....รวมกลุ่ม.....เพื่อสร้างตลาด ของเกษตรกรไทย เป็นเรื่องเพ้อฝัน ฝันกลางวัน ฝันกลางฤดูฝน ฝันลมๆแล้งๆ ฝันสลาย

เกษตรกรไทยรวมกลุ่มเพื่ออย่างเดียวเท่านั้น.....ค้ำประกันเงินกู้ ไงล่ะ

เกษตรกรไทยรวมกลุ่ม ...... มือขวาเช็คแฮนด์ แต่มือซ้ายถือมีดซ่อนไว้ข้างหลัง



เกษตกรที่มีการรวมกลุ่มได้เหนียวแน่นที่สุด คือ เกษตรกรญี่ปุ่น - ไต้หวัน .... เป้าหมายของเขา คือ รวมกันเพื่อควบคุมปริมาณผลผลิต ราคา คุณภาพ และอื่นๆ ที่ยังประโชยน์ต่อกลุ่มอย่างแท้จริง บูรณาการ และยั่งยืน ในการผลิตแล้วขายต้องได้กำไร อย่างน้อย 30% ซึ่งถือเป็นหลักสากลทางการค้าอยู่แล้ว คราใดที่ผลผลิตเกษตรล้นตลาด เกษตรกรจะ "ร่วมใจ" ทลายทิ้งเพื่อให้ผลผลิตนั้นขาดตลาด เคยมีที่รัฐบาลขอร้องให้กลุ่มลดราคาลงมาบ้าง แต่เกษตกรไม่ยอม บอกว่า "ขาดทุน" จะลดได้อย่างไร



ในประเทศไทยก็เคยมี แต่ไม่ใช่รวมกลุ่ม เป็นการทำคนเดียว ทำให้ผลผลิตนั้นขาดตลาด บริษัทยักษ์ใหญ่ เคยขายลูกไก่ ปกติตัวละ 3 บาท (สมมุติ) จู่ๆเกิดราคาตกลงมาเหลือตัวละ 2 บาทหรือต่ำกว่า คิดดู ลูกไก่ล็อทละเป็นล้านตัว รวมแล้วเป็นเงินเท่าไหร่ บริษัทยักษ์ใหญ่แก้กลไกการตลาด โดยเอาลูกไก่ไป "ทิ้งทะเล" นับล้านตัว ผลรับคือ ลูกไก่ขาดตลาด คราวนี้บริษัทยักษ์ใหญ่ขึ้นราคาเป็นตัวละ 4 บาท แบบนี้เขาขาดทุน หรือได้กำไร

เกษตรกร "กลุ่มหน่อไม้ฝรั่ง" ส่งบริษัทราคาประกัน กก.ละ 30 บาท (สมมุติ) ซึ่งราคาประกันนี้ผู้ปลูกหนอไม้ฝรั่งยอมรับ (อยู่ได้-ได้กำไรงาม) บางคราวหน่อไม้ฝรั่งในท้องตลาดราคาแพงขึ้น ตก กก.ละ 40 บาท (สมมุติ) ปรากฏว่าเกษตรกรผู้มีสัญญากับบริษัท แอบเอาหน่อไม้ฝรั่งไปขายในตลาด แล้วลดยอดส่งที่เคยส่งให้บริษัทคู่สัญญาลง แบบนี้ให้บริษัทคู่สัญญาเสียหายไหม ? ..... แต่คราวที่ราคาหน่อไม้ฝรั่งในตลาดลง เหลือ กก.ละ 20 บาท (สมมุติ) เกษตกรนำผลผลิอตมาขายให้บริษัทคู่สัญญา บริษัทก็ยังคงรับซื้อในราคา กก.ละ 30 บาท ตามสัญญาเหมือนเดิม ทั้งๆที่รู้ว่าขาดทุน บริษัทรับซื้อยอมทำตามสัญญา เพื่อรักษาสายพันธ์ซื้อขายให้คงอยู่ แบบนี้บริษัทรับซื้อขาดทุนไหม ? ..... แบบนี้เขาเรียกว่า "น้ำไม่พึ่งเรือ เสือไม่พึ่งป่า" คิดดู ถ้าไม่มีบริษัทรับซื้อ แล้วเกษตรกจะเอาไปขายที่ไหน ในขณะเดียวกัน บริษัทรับซื้อก็ได้ให้ราคาจนเป็นที่จุใจแล้ว ครั้นถึงคราวที่เกษตรกรต้อง "ขาดทุนกำไร" บ้าง เพื่อให้บริษัทได้กำไรที่จะยืนหยัดสู้กับสภาวะตลาดโลกได้ เกษตรกรกลับไม่ยอม อีหร็อบนี้เขาเรียกว่า "เอาแต่ได้กับได้" สุดท้ายบริษัทรับซื้อเจ๊ง เลิกธุรกิจรับซื้อหน่อไม้ฝรั่ง ความเจ็บปวดก็ตกอยู่กับเกษตรกรผู้ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง..... หลายบริษัทรับซื้อหน่อไม้ฝรั่งเพื่อส่งออกต้องจำใจเลิกธุรกิจ เพราะความไม่ยอมเสียเปรียบบ้างเพียงบางครั้งบางคราวตามสภาวะตลาดโลกของเกษตรกร ตัวอย่างแบบนี้เคยมีให้เห็น

อีกหลายๆ กรณี ที่เคยเจอะเจอมา.....




กล่าวโทษแต่เขา เคยโทษตัวเราบ้างหรือไม่
ลุงคิมครับผม
catcaty
ตอบตอบ: 04/10/2010 10:20 pm    ชื่อกระทู้:

ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งที่แก้ได้ยากมากๆ ของชาวสวนก็เรื่อง "ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน" ของชาวสวนนี่แหละครับคุณsoup

แต่ก็ต้องเห็นใจและเข้าใจพวกเราชาวสวนด้วย จุดอ่อนของพวกเรามีเยอะทั้งขาดทุนทรัพย์ที่จะลงทุน ทั้งขาดความมั่นใจในกลไกตลาด ฯ หลายๆ ปัจจัยทำให้ต้องตกเป็นเบี้ยล่างนายทุน

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งในแนวทางสหกรณ์ ถ้าทำได้ต้องแก้ปัญหานี้ได้อย่างแน่นอน ผมเองเป็นคนพื้นที่ อ.โป่งน้ำร้อน สอยดาว อยู่ที่นี่มา 30 กว่าปี เมื่อก่อนสักเมื่อ 10-20 ปี ก่อนชาวสวนชาวไร่ที่นี่เป็นทาสนายทุนจนโงหัวไม่ขึ้น เขาได้ทั้งกำไรจากการขายของให้เรา +ซื้อของจากเรา +ดอกเบี้ย พวกเราทำกันไปทำกันมาที่ดินก็หลุดเป็นของนายทุน (ที่ดินพ่อผมด้วย) พระเอกที่เข้ามาช่วยพวกเราเอาไว้ก็คือ สหกรณ์โป่งน้ำร้อน

ผมเชื่อว่าชาวสวนชาวไร่ในเขตนี้ส่วนใหญ่ปฏิเสธไม่ได้นะครับว่าที่ลืมตาอ้าปากได้ทุกวันนี้ก็เพราะสหกรณ์ฯนี้

ที่จริงบ้านเราน่าจะมีตั้งนานแล้วนะครับสหกรณ์ชาวสวนลำไยนี่ คนเก่งๆ อำเภอเรามีตั้งเยอะ หรือคนเก่งๆ บ้านเราเป็นคนของ "ล้ง" ลำไยหมดแล้วครับคุณsoup
Soup
ตอบตอบ: 04/10/2010 8:31 pm    ชื่อกระทู้:

ตามแนวทางของในหลวงคือตั้งสหกรณ์เองครับ

ก็ในเมื่อพ่อค้าฮั๊วกันได้ ทำไมชาวสวนจะฮั๊วกันไม่ได้ล่ะครับ ^_^ ต้องรวมตัวกันแล้วตั้งราคาต่อรอง

ถ้าชาวสวนมีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเล็งเห็นประโยชน์ร่วมกัน ก็จะสามารถต่อสู้กับพ่อค้าคนกลางได้ แต่ถ้าไม่สามัคคี คือ ต่างคนต่างชิงดีชิงเด่นกัน หรือไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ก็เสร็จเขาครับ คนที่มีคุณธรรมต้องเป็นหัวหน้าเท่านั้น

ที่พูดมานี่ไม่ใช่ว่าผมประสบความสำเร็จแล้ว กำลังงมหาทางอยู่ มีเป้าหมายแต่กำลังบุกฝ่าดงหญ้า (หญ้าขน หญ้าคา หญ้าโขมง ..... ที่สวนมีเยอะ) หลักการมีไว้เตือนใจตัวเอง ไว้สั่งสมพลังงานและทรัพยากรพร้อมแล้วค่อยเติบโตต่อไปครับ
kimzagass
ตอบตอบ: 03/10/2010 8:23 am    ชื่อกระทู้:

ณ วันนี้ ในเว้บนี้......อยากให้พิจารณา

1..... ทุเรียน-เงาะ-มังคุด-ลองกอง สวนคุณอ้อระยอง. ไม่ต้องพึ่งพาคนกลาง คนซื้อ-คนกิน ไปถึงสวน ซื้อ-ขายทาง ปณ. ได้ เขาทำอย่างไร ?

2..... แคนตาลูป สวนคุณติ๋ม ที่อั้ยญู้ดดด.. กำลังเย้วๆ อยู่ตอนนี้ ก็ไม่ต้องพึ่งพาคนกลาง คนซื้อ-คนกิน ไปถึงสวน ส่งทาง ปณ.ก็ได้ เขาทำอย่างไร ?


จริงไหมที่ว่า..... คุณภาพเกรด เอ. - ขนาดจัมโบ้ - ออกนอกฤดู - ออกในฤดู - คนนิยม.... ไม่พอขาย


คิดใหม่ - ทำใหม่ - วางแผนใหม่ ...... ดีกว่าไหม ? ทำได้ไหม ? กล้าทำไหม ?

ปัญหา "ย้ง - ล้ง - ยี่ปั๊ว - ซาปั๊ว - ฯลฯ" ปัญหาโลกแตก เทวดา/ยมบาลก็แก้ไขไม่ได้..... ช่วยตัวเองดีกว่า อย่างน้อยก็มีคน "ทำได้" ให้เห็นอยู่แล้ว



ลุงคิมครับผม