-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - ช่วงข้าวออกรวง กข41 เมล็ดข้าวมีสีน้ำตาล
ผู้ส่ง ข้อความ
supin
ตอบตอบ: 27/07/2013 4:51 pm    ชื่อกระทู้: ข้าวแดงข้าวลาย

น่าจะใกล้เคียงที่สุดครับ..ข้าวแดงข้าวลาย





.
supin
ตอบตอบ: 26/07/2013 9:35 pm    ชื่อกระทู้:

kimzagass บันทึก:
supin บันทึก:



เพิ่งหันมาทำนาช่วงปีที่น้ำท่วมครับ ทำครั้งแรกในชีวิตก็น้ำท่วม
COMMENT :
มองโลกในแง่ดี ปัญหานี้เจอกันทั่วหน้า ตั้งแต่ถั่วงอกอายุสั้น 3 วันเก็บเกี่ยว ถึง
กาแฟ 13 เดือนเก็บเกี่ยว เหลือแต่ใครจะเก็บบทเรียนนี้ได้มากกว่ากัน

ภัยธรรมชาติคราวนี้มองที่ความเสียหาย ใครเสียหายมากเพราะอะไร ใครเสียหาย
น้อยเพราะอะไร .... ง่ายๆ นาแปลงหนึ่งใส่ยูเรียไปแล้ว 2 กส. แล้วนาล่ม กับอีก
แปลงใส่ 16-8-8 แค่ 10 กก.แล้วนาล่ม เหมือนกัน




ไม่มีประสบการณ์การทำนามาก่อนเลย ลองผิดลองถูกเอง
COMMENT :
ประสบการณ์ซื้อได้ด้วย "เวลา" เท่านั้น มีเงินล้นฟ้า ทองเต็มมหาสมุทรก็ซื้อไม่ได้
เวลาที่ใช้ซื้อประสบการณ์ไม่ใช่ บาท ดอลล่าร์ หยวน รูปี จัสส์ กีบ โดง
แต่นับเป็น คิด วิเคราะห์ สังเกตุ เฉลียว ไหวหริบ ปฏิภาน

อย่า STOP ตัวเอง .... อย่า SHUT IN ตัวเอง
อย่าคิดว่า "เก่ง" กว่าคนอื่น
อย่ากะรวยกว่าคนอื่น แต่กะรวยด้วยกัน
ยิ่งให้จะยิ่งได้ ยิ่งไม่ให้จะยิ่งไม่ได้




ค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซ่ะส่วนใหญ่ จนแล้วจนรอดข้าว รุ่นนี้ก็เป็นรุ่นที่ 5 แล้วครับ
COMMENT :
โลกยุคปัจจุบัน แพ้ชนะกันที่ "ข้อมูล" เพื่อนำมาประกอบการวางแผนและตัดสินใจ
ข้อมูลเหมือน "จิ๊กซอร์" จับมาต่อกันเป็นก็เป็นภาพ ต่อไม่เป็นก็ไม่เป็นภาพ
เก็บข้อมูลให้มากที่สุด แล้วเลือกบางข้อมูลที่เหมาะสมมาใช้

เคยพูดว่า นาข้าว "3 รุ่น" จึงจะเห็นทาง แต่เห็นทาง ไม่ใช่เก่ง เพราะปัญหา
สารพัดจะทะยอยมาให้รู้จัก




แต่ปัญหามันมักจะมีเสมอครับ อันไหนเก่าก็รู้ทัน แก้ไขได้ไม่เสียหาย อันไหนใหม่ก็ต้องจดและจำ ศึกษาหาวิธีกันและแก้ เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีก สะสมจนเป็นประสบการณ์ แต่ยังน้อยนิดมากเมื่อเทียบกับชาวนามืออาชีพ ผมเองยังต้องศึกษาอีกเยอะครับ
COMMENT :
หัวใจนักปราชญ์สมัยโบราณ "สุ จิ ปุ ลิ" นักปราชญ์สมัยใหม่ "สุ จิ ปุ ลิ + อ่าน ดู ลองทำ เปรียบเทียบ ฟังธง"

ลำดับเส้นทางสู่ความสำเร็จ "วิชาการ + ประสบการณ์ + เป้าหมาย + แรงบันดาลใจ + บ้าบ้า" กลับทิศใหม่เป็น "บ้าบ้า + แรงบันดาลใจ + เป้าหมาย + ประสบการณ์ + วิชาการ" จึงจะทันกาล


กรอบเกษตรในการผลิต :
"ทุน---ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค---ตลาด"

กรอบเกษตรในการวางแผน :
..?.. ถูก + ..?.. ผิด = ไม่ได้ผล
..?.. ผิด + ..?.. ถูก = ไม่ได้ผล
..?.. ผิด + ..?.. ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง
..?.. ถูก + ..?.. ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง






ขอบคุณทุกความคิดเห็นมากครับ เป็นทั้งกำลังใจ ชี้แนะและข้อคิด
อย่างนี้แล้วชาวนามือสมัครเล่นอย่างผม จะเป็นมืออาชีพอย่างมีคุณภาพได้ไม่ยาก
จะนำผลงานมาให้ติชมเรื่อยๆนะครับ

ยินดียิ่งที่ได้เป็นสมาชิกครับ และยินดีทุกข้อเสนอแนะครับผม


.
kimzagass
ตอบตอบ: 26/07/2013 9:15 am    ชื่อกระทู้:

supin บันทึก:



เพิ่งหันมาทำนาช่วงปีที่น้ำท่วมครับ ทำครั้งแรกในชีวิตก็น้ำท่วม
COMMENT :
มองโลกในแง่ดี ปัญหานี้เจอกันทั่วหน้า ตั้งแต่ถั่วงอกอายุสั้น 3 วันเก็บเกี่ยว ถึง
กาแฟ 13 เดือนเก็บเกี่ยว เหลือแต่ใครจะเก็บบทเรียนนี้ได้มากกว่ากัน

ภัยธรรมชาติคราวนี้มองที่ความเสียหาย ใครเสียหายมากเพราะอะไร ใครเสียหาย
น้อยเพราะอะไร .... ง่ายๆ นาแปลงหนึ่งใส่ยูเรียไปแล้ว 2 กส. แล้วนาล่ม กับอีก
แปลงใส่ 16-8-8 แค่ 10 กก.แล้วนาล่ม เหมือนกัน




ไม่มีประสบการณ์การทำนามาก่อนเลย ลองผิดลองถูกเอง
COMMENT :
ประสบการณ์ซื้อได้ด้วย "เวลา" เท่านั้น มีเงินล้นฟ้า ทองเต็มมหาสมุทรก็ซื้อไม่ได้
เวลาที่ใช้ซื้อประสบการณ์ไม่ใช่ บาท ดอลล่าร์ หยวน รูปี จัสส์ กีบ โดง
แต่นับเป็น คิด วิเคราะห์ สังเกตุ เฉลียว ไหวหริบ ปฏิภาน

อย่า STOP ตัวเอง .... อย่า SHUT IN ตัวเอง
อย่าคิดว่า "เก่ง" กว่าคนอื่น
อย่ากะรวยกว่าคนอื่น แต่กะรวยด้วยกัน
ยิ่งให้จะยิ่งได้ ยิ่งไม่ให้จะยิ่งไม่ได้




ค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซ่ะส่วนใหญ่ จนแล้วจนรอดข้าว รุ่นนี้ก็เป็นรุ่นที่ 5 แล้วครับ
COMMENT :
โลกยุคปัจจุบัน แพ้ชนะกันที่ "ข้อมูล" เพื่อนำมาประกอบการวางแผนและตัดสินใจ
ข้อมูลเหมือน "จิ๊กซอร์" จับมาต่อกันเป็นก็เป็นภาพ ต่อไม่เป็นก็ไม่เป็นภาพ
เก็บข้อมูลให้มากที่สุด แล้วเลือกบางข้อมูลที่เหมาะสมมาใช้

เคยพูดว่า นาข้าว "3 รุ่น" จึงจะเห็นทาง แต่เห็นทาง ไม่ใช่เก่ง เพราะปัญหา
สารพัดจะทะยอยมาให้รู้จัก




แต่ปัญหามันมักจะมีเสมอครับ อันไหนเก่าก็รู้ทัน แก้ไขได้ไม่เสียหาย อันไหนใหม่ก็ต้องจดและจำ ศึกษาหาวิธีกันและแก้ เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีก สะสมจนเป็นประสบการณ์ แต่ยังน้อยนิดมากเมื่อเทียบกับชาวนามืออาชีพ ผมเองยังต้องศึกษาอีกเยอะครับ
COMMENT :
หัวใจนักปราชญ์สมัยโบราณ "สุ จิ ปุ ลิ" นักปราชญ์สมัยใหม่ "สุ จิ ปุ ลิ + อ่าน ดู ลองทำ เปรียบเทียบ ฟังธง"

ลำดับเส้นทางสู่ความสำเร็จ "วิชาการ + ประสบการณ์ + เป้าหมาย + แรงบันดาลใจ + บ้าบ้า" กลับทิศใหม่เป็น "บ้าบ้า + แรงบันดาลใจ + เป้าหมาย + ประสบการณ์ + วิชาการ" จึงจะทันกาล


กรอบเกษตรในการผลิต :
"ทุน---ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค---ตลาด"

กรอบเกษตรในการวางแผน :
..?.. ถูก + ..?.. ผิด = ไม่ได้ผล
..?.. ผิด + ..?.. ถูก = ไม่ได้ผล
..?.. ผิด + ..?.. ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง
..?.. ถูก + ..?.. ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง





.
supin
ตอบตอบ: 25/07/2013 10:35 pm    ชื่อกระทู้:

สวัสดีครับลุงคิมและสมาชิกทุกท่าน
ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลและคำปรึกษาดีๆครับ
ตัวผมเองก็เพิ่งหันมาทำนาช่วงปีที่น้ำท่วมครับ ทำครั้งแรกในชีวิตก็น้ำท่วม
ไม่มีประสบการณ์การทำนามาก่อนเลย ลองผิดลองถูกเอง
ค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซ่ะส่วนใหญ่ จนแล้วจนรอดข้าวรุ่นนี้ก็เป็นรุ่นที่5แล้วครับ
แต่ปัญหามันมักจะมีเสมอครับ อันไหนเก่าก็รู้ทัน แก้ไขได้ไม่เสียหาย อันไหนใหม่ก็ต้องจดและจำ ศึกษาหาวิธีกันและแก้ เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีก สะสมจนเป็นประสบการณ์
แต่ยังน้อยนิดมากเมื่อเทียบกับชาวนามืออาชีพ ผมเองยังต้องศึกษาอีกเยอะครับ
kimzagass
ตอบตอบ: 25/07/2013 6:08 pm    ชื่อกระทู้:


น่าจะ (เน้นย้ำ....น่าจะ) เป็นโรคตามข้อมูลข้างบนนี้....




เกษตรานุสติ :

ไม่มีพืชใดในโลกนี้ ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำตัว
วันนี้ยังไม่มี เพราะยังไม่มา มาเมื่อไหร่เสียหายเมื่อนั้น

ไม่มีสารเคมี หรือสารสมุนไพรใดในโลกนี้ ที่กำจัดศัตรูพืชได้แล้ว สามารถทำให้ส่วน
ของพืชที่ถูกทำลายไปแล้วนั้นกลับคืนดีดังเดิมได้ เรียกว่า เสียแล้วเสียเลย แม้จะ
กำจัดศัตรูพืชได้ แต่สิ่งเราที่ได้ก็เพียงความ "สะใจ" เท่านั้น

เห็นคุยนักคุยหนา กูเก่ง กูแน่ ย่านนี้ใครจะสู้กับโรคข้าวตัวนี้ได้เท่ากู ไม่มีอีกแล้ว
กำจัดโรคได้แล้ว ได้อะไร ข้าวเสียไปแล้ว เงินก็เสีย สุขภาพก็เสีย สถาพแวด
ล้อมก็เสีย ชื่อเสียงประเทศชาติก็เสีย ชาวนาทั่วประเทศเสียชื่อเหมือนกันหมด

ข้าว เป็นพืชที่มีศัตรูพืชมากที่สุด จำนวนถึง 200 รายการ เขียหนังสือได้เป็น
เล่มๆ หนังสือเล่มนี้เคยมีแต่โดนน้ำท่วมเมื่อปี 54 ไปแล้ว....เสียดาย ชิบบบบ

ข้าวพันธุ์นี้ สร้างมาครั้งแรกบอกว่า ต้านทานสารพัดโรคได้ดี แต่ด้วยความ
เป็น "ข้าวเรื้อ" เพราะทำพันธุ์ซ้ำ ต่อๆ ๆๆ กันมาไม่รู้กี่รุ่นต่อกี่รุ่น กอร์ปกับการบำรุง
ให้ธาตุอาหาร "ไม่ครบสูตร" (หลัก รอง เสริม ฮอร์โมน ทั้งทางใบทางราก) ภูมิต้าน
โรคตามทางพันธุ์กรรมย่อม "ด้อย" ลง เรียกว่า "ความอ่อนแอทางพันธุกรรม" เป็น
ธรรมดา



ถ้าเป็นลุงคิม..... เอางี้ (ว่ะ) :
- คัดเลือกสายพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์แท้ สำหรับเป็นภูมิต้านทานในต้น และผลผลิต
- บำรุงให้ได้สารอาหารเต็มสูตร หลัก-รอง-เสริม-ฮอร์โมน และอื่นๆ ตามความ
เหมาะสมของต้นข้าว อย่างแท้จริง

- ป้องกันศัตรูช้าว (แมลง หนอน โรค) แบบ "กันก่อนแก้" เพราะถ้าเกิดแล้วแก้ไม่
ได้ ถึงแก้ได้ก็ไม่ได้อะไรคืนมา

- ใช้สมุนไพร ขมจัด + เบื่อเมา = ป้องกันกำจัด หนอน-แมลงปากกัดปากดูด
- ใช้สมุนไพร เผ็ดจัด + ฝาดจัด = ป้องกันกำจัด โรค (รา แบคทีเรีย ไวรัส)
- ใช้สมุนไพร กลิ่นจัด + เบื่อเมา = ป้องกันกำจัด แม่ผีเสื้อเข้าวางไข่

*** ฉีดบ่อยๆ ฉีดล่วงหน้า ฉีดพร้อมปุ๋ยทางใบ
*** ฉีดสารสมุนไพร 100 ครั้ง เสียน้อยกว่าฉีดสารเคมี 1 ครั้ง

- ใช้วิธี "ลด-ละ-เลิก" สารเคมี อย่างมีเหตุมีผล
- ใช้วิธีบำรุงต้นให้สมบูรณ์แข็งเพื่อให้เกิดภูมิต้านทานในต้น นอกจากจะได้สู้กับศัตรู
พืชได้แล้ว ยังส่งผลไปถึงผลผลิตที่จะได้รับในอนาคตด้วย




ถามหน่อย....เพื่อตัวคุณเอง :
- จะใช้สารเคมีตัวไหน ?
- มีความรู้ทางวิชาการ เรื่องสารเคมีเพียงใด ?

- รู้จักสารสมุนไพรแค่ไหน ?
- เชื่อสรรพคุณตัวยาในสมุนไพรหรือไม่ ?

- มีความรู้ทางวิชาการ เรื่องศัตรูข้าวมากน้อยแค่ไหน ?
- มีความรู้ทางวิชาการ เรื่องข้าวมากน้อยแค่ไหน ?

- ทำไมชาวนาจึงมีแต่หนี้ หนี้ หนี้....?



.
kimzagass
ตอบตอบ: 25/07/2013 5:36 pm    ชื่อกระทู้:

โรคเมล็ดด่าง (Dirty Panicle Disease)


พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้

เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Cercospora oryzae

อาการ
ในระยะออกรวง พบแผลเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำที่เมล็ดบนรวงข้าว บางส่วนก็มีลายสีน้ำตาลดำ และบางพวกมีสีเทาปนชมพู ทั้งนี้เพราะมีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถเข้าทำลายและทำให้เกิดอาการต่างกันไป

การเข้าทำลายของเชื้อรามักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึงระยะเมล็ดข้าวเริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่าง จะปรากฏเด่นชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว





การแพร่ระบาด เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลม ติดไปกับเมล็ด และอาจสามารถแพร่กระจายในยุ้งฉางได้

การป้องกันกำจัด
(1) ควรเฝ้าระวังการเกิดโรคถ้าปลูกข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ เช่น สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 พิษณุโลก 2 และข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1

(2) เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก ควรคัดเลือกจากแปลงที่ไม่เป็นโรค

(3) คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม หรือ แมนโคเซ็บ
ในอัตรา 3 กรัม /เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม

(4) ในระยะที่ต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวงเมื่อพบอาการใบจุดสีน้ำตาลที่ใบธง และโรคกาบใบเน่า ถ้ามีฝนตกชุก

ควรวางมาตรการป้องกันแต่ต้นมือ โดยพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น โปรพิโคนาโซล + ไดฟีโนโคนาโซล โปรพิโคนาโซล + โพคลอราซล คาร์เบนดาซิม + อีพ๊อกซี่โคนาโซล ฟลูซิลาซอล ทีบูโคนาโซล โพคลอราซล + คาร์เบนดาซิม แมนโคเซ็บ + ไทโอฟาเนต – เมทิล ตามอัตราที่ระบุ


http://www.nayagreen.co.th/web/dirty5.html
kimzagass
ตอบตอบ: 25/07/2013 5:23 pm    ชื่อกระทู้:

โรคเมล็ดด่าง (Dirty Panicle Disease)


พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้

สาเหตุ เชื้อรา Curvularia lunata (Wakk) Boed.
Cercospora oryzae I.Miyake.
Helminthosporium oryzae Breda de Haan.
Fusarium semitectum Berk & Rav.
Trichoconis padwickii Ganguly.
Sarocladium oryzae Sawada.


เชื้อราสาเหตุ


อาการ ในระยะออกรวง พบแผลเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำที่เมล็ดบนรวงข้าว บางส่วนก็มีลายสีน้ำตาลดำ และบางพวกมีสีเทาปนชมพู ทั้งนี้เพราะมีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถเข้าทำลายและทำให้เกิดอาการต่างกันไป การเข้าทำลายของเชื้อรามักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึงระยะเมล็ดข้าวเริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่าง จะปรากฏเด่นชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว



อาการโรคเมล็ดด่าง


การแพร่ระบาด เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลม ติดไปกับเมล็ด และสามารถแพร่กระจายในยุ้งฉางได้

การป้องกันกำจัด
• ควรเฝ้าระวังการเกิดโรคถ้าปลูกข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ เช่น สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 พิษณุโลก 2 และข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1

• เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก ควรคัดเลือกจากแปลงที่ไม่เป็นโรค

• คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม หรือ แมนโคเซบ
ในอัตรา 3 กรัม /เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม

• ในระยะที่ต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวงเมื่อพบอาการใบจุดสีน้ำตาลที่ใบธง และโรคกาบใบเน่า ถ้ามีฝนตกชุก ควรวางมาตรการป้องกันแต่ต้นมือ โดยพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น โพรพิโคนาโซล โพรพิโคนาโซล + ไดฟีโนโคนาโซล หรือ โพรพิโคนาโซล + โพรคลอราซ หรือ คาร์เบนดาซิม + อีพ๊อกซี่โคนาโซล หรือ ฟูซิราซอล หรือ ทีบูโคนาโซล หรือ โพรคลอราซ + คาร์เบนดาซิม หรือ แมนโคเซบ หรือ คาร์เบนดาซิม + แมนโคเซบ ตามอัตราที่ระบุ



http://www.brrd.in.th/rkb/disease%20and%20insect/index.php-file=content.php&id=118.htm
supin
ตอบตอบ: 25/07/2013 4:03 pm    ชื่อกระทู้: ช่วงข้าวออกรวง กข41 เมล็ดข้าวมีสีน้ำตาล

สวัสดีลุงคิมและสมาชิกทุกท่านครับ..

มีปัญหาข้อสงสัยเรื่องเมล็ดข้าวมีสีน้ำตาลครับ พันธุ์ข้าว กข.41 เป็นบางรวงอย่างนี้
ทั้งแปลง 9 ไร่ ที่ทุ่งสาน อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก ดังภาพครับผม



ภาพรวม



บางรวง





.