kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 22/03/2021 5:52 am ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 22 MAR *ทำมะพร้าวกะทิ |
|
|
.
.ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 22 MAR
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
*****************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม ...
ผลิตรายการโดย....
กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
ผู้สนับสนุนรายการ ....
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ
เช่นเคย รายการเรา
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
........................................................................................................
........................................................................................................
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปที่วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลงที่นั่น ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
- วันนี้วันจันทร์ที่ 22 มี.ค. เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย คุณล่า (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง ไบโออิ ไทเป ยูเรก้า ยาน็อค กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ. ไม้ผลแนวหน้า ....
- งานสีสันสัญจรปกติตามวงรอบ งวดนี้ เสาร์นี้ ตรงกับวันที่ 27 มี.ค. ลุงคิมกับ อ.ณัฐ สมุนไพรสำหรับคน (086) 983-1966 .... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก กาญจนาภิเษก.
- งานสัญจรระยะนี้ต้องร่วมกันป้องกัน COVID หลีกเลี่ยงจับกลุ่ม คนมากๆ แนะนำ สมช. สั่งปุ๋ยลุงคิม สั่งยา อ.ณัฐ โทรติดต่อโดยตรงแล้วได้นัดหมายรับส่งของกัน รับของแล้วแยกกันเลย มีปัญหาอะไรโทรศัพท์คุยกันก็ได้....
************************************************************
***********************************************************
จาก : (084) 720-46xx
ข้อความ : ไม้ผลทุกอย่าง 1 ไร่ 1 ปี 1 ครั้ง แต่มะพร้าว 16 ครั้ง ปาล์ม 24 ครั้ง เชียร์ เชียร์
จาก : (066) 823-94xx
ข้อความ : สนใจมะพร้าวกะทิ สูตรลุงคิม ขอสูตรด้วยค่ะ....
ตอบ : .....
บ่น :
ถึงวันนี้ 22 มี.ค. ย้อนอดีตไม่น่าจะถึง 3 เดือน KEYWORD เกษตร 1 ไร่ 1 ปี ได้ 1 ครั้ง มาแรงมาก KEYWORD คำนี้ไม่ใช่พูดลอยๆ แต่มีคำตอบแบบ ฟันธง ให้ด้วย ....
งานสัญจรเมื่อวานซืนที่วัดท่าตำหนัก สมช. 3 คน มาพร้อมกับคำถามเดียวกัน (เน้นย้ำ...คำถามเดียวกัน) มะพร้าวแซมกล้วย กล้วยแซมมะพร้าว บำรุงยังไง คำตอบคือ ให้ ระเบิดเถิดเทิง อย่างเดียวสูตรเดียวทั้งมะพร้าวทั้งกล้วย ให้ทางดิน 2 เดือนต่อครั้ง ครั้งละ 2 ต่อไร่ ไม่ต้องปุ๋ยเคมีเพิ่ม เพราะในระเบิดเถิดเทิงมีให้แล้ว ....
กรณีกล้วย ใช้ผักตบชวา สด-แห้ง ได้ทั้งนั้น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ยิบซั่มหน่อยก็ดี คลุมโคนต้นตั้งแต่เริ่มปลูก แล้วราดรดทับด้วยระเบิดเถิดเทิงนี่แหละ ....
คำถามเดิม คำถามเก่า คำถามซ้ำ จากคนใหม่ คนเก่า คนเดิม ไม่เคยห้าม แม้แต่ คิด ก็ไม่เคย คิดอย่างเดียว มีคำถาม ดีกว่า ไม่มีคำถาม .....
สรุป : ยินดี WELCOME ทุกคำถาม
คนถามใหม่ คามเก่า คำตอบเดิม
22 JAN
จาก : (093) 729-18xx
ข้อความ : มะพร้าวกะทิครับ ขอบคุณครับ
จาก : (089) 629-47xx
ข้อความ: ที่ไหนจำหน่ายพันธุ์มะพร้าวกะทิครับ
คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
จาก : (094) 629-51xx
ข้อความ : ขอข้อมูลทำมะพร้าวกะทิครับ....ขอบคุณครับ
ตอบ :
อินเตอร์เน็ตเวปนี้. วิทยุรายการนี้. สไตล์ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า คนที่ถาม ได้รับ/รับได้-มาก/น้อย แค่ไหน อยากให้แง่คิดว่า คำตอบที่เป็นคำพูด วิทยุตรงนี้หรือที่ไหนๆก็สุดแท้ พูดจบ/ฟังจบ ก็ลืม ครั้นจะให้พูดซ้ำฟังซ้ำ อาจจะได้แต่คงไม่มากนัก ในเมื่ออยากรู้ต้องการรู้จริงๆ แนะนำว่า เปลี่ยนสื่อที่รับ จากฟังเป็น อ่าน อ่านซ้ำ อ่านแล้วอ่านอีก อ่านหลายๆรอบ อ่านอย่างเดียวไม่พอ ไปดูของจริงด้วย ดูให้เห็นกับตา จับกับมือ ใส่ปากเคี้ยวด้วยยิ่งดี ตามสโลแกนที่ว่า รู้อะไรรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล ....
* ความรู้มีขาย มีเงินซื้อได้ แต่ความคิดไม่มีขาย ต้องสร้างเอง ...
* วิชาการมีชาย มีเงินซื้อได้ แต่ประสบการณ์ไม่มีขาย ต้องสร้างเอง ....
*** ความรู้ กับ ความคิด - วิชาการ กับ ประสบการณ์ เป็นของคู่กัน ต้องไปคู่กันเหมือนรางรถไฟ
เกษตรานุสติ : รู้มะพร้าวรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล :
ธรรมชาติ ของ มะพร้าวกะทิ ทุกสายพันธุ์ เวลาติดผลในหนึ่งทะลาย จะมีผลที่กลายเป็นกะทิร่วมอยู่ด้วย 1 ผล หรือเป็นกะทิ ได้มากที่สุดไม่เกิน 3 ผล ต่อหนึ่งทะลาย จึงเป็นสาเหตุทำให้ มะพร้าวกะทิ มีราคาแพงกว่ามะพร้าวแกงทั่วไปในยุคสมัยก่อน มะพร้าวกะทิ จะมีสายพันธุ์เดียวคือ เป็นพันธุ์ที่มีต้นสูง 10 หรือ 15 เมตร ต้องปีนขึ้นไปเก็บลำบากมาก ในยุคนั้นไม่ค่อยได้รับความนิยมปลูกกันด้วย จึงทำให้หารับประทานยากและมีราคาแพงตามที่กล่าวข้างต้น
ส่วนใหญ่ นิยมเอาเนื้อ มะพร้าวกะทิ ไปใส่น้ำแข็งไสผสมน้ำเชื่อมโดยใช้ ช้อนคว้านเป็นชิ้นพอคำ หรือใช้ช้อนตัก กินเฉยๆก็ได้ รสชาติหวานมันอร่อยมาก ปัจจุบันนิยมคว้านใส่ไอศกรีม ทำบัวลอย มะพร้าวกะทิ ขายตามร้านอาหาร ภัตตาคารดังๆได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ผู้ปลูก มะพร้าวกะทิ จำนวนมากที่ซื้อต้นพันธุ์ไปปลูกแล้ว มีปัญหาเมื่อ มะพร้าวกะทิ ติดผลเป็นทะลาย มีผลมากกว่า 15-20 ผล ต่อ 1 ทะลาย เมื่อปล่อยให้ผลแก่เต็มที่คาต้น ไม่สามารถแยกได้ว่าผลไหนเป็นมะพร้าวกะทิ ต้องใช้วิธีปอกเปลือกทุกผล และผ่าดูเนื้อในทุกผล ทำให้เสียเวลา และผลที่ไม่ใช่ มะพร้าวกะทิ เสียหาย เพราะนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นไม่ทันนั่นเอง เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีวิธีพิสูจน์แบบง่ายๆ ใช้มาแต่โบ ราณแล้วคือ เมื่อ มะพร้าวกะทิ ติด ผลเป็นทะลายปล่อยให้ผลแก่คาต้นก่อน ตัดทะลายลงมา เอาผลแต่ละผลเขย่าฟังดูว่าถ้าไม่มีเสียงน้ำในผลดังกระฉอกเลย หมายถึงมะพร้าวผลนั้นเป็น มะพร้าวกะทิ อย่างแน่นอน ไม่ต้องปอกเปลือก หรือทุบ ดูเนื้อในทุกผลให้เสียเวลาทำหรือฝึกบ่อยๆจึงจะชำนาญ ช่วงแรกอาจมีผิดบ้างเป็นธรรมดา คนโบราณก็ใช้วิธีนี้เหมือนกัน
ส่วนวิธีผ่ารับประทาน คนเฒ่าคนแก่บอกเคล็ดลับว่า ถ้าต้องการให้เนื้อในของมะพร้าวกะทิ ฟู เหนียวแน่น อร่อย ต้องนวดก่อน โดยเอาผลที่ปอกเปลือกแล้วกระแทกกับพื้นปูนเบาๆรอบๆผลให้ทั่ว กะเวลาจนแน่ใจว่าพอแล้วจึงนำผลไปผ่าครึ่ง จะพบว่าเนื้อในฟูเป็นสีขาวคล้ายปุยฝ้าย ใช้ช้อนตักรับประทานได้เลย รสชาติหวานมันหอมอร่อยมาก
ปัจจุบัน มะพร้าวกะทิ มี 2 ชนิด พันธุ์ที่ ได้รับความนิยมรับประทานและนิยมปลูกกันแพร่หลาย ได้แก่ มะพร้าวกะทิน้ำหอม กับ มะพร้าวกะทิน้ำหวาน ซึ่งทั้ง 2 พันธุ์ เป็นพันธุ์ที่มีต้นเตี้ย สูงเต็มที่ไม่เกิน 2-3 เมตร ติดผลดก 15-20 ผลต่อหนึ่งทะลาย มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร โครงการ 19 แผง ดาบสมพร กับโครงการ 13 แผง คุณภิญโญ และโครงการ 21 แผง คุณพร้อมพันธุ์ ราคาสอบถามกันเองครับ.
การทำมะพร้าวกะทิ :
วิธีที่ 1 : ทำมะพร้าวจากมะพร้าวพันธุ์อะไรก็ได้ ถ้าต้องการให้ลูกออกมาเป็นมะพร้าวกะทิ ก็เอาถุงพลาสติกหุ้มจั่น จั่นก็คือดอกมะพร้าว 1 จั่นคือ 1 ทะลาย จั่นไหนถูกห่อด้วยพลาสติก จั่นนั้นหรือทลายดอกนั้นมันจะพิการ ทั้งนี้จะต้องห่อตั่งแต่กลีบจั่นเริ่มแย้มบาน ห่อไปจนกระทั่งมีลูกขนาดลูกหมากจึงค่อยเอาออก โดยทั่วไปมะพร้าวในทะลายที่ห่อจั่นประมาณ 80-90% จะเป็นมะพร้าวกะทิ วิธีนี้เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบชั่วคราว มะพร้าวในทะลายอื่น ๆ ที่ไม่ได้ห่อจั่นจะไม่เป็นมะพร้าวกะทิ
วิธีที่ 2 : เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบถาวร วิธีนี้ให้นำมะพร้าวที่เพาะไว้ ที่มีหน่อเหนือเปลือกขึ้นมาราว 30 ซม. แล้วใช้มีดตัดส่วนปลายตรงข้ามกับหน่อให้กะลาขาด จนเห็นเนื้อสีขาวและจาวสีเหลือง ภายในกะลามะพร้าวจากนั้นคว้านเอาจาวที่อยู่กลางกะลาออก เอาดินเหนียวอัดลงไปในกะลาแทนจาวจนเต็มและแน่นพอประมาณ สามารถนำไปปลูกได้ นายมานิตย์ เล่าให้ฟังว่า มะพร้าวที่ทำวิธีนี้จะเป็นมะพร้าวกะทิประมาณ 50% หากจะเพิ่มปริมาณ ก็สามารถทำได้โดยให้เอาผลมะพร้าวที่ไม่เป็นมะพร้าวกะทิมาเพาะแล้วทำวิธีการเดียวกับที่กล่าวมานี้ ก็จะทำให้มะพร้าวในต้นใหม่เป็นมะพร้าวกะทิ ถึง 80-90% ทีเดียว มะพร้าวทุกพันธุ์สามารถทำมะพร้าวกะทิได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าใช้มะพร้าวน้ำหอม ทำมะพร้าวกะทิไม่ดีเพราะมีกลิ่นเหม็นหืน มะพร้าวที่ดีที่สุดในการทำมะพร้าวกะทิ คือ มะพร้าวกลาง
http://postnoname.com/how-to-make-coconut-milk-trick/
ปรากฏการณ์การเกิดมะพร้าวกะทิในธรรมชาติ :
มะพร้าวกะทิที่พบส่วนใหญ่เกิดขึ้นในมะพร้าวกลางและมะพร้าวใหญ่ ซึ่งเป็นมะพร้าวพันธุ์ต้นสูง ที่มีช่วงการบานของดอกตัวผู้ และดอกตัวเมีย ไม่คาบเกี่ยวกัน เนื่องจากต้นมะพร้าวที่ให้ผลมะพร้าวกะทิอยู่ในสภาพฮีทธีโรไซโกต (Heterozygote) หรือพันธุ์ทาง โอกาสจะเกิดมะพร้าวกะทิบางผลในมะพร้าวต้นนั้นจะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ
1. มะพร้าวที่ให้ผลกะทิ ปลูกอยู่เพียงต้นเดียวท่ามกลางมะพร้าวที่ให้ผลปกติ การจะเกิดมะพร้าวกะทิได้จะต้องเกิดจากการผสมเกสรระหว่างเกสรตัวเมียของจั่นพี่กับเกสรตัวผู้ของจั่นน้องภายในต้นเดียวกัน
2. มะพร้าวที่ให้ผลกะทิ ปลูกอยู่หลายต้นในบริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน การเกิดมะพร้าวกะทิจะเกิดจากการผสมข้ามต้น หรือผสมภายในต้นเดียวกันแต่คนละจั่น
นอกจากพบมะพร้าวกะทิ ในมะพร้าวพันธุ์ต้นสูงแล้วยังพบมะพร้าวกะทิในพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม หรือหมูสีเขียว ซึ่งเป็นพันธุ์เตี้ย โอกาสที่จะพบมะพร้าวกะทิในมะพร้าวน้ำหอมมีน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่จะเก็บผลอ่อนขาย จะพบได้ในกรณีที่เจ้าของสวนเก็บผลไว้ทำพันธุ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น จึงเป็นแนวทางในการพัฒนาพันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ยพันธุ์แท้ต่อไป
การเพิ่มประชากรมะพร้าวกะทิ :
จากปรากฏการณ์การเกิดมะพร้าวกะทิในธรรมชาติ สามารถที่จะนำความรู้ที่เกิดขึ้นนั้นมาพัฒนาเพื่อสร้างสายพันธุ์ที่ให้มะพร้าวกะทิที่มีคุณภาพ และ มีปริมาณมากพอเพียงกับความต้องการของตลาดภายในประเทศ และนำไปสู่การส่งออกตลาดต่างประเทศ ทั้งในรูปเนื้อสดและแปรรูป
กะทิ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำได้ :
ตามที่แนะนำไปแล้ว เรื่องการทำมะพร้าวให้ได้กะทิ 25 เปอร์เซ็นต์/ต้น/ปี เขาใช้วิธีการผสมพันธุ์ ต้นใหม่ที่ได้ มาจากการเพาะเมล็ดหรือนำผลมะพร้าวไปเพาะ
แต่มีแปลงปลูกมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ 100 เปอร์เซ็นต์ อยู่จำนวนหนึ่ง ที่เขาขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อคุณปริญดา หรูนหีม ผู้รับผิดชอบโครงการภาคสนาม เล่าว่า เมื่อมีการวิจัยจนได้ผลมะพร้าวกะทิ จากพันธุ์ลูกผสมแล้ว ทางทีมงานวิจัยได้นำคัพภะหรือต้นอ่อน จากผลมะพร้าวที่เป็นกะทิมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อซึ่งผลการเพาะเลี้ยงทำได้ยาก จึงได้ต้นพันธุ์จำนวนไม่มาก
ปัจจุบัน ต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อ ที่นำลงปลูกเริ่มให้ผลผลิตแล้ว ผู้วิจัยกำลังคัดเลือกต้นที่มีลักษณะดี โดยดูข้อของลำต้น ใบ และการให้ผลผลิต
จากการนำต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลงปลูก ลักษณะของต้นและผลแตกต่างกันออกไปมาก บางต้นไม่สามารถที่จะเก็บไว้ทำพันธุ์ได้เลย
ผลผลิตที่ได้จากต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ผลผลิตไม่ดก ทั้งนี้ เกิดจากการคลุมช่อดอก เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นอื่นมาผสมนั่นเอง
คุณสมชาย บอกว่า การนำต้นที่ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อ ปลูกเพื่อให้ได้กะทิ 100 เปอร์เซ็นต์ มีทำแล้วที่เกาะกลางเขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี แต่หากปลูกโดยทั่วไป ต้องปลูกห่างจากมะพร้าวอื่น 5 กิโลเมตร หรือรอบๆ แปลงมะพร้าวมีไม้ชนิดอื่นขึ้นล้อมรอบอยู่ แต่เปอร์เซ็นต์กะทิอาจจะไม่ถึง 100 เปอร์เซ็นต์
เรื่องราวงานวิจัยมะพร้าวกะทิ มี 2 ประเด็น หรือ 2 แนวทาง :
หนึ่ง. เขาผสมพันธุ์มะพร้าว โดยใช้เกสรมะพร้าวกะทิ 100 เปอร์เซ็นต์ จากเกาะที่เขื่อนเขาแหลม ผสมเข้าไปในมะพร้าวมลายูต้นเตี้ยและมะพร้าวน้ำหอม นำผลที่ได้ไปเพาะ แล้วนำไปปลูก ลูกที่ออกมาจะเป็นกะทิ 25 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตทั้งปี
สอง. นักวิจัยเอาต้นอ่อนจากผลมะพร้าวกะทิเท่านั้น ไปเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ นำต้นที่ได้ไปปลูก เมื่อมีดอก ต้องคลุมถุงเพื่อไม่ให้เกสรต้นอื่นมาผสม จะได้กะทิ 100 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันพบต้นที่มีลักษณะดีแล้วหลายต้น
ผลกะทิ ที่นำต้นอ่อนมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ไม่จำเป็นต้องนำมาจากลูกผสม 2 สายพันธุ์ แต่นำมาจากที่ไหนก็ได้ ถือว่าเป็นงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อวงการเกษตรไทยอย่างยิ่ง
ผู้สนใจสอบถามได้ที่ คุณสมชาย วัฒนโยธิน โทร. (02) 940-5484 ต่อ118 หรือ คุณปริญดา หรูนหีม โทร. (081) 472-2647 และ (086) 657-4517
http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05030011153&srcday=&search=no
---------------------------------------------------------------------------------
.
|
|