kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11626
|
ตอบ: 27/09/2022 5:48 am ชื่อกระทู้: สัญจรวัดส้มเกลี้ยงโรงกรอง ถ.วงแหวน(๒) * กล้อมแกล้มซุปเปอร์ |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 27 ก.ย.
***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้าถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน . ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 1 ต.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน
ไปวัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี....
งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....
**************************************************
**************************************************
เก็บตกงานสัญจร วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก กาญจนาภิเษก 24 ก.ย. (๒)
ปุ๋ยน้ำชีวภาพทั่วไป สูตรธรรมดาเป็นซุปเปอร์
สมช. : ลุงครับ ขอปรึกษาเรื่องน้ำหมักชีวภาพครับ
ลุงคิม. : เป็นยังไงเหรอ ?
สมช. : อย่างที่ลุงบอกนั่นแหละครับ เอาอะไรมาทำ ในอะไรมีธาตุอาหารตัวไหน วิธีทำทำอย่างไร สุดท้าย ธาตุอาหารหรือปุ๋ย จะได้หรือไม่ได้ก็อยู่ตรงนี้นี่แหละครับ
ลุงคิม. : อืมมม ถามหน่อย ไปเรียนเรื่องนี้มาจากไหน ?
สมช. : เกษตรตำบลครับ ตัวเกษตรตำบลสอนเองเลย วันนั้นเกษตรอำเภอก็มาด้วย
ลุงคิม. : ก็ว่าไป แล้วที่เขาสอน เขาสอนอะไร ? สอนยังไง ? บอกหน่อยซิ
สมช. : เขาสอนให้เอาผักในสวนครัว หลายๆผัก เอาแต่ต้นใบราก เอามาสับๆ แล้วคลุกกับกากน้ำตาล ใส่ พด. เติมน้ำพอท่วม คนเคล้าให้เข้ากันดี ปิดฝา เก็บไว้ในร่ม ทิ้งไว้ 1 เดือน กรองเอาแต่น้ำมาใช้ครับ
ลุงคิม. : ใช้ ใช้กับพืชอะไร ?
สมช. : ไม่ได้แยกครับ
ลุงคิม. : ให้ทางใบหรือทางราก
สมช. : ทางราก ราดลงดินครับ อันนี้โดนใบไม่เป็นไร ใบไม่ไหม้ครับ
ลุงคิม. : อืมมม ระหว่างการหมักมีหนอนเกิดไหม ?
สมช. : ไม่ครับ
ลุงคิม. : กลิ่นล่ะ เหม็นเน่าหรือเปล่า
สมช. : ไม่เหม็นครับ ผมว่ามันหอมกลิ่นกากน้ำตาลซะด้วยนะครับ
ลุงคิม. : แล้วส่วนผสมผักที่สับๆน่ะ เปื่อยยุ่ยเป็นวุ้น หรือยังเป็นชิ้นเป็นต่อนอยู่ ?
สมช. : เปื่อยครับ เป็นน้ำเหลวเลย
ลุงคิม. : แบบนี้แสดงว่า กระบวนการหมัก หรือวิธีการหมัก ถูกต้อง สารอาหารหรือธาตุอาหารในผักถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายออกมาแล้ว
สมช. : แบบนี้ถือว่าใช้งานได้แล้วใช่ไหมครับ
ลุงคิม. : ด้ายยยย ถ้าจะใช้ แต่ถ้าจะทำให้มันดีเหนือกว่านี้ เช่น ให้ได้สารอาหารหรือธาตุอาหารมากกว่านี้จะดีไหม ? ทำได้ไหม ?
สมช. : ครับ
ลุงคิม. : พูดกันตรงๆนะ สิ่งที่เราทำนี่คือปุ๋ย ปุ๋ยคืออาหารของพืช ปุ๋ยมี 14 ตัว แล้วที่เราทำมีหรือได้ปุ๋ยกี่ตัว นอกจากปุ๋ยแล้วยังมีฮอร์โมน มีจุลินทรีย์ อีกด้วยไหม ?
สมช. : ครับ นี่แหละครับที่ผมต้องการ น้ำหมักที่ผมทำมีธาตุอาหารแค่ที่มีในผักเท่านั้นครับ
ลุงคิม. : อืมมม เราก็ใส่เพิ่มเข้าไปซี่ อยากได้อะไรเราก็ใส่อันนั้น
สมช. : ครับ
ลุงคิม. : เอาเป็นว่า ระดมน้ำหมักชีวภาพจากหลายๆสำนัก ยิ่งมากสำนักยิ่งดี หรือสูตรในครัว สูตรข้างทาง สูตรข้างบ้าน เอามาใช้ได้ทั้งนั้น
สมช. : ครับ
ลุงคิม. : ทำเอง ทำเยอะ เอาสูตรทำน้ำหมักสูตรกล้อมแกล้มมาหมักรวมกับของเราที่เราทำไว้แล้วแต่ถ้าเอาแค่ทำใช้ หรือไม่ก็เอาน้ำระเบิดเถิดเทิงพร้อมใช้แล้วมาผสมกับของเราที่เราหมัก นี่ก็ได้
สมช. : สุดยอดครับลุง ของลุงของผม เข้ากันได้
สมการปุ๋ยอินทรีย์น้ำ :
อินทรีย์วัตถุผิด + จุลินทรีย์เริ่มต้นผิด + สารอาหารจุลินทรีย์ผิด+วิธีทำผิด+อุณหภูมิผิด+ระยะเวลาถูก = ไม่ได้ผล ยกกำลัง 6
อินทรีย์วัตถุผิด + จุลินทรีย์เริ่มต้นผิด +สารอาหารจุลินทรีย์ผิด + วิธีทำผิด + อุณหภูมิถูก + ระยะเวลาถูก = ไม่ได้ผล
อินทรีย์วัตถุผิด + จุลินทรีย์เริ่มต้นผิด + สารอาหารจุลินทรีย์ผิด + วิธีทำถูก + อุณหภูมิถูก + ระยะเวลาถูก = ไม่ได้ผล
อินทรีย์วัตถุผิด + จุลินทรีย์เริ่มต้นผิด + สารอาหารจุลินทรีย์ถูก + วิธีทำถูก + อุณหภูมิถูก + ระยะเวลาถูก = ไม่ได้ผล
อินทรีย์วัตถุผิด + จุลินทรีย์เริ่มต้นถูก + สารอาหารจุลินทรีย์ถูก + วิธีทำถูก + อุณหภูมิถูก + ระยะเวลาถูก = ไม่ได้ผล
อินทรีย์วัตถุถูก + จุลินทรีย์เริ่มต้นถูก + สารอาหารจุลินทรีย์ถูก + วิธีทำถูก + อุณหภูมิถูก + ระยะเวลาถูก = ได้ผล ยกกำลัง 6
อินทรีย์วัตถุ ....... สดใหม่สมบูรณ์ มีสารอาหารเคมีชีวะมากที่สุด
จุลินทรีย์เริ่มต้น ... จุลินทรีย์เก่าที่ใช้งานมาแล้ว จุลินทรีย์ใหม่ชนิดตรงกับอินทรีย์วัตถุ
สารอาหาร ........ สารรสหวาน มาก/น้อย ตามชนิดของอินทรียวัตถุ
วิธีทำ ............. บดละเอียดก่อนหมัก เปิดฝาถัง ระหว่างหมักต้อง ไม่เหม็น/ไม่หนอน
อุณหภูมิ .......... อุณหภูมิห้อง
ระยะเวลา ........ หมักนาน 3 เดือนได้ธาตุหลัก, 6 เดือนได้ธาตุรอง, 9 เดือนได้ธาตุเสริม, ข้ามปีได้ฮอร์โมน
ผล ................ ต้องตรวจในห้อง LAB เท่านั้น
ส่วนผสม สูตรในครัว สูตรข้างบ้าน สูตรข้างทาง :
ซากสัตว์ :
** สัตว์ทั่วไป ได้แก่ ปลา. เครื่องใน. เลือด. เมือก. รก. น้ำเชื้อ. ไข่ ฯลฯ ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ๆละเท่าๆ กัน สิ่งต้องการ คือ ความหลากหลาย
** สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ เปลือกกุ้ง. กระดองปู. ปูนิ่ม. กิ้งกือ. ไส้ เดือน. ไรแดง. หอยพร้อมเปลือก. หนอน. แมลง. ปลิงทะเล/น้ำจืด. แมงกะพรุน. เปลือกกั้ง. เคย. อาทิเมีย. ลิ้นทะเล ฯลฯ ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆ ละเท่าๆ กัน สิ่งที่ต้อง การ คือ ความหลากหลาย
หมายเหตุ :
- สภาพสด ใหม่ สมบูรณ์ โตเต็มที่ ไม่มีโรค
- สัตว์ในแหล่งธรรมชาติดีกว่าสัตว์ในฟาร์ม
- ใช้หลายอย่างดีกว่าน้อยอย่าง
- ใช้สัตว์มีชีวิตดีกว่าสัตว์ที่ตายแล้ว
- ไม่ต้องล้าง บดละเอียดแล้วนำมาหมักทันที
วัสดุส่วนผสมเสริมจากอาหารคน : ได้แก่
** นมกล่อง. ผงชูรส. นมสัตว์. น้ำมันพืช. น้ำมันตับปลา. น้ำผึ้ง. น้ำสลัด. กระทิงแดง/ลิโพ. วิตามิน. กลูโคส, อาหารเสริม. อาหารในครัว, ฯลฯ
** จากแหล่งอื่นๆ ได้แก่ น้ำมะพร้าวอ่อน. น้ำตาลสดจากมะพร้าว/ตาล/อ้อย. เมล็ดพืชเริ่มงอก. อาหารสัตว์. ถั่วเน่า. สาหร่ายทะเล/น้ำจืด. สาหร่ายน้ำเงินแกมเขียว. ขี้เพี้ยในไส้อ่อน ฯลฯ เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ๆละเท่าๆ กัน โดยพิจารณาธาตุอาหารพืชหรือจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในวัสดุส่วนผสมแต่ละชนิดเป็นหลัก และสิ่งที่ต้องการ คือ ความหลากหลายของธาตุอาหารพืช
จุลินทรีย์จากอาหารคน :
** ยาคูลท์. โยเกิร์ต. นมเปรี้ยว. แป้งข้าวหมาก. ยีสต์ทำขนมปัง ฯลฯ
** จากพืช ได้แก่ เปลือกติดตาสับปะรด. เหง้าปรง. วัสดุเพาะเห็ดถุง. ฟางเห็ดฟาง. จุลินทรีย์หน่อกล้วย. จุลินทรีย์จาวปลวก, จุลินทรีย์ อีแอบ.
** จุลินทรีย์ประจำถิ่น ฯลฯ จากห้องปฏิบัติการ ได้แก่ พด.1-7 จุลินทรีย์ทั่วไป (ทำเอง/ท้องตลาด-แห้ง/น้ำ) เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ๆละเท่าๆ กัน สิ่งที่ต้องการ คือ ความหลากหลายของจุลินทรีย์
หมายเหตุ :
- สภาพสด ใหม่ ไม่มีเชื้อโรค
- จุลินทรีย์จากห้องปฏิบัติการดีกว่าจุลินทรีย์ธรรมชาติ หรือควรใช้ทั้งสองอย่างร่วมกัน
- อย่างไหนมาก่อนใส่หมักลงไปก่อน อย่างไหนได้มาทีหลังใส่หมักตามทีหลัง
- แม้จะเป็นจุลินทรีย์ต่างชนิดกัน แต่เป็นจุลินทรีย์เพื่อการเกษตรเหมือนกันสามารถใช้ร่วมกันได้
- เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งแต่ถ้าใช้หลายอย่างได้จะดีกว่าใช้น้อยอย่าง
วิธีทำ :
1. บดวัสดุส่วนผสมที่เป็นของแข็งทั้งหมด ทีละอย่างหรือพร้อมกันทุกอย่างก็ได้ บดหลายๆ รอบให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะละเอียดได้ น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใช้ทั้งน้ำและกาก ได้มาแล้วบรรจุลงถังที่ไม่ใช่โลหะ
2. ใส่ กากน้ำตาล พอท่วม .... เพื่อประกันความผิดพลาดที่อาจจะใส่กากน้ำตาลมากเกินไปหรือน้อยเกินไป แนะนำให้ตวง วัสดุส่วนผสม กับ กากน้ำตาล ให้ได้ปริมาณอัตราส่วน 10 : 1 เสียก่อนจึงใส่ลงถัง
3. ใส่ จุลินทรีย์ มากหรือน้อยไม่จำกัด
4. คนเคล้าให้เข้ากันดี ติด ปั๊มออกซิเจน เพื่อเติมอากาศให้แก่จุลินทรีย์ตลอดเวลา
5. ปิดฝาภาชนะหมักพอหลวม เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง
6. ระวังอย่าให้แมลงตอมเพราะจะทำให้เกิดหนอนและอย่าให้มีวัสดุแปลกปลอมลงไป
7. มีของหนักกดวัสดุส่วนผสมให้จมตลอดเวลา
8. หมั่นคนบ่อยๆ เพื่อป้องกันวัสดุส่วนผสมนอนก้น
หมายเหตุ :
- ควบคุมอัตราส่วนของวัสดุส่วนผสมทุกอย่างให้ได้เท่าๆ กัน เพื่อให้ได้ธาตุอาหารเท่าๆ กัน
- วัสดุส่วนผสมที่ได้มาไม่พร้อมกัน โดยได้อย่างไหนมาก่อนให้หมักลงไปก่อนและอย่างไหนได้มาทีหลังให้หมักลงตามหลังนั้น ระยะห่างไม่ควรนานเกิน 1-2 เดือน เพื่อให้กระบวนการย่อยสลายดำเนินไปพร้อมๆ กันซึ่งจะส่งผลให้ได้ธาตุอาหารเท่ากัน
- อัตราส่วนกากน้ำตาลที่ใช้ ถ้าใส่กากน้ำตาลมากเกินอัตรา จะทำให้วัสดุส่วนผสมจับตัวแข็งเป็นก้อน กระบวน การย่อยสลายโดยจุลินทรีย์จะชะงัก หรือไม่ย่อยสลายเลย ส่วนผสมต่างๆจะไม่เปื่อยยุ่ย หรือเรียกว่า แช่อิ่ม นิ่งอยู่อย่างนั้นตราบนานเท่านาน .... แต่ถ้าใส่กากน้ำตาลน้อยจะทำให้วัสดุส่วนผสมบูดเน่า และไม่เปื่อยยุ่ย
- อัตราส่วนกากน้ำตาลที่น้อยเกินไปนอกจากจะทำให้จุลินทรีย์มีประโยชน์ไม่เจริญพัฒนาแล้วยังทำให้จุลินทรีย์มีโทษเกิดขึ้นอีกด้วย และอัตราส่วนของกากน้ำตาลที่มากเกินก็ทำให้จุลินทรีย์มีประโยชน์ไม่เจริญพัฒนาและจุลินทรีย์มีโทษเกิดขึ้นได้เช่นกัน
- ในกากน้ำตาลใหม่มีสารเป็นพิษต่อพืช 16 ชนิด เมื่อให้ทางใบต่อเนื่องติดต่อกันเป็นระยะเวลา นานๆ จะทำให้ใบลาย ใบมีขนาดเล็กลง และต้นโทรมได้ นอกจากนี้ กากน้ำตาลใหม่ยังเป็นอาหารอย่างดีสำหรับเชื้อรา (เข้าทำลายใบ ดอก ผล ต้น) หลายชนิดอีกด้วย วิธีการดับพิษในกากน้ำตาลทำได้โดยหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพนานข้ามปี เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารพิษนั้นหรือต้มกากน้ำตาลให้เดือดก่อนใช้ในการหมัก .... หากใช้ทั้ง 2 วิธีนี้แล้วยังเกิดปัญหาแก่ต้นพืชอีกก็ต้องยกเลิกการให้ทางใบแล้วให้ทางรากอย่างเดียว
- ถ้าไม่มีกากน้ำตาลสามารถใช้น้ำตาลอื่นๆ เช่น น้ำตาลทรายแดง. น้ำตาลทรายขาว. น้ำตาลปี๊บ. น้ำอ้อย อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆ ละเท่ากันแทนได้ แต่ต้องใช้ในอัตรามากกว่ากาก น้ำตาล 7 เท่าจึงจะได้ความหวานเข้มข้นเท่ากากน้ำตาล .... การนำน้ำตาลอื่นๆ มาเคี่ยวจนเป็นน้ำ เชื่อมเพื่อเพิ่มความหวานจนหวานจัดแล้วใช้แทนกากน้ำตาลได้เช่นกัน
- ในการหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพไม่ควรใช้กลูโคส (ผงหรือน้ำ) เนื่องจากมีความหวานน้อยกว่ากากน้ำตาล จะทำให้เกิดการบูดเน่าแล้วแก้ไขไม่ได้
- ใส่วัสดุส่วนผสม ½ หรือ ¾ ของความจุภาชนะหมัก เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับอากาศหมุนเวียนดี และสะดวกต่อการคน
- หมักในภาชนะขนาดเล็ก ปากกว้าง จะช่วยให้กระบวนการหมักดีกว่าหมักในภาชนะขนาดใหญ่ปากแคบ
- วัสดุส่วนผสมที่ผ่านการบดละเอียดเหลวหรือเหลวมากๆ กระบวนการหมักจะดี มีประสิทธิ ภาพและใช้การได้เร็วกว่าวัสดุส่วนผสมชิ้นหยาบๆ และส่วนผสมที่ข้นมากๆ
- ปุ๋ยน้ำชีวภาพกล้อมแกล้มไม่มีการใส่ น้ำเปล่า เด็ดขาด เพราะในน้ำเปล่าไม่มีธาตุอาหารพืช หากต้อง การให้วัสดุส่วนผสมเหลวมากๆ ให้ใส่วัสดุส่วนผสมเสริมที่เป็นน้ำ เช่น น้ำมะพร้าว นมสด หรือจากพืชอวบน้ำ เช่น แตงโม แตงกวา ไชเท้า ฟัก ให้มากขึ้นหรือจนกว่าจะเหลวตามต้องการ
- ไม่ใส่ปุ๋ยเคมีหรือฮอร์โมนวิทยาศาสตร์ใดๆ ในระหว่างการหมักทั้งสิ้น เพราะจะทำให้ได้ธาตุอาหารพืชจากปุ๋ยเคมีนั้นเพียงสูตรเดียว หรือได้ฮอร์โมนพืชเพียงชนิดเดียว แต่ให้ใส่ก่อนใช้งานจริง ซึ่งจะทำให้สามารถเลือกสูตรปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนพืชได้ตรงตามความต้องการของพืช
- วัสดุส่วนผสมที่อายุการหมักสั้น (น้อยกว่า 6 เดือน) มีความเป็นกรดจัดมาก (2.0-3.0) หมักนาน 6 เดือน -1 ปี มีความเป็นกรด (4.0-5.0) และหมักนานข้ามปีมีความเป็นกรดอ่อนๆ (5.0-6.0) โดยประมาณ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุส่วนผสม โดยส่วนผสมที่เป็นซากสัตว์จะเป็นกรดมากกว่าวัสดุส่วนผสมที่เป็นพืช
- ธาตุอาหารพืชจากปุ๋ยน้ำชีวภาพ....
อายุหมักนาน 3 เดือน ........... ได้ธาตุอาหารหลัก
อายุการหมักนาน 6 เดือน ....... ได้ธาตุอาหารรอง
อายุการหมักนาน 9 เดือน ....... ได้ธาตุอาหารเสริม
อายุหมักนาน 12 เดือน ......... ได้ฮอร์โมน และอื่นๆ
วัสดุส่วนผสมที่หมักกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลอื่นๆ ด้วยระยะเวลาการหมักเพียง 1 สัปดาห์ -1 เดือน นั้นจุลินทรีย์ยังไม่สามารถแปรสภาพ (ย่อยสลาย/ENZIME) วัสดุส่วนผสมให้ธาตุอาหารพืชออกมาได้ เมื่อนำไปใช้จึงได้เพียงประโยชน์จากกากน้ำตาลหรือตัวเสริมเปล่าๆ เท่านั้นเอง
วิธีเก็บรักษา ปรับปรุง และแก้ไข :
1. เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง ติดปั๊มออกซิเจนเติมอากาศให้จุลินทรีย์ตลอดเวลา ปิดฝาพอหลวม คนบ่อยๆ เพื่อป้องกันการนอนก้นและป้องกันการจับก้อน ระวังอย่าให้ส่วนผสมลอย
2. อายุหมัก 7 วันแรก ให้ตรวจสอบด้วยการดมกลิ่น ถ้ามีกลิ่นบูดเปรี้ยว แสดงว่าอ่อนกากน้ำตาลและจุลินทรีย์ แก้ไขด้วยการเติมกากน้ำตาล อัตรา ¼ ของที่ใส่ครั้งแรกพร้อมกับเพิ่มจุลินทรีย์และน้ำมะพร้าวลงไปอีก คนเคล้าให้เข้ากันดีแล้วดำเนินการหมักต่อไปตามปกติ หลังจากนั้น 7 วัน ให้ตรวจสอบอีกครั้ง ถ้ายังมีกลิ่นบูดเปรี้ยวอยู่อีกก็ให้แก้ไขด้วยกากน้ำตาล ¼ ของที่ใส่เติมเพิ่มครั้งก่อนกับใส่จุลินทรีย์และน้ำมะพร้าวอ่อนลงไปอีก ทำอย่างนี้เรื่อยๆ ไปพร้อมกับตรวจสอบทุก 7 วัน ถ้ายังมีกลิ่นบูดเปรี้ยวอยู่ก็ให้แก้ไขด้วยวิธีการเดียวกันจนกว่าจะหายกลิ่นบูดเปรี้ยว และเมื่อหายจากบูดเปรี้ยวแล้วก็จะไม่บูดเปรี้ยวอีก
3. ใช้ถังหมักแบบ บด-ปั่น ที่มีมอเตอร์ทดรอบ (เกียร์มอเตอร์) ซึ่งจะทำหน้าที่ทั้งบดและปั่นในเวลาเดียวกันตลอด 24 ชม. หรือตลอดอายุการหมัก อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่บดจะย่อยวัสดุส่วนผสมให้ละเอียดเล็กลงไปอีก ส่วนอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ปั่น จะช่วยเติมอากาศแก่จุลินทรีย์ตลอดเวลา เช่นกัน ส่งผลให้กระบวนการหมักดีและเร็วขึ้น
4. ใช้ถังหมักแบบควบคุมอุณหภูมิภายในที่ใจกลางถังและขอบนอกของถังให้คงที่ ณ 40 องศา ซี. สม่ำเสมอตลอดเวลา ในระหว่างการหมักจะช่วยให้จุลินทรีย์เจริญพัฒนาและขยายพันธุ์ได้ดีมาก
5. ระหว่างการหมักถ้ามีฟองอากาศเกิดขึ้นแสดงว่าดีมีจุลินทรีย์มากและแข็งแรง และถ้ามีฝ้าสีขาวอมเทาเกิดขึ้นที่ผิวหน้าก็แสดงว่าดีเช่นกัน ฝ้าที่เกิดขึ้นคือจุลินทรีย์ที่ตายแล้วให้คนฝ้านั้นลงไปก็จะกลายเป็นอาหารอย่างดีแก่จุลินทรีย์ที่ยังไม่ตายต่อไป
6. ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่หมักไว้นานแล้วเกิดอาการ นิ่ง-ไม่มีฟอง แต่กลิ่น หอม-หวาน-ฉุน ดี ให้ใส่น้ำมะพร้าวอ่อน นมสด หรือวัสดุส่วนผสมเสริม คนเคล้าให้เข้ากันดี ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่เคยนิ่งจะเดือดมีฟองเกิดขึ้นมาทันที ช่วยทำให้ได้ประสิทธิภาพในกระบวนการหมักสูงขึ้นไปอีก
7. ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ทำไว้นานแล้วด้วยวัสดุส่วนผสมน้อยอย่าง หรือไม่หลากหลายนั้น แก้ไขได้โดยการใส่วัสดุส่วนผสมที่ยังขาดหรือไม่ได้ใส่ตามภายหลัง แล้วหมักต่อไปด้วยวิธีการหมักปกติได้
8. ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ทำไว้นานแล้ว วัสดุส่วนผสมจับตัวเป็นก้อนแข็ง หรือบูดเน่า หรือมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ แก้ไขได้ด้วยการใส่ กากน้ำตาล จุลินทรีย์ น้ำมะพร้าวอ่อน ตัวเสริม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างตามความเหมาะสม จากนั้นหมักต่อไปตามปกติแล้วทุกอย่างจะดีขึ้น
9. หนอนในปุ๋ยน้ำชีวภาพเกิดจากไข่ของแมลงที่ลอบเข้ามาวางไว้ ไม่มีผลเสียต่อปุ๋ยน้ำชีวภาพ หนอนเหล่านี้จะไม่ลอกคราบและไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นแมลงได้ ให้บดละเอียดหนอนลงหมักร่วมไปเลย จะได้ฮอร์โมนไซโตคินนิน และอะมิโนโปรตีน
10. ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่น หอม-หวาน-ฉุน ชัดเจนอยู่ได้นานนับปีหรือหลายๆ ปี หรือยิ่งหมักนานยิ่งดี
11. ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่หมักจนใช้การได้ดีแล้ว กรองกากออกเหลือแต่น้ำเพื่อนำไปใช้งาน ในน้ำที่กรองออกมานั้นยังมีจุลินทรีย์ เมื่อปิดฝาขวดเก็บไว้นานๆ ขวดจะบวมจนระเบิดได้ ให้ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในขวดด้วยการใส่ โซเดียม เมตตะไบร์ ซัลไฟด์ หรือ โปแตสเซียม เมตตะไบร์ ซัลไฟด์ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) อัตรา 250 พีพีเอ็ม. หรือ 250 ซีซี./1,000 ล. หรือ 25 ซีซี./100 ล. หรือ 2.5 ซีซี./10 ล.
การยับยั้งจุลินทรีย์แบบพลาสเจอร์ไลท์ โดยนำน้ำปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ผ่านการกรองดีแล้ว ใส่ถังยกขึ้นตั้งไฟความร้อน 70-72 องศา ซี. แล้วนำลงกรอกบรรจุขวด ปิดฝาสนิทอย่าให้อากาศเข้าได้ แล้วใส่ลงในถังควบคุมความเย็นจัด (ถังน้ำแข็ง) ทันที เมื่อเก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง จะทำให้ขวดไม่บวมหรือไม่ระเบิด และอยู่ได้นานนับปี
(กราบขอบพระคุณครู : ดร.อรรถ บุญนิธี, ดร.สุริยา ศาสนรักกิจ, อ.สำรวล ดอกไม้หอม, มาซาโอะ ฟูกูโอกะ-ญี่ปุ่น, ดร.โช - เกาหลี)
------------------------------------------------------------------------------------
.
|
|