MySite.com :: ดูกระทู้ - * ประเทศไทย ในฝัน
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป
ผู้ส่ง
ข้อความ
kimzagass หาวด้า เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11667
ตอบ: 13/11/2021 4:49 pm ชื่อกระทู้: * ประเทศไทย ในฝัน
.
.
********************** ประเทศไทย ในฝัน ***********************
ลำดับหัวข้อเรื่อง :
1. ประเทศเรา ประเทศไทย ประเทศเกษตร.... น่าจะมี
2. คนเรียนสูงระดับปริญญาเอก แต่ไม่ได้เรียนสาขาเกษตร
3. ในโลกนี้อาชีพที่มนุษย์ทำมี 2 อย่าง
4. วันนี้จะเอาเรื่อง “ปุ๋ย” อย่างเดียวไม่ได้
5. สมการปุ๋ยเคมี
6. สมการปุ๋ยอินทรีย์
7. สปริงเกอร์
8. ทุเรียน
9. เกษตรแจ๊คพ็อต
10. สร้างความพร้อมให้กับตัวเอง
11. อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย อาฟริกา ทั่วโลก
12. รวมงานวิจัยสารสมุนไพร
13. ข้าว
14. ปรัชญาสัจจะธรรม
15. หลัก 9 เลิกเด็ดขาด 9 ทำสม่ำเสมอ
16. ปฏิทินใช้สารเคมี
17. สำปะหลัง
18. เกษตร 5W. 1H.
19. สปริงเกอร์ให้ปุ๋ย
20. รอบรู้เรื่องแมลง
21. รอบรู้เรื่องหนอน
22. รอบรู้เรื่องโรค
23. รอบรู้เรื่องโลก
24. ผู้ส่งเสริม VS ผู้รับการส่งเสริม :
25. ตัวอย่างแหล่งน้ำธรรมชาติ รอการพัฒนา :
26. ประเทศไทย ประเทศเกษตร
27. ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วน
28. กำจัดวัชพืชในนาข้าว
29. ประเทศไทย แล้งคือแล้ง ท่วมคือท่วม
30. สัจจะธรรม ....
31. เวียดนามแบนสารเคมีไกรโฟเสต
32. ทีวี. สิงค์โปร์ เวียดนาม ไต้หวัน
33. เกมส์แบนสารเคมี 3 ฝ่ายวันนี้
34. สมุนไพรสูตรยาน็อค
35. ผักมีสารเคมีปนเปื้อน ในห้าง 60% ในตลาดสด 40%
36. คนที่อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย อาฟริกา ทั่วโลก
37. งานส่งเสริมแบบ ไม่ W. มีแต่ H.
38. สัจจะธรรมระดับโลก
39. อันตรายอาหารมียาฆ่าแมลงตกค้าง
40. สังคมไทย รวมไปถึงสังคมโลกวันนี้
41. ธรรมชาติไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีตัวเลข
42. ส่วนลึกของใจ
43. ปลูกเงาะระยะชิดพิเศษ
44. รัฐบาลเริ่มจับกุมร้านขาย “สารเคมี+ยาฆ่าหญ้า-ยาฆ่าแมลง”
45. จีนสนใจสารสกัดจากพืชถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
46. ยุโรป อเมริกา เลิกใช้ยาฆ่าหญ้า
47. ถ้าวิชาเกษตรมี 100 บท
48. ความหอมที่แฝงพิษร้ายของดอกมะลิ
49. นักเศรษฐศาสตร์การเกษตร
50. สารสมุนไพรป้องกันกำจัด โรคพืช แมลงศัตรูพืช
51. เปลี่ยน“ไม่รู้” ของตัวเองให้เป็น “รู้”
52. ประเภทของสารเป็นพิษ
53. อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย อาฟริกา ทั่วโลก
54. สัจจะธรรมระดับโลก สิ่งมีชีวิต (มนุษย์ สัตว์ พืช จุลินทรีย์)
55. สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
56. คนไทยอ่านหนังสือ
57. ไม่ใช่ "แนว" ของลุงคิม แต่เป็น "แนว" ของธรรมชาติ
58. ปุจฉา วิสัชนา
59. สมการปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
60. ที่นี่สอนให้ คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ฟันธง
61. เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง
62. ในธรรมชาติไม่มีตัวเลข ไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีคันเร่ง ไม่มีบล็อก
63. เกษตรานุสติ
64. 2 ทศวรรษ 20 ปี กับงานเกษตร
65. ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำตระกูลเผ่าพันธุ์
66. งานวิจัยด้านไบโอชีวภาพ
67. ต้นทุนค่าสาร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืช 30%
68. ประเภทคำถาม สั้น-กระทัดรัด-ได้ใจความ
69. ทำอาชีพเกษตรวันนี้ต้องคิดใหม่ทำใหม่
70. คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ
71. ธาตุอาหารในระบิดเถิดเทิง
72. กินผักแล้วหน้าบวม
73. จับหลัก “คิด-วิเคราะห์-เปรียบเทียบ-ฟันธง” สู้กับศัตรูพืช
74. ทำไมบราซิลถึงเก่งเรื่องทำไร่อ้อย
75. เกษตรานุสติ แรงบันดาลใจ
76. เทคโนโลยี สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย
------------------------------------------------------------------------------------------
1. ประเทศเรา ประเทศไทย ประเทศเกษตร.... น่าจะมี
* เครื่องตรวจวัดคุณภาพผลไม้ :
แบบมือถือ วัด ความแก่-ความหวาน-ความเปรี้ยว ของ ผลไม้/พืชผัก แต่ละชนิด โดยใช้เครื่องวัดตัวนี้ “จี้ หรือ สัมผัส” ที่ผิวผลแล้วมีตัวเลขดิจิตอลบอกเปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ผู้ซื้อมีความต้องการ เกรด-รส ของผลไม้ที่ต่างกัน
* เครื่องวัด ชนิด/ปริมาณ ของธาตุอาหารของผลไม้ :
แบบมือถือ โดยใช้เครื่องวัดตัวนี้ “จี้ หรือ สัมผัส” ที่ผิวผลแล้วมีตัวเลขดิจิตอลบอกเปอร์เซ็นต์ความหวาน วันนี้ ต้องเฉือนเนื้อผลไม้ผลนั้นใส่เครื่องส่องตรวจค่า ชนิด/ปริมาณ ของธาตุอาหารของผลไม้ ตรวจแล้วรู้เฉพาะผลที่ตรวจเท่านั้น ผลอื่นไม่รู้ และผลที่เฉือนเนื้อออกมาแล้วก็ขายไม่ออกด้วย
* เครื่องวัด ปริมาณของเนื้อ ขนาดของเมล็ด ของธาตุอาหารของผลไม้ :
แบบมือถือ โดยใช้เครื่องวัดตัวนี้ “จี้ หรือ สัมผัส” ที่ผิวผลแล้วมีตัวเลขดิจิตอลบอกปริมาณเนื้อ ขนาดของเล็ด วันนี้ ต้องเฉือนเนื้อผลไม้ผลนั้นใส่เครื่องส่องตรวจค่าปริมาณเนื้อ ขนาดของเล็ด ของผลไม้ ตรวจแล้วรู้เฉพาะผลที่ตรวจเท่านั้น ผลอื่นไม่รู้ และผลที่เฉือนเนื้อออกมาแล้วก็ขายไม่ออกด้วย
* เครื่องวัด ปริมาณกลิ่นของผลไม้ :
แบบมือถือ โดยใช้เครื่องวัดตัวนี้ “จี้ หรือ สัมผัส” ที่ผิวผลแล้วมีตัวเลขดิจิตอลบอกปริมาณกลิ่นของผล วันนี้ ต้องเฉือนเนื้อผลไม้ผลนั้นใส่เครื่องส่องตรวจปริมาณของผลไม้ ตรวจแล้วรู้เฉพาะผลที่ตรวจเท่านั้น ผลอื่นไม่รู้ และผลที่เฉือนเนื้อออกมาแล้วก็ขายไม่ออกด้วย
* เครื่องวัดความหวานของผลไม้ :
แบบมือถือ โดยใช้เครื่องวัดตัวนี้ “จี้ หรือ สัมผัส” ที่ผิวผลแล้วมีตัวเลขดิจิตอลบอกเปอร์เซ็นต์ความหวาน วันนี้ ต้องเฉือนเนื้อผลไม้ผลนั้นใส่เครื่องส่องตรวจค่าความหวาน ตรวจแล้วรู้เฉพาะผลที่ตรวจเท่านั้น ผลอื่นไม่รู้ และผลที่เฉือนเนื้อออกมาแล้วก็ขายไม่ออกด้วย
* เครื่องตรวจวัดสารเคมี :
แบบมือถือ ตรวจวัดสารเคมียาฆ่าแมลงปนเปื้อนบนผลผลิตทางการเกษตรทุกชนิด ทุกประเภท โดยใช้เครื่องวัดตัวนี้ “จี้ หรือ สัมผัส” ที่ผิวผลแล้วมีตัวเลขดิจิตอลบอกเปอร์เซ็นต์สารเคมียาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนให้รู้
************************************************
2. คนเรียนสูงระดับปริญญาเอก แต่ไม่ได้เรียนสาขาเกษตร
จึงไม่มีความรู้เรื่องเกษตร เป็นธรรมดา ฉันใด คนที่เรียนมาน้อย ที่เรียนก็ไม่ได้เรียนสาขาเกษตรซะอีก จึงไม่มีความรู้เรื่องเกษตรก็เป็นเรื่องธรรมดา ฉันนั้น ....
คนที่เรียนในโรงเรียน มหาลัย สถานศึกษา มีครูผู้สอนพูดอยู่หน้าห้องเรียน คนเรียนจึงมีความรู้ แต่คนที่ไม่ได้เรียนในสถานศึกษา ไม่มีครูมาพูดให้ฟัง แต่อ่านหนังสือเอง อ่านที่บ้าน อ่านในแปลงเกษตร อ่านไปดูของจริงไป ก็สามารถมีความรู้ได้เช่นกัน
มีหนังสือไว้ในบ้านเหมือนเป็น เอกสาร/ตำรา/คัมภีร์/มรดก ใช้ได้ตลอดชีวิต ถ่ายทอดให้ลูกหลานเหลนโหลน อ่านในบ้าน อ่านในแปลงไต้ต้นไม้ อ่านไปดูไป เชื่อเถอะ รุ่นเดียวรอบเดียว ก็เก่งได้
*************************************************
3. ในโลกนี้อาชีพที่มนุษย์ทำมี 2 อย่าง
คือทำ “ของกิน (เกษตรกรรม)” กับทำ “ของใช้ (อุตสาหกรรม)” ประเทศที่ทำของใช้ทำของกินไม่ได้ เพราะพื้นที่ทำของกินไม่ได้ แต่ประเทศที่ทำของกิน ทำของใช้ได้ ทำของกินได้ เพราะพื้นที่ไม่จำกัด ในเมื่อประเทศทำของใช้ต้องกินจึงต้องขายสิ่งที่ทำคือของใช้แล้วเอาเงินมาซื้อของกิน
สัจจะธรรมโลกในเมื่อประเทศไทยทำได้ทั้ง ของกิน/ของใช้ จึงน่าจะทำทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม นั่นคือ “เกษตรอุตสาหกรรม” โดยนำผลผลิตทางเกษตรกรรมมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม ทำให้ครบวงจร ต้นน้ำ/กลางน้ำ/ปลายน้ำ ทำให้ได้ เกรด เอ. ปลอดสารเคมี/ฯลฯ
**************************************************
4. วันนี้จะเอาเรื่อง “ปุ๋ย” อย่างเดียวไม่ได้
ต้อง...
* ตามความเหมาะสมของ ดิน...
* ตามความเหมาะสมของ น้ำ...
* ตามความเหมาะสมของ แสงแดด อุณหภูมิ ฤดูกาล...
* ตามความเหมาะสมของ สารอาหาร....
* ตามความเหมาะสมของ สายพันธุ์ ....
* ตามความเหมาะสมของ โรค ....
* ตามความเหมาะสมของ ตลาด...
* ตามความเหมาะสมของ คนในบ้าน... มา คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ แล้วจึง “ฟันธง” เพราะธรรมชาติไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีตัวเลข
ตามความเหมาะสม “..?..” ในเครื่องหมาย ..?.. หมายถึง พืช และ/หรือ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ปลูกพืชตามใจพืช ไม่ใช่ตามใจคน.... เพราะคน คิดเอง ถามเอง ตอบเอง
อาหารพืช-อาหารคน .... ธาตุหลักเปรียบเสมือนข้าว ธาตุรองเสมือนกับข้าว ธาตุเสริมเสมือนของหวาน ฮอร์โมนเสมือนของว่าง
ดินคือ ที่กิน ที่อยู่ของต้นพืช
จุลินทรีย์ คือ แม่ครัวของพืช
ลดปุ๋ยเคมี เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ และสารปรับปรุงบำรุงดิน
ลดธาตุหลัก เพิ่มธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน วิตามิน
--------------------------------------------------------------------
5. สมการปุ๋ยเคมี :
ปุ๋ยถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง
ปุ๋ยถูก + ใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง
ปุ๋ยถูก หมายถึง ถูกสูตร-ถูกประเภท-ถูก พีเอช.-ถูกปริมาณ-ถูกทุกอย่างที่ เกี่ยวเนื่อง/เกี่ยวข้อง ทั้ง โดยตรง/โดยอ้อม และ ระยะสั้น/ระยะยาวกับตัวปุ๋ย.....
ใช้ถูก หมายถึง ถูกพืช-ถูกดิน-ถูกน้ำ-ถูกอุณหภูมิ-ถูกเครื่องมือ-ถูกทุกอย่างที่ เกี่ยวเนื่อง/เกี่ยวข้อง ทั้ง โดยตรง/โดยอ้อม และ ระยะสั้น/ระยะยาว กับตัวพืช....
ศ.ดร.สัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์ แห่ง ม.ขอนแก่น ได้ทำการวิจัยการตอบสนองของมะม่วงต่อการใส่ปุ๋ยทางรากด้วยวิธีการต่างๆ แบ่งมะม่วงในแปลงเป็น 3 โซน เป้าประสงค์ต้องการให้มะม่วงได้รับปุ๋ยทางราก ต้นละ 3 กก. /3 เดือน โดยแบ่งการให้ ดังนี้
โซนที่ 1 ใส่ต้นละ .5 กก. /15 วัน เท่ากับใส่ 6 ครั้ง ในรอบ 3 เดือน
โซนที่ 2 ใส่ต้นละ 1 กก./เดือน เท่ากับใส่ 3 ครั้ง ในรอบ 3 เดือน
โซนที่ 3 ใส่ต้นละ 3 กก./เดือน เท่ากับใส่ 1 ครั้ง ในรอบ 3 เดือน
ผลการวิจัยพบว่า....
โซนที่ 1 แสดงอาการเจริญเติบโตชัดเจนที่สุด และดีที่สุด
โซนที่ 2 แสดงอาการเจริญเติบโตน้อยกว่าโซนที่ 1 และดีกว่าโซนที่ 3
โซนที่ 3 แสดงอาการเจริญเติบโตน้อยที่สุด
สรุป :
นี่คือการให้ปุ๋ยแบบ "ให้น้อย บ่อยครั้ง ตรงเวลา" ดีที่สุด
2. ERRI ศูนย์วิจัยข้าวโลก ฟิลิปปินส์ ระบุ/ยืนยัน ข้าว 1 ไร่ 1 รุ่น ใช้ปุ๋ยเคมีเพียง 10 กก.เท่านั้น
3. งานสัญจร วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี สมช. 4 ราย ยืนยันนั่งยันนอนยันตีลังกายันตรงกัน ปลูกผักกินใบ ผักกาดคะน้ากวางตุ้ง แนวลุงคิม ใช้ปุ๋ยลุงคิม ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. แคลเซียม โบรอน. ระเบิดเถิดเทิง. ใช้มาตลอด 10 ปี ลดต้นทุนที่จ่ายเป็นเงินค่าปุ๋ยเคมี เฉพาะปุ๋ยเคมีอย่างเดียวลงได้กว่าครึ่ง ต้นทุนค่าอย่างอื่นที่จ่ายเป็นเงินก็ลดลงด้วย ที่สำคัญคุณภาพต้นของผัก คนซื้อพอใจมากๆ ๆๆ .... เมื่อก่อนให้ทางใบทุก 7 วัน ตามคำแนะนำ วันนี้ให้ 10 วัน/ครั้ง บางที 12 วัน 15 วัน/ครั้ง ผักก็ยังดีได้ นี่แสดงว่า ในดินมีความสมบูรณ์สะสม สะสมจากธาตุอาหารที่ให้ประจำๆ ต่อเนื่องมานานๆ นี่คือ ให้น้อยบ่อยครั้ง.... ก็ได้นั่นเอง
ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ต่างก็เป็นสารอาหารสำหรับพืชเหมือนๆกัน การปฏิเสธหรือรับอย่างใดอย่างหนึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานเหตุและผล นั่นคือ ในความเป็นปุ๋ย ปุ๋ยตัวไหนในจำนวน 14 ตัว ประเภทให้ทางใบหรือทางราก แต่ละตัวปริมาณเท่าไหร่ กับอื่นๆ เช่น ฮอร์โมน วิตามิน ณ วันที่พืชต้องการใช้
ปุ๋ยทั้ง 14 ตัว N. P. K. Ca. Mg. S. Fe. Cu. Zn. Mn. Mo. B. Si. Na. ทุกตัวต่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล ทั้งโดยตรงโดยอ้อมต่อพืชและต้นข้าว ทั้งนั้น หากขาดตัวใดตัวหนึ่งจะทำให้การพัฒนาเจริญเติบโตของต้นพืชหรือต้นข้าวไม่สมบูรณ์แบบ หรือไม่ 100% เปรียบคนที่ขาดสารอาหารแล้วเกิดอาการ “ทุโภชนา หรือ โรคขาดสารอาหาร” นั่นเอง
พืชอายุสั้นฤดูกาลเดียวต้องการใช้ธาตุอาหารหรือสารอาหารไม่มากนัก ลำพังแค่ธาตุอาหารหรือสารอาหารอินทรีย์ อัตราหรือปริมาณที่มีในธรรมชาติก็พอเพียงต่อการพัฒนาเจริญ เติบโต เกรด เอ. จัมโบ้.ได้ ในขณะที่พืชอายุยืนนาน หลายๆปี ต้องใช้ธาตุอาหารหรือสารอาหารมากกว่า จึงจะพอเพียงต่อการพัฒนาเจริญเติบโต เกรด เอ. จัมโบ้. ได้
คำว่า “ปุ๋ยเคมี” กับ “สารเคมี” มีคำว่า “เคมี” เหมือนๆกัน แต่ความหมายต่างกันราวฟ้ากับดิน... ปุ๋ยเคมี คือ สารอาหาร คนกินได้ แต่สารเคมี คือสารพิษ คนกินตาย
สโลแกนการใช้ปุ๋ยวันนี้ที่ว่า “ลดปุ๋ยเคมี เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์และสารปรับปรุงบำรุงดิน.... กับกรณีพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว “ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ” คือสิ่งที่เหมาะสมถูกต้องที่สุด
ปัญหาจริงๆของปุ๋ยอินทรีย์ คือ ธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์
**************************************************
6. สมการปุ๋ยอินทรีย์ :
วัสดุหลักถูก + วัสดุเสริมถูก + จุลินทรีย์ถูก + วิธีทำถูก + อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักถูก + วัสดุเสริมถูก + จุลินทรีย์ถูก + วิธีทำผิด + อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักถูก + วัสดุเสริมถูก + จุลินทรีย์ผิด + วิธีทำผิด + อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักถูก + วัสดุเสริมผิด + จุลินทรีย์ผิด + วิธีทำผิด + อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักผิด+วัสดุเสริมผิด+จุลินทรีย์ผิด+วิธีทำผิด+อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผิด=ไม่ได้ผล ยกกำลังห้า
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมถูก+จุลินทรีย์ถูก+วิธีทำถูก+อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องถูก=ได้ผล ยกกำลังห้า
ทุกหัวข้อต้อง “ถูก” เท่านั้น จึงจะ = ได้ผล
หัวข้อใดหัวข้อหนึ่งเพียงหัวข้อเดียว “ผิด” = ไม่ได้ผลทันที
ทุกครั้งที่ให้ปุ๋ยทางใบ ถือโอกาส +สารสมุนไพร ไปด้วย นอกจากประหยัดต้นทุนค่าสารเคมีแล้วยังได้อะไรต่อมิอะไรทาง + อีกตั้งหลายรายการ
*************************************************
7. สปริงเกอร์ :
ความจริง-1 : สปริงเกอร์ที่ติดๆ ๆๆ กันทั่วไป เท่าที่เห็นใน ร่อง/แถว เดียวกัน ทำงาน 3-4 หัวแรกพ่นน้ำแรงมาก, 3-4 หัวกลาง พ่นน้ำแรงกลาง, แต่ 3-4 หัวท้ายพ่นน้ำออกค่อย เป็นอย่างนี้ทุก ร่อง/แถว
ความจริง-2 : ทำงานพ่นน้ำได้อย่างเดียว ปล่อยปุ๋ย (ทางราก/ทางใบ), ฮอร์โมน, ยา (เคมี/สมุนไพร) ไปทางสปริงเกอร์ไม่ได้ ต้องแยกทำงานต่างหาก สูญเสียเท่าไหร่....เกษตรกรอเมริกาส่ง ปุ๋ย/ยา ผ่านไปกับสปริงกเกอร์มานานกว่า 50 ปี คนไทยไปเรียนที่อเมริกาไม่รู้ เพราะไม่ได้เรียนเกษตรแต่มีเพื่อนเป็นอเมริกันไม่ใช่เหรอ แม้แต่คนไทยอยู่เมืองไทยไม่ดูอินเตอร์เน็ต
ความจริง-3 : ฉีดพ่นสารเคมี 1 รอบ เทียบกับฉีดพ่นสารสมุนไพร 10-20 ครั้ง ความ สูญเสีย/สิ้นเปลือง อย่างไหน มาก/สูง กว่ากัน
ความจริง-4 : ไม่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลง แต่ใช้สารสมุนไพรแทน ได้เครดิตจากคนรับซื้อ ได้คำชมจากคนกิน ได้กุศลแก่ตัวเอง แก่ทุกคนในครอบครัว ถึงบ้างข้างเคียง
ความจริง-5 : ทำอย่างเดิมคงไม่มีอะไรดีไปกว่าเดิม เผลอๆ อาจจะเลวร้ายไปกว่าเดิมด้วย
ความจริง-6 : ยุคนี้สมัยนี้วันนี้ งานที่ทำจะเป็นงานอดิเรกหรืองานหลัก สมัครเล่นหรืออาชีพ สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ “เทคโนโลยี” ว่าด้วย เทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีการจัดการ เทคโนโลยีการบริหาร เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง เทคโนโลยีการตลาด เทคโนโลยีการโฆษณาประชาสัมพันธ์
ประเด็นเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง สำหรับงานสวนเกษตรด้านพืช เพื่อให้ได้ คุณภาพดี, ปริมาณผลผลิตมาก, ประสิทธิภาพ ระยะสั้น/ระยะปานกลาง/ระยะยาว สูง, ต้นทุนค่าเวลาสั้น, ต้นทุนค่าแรงต่ำ, ต้นทุนค่าพลังงานน้อย, ต้นทุนค่าอารมณ์ไม่มี, ฯลฯ, .... ถึงวันนี้ยืนยันได้ว่า ระบบสปริงเกอร์ คือ หนึ่งในเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงนี้
*************************************************
8. ทุเรียน
ราชาแห่งผลไม้ วันนี้กลายเป็น ไม้ผลมหัศจรรย์ ไม้ผลในฝัน เนื้อที่ 1 ไร่ พันธุ์ทั่วๆไปได้ขาย 1 รอบ ราคาหน้าสวน กก.ละ 100 แต่พันธุ์หมอนทองออกลูกทั้งปี ได้ขายหลายรอบ ราคาหน้าสวน กก.ละ 100 เหมือน กัน แล้วไม้ผลอย่างอื่นล่ะ เนื้อที่ 1 ไร่ ได้ขาย 1 รอบ ราคาหน้าสวน กก.ละ 10 บาท....
ทุเรียนทั่วประเทศออกสู่ตลาดเรียงลำดับ จากเชียงรายเหนือสุด ไล่ลงมา ภาคกลาง ภาคอิสาน ภาคตะวันออก แล้วต่อไปภาคใต้ แม้แต่ภาคไต้ยังแบ่งภาคไต้ตอนบน ภาคไต้ตอนล่าง สรุปก็คือ แผ่นดินไทยมีทุเรียน กิน/ขาย ได้ตลอดปีไม่มีฤดูกาล งานนี้ไม่ใช่เฉพาะแจ๊คหม่าชอบใจคนเดียว แจ๊กหม่ำ ทั่วโลกก็ยิ้มด้วย เหลือแต่คนคนไทย “ผู้ผลิต เป็นผู้ขาย” ได้หรือไม่...
ด้วยศักดิ์ศรี“ราชาแห่งไม้ผล” ไม่ต้องรอตลาดต่างประเทศ แค่ในประ เทศก็ไม่พอขายแล้ว แบ่งแปลงปลูกเป็นโซนๆ แล้วทำ “ทุเรียนแจ๊คพ็อต” บำรุงให้ออกครั้งละโซน ๆๆ โซนละกี่ต้นก็ว่ากันไป ระบบการตลาดแบบนี้จะดีไหม ที่สำคัญ ผลผลิต เกรด เอ. จัมโบ้. รับรองไม่พอให้จองล่วงหน้า
เกมส์นี้จะผ่านได้ด้วย “เทคโนโลยี” เท่านั้น เทคโนโลยีการบริหารจัดการ เทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีการตลาด แม้แต่เทคโนโลยีการโฆษณาประ ชาสัมพันธ์ .... ต้องเปิดใจ
ยอมรับ ทำแบบเดิมคงไม่มีอะไรดีไปกว่าเดิม....
****************************************************
9. เกษตรแจ๊คพ็อต
เกษตรแจ๊คพ็อต...เกษตรแจ๊คพ็อต... สั้นๆคำนี้ น่า จะเป็นแรงบันดาลใจ เป็นแสงสว่างปากถ้ำ เป็นป้าหมายชีวิตที่ตัวเองอยากให้เป็น เป็นๆ ๆๆ ๆๆ เป็นอะไรก็ได้ที่ตัวเองอยากให้เป็น
เกษตรแจ๊คพ็อต หมายถึง ผลผลิตที่ได้ราคาแพงตามสภาวะการตลาด เรียกว่า DEMAND SUPPLY (อุปสงค์-อุปทาน) หรือ สินค้ามีน้อยแต่ผู้ซื้อมีมาก หรือ สินค้ามีน้อย น้อยกว่าปกติ แต่ผู้บริโภคมีเท่าเดิม ประมาณนี้...สภา วะการตลาดแบบนี้ไม่มีมาตรฐานรองรับ ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ บางครั้ง
อยากจะเรียกว่า “ฟลุก หรือ ดวง” ด้วยซ้ำ ผู้ที่จะให้คำตอบได้ดีที่สุดคือ “แม่ค้า” ในย่านนั้นว่า อะไรราคาแพงเดือนไหน เพราะอะไร หรือรู้แม้แต่คนที่เคยทำได้ มีตัวตน มีเบอร์โทร ....
เหนือกว่าเกษตรแจ๊คพ็อต คือ “เกษตรประณีต” ที่ทุกอย่างมีมาตรฐานรองรับอย่างเป็นเหตุเป็นผล ไม่ใช่ฟลุก ไม่ใช่ดวง แต่เป็นมือโดยแท้ ชนิดที่พูดได้เต็มปาก “ก.ทำกับมือ ม.อย่าเถียง...” ประมาณนั้น
การที่จะทำได้ประสบความสำเร็จอยู่ที่ “ใจ” ใจเอาใจสู้ ใจมาก่อนฝีมือมาทีหลัง คนเราความเก่งเท่าๆกัน แต่แพ้ชนะกันที่โอกาส โอกาสลอยอยู่ในอากาศ ใครคว้าไว้ได้ก็ได้ ไม่คว้าก็ลอยหายไปหาคนอื่น ....
ระหว่าง ทำ กับ ไม่ได้ทำ ....
ทำถูก = ได้ คือ กำไร
ทำผิด = ไม่ได้ คือ ขาดทุน เป็นหนี้
ไม่ได้ทำ = ไม่ได้ คือ เท่าทุน หรือ ขาดทุน ลงท้ายเป็นหนี้
เกษตรที่ทำอยู่ ณ วันนี้ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ/ฟันธง ซิ
* ให้ได้ปริมาณมากกว่านี้ ทำยังไง ? .... ได้น้อย ได้เท่าเดิม ได้เท่าข้างบ้าน สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ได้คุณภาพเหนือกว่านี้ ทำยังไง ? .... คุณภาพต่ำ คุณภาพเท่าเดิม คุณภาพเท่าข้างบ้าน สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ต้นทุน ทุนซื้อ/ทำเอง ต่ำกว่านี้ ทำยังไง ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ได้เครดิตความน่าเถือมากกว่านี้ ถึงขนาดจองล่วงหน้า ซื้อเหมายกสวน ทำยังไง ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* วิธีทำ รูปแบบการทำของตัวเองคือ ทำแบบเดิม ผลรับทุกอย่างเหมือเดิม เพราะอะไร ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* วิธีทำ รูปแบบการทำของคนอื่น ผลรับทุกอย่างเหนือกว่าของเรา เพราะอะไร ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ฯลฯ
*** คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ บนเหตุและผล :
เนื้อที่ 1 ไร่ ไม้ผลทั่วไป ทำงานทั้งปี ได้ขายรอบเดียว ราคาหน้าสวน กก.ละ 20 บาท.. ทุเรียนหมอนทองออกลูกทั้งปี พันธุ์ทั่วไปออกลูกปีละครั้ง หน้าสวน กก.ละ 100 บาท
เนื้อที่ 1 ไร่ ผลไม้ทั่วไป ทำงานทั้งปี ออกลูกปีละครั้ง ราคาหน้าสวน กก.ละ 20 บาท..... ส้มเขียวหวาน มะนาว มะพร้าวน้ำหอม ทำงานทั้งปี ได้ขาย 3-4-10 รอบ
เนื้อที่ 1 ไร่ นาข้าว ยูเรีย 16-20-0 ได้ 80 ถัง ราคาที่โรงสี 8,000 .... นาข้าวแนวสีสันฯ ได้ 100 ถัง ราคาที่โรงสี 10,000 ข้าวราคาดี :ข้าวปลูก, ข้าวหอมพร้อมหุง, ข้าว จีไอ.พร้อมหุง,
เนื้อที่ 1 ไร่ สำปะหลัง/เผือก แบบเทวดาเลี้ยง ทำงานทั้งปี ได้ 3 ตัน ..... สำปะหลัง/เผือก แนวสีสันฯ ทำงานทั้งปี ได้ 20+ ตัน
เนื้อที่ 1 ไร่ อ้อยโรงงาน แบบเทวดาเลี้ยง ทำงานทั้งปี ตอ 1 ได้ 12 ตัน, ตอ 2 ได้ 6 ตัน, ตอ 3 ล้มทิ้งปลูกใหม่ ..... อ้อยโรงงาน แนวสีสันฯ ตอ 1 ได้ 20 ตัน ตัดแล้วเลี้ยงตอต่อ 8 รอบ รอบละ 14 ตัน
************************************************
. แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/07/2024 9:12 am, แก้ไขทั้งหมด 50 ครั้ง
กลับไปข้างบน
kimzagass หาวด้า เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11667
ตอบ: 13/11/2021 5:02 pm ชื่อกระทู้:
.
.
10. สร้างความพร้อมให้กับตัวเอง :
1. คุยกับเกษตร จังหวัด/อำเภอ/ตำบล/จิตรอาสา เรื่องข้าวญี่ปุ่นในเมือง ไทย เก็บรายละเอียดมาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยเฉพาะเอกสารตำรา
2. ไปดูแปลงจริงในประเทศไทย ใกล้สุด ไกลสุด
3. ความสำเร็จ ความล้มเหลว การแก้ปัญหา ผลจากการแก้ปัญหา
4. การตลาด
5. แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม
6. เทคนิค เทคโน
7. 5 W. 1 H.
8.
ขึ้นชื่อว่า “ส่งออก” ถือว่าดีทั้งนั้น นั่นคือเอาเงินตราต่างประ เทศเข้ามาประเทศเรา ไม่ใช่อัฐยายซื้อขนมยาย ซื้อขายกันเองแต่ในประเทศอย่างที่ เป็นๆ/ทำๆ อยู่ทุกวันนี้ .... ตัวอย่างไต้หวัน เกษตรกรที่ส่ง ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ ไปต่างประเทศได้ รัฐบาลจะมีโบนัสแถมให้อีก
ข้าวญี่ปุ่นส่งออกญี่ปุ่นประเทศเดียวเหรอ ข้าวญี่ปุ่นส่งออกประ เทศอื่นได้ไหม
นอกจากข้าว ผลิตภัณฑ์การเกษตรอย่างอื่น กลุ่ม “อาหาร-เครื่องดื่ม”
นอกจากญี่ปุ่น ประเทศอื่นได้ไหม ? เหมือนแจ๊คหม่ากับแจ๊คหม่ำ ....
ประเทศอุตสาหกรรมทำของใช้ ทำของกินไม่ได้ เพราะโซนภูมิศาสตร์ไม่อำนวยแต่ต้องกิน ในทางกลับกัน ประเทศเกษตรกรรมกลับดัดจริตจะเป็นประเทศอุตสาหกรรม ทำของใช้บ้าง ทั้งๆที่ช่องทาง “เกษตรอุตสาหกรรม” (เน้นย้ำ...เกษตรอุตสาหกรรม) เปิดทางโล่งโจ้งกลับไม่เอา
อาหาร คือ ของขบเคี้ยว เครื่องดื่ม คือ น้ำ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ต่อยอด/ขยายผล แป๊บซี่โคล่าลิโพกระทิงแดง เป็นน้ำส้มคั้น น้ำผลไม้ บรรจุขวดสุญญากาศ อยู่ได้นานนับปี ไทยไม่ทำ .... ก็ว่ากันไป
************************************************
คนที่11. อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย อาฟริกา ทั่วโลก
รังเกียจสารเคมียาฆ่าแมลงกันทั้งนั้น ถ้าวันนี้มีอะไรที่ไม่เป็นพิษมาใช้แทนสารเคมียาฆ่าแมลงได้ เชื่อว่าผู้คนประเทศเหล่านี้ยินดีต้อนรับกันทั้งนั้น
ในโลกนี้โซนภูมิศาสตร์ที่มีการเจริญเติบโตของชีวภาพมากที่สุด คือ โซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และศูนย์กลาง คือ พม่า ไทย ลาว เขมร เวียด นาม มาเลเซีย สิงค์โปร์ อินโดเนเซีย และศูนย์ของศูนย์กลางจริงๆ คือ “ไทย THAILAND” นี่แหละ....
วันนี้ หรืออนาคตอันใกล้ ถ้า พม่า ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย สิงค์โปร์ อินโดเนเซีย ประ เทศใดประเทศหนึ่ง ผลิตสารสมุนไพรเพื่อการเกษตร ครอบคลุมทั้งพืชและสัตว์ ทั้งสัตว์และสัตว์ป่า ทั้งผลผลิตสดและผลผลิตแปรรูป ออกขาย จำหน่ายทั่วโลกได้ รูปแบบการเกษตรจะเปลี่ยน ไปทางไหน ....
ในเมื่อพืชสมุนไพรไม่อาจปลูกได้ใน อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย อาฟริกา แต่เขาจำเป็นต้องใช้ หรือต้องบริโภคผลิตภัณฑ์จากการเกษตร เขาก็ต้อง WELCOME ต่อสารสมุนไพรแน่นอน
สังคมไทย รวมไปถึงสังคมโลกนนี้ ยาสมุนไพรสำหรับคน (เน้นย้ำ...คน) มาแรงมาก ๆๆ ๆๆ ทีวี.ทุกช่อง วิทยุทั้ง เอฟเอ็ม./เอเอ็ม. ทุกสถานี โฆษณาสมุนไพรสำหรับคนรุนแรงมาก ๆๆ ทุกตัวทุกผลิตภัณฑ์ได้ผลทั้งนั้น ....
จากสมุนไพรสำหรับคน หันมามอง สมุนไพรสำหรับพืช สมุนไพรสำหรับสัตว์เลี้ยง ยังไม่มีวี่แววแจ้งเกิด ทั้งๆที่ ประเทศไทย ประเทศเกษตร ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า นักนวตกรรมเกษตร นักภูมิปัญญาประดิษฐ์ ทำไมไม่สวมวิญญาณนักการตลาด ผลิตสารสมุนไพรสำหรับพืช สำหรับสัตว์เลี้ยง ออก มาขายบ้าง
**************************************************
12. รวมงานวิจัยสารสมุนไพร :
สารสมุนไพรป้องกันกำจัด โรคพืช แมลงศัตรูพืช.... โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ http://www3.oae.go.th/rdpcc/images/filesdownload/km/Knowledge/productions/9.pdf
พืชสมุนไพรไล่แมลง แทนสารเคมีสังเคราะห์...อ.แสงเดือน อินชนบท สำนักฟาร์ม ม.แม่โจ้ https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_87501
การกำจัดศัตรูพืชด้วยสมนุไพร .... กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
http://www.ldd.go.th/menu_Dataonline/G1/G1_30.pdf
การใช้สมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืช...สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 เชียงใหม่
http://www.ndoae.doae.go.th/article2010/2011004.html
สมุนไพรไล่แมลงสูตรร้อนแรง ..อ.เกศศิรินทร์ แสงมณี วิชาเกษตรศาสตร์ ม.ราชภัฏพระนคร
https://www.baanlaesuan.com/150794/garden-farm/herbal-insect-repellent-2
ควบคุมศัตรูพืชด้วยสารธรรมชาติ .... กรมวิชาการเกษตร http://www.doa.go.th/pibai/pibai/n9/v-8-sep/cheaksong.pdf
สมุนไพรไล่แมลงแทนสารเคมี (ตอน 2)...สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร ม.แม่โจ้ http://researchex.rae.mju.ac.th/agikl/index.php/knowledge/37-organic/165-
งานวิจัยฯ .... ม.เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
http://rdi.rmutsv.ac.th/rmutsvrj/download/year6-issue1-2557/p_39.pdf
การใช้สมุนไพรป้องกันและกำจัดศัตรูพืช..... กรมวิชาการเกษตร
http://www.pmc03.doae.go.th/webpage/research/researchsamunphai.pdf
สมุนไพร : เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง .... วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชร
http://www.kpcat.ac.th/BWLFSD/document/07102556.pdf
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ .... สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช
http://lpsci.nfe.go.th/lpsci/attachments/184_bb11.pdf
คลื่นวิทยุลดความชื้นในข้าวและกำจัดแมลง .... คณะเกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่ https://www.voicetv.co.th/read/76546
นี่คือส่วนหนึ่งของตัวอย่าง หน่วยราชการ/นักวิชาการ/นักวิจัย ที่มี ข้อมูล/ประสบการณ์ตรง เรื่องสารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัดศัตรูพืช ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ส่วนราชการต้นสังกัดของ นักวิชาการ/นักวิจัย เหล่านี้ทำไมจึงไม่นำเสนอให้รัฐบาลได้รับรู้ กับให้สงสัยอย่างมากๆ (เน้นย้ำ...มากๆ) คือ ....
** เกษตรกร (ตัวจริง) ที่ใช้สารธรรมชาติ (สารสมุนไพร) แทนสารเคมีแล้วได้ผล ทำไมจึงไม่พูดเรื่องนี้...
** รายการ ทีวี. พบเกษตรกรใช้สารธรรมชาติกำจัดศัตรูพืช แล้วทำไมไม่ทำข่าวเจาะลึกเรื่องสารธรรมชาตินั้น ....
*************************************************
13. ข้าว :
* ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าว 9 แสนตัน โดยนำเข้าจากเวียดนาม 8 แสนตัน นำเข้าจากไทย 1 แสนตัน
* ข้าวไทยราคาแพงเพราะต้นทุนสูงแต่ไม่พูดว่าต้นทุนค่าอะไร
* ตลาดโลกต้องการข้าวนุ่ม ในขณะที่คุณภาพข้าวไทยต่ำกว่าข้าวเวียดนาม
* ข้าวหอมมะลิไทย ปลูกซ้ำหลายรอบ ทำให้คุณภาพต่ำลง ในขณะที่เวียดนามระวังเรื่องนี้มาก
* ประเทศไทย งานวิจัยใหม่ไม่มี งานวิจัยเก่าไม่เอามาส่งเสริม หรือต่อยอด
ขายข้าวขาดทุน โทษโรงสีให้ราคาต่ำ :
แต่ไม่เคยดูเลยว่าต้นทุนสูงเพราะอะไร ? ค่าอะไร ? เช่น ค่าปุ๋ย, ค่ายา, ค่าดินเสื่อม, ค่าเมล็ดพันธุ์, ค่าคุณภาพข้าว, ค่าโอกาส, ค่าแรง, ค่าเวลา, ค่าพื้นที่, ฯลฯ
** นายกสมาคมฯ เสนอแนะให้ข้าวเปลือก ตันละ 15,000 ชาวนาจึงจะอยู่ได้ เพราะต้นทุนนาข้าวตกไร่ละ 8,000 เกมส์นี้คิดดู เดิมโรงสีรับซื้อข้าวเปลือกตันละ 8,000 แล้วสีเป็นข้าวสารพร้อมหุงตก กก.ละ 30 คนกินพออยู่ได้ แต่ถ้าโรงสีลงทุนจ่ายค่าข้าวเปลือกตันละ 15,000 แล้วสีเป็นข้าวสารพร้อมหุงจะมิตก กก.ละ 100 หรอกรึ ฉะนี้จะเดือดร้อนกันทั่วประเทศไหม ? ทั้งๆที่ ในความเป็นจริง ต้นทุนนาข้าวตกไร่ละ 3,000 เท่านั้น คิดดู ....
นาข้าว 1 ไร่ :
- ต้นทุนปุ๋ย ระเบิดเถิดเทิง ไบโออิ ไทเป ยูเรก้า 500 (ซื้อ) 300 (ทำเอง) ได้ธาตุอาหารครบ หลัก รอง เสริม ฮอร์โมน จุลินทรีย์
- ต้นทุนปุ๋ยซื้อ 46-0-0, 16-20-0 (2 กส.) 1,800 (ซื้อเครดิต) ได้ธาตุอาหาร 2 ตัว ตัวหน้า ตัวกลาง ไม่มีตัวท้าย ไม่มีธาตุรอง ไม่มีธาตุเสริม ไม่มีฮอร์โมน ไม่มีจุลินทรีย์
- ต้นทุนค่าสารเคมี ค่ายาฆ่าหญ้า ฯลฯ
ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้บ่งบอกให้รู้ว่า คนไทยเกษตรกรไทย ทำเป็น/คิดเป็น แค่ "เชิงเดี่ยว" เท่านั้น
การที่จะทำได้ประสบความสำเร็จอยู่ที่ “ใจ” ใจเอาใจสู้ ใจมาก่อนฝีมือมาทีหลัง คนเราความเก่งเท่าๆกัน แต่แพ้ชนะกันที่โอกาส โอกาสลอยอยู่ในอากาศ ใครคว้าไว้ได้ก็ได้ ไม่คว้าก็ลอยหายไปหาคนอื่น
ระหว่าง ทำ กับ ไม่ได้ทำ ....
ทำถูก = ได้ คือ กำไร
ทำผิด = ไม่ได้ คือ ขาดทุน เป็นหนี้
ไม่ได้ทำ = ไม่ได้ คือ เท่าทุน หรือ ขาดทุน ลงท้ายเป็นหนี้
เกษตรที่ทำอยู่ ณ วันนี้ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ/ฟันธง ซิ
* ให้ได้ปริมาณมากกว่านี้ ทำยังไง ? .... ได้น้อย ได้เท่าเดิม ได้เท่าข้างบ้าน สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ได้คุณภาพเหนือกว่านี้ ทำยังไง ? .... คุณภาพต่ำ คุณภาพเท่าเดิม คุณภาพเท่าข้างบ้าน สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ต้นทุน ทุนซื้อ/ทำเอง ต่ำกว่านี้ ทำยังไง ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ได้เครดิตความน่าเถือมากกว่านี้ ถึงขนาดจองล่วงหน้า ซื้อเหมายกสวน ทำยังไง ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* วิธีทำ รูปแบบการทำของตัวเองคือ ทำแบบเดิม ผลรับทุกอย่างเหมือเดิม เพราะอะไร ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* วิธีทำ รูปแบบการทำของคนอื่น ผลรับทุกอย่างเหนือกว่าของเรา เพราะอะไร ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ฯลฯ
************************************************
14. ปรัชญาสัจจะธรรม :
การกระทำใดๆ กระทำแล้วย่อมได้ ความสำเร็จ กับ ความล้มเหลว เสมอ.
ทุกความสำเร็จ และ ทุกความล้มเหลว มีมูลเหตุ .... มูลเหตุคือ สาเหตุ หรือต้นเหตุ
ปัญหาที่เกิดในการกระทำได้แก่ ปัญหา ของเรา-ของเขา-อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต ....
ปัญหาบางอย่างบางครั้ง แก้ได้ .... บางอย่างบางบางครั้ง แก้ไม่ได้....
การสู้กับปัญหาที่ได้ผลที่สุด คือ “ป้องกัน” ....
วิธีหรือมาตรการป้องกันปัญหาที่ดีที่สุด คือ รู้ส่วนที่ “เป็น” หรือ “จะเป็น” ปัญหาก่อน แล้ว “ป้องกัน” ไม่ให้ปัญหานั้นเกิด ....
วิธีป้องกันควรต้องกระทำตั้งแต่ ก่อนกระทำ ระหว่างกระทำ และหลังกระทำ...
ทุกปัญหาในภาคการเกษตร (ทุกภาค) แก้ไขได้ด้วยมาตรการ “ป้องกัน” ....
** ยุคนี้ต้องจับหลัก “เอาความล้มเหลวมา แก้ไข/ดัดแปลง....เอาความสำเร็จมา ต่อยอด/ขยายผล” ...
** (แจ๊คหม่า/16 JUL) ความรู้ ความคิด โอกาส .... คิดใหม่ ทำใหม่ คิด+
** (คิม ซา กัสส์) คนเก่งเท่ากัน แต่ แพ้/ชนะ กันที่ “โอกาส”
75. สัจจะธรรมการเกษตร :
* เกษตรกรผู้ผลิตไม่สามารถกำหนดตลาดได้ ผู้ซื้อให้ราคาเท่าไหร่ก็ต้องรับเท่านั้น
* เกษตรกรผู้ผลิตสามารถกำหนด ต้นทุน/คุณภาพ/จำนวน ได้
* ภายไต้ราคาที่ตลาดกำหนด เกษตรกรผู้ผลิตมีกำไรได้ด้วยหลักการจัดการ ผลผลิตเพิ่ม (ปริมาณ คุณภาพ)/ต้นทุนลด (หัวใจเกษตร)/อนาคตดี (คนซื้อจองล่วงหน้า)
* เกษตรกรปลูกพืช อาชีพ/สมัครเล่น/แปลงใหญ่/บ้านจัดสรร ต้องยอมรับหัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
************************************************
15. หลัก 9 เลิกเด็ดขาด 9 ทำสม่ำเสมอ :
เลิก. เด็ดขาด :
1. เลิกน้ำหล่อร่อง ....
2. เลิกสารเคมี ....
3. เลิกหว่านปุ๋ยรดน้ำตาม ....
4. เลิกเชื่อคนขายปุ๋ยขายยา ....
5. เลิกตามข้างบ้านที่ล้มเหลว ....
6. เลิกเชื่อโฆษณา ....
7. เลิกวิธีแบบเดิม ....
8. เลิกปิดกั้นตัวเอง ....
9. เลิกกูเก่งกว่า
ทำ. สม่ำเสมอ :
1. ติดสปริงเกอร์ ....
2. ใช้สมุนไพร ....
3. ให้ปุ๋ยไปกับน้ำ ....
4. ลดปุ๋ยเคมี เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ และสารปรับปรุงบำรุงดิน ....
5. ลดธาตุหลัก เพิ่มธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน และอื่นๆ ....
6. ให้ปุ๋ยน้อยแต่บ่อยครั้ง ....
7. ตามใจส้ม .... 8. เป็นตัวของตัวเอง ....
9. เปิดใจรับข้อมูล
***********************************************
16. ปฏิทินใช้สารเคมี :
วันที่ 1 ในปฏิทิน ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร 1 ล. + สารเคมี 100 ซีซี. (ครั้งที่ 1)
วันที่ 2 - 3 - 4 ในปฏิทิน..... งด
วันที่ 5 ในปฏิทิน ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร เดี่ยวๆ 1 ล.
วันที่ 6 - 7 - 8 ในปฏิทิน.... งด
วันที่ 9 ในปฏิทิน ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร เดี่ยวๆ 1 ล.
วันที่ 10 - 11 - 12 ในปฏิทิน.... งด
วันที่ 13 ในปฏิทิน ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร 1 ล. + สารเคมี 50 ซีซี. (ครั้งที่ 2)
วันที่ 14 - 15 - 16 ในปฏิทิน.... งด
วันที่ 17 ในปฏิทิน ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร เดี่ยวๆ 1 ล.
วันที่ 18 - 19 - 20 ในปฏิทิน.... งด
วันที่ 21 ในปฏิทิน ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร เดี่ยวๆ 1 ล.
วันที่ 22 - 23 - 24 ในปฏิทิน.... งด
วันที่ 25 ในปฏิทิน ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร 1 ล. + สารเคมี 25 ซีซี. (ครั้งที่ 3)
วันที่ 26 - 27 - 28 ในปฏิทิน.... งด
วันที่ 29 ในปฏิทิน ฉีดพ่น น้ำ 100 ล. + สารสมุนไพร เดี่ยวๆ 1 ล.
วันที่ 30 - 31 ในปฏิทิน.... งด
สรุป
ฉีด 1 ครั้ง เว้น 3 วัน ขึ้นวันที่ 4 ให้ฉีด
ฉีดสมุนไพร 2 ครั้ง สลับด้วย สมุนไพร+เคมี 1 ครั้ง
ทุกครั้งที่ให้สารเคมี ลดอัตราใช้ลงครึ่งหนึ่งของครั้งที่แล้ว
ธรรมชาติไม่มีตัวเลข เพราะฉะนั้นในการปฏิบัติจริงอาจจะ +/- หรือ เพิ่ม/ลด ได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
ฉีดสมุนไพรแบบ เช้ารอบค่ำรอบ/ค่ำรอบเช้ารอบ ไม่เป็นอันตรายต่อพืช แล้วศัตรูพืชจะทนอยู่ได้ยังไง
สารออกฤทธิ์ที่ได้จากสารเคมี คือ กลิ่น-รส-ฤทธิ์ ในขณะที่สารออกฤทธิ์ที่ได้จากสารสมุนไพรคือ กลิ่น-รส-ฤทธิ์ เช่นเดียวกัน ... คนกินยาสมุนไพร สู้กับโรคได้เหมือนยาโรงพยาบาล ฉันใดก็ฉันนั้น
************************************************
17. สำปะหลัง :
สำปะหลัง “ต้นเดี่ยว-คนเลี้ยง” อู่ทอง สุพรรณบุรี.......ได้ 60 ตัน /ไร่ เราเอาแค่ 20 ตันก็พอ
สำปะหลังแบบเดิม “ต้นเดี่ยว-เทวดาเลี้ยง” .................. ได้ 4 ตัน /ไร่ ได้น้ำเฉพาะหน้าฝน หน้าแล้งคือแล้ง
สำปะหลังแบบเดิม “ต้นเดี่ยว-คนเลี้ยง” ..................... ได้ 10 ตัน /ไร่ หน้าฝนให้น้ำน้อยๆ หน้าแล้งมากหน่อยแต่ก็แค่พอหน้าดินชื้น ส่วนปุ๋ยทางใบลงถึงรากด้วย ให้ทุก 10-15 วัน +ยาสมุนไพรด้วย
สำปะหลัง แบบก้าวหน้า “ต้นคู่-เทวดาเลี้ยง” ................ ได้ 8 ตัน /ไร่ เทวดาคือเทวดา
สำปะหลัง แบบก้าวหน้า “ต้นคู่-คนเลี้ยง” ................... ได้ 20 ตัน /ไร่ บำรุงแบบคนเลี้ยง จำนวนต้นมากขึ้น จำนวนหัวก็ต้องมากตามด้วย
สำปะหลังกินตัวเอง เพราะ หัวสำปะหลังคือรากสะสมอาหาร ถึงหน้า แล้งไม่มีน้ำจึงกินอาหารที่สะสมไว้ หัวจึงขนาดเล็กลง แนวทางแก้ไขคือ ให้อาหาร น้ำ+ปุ๋ย ทั้งทางใบทางราก เมื่อเขาได้อาหารใหม่เพิ่มก็จะไม่กินอา หารที่สะสมไว้ แบบนี้นอกจากขนาดหัวไม่เล็กลงแล้วยังใหญ่ขึ้นอีกด้วย นี่ไง ถึงถามว่า กล้าขยัน ไปหาน้ำมาให้สำปะหลังได้ไหม
สำปะหลังที่น้ำมากเกินเปอร์เซ็นต์แป้งจะต่ำ ไม่ได้ราคา .... ปริมาณน้ำในดิน คือ แล้ง-แห้ง-ชื้น-ชุ่ม-โชก-แฉะ-แช่-ท่วม สำปะหลังต้องการเพียง แห้ง-ชื้น เท่านั้น
ปุ๋ยทางใบ ประสิทธิภาพเหนือกว่าปุ๋ยทางราก มาตรการให้ปุ๋ยทางใบ ถูกตัว/ถูกสูตร/ถูกพืช/ถูกระยะ/ถูกปัจจัยพื้นฐาน/ถูกหัวใจเกษตร +สารสมุนไพร ย่อมได้ประสิทธิภาพประสิทธิผลสูงสุด
สำปะหลังแบบก้าวหน้า :
ปลูกแบบ “แถวตอนเรียง 1” ยาวตามร่องปลูกแบบเดิม สำปะหลัง 1 กอจะให้หัว 1 พวง ถ้าปรับใหม่เป็นปลูกแบบ “แถวตอนเรียง 2” ยาวตามร่องปลูกเดิม เป็นสำปะหลัง 2 กอ เท่ากับได้หัวสำปะหลัง 2 พวง บนพื้นที่เท่าเดิม .... ติดสปริงเกอร์ ให้น้ำ ให้ปุ๋ยทั้งทางใบทางราก รุ่นเดียวที่ได้ทุนคืน ถ้าไม่มีสปริงเกอร์จะลากสายยางก็ได้ ที่สำคัญขอให้สำปะ หลังได้น้ำได้ปุ๋ยก็แล้วกัน
ปลูกสำปะหลังแบบแถวตอนเรียง 2 แต่ละกอทำเป็น “สำปะหลังคอนโด” โดย 1 กอให้ 2-3 พวง บำรุงเต็มที่ตามความเหมาะสมของสำปะ หลัง จะได้หัวสำปะหลังมากกว่า 2 พวง/กอ บนพื้นที่เท่าเดิม .... จากสำปะหลัง 1 กอได้หัว 1 พวง ถ้าสำปะหลัง 2 กอ 3 กอ 4 กอ ได้หัวกอละ 1 พวง บนเนื้อเท่าเดิมจะได้ไหม ?
ระยะยังไม่ลงหัว บำรุงต้นให้ลำต้น “สูง-ใหญ่-ใบมาก” เมื่อถึงระยะเริ่มลงหัวให้ตัดต้นไปขายก่อน เหลือตอแล้วบำรุงตอสร้างต้นใหม่ ซึ่งการบำรุงตอสร้างต้นใหม่นี้ จะไม่ส่งผลเสียต่อการสร้างหัวแต่อย่างใด
บำรุงสำปะหลัง :
ทางใบ : น้ำ 200 ล. + หัวโต (ไบโออิ 5-10-40) 200 ซีซี.+ สารสมุนไพร 1 ล. ให้เปียกโชกทั้งไต้ใบบนใบ ทุก 10 วัน
ทางราก : ให้น้ำตามความเหมาะสมเป็นการให้น้ำไปในตัว +น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5-10-40 (2 ล./ไร่) 2 เดือน/ครั้ง
หมายเหตุ :
บำรุงตั้งแต่เริ่มปลูกถึงขุด
น้ำในดินมากหรือมากเกินจะทำให้หัวใหญ่โตแต่เปอร์เซ็นต์แป้งน้อย
การให้ น้ำ + ปุ๋ย “ทางใบ” เป็นการสร้างความชื้นโดยตรงกับการให้ น้ำ+ ปุ๋ย หรือน้ำเปล่า “ทางราก” น้ำที่ระเหยจากดินขึ้นไปบนอากาศจะเป็นการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ซึ่งนอกจากช่วยป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งได้แล้ว ยังสร้างความสมบูรณ์ของต้น ส่งผลให้ผลผลิตดีอีกด้วย
สำปะหลังที่ไม่มีการให้น้ำ ต้นเรียวเล็ก-ใบเล็ก-จำนวนใบน้อย ที่ปลายยอด นอกจากผลผลิตได้น้อย โรคมากแล้ว เอาต้นไปทำพันธุ์ต่อก็ไม่ดี ผิดกับสำปะหลังที่ได้ “น้ำ+ปุ๋ย” ทั้งทางใบทางราก มีใบมาก สังเคราะห์อาหารได้ มาก ผลผลิตมาก โรคน้อย ต้นใหญ่สมบูรณ์ ใช้หรือจำหน่ายต้นพันธุ์ได้ราคาอีกด้วย
สำปะหลังกับระบบน้ำ :
ระบบน้ำหยด :
ระบบน้ำหยด หมายถึง น้ำไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ ตามท่อไปถึงหัวน้ำหยด กรณีนี้ย่อมเป็นธรรมดาที่หัวต้นทางต้องหยด (ไหล) แรงกว่าหัวปลาย ทางแน่ นั่นคือ ปริมาณน้ำที่พืชแต่ละต้นได้รับไม่เท่ากัน โดยต้นแรกได้รับมากกว่าต้นท้ายปลายทาง
น้ำที่ออกมาจากหัวน้ำหยด 1 หัว ลงพื้นได้เนื้อที่กว้างราว 30 x 30 ซม. กรณีพื้นที่สำปะหลัง 1 กอ หรือ 1 หัว กว้างราว 50 x 50 (ขนาดกลาง) ถึง 80 x 80 ซม. (ขนาดใหญ่) ปริมาณน้ำที่หยดลงมาจึงไม่ทั่วทรงพุ่ม กรณีนี้ต้องเพิ่มจำนวนหัวต่อต้นให้มากขึ้นจนเต็มพื้นที่
ระบบน้ำหยดลงไปเฉพาะที่พื้นดิน ช่วงหน้าแล้งที่เพลี้ยแป้งสีชมพูระ บาดทางใบ ต้องใช้เครื่องมือฉีดพ่นโดยเฉพาะ .... ธรรมชาติของเพลี้ยแป้งสีชมพู ชอบความแห้งแล้งแต่ไม่ชอบความชื้น แต่น้ำจากหัวน้ำหยดที่พื้นดินไม่สามารถส่งความชื้นขึ้นไปบนต้นสำปะหลังได้ จึง ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยแป้งสีชมพูไม่ได้
ระบบน้ำหยด ไม่สามารถส่ง ปุ๋ย/ยา ไปกับระบบน้ำหรือทางท่อได้
สรุป :
ระบบน้ำหยดได้ประสิทธิภาพเพียงให้น้ำทางรากเท่านั้น
น้ำที่ไหลไปตามท่อจากที่สูงลงไปที่ต่ำ จำนวนหัวน้ำหยดมาก ต้องใช้ เวลา/แรงงาน มาก ในการตรวจว่าหัวไหนอุดตันหรือไม่
ระบบหัวพ่นน้ำ :
ติดสปริงเกอร์ระบบกะเหรี่ยง ถอด/ประกอบ ได้ นั่นคือ หลังเตรียมดิน
เตรียมแปลงเสร็จให้ประกอบ ติดสปริงเกอร์แต่ละครั้งใช้งานนาน 8-9 เดือน ..... แปลงผักบางที่ ถอด/ประกอบ สปริงเกอร์ครั้งละ 3 เดือน (เตรียมแปลง ถึง เก็บเกี่ยว)
หัวพ่นน้ำรัศมี 4 ม. พ่นน้ำออกไปโดนใบแล้วตกลงดิน เท่ากับเป็นการให้น้ำทางรากไปในตัว
สปริงเกอร์มีหม้อปุ๋ยหน้าโซน หรือถังปุ๋ยที่ปั๊ม ให้ปุ๋ยสูตรสำปะหลังโดนใบ ผ่านปากใบเข้าสู่ต้น ตกลงดิน รากดูดเข้าสู่ต้น เท่ากับได้ 2 เด้ง
น้ำเปล่า หรือ น้ำ+ปุ๋ย สร้างความชื้นทั่วแปลง ช่วย ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยแป้งสีชมพู และศัตรูพืชอื่นๆได้อีกด้วย
ระบบโอเวอร์เฮด :
ใช้แบบเคลื่อนที่ เข้า-ออก แปลงได้ทุกเวลาที่ต้องการ
รัศมีพ่นน้ำอยู่ที่รุ่นหรือแบบ
มีหม้อปุ๋ยหน้าโซน หรือถังปุ๋ยที่ปั๊ม ให้ปุ๋ยสูตรสำปะหลังโดนใบ ผ่านปากใบเข้าสู่ต้น ตกลงดิน รากดูดเข้าสู่ต้น เท่ากับได้ 2 เด้ง
น้ำเปล่า หรือ น้ำ+ปุ๋ย สร้างความชื้นทั่วแปลง ช่วย ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยแป้งสีชมพูและศัตรูพืชอื่นๆได้อีกด้วย เหมือนสปริงเกอร์แบบหัวพ่น
หมายเหตุ :
ระบบน้ำหยดเหมาะสำหรับพืชในถุง หรือภาชนะปลูก เพราะสามารถควบคุมปริมาณน้ำทั้งหมดให้อยู่ในพื้นที่ๆต้องการได้ และระบบรากอยู่ในพื้นที่จำกัดจึงรับน้ำได้
ข้ออ้างที่ว่า น้ำหยดเป็นการใช้น้ำอย่างประหยัด ในความเป็นจริงนั้น ต้นพืชไม่รู้จักประหยัด เขาใช้เท่าที่ใช้จริงกินจริงเท่านั้น หากต้องการให้เขาโตก็ต้องให้เขา
************************************************
. แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/03/2024 5:25 pm, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
kimzagass หาวด้า เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11667
ตอบ: 13/11/2021 6:32 pm ชื่อกระทู้:
.
.
18. เกษตร 5W. 1H.
ข่าวเกษตรทาง ทีวี. ข่าวคือข่าว มีแต่ W. WHO WHAT WHEN WHERE WHY ไม่มี HOW HOW TO .... เทพชัย หย่อง เคยพูดใน ทีวี. ว่า คนทำรายการ ทีวี. อย่าคิดเพียงแค่ทำข่าวหรือทำงานสำเร็จ ต้องนึกเสมอว่างานที่หรือข่าวที่นำเสนอนั้น ผู้บริโภคหรือคนดูข่าวได้ประโยชน์สาระอะไรจากข่าวนั้นบ้าง
เรื่องการเกษตรปลูกพืช วันนี้ยุคนี้เราต้องรู้ “ธรรมชาติ นิสัย” ของพืชนั้น แล้วทำตามที่พืชนั้นต้องการ อย่าคิดเองทำเอง ทำตามข้างบ้าน ทำตามประเพณี เพราะคำตอบเป็นรูปธรรม มีตัวตน สัมผัสได้ คือ “หนี้” ไง .... วันนี้ยุคนี้ต้องคิดแล้ว ไม่รวยแต่เป็นจนหนัก ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้ เป็นหนี้ยันลูกหลานเหลนโหลน เป็นหนี้กันทั้งบ้านทั้งเมืองทั้งประเทศ กับอีกหลากหลายภาษิต 20 ล้อ สโลแกนพื้นบ้านเรื่องการเกษตร
วันนี้ถึงยุคถึงสมัยที่ต้องปรับรูปการทำเกษตรแบบ เกษตรพื้นบ้าน เกษตรตามวัฒนธรรม เกษตรอนุรักษ์ มาเป็น “เกษตรอุตสาหกรรม” ใช้เทคโนโลยีการผลิต (เน้นย้ำ...เทคโนโลยีการผลิต) ทุกขั้นตอน โดยมุ่งแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม จำหน่ายทั่วโลก
****************************************************
19. สปริงเกอร์ให้ปุ๋ย :
เทคโนโลยี ๆ ๆ .... เทคโนโลยีชาวบ้าน เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ เอา 2 อย่างมาผสมผสาน (เน้นย้ำ....ผสมผสาน) กัน ..... เทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีการตลาด สารพัดเทคโนโลยี .... แปลก ๆๆ ๆๆ นศ.เรียนจบสาขาเทคโนโลยี ยังไม่เอาหลักเทคโนโลยีมาใช้เลย
ประเทศไทยไม่มีทางเป็นประเทศเกษตรระดับแนวหน้าของโลกได้ ทั้งๆที่ประเทศไทย โซนภูมิศาสตร์เพื่อการเกษตรแท้ๆ เพราะการ เกษตรไทยปฏิเสธเทคโนโลยี เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ประเทศชั้นนำของโลกเขาทำเขาใช้ วันนี้การเกษตรไทยยังทำด้วยมือ ใช้แรงงานคน พึ่งพาธรรมชาติ ทั้งนั้น
สปริงเกอร์ เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มาก มายมหาศาลกว่าที่คิด ภาคอุตสาหกรรม พยายามสันหาเทคโนโลยีใหม่มาใช้เสมอ ภาคเกษตรกรรมเราน่าจะเอาบ้าง ว่ามั้ย
คำถามนี้ ถามสั้นตอบยาว เพราะรายละเอียดแต่ละขั้นตอนมีมาก ไม่อยากตอบเพราะกลัวคนถามหูชา ลุงคิมเป็นคนพูดมากพูดยาว ทางออกที่ดีที่สุด คือ “ดู” ของจริง หรือถามคนที่ติดสปริงเกอร์ (ติดเอง หรือจ้าง) ว่า ให้ทางรากแล้วให้ทางใบด้วยได้ไหม ? จะให้พร้อมกันหรือแยกให้ ได้ไหม ? ถ้าได้ ได้ยังไง ? ถ้าไม่ได้ เพราะอะไรไม่ได้ ? แก้ไขได้ไหม ? .... บอกแล้วไง คำถาม คือ เครื่องวัด “ไอคิว” อย่างดี
สปริงเกอร์ คือ เครื่องฉีดพ่นที่ไม่ธรรมดา เพราะนอกจากฉีดพ่นน้ำ น้ำเปล่าๆ ปรับ/ปรุง/เสริม/เติม /เพิ่ม/บวก เป็น น้ำ+ปุ๋ย+ยา+ฮอร์โมน อย่างเดียว หรือหลายอย่างรวมกันไปพร้อมกันได้ ด้วยสโลแกนที่ว่า ประหยัด เวลา/แรงงงาน/พลังงาน/อารมณ์ เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน สร้างเครดิตความน่าเชื่อถือ
ทุเรียน คือ ต้นไม้ผล มะม่วง-เงาะ-มังคุด-มะเขือ-พริก-ฟักทอง-ฟักเขียว-ข้าวโพด-อ้อย อีหร็อบเดียวกัน เพราะฉะนั้น ก๊อปปี้สูตรสปริงเกอร์ RKK มาใช้ได้เลย
ต้นสูง สูงมากสูงน้อย สปริงเกอร์ให้ปุ๋ยทางใบก็ต่อท่อจากพื้นให้สูงขึ้น สูงขึ้นไปให้ถึงยอด สูงกว่ายอดประมาณ 50 ซม. ถ้ามีหลายหัวในต้นเดียวกันหรือในโซนเดียวกัน ก็ให้ทุกหัวสูงเท่าๆกัน หรือ สูง/ต่ำ กว่ากันไม่เกิน +/- 10% ของความสูง .... แค่นี้ไม่พอ ต้องมีระบบวางท่อให้เป็นแบบมี “แรงดัน-แรงอัด” สายน้ำหมุนวนแบบไฟฟ้าที่เรียกว่า “อนุกรม” อีกด้วย ไม่ทำแบบนี้ น้ำพ่นออกที่หัวสปริงเกอร์เหนือยอดจะไม่แรง แต่ละหัวแรงไม่เท่ากัน ปล่อย ปุ๋ย/ยา ไปกับสปริงเกอร์ไม่ได้
หม้อปุ๋ยหน้าโซนแบบ “เวนจูรี่” (สมช.ทำงานแท่นเจาะน้ำมันในอ่าวไทยบอก เพราะระบบทำงานเป็นสุญญากาศเหมือนกัน) เปิดวาวล์เปิดหม้อปุ๋ยทำงาน แรงดันรัศมีพ่นน้ำไม่ลด ( 1 โซน 3 ม., 2 โซน 1.5 ม.) .... แต่หม้อปุ๋ย MADE IN USA รง.บางปู สมุทรปราการ ราคาอันละ 20,000 ส่งออก ตปท. เปิดวาวล์เปิดหม้อปุ๋ยทำงาน เปิดโซนเดียว แรงดันรัศมีพ่นน้ำลดลงครึ่งหนึ่งทันที
หม้อปุ๋ยหน้าโซน 1 หม้อ 1 โซน เพื่อแยก “สูตรปุ๋ย” สำหรับแต่ละโซนตามระยะพัฒนาการของพืช
หม้อปุ๋ยหน้าโซน ปริมาณปุ๋ยชนิดน้ำสำหรับไม้ผล 1 โซนคำนวนจาก ทดสอบใช้ปุ๋ยทางใบอัตราปกติ 20 ซีซี.+ น้ำ 20 ล. ในเป้สะพาย ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่มทั้งใต้ใบบนใบได้กี่ต้น ฉีดพ่นให้ครบทุกต้นใน 1 โซนแล้วรวมว่าใช้ทั้งหมดกี่เป้ สมมุติว่าใช้ 6 เป้ นั่นคือ ไม้ผลโซนนี้ใช้ปุ๋ยทางใบ 120 ซีซี. (เป้ละ 20 ซีซี.) ว่าแล้ว ให้เติมปุ๋ยน้ำทางใบที่จะให้แก่ไม้ผลโซนนั้น 120 ซีซี. +/- นิดหน่อย ไม่มีปัญหา
สวนไม้ผลขนาด 50 ไร่ ขนาดต้นสูงน้องๆ เสาไฟฟ้า ฉีดพ่นทางใบด้วยเครื่องฉีดพ่นแรงสูง สูงมากๆ เพื่อให้ทั่วทรงพุ่ม ทำงานทีละต้น ๆๆ ใช้เวลาต้นละ 10-15 นาที พื้นที่ 50 ไร่ ทำงาน 8 โมงเช้า ถึงบ่าย 4 โมง ทุกวัน ใน 1 อาทิตย์ คนทำงานทุกวันแต่ต้นไม้ได้รับปุ๋ยเคมีวันเดียว ไม่คิดให้ทางรากที่ต้องเดินหว่านปุ๋ยทีละต้นๆ ให้น้ำอีกต่างหาก
สวนไม้ผลแบบนี้ หากต้องการบำรุงแบบเต็มที่ เพื่อให้ได้ผลเต็มที่ หรือเพื่อให้ต้นได้สะสมความสมบูรณ์เต็มที่ จะต้องทำงานทุกวัน ตลอดทั้งปี ไหวเหรอ
สวนไม้ผลขนาด 50 ไร่สวนเดียวกัน ติดระบบสปริงเกอร์ ใช้เครื่อง ยนต์ 10 แรงม้า แบ่งเป็นโซนได้โซนละ 10 ไร่ ทำงานโซนละ 10 นาที ใช้เวลาเพียง 50 นาที เท่ากับใช้เวลาเพียง 1 ชม.ต่อการทำงาน 1 ครั้งเท่านั้น
ประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน :
ให้ทางใบ ฉีดพ่น “ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยาสมุนไพร/น้ำเปล่า” ได้ตามวัน เวลา และระยะเวลาที่ต้องการ การให้ปุ๋ยทางใบที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต้องให้ตอนปากใบเปิด (10 โมงเช้า ถึงบ่าย) .... การฉีดพ่นสารสมุนไพร เช่น ฉีดพ่นตอนเช้ามืดก่อนสว่างเพื่อล้างน้ำค้าง, ฉีดพ่นตอนเที่ยงเพื่อกำจัดเพลี้ยไฟ ไรแดง, ฉีดพ่นตอนหลังค่ำเพื่อไล่แมลงแม่ผีเสื้อที่จะเข้ามาวางไข่ หรือป้องกันกำจัดแมลงปากกัดปากดูดที่มาตอนกลางคืน,
ให้ทางราก “น้ำเปล่า/น้ำหมักชีวภาพ/ปุ๋ยเคมี” ตามวัน เวลา และระยะเวลาที่ต้องการ
ติดตั้งระบบสปริงเกอร์ครั้งหนึ่ง อยู่นานใช้งานได้ 10-20-30 ปี
การให้ปุ๋ยไปกับระบบสปริงเกอร์แบบนี้ อเมริกาทำมานานกว่า 50 ปีแล้ว เรียกว่า การให้ปุ๋ยทางท่อ หรือ การให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ำ
หม้อปุ๋ยหน้าโซน V.S. ถังปุ๋ยที่ปั๊ม :
หม้อปุ๋ยหน้าโซน : ความจุเนื้อ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา สำหรับจำนวนต้นเฉพาะในโซน, สูตรเฉพาะไม้โซนนั้น, ไม่มีเนื้อปุ๋ยตกค้างในท่อ, ใช้แรง งานคนเดียว, ราคาแพง,
ถังปุ๋ยที่ปั๊ม : ความจุเนื้อ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา สำหรับจำนวนต้นไม้ทั้งแปลงที่สปริงเกอร์ไปถึง, สูตรเดียวกันทั้งสวน, มีเนื้อปุ๋ยตกค้างในท่อ, แปลงใหญ่มากตกค้างในท่อมาก, ใช้แรงงาน 2 คน, เนื้อปุ๋ยกัดลูกยางซีลปั๊ม, ราคาถูก,
สปริงเกอร์ผู้ซื่อสัตย์ :
ตี 5 ....................... ล้างน้ำค้าง ป้องกัน/กำจัด ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม
10 โมง .................. ให้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยาสมุนไพร ตามชนิดพืช ระยะพืช
เที่ยงแดดจัด ............. ให้น้ำเปล่า ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยไฟ ไรแดง
บ่ายฝนตก ฝนต่อแดด....ให้น้ำเปล่า ป้องกัน/กำจัด แอนแทร็คโนส....กดใบอ่อนสู้ฝน
ค่ำ ........................ สมุนไพร ป้องกัน/กำจัด แมลงวางไข่ หนอน
** ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ ทุกวัน วันต่อวัน วันเว้นวัน ทำได้ทุกเมื่อตามต้องการ
** ระบบสปริงเกอร์มีหลากหลายแบบ แต่ละแบบ ดี/ไม่ดี อยู่ที่ความพอใจของเจ้าของแต่ละสวนอะไรๆ ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึง COPPY ไม่ได้ แต่ APPLY ได้ เอา หลักการ-วิธีการ ไปใช้ แต่ "รูปแบบ" ต้องว่าตามความเหมาะสมของแปลงของตัวเอง
ประสบการณ์ตรง :
สำปะหลังแบบ"ก้าวหน้า" คนเลี้ยง สปริงเกอร์-หม้อปุ๋ยหน้าโซน 1 ไร่ ได้ 20 ตัน /รุ่น
10 ไร่ x 20 = 200 ตัน/รุ่น ....
20 ไร่ x 20 = 400 ตัน/รุ่น ....
สำปะหลัง ติดสปริงเกอร์ โอเวอร์เฮด/หม้อปุ๋ย ให้ "น้ำ+ปุ๋ย" 2 ครั้ง/เดือน ป้องกันศัตรูพืชสำปะหลังชะงัดนัก เผลอๆได้ 30 ตัน/ไร่ อีกด้วย
สำปะหลังอู่ทอง สุพรรณ 1 ไร่ ได้ 60 ตัน/ไร่/รุ่น ของเราเอาแค่ครึ่งเดียวก็พอมั้ง
สำปะหลังแบบ "ยึดติด" เทวดาเลี้ยง
1 ไร่ ได้ 4 ตัน/รุ่น
10 ไร่ ได้ 40 ตัน/รุ่น
20 ไร่ ได้ 80 ตัน/รุ่น
อานิสงสปริงเกอร์ :
ข้อดีของการใช้ปุ๋ยทางใบ :
1. ช่วยให้พืชรับเข้าสู่ต้น ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
2. เพื่อชดเชยธาตุอาหารที่ขาด หรือเพิ่มเติมเพื่อเร่งการเจริญเติบโตแก่พืชได้
3. ใช้ผสมร่วมไปกับสารเคมี หรือสารสกัดสมุนไพร อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง ได้ เพื่อประหยัดเวลาและแรงงาน
4. ใช้กับพืชที่มีปัญหาเกี่ยวกับดิน เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินเหนียวจัด หรือดินที่มีปัจจัยแวดล้อมต่อต้านการดูดใช้ธาตุอาหารทางระบบราก
5. พืชสามารถรับธาตุอาหารโดยทางใบได้มากกว่า และเร็วกว่าการดูดทางราก
6. ช่วยให้พืชฟื้นตัวเร็วหลังจากชะงัก เนื่องจากกระทบ แล้ง น้ำท่วม หรือถูกโรคแมลงทำลาย
7. ปุ๋ยชนิดน้ำมีความสม่ำเสมอของเนื้อปุ๋ยแน่นอนกว่าปุ๋ยชนิดแข็งและปุ๋ยชนิดเกล็ด มีปริมาณเนื้อปุ๋ยรวม (N+P2O5+K2O) สูงกว่าปุ๋ยเม็ด ทำให้ได้ประสิทธิภาพเหนือกว่า
8. ปุ๋ยชนิดน้ำผลิตง่าย และเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสูตรได้ง่าย จึงผลิตได้มากสูตรกว่าปุ๋ยชนิดแข็งหรือชนิดเกล็ด
วัตถุประสงค์หลักในการให้ปุ๋ยทางใบ :
1. เพื่อแก้ไขอาการขาดธาตุอาหาร
2. เพิ่มคุณภาพและผลผลิต
3. เพื่อช่วยให้พืชฟื้นตัวจากปัญหาความขาดแคลนในบั้นปลาย
* สวนยกร่องน้ำหล่อ รดน้ำด้วยเรือปากเป็ด ใช้เวลาเช้ายันเที่ยงบ่าย ให้น้ำได้อย่างเดียว ให้ ปุ๋ย/ยา ต้องสะพายเป้ลากสายยางต่างหาก งานนี้ ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/คาเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส /ค่าอารมณ์/ค่าอย่างอื่น เท่าไหร่ ?.... คิดใหม่-ทำใหม่ ปรับร่องเป็นน้ำเลี้ยงปลา ปลาละร่องๆ เลี้ยงผักบุ้งทอดยอดเย็นตาโฟ เลี้ยงผักกะเฉด ทำค้างคร่อมร่องปลูกมะระฟักเขียวบวบ ได้พื้นที่ คืน/เพิ่ม อีกไม่น้อย.... บนสันแปลงติด สปริงกอร์-หม้อปุ๋ย ช่วยประหยัด ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ เท่าไหร่ ?
* ผักสวนครัวติด สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย ใช้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา ทำเอง ให้น้อยแต่บ่อยครั้ง นอกจากช่วยประหยัดต้นทุนค่า ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา แล้วยังทำให้คุณภาพของผลผลิตดี สร้างเครดิตความน่าเชื่อถือแก่ลูกค้าคนกินอีกด้วย
* สวนไม้ผลขนาดใหญ่ ติดสปริงเกอร์ 2 ระบบ ให้โคนกับขึ้นยอด ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน แถมต้นทุน ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำมัน/ค่า แรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ ต่ำและดีกว่าที่คาด คิดหาศาล
* แอร์บลาสส์ คันละล้าน (ตัวแอร์บลาสส์ 5 แสน ตัวแทร็คเตอร์ลาก 6 แสน) ต้องเว้นพื้นสวนให้เป็นถนน (เสียพื้นที่) ทำงานได้เฉพาะเวลาเท่านั้น ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ เท่าไหร่
* ติดกับดักตัวเองสร้างเอง แถวนี้ไม่มีใครทำ พ่อแม่ไม่เคยนำทำ ....เห็นกับตา สัมผัสกับมือ ไม่คิด ไม่ยอมรับ ทั้งๆที่รู้ ใช้หม้อปุ๋ยฉีดพ่นสารสมุนไพรอย่างเดียว รุ่นเดียว ก็คุ้มต้นทุน
* ที่โพธาราม ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง 30 ไร่ ยกร่องน้ำหล่อ ปกติใช้แรงงาน 2 คน แล่นเรือปากเป็ดรดน้ำ 2 ลำ ทำงานเช้าถึงเที่ยง พักเที่ยงขึ้นมากินข้าว บ่ายรดน้ำต่อถึง 4 โมงเย็น ทุกวัน หลังจากเจ้าของตัดสินใจติดสปริงเกอร์ ใช้เครื่องปิคอั๊พ 4 สูบ แบ่งแปลงเป็นโซน ๆละ 5 ไร่ ใช้เวลา 3 ชม. ด้วยแรงงานเจ้าของคนเดียว ส่วนคนงานให้ไปทำงานอย่างอื่น ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลของ เนื้องาน ใช้งานมาแล้ว 4-5 ปี วันนี้ยังใช้การได้ดี
* หน่อไม้ฝรั่ง สดใหม่ คั้นน้ำ เจือจางน้ำเปล่า 100 เท่า รดโคนต้นให้ กับตัวมันอง ในน้ำคั้นหน่อไม้ฝรั่งมีไซโตไคนิน ช่วยขยายขนาดหน่อ ไม้ฝรั่งให้ใหญ่ขึ้นได้ .... ทำบ่อย ทำได้ ด้วยสปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย
ส้มเขียวหวาน วังน้อย อยุธยา เนื้อที่ 200 ไร่ ยกร่องน้ำหล่อ ใช้เรือปาก เป็ดรดน้ำ 2 ลำ แรงงานพม่า 2 คน แล่นเรือปากเป็ดเช้าถึงเที่ยง พักเที่ยงกินข้าว บ่ายแล่นต่อถึงเย็น ทำอย่างนี้ทุกวัน ตลอดทั้งอาทิตย์จึงครบรอบ เท่ากับคนทำงานรดน้ำทุกวันแต่ต้นส้มได้น้ำอาทิตย์ละครั้ง .... เจ้าของไม่ยอมรับสปริงเกอร์ อ้างว่าสิ้นเปลือง
***************************************************
20. รอบรู้เรื่องแมลง :
แมลงปากกัด หมายถึง แมลงที่ทำลายส่วนต่างๆของพืชโดยการกัดแล้วกินส่วนนั้นของพืชโดยตรง
แมลงปากดูด หมายถึง แมลงที่ทำลายส่วนต่างๆของพืชโดยการใช้กาดกัดก่อนแล้วจึงดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชนั้น
แมลงกลางวัน หมายถึง แมลงที่ออกหากินช่วงตอนกลางวัน เข้าหาพืชเป้าหมายโดยใช้สายตาในการเดินทาง นอกจากเข้าทำลายพืชโดยตรงแล้ว ยังอาศัยวางไข่อีกด้วย
แมลงกลางคืน หมายถึง แมลงที่ออกหากินตอนกลางคืน ช่วงหัวค่ำ 19.00-21.00 น. และช่วงก่อนสว่าง 05.00-06.00 น. เดินทางเข้าหาพืชเป้า หมายโดยการใช้ประสาทสัมผัสกลิ่น ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าทำลายพืชโดยตรงแต่จะอาศัยวางไข่เท่านั้น มีเพียงส่วนน้อยที่เข้าทำลายพืชโดยการกัดกินโดยตรง
แมลงขยายพันธุ์โดยการออกไข่ จากนั้นไข่จะฟักออกเป็นตัวหนอน และหนอนคือตัวทำลายพืชโดย ตรง จากนั้นหนอนจะเจริญเติบโตกลายเป็นแมลงต่อไป
แมลงไม่ชอบวางไข่บนส่วนของพืชที่ชื้น เปียกแฉะ เพราะรู้ว่าความเปียกชื้นหรือแฉะนั้น นอกจากจะทำให้ไข่ฝ่อฟักไม่ออกแล้วยังเกาะส่วนของพืชไม่ติดอีกด้วย
แมลงไม่ชอบวางไข่ในบริเวณที่แสงแดดส่องถึงเพราะรู้ว่า ถ้าวางไข่ไว้ในที่โล่งแจ้ง แสงแดดส่องถึงจะทำให้ไข่ฝ่อไม่อาจฟักออกเป็นตัวหนอนได้ จึงเลือกวางไข่บริเวณใต้ใบพืช ซอกเปลือก เศษซากพืชคลุมโคนต้น หรือไต้พื้นดินโคนต้น
แมลงกลางวันเดินทางด้วยการมองเห็น แก้วตาของแมลงมีเลนส์ 200,000 ช่อง ลูกนัยน์ตาของแมลงจึงไม่กลิ้งไปมาได้เหมือนนัยตาคนหรือสัตว์อื่นๆ ถ้าส่วนของพืชเป้าหมายของแมลงกลางวันเปียกน้ำหรือมีสารคล้ายน้ำมันสะท้อนแสงได้เคลือบทับอยู่จะทำให้ภาพการมองเห็นของแมลงผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง แมลงก็จะไม่เข้าหาพืชเป้าหมายนั้น
แมลงกลางคืนเดินทางด้วยประสาทสัมผัสกลิ่นหรือดมกลิ่น ทั้งนี้ประสาทสัมผัสกลิ่นของแมลงสูงกว่าคน 600,000 เท่า (สารคดีดิสคัพเวอรี่) ถ้ากลิ่นพืชเป้าหมายผิดเพี้ยนหรือเปลี่ยนไปจากความเป็นจริงเนื่องจากมีกลิ่นพืชอื่นเคลือบอยู่ แมลงจะเข้าใจผิดไม่เข้าหาพืชเป้าหมายนั้น
แมลงกลางวันชอบเข้าหาวัสดุที่มีสีเหลือง และสีฟ้า ส่วนแมลงกลาง คืนชอบเข้าหาแสงสีม่วงและแสงสีขาว แต่ไม่ชอบเข้าหาแสงสีเหลืองหรือแสงสีส้ม
แมลงบินตลอดเวลา ประสาทความรู้สึกเร็วมาก เมื่อรู้ว่าจะมีอันตรายเป็นต้องบินหนีทันที จากลักษณะทางธรรมชาติแบบนี้ทำให้ไม่สามารถกำ จัดแมลงด้วยวิธีการ “ฉีดพ่น” ใดๆได้ทั้งสิ้น ในความเป็นจริงนั้น แมลงใดๆ ที่ปีกเปียกไม่สามารถขึ้นบินได้ นั่นหมายความว่า แม้แต่น้ำเปล่าก็สามารถกำจัดแมลงได้ แต่มีข้อแม้ว่าต้องฉีดพ่นให้ปีกเปียกให้ได้
- แมลงมีช่วงหรือฤดูกาลแพร่ระบาด นั่นคือ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับสภาพอากาศ (อุณหภูมิ/ความชื้น) มีผลอย่างมากต่อวงจรชีวิตแมลง (เกิด-กิน-แก่- เจ็บ-ตาย-ขยายพันธุ์) การรู้ล่วงหน้าถึงฤดูกาลแพร่ระบาดแล้วใช้มาตรการ “ป้องกัน” หรือ “ขับไล่” จึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อเอาชนะแมลง
แมลงบางอย่างมีปีกแต่ไม่สามารถใช้บินเป็นระยะทางไกลๆได้ แมลงประเภทนี้จะพึ่งพาสายลมช่วยพัดไป หรือมีสัตว์อย่างอื่นเป็นพาหะเพื่อการเดินทาง
แมลงหายใจทางรูขุมขน หรือ ต่อมบนผิวหนัง แมลงตัวเล็กๆ หรือเล็กมากๆ เมื่อถูกสารประเภทน้ำมันเคลือบบนลำตัว จะทำให้หายใจไม่ออกแล้วตายได้ ส่วนแมลงขนาดใหญ่ เมื่อได้สัมผัสกับกลิ่นที่เป็นสารออกฤทธิ์ สำ หรับแมลงก็ทำให้แมลงตายได้เหมือนกัน
เทคนิคเอาชนะแมลงที่ดีที่สุด คือ “ไล่” ด้วยกลยุทธ “กันก่อนแก้” เท่านั้น
*************************************************
21. รอบรู้เรื่องหนอน :
หนอนเกิดจากไข่ของแม่ผีเสื้อกลางคืน (มาหัวค่ำหรือก่อนสว่าง) ถ้าขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่ได้หรือทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อจนฟักไม่ออก ก็ถือเป็นการกำจัดหนอนได้อีกทางหนึ่ง
หนอนไม่ชอบแสงแดดหรือแสงสว่าง จึงออกหากินตอนกลางคืน ส่วนตอนกลางวันจะหลบซ่อนอยู่ตามซอกหลืบหรือใต้ใบพืช หรือเข้าไปอยู่ภายในส่วนของพืชโดยการเจาะเข้าไป
อายุหนอนเริ่มตั้งแต่ออกจากไข่ถึงเข้าดักแด้ 10-15 วัน แบ่งออกเป็น 5 วัย จากวัยหนึ่งไปสู่วัยหนึ่งต้องลอกคราบ 1 ครั้งเสมอ ถ้าไม่ได้ลอกคราบหรือลอกคราบไม่ออก หนอนตัวนั้นจะตายในคราบ
หนอนที่ขนาดลำตัวโตเท่าก้านไม้ขีด ลำตัวด้านข้างมีลายตามยาวจากหัวถึงหาง และที่ลำตัวด้านบนมีขนขึ้น เป็นหนอนที่มีความทนทานต่อสาร เคมีอย่างมาก เรียกว่า “ดื้อยา” ซึ่งจะไม่มีสารเคมีใดที่ใช้ตามอัตราปกติทำร้ายมันจนตายได้
หนอนทุกชนิดแม้จะดื้อยา (สารเคมี) แต่จะไม่มีความสามารถดื้อต่อเชื้อโรค (ยาเชื้อ) เช่น บีที.-บีเอส.-เอ็นพีวี.-ไส้เดือนฝอย.-โบวาเลีย. ได้เลย
สาร “ท็อกซิก” ที่เกิดจากจุลินทรีย์กลุ่มบาซิลลัส.ประเภทไม่ต้องการอากาศ ก้นถังหมักน้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง หมักนานข้ามปีถึงหลายๆปี เป็นพิษต่อหนอน สามารถทำให้หนอนหยุดกินอาหาร (ทำลายพืช) และลอกคราบไม่ออก ไม่เข้าดักแด้ ทำให้หนอนตายได้
สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรหลายชนิด มีพิษต่อหนอนโดยทำให้หนอนไม่กินอาหาร ไม่ลอกคราบ ไม่เข้าดักแด้ จึงทำให้หนอนตายได้
ต้นไม้ผลที่ทรงพุ่มโปร่ง แสงแดดส่องผ่านจากยอดลงถึงพื้นดินโคนต้นได้ แสงแดดร้อนทำให้หนอนอยู่ไม่ได้ จนกระทั่งตายไปเอง
หนอนเลือกกินพืชแต่ละชนิดถือเป็นสัญชาติญาณของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ การเคลือบส่วนของพืชที่หนอนชอบกินด้วยรสของพืชอื่นที่หนอนไม่กิน จะทำให้หนอนไม่ได้กินอาหาร ไม่นานหนอนก็ตายได้เช่นกัน
หนอนเป็นสัตว์เหมือนกับกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆในโลกย่อมต้องการสภาพ แวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อการดำรงชีวิต มาตรการทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมเปลี่ยนแปลง จนเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หนอนก็อยู่ไม่ได้หรือตายไปในที่สุด
หนอนที่เจาะส่วนของพืชแล้วเข้าไปแฝงตัวอยู่ในซึ่งเป็นแหล่งอาหาร เช่น หนอนเจาะยอด หนอนเจาะดอก หนอนเจาะผล หนอนเจาะต้น ฯลฯ แม้สรีระของหนอนจะไม่แข็งแรงนัก แต่ก็ยากที่จะทำอันตรายต่อตัวหนอนนั้นได้โดยง่าย เปรียบเสมือนมีแหล่งกำบังอย่างแข็งแรง มาตรการกำจัดจึงไม่อาจนำมาใช้ได้ จำเป็นต้องใช้มาตรการอื่นแทน เช่น ป้องกันแม่ผีเสื้อเข้าวาง ไข่ กำจัดไข่แม่ผีเสือให้ไม่สามารถฟักออกเป็นตัวหนอนได้ หรือห่อผล เท่านั้น
หนอนกออ้อย เกิดและแพร่ระบาดได้ดีเมื่อมีการใช้ปุ๋ยเคมีมากๆ ...(นักวิชาการนิคารากัว)
หนอนและแมลง รู้และชอบที่จะเข้าทำลายพืชที่อ่อนแอมากกว่าพืชที่สมบูรณ์แข็งแรง และเชื้อโรค สามารถแพร่ระบาดในพืชที่ไม่สมบูรณ์หรืออ่อนแอได้ดีและเร็วกว่าในพืชที่สมบูรณ์แข็งแรง...(สารคดีดิสคัพเวอรี่)
************************************************
22. รอบรู้เรื่องโรค :
เชื้อโรคพืชในดินสามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติเมื่อสภาพ แวด ล้อม (ดิน-น้ำ) มีความเป็นกรดจัดหรือด่างจัด และเชื้อโรคในดินจะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้เลยหรือตายไปเองเมื่อสภาพแวดล้อม (ดิน-น้ำ) เป็นกลาง
การใส่สารเคมีกำจัดเชื้อโรคลงไปในดิน เมื่อใส่ลงไปเชื้อโรคในดินก็ตายได้ในทันที ครั้นสารเคมีนั้นหมดฤทธิ์ เชื้อโรคชุดใหม่ก็จะเกิดขึ้นมา"ดินยังเป็นกรดจัดหรือด่างจัด" แทน "เกิดใหม่ใส่อีก-เกิดอีกก็ใส่ใหม่" เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เรียกว่า ใส่ทีก็ตายที ตายแล้วก็เกิดใหม่ขึ้นมาแทน สาเหตุที่เชื้อชุดใหม่เกิดขึ้นมาแทนได้ทุกครั้งก็เพราะ อยู่นั่นเอง ในเมื่อสารเคมีที่ใส่ลงไปในดินส่วนใหญ่หรือเกือบทุกตัวมีสถานะเป็นกรดจัด มีเพียงบางตัวหรือส่วนน้อยเท่าที่นั้นที่เป็นด่างจัด เมื่อใส่สารที่เป็นกรดจัดลงไป จากดินที่เป็นกรดอยู่ก่อนแล้วจึงเท่ากับเพิ่มความเป็นกรดให้กับดินหนักขึ้นไปอีก หรือดินที่เคยเป็นด่างอยู่แล้ว เมื่อใส่สารที่เป็นด่างเพิ่มลงไป จึงกลายเป็นเพิ่มความเป็นด่างของดินให้หนักยิ่งขึ้น .... ปุ๋ยเคมีประเภทให้ทางราก ทุกตัวทุกสูตรมีสถานะเป็นกรด การใส่ปุ๋ยเคมีลงไปมากๆ บ่อยๆ ย่อมเกิดการสะสมอยู่ในเนื้อดินเนื่องจากพืชนำไปใช้ไม่หมด เมื่อดินเป็นกรดจัดจึงเกิดเชื้อโรคในดินเป็นธรรมดา
เชื้อโรคในดินเข้าสู่ลำต้นแล้ว ส่งผลให้เกิดอาการยางไหล เถาแตก ใบเหี่ยว ยอดกุด ต้นโทรม แคระแกร็น ดอกผลไม่สมบูรณ์
เชื้อโรคที่เข้าทำลายส่วนต่างๆของพืชที่อยู่เหนือดินนั้น เป็นเชื้อโรคที่เกิดจากดินทั้งสิ้น จากเชื้อในดินเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเจริญพัฒนาแตกตัวเป็นสปอร์ล่องลอยไปตามอากาศ เมื่อเกาะยึดส่วนของพืชได้ก็จะซึมแทรกเข้าสู่เนื้อพืชนั้น .... เชื้อบางตัวอาศัยอยู่กับหยดน้ำฝน (เรียกว่า ราน้ำฝนหรือแอ็นแทร็คโนส) หรือหยดน้ำค้าง (เรียกว่า ราน้ำค้าง) ซึ่งทั้งน้ำค้างและน้ำฝนต่างก็มีสถานะเป็นกรดอ่อนๆ เมื่อหยดน้ำฝนหรือหยาดน้ำค้างแห้ง เชื้อโรคเหล่า นั้นก็จะซึมแทรกเข้าสู่ภายในสรีระของพืชต่อไป
เชื้อโรคพืชมี 3 กลุ่มใหญ่ๆ ประกอบด้วย "รา - แบคทีเรีย - ไวรัส" เป็นหลัก
ลักษณะหรืออาการพืชที่ถูก "เชื้อรา" ทำลาย บริเวณกลางแผลจะแห้ง ไม่มีกลิ่น ขอบแผลฉ่ำเล็กน้อย แผลจะลุกลามขยายจากเดิมจนมีขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมกับเกิดแผลใหม่ทั้งบริเวณใกล้เคียงและห่างออกไป .... เชื้อตัวนี้มักเกิดเองจากดินที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม
ลักษณะหรืออาการพืชที่ถูก "เชื้อแบคทีเรีย" เข้าทำลาย บริเวณกลางแผลจะเปียกฉ่ำเละและมีกลิ่นเหม็น แผลจะลุกลามขยายจากแผลเดิมจนมีขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมกับเกิดแผลใหม่ทั้งบริเวณใกล้เคียงและห่างออกไป ..... เชื้อตัวนี้มักเกิดเองจากดินที่สถภาพแวดล้อมเหมาะสม
ลักษณะหรืออาการพืชที่ถูก "เชื้อไวรัส" เข้าทำลาย บริเวณถูกทำลายจะลายด่าง ขาวซีด เป็นทางยาวตามความยาวของส่วนของพืช หรือไม่มีรูป ทรงที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับลักษณะของพืชส่วนที่เชื้อเข้าทำลาย.....เชื้อตัวนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุ์กรรม กับบางส่วนมีแมลงเป็นพาหะ
เชื้อโรคพืชมักเข้าทำลายแล้วขยายเผ่าพันธุ์ตามส่วนของพืชที่เป็นร่มเงา มีความชื้นสูง และเชื้อมักไม่ชอบแสงแดดหรือบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง .... เชื้อตัวนี้มักไม่เกิดจากดิน
เชื้อโรคพืชหลายตัวที่ยังไม่มีแม้สารเคมีชนิดใดกำจัดได้ เช่น โรคตายพรายกล้วย. โรคใบแก้วส้ม. โรคยางไหล. โรคใบด่างมะละกอ. โรคใบขาวอ้อย. โรคใบขาวข้าว. โรคกระเจี๊ยบใบด่าง. โรคเถาแตก. ฯลฯ เชื้อโรคเหล่า นี้มิได้เกิดเฉพาะในพืชที่กล่าวถึงเท่านั้น หากยังสามารถเกิดกับพืชอื่นๆ ได้อีกด้วย
โรคไม่มีเชื้อ หมายถึง พืชมีลักษณะอาการเหมือนเป็นโรคที่เกิดจาก รา-แบคทีเรีย-ไวรัส แต่ในความเป็นจริงนั้นเกิดจากการ "ขาดสารอาหาร" ซึ่งการแก้ไขย่อมแตกต่างจากโรคที่มีเชื้ออย่างแน่นอน
ทั้งโรคมีเชื้อและไม่มีเชื้อจะไม่สามารถทำลายพืชได้ หรือทำลายได้แต่เพียงเล็กน้อย ไม่ถึงระดับ "สูญเสียทางเศรษฐกิจ" หากพืชมีสมบูรณ์แข็งแรงแล้วเกิดเป็นภูมิต้านทานสู้กับเชื้อโรคเหล่านั้นได้
***************************************************
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/11/2021 11:02 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
kimzagass หาวด้า เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11667
ตอบ: 13/11/2021 6:32 pm ชื่อกระทู้:
.
.
23. รอบรู้เรื่องโลก :
ใช้สารเคมีโดยไม่รู้ประสิทธิภาพ หรือสรรพคุณที่แท้จริงของสารเคมีตัวนั้น
ใช้สารเคมีโดยไม่เข้าใจ "ชื่อสามัญ" สนใจแต่ชื่อ "การค้า"
ใช้สารเคมีครั้งละหลายๆตัวผสมกัน โดยไม่รู้ว่านอกจากทำให้สิ้น เปลืองแล้วยังทำให้ประสิทธิภาพเสื่อมอีกด้วย
ไม่มีความรู้ทางวิชาการที่บริสุทธิ์ในการบริหารจัดการศัตรูพืช หรือมีความรู้แค่โฆษณา
หลงช่วยเชียร์ให้สารเคมี โดยว่า "ยาแพงเพราะเป็นยาดี"
5. ใจร้อน ทุกอย่างต้องแรงอย่าง "ยาน็อค" จึงจะถือว่าได้ผล
7. ในฉลากข้างขวดกำหนดให้ใช้ 7 วัน/ครั้ง แต่ใช้จริง "ใช้ทุกวัน"
8. ปิดตัวเอง
9. มิจฉาทิฐิ
***************************************************
24. ผู้ส่งเสริม VS ผู้รับการส่งเสริม :
ผู้ส่งเสริมไม่พูดไม่บอก บอกไม่หมด ผู้รับการส่งเสริมไม่ถาม....
ผู้ส่งเสริมรู้ รู้ทุกอย่าง แต่ไม่รู้ว่า ผู้รับการส่งเสริมไม่รู้แม้แต่ตั้งคำถาม
***************************************************
25. ตัวอย่างแหล่งน้ำธรรมชาติ รอการพัฒนา :
“บางระกำโมเดล” หน้าแล้งเป็นพื้นที่ราบเพาะปลูกได้ หน้าฝนเป็นพื้นที่น้ำท่วม ประจำทุกปี เพราะพื้นดินเป็นพื้นที่ลุ่ม หรือพื้นผิวดินต่ำ
- ปรับพื้นที่ลุ่มเดิมทั้งหมดหรือตามความจำเป็น โดยการขุดลอกดินออก (ขุดฟรี ให้บ้านจัดสรรดำเนินการ) เพื่อเพิ่มความลึกรับน้ำ มีระบบปล่อยน้ำ เข้า/ออก ตามความจำเป็น/เหมาะสม
- ให้ประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมเดิม ปรับ/เปลี่ยน อาชีพเป็นเลี้ยงปลากระชัง
- สร้างแหล่งท่องเที่ยว (โฮมสเตย์เรือนแพ) เลี้ยงปลายักษ์ (บึก กะโห้ เทพา กระเบน ยี่สก) เล่นสกี พายเรือ ฯลฯ
“บึงบอระเพ็ด” ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ ความลึกน้ำระหว่าง 0.5-2.5 ม.
- ขุดลอกดินออก (ขุดฟรี ให้บ้านจัดสรรดำเนินการ) เพื่อเพิ่มความลึกรับน้ำ มีระบบปล่อยน้ำ เข้า/ออก ตามความจำเป็น/เหมะสม
- เอาดินที่ลอกไปถมตลิ่ง ป้องกันตลิ่งพัง ป้องกันบุกรุกที่สาธารณะ
- ให้ประชาชน (เดิม) ริมบึง ทำสวนเกษตรริมบึง แล้วพัฒนาเป็นสวนเกษตรเพื่อการท่องเที่ยว
- สร้างแหล่งท่องเที่ยว (โฮมสเตย์เรือนแพ) ร้านกาแฟ เล่นสกี พายเรือ ฯลฯ
----------------------------------------------------------------------
26. ประเทศไทย ประเทศเกษตร
พื้นที่เกษตรอยู่ในเขตชลประทาน 30 % อยู่นอกเขตชลประทาน 70% .... ให้น่าสงสัยว่า :
* โครงการสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้าจากแม่น้ำโขงที่กระทรวงพลังงานทำไม่ทั่วพื้นที่
* โครงการอิสานเขียว ........................ เลิกทำ
* โครงการบางระกำโมเดล ................... ไม่ทำ
* โครงการเจ้าพระยา 2 ..................... หายไปไหน
กับ :
* โครงการใหม่ โครงการผันน้ำจากแม่น้ำเมย เมียนมา เข้ามาประเทศไทย
* โครงการผันน้ำจากแม่น้ำกัมพูชา เข้ามาประเทศไทย
----------------------------------------------------------------------
27. ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วน
ไนโตรเจน.สูง ฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม.ต่ำ เช่น 30-10-10 หรือ 16-8-8 หรือ 25-7-7 หรือ 46-0-0 + 16-16-16 อัตรา 1:1 จะช่วยให้ต้นข้าวแตกหน่อดีกว่าการใส่ไนโตรเจน. เดี่ยวๆ
- นาข้าวที่ได้ 100 ถัง มีฟางประมาณ 1,200 กก. ....ปริมาณฟาง 1 ตัน ให้สารอาหารพืชประกอบด้วย ไนโตรเจน 6. 0 กก. ฟอสฟอรัส 1.4 กก.โปแตสเซียม 17.0 กก . แคลเซียม 1.2 กก. แม็กเนเซียม 1.3 กก. ซิลิก้า 50.0 กก. (อ้างอิง : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ถ้าได้ไถกลบเศษซากต้นถั่วเหลือง (เมล็ดพันธุ์ 12 กก./ไร่) ลงไปอีกก็จะได้ ไนโตรเจน 45 กก. เมื่อรวมฟางกับต้นถั่วเหลืองแล้วจะทำให้ได้ปุ๋ยสำหรับต้นข้าวมากมาย
ดินที่สภาพโครงสร้างดีตามมาตรฐานกรมพัฒนาที่ดินระบุว่า เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแต่ละครั้งต้นพืชได้นำไปใช้จริงเพียง 4 ส่วน แล้วเหลือตกค้างอยู่ในดิน 6 ส่วนเสมอ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมี 1-2 รุ่นแล้วเว้น 1 รุ่น ก็จะยังคงมีปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างจากการใส่แต่ละรุ่นที่ผ่านมาบำรุงต้นข้าวรุ่นปัจจุบันได้ย่างเพียงพอ
มาตรการบำรุงดินโดยปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงบำรุงดิน และจุลินทรีย์ อย่าง สม่ำเสมอ-ต่อเนื่อง-รุ่นต่อรุ่น-หลายๆรุ่น-หลายๆปี ทำให้เกิดการสะสมอยู่ในเนื้อดิน ซึ่งจะส่งผลให้สภาพโครงสร้างของดิน ดีขึ้น ดีขึ้น และดีขึ้นตามลำดับ
--------------------------------------------------------------------
28. กำจัดวัชพืชในนาข้าว
ล่อให้งอกแล้วย่ำ ....
วางแผนใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 1 เดือน (30 วัน) โดย....
ย่ำรอบที่ 1 ณ วันที่ 1 ในปฏิทิน
ย่ำรอบที่ 2 ณ วันที่ 10 ในปฏิทิน
ย่ำรอบที่ 3 ณ วันที่ 20 ในปฏิทิน
ย่ำรอบที่ 4 ณ วันที่ 30 ในปฏิทิน ย่ำรอบสุดท้าย พร้อมกับทำร่องมะพร้าวระบายน้ำ แล้วลงมือดำ
- ระยะเวลา 10 วันหลังย่ำแต่ละรอบ วัชพืชถ้าไม่ตายคืองอก ถ้าตายคือไม่งอก
- ก่อนลงมือย่ำรอบแรก สำรวจปริมาณเปอร์เซ็นต์วัชพืชเพื่อให้รู้ว่ามีเท่าไร หลังจากย่ำรอบแรกแล้ว ก่อนลงมือย่ำรอบสอง รอบสาม และรอบสี่ ให้สำรวจปริมาณเปอร์เซ็นต์วัชพืชก็จะรู้ว่าวัชพืชหายไปเท่าไร หรือยังเหลืออีกอยู่เท่าไร นั่นความความสำเร็จหรือไม่สำเร็จจากวิธีการย่ำ ซึ่งในความเป็นจริงนั้น บรรดาวัชทุกชนิดควรต้องลดลง
- การพิสูจน์ว่ายังมีวัชพืชที่ถูกย่ำไปแล้วพร้อมที่จะงอกใหม่ได้อีกหรือไม่ กำดินพร้อมขี้เทือกขึ้นมา 1 กำมือใหญ่ๆ ล้างน้ำกรองดินออก จะเห็นเศษซากวัชพืช ดูว่าลักษณะแบบที่เห็น (สด/เน่า) นั้นสามารถงอกใหม่ได้หรือไม่
** ป้องกันเกิดใหม่ .... ป้องกันเมล็ดวัชพืชบริเวณคันนา หรือพื้นที่ใกล้เคียงปลิวเข้ามาในแปลงนาอีก โดยใช้ไม้เรียวตีก้นเด็กฟาดก้านดอกวัช พืชให้หัก หรือใช้เครื่องตัดหญ้าตัด ซึ่งก้านดอกหญ้าที่หักหรือขาดไปแล้วจะไม่สามารถเจริญเติบโตขยายพันธุ์ต่อไปได้อีก
หยุดปลูกข้าว .... ปลูกพืชอื่น 2-3 รุ่น เพื่อตัดวงจรชีวิตวัชพืช
หมายเหตุ :
- ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้ “ยากที่ใจ" เท่านั้น
- รุ่นนี้ลงทุนด้วยเวลา "ล้างบางวัชพืช" รุ่นหน้ารุ่นต่อไป งานจะง่ายขึ้น
- ผลผลิตที่ได้รับ คุ้มเกินคุ้ม
--------------------------------------------------------------------
29. ประเทศไทย แล้งคือแล้ง ท่วมคือท่วม
เกิดปัญหาที่ระดมสารพัดออกช่วยที ช่วยเสร็จกลับบ้าน ปีใหม่ท่วมใหม่แล้งใหม่ออกช่วยใหม่ ท่วมทีช่วยทีแล้งทีช่วยที ทุกทีทุกครั้งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่แก้ปัญหาแบบ “กันก่อนแก้” กรณีนี้เป็นมาทุกรัฐบาล (เน้นย้ำ....ทุกรัฐบาล) ทั้งรัฐบาลเลือก ตั้ง รัฐบาลรัฐประหารปฏิวัติ .... แนวทางแก้ไข คือ ช่วยตัวเอง ช่วยตัวเอง และ ช่วยตัวเอง
**** สร้างแหล่งน้ำส่วนตัว คนเดียว เอี่ยวกันกับเพื่อบ้าน
**** ปรับ/เปลี่ยน/เสริม/เพิ่ม รูปแบบหรือกิจกรรม การทำเกษตร
****** ใช้ เทคนิค/เทคโนฯ การ บริหาร-จัดการ เข้ามาจับ
****** ออกจากกับดัก (พฤติกรรม ทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรม ประเพณี ยึดติด กระแส ไม่รู้ ไม่เชื่อ ไม่ลอง) ที่สร้างเอง
----------------------------- -------------------------------------------
30. สัจจะธรรม ....
- รัฐบาลให้ราคาข้าวเปลือก 12,000 /เกวียน ชาวนาได้จริง 8,500
- โรงสีรับจากชาวนาแล้ว MAKE MONEY ต่อ ได้ 900/เกวียน
- พ่อค้าส่งออกรับจากโรงสีแล้ว MAKE MONEY ต่อ ได้ 2,200/เกวียน
- พ่อค้าขายข้าวถุง รับข้าวสารจากโรงสีแล้ว MAKE MONEY ต่อ ได้ 5,200/เกวียน
กรณีศึกษา ....
- โรงสีจ่าย 8,500 เพราะหักค่า ข้าวลีบ ข้าวท้องไข่ ข้าวปน ข้าวป่น ไม่แกร่งไม่ใส น้ำหนัก น้อย ความชื้น
- ข้าวหอมมะลิ พะเยาโมเดล ราคา 18,000 / เกวียน.... ซีพี.ดอกคำไต้ จัดงานวันหอมมะลิโลก...
- ข้าวหอมมะลิพิจิตร 12,000 / เกวียน
-------------------- ---------------------------------------------
ข่าว ทีวี. 31. เวียดนามแบนสารเคมีไกรโฟเสต.
กับข่าวผู้ใช้ไกรโฟเสต.แล้วได้รับอันตราย ฟ้องศาลอเมริกา เรียกค่าเสียหายกว่า 9,000 คดี ทั้ง 2 ข่าว ในข่าวไม่มีรายละเอียด.... เวียดนามเลิกใช้ไกรโฟเสต.แล้วใช้อะไรแทน กับคดีฟ้องร้องในศาลที่อเมริกามีความคืบหน้าไปถึงไหน....
กรณีประเทศไทยต่อสารเคมี ยาฆ่าหญ้า-ยาฆ่าแมลง ไม่ต้องแบน ไม่ต้องห้าม แต่มีข้อแม้ ไม่ส่งเสริม ห้ามโฆษณา เก็บภาษีนำเข้า เก็บภาษีการค้า (ภาษีบาป) เหมือนเหล้า-บุหรี่ .... พร้อมกันนั้น รัฐ ส่งเสริม/สนับสนุน ตั้ง ร.ง.ผลิต สารสมุนไพร-ไอพีเอ็ม. (เฉพาะ ร.ง.คนไทย) ตั้งมาแล้วไม่ต้องเก็บภาษีเพื่อให้ขายราคาถูกๆ ของคุณภาพดี ใช้ได้ผล ขายได้มากๆ ทั้งในประเทศและส่งออก รัฐให้เงินโบนัสอีก (เหมือนไต้หวันให้โบนัสเกษตรกรที่ส่งออกได้) กับทั้ง ส่งเสริม/สนับสนุน นักวิชาการสร้างผลงานวิจัย จดทะเบียนลิขสิทธิ์แล้วแถมเงินให้อีก เอาไปสร้างผลงานต่อ....
ว่ามั้ย อเมริกา-ยุโรป-ทั่วโลก สัญชาติญาณมนุษย์ รังเกียจ/กลัว สารเคมียาฆ่าแมลงกันทั้งนั้น วันนี้ถ้ามีอะไรที่ไม่เป็นอันตรายมาแทนสารเคมีได้ เขายินดีต้อนรับกันทั้งนั้นแหละ ....
ถ้าประเทศไทย ประเทศเกษตร ผลิตสารสมุนไพรเพื่อการเกษตรได้ ประเทศที่ผลิตไม่ได้ เพราะโซนภูมิศาสตร์ไม่อำนาย จะสั่งนำเข้าเอง
ส่วนลึกของใจ :
เจตนานำเสนอเรื่องสารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืช ทั้งๆที่กว่า 10 ปี ได้นำเสนอแล้ว ทั้งใน....
* หนังสือ (ร้อยสูตรสารสมุนไพร, สูตรฟันธง, หัวใจเกษตรไท 1,000 หน้า, หัวใจเกษตรไท มินิ 500 หน้า,)
* อินเตอร์เน็ต http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=14
* วิทยุ 20 (+) ปี
* สอนทำเองที่ไร่กล้อมแกล้ม
* ทำใช้-ทำขาย-ทำแจก ที่ไร่กล้อมแกล้ม
เพราะ พฤติกรรม-วัฒนธรรม-ประเพณี ของคนไทยไม่ชอบการอ่าน เปรียบเทียบจาก คนไทยประชากร 70 ล้านคน เฉพาะเกษตรกร 22 ล้านคน พิมพ์หนังสือทุกปกรวมทั้งหมดไม่ถึง 1 แสนเล่ม ทั้งๆที่จิตวิทยาการอ่าน ผู้อ่านสามารถ ซึมซับ-รับรู้ ได้มากกว่าการ ดู-ฟัง ถึง 100-1,000 เท่า และนี่คือ คำตอบ ทำไมภาคเกษตรไทยจึงมีหนี้มาก....
ญี่ปุ่น อังกฤษ พิมพ์หนังสือครั้งละ ล้าน-หลายล้านเล่ม/ครั้ง ในขณะที่หนังสือไทยพิมพ์ละครั้ง หมื่นเล่ม-น้อยกว่าหมื่นเล่ม/ครั้ง นี่ต่างกันนับ 100 เท่า ....
-----------------------------------------------------------------
เมื่อเช้า ทีวี. ช่องนกปีกฉีก คุณสุทธิชัย หยุ่น พูดถึง32. สิงค์โปร์ เวียดนาม ไต้หวัน ...
**** สิงค์โปร์ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ แต่ใช้ “ความรู้” เป็นคนกลางรับสินค้าวัตถุดิบจากประเทศอื่นเอาไปขายต่อ...
**** เวียดนามสร้างประชากรให้มีความรู้ แล้วใช้ความรู้นั้นมาพัฒนาอาชีพ ยกตัวอย่าง การเกษตร ข้าวเวียดนามแซงข้าวไทยแล้ว 2-3 ปีติดต่อกันเวียดนามเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ ข้าวเวียดนามขายถูกเพราะต้นทุนต่ำ...
**** ไต้หวัน เกษตรกรส่งออกผลผลิตได้ รัฐบาลให้เงินแถมเป็นโบนัส อ้างว่า เป็นการนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศ ...
-----------------------------------------------------------------------
33. เกมส์แบนสารเคมี 3 ฝ่ายวันนี้ ....
ฝ่ายแบนอ้างว่า รัฐบาลบอกล่วงหน้าแล้ว 3ปี 5ปี ลุงคิมอยู่หน้าจอ ทีวี. ตั้งแต่เช้า 7 โมงถึง 2 ทุ่ม ทุกวัน ยกเว้นวันที่ออกนอกบ้าน ไม่เคยเห็นข่าวนี้มาก่อน กระทั่งวันนี้บอกได้เลยว่านี่คือ...
ได้ทำ : * ทำผิด=ล้มเหลว... * ทำถูก=สำเร็จ... *ไม่ได้ทำ=ล้มเหลว
ประเทศ NATO (NO ACTION TALK ONLY) หรือ นโยบายบนแผ่นกระดาษ ไม่มีการปฏิบัติ (กระดาษเปื้อนหมึก) หรือ สั่งการ/ออกกฎหมาย แล้วไม่มีการ รับผิดชอบ/กำกับประเมินผล/ปรับแก้/แผนการ ในอนาคต ใดๆ
ว่ามั้ย ประแทศนี้เป็นเยี่ยงนี้มานานแล้ว แล้วก็คงเป็นไปอีกนาน คนที่จะช่วยเราได้ คือ “คนในกระจก” เท่านั้น
--------------------------------------------------------------------
34. - สมุนไพรสูตรยาน็อค
ส่วนผสมประกอบด้วย....
* สะเดา. สาบเสือ. ผกากรอง. กลอย. ซาก. น้อยหน่า. ส้มเช้า. หนอน
ตายหยาก. หางไหล. ว่านน้ำ. สบู่ต้น. สบู่ดำ. มันแกว. ..... มีฤทธิ์ ฆ่าหนอน ฆ่าแมลงปากกัดปากดูด ทำให้ไข่แมลงฝ่อฟักออกเป็นตัวหนอนไม่ได้ หนอนไม่ลอกคราบ
*** ขิง. ข่า. ตะไคร้. .... มีฤทธิ์ ไล่แมลงแม่ผีเสื้อ
*** มังคุด. พริก. ขมิ้น. กระชาย. ดีปลี. .... มีฤทธิ์ กำจัดเชื้อรา แบคทีเรีย
*** สังเกต : ที่นี่ไม่ใส่กากน้ำตาล ไม่ใส่จุลินทรีย์ เพราะนี่คือทำยา ไม่ใช่ทำปุ๋ย .... ข้อมูลได้ มาจาก ร.พ.อภัยภูเบศร์, องค์การเภสัชกรรม ให้ทำยาสำหรับคน เอามาปรับใช้เป็นยาสำหรับพืช
สูตรนี้คือ “สูตรรวมมิตร” ใช้ทั้ง “ป้องกันและกำจัด” ต่อศัตรูพืช “หนอน แมลง โรค” ทั้ง 3 กลุ่มในเวลาเดียวกัน
- จากสูตรรวมมิตร “ต่อยอด-ขยายผล” เป็น “สูตรเฉพาะ” สำหรับ “ป้องกันและกำจัด” ศัตรูพืชเฉพาะตัวเฉพาะอย่าง โดย เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก” สมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ต่อศัตรูพืชตัวนั้นๆ เช่น
*** สูตรยาน็อคเดิม +เพิ่ม กลอย หางไหล หนอนตายหยาก ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง หลายอย่างดีกว่าอย่างเดียว เพื่อ “กำจัด” หนอนโดยเฉพาะ....
*** สูตรยาน็อคเดิม +เพิ่ม ตะไคร้ ขิง ข่า ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง หลายอย่างดีกว่าอย่างเดียว เพื่อ “ไล่” แมลงโดยเฉพาะ.... *** สูตรยาน็อคเดิม +เพิ่ม พริก ขมิ้น กระชาย ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง หลายอย่างดีกว่าอย่างเดียว เพื่อ “กำจัด” โรค (รา แบคทีเรีย) โดยเฉพาะ....
----------------------------------------------------------------------
ข่าว ทีวี. :
35. ผักมีสารเคมีปนเปื้อน ในห้าง 60% ในตลาดสด 40%
ข่าวนี้แพร่ไปทั่วโลก ชาวโลกเห็นข่าวแล้วจะคิดยังไง ?
ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยไม่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลง แต่ใช้สารสมุน
ไพร ใช้ระบบ IPM เป็นข่าว ชาวโลกเห็นข่าวแล้วจะคิดยังไง ?
หน่วยราชการเจ้าของทฤษฎี IPM ไม่ต่อยอดขยายผล ไม่เน้น ไม่ย้ำ แต่ส่งเสริมเกษตรแบบใช้สารเคมี แทรก/สลับ...
วันนี้ รัฐบาล/ราชการ ไม่ส่งเสริม จำเป็นไหมที่เกษตรกรต้องส่งเสริมตัวเอง เพราะนั่นคือ “ผลรับทาง +” ทั้งนั้น
----------------------------------------------------------------------
คนที่ 36. อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย อาฟริกา ทั่วโลก
รังเกียจสารเคมียาฆ่าแมลงกันทั้งนั้น ถ้าวันนี้มีอะไรที่ไม่เป็นพิษมาใช้แทนสารเคมียาฆ่าแมลงได้ เชื่อว่าผู้คนประเทศเหล่านี้ยินดีต้อนรับกันทั้งนั้น....
ในโลกนี้โซนภูมิศาสตร์ที่มีการเจริญเติบโตของชีวภาพมากที่สุด คือ โซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์กลาง คือ พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย สิงค์โปร์ อินโดเนเซีย และศูนย์ของศูนย์กลางจริงๆ คือ ไทย นี่แหละ....
วันนี้ หรืออนาคตอันใกล้ ถ้า พม่า ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย สิงค์โปร์ อินโดเนเซีย ประเทศใดประเทศหนึ่ง ผลิตสารสมุนไพรเพื่อการเกษตร ครอบคลุมทั้งพืชและสัตว์ ทั้งสัตว์และสัตว์ป่า ทั้งผลผลิตสดและผลผลิตแปรรูปจำหน่ายทั่วโลกได้ รูปแบบการเกษตรจะเปลี่ยนไปทางไหน ....
ในเมื่อพืชสมุนไพรไม่อาจปลูกได้ใน อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย อาฟริกษ แต่เขาจำเป็นต้องใช้หรือต้องบริโภคผลิตภัณฑ์จากการเกษตร เขาก็ต้อง WELCOME ต่อสารสมุนไพรสำหรับการเกษตรแน่นอน
สังคมไทย รวมไปถึงสังคมโลกนี้ ยาสมุนไพรสำหรับคน (เน้นย้ำ...คน) มาแรงมาก ๆๆ ๆๆ ทีวี.ทุกช่อง วิทยุทั้ง เอฟเอ็ม./เอเอ็ม. ทุกสถานี โฆษณาสมุนไพรสำหรับคนรุนแรงมาก ๆๆ ทุกตัวทุกผลิตภัณฑ์ได้ผลทั้งนั้น ....
จากสมุนไพรสำหรับคน หันมามองสมุนไพรสำหรับพืช สมุนไพรสำหรับสัตว์เลี้ยง ยังไม่มีวี่แววแจ้งเกิด ทั้งๆที่ ประเทศไทย ประเทศเกษตร ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า นักนวตกรรมเกษตร นักภูมิปัญญาประดิษฐ์ ทำไมไม่สวมวิญญาณนักการตลาด ผลิตสารสมุนไพรสำหรับพืช สำหรับสัตว์เลี้ยง ออกมาขายบ้าง
------------------------------------------------------------------------
37. งานส่งเสริมแบบ ไม่ W. (WHO WHAT WHEN WHERE WHY) มีแต่ H. (HOW TO) วิธีทำ .
คัดลอกจากหนังสือ “หัวใจเกษตรไท มินิ” ....
เทคนิค เทคโนโลยี การเกษตร เพื่อประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน .... LAZY ECONOMIC แปลตามตัวอักษร เศรษฐกิจแบบขี้เกียจ แปลตามความรู้สึก เศรษฐกิจแบบ เทคนิค/เทคโนฯ ....
* เทคนิค คือ วิธีการ
* เทคโนฯ คือเทคโนโลยี คือ หลักวิชาการ
ภาคอุตสาหกรรม “เปิดรับ” เทคโนโลยีใหม่ๆเสมอ เพื่อแทนกำลัง
คน และเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิต....
ภาคเกษตรกรรม “ปฏิเสธ” เทคโนโลยีใหม่อย่างสิ้นเชิง อ้างว่าแพงและสิ้นเปลือง แล้วใช้กำลังคนแทน
------------------------------------------------------------------------
38. สัจจะธรรมระดับโลก
กำเนิดมาในโลกตั้งแต่เริ่มมีสิ่งมีชีวิต (มนุษย์ สัตว์ พืช จุลินทรีย์) ขึ้นมาในโลก นั่นคือ....
ราคาขาย ผู้ควบคุม/ผู้กำหนด คือ คนรับซื้อเท่านั้น
ต้นทุน ผู้ควบคุม/ผู้กำหนด คือ คนผลิตเท่านั้น
ราคาขาย - ต้นทุน = กำไร
ขายได้ เท่าเดิม/เท่าข้างบ้าน แต่ต้นทุน ต่ำกว่าเดิม/ต่ำกว่าข้างบ้าน = กำไร มากกว่าเดิม/มากกว่าข้างบ้าน
----------- -----------------------------------------------------
39. อันตรายอาหารมียาฆ่าแมลงตกค้าง :
อันตรายแบบเฉียบพลัน จะเกิดขึ้นเมื่อได้รับคราวเดียวในปริมาณสูง จะเกิดอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว อาเจียน ชัก หายใจขัด และอาจหยุดหายใจได้
อันตรายแบบเรื้อรัง อาจจะได้รับคราวละน้อย ๆ ต่อเนื่องสะสม จนเกิดอาการอ่อนแอ เหนื่อยง่าย ภูมิคุ้มกันลดลง เบื่ออาหาร เวียนศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ และโรคที่คนกลัวกันนักคือ เป็นมะเร็ง
ทั้งนี้เพราะสารกำจัดศัตรูพืชนั้นมีโลหะหนักอยู่หลายชนิด เช่น ปรอท บิสมัท พลวง สารหนู ตะกั่ว พอแร็กซ์ ออร์แกนโนฟอสเฟต คาร์บาเมต เป็นต้น หากต้องการทราบว่าตนเองได้รับ
ยาฆ่าแมลงมากน้อยแค่ไหน ควรไปที่ศูนย์ทำการทดลอง เพื่อแจ้งความต้องการตรวจเลือดหาระดับโคลีนเอสเตอร์เรส (เสียค่าบริการ) จากนั้นให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานเสียใหม่
----------------------------------------------------------------------
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/11/2021 11:04 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
kimzagass หาวด้า เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11667
ตอบ: 13/11/2021 6:33 pm ชื่อกระทู้:
.
.
40. สังคมไทย รวมไปถึงสังคมโลกวันนี้
ยาสมุนไพรสำหรับคน (เน้นย้ำ...คน) มาแรงมาก ๆๆ ๆๆ ทีวี.ทุกช่อง วิทยุทั้ง เอฟเอ็ม./เอเอ็ม. ทุกสถานี โฆษณาสมุนไพรสำหรับคนรุนแรงมาก ๆๆ ทุกตัวทุกผลิตภัณฑ์ได้ผลทั้งนั้น ....
จากสมุนไพรสำหรับคน หันมามอง สมุนไพรสำหรับพืช สมุนไพรสำหรับสัตว์เลี้ยง ยังไม่มีวี่แววแจ้งเกิด ทั้งๆที่ ประเทศไทย ประเทศเกษตร ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า นักนวตกรรมเกษตร นักภูมิปัญญาประดิษฐ์ ทำไมไม่สวมวิญญาณนักการตลาด ผลิตสารสมุนไพรสำหรับพืช สำหรับสัตว์เลี้ยง ออกมาขายบ้าง
----------------------------------------------------------------------
41. ธรรมชาติไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีตัวเลข
ตามความเหมาะสม “..?..” ในเครื่องหมาย ..?.. หมายถึง พืช และ/หรือ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ปลูกพืชตามใจพืช ไม่ใช่ตามใจคน.... คน คิดเอง ถามเอง ตอบเอง
-----------------------------------------------------------------------
42. ส่วนลึกของใจ :
เจตนานำเสนอเรื่องสารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืช ทั้งๆที่กว่า 10 ปี ได้นำเสนอแล้วทั้งใน....
* หนังสือ (ร้อยสูตรสารสมุนไพร, หัวใจเกษตรไท 1,000 หน้า, หัวใจเกษตรไท มินิ 500 หน้า,)
* อินเตอร์เน็ต http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=14
* วิทยุ 20 (+) ปี
* สอนทำเองที่ไร่กล้อมแกล้ม
* ทำใช้-ทำขาย-ทำแจก ที่ไร่กล้อมแกล้ม
เพราะ พฤติกรรม-วัฒนธรรม-ประเพณี ของคนไทยไม่ชอบการอ่าน เปรียบเทียบจาก คนไทยประชากร 70 ล้านคน เฉพาะเกษตรกร 22 ล้านคน พิมพ์หนังสือทุกปกรวมทั้งหมดไม่ถึง 1 แสนเล่ม ทั้งๆที่จิตวิทยาการอ่าน ผู้อ่านสามารถ ซึมซับ-รับรู้ ได้มากกว่าการ ดู-ฟัง ถึง 100-1,000 เท่า และนี่คือ คำตอบ ทำไมภาคเกษตรไทยจึงมีหนี้มาก....
ญี่ปุ่น อังกฤษ พิมพ์หนังสือครั้งละ ล้าน-หลายล้านเล่ม/ครั้ง ในขณะที่หนังสือไทยพิมพ์ละครั้ง หมื่นเล่ม-น้อยกว่าหมื่นเล่ม/ครั้ง นี่ต่างกันนับ 100 เท่า ....
--------------------------------------------------------------------
43. ปลูกเงาะระยะชิดพิเศษ
ไร่ละ 50 ต้น ออก ก่อน/หลัง ฤดู ซูพรียม-พีเมียม-เกรด เอ.-จัมโบ้-โกอินเตอร์-ขึ้นห้าง-ออกนอกฤดู-สีสวยสด-รสจัดจ้าน-ปลอดสารเคมี ราคาหน้าสวน กก.ละ 50 บาท แต่เงาะระยะปกติไร่ละ 20 ต้น ให้ผลผลิตออกตามฤดู ราคาหน้าสวน กก.ละ 5 บาท ยังไงก็ตาม แม้จะเป็นเงาะในฤดู แต่ถ้าเกรด เอ.จัมโบ้. ก็ราคาสูงได้
ไม้ผล ทำงานทั้งปี ได้ขาย/ขายได้ รอบเดียว หากแบ่งโซน โซนหนึ่งทำก่อนฤดู โซนหนึ่งทำล่าฤดู แม้จะ ได้ขาย/ขายได้ โซนละ 1 ครั้ง แต่รวมทั้งแปลงแล้ว ได้ขาย/ขายได้ 2 รอบ นั่นเอง
-------------------------------------------------------------------
ข่าว ทีวี. ค่ำวานนี้
44. รัฐบาลเริ่มจับกุมร้านขาย “สารเคมี+ยาฆ่าหญ้า-ยาฆ่าแมลง”
งานโทษทั้งจำทั้งปรับ และกฎหมายนี้ครอบคลุมไปถึงเกษตรกรในฐานะ ผู้ครอบครอง/ผู้ใช้ อีกด้วย ก็ไม่รู้เหมือน กันว่าเกมส์นี้จะเกมส์ห้ามใช้สารเคมี ยาฆ่าหญ้า-ยาฆ่าแมลง นี้จบลงเอยแบบไหน
เมื่อรัฐบาลไม่ ส่งเสริม/แนะนำ สารที่ใช้แทนสารเคมี ทางออกของเกษตรกรมีทางเดียว คือ "ทำเอง" ทำสารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืชนี่แหละ
ก็ดีนะ งานนี้นอกจากช่วยลดต้นทุนแล้ว ยังได้ สุขภาพทั้งคนใช้คนกิน เครดิตความน่าเชื่อถือจากคนไทยคนทั่วโลก .... เชื่อไหม คนอเมริกา-คนยุโรป-คนทั่วโลก รังเกียจสารเคมีทั้งนั้น ถ้ามีอะไรที่ไม่เป็นพิษมาแทนสารเคมี เขายินดีต้อนรับทั้งนั้น
ว่ามั้ย เส้นทางหมื่นลี้เริ่มจากก้าวแรก บันไดร้อยขั้นเริ่มจากขั้นแรก ตัวเลขหมื่นแสนเริ่มจากเลขหนึ่ง .... ลุกขึ้นมาเถอะคนไทย ทั้งเกษตร กร ทั้งไม่เกษตรกร ทำสารสมุนไพร-ทำ ไอพีเอ็ม. ใช้เอง ทำใช้ ทำขาย ทำแจก ทำเททิ้ง เย !
-------------------------------------------------------------------------
45. จีนสนใจสารสกัดจากพืชถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ถึงขนาดทุ่มวิจัยและพัฒนาสมุนไพร สะเดา ขิง ข่า ตะไคร้ ดาวเรือง พริก ขมิ้น และมะกรูด เชื่อว่าในอนาคตไม่ไกล โลกจะต้องซื้อสาร สกัดอินทรีย์สมุนไพร ป้องกัน/กำจัด แมลงจากบริษัทของจีน
หน่วยงานด้านวิชาการเกษตรของ หลายประเทศ (เน้นย้ำ....หลายประเทศ) ไม่ยอมให้ปราชญ์ชาวบ้านหรือเกษตรกรหัวก้าวหน้าผลิตสารสกัดอินทรีย์สมุนไพรไล่แมลง ถ้าทำใช้เองเล็กน้อย ก็เมตตาอนุญาตให้ทำได้ แต่ถ้าจะทำเป็นปริมาณมากเพื่อจำหน่าย ไม่สามารถทำได้
หน่วยงานด้านวิชาการเกษตรของ บางประเทศ (เน้นย้ำ...บางประเทศ) จัด สะเดา ขิง ข่า ตะไคร้ ดาวเรือง พริก ขมิ้น และมะกรูด เป็นวัตถุอันตราย เพื่อให้อยู่ในกำกับของตนเอง ทำให้เกิดความยุ่งยากในการผลิตจำนวนมากเพื่อจำหน่าย
--------------------------------------------------------------------
ทีวี. : อาจารย์คณะประสาทวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พูดว่า ....
46. ยุโรป อเมริกา เลิกใช้ยาฆ่าหญ้า
(เน้น...ยาฆ่าหญ้า) ในแปลงเกษตรเด็ดขาดแล้ว แต่ถ้าต้องการกำจัดวัชพืชในแปลงเกษตรก็จะใช้สารตัวอื่นที่ไม่ใช่ ไกร โฟเสต-พาราควอต แทน แต่บอกไม่ได้ว่าสาร ที่จะใช้แทนนี้ชื่ออะไร ฟังไปฟังมาจับประเด็นได้ว่า วันนี้สารตัวที่จะมาแทน ไกรโฟรเสต-พาราควอต รออยู่ในสะต็อกโกดัง ราคาแพงกว่ามาก ....
วันนี้นักส่งเสริมการเกษตร 9 ใน 10 คนพูดแต่ ไกรโฟเสต-พาราควอต-คลอร์ไพรีฟอส คือ ยาฆ่าหญ้า เท่านั้น แต่ไม่พูด ยาฆ่าหนอน ยาฆ่าแมลง เพียง 1 ใน 10 คนเท่านั้นที่พูดถึง ยาฆ่าหญ้า แล้วต่อด้วยสารเคมียาฆ่าแมลง ฆ่าหนอน ฆ่าเชื้อโรค ...
ประกาศดังๆ ที่นี่ สีสันชีวิตไทย กองทัพบกเพื่อประชาชน ประกาศมานานกว่า 10 ปี ใช้สารสมุนไพร ผสมผสาน ไอพีเอ็ม. .... ที่นี่ส่งเสริม พูดทางวิทยุ เขียนในหนังสือ สอนให้ทำด้วยมือ... ทำซี่ ทำแล้วต่อยอด ขยายผล....
----------------------------------------------------------------------
47. ถ้าวิชาเกษตรมี 100 บท
บทที่ 1 สำคัญที่สุด ถ้าผ่านบทนี้ได้ ที่เหลืออีก 99 บท 1วัน 1อาทิตย์ 1เดือน 1ปี ก็ผ่านได้ .... บทที่ 1 คือ “ใจ” เพราะใจเอานี่แหละอะไรๆจึงง่าย ก็เพราะใจไม่เอาอีกนั่นแหละ ทุกอย่างเลยยากไปหมด คนเรียนสูงระดับปริญญาเอกแต่ไม่ได้เรียนสาขาเกษตรจึงไม่มีควรมรู้เรื่องเกษตรเป็นธรรมดา ฉันใด คนที่เรียนมาน้อย ที่เรียนก็ไม่ได้เรียนสาขาเกษตรซะอีก จึงไม่มีความรู้เรื่องเกษตรก็เป็นเรื่องธรรมดา ฉันนั้น ....
คนที่เรียนใน โรงเรียน/มหาลัย/สถานศึกษา มีครูผู้สอนพูดอยู่หน้าห้องเรียน คนเรียนจึงมีความรู้ แต่คนที่ไม่ได้เรียนในสถานศึกษา ไม่มีครูมาพูดให้ฟัง แต่คนเรียนเองด้วยการอ่าน อ่านหนังสือเอง อ่านที่บ้าน อ่านในแปลงเกษตร อ่านไปดูของจริงไป ก็สามารถมีความรู้ได้เช่นกัน
มีหนังสือไว้ในบ้านเหมือนเป็น เอกสาร/ตำรา/คัมภีร์/มรดก ใช้ได้ตลอดชีวิต ถ่ายทอดให้ลูก หลานเหลนโหลน อ่านในบ้าน อ่านในแปลงไต้ต้นไม้ อ่านไปดูไป เชื่อเถอะ รุ่นเดียวรอบเดียว ก็เก่งได้ . ใครมีเล่มเดียว ระวังนะ คนขอยืมแล้วไม่คืน เคยมี คนเดียวซื้อ 1โหล 12ล่ม เอาไปเป็นของขวัญฝากคนที่รัก เขียนลายเซ็นไว้ที่ปก เชื่อเถอะ คนที่ได้รับของขวัญชิ้นนี้แล้ว เขาไม่ทิ้งหรอก ทุกครั้งที่หยิบขึ้นมาอ่าน เห็นลายเซ็นคนที่มอบให้ เขาจะรู้สึกดีๆ ต่อคนให้ทันที แล้วก็ทุกครั้งด้วย ....
--------------------------------------------------------------------------
48. ความหอมที่แฝงพิษร้ายของดอกมะลิ :
สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการ พลังงาน :
เมื่อเอ่ยถึงดอกมะลิทุกคนก็จะนึกถึงดอกไม้สีขาวบริสุทธิ์ ที่มีกลิ่นหอมเยือกเย็น และยังนิยมนำมาร้อยพวงมาลัยถวายพระหรือนำมาลอยในน้ำดื่ม น้ำเชื่อมเพื่อทำให้เกิดรสชาติแห่งความหอมหวานน่ารับประทานและด้วยประโยชน์นา นับประการนี้เองที่ได้นำดอกมะลิมาเป็นสัญลักษณ์ในวันแม่แห่งชาติ ด้วยความหอมและคุณประโยชน์หลายประการ ทำให้มีผู้นิยมนำดอกมะลิมาใช้ประโยชน์มากขึ้น
จนกระทั่งในปัจจุบันได้มีการประกอบอาชีพปลูกดอกมะลิขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า เกษตรหลายท่านที่ยังเกิดความมักง่าย และรู้เท่า ไม่ถึงการณ์ ใช้ยาฆ่าแมลงฉีดตามต้นและดอกมะลิ เพื่อฆ่าหนอนที่เป็นศัตรูสำคัญของดอกมะลิ โดยจะฉีดแบบวันเว้นวัน หรือทุกวัน และเกษตรกรก็เก็บดอกมะลิมาชายทุกวัน ทำให้สารเคมีตกค้างอยู่ตามดอกมะลิที่เรานำมาใช้ประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะการนำมาแช่น้ำ, น้ำเชื่อม จะทำให้เกิดสารเคมีตกค้างในน้ำ, น้ำเชื่อม เมื่อรับ ประทานเข้าไปจะทำให้เกิดสารเคมีสะสมในร่างกายได้
แม้แต่ดอกมะลิที่เรานำมาร้อยพวงมาลัย หรือนำมาสูดกลิ่นหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น โดยเฉพาะบุคคลที่นำดอกมะลิมาร้อยเป็นมาลัยหรือเด็กขายพวง มาลัย ซึ่งต้องสัมผัสกับดอกมะลิทุกวัน อาจทำให้เกิดอันตรายได้ หรือบางคนที่เป็นแผลอยู่ที่มือ ทำให้สารเคมีเข้าสู่ร่างกายตามแผลได้ แม้ว่าเราจะนำดอกมะลินั้นมาล้างน้ำก็ยังคงมีสารเคมีอยู่ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้จะต้องระมัดระวังอย่างมาก ดอกมะลิที่เราเคยเก็บมาดม เก็บมาลอยน้ำ หรือเก็บมาร้อยมาลัยถวายพระนั้น เคยมีแต่กลิ่นหอมบริสุทธิ์ น่าแตะต้อง แต่ในปัจจุบันเวลาท่านสูดกลิ่นหอมจากดอกมะลิเข้าไปท่านอาจจะสูดเอาสารเคมีพิษเข้าไปด้วย แม้แต่ดอกมะลิที่นำมาลอยน้ำเพื่อให้ดื่มกินด้วยความสดชื่น อาจมีสารเคมีเข้าไปด้วยโดยไม่รู้ตัว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักเลือกดอกมะลิก่อนนำมาใช้ประโยชน์ โดยจะต้องแน่ใจว่าดอกมะลินี้ซื้อมานั้นปราศจากสารเคมีพิษและไม่ควรนำดอกมะลิที่ซื้อมาจากตลาดมาลอยในน้ำดื่ม .....
http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=10
-----------------------------------------------------------------------
49. นักเศรษฐศาสตร์การเกษตร
บอกว่า การเกษตรวันนี้ 90% สูญเสียไปเพราะ “คุณภาพ” ไม่ได้เกรดซูพรีม แปลว่า ได้เกรดซูพรีม 10% ได้กรดฟุตบาธ 90% เหตุเพราะปฏิบัติบำรุง “ผิด” นั่น เอง ....
บำรุงลำไยตามใจลำไย .... รู้ลำไยรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล ....
ปัจจัยพื้นฐานสำหรับลำไย แปลงนี้ :
ดิน, น้ำ, แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล, สายพันธุ์ .... O.K. เพราะลำไยอยู่ได้ สารอาหาร ..... ปุ๋ย คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ เกี่ยวกับ อินทรีย์/เคมี, ชนิดแห้ง/ชนิดน้ำ, ทางใบ/ทางราก, ตัวปุ๋ย, สูตร, ปริมาณ, ทำเอง/ซื้อ) ฯลฯ โรค ................ ศัตรูพืชประจำพืช, ป้องกัน/แก้,
เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง .... สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย
ผลผลิตเพิ่ม .... คุณภาพ (ไหล่ยก อกผาย ท้ายมน เมล็ดเล็ก) และปริมาณ (ต่อต้น ปีนี้ ปีที่แล้ว)
ต้นทุนลด ....... มูลค่า, ทำเอง/ซื้อ
อนาคตดี ........ ลูกค้าจองล่วงหน้า, ระยะสั้น ระยะปานกลาง ระยะยาว …..
-----------------------------------------------------------------------
50. สารสมุนไพรป้องกันกำจัด โรคพืช แมลงศัตรูพืช.... โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
http://www3.oae.go.th/rdpcc/images/filesdownload/km/Knowledge/productions/9.pdf
พืชสมุนไพรไล่แมลง แทนสารเคมีสังเคราะห์ .... อ.แสงเดือน อินชนบท สำนักฟาร์ม ม.แม่โจ้ https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_87501
การกำจัดศัตรูพืชด้วยสมนุไพร .... กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ http://www.ldd.go.th/menu_Dataonline/G1/G1_30.pdf
การใช้สมุนไพรป้องกันและกำจัดศัตรูพืช .... สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จ.เชียงใหม่
http://www.ndoae.doae.go.th/article2010/2011004.html
สมุนไพรไล่แมลง สูตรร้อนแรง ... อ.เกศศิรินทร์ แสงมณี สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ม.ราชภัฏพระนคร
https://www.baanlaesuan.com/150794/garden-farm/herbal-insect-repellent-2
ควบคุมศัตรูพืชด้วยสารธรรมชาติ .... กรมวิชาการเกษตร http://www.doa.go.th/pibai/pibai/n9/v-8-sep/cheaksong.pdf
สมุนไพรไล่แมลง แทนสารเคมี (ตอนที่2) .... สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร ม.แม่โจ้ http://researchex.rae.mju.ac.th/agikl/index.php/knowledge/37-organic/165-
งานวิจัยฯ .... ม.เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย http://rdi.rmutsv.ac.th/rmutsvrj/download/year6-issue1-2557/p_39.pdf
การใช้สมุนไพรป้องกันและกำจัดศัตรูพืช.....
http://www.pmc03.doae.go.th/webpage/research/researchsamunphai.pdf
สมุนไพร : เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง .... วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชร
http://www.kpcat.ac.th/BWLFSD/document/07102556.pdf
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ .... สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช http://lpsci.nfe.go.th/lpsci/attachments/184_bb11.pdf
คลื่นวิทยุลดความชื้นในข้าวและกำจัดแมลง .... คณะเกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่ https://www.voicetv.co.th/read/76546
GOOGLE …. พิมพ์ “งานวิจัย สมุนไพรกำจัดแมลง”
นี่คือส่วนหนึ่งของตัวอย่าง หน่วยราชการ/นักวิชาการ/นักวิจัย ที่มี ข้อมูล/ประสบการณ์ตรง เรื่องสารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัดศัตรูพืช ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ส่วนราชการต้นสังกัดของ นักวิชาการ/นักวิจัย เหล่านี้ทำไมจึงไม่นำเสนอให้รัฐบาลได้รับรู้ กับให้สงสัยอย่างมากๆ (เน้นย้ำ...มากๆ) คือ
** เกษตรกร (ตัวจริง) ที่ใช้สารธรรมชาติ (สารสมุนไพร) แทนสารเคมีแล้วได้ผล ทำไมจึงไม่พูดเรื่องนี้...
** รายการ ทีวี. พบเกษตรกรใช้สารธรรมชาติกำจัดศัตรูพืช แล้วทำไมไม่ทำข่าวเจาะลึกเรื่องสารธรรมชาตินั้น ….
---------------------------------------------------------------------
วันนี้ ถึงยุคถึงสมัยถึงเวลา
51. เปลี่ยน“ไม่รู้” ของตัวเองให้เป็น “รู้”
ด้วยตัวเอง โดยการ “อ่านๆๆ ดูๆๆ ทำๆๆ ใช้ๆๆ ขายๆๆ แจกๆๆ ทิ้งๆๆ .... นั่นคือ อ่านในหนังสือ เน้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเองก่อนแล้วอ่านเรื่องที่เกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันเกี่ยวก้อยทีหลัง เชื่อเถอะ ปีเดียว รอบเดียว รุ่นเดียว รู้เรื่อง ถึงเวลานั้น บอกใครคุยกับใครพูดกับใคร เสียงดังได้ เฮ่ยยยย ก.ทำกับมือ ม.อย่าเถียง...
รู้กล้วยหอมรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล ....
รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี ....
วิชาคือ มรดก/คัมภีร์ อยู่กับตัวไปตลอดชีวิต ถ่ายทอดให้หลูกหลานเหลนโหลนได้....
---------------------------------------------------------------------
52. ประเภทของสารเป็นพิษ [b]
1. สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ สารพิษประเภทนี้แบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1.1 ยาฆ่าแมลง คือสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันและกำจัดแมลงและหนอนที่เป็นศัตรูพืช สัตว์ และมนุษย์ มีทั้งที่อยู่ในรูปสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองในธรรมชาติหรือสังเคราะห์ขึ้น ยาฆ่าแมลงที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ
1.1.1 กลุ่มออแกโนคลอรีน ได้แก่ ดีดีที อัลดริน ดีลดริน เมื่อได้เป็นจำนวนมาก จะทำให้เกิดอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ ท้องร่วง อาจเกิดหัวใจวายและตายได้ แต่ถ้าได้รับ ในปริมาณน้อย ๆ ค่อย ๆ สะสมในร่างกายจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งเนื้องอกได้
1.1.2 กลุ่มออแกโนฟอสเฟต ได้แก่ พาโรไธออน มาลาไธออน ถ้าได้รับปริมาณมากจะทำให้หมดสติ น้ำลายฟูมปาก อุจจาระ ปัสสาวะร่วง กล้ามเนื้อกระตุก และหยุดหายใจ
1.1.3 กลุ่มคาร์มาเมต ได้แก่ คาร์บอริล ไบกอน สารพิษกลุ่มนี้ จะมีพิษสูงต่อผึ้งและปลา
1.1.4 กลุ่มไพรีทรอย ได้แก่ แอมบุช เดซิล สารพิษกลุ่มนี้มีพิษต่อมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างน้อย
2. สารเคมีปราบวัชพืช เป็นสารเคมีทำใช้ในการป้องกันและกำจัดวัชพืชปัจจุบันสารเคมี ปราบวัชพืชมีจำหน่ายอยู่มากกว่า 150 ชนิด หลายสูตรและมีประสิทธิภาพ ตกค้างอยู่ในดินในสภาวะที่เหมาะสมได้เป็นเวลานาน สารพวกนี้ ได้แก่ พาราควอต คาราฟอน อะตราชีน
3. สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เป็นสารที่ใช้ป้องกันกำจัดเชื้อราที่พืชพันธุ์ธัญญาหารเมล็ด พืชผัก ผลไม้ตลอดจนเชื้อรา ที่ขึ้นอยู่ตามผิวดินสารประเภทนี้มีมากกว่า 25 ชนิด ได้แก่คอปเปอร์ซัลเฟต แอนทราโคล โลนาโคล แมนเซทดี
4. สารเคมีปราบสัตว์แทะ เป็นสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดหนู และสัตว์บางชนิด มีพิษร้ายแรงมากทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน วิงเวียนศีรษะ กระสับกระส่าย ได้แก่ ซิงค์ ฟอลไฟด์ วาฟาริน
https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi3/san-pit/work1m.htm https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi3/san-pit/work1m.htm ….
-----------------------------------------------
คนที่
53. อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย อาฟริกา ทั่วโลก
รังเกียจสารเคมียาฆ่าแมลงกันทั้งนั้น ถ้าวันนี้มีอะไรที่ไม่เป็นพิษมาใช้แทนสารเคมียาฆ่าแมลงได้ เชื่อว่าผู้คนประเทศเหล่านี้ยินดีต้อนรับกันทั้งนั้น....
ในโลกนี้โซนภูมิศาสตร์ที่มีการเจริญเติบโตของชีวภาพมากที่สุด คือ โซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และศูนย์กลาง คือ พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย สิงค์โปร์ อินโดเนเซีย และศูนย์ของศูนย์กลางจริงๆ คือ ไทย นี่แหละ....
วันนี้ หรืออนาคตอันใกล้ ถ้า พม่า ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย สิงค์โปร์ อินโดเนเซีย ประเทศใดประเทศหนึ่ง ผลิตสารสมุนไพรเพื่อการเกษตรด้วยเทคโนโลยีวันนี้ต่ออนาคต ครอบคลุมทั้งพืชและสัตว์ สัตว์บ้านและสัตว์ป่า ทั้งผลผลิตสดและผลผลิตแปรรูป ออกขาย จำหน่ายทั่วโลกได้ รูปแบบการเกษตรจะเปลี่ยนไปทางไหน ....
ในเมื่อพืชสมุนไพรไม่อาจปลูกได้ใน อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย อาฟริกา แต่เขาจำเป็นต้องใช้ หรือต้องบริโภคผลิตภัณฑ์จากการเกษตร เขาก็ต้อง WELCOME ต่อสารสมุนไพรแน่นอน ....
------------------------------------------------------------------------
54. สัจจะธรรมระดับโลก กำเนิดขึ้นมาในโลกตั้งแต่เริ่มมีสิ่งมีชีวิต (มนุษย์ สัตว์ พืช จุลินทรีย์) ขึ้นมาในโลก นั่นคือ....
ราคาขาย ผู้ควบคุม/ผู้กำหนด คือ คนรับซื้อเท่านั้น
ต้นทุน ผู้ควบคุม/ผู้กำหนด คือ คนผลิตเท่านั้น
ราคาขาย - ต้นทุน = กำไร
ฃ ายได้ เท่าเดิม/เท่าข้างบ้าน แต่ต้นทุน ต่ำกว่าเดิม/ต่ำกว่าข้างบ้าน = กำไร มากกว่าเดิม/มากกว่าข้างบ้าน…..
-----------------------------------------------------------------
ประเทศพัฒนาแล้ว เช่น
55. สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
มีการลงทุนด้านการวิจัยสูงมากถึง 2-4% ของ GDP ส่วน....
ประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ลงทุนด้านการวิจัยที่ 0.89% และ 1.08% ของ GDP ในขณะที่....
ประเทศไทย ลงทุนด้านการวิจัยค่อนข้างน้อย ต่ำกว่า 0.5% ของ GDP ซึ่งในจำนวนนี้จัดสรรสำหรับการวิจัยด้านการเกษตรเพียง 1 ใน 5 เท่านั้น ในด้านการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย ประเทศไทยมีสัดส่วนนักวิจัยเพียง 0.8 คน ต่อประชากร 1,000 คน ซึ่งต่ำกว่ามาเลเซีย ที่มีอัตราส่วน 1.97 คนต่อประชากร 1,000 คน ในจำนวน....
นักวิจัยทั้งหมดของประเทศไทย เป็นนักวิจัยด้านการเกษตรไม่เกิน 8% เพื่อก้าวไปสู่ประเทศไทย 4.0 จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องลงทุนวิจัยและพัฒนาการเกษตร และบุคลากรวิจัยการเกษตร....
---------------------------------------------------------------------
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/11/2021 11:10 am, แก้ไขทั้งหมด 10 ครั้ง
กลับไปข้างบน
kimzagass หาวด้า เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11667
ตอบ: 13/11/2021 6:33 pm ชื่อกระทู้:
.
.
56. คนไทยอ่านหนังสือ :
นางสาววันเพ็ญ พูลวงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิด เผยภาพรวมสำรวจการอ่านของคนไทยในปี พ.ศ. 2561 พบว่าคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป อ่านร้อยละ 78.8 หรือคิดเป็นจำนวนประชากร 49.7 ล้านคน โดย
กรุงเทพฯ มีคนอ่านมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 92.9
ภาคกลางร้อยละ 80.4
ภาคเหนือและภาคอีสานร้อยละ 75
ภาคใต้ร้อยละ 74.3
ขณะที่เวลาในการอ่านสูงขึ้น พบว่าคนไทยอ่านหนังสือนานสุด 80 นาที/วัน เทียบจากปี 2558 อ่าน 66 นาที และและ 2556 อ่าน 37 นาที
****************************************************
57. ไม่ใช่ "แนว" ของลุงคิม แต่เป็น "แนว" ของธรรมชาติ
บอกมากว่า 2 ทศวรรษ "ปลูกพืชตามใจพืช ไม่ใช่ตามใจคน" .... ว่างๆ มีโอกาสช่วยบอกคน"ขายปุ๋ย ขายยา" หน่อยว่า"เถ้าแก่ ขายอั้ยที่ถูกต้อง ได้บุญ ได้กำไร นะ".... คนที่ส่งเสริมการเกษตร และ/หรือ สารพัดอาชีพ ดีที่สุด คือ "พระ" ในทุกๆศาสนา เพราะพระสอนให้รู้จัก "เหตุและผล"....ทำถูกได้ถูกได้มาก ทำผิดได้ผิดได้น้อย ทำอย่างไรได้อย่างนั้น...ระวัง ศรัทธาศรัทถวย พระให้หวยจึงศรัทธาศรัทธาศรัทถ่อ พระเสียงหล่อจึงศรัทธา.... ทำแล้วขาย ขายแล้วไม่ได้กำไร แต่กลับเป็นหนี้.... ยุค IT คนที่จะบอกเราได้ดีที่สุด คือ "คนในกระจก" นั่นแหละ....ชก ! มันเลยเป็นไง ....จน ไม่มีหนี้ เท่ากับ ศูนย์ จน มีหนี้ เท่ากับ ติดลบ....เย่ ! ตัวใครก็ตัวใคร หลานใครก็หลานใคร หนี้ใครก็หนี้ใคร เด้อออ
********************************* *****************
............................58. ปุจฉา วิสัชนา ...............................
........... ทำอย่างเดิม = ได้อย่างเดิม ได้น้อยกว่าเดิม ..........
.......... คิดใหม่ ทำใหม่ = ได้ดีกว่าเดิม ได้มากกว่าเดิม .........
.......... เนื้อที่ 1 ไร่ ทำ 1 ปี ........... ได้ 1 ครั้ง................
.......... เนื้อที่ 1 ไร่ ทำ 1 ปี ........... ได้หลาย-หลาย-หลาย ครั้ง........
.... ขายได้เท่าเดิม ได้เท่าข้างบ้าน แต่ต้นทุนลด คือกำไรเพิ่ม ....
.... ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้ เพราะ ....... ต้นทุนสูง ต้นทุนสูญเปล่า .....
........ ทุกคนเกิดมา เก่งเท่ากัน รู้เท่ากัน ..... แต่ แพ้-ชนะ กัน ที่โอกาส ........
............ เรื่องง่ายทำไม่ได้ .... เรื่องยากทำได้ ........ เพราะ “ใจ” ............
................ ทำน้อย .............. ทำถูก = ได้มาก ..............
................ ทำมาก .............. ทำผิด = ได้น้อย ..............
............ คนที่จะช่วยเราได้ดีที่สุด คือ คนในกระจก ..............
-----------------------------------------------------------------------
59. สมการปุ๋ยอินทรีย์น้ำ :
อินทรีย์วัตถุผิด + จุลินทรีย์เริ่มต้นผิด + สารอาหารจุลินทรีย์ผิด + วิธีทำผิด + อุณหภูมิผิด + ระยะเวลาถูก = ไม่ได้ผล ยกกำลัง 5
อินทรีย์วัตถุผิด + จุลินทรีย์เริ่มต้นผิด +สารอาหารจุลินทรีย์ผิด + วิธีทำผิด + อุณหภูมิถูก + ระยะเวลาถูก = ไม่ได้ผล ยกกำลัง 4
อินทรีย์วัตถุผิด + จุลินทรีย์เริ่มต้นถูก + สารอาหารจุลินทรีย์ถูก + วิธีทำถูก + อุณหภูมิถูก + ระยะเวลาถูก = ไม่ได้ผล
อินทรีย์วัตถุถูก + จุลินทรีย์เริ่มต้นถูก + สารอาหารจุลินทรีย์ถูก + วิธีทำถูก + อุณหภูมิถูก + ระยะเวลาถูก = ได้ผล ยกกำลัง 6
อินทรีย์วัตถุ .......... สดใหม่สมบูรณ์ มีสารอาหารเคมีชีวะมากที่สุด
จุลินทรีย์เริ่มต้น ...... จุลินทรีย์เก่าที่ใช้งานมาแล้ว จุลินทรีย์ใหม่ชนิดตรงกับอินทรีย์วัตถุ
สารอาหาร ........... สารรสหวาน มาก/น้อย ตามชนิดของอินทรีย์วัตถุ
วิธีทำ ................. บดละเอียดก่อนหมัก เปิดฝาถัง ระหว่างหมักต้อง ไม่เหม็น/ไม่หนอน
อุณหภูมิ .............. อุณหภูมิห้อง
ระยะเวลา ............. หมักนาน 3 เดือนได้ธาตุหลัก, 6 เดือนได้ธาตุรอง, 9 เดือนได้ธาตุเสริม, ข้ามปีได้ฮอร์โมน
ผล .................... ต้องตรวจในห้อง LAB เท่านั้น
------------------------------------------------------------------------
60. สอนให้ คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ฟันธง
คำถามที่รอคำตอบ :
การที่จะทำได้ประสบความสำเร็จอยู่ที่ ใจ ใจเอาใจสู้ ใจมาก่อนฝีมือมาทีหลัง คนเราความเก่งเท่าๆกัน แต่แพ้ชนะกันที่โอกาส โอกาสลอยอยู่ในอากาศ ใครคว้าไว้ได้ก็ได้ ไม่คว้าก็ลอยหายไปหาคนอื่น ....
ระหว่างทำ กับ ไม่ได้ทำ :
* ทำถูก = ได้ คือ กำไร,
* ทำผิด = ไม่ได้ คือ ขาดทุนเป็นหนี้ ....
* ไม่ได้ทำ = ไม่ได้ คือ เท่าทุน หรือ ขาดทุน ลงท้ายเป็นหนี้
การเกษตรที่ทำอยู่ ณ วันนี้ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ/ฟันธง ซิ :
* ให้ได้ปริมาณมากกว่านี้ ทำยังไง ? ....
* ได้น้อย ได้เท่าเดิม ได้เท่าข้างบ้าน สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ได้คุณภาพเหนือกว่านี้ ทำยังไง ? .... คุณภาพต่ำ คุณภาพเท่าเดิม คุณภาพเท่าข้างบ้าน สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ต้นทุน ทุนซื้อ/ทำเอง ต่ำกว่านี้ ทำยังไง ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ให้ได้เครดิตความน่าเถือมากกว่านี้ ถึงขนาดจองล่วงหน้า ซื้อเหมายกสวน ทำยังไง ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* วิธีทำ รูปแบบการทำ ของตัวเอง คือ ทำแบบเดิม ผลรับทุกอย่างเหมือเดิม เพราะอะไร ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* วิธีทำ รูปแบบการทำ ของคนอื่น ผลรับทุกอย่างเหนือกว่าของเรา เพราะอะไร ? .... สาเหตุเกิดจากอะไร ? ปรับ/เปลี่ยน/แก้ไข ยังไง ?
* ฯลฯ
---------------------------------------------------------------------
61. เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง :
ประหยัด เวลา/แรงงาน/ต้นทุน/พลังงาน/อารมย์ .....
เพิ่ม ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล ของเนื้องาน .............
เพิ่ม ปริมาณ/คุณภาพ ของผลผลิต .......................
ลงทุนเพื่อลดต้นทุน ...........................................
สร้างเครดิต ความน่าเชื่อถือ .................................
เป็นมรดกถ่ายทอดให้ลูกหลานเหลนโหลน ภายหน้า .....
- ติดตั้งถังขนาด 50 ล. หน้ารถไถ (เดินตาม/คนขับ) มีท่อที่ก้นถังยื่นออก 2 ข้าง มีก๊อกข้างละ 2 อัน ห่างกันอันละ 50 ซม. .... ท้ายรถไถมีลูกทุบหรืออีขลุบ
- ทำงาน : ย่ำเทือกรอบสุดท้าย ใส่ “น้ำ+ปุ๋ยเคมี 10 กก. +น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 2 ล.” สำหรับพื้นที่ 1 ไร่....
ออกวิ่งรถย่ำเทือกเปิดก๊อกให้น้ำปุ๋ยออกมา มาก/น้อย-เร็ว/ช้า ตามความเหมาะสมของ เนื้องาน/พื้นที่งาน ....
ขณะที่น้ำปุ๋ยไหลลงมาที่ด้านหน้ารถ จะถูกลูกทุบหรืออีขลุบที่ท้ายรถตีให้น้ำปุ๋ยกระจุยกระจายสาดกระเซ็นไปทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว ส่งผลให้ต้นข้าว (นาดำ/นาหว่าน/นาหยอด) ทุกต้นทุกกอได้รับปุ๋ยเท่ากันทั้งแปลง....
งานนี้ได้แน่ๆ
** ใช้ปุ๋ยน้อย
** ปุ๋ยทุกเม็ดถึงข้าวทุกต้น
** ประหยัดเงินค่าปุ๋ย
** ประหยัดเวลา
** ประหยัดแรงงาน
--------------------------------------------------------------------
62. ในธรรมชาติไม่มีตัวเลข ไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีคันเร่ง ไม่มีบล็อก
** จุลินทรีย์-ปุ๋ย คนละตัวกัน แต่อยู่ด้วยกัน
** ทำอย่างเดิม ได้อย่างเดิม ได้น้อยกว่าเดิม
** คิดใหม่ ทำใหม่ ได้ดีกว่าเดิม ได้มากกว่าเดิม
** นาข้าวเคมี 1 ไร่ ต้นทุน 6,000 ขายได้ 8,000
** นาข้าว อินทรีย์-เคมี 1 ไร่ ต้นทุน 3,000 ขายได้ 10,000
** ยุโรปทำเกษตร อินทรีย์-เคมี-ผสมผสาน
** อเมริกาทำนาข้าว ไม่เผาฟาง แต่ทำฟางเปล่าๆ ให้เป็นฟางซุปเปอร์
-----------------------------------------------------------------------
********************** 63. เกษตรานุสติ **************************
....................... ทำอย่างเดิม = ได้อย่างเดิม ได้น้อยกว่าเดิม ..........................
.................... คิดใหม่ ทำใหม่ = ได้ดีกว่าเดิม ได้มากกว่าเดิม .........................
............ ขายได้เท่าเดิม ได้เท่าข้างบ้าน แต่ต้นทุนลด คือกำไรเพิ่ม .................
............... ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้ เพราะ ..... ต้นทุนสูง ต้นทุนสูญเปล่า ...................
........ ทุกคนเกิดมา เก่งเท่ากัน รู้เท่ากัน ..... แต่ แพ้-ชนะ กัน ที่โอกาส ............
............... เรื่องง่ายทำไม่ได้ .... เรื่องยากทำได้ ..... เพราะ “ใจ” ......................
.............................. คนที่จะช่วยเราได้ดีที่สุด คือ คนในกระจก ...................
*** ธรรมชาติไม่มีตัวเลข ไม่มีสูตรสำเร็จ....
*** อย่าเอาชนะธรรมชาติ แต่จง อยู่ร่วม/แสวงประโยชน์ จากธรรมชาติ
*** ทำอย่างเดิม คงไม่มีอะไรดีกว่าเดิม
*** ทำตามคนที่ล้มเหลว จะล้มเหลวยิ่งกว่า เพราะ รู้ไม่จริง+เอาชนะ
*** ทำตามคนที่สำเร็จ เอาความสำเร็จมา ต่อยอด/ขยายผล
*** ทุกอย่าง ยาก/ง่าย อยู่ที่ใจ
จาก “เดิม/ปัจจุบัน/อนาคต-ของเขา/ของเรา” เอามา .....
คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ บนพื้นฐาน.....
ทำใหม่ ออกนอกกรอบ ต่อยอด ขยายผล ซุปเปอร์ .....
ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตดี .....
ศึกษาปัญหาก่อน ศึกษาความสำเร็จทีหลัง ....
ระยะสั้น ระยะปานกลาง ระยะยาว ......
สุดท้าย “ฟังธง” สูตรของตัวเอง
---------------------------------------------------------------------
64. 2 ทศวรรษ 20 ปี กับงานเกษตร
ได้พบสัจจธรรมหลายอย่าง เกษตรกรไทยทำการเกษตร แบบ “กลับหัว กลับหาง” .... ลุงคิมพูดบ่อยๆว่า สมมุติว่าวิชาเกษตรมี 100 บท เรียน บทที่ 1 สำคัญที่สุด ถ้าสอบผ่านบทที่ 1 ได้แล้ว เหลืออีก 99 บทเรียน ใช้ เวลาเรียนเพียงครึ่งชั่ว
โมงก็บรรลุ
บทเรียนที่ 1 ที่ว่าสำคัญที่สุดนั้นคือ “ทัศนคติ” หรือ “ใจ” นั่นเอง .... สังเกตุไหม สำนักเรียนไหนๆ มักสอนแต่ความสำเร็จ สอน แต่สูตรสำเร็จ ราวกับว่าทุกอย่างไม่มีปัญหาเลย ทั้งๆที่ในโลกแห่งความเป็นจริงมีแต่ ปัญหา ปัญหา และปัญหา จึงไม่สอนให้รู้จักกับปัญหา ....
แต่สำนักนี้ สำนักไร่ กล้อมแกล้มกลับสอนว่า หากจะกระทำการสิ่งใด จงศึกษาส่วนที่เป็นปัญหาก่อน แล้วจึงศึกษาส่วนที่เป็นความสำเร็จภายหลัง ทั้งนี้เมื่อรู้ว่า อะไรจะเป็นปัญหาก็ให้ป้องกันปัญหานั้นล่วงหน้าในลักษณะ “กันก่อนแก้” แล้วจึงลงมือทำ เมื่อลงมือทำแล้วไม่เกิดปัญหา การกระทำนั้นๆ ย่อมประสบความสำเร็จ ในทางกลับกัน หากลงมือกระทำการใดๆแล้วมีแต่ปัญหา ปัญหา และปัญหา ปัญหาเรื่องไม่เป็นเรื่อง ปัญหาโลกแตก ปัญหาสภาวะจำยอม ปัญหาไม่คาดคิด การกระทำนั้นย่อมประสบแต่ความล้มเหลว
ถึงยุคสมัยแล้วที่ชาวนาต้องสร้างแนวคิดใหม่ :
- เลิก....มุ่งแต่เอาปริมาณผลผลิตให้ได้มากๆ แต่ให้ระวังต้นทุน ลดต้นทุนให้ได้ทุกรูปแบบ
- เลิก....ทุ่มทุนซื้อทุกอย่าง แต่ให้ทำเองทั้งหมด หรือทำเองครึ่งหนึ่ง ซื้อครึ่งหนึ่ง
- เลิก....กะรวยคนเดียว แต่ให้กะรวยด้วยกันทั้งกลุ่ม ทั้งหมู่บ้าน
- เลิก....คิดคนเดียว ทำคนเดียว แต่จงระดมแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
- เลิก....ทำแบบเดิมๆ แต่จงเปลี่ยนมาทำตามแบบคนที่ประสบความสำเร็จ แล้วต่อยอด
- เลิก....ทำตามคนที่ล้มเหลว แต่จงเป็นตัวของตัวเอง ด้วยความมั่นใจ มีหลักวิชาการ
- เลิก....กลัวเสียเหลี่ยม เลิกมิจฉาทิฐิ แต่จงยอมรับความจริง แล้วแก้ไข ปรับเปลี่ยนประยุกต์
- เลิก....ปิดกั้นตัวเอง แต่จงเปิดโลก รับรู้ข้อมูลใหม่ๆ เสมอ
- เลิก....ตามใจคน แต่จงตามใจข้าว ข้าวต้องการอะไรให้อันนั้น ต้องการเท่าไหร่ให้เท่านั้น
- เลิก....ปล่อยวิถีชีวิตไปวันๆ แต่จงมุ่งรุ่นหน้าต้องดีกว่า ยิ่งทำยิ่งดีขึ้น ดีขึ้น และดีขึ้น
- เลิก....ทำตามประเพณี ทำตามกระแส แต่จง แม่นสูตร-แม่นหลักการ
- เลิก....เชื่อคนขายปุ๋ย-ขายยา แต่จงเชื่อซึ่งกันและกัน
- รูปแบบการทำนา จากดีที่สุด ไปหาดีน้อยที่สุด ดังนี้... นาหยอดเมล็ด - นาดำด้วยมือ - นาดำด้วยเครื่อง - นาโยน - นาหว่านด้วยเครื่องพ่นเมล็ด - นาหว่านด้วยมือ
- น้ำมากทำให้ข้าวสูง แตกกอน้อย สุดท้ายก็ล้ม....น้ำน้อย เจ๊าะแจ๊ะหน้าดิน ถึงแห้ง ระดับแตกระแหง ต้นข้าวไม่สูง แตกกอมาก ต้นไม่ล้ม
- ยูเรีย ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี
- แม็กเนเซียม สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดีสมบูรณ์แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย
- สังกะสี สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี
- ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง
- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 14 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น ..... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น
- ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8- อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮอร์โมน
- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10/ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว
สรุป :
ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ - ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน....ต้นทุนลดลง แต่ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ยูเรีย + 16-20-0
-----------------------------------------------------------------------
65. ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำตระกูลเผ่าพันธุ์
วันนี้ไม่มีเพราะยังไม่มา หรือศัตรูพืชกำลังขยายพันธุ์
- ไม่มีสารเคมี หรือสารสมุนไพรใดในโลกนี้ ที่ทำให้ส่วนของพืชที่ถูกทำลายไปแล้ว ฟื้นคืนดีอย่างเดิมได้ เป็นแล้วเป็นเลย เสียหายแล้วเสียหายเลย ต้องกันก่อนแก้
- ข้าวเป็นพืชที่มีศัตรูพืชมากที่สุดในบรรดาพืชด้วยกัน คือมากถึง 200 ชนิด/ชื่อ เขียนหนังสือได้เป็นเล่มๆ
- นาข้าว 50 ไร่ เมื่อไม่ทำเองก็ต้องจ้าง จ้างคือจ้าง ต้องจ่ายค่าจ้างอยู่แล้ว สำคัญที่ จ้างให้ทำอะไร ? ทำอย่างไร ? ทำเพื่ออะไร ? ทำแล้วได้อะไร ? ได้เท่าไหร่ ?
- กรณีนาข้าว ได้ข้าวมาแล้ว ....
* ขายเป็นข้าวพันธุ์รวมกองให้โรงสี .... หรือ
* ขายเป็นข้าวปลูก ทำพันธุ์ ................... หรือ
* สีเป็นข้าวกล้องขาย …….............…... หรือ
* สีเป็นข้าวกล้องงอกขาย ..................... ตลาดไหนได้ราคาดีกว่ากัน ?
หรือ คนเดียว/รวมกลุ่ม แปรรูป....
* ข้าวเบญจรงค์ 5 สี ……... หรือ
* น้ำมันรำ ……………..... หรือ
* จมูกข้าวบรรจุแคปซูล ....
วิเคราะห์ปัญหาแบบ “คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ” แยกมูลเหตุและการแก้ไข ทีละประเด็น :
* ต้นทุนค่าแรง :
- แรงงานหายาก ... แก้ไขโดย จ้างให้น้อยคนที่สุด แล้วใช้เครื่องทุ่นแรงช่วย
- เครื่องทุ่นแรงประเภทภูมิปัญญาพื้นบ้าน .... แก้ไขโดย เปลี่ยนเป็นใช้เครื่องทุ่นแรงเทคโนโลยีรุ่นใหม่
- เครื่องฉีดพ่นแบบไทยประดิษฐ์ สุพรรณบุรี บรรทุก น้ำ+ปุ๋ย+ยาสมุนไพร ครั้งละ 200 ล. มีแขนหัวฉีดยื่นออกข้าง ข้างละ 10 ม. (2 ข้าง = 20 ม.) ทำงานได้วันละ 50 ไร่ แรงงานคนเดียว
* ต้นทุนค่าปุ๋ย :
- ต้นทุนค่าปุ๋ยสูง ....แก้ไขโดย จับหลักสมการปุ๋ย เพื่อให้ปุ๋ยเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยต้นทุนที่ต่ำสุด
- ใส่ปุ๋ยมากเพราะดินไม่กินปุ๋ย .... แก้ไขโดย ปรับสภาพดินด้วย ปุ๋ยอินทรีย์/จุลินทรีย์ ดีรุ่นนี้แล้ว ดีต่อรุ่นหน้า รุ่นต่อๆ ไปด้วย เลิกปลูกข้าวเปลี่ยนเป็นปลูกอะไรก็ได้ เพราะดินดีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว
- ต้นทุนค่าปุ๋ยทางดินสูง .... แก้ไขโดย ซื้อปุ๋ยทางใบ แล้วดูเนื้อในส่วนผสม ไม่ใช่ดูแค่ ยี่ห้อ/โฆษณา/ราคาแพง เพื่อความชัวร์ ทำเอง 50 ซื้อ 50 หรือทำเอง 100 หรือซื้อ 100
- ค่าขนส่งแพง .... แก้ไขโดย สั่งซื้อแบบให้ส่งถึงที่หรือทาง ปณ. สั่งซื้องวดเดียว 1 รุ่น หรือแบ่งสั่งซื้อ 2 งวด
- ซื้อปุ๋ยผิด .... แก้ไขโดย ตรวจสอบคนขายปุ๋ย เมื่อมั่นใจแล้วเป็นลูกค้าประจำ มีบริการหลังการขาย ให้คำปรึกษาได้
* ต้นทุนค่ายา (สารเคมียาฆ่าแมลง) :
- ราคา แก้ไขโดยจับหลักสมการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยต้นทุนที่ต่ำสุด
- ไม่มีมีความรู้เกี่ยวกับ ตัวศัตรูพืช (ชื่อ วงจรชีวิต สภาพแวดล้อม ฯลฯ) แก้ไขโดยรวมกลุ่มสอบถาม จนท.เกษตร, ให้ลูกหลานเปิดอินเตอร์เน็ต
- ไม่มีมีความรู้เกี่ยวกับ ชื่อสามัญ ชื่อการค้า ออกฤทธิ์ต่อศัตรูพืช แก้ไขโดย อ่านฉลาก ถามย้อนไปที่บริษัทผู้ผลิต, รวมกลุ่มสอบถาม จนท.เกษตร, ให้ลูกหลานเปิดอินเตอร์เน็ต
- ไม่มีมีความรู้เกี่ยวกับ ผลเสียจากการใช้สารเคมีต่อพืช สภาพแวดล้อม แก้ไขโดย อ่านฉลาก ถามย้อนไปที่บริษัทผู้ผลิต, รวมกลุ่มสอบถาม จนท.เกษตร, ให้ลูกหลานเปิดอินเตอร์เน็ต
- ไม่มีมีความรู้เกี่ยวกับ ผลเสียจากการใช้สารเคมีต่อคน สัตว์เลี้ยง แก้ไขโดย อ่านฉลาก ถามย้อนไปที่บริษัทผู้ผลิต, รวมกลุ่มสอบถาม จนท.เกษตร, ให้ลูกหลานเปิดอินเตอร์เน็ต
- รู้เทคนิคการตลาดของคนขาย อย่ายึดติดแค่ ยี่ห้อ/โฆษณา/ราคา เท่านั้น แก้ไขโดย ถามคนในกระจก
- ระวังสารเคมียาฆ่าแมลงประเภท ลด/แลก/แจก/แถม แก้ไขโดย ถามคนในกระจก
- ระวังสัมภเวสี เร่ขายตามบ้าน แก้ไขโดย ถามคนในกระจก
* ต้นทุนที่จำเป็น :
- จ่ายทุนตามใจคน (ตัวเอง ข้างบ้าน) ไม่จ่ายทุนตามความเหมาะสมของพืชตระกูลข้าว
- จ่ายทุนทุกครั้งนึกถึงผลรับ ระยะสั้น/ระยะปานกลาง/ระยะยาว
- คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ให้ออกว่าการลงทุนทำได้ด้วย ลงทุนด้วยเงิน ลงทุนด้วยเวลาเอาผลผลิต ลงทุนด้วยเวลาไม่เอาผลผลิต
* ลดหรือตัด :
- พิจารณาผลต่อต้นข้าว ทุกอย่างขึ้นอยู่กับตามความเหมาะสมของต้นข้าว
- พิจารณาผลที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมทางสังคม เพื่อผลประโยชน์ระยะยาวของเรา
ต้นทุนนาข้าว อินทรีย์นำ เคมีเสริม :
- เขียนรายจ่ายที่เป็นเงินทุกรายการ .... (ปุ๋ย ยา น้ำมัน แรงงาน ค่าเช่า เทคโนโลยี) แล้วมาพิจารณา ความจำเป็น, ความถูกต้อง, ทำเอง/ซื้อ, ความคุ้มค่ารุ่นนี้/รุ่นหน้า/รุ่นต่อๆไป
- เขียนรายจ่ายที่ไม่เป็นเงินทุกรายการ .... ที่ดิน, เวลา, โอกาส,
- เขียนรายรับจากการตลาด .... ผลตอบแทน(มูลค่า) จากการขายที่ โรงสี, ร้านข้าวปลูก, แปลงข้างบ้าน, แปรรูปขายปลีก/ส่ง,
- บัญชีข้างฝา .... ทุกคนเห็น อ่านแล้วคิดตามอัธยาศัย ช่วยเตือนสติทุกคนในบ้าน เพื่อนบ้าน, สร้างนวัตกรรมทางความคิดใหม่ ผิดกับบัญชีบนสมุดที่เรียกว่า บัญชีฟาร์ม บัญชีครัวเรือน เขียนแล้วเก็บไว้บนโต๊ะหรือในลิ้นชักโต๊ะ บัญชีแบบนี้คนเขียนรู้แค่คนเดียว เชื่อว่าคงไม่มีใครในบ้าน แม้ แต่ลูกเมียผัวของตัวเองหยิบมาอ่านหรอกนะ
----------------------------------------------------------------------
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/07/2024 7:50 am, แก้ไขทั้งหมด 17 ครั้ง
กลับไปข้างบน
kimzagass หาวด้า เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11667
ตอบ: 13/11/2021 6:34 pm ชื่อกระทู้:
.
.
66. งานวิจัยด้านไบโอชีวภาพ
บอกว่า ในโลกมีพืชกว่า 2,400 ชนิด มีคุณสมบัติเป็นยาได้ (ยาคน ยาสัตว์ ยาพืช) .... พืชสมุนไพรคือพืชที่มี กลิ่น/รส/ฤทธิ์ เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว
อเมริกาซื้อลิขสิทธิ์ ราติโนนในหนอนตายหยาก .... เอาไปทำอะไร ?
เยอรมันซื้อลิขสิทธิ์ อะแซดิแรคตินในสะเดา ........ เอาไปทำอะไร ?
ฝรั่งเศสซื้อลิขสิทธิ์ แค็ปไซซินในพริก .............. เอาไปทำอะไร ?
จีนสั่งซื้อสมุนไพรในครัว พริก ขิง ข่า ขมิ้น ......... เอาไปทำอะไร ?
ซีพี. เศรษฐีระดับโลก ปลูกฟ้าทะลายโจรที่สระบุรี 100 ไร่ บอกว่าจะทำฟ้าทะลายโจร 100,000,000 แค็ปซูล
ครูสอนวิชาแพทย์แผนโบราณ ทดสอบลูกศิษย์ให้เดินไปข้างหน้า 20 วา แล้วหยิบอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ยา ....
ศิษย์หลายคนหยิบสิ่งที่คิดว่าไม่ใช่ยามาให้อาจารย์ คำตอบจากอาจารย์คือทุกคน “สอบตก” ....
ศิษย์คนหนึ่งไม่ได้หยิบอะไรมาเลย แล้วบอกอาจารย์ว่า ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ยาเลย ทุกอย่างเป็นยาได้หมด คำตอบจากอาจารย์คือคนนี้ “สอบได้”
กระชายเหลือง :
ผลการวิจัยสมุนไพรไทยจำนวน 122 ชนิด ทดสอบแบบ Post-entry ด้วยวิธี High content imaging system โดยใช้ Vero E6 cell พบว่ากระชายออกฤทธิ์ดีที่สุดในการยับยั้งเชื้อ
สรุปสาร panduratin A จากเหง้ากระชาย ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม prenylated cyclohexenyl chalcone ออกฤทธิ์ดีในการยับยั้งเชื้อ SARS-CoV-2(COVID 19) ในหลอดทดลอง ทั้งการยับยั้งเชื้อไวรัสก่อนเข้าสู่เซลล์ (Pre-entry) หรือการป้องกันการติดเชื้อ และการยับยั้งไวรัสภายหลังจากไวรัสเข้าสู่เซลล์แล้ว (Post-entry) หรือการรักษาภายหลังการติดเชื้อแล้ว
ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบได้ดีที่มีรายงานในงานวิจัยหลายฉบับ ดังนั้นสาร panduratin A จากกระชาย จึงมีศักยภาพในการนำไปวิจัยต่อในสัตว์ทดลอง และมนุษย์ เพื่อนำมาใช้เป็นยาเดี่ยว หรือใช้รักษาร่วมกับยาแผนปัจจุบัน ในการต้านไวรัส SARS-CoV-2 เนื่องจากเป็นพืชที่ใช้ในการประกอบอาหาร พบได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหาได้ง่าย ราคาไม่แพง (Kanjanasirirat, et al., 2020)
http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=3
ฟ้าทะลายโจร :
สาร andrographolide จากฟ้าทะลายโจร ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม diterpenoid ออกฤทธิ์ดีในการยับยั้งเชื้อ SARS-CoV-2(COVID 19) ในหลอดทดลอง เมื่อใช้การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งไวรัสภายหลังจากไวรัสเข้าสู่เซลล์แล้ว (Post-entry) หรือการรักษาภายหลังการติดเชื้อแล้ว จึงมีศักยภาพในการนำไปวิจัยต่อในสัตว์ทดลอง และมนุษย์ เพื่อนำมาใช้เป็นยาเดี่ยว หรือใช้รักษาร่วมกับยาแผนปัจจุบันในการต้านไวรัส SARS-CoV-2 ได้ต่อไป (Sa-Ngiamsuntorn, et al., 2021)
http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=97
มาตรฐานสมุนไพร :
มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ได้ส่งเสริมการปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์มาตั้งแต่ปี 2541 โดยมีเกษตรกรผู้ปลูก กลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง จังหวัดปราจีนบุรีเป็นเกษตรกรกลุ่มแรกที่ร่วมกับมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ในการผลิตวัตถุดิบสมุนไพรเกษตรอินทรีย์ ซึ่งสมาชิกทุกคนจะต้องทำข้อตกลงเข้าร่วมโครงการสมุนไพรเกษตรอินทรีย์ เป็นลายลักษณ์อักษร ยอมรับการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และยินยอมให้มีการตรวจพื้นที่ทำเกษตรทุกแปลง เพื่อให้สามารถรับรองกระบวนการผลิตและการจัดการในการแปรรูปวัตถุดิบว่าเป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ คือ
ประยุกต์ใช้ธรรมชาติ ในการเพิ่มผลผลิตไม่ใช้ปุ๋ยเคมีบำรุงพืช ไม่ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชและโรคพืช ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า มีระบบการผลิตที่มีความยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
กำหนดให้เกษตรกรต้องมีมาตรการในการป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมี ทั้งทางน้ำและอากาศ การนำเข้าปัจจัยการผลิต การปลูก การดูแล การเก็บเกี่ยว
https://www.abhaishop.com/th/blog/5734/blog-5734
-------------------------------------------------------------------
67. ต้นทุนค่าสาร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืช 30%
** ทั่วโลกมีพืช 2,400 ชนิด เป็นสารสมุนไพรกำจัดโรคพืชได้
** สารออกฤทธิ์ในสมุนไพร คือ กลิ่น - รส - ฤทธิ์
** อเมริกา ซื้อลิขสิทธิ์ราติโนน ในหนอนตายหยาก
** เยอรมัน ซื้อลิขสิทธิ์อะแซดิแร็คติน ในสะเดา
** ฝรั่งเศส ซื้อลิขสิทธิ์แค็ปไซซิน ในพริก
** ศัตรูพืช ในพืชอ่อนแอ แพร่ระบาดรุนแรงกว่าในพืชสมบูรณ์แข็งแรง
** ไม่มีพืชใดในโลก ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำเผ่าพันธุ์
** ไม่มีสารเคมีในโลก ไม่มีสารสมุนไพรใดในโลก ทำให้ส่วนของพืชที่ถูกทำลายไปแล้ว ฟื้นคืนดีอย่างเดิมได้ เสียแล้วเสียเลย มาตรการที่ดีที่สุด คือ “กันก่อนแก้”
** งานวิจัยสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืช โดยนักวิชาการไทยกว่า 10 งานวิจัย ไม่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุน แม้โดยหน่วยราชการที่นักวิจัยสังกัดก็ไม่ส่งเสริม
----------------------------------------------------------------------
68. ประเภทคำถาม สั้น-กระทัดรัด-ได้ใจความ .... หัวใจของคำถามอยู่ไหน ? ....
*** ที่นี่ สีสันชีวิตไทย วัดกึ๋นคน วัดที่คำถาม
* จะทำอะไร ศึกษาส่วนที่ เคยเป็นปัญหา-จะเป็นปัญหา ก่อน แล้วศึกษาความสำเร็จทีหลัง
* ไม่มีพืชใดในโลกที่ไม่มีศัตรูพืชประจำตระกูลเผ่าพันธุ์ วันนี้ไม่มีเพราะยังไม่มา ศัตรูพืชกำลังอยู่ในระยะ เพาะพันธุ์/ขยายพันธุ์ พร้อมแล้วมา มาครั้งละมากๆ ๆๆ เราเอาไม่ทัน ถึงฆ่าศัตรูพืชได้แต่พืชก็เสียหายด้วย เสียหายชนิดเราคืนไม่ได้ นั่นคือ เสียแล้วเสียเลย กรณีนี้วิธีสู้กับศัตรูพืชที่ดีที่สุด คือ “ป้องกัน” กันก่อนแก้นั่นเอง .... ถามจริง ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ +ยาสมุนไพรไปด้วย ไม่ได้หรือไม่ดีหรือไม่ถูกต้อง ตรงไหน
* ต้นไม้ต้นพืช พูดด้วยใบ-บอกด้วยราก
* ทุกลักษณะอาการที่เกิดกับพืช เกิดจาก โรคมีเชื้อ กับ โรคไม่มีเชื้อ
**** โรคมีเชื้อ แก้ด้วย สารออกฤทธิ์หรือตัวยาในสารเคมียาฆ่าแมลง และ/หรือ สารในสมุนไพร+ไอพีเอ็ม.
****โรคไม่มีเชื้อ แก้ด้วยการบริหารจัดการปัจจัยพื้นฐาน ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค ถูกต้องตามความเหมาะสมของพืช
**** แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด คือ ให้ ปุ๋ย+ยา พร้อมกัน ... ปุ๋ย. แก้โรคไม่มีเชื้อ, ยา. แก้โรคมีเชื้อ
* ศัตรูพืชต่อต้นพืช ในต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง ความสูญเสียเสียหายจะน้อยกว่าต้นที่อ่อนแอ
--------------------------------------------------------------------
69. ทำอาชีพ เกษตรวันนี้ต้องคิดใหม่ทำใหม่ ทุกอย่างทำอย่างเดิม แถวนี้ทำยังงี้ พ่อแม่นำทำมายังงี้ แบบนี้คงไม่มีอะไรดีไปกว่าเดิม ....
ผลงานวันนี้มีปัญหา ปัญหาที่เกิดคืออะไร ? อยู่ตรงไหน ? เกิดได้อย่างไร ? แก้ไขได้ไหม ? ต้องคิดหนักๆๆ ....
ที่สำคัญเหนืออื่นใด ความไม่สำเร็จทั้งปวงวันนี้ตกไปถึงลูก ต่อทอดไปถึงหลาน จะเอาเหรอ ?
จากสโลแกนประจำรายการที่ว่า “ผลผลิตเพิ่ม (ปริมาณ คุณภาพ), ต้นทุนลด (ปุ๋ย ยา ค่าแรง), อนาคตดี (คนซื้อจองล่วงหน้า) ขอขยายความที่ว่า การตลาดนำการผลิต วันนี้คนกินต้องการแบบไหนเราต้องทำแบบนั้นให้ได้
ว่ามั้ย กรณี ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตดี ไม่ใช่คนกินได้ทางเดียว เราคนทำก็ได้ด้วย
ผลผลิต-ผลผลิต เป็นเรื่องของธรรมชาติ ระหว่างระยะเวลา 1 ปีได้ผลผลิตเพียง 1 รอบ 1 รุ่น กับ 1 ปี กับได้ผลผลิตมากกว่า 1 รอบหรือ 1 รุ่น น่าจะเป็นเกษตรทางเลือกใหม่ เช่น
เนื้อที่ 1 ไร่....
- หน่อไม้รวก ให้ผลผลิต 300 ครั้ง /ปี
- มะพร้าว ให้ผลผลิต 16-18 ครั้ง /ปี
- ปาล์มน้ำมัน ให้ผลผลิต 20-24 ครั้ง /ปี
- สละ ระกำ ชมพู่ ฝรั่ง มะกอกน้ำ ขนุน มะละกอ ให้ผลผลิตหลายๆ ๆๆ ครั้ง /ปี
- ไม้ผลทะวายให้ผลผลิต 2-3 ครั้ง /ปี
- แตงโม แคนตาลูป ลงมือปลูกทุกวันที่ 1 ของเดือน ครบทุกเดือนในรอบปี จะมีผลผลิตให้เก็บได้เดือนละครั้ง
- เกษตรแจ๊คพ็อต เช่น กล้วยหอมเทศกาล, ผักชีหน้าฝน, แก้วมังกรตรุษจีน,
- ผลผลิตเพิ่ม เช่น สำปะหลังได้ 30+ ตัน/ไร่ อ้อยได้ 50+ ตัน/ไร่ ข้าวได้ 2+ ตัน/ไร่
- แปรรูปสร้างมูลค่า ข้าวปลูก ข้าวพร้อมหุง
- ฯลฯ
ปรัชญาเกษตร :
- ผลผลิตเกษตรด้านพืชทุกชนิดมีตลาด (คนกิน) รองรับอยู่แล้ว ต่างกันที่ราคา ระหว่างเกรด เอ. กับเกรดบ๊วย
- เกษตรกรไม่สามารถ “กำหนดหรือควบคุม” ราคาในตลาดได้ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับคนกลางหรือคนรับซื้อ แต่สามารถ “กำหนดหรือควบคุม” การผลิตว่าด้วย ต้นทุน คุณภาพ ปริมาณ ฤดูกาล ฯลฯ ได้
- ขายผลผลิตได้ “เท่าเดิม เท่าข้างบ้าน” แต่ต้นทุนต่ำกว่า นั่นคือกำไรที่มากกว่าเป็นธรรมดา
แก้ปัญหาที่ต้นทุน : (ยากหรือง่าย อยู่ที่ “ใจ”)
ที่ดิน : พื้นที่ 20 ไร่ ปาล์มกับมะพร้าวตระกูลเดียวกัน ต้องการ “ปัจจัยพื้นฐาน ?” ตัวเดียวกัน ลงปาล์มน้ำมัน 10 ไร่ มะพร้าว 10 ไร่ .... ในร่องน้ำเลี้ยงปลา/กบ, ผิวน้ำปลูกผักกินยอด, เหนือร่องน้ำทำค้างปลูกผักเลื้อย .... พื้นดินรอบต้นปาล์มลงพืชแซมใช้แสงแดดน้อย
ปุ๋ย : ยึดหลักสมการปุ๋ย อินทรีย์/เคมี .... ลดปุ๋ยเคมี เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ และสารปรับปรุงบำรุงดิน....ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ .... ลดธาตุหลัก เพิ่มธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน วิตามิน .... รู้จัก ตัว/หน้าตา ปุ๋ย ชื่ออะไร ? สูตรอะไร ? ประเภทอะไร ? ใช้เท่าไหร่ ? ใช้อย่างไร ? ผลเป็นอย่างไร ?
รู้อย่างเป็นวิชาการ ไม่ใช่รู้แค่โฆษณา .... ทำเป็น/ทำใช้/ทำขาย/ทำแจก/ทำเททิ้ง
ยา : ยึดหลักสมการ สารสมุนไพร/สารเคมี .... ลด/ละ/เลิก สารเคมียาฆ่าแมลง .... เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก สารสมุนไพร .... วางแผนบริหารจัดการอนาคตใช้สารสมุนไพรอย่างเดียวเดี่ยวๆ
แรงงาน : ยึดหลักเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง บำรุงเต็มที่ได้เพราะเครื่องทุ่นแรง ผลรับ บำรุงเต็มที่ได้ผลเต็มที่ .... สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย แก้ปัญหานี้ได้ ติดตั้งครั้งเดียวใช้งานได้ 10-20-30 ปี แรงงานคนเดียว ทำงานเดี๋ยวเดียวเสร็จ .... ให้ “น้ำ/ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยาสมุนไพร/ยาเคมี” ผ่านใบ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง ต้นได้รับทางใบแล้วตกลงพื้น ต้นได้รับอีก นั่นคือ ต้นไม้ได้รับทั้งสองทาง สองเด้ง ชัดเจน
เครดิต : ยึดหลัก “การตลาดนำการผลิต” ทำตามออร์เดอร์ ออกนอกฤดู เกรด เอ. จัมโบ้. ปลอดสารเคมียาฆ่าแมลง
------------------------------------------------------------------
ปีใหม่ พ.ศ.ใหม่ ราศีใหม่ ชีวิตใหม่ .............. คิดใหม่ ทำใหม่ ทำได้ ทำถูก
วันนี้ พรุ่งนี้ รุ่นเรา รุ่นลูก .......................... จากลูก ถึงหลาน ถึงเหลน ถึงโหลน
เขาทำ เราทำ ทำก่อน ทำหลัง ................... ทำมั่ง ทำอย่าง ทำเหมือน ทำCLO
แปลงใหญ่ แปลงเล็ก แปลงกลาง แบ่งโซน ..... โชกโชน แบบเดิม เหมือนเดิม เอาใหม่
1ไร่ 1ปี 1ครั้ง ราคาถูก ........................... 1ไร่ 1ปี หลายครั้ง ราคาแพง
รัฐช่วย เพื่อนช่วย ลุงช่วย อุดหนุน ................ ลดทุน เพิ่มขาย กำไร แน่นอน ..... เย !
-----------------------------------------------------------------
70. คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ
ไม้ผล เนื้อที่ 1ไร่ 50ต้น 1ปีได้ขายผลผลิต 1รอบ แต่มะพร้าว เนื้อที่ 1ไร่เหมือนกัน 50ต้นเท่ากัน 1ปีเท่ากัน ได้ขายผลผลิตต้นละ 18 รอบ.... เม็ดเงินที่ได้จากไม้ผล 50 ต้น ระหว่างมะพร้าวน้ำหอม กับ ผลไม้ทั่วไป (ทุกชนิด) ต่างกันเท่าไหร่ ?
* มะพร้าวทุกสายพันธุ์ออกดอกทุก 20 วัน ตลอดปี หรือมี 18 ทะลายบนต้นเสมอ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ปีละ 16 ครั้ง หรือ 2 เดือน เก็บได้ 3 ครั้ง (20 วัน/ครั้ง) .... ด้วยมาตรการบำรุงแบบให้มีสารอาหารในดินกินตลอด 24 ชม. สะสมต่อเนื่องหลายๆปีติดต่อกัน นอกจากช่วยให้ออกดอกติดผลดกดีแล้วยังคุณภาพดีอีกด้วย
* ในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงมีธาตุอาหารจากส่วนผสมหลักที่มะพร้าวต้องการ ได้แก่ แม็กเนเซียม. สังกะสี. โซเดียม. (+เพิ่ม เกลือแกง เป็นกรณีเฉพาะ) ซึ่งธาตุอาหารหลักทั้ง 3 ตัวนี้มีในสัตว์ทะเล นั่นคือ ระเบิดเถิดเทิง (ดิบ) ระเบิดเถิดเทิง (ปรับโมเลกุล) มีเพรียบบบบ ให้ได้ทั้งทางใบและทางราก .... หรือ
* ทำแปลงยกร่องแห้ง ให้น้ำทางรากระดับ “โชก” (แห้ง-ชื้น-ชุ่ม-โชก-แฉะ-แช่-ขังค้าง) อาทิตย์ละครั้ง.... อินทรีย์วัตถุ ขี้วัวขี้ไก่แกลบ
ดิบยิบซั่ม หนาๆ ใส่ปีละ 2 ครั้ง
* ออกดอก ติดลูกไม่เป็นรุ่น บำรุงแบบ เลยตามเลย/ไหนๆก็ไหนๆ
-------------------------------------------------------------------
71. ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง
วิธีหมัก :
หมักแยก :
ถัง 1. กุ้งหอยปูปลาทะเลสดใหม่ บดละเอียด 20 กก. + กากน้ำตาล 5 กก. +เปลือกสับปะรด + น้ำหมักชีวภาพเก่า 5 ล. หมักนาน 3 เดือน ....ใส่น้ำมะพร้าวจนเต็มถังที่หมักขนาด 200 ล. หมักนานข้ามปี .... ได้ “น้ำหมักชีวภาพเริ่มต้น” พร้อมผสมต่อ
ถัง 2. เลือด 200 ล. + กากน้ำตาล 5 ล. + น้ำหมักเก่า 5 ล. หมักนานข้ามปี....ได้ “เลือดหมัก” พร้อมผสมต่อ
ถัง 3. ไขกระดูก 100 กก. + กากน้ำตาล 5 ล. + น้ำหมักเก่า 5 ล. หมักนานข้ามปี .... ได้ “ไขกระดูกหมัก” พร้อมผสมต่อ
ถัง 4. ขี้ค้างคาว 10 กก. + กากน้ำตาล 5 ล. + น้ำหมักเก่า 30 ล. หมักนานข้ามปี .... ได้ “ขี้ค้างคาวหมัก” พร้อมผสมต่อ
ถัง 5. นม 100 ล. + กากน้ำตาล 5 ล. + น้ำหมักเก่า 5 ล. + ยิสต์ 1 กล่อง หมักนานข้ามปี .... ได้ “นมหมัก” พร้อมผสมต่อ
ใช้รวม :
น้ำหมักชีวภาพเปล่าเริ่มต้น 180 ล. + เลือดหมัก 5 ล. + ไขกระดูกหมัก 5 ล. + ขี้ค้างคาวหมัก 5 ล. + นมหมัก 5 ล. ได้น้ำหมักชีวภาพ “สูตรระเบิดเถิดเทิงอินทรีย์” 200 ล พร้อมใช้ หรือปรุงต่อ
หมายเหตุ :
- น้ำหมักชีวภาพ สูตรระเบิดเถิดเทิงอินทรีย์ แม้สมบูรณ์แบบด้วยวัสดุส่วนผสมที่มีสารอา หารพืชมาก และกรรมวิธีในการทำต้องตามหลักวิชาการที่ยืนยันได้ ถึงกระนั้นชนิดและปริมาณของสารอาหารก็ยังถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยสังเคราะห์ กับทั้งเหมาะสมกับความต้องการหรือจำเป็นต้องใช้สำหรับพืชบางชนิดเท่านั้น
INSIDE ระเบิดเถิดเทิง :
สูตรระเบิดเถิดเทิง เรียกว่า "ปุ๋ย-อินทรีย์-ชีวภาพ" ได้เต็มปากเพราะ มีปริมาณปุ๋ย (ธาตุอาหาร ชนิดและปริมาณ) ตามต้องการ, เป็นอินทรีย์เพราะทำมาจากเศษซากสัตว์ล้วนๆ, และเป็นชีวภาพเพราะมีจุลินทรีย์
คุณสมบัติอื่น ได้แก่
* ผ่านการตรวจจากกรมวิชาการเกษตรมาแล้ว 3 ครั้ง
* เป็นอินทรีย์เพราะทำจาก กุ้งหอยปูปลาทะเล เลือด ไขกระดูก ขี้ค้างคาว นม น้ำมะพร้าว
* เป็นอินทรีย์เพราะมีจุลินทรีย์สารพัดชนิด พิสูจน์จากส่วนผสมที่ถูกย่อยสลาย
* ในเลือดมี N. P. K. Fe.
* ในไขกระดูกมี N. P. K. Ca. S.
* ในขี้ค้างคาวมี P. K.
* ในนมมี P. K. Ca. Mg. Zn.
* ในน้ำมะพร้าวมี P. Ca. Zn. ไซโคไคนิน. กลูโคส.
น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง "อินทรีย์-เคมี" ขั้นตอนที่ 3 :
ส่วนผสมอินทรีย์ :
น้ำหมักระเบิดฯ (ขั้น 2) .... 180 ล.
ไขกระดูก .................... 5 ล.
เลือด ......................... 5 ล.
มูลค้างคาว ................... 5 ล.
นม ............................ 5 ล.
ฮิวมิค แอซิด ................. ½ กก.
ส่วนผสมเคมี :
บี-1 .......................... ¼ กก.
ปุ๋ยธาตุหลัก (ทางราก) ..... 10-20 กก.
ธาตุรอง/ธาตุเสริม .......... 2 กก.
แม็กเนเซียม ................ 10 กก.
สังกะสี ...................... 5 กก.
ใช้โมลิเน็กซ์ยักษ์ ปั่นส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากันดี ได้ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง อินทรีย์-เคมี" พร้อมใช้งาน อายุเก็บนานนับปี
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7182&sid=3250ce0ddc9ef0584064e69fcd405a28
ธาตุอาหารในระบิดเถิดเทิง
pH 4.0 (ค่า กรด-ด่าง),
CE 1.14 (อุณหภูมิ 29 องศา),
EC 7.44 (ค่าการนำไฟฟ้า),
OM 11.79 (อินทรีย์วัตถุ),
CN 8:1 (อัตราส่วนระหว่าง คาร์บอน.กับไนโตรเจน),
N.1.5%, P. 1.0%, K.1.7%, Na 0.2%,
กรมวิชาการเกษตร ผลการตรวจ “ผ่าน”
----------------------------------------------------------------------------------
72. คนกินผักแล้วหน้าบวม :
สารเคมีตัวนั้นคือ น้ำยาอาบศพ หรือฟอร์มาลีน หรือฟอร์มาดิไฮด์ เมื่อก่อนใช้ แช่/ชุบ ปลาทะเล ทำให้ปลาทะเลเน่าช้า ปัจจุบันข้ามาแช่ผัก ทำให้ผักเน่าช้า หรืออายุฝากแผง หรืออายุหลังเก็บเกี่ยว นานขึ้น....
กรณีนี้เคยมีเกษตรกรบางคนบำรุงผักแบบ อินทรีย์นำ-เคมีเสริม ด้วย ธาตุรอง/ธาตุเสริม, แคลเซียม โบรอน. ทั้งทางใบทางรากประจำๆ สม่ำเสมอๆ ไม่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลง แต่ใช้สารสมุน ไพรกับบำรุงต้นให้สมบูรณ์แข็งแรงเป็นภูมิต้านทานธรรมชาติ ช่วยให้ผักนั้น อายุฝากแผงนานขึ้น
แรงจูงใจ :
เคยมีคนซื้อผักจากแผงในตลาดไปกิน วันรุ่งขึ้นกลับมาที่แผงนั้นอีก แล้วบอกแม่ค้าคนขายว่า ผักที่ซื้อไปเมื่อวานกินอร่อยมาก แม่ค้าคนขายรู้ทันทีว่าผักนั้นมาจากไหน จึงสั่งให้เจ้านั้นเอามาส่งอีก .... คำตอบต่อคำถามนี้คือ ผักนั้นไม่ได้ใช้สารเคมียาฆ่าแมลง ทั้งระหว่างปลูก และหลังเก็บเกี่ยว....
หลักการและเหตุผล :
ใบผัก (พืช) มีปากใบดูดซับสารอาหารเข้าสู่ต้นได้ (ปุ๋ยทางใบทำให้ต้นเจริญเติบโตได้....ปุ๋ยทางใบพืชรับได้ 6 ส่วนใน 10 ส่วน ปุ๋ยทางรากพืชรับได้ 4 ส่วนใน 10 ส่วน) กรณีที่ฉีดพ่นสารเคมีทางใบ และ/หรือ ใส่สารเคมียาฆ่าแมลงลงไปที่พื้น สารเคมีนั้นสามารถเข้าสู่ต้นพืชได้...สารเคมียาฆ่าแมลงไม่ใช่สารอาหาร เมื่อเข้าสู่ภายในต้นพืชแล้ว ย่อมทำให้คุณสมบัติหรือคุณภาพของพืช (สรีระวิทยา) เปลี่ยนแปลงไปจากธรรมชาติเดิมๆของพืชนั้นได้
ปุจฉา-วิสัชนา :
ถามว่า ปลูกผัก-ปลูกผลไม้ ใช้สารเคมียาฆ่าแมลง คือ “ทำบาป” ใช่หรือไม่ ....
------------------------------------------------------------------------
73. ** จับหลัก “คิด-วิเคราะห์-เปรียบเทียบ-ฟันธง” สู้กับศัตรูพืช :
* ข้อดี/ข้อด้วย .... ผลดี/ผลเสีย .... ระหว่าง สารสมุนไพร กับ สารเคมียาฆ่าแมลง
* ศัตรูพืช (แมลง หนอน เชื้อโรค) เป็นสิ่งมีชีวิต มีวัฏจักรชีวิต เกิด/กิน/แก่/เจ็บ/ตาย/ขยายพันธุ์ หากวัฏจักรใดวัฏจักรหนึ่งเสียหรือขาดไป ย่อมหมายถึงชีวิตที่ดับสูญ
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค
* รู้เรา รู้เขา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง .... ไม่รู้เรา ไม่รู้เขา รบร้อยครั้ง แพ้ร้อยครั้ง
สมการสารสมุนไพร :
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำถูก + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชผิด + วิธีทำผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรผิด + ตัวศัตรูพืชผิด + วิธีทำผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสี่
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำถูก + วิธีใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสี่
* สมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์กำจัด หนอน - แมลงปากกัดปากดูด (สมุนไพรเบื่อเมา) ได้แก่ สะเดา หนอนตายหยาก หางไหล น้อยหน่า กลอย ซาก มันแกว บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร สบู่ต้น
* สมุนไพรที่มาสารออกฤทธิ์ไล่แมลงวางไข่ (สมุนไพรกลิ่นไล่) ได้แก่ ยูคาลิปตัส ตะไคร้ ขิง ข่า ฝักคูน แมงลักคา กระเพาผี ดาวเรือง ผกากรอง
* สมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์กำจัด โรค (รา แบคทีเรีย .... สมุนไพร ฝาด/เผ็ด/ร้อน) ได้แก่ พริก ดีปลี พริกไทย ขิง ข่า ขมิ้น กระชาย หอม กระเทียม ตะไคร้ ตะบูน เสม็ด เปลือกมังคุด ว่านน้ำ
วิธีทำ เอาสารออกฤทธิ์ (ตัวยา) :
*** ประเภท “ขม/ฝาด/เบื่อเมา” ใช้วิธี “หมัก/แช่”
*** ประเภท “เผ็ด/ร้อน” ใช้วิธี “ต้ม”
*** ประเภท “กลิ่น” ใช้วิธี “กลั่น”
วิธี “แช่” .... น้ำ + แอลกอฮอร์ 10% ของน้ำ + น้ำส้มสายชู 10% ของแอลกอฮอร์ + สมุน ไพรพอท่วม .... แช่ 3-5 วัน คนวันละครั้ง กรองกากออก ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน
วิธี “ต้ม” น้ำ+สมุนไพรพอท่วม ต้มพอเดือด ปล่อยให้เย็น กรองกากออก ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน
วิธี “กลั่น” . ใช้วิธีกลั่นแบบ “ต้มเหล้าป่า” กลั่นแล้วได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน
หมายเหตุ :
- ที่นี่ไม่มีการใส่กากน้ำตาล หรือจุลินทรีย์
- วิธีแช่ใส่ “แอลกอฮอร์-น้ำส้มสายชู” ช่วยเร่งให้ตัวยาออกมาเร็ว และดี
- ทำสารสมุนไพรเสร็จพร้อมใช้แล้ว ป้องกันการเกิดฝ้าด้วยการใส่ “สารกันบูด”
- สมุนไพรหลายอย่างแต่มีสรรพคุณกำจัดศัตรูพืชตัวเดียวกัน เอามา แช่/ต้ม/กลั่น รวมกันแล้วใช้ เรียกว่า “สูตรเฉพาะ” เช่น
** ประเภทเบื่อเมา .สะเดา น้อยหน่า กลอย หางไหล หนอนตายหยาก บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร เขียวไข่กา ฯลฯ หมักรวมกันเป็น “สูตรเฉพาะกำจัดหนอน”
** ประเภทเผ็ดร้อน .พริก ขิง ข่า ขมิ้น กระชาย หอม กระเทียม พริกไทย ดีปลี ฯลฯ ต้มรวมกันเป็น “สูตรเฉพาะกำจัดเชื้อรา”
** ประเภทกลิ่นจัด .... ตะไคร้ ยูคาลิปตัส ดาวเรือง ผกากรอง สาบเสือ กะเพรา แมงลัก ฯลฯ กลั่นรวมกันเป็น “สูตรเฉพาะไล่แมลง”
- สูตรเฉพาะ “กำจัดหนอน-กำจัดเชื้อรา-ไล่แมลง” แต่ละสูตรพร้อมใช้แล้ว นำมารวมกันแล้วใช้ร่วมกัน เรียกว่า “สูตรรวมมิตร” .... พูดง่ายๆ ก็คือ “ทำแยกแต่ใช้ร่วม” ประมาณนี้
- สารสมุนไพรทุกสูตรใช้ร่วมกับปุ๋ยทางใบ (เฉพาะสูตรของลุงคิม) ได้
- สารสมุนไพร (เฉพาะสูตรของลุงคิม) ทุกสูตร ใช้ร่วมกับสารเคมีได้
- ตัวยาหรือสารออกฤทธิ์ในสมุนไพร มีงานวิจัยจากนักวิชาการรองรับยืนยันว่าได้ผล
- แหล่งข้อมูลทางวิชาการที่น่าเชื่อถือที่สุด คือ องค์การเภสัชกรรม หรือ ร.พ.อภัยภูเบศร์ หรือร้านขายยาแผนโบราณ
- ในพืชทุกชนิดมีสารออกฤทธิ์ (ตัวยา) ทั้งนั้น เพียงแต่สรรพคุณในการกำจัด โรค/แมลง/ศัตรูพืช ตัวไหนเท่านั้น
- ไม่มีสารเคมีใดในโลกนี้ ไม่มีสารสมุนไพรใดในโลกนี้ ที่สามารถทำให้ส่วนของพืชที่ถูกทำลายเสียหายไปแล้ว ฟื้นคืนดีอย่างเก่าได้ เรียกว่า เสียแล้วเสียเลย .....
- ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มี “ศัตรูพืช” ประจำเผ่าพันธุ์ วันนี้ยังไม่มีเพราะยังไม่มา ถ้ามาแล้วจะเอาไม่ทัน ทุกครั้งที่กำจัดศัตรูพืชได้ แต่พืชก็เสียหายไปแล้ว ไม่ได้อะไรคืนมานอกจากความสะใจเท่านั้น เพราะฉนั้นต้อง “กันก่อนแก้” เท่านั้น....
- สมุนไพรบางตัวมีฤทธิ์เทียบเท่ายาน็อค (สารเคมี) ทำให้ศัตรูพืชตายทันทีทันใดได้ ถ้าไม่ตายทันทีทันใดก็กิน (หยุดทำลาย) พืชต่อแล้วรอวันตายเอง
- วิธี ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืชที่ดีที่สุด คือ วิธีแบบผสมผสาน หรือ ไอพีเอ็ม.
** วิธี ลด-ละ-เลิก สารเคมี
ครั้งที่ 1 .......... ใช้สารสมุนไพร + สารเคมี
ครั้งที่ 2 .......... ใช้สารสมุนไพรเดี่ยวๆ
ครั้งที่ 3 .......... ใช้สารสมุนไพรเดี่ยวๆ
ครั้งที่ 4 .......... ใช้สารสมุนไพร + สารเคมี
ครั้งที่ 5 .......... ใช้สารสมุนไพรเดี่ยวๆ
ครั้งที่ 6 .......... ใช้สารสมุนไพรเดี่ยวๆ
แต่ละครั้งห่างกัน 3 วัน หรือใช้สารเคมีทุก 7 วัน
นั่นคือเพียง 2 รอบ (14 วัน) ศัตรูพืชก็ตาย ถึงไม่ตายด้วยสารเคมีก็หมดอายุขัย
** หลักการทำ-หลักการใช้ สารสมุนไพร :
แบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน - มาตรฐานโรงงาน - มีหลักวิชาการรองรับ
* IPM (ป้องกัน/กำจัด แบบผสมผสาน) :
กับดักกาวเหนียว แสงไฟล่อ แสงไฟไล่ กลิ่นล่อ กลิ่นไล่ สัตว์ศัตรูของศัตรูพืช พืชศัตรูของศัตรูพืช เชื้อโรคของศัตรูพืช แสงแดด ความชื้น อื่นๆ อะไรก็ได้ที่เป็นพิษเป็นภัยทั้ง โดยตรง/โดยอ้อม ต่อศัตรูพืช
------------------------------------------------------------------
74. ทำไมบราซิลถึงเก่งเรื่องทำไร่อ้อย :
บราซิล เป็นประเทศที่ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ที่สุดของโลก เขามีการจัดการไร่ที่แตกต่างจากบ้านเราค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการจัดการแปลง บราซิลจะแบ่งพื้นที่ให้เป็นแปลงขนาดใหญ่สุดลูกหูลูกตา และเน้นการใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยทำไร่
เกษตรกรที่นั่นเป็นชาวไร่รายใหญ่ มีพื้นที่ถือครองจำนวนมาก ชาวไร่ที่บราซิล มีความรู้ค่อนข้างเยอะ เขาจะเน้นเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่มาทำไร่ โดยศึกษาข้อมูลต่างๆ จากอินเทอร์เน็ต เขาจะเน้นเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่มาทำไร่เพื่อการเพิ่มผลผลิตลดต้นทุน ติดตามการพยากรณ์อากาศ หรือ หาข้อมูลอื่น ๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการวางแผนการจัดการแปลงอ้อยให้ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม
การทำไร่อ้อยแบบมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม ใกล้เคียงกับการทำไร่ของชาวบราซิล ทั้งเรื่องการนำเครื่องไม้เครื่องมือเข้ามาช่วยแทนแรงงาน เรื่องการบริหารจัดการแปลง ระยะห่างของร่อง และการปรับปรุงดิน อาจจะมีความแตกต่างบ้างในเรื่องของพื้นที่ปลูก
สิ่งสำคัญที่เกษตรกรไทยต้องร่วมใจกันเปลี่ยนแปลงคือ เปลี่ยนรูปแบบการทำไร่อ้อยจากแบบเดิมมาเป็นการปลูกอ้อยที่รองรับเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยและรองรับเครื่องจักรกลมากขึ้น เพราะเกษตรกรบ้านเรามีอายุเฉลี่ย 50-60 ปี เกษตรกรรุ่นลูกรุ่นหลานมาสานต่อเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หากเราอยากให้การทำไร่อ้อยมั่นคง ยั่งยืน เราต้องนำเอาความสมัยใหม่มาปรับใช้ในการทำไร่อ้อยให้มากที่สุด เพื่ออนาคตของลูกหลานและอนาคตของประเทศ.
บ.น้ำตาลมิตรผล นวัตกรรมใหม่ล่าสุดกลุ่มวังขนาย ปลูกอ้อย 1 ไร่ ได้ผลผลิต 100 ตัน :
ที่ผ่านมาการทำไร่อ้อยของเกษตรกรจะได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 10-12 ตันต่อ 1 ฤดูกาล ล่าสุดกลุ่มวังขนายผู้ผลิตน้ำตาล “วังขนาย” ได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ในการปลูกอ้อยที่ได้ผลผลิตสูงถึง 10 เท่า ชนิดที่ไม่มีประเทศไหนทำได้มาก่อน ที่สำคัญคุณสมบัติพิเศษสามารถปลูกได้ในพื้นที่ทุกจังหวัด จากความสำเร็จดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม จึงร่วมกับกลุ่มดำเนิน “โครงการปลูกอ้อย 100 ตันต่อไร่” และเร่งผลักดันให้เกษตรกรได้เพาะปลูก เนื่องจากทำรายได้ที่คุ้มค่า
สำหรับหัวใจหลักของการปลูกอ้อยอินทรีย์สูตร 100 ตันต่อไร่ ขึ้นอยู่กับดิน พันธุ์อ้อย น้ำ และปุ๋ย แปลงอ้อยควรอยู่ห่างไกลจากแหล่งก่อให้เกิดมลพิษ เพื่อหลีกเลี่ยงจากสารเคมี กล่าวคือดินต้องดี มีคุณสมบัติครบ 4 ประการ คือ น้ำ อากาศ อินทรีย์วัตถุ และแร่ธาตุ ส่วนพันธุ์อ้อยก็มีความสำคัญ ต้องมีคุณภาพดี ได้มาตรฐาน มีความเหมาะสมกับสภาพดิน สภาพภูมิอากาศ และความต้านทานต่อศัตรูอ้อย
ประสบการณ์ตรง :
- อ้อย เป็นพืชอวบน้ำ ย่อมต้องการน้ำถึงน้ำมาก เอี้ยวเคี้ยวปลูกในสวนยกร่องมีน้ำหล่อตลอดเวลา ในต้นอ้อยจึงมีน้ำอ้อยมาก แล้วใย อ้อยโรงงานซึ่งเป็นอ้อยเหมือนกันจึงไม่ต้องการน้ำเล่า เมื่อไม่ได้น้ำ ย่อมไม่มีน้ำไปสร้างน้ำอ้อย ผลรับก็คือ คุณภาพและปริมาณผลผลิตไม่ดี
อ้อยโรงงานในแปลง หากมีการให้น้ำโดยส่งปล่อยผ่านไปตามร่องแถวปลูกปล่อยน้ำให้เต็มร่อง ระยะเวลาให้เดือนละ 1 ครั้ง หรือ 2 เดือน 3 ครั้ง จะได้ปริมาณผลผลิตมากกว่าแปลงที่ไม่ได้ให้น้ำเลย 4-5 เท่า (จาก 4 ตัน/ไร่ เป็น 15-20 ตัน/ไร่)
- ธรรมชาติของอ้อย มีระบบรากยาวเท่ากับความสูงของต้น ในแปลงที่ดินโปร่งร่วนซุย น้ำและอากาศผ่านสดวก ระบบรากสามารถชอนไชไปได้ไกล หาอาหารได้มาก ผลผลิตย่อมดีกว่าแปลงที่ไม่มีการปรับปรุงบำรงดิน.....
แปลงอ้อยที่ จ.กำแพงเพชร เตรียมดินด้วย "ยิบซั่ม + กระดูกป่น + ขี้ไก่" โดยการไถกลบลงดินลึก 50 ซม. ครั้นถึงช่วงแล้ง (ม.ค.- ก.พ.- มี.ค.) อ้อยแปลงนี้ยังยืนต้นเขียวสดไม่ต่างจากช่วงหน้าฝน ในขณะที่แปลงข้างเคียงที่ไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินใดๆ ต้นมีอาการใบเหลืองโทรมตั้งแต่เริ่มเดือน ม.ค.
- อ้อยโรงงานออสเตรเลีย ให้ผลผลิต 40-45 ตัน/ไร่ ในขณะอ้อยไทย รุ่นตอ 1 ได้ 6-8 ตัน/ไร่ (ได้ทุน)... รุ่นตอ 2 ได้ 4-5 ตัน/ไร่ (กำไร).... รุ่นตอ 3 ได้ 3-4 ตัน/ไร่ (กำไรไม่มาก) จากนั้นล้มตอปลูกใหม่
- อ้อยเป็นพืชเมืองร้อนเพียงชนิดเดียวที่ตอบสนองต่อ "หินภูเขาไฟ หรือ ธาตุซิลิก้า" การไถกลบเศษใบอ้อยลงดิน เท่ากับเป็นการให้ซิลิก้า.แล้ว
- อ้อยที่ได้รับ "กากน้ำตาล" ทางรากมากๆ (เท่าๆ กับพืชอื่น) จะหยุดยอดชงักการเจริญเติบโต
- อ้อยเคี้ยวในสวน หากได้รับกากน้ำตาลโดยการฉีดพ่นสัมผัสกับต้นโดยตรงจะแตก "ตะเกียง" ตามลำต้น ทำให้ความหวานลดลง
ปุจฉา - วิสัชนา :
อ้อยพันธุ์ดีล่าสุด ไม่ให้น้ำ V.S. อ้อยพันธุ์เดิม ให้น้ำ.....อย่างไหนจะให้ผลผลิตมากกว่ากัน
http://www.mitrpholmodernfarm.com
---------------------------------------------------------------------
. แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/03/2024 7:27 am, แก้ไขทั้งหมด 23 ครั้ง
กลับไปข้างบน
kimzagass หาวด้า เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11667
ตอบ: 13/11/2021 6:35 pm ชื่อกระทู้:
.
.
75. เกษตรานุสติ แรงบันดาลใจ
จากบราซิลถึงไทย “ทำไมบราซิลถึงเก่งเรื่องทำไร่อ้อย” :
บราซิล เป็นประเทศที่ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ที่สุดของโลก เขามีการจัดการไร่ที่แตกต่างจากบ้านเราค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการจัดการแปลง บราซิลจะแบ่งพื้นที่ให้เป็นแปลงขนาดใหญ่สุดลูกหูลูกตา และเน้นการใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยทำไร่
เกษตรกรที่นั่นเป็นชาวไร่รายใหญ่ มีพื้นที่ถือครองจำนวนมาก ชาวไร่ที่บราซิล มีความรู้ค่อนข้างเยอะ เขาจะเน้นเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่มาทำไร่ โดยศึกษาข้อมูลต่างๆ จากอินเทอร์เน็ต เขาจะเน้นเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่มาทำไร่เพื่อการเพิ่มผลผลิตลดต้นทุน ติดตามการพยากรณ์อากาศ หรือ หาข้อมูลอื่น ๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการวางแผนการจัดการแปลงอ้อยให้ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม
การทำไร่อ้อยแบบมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม ใกล้เคียงกับการทำไร่ของชาวบราซิล ทั้งเรื่องการนำเครื่องไม้เครื่องมือเข้ามาช่วยแทนแรงงาน เรื่องการบริหารจัดการแปลง ระยะห่างของร่อง และการปรับปรุงดิน อาจจะมีความแตกต่างบ้างในเรื่องของพื้นที่ปลูก
สิ่งสำคัญที่เกษตรกรไทยต้องร่วมใจกันเปลี่ยนแปลงคือ เปลี่ยนรูปแบบการทำไร่อ้อยจากแบบเดิมมาเป็นการปลูกอ้อยที่รองรับเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยและรองรับเครื่องจักรกลมากขึ้น เพราะเกษตรกรบ้านเรามีอายุเฉลี่ย 50-60 ปี เกษตรกรรุ่นลูกรุ่นหลานมาสานต่อเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หากเราอยากให้การทำไร่อ้อยมั่นคง ยั่งยืน เราต้องนำเอาความสมัยใหม่มาปรับใช้ในการทำไร่อ้อยให้มากที่สุด เพื่ออนาคตของลูกหลานและอนาคตของประเทศ.
บ.น้ำตาลมิตรผล นวัตกรรมใหม่ล่าสุดกลุ่มวังขนาย ปลูกอ้อย 1 ไร่ ได้ผลผลิต 100 ตัน :
ที่ผ่านมาการทำไร่อ้อยของเกษตรกรจะได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 10-12 ตันต่อ 1 ฤดูกาล ล่าสุดกลุ่มวังขนายผู้ผลิตน้ำตาล “วังขนาย” ได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ในการปลูกอ้อยที่ได้ผลผลิตสูงถึง 10 เท่า ชนิดที่ไม่มีประเทศไหนทำได้มาก่อน ที่สำคัญคุณสมบัติพิเศษสามารถปลูกได้ในพื้นที่ทุกจังหวัด จากความสำเร็จดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม จึงร่วมกับกลุ่มดำเนิน “โครงการปลูกอ้อย 100 ตันต่อไร่” และเร่งผลักดันให้เกษตรกรได้เพาะปลูก เนื่องจากทำรายได้ที่คุ้มค่า
สำหรับหัวใจหลักของการปลูกอ้อยอินทรีย์สูตร 100 ตันต่อไร่ ขึ้นอยู่กับดิน พันธุ์อ้อย น้ำ และปุ๋ย แปลงอ้อยควรอยู่ห่างไกลจากแหล่งก่อให้เกิดมลพิษ เพื่อหลีกเลี่ยงจากสารเคมี กล่าวคือดินต้องดี มีคุณสมบัติครบ 4 ประการ คือ น้ำ อากาศ อินทรีย์วัตถุ และแร่ธาตุ ส่วนพันธุ์อ้อยก็มีความสำคัญ ต้องมีคุณภาพดี ได้มาตรฐาน มีความเหมาะสมกับสภาพดิน สภาพภูมิอากาศ และความต้านทานต่อศัตรูอ้อย
ประสบการณ์ตรง :
- อ้อย เป็นพืชอวบน้ำ ย่อมต้องการน้ำถึงน้ำมาก เอี้ยวเคี้ยวปลูกในสวนยกร่องมีน้ำหล่อตลอดเวลา ในต้นอ้อยจึงมีน้ำอ้อยมาก แล้วใย อ้อยโรงงานซึ่งเป็นอ้อยเหมือนกันจึงไม่ต้องการน้ำเล่า เมื่อไม่ได้น้ำ ย่อมไม่มีน้ำไปสร้างน้ำอ้อย ผลรับก็คือ คุณภาพและปริมาณผลผลิตไม่ดี
อ้อยโรงงานในแปลง หากมีการให้น้ำโดยส่งปล่อยผ่านไปตามร่องแถวปลูกปล่อยน้ำให้เต็มร่อง ระยะเวลาให้เดือนละ 1 ครั้ง หรือ 2 เดือน 3 ครั้ง จะได้ปริมาณผลผลิตมากกว่าแปลงที่ไม่ได้ให้น้ำเลย 4-5 เท่า (จาก 4 ตัน/ไร่ เป็น 15-20 ตัน/ไร่)
- ธรรมชาติของอ้อย มีระบบรากยาวเท่ากับความสูงของต้น ในแปลงที่ดินโปร่งร่วนซุย น้ำและอากาศผ่านสดวก ระบบรากสามารถชอนไชไปได้ไกล หาอาหารได้มาก ผลผลิตย่อมดีกว่าแปลงที่ไม่มีการปรับปรุงบำรงดิน.....
แปลงอ้อยที่ จ.กำแพงเพชร เตรียมดินด้วย "ยิบซั่ม + กระดูกป่น + ขี้ไก่" โดยการไถกลบลงดินลึก 50 ซม. ครั้นถึงช่วงแล้ง (ม.ค.- ก.พ.- มี.ค.) อ้อยแปลงนี้ยังยืนต้นเขียวสดไม่ต่างจากช่วงหน้าฝน ในขณะที่แปลงข้างเคียงที่ไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินใดๆ ต้นมีอาการใบเหลืองโทรมตั้งแต่เริ่มเดือน ม.ค.
- อ้อยโรงงานออสเตรเลีย ให้ผลผลิต 40-45 ตัน/ไร่ ในขณะอ้อยไทย รุ่นตอ 1 ได้ 6-8 ตัน/ไร่ (ได้ทุน)... รุ่นตอ 2 ได้ 4-5 ตัน/ไร่ (กำไร).... รุ่นตอ 3 ได้ 3-4 ตัน/ไร่ (กำไรไม่มาก) จากนั้นล้มตอปลูกใหม่
- อ้อยเป็นพืชเมืองร้อนเพียงชนิดเดียวที่ตอบสนองต่อ "หินภูเขาไฟ หรือ ธาตุซิลิก้า" การไถกลบเศษใบอ้อยลงดิน เท่ากับเป็นการให้ซิลิก้า.แล้ว
- อ้อยที่ได้รับ "กากน้ำตาล" ทางรากมากๆ (เท่าๆ กับพืชอื่น) จะหยุดยอดชงักการเจริญเติบโต
- อ้อยเคี้ยวในสวน หากได้รับกากน้ำตาลโดยการฉีดพ่นสัมผัสกับต้นโดยตรงจะแตก "ตะเกียง" ตามลำต้น ทำให้ความหวานลดลง
ปุจฉา - วิสัชนา :
อ้อยพันธุ์ดีล่าสุด ไม่ให้น้ำ V.S. อ้อยพันธุ์เดิม ให้น้ำ.....อย่างไหนจะให้ผลผลิตมากกว่ากัน
http://www.mitrpholmodernfarm.com
---------------------------------------------------------------------
76. เทคโนโลยี สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย
ไม่ใช่เครื่องมือรดน้ำธรรมดาๆ เท่านั้น แต่ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน ให้ปุ๋ยไปพร้อมกับน้ำ ให้ยา (สมุนไพร/เคมี) ไปพร้อมกับน้ำ ทั้งหมดนี้มิใช่แค่ให้อย่างใดอย่างหนึ่งทีละอย่าง แต่ให้ไปพร้อมกันทั้ง 2 อย่าง หรือทั้ง 3 อย่างเลยก็ได้ ....
วางแผนจัดแปลงเป็นโซนๆ แปลงผักโซนละ 1 ไร่ ไม้ผลยืนต้นโซนละ 20-50 ต้น แต่ละโซนใช้เวลา 5-10 นาที แรงงานคนเดียว
ประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน :
ให้ทางใบ ฉีดพ่น “ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยาสมุนไพร/น้ำเปล่า” ได้ตามวัน เวลา และระยะเวลาที่ต้องการ การให้ปุ๋ยทางใบที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต้องให้ตอนปากใบเปิด (10 โมงเช้า ถึงบ่าย) ....
การฉีดพ่นสารสมุนไพร เช่น ฉีดพ่นตอนเช้ามืดก่อนสว่างเพื่อล้างน้ำค้าง, ฉีดพ่นตอนเที่ยงเพื่อกำจัดเพลี้ยไฟ ไรแดง, ฉีดพ่นตอนหลังค่ำเพื่อไล่แมลงแม่ผีเสื้อที่จะเข้ามาวางไข่ หรือป้องกันกำจัดแมลงปากกัดปากดูดที่มาตอนกลางคืน,
ให้ทางราก “น้ำเปล่า/น้ำหมักชีวภาพ/ปุ๋ยเคมี” ตามวัน เวลา และระยะเวลาที่ต้องการ
ติดตั้งระบบสปริงเกอร์ครั้งหนึ่ง อยู่นานใช้งานได้ 10-20-30 ปี
การให้ปุ๋ยไปกับระบบสปริงเกอร์แบบนี้ อเมริกาทำมานานกว่า 50 ปีแล้ว เรียกว่า การให้ปุ๋ยทางท่อ หรือ การให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ำ
หม้อปุ๋ยหน้าโซน V.S. ถังปุ๋ยที่ปั๊ม :
หม้อปุ๋ยหน้าโซน : ความจุเนื้อ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา สำหรับจำนวนต้นเฉพาะในโซน, สูตรเฉพาะไม้โซนนั้น, ไม่มีเนื้อปุ๋ยตกค้างในท่อ, ใช้แรง งานคนเดียว, ราคาแพง,
ถังปุ๋ยที่ปั๊ม : ความจุเนื้อ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา สำหรับจำนวนต้นไม้ทั้งแปลงที่สปริงเกอร์ไปถึง, สูตรเดียวกันทั้งสวน, มีเนื้อปุ๋ยตกค้างในท่อ, แปลงใหญ่มากตกค้างในท่อมาก, ใช้แรงงาน 2 คน, เนื้อปุ๋ยกัดลูกยางซีลปั๊ม, ราคาถูก,
ให้น้ำเปล่า, น้ำ+ปุ๋ย, น้ำ+ยา, น้ำ+ปุ๋ย+ยา, ยาสมุนไพร-ยาเคมี ใช้ได้ทั้งนั้น
ทำงานครั้งละ 3-5-10 นาที แรงงานคนเดียว ติดตั้งครั้งเดียวใช้งานได้ 10-20-30 ปี คุ้มเกินคุ้มนะ...
ไม้ผลแบ่งเป็นโซน ๆละ 50 ต้น ให้ น้ำ, น้ำ+ปุ๋ย, น้ำ+ยาสมุนไพร, น้ำ+ปุ๋ย+ยาสมุนไพร มีหม้อปุ๋ยประจำหน้าโซน ทำงานให้ทางใบครั้งละ 3-5 นาที ให้ทางรากครั้งละ 5-10 นาที ต่อการทำงาน 1 รอบ
เปรียบเทียบ : ลากสายยาง 50 ต้น ๆละ 5 นาที = 250 นาที/ครั้ง VS สปริงเกอร์ 50 ต้น ใช้เวลา 5 นาที = 5 นาทีไฟฟ้า/ครั้ง
สรุป : ลงทุนครั้งเดียว ทำงาน 5ปี 10ปี 20ปี ต้นทุนค่าไฟฟ้า ค่างแรง ประสิทธิภาพประสิทธิผลเนื้องาน ความเครียดในการทำงาน เครดิตความน่าเชื่อถือ .... ต่างกันเท่าไหร่ ?
สปริงเกอร์สั่งได้ :
ตี.5 : ........................... ล้างน้ำค้าง ป้องกัน/กำจัด ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม
สาย : .......................... ให้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน
เที่ยง : ......................... ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยไฟ ไรแดง
ค่ำ : ............................ ป้องกันแม่เสื้อเข้าวางไข่ ไข่แมลงฝ่อ ฆ่าหนอนที่ออกหากินลางคืน
กลางวัน-กลางคืน : .... ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ ทุกวัน วันต่อวัน วันเว้นวัน ทำได้ตามต้องการ
กลางวันฝนตก : ........ ก่อนฝนตกหรือหลังฝนหยุด ให้ปุ๋ยทางใบป้องกันการแตกใบอ่อน
กลางวันฝนตก : ........ ฝนหยุดแดดออก (ฝนต่อแดด) ล้างน้ำฝน ป้องกัน/กำจัด แอ็นแทร็คโนส, ไม้ผล ระยะสะสมตาดอก หรือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช
เปรียบเทียบสปริงเกอร์
- ราคา
- อายุใช้งาน
- ต้นทุนแรงงาน (ทำเอง/จ้าง)
- ต้นทุนพลังงาน (ไฟฟ้า/น้ำมัน)
- ต้นทุนเวลาที่ทำงาน
- ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของเนื้องาน
- สุขภาพร่างกาย (คนใช้/คนกิน)
- เครดิตความน่าเชื่อถือ (สังคม/ทั่วโลก)
- สปริงเกอร์ คือ เครื่องฉีดพ่นที่ไม่ธรรมดา เพราะนอกจากฉีดพ่นน้ำ น้ำเปล่าๆ ปรับ/ปรุง/เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก เป็น น้ำ+ปุ๋ย+ยา+ฮอร์โมน อย่างเดียว หรือหลายอย่างรวมกันไปพร้อมกันได้ ด้วยสโลแกนที่ว่า ประหยัด เวลา/แรงงงาน/พลังงาน/อารมณ์ เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน สร้างเครดิตความน่าเชื่อถือ
- ต้นสูง สูงมากสูงน้อย สปริงเกอร์ให้ปุ๋ยทางใบก็ต่อท่อจากพื้นให้สูงขึ้น สูงขึ้นไปให้ถึงยอด สูงกว่ายอดประมาณ 50 ซม. ถ้ามีหลายหัวในต้นเดียวกันหรือในโซนเดียวกัน ก็ให้ทุกหัวสูงเท่าๆกัน หรือ สูง/ต่ำ กว่ากันไม่เกิน +/- 10% ของความสูง .... แค่นี้ไม่พอ ต้องมีระบบวางท่อให้เป็นแบบมี “แรงดัน-แรงอัด” สายน้ำหมุนวนแบบไฟฟ้าที่เรียกว่า “อนุกรม” อีกด้วย ไม่ทำแบบนี้ น้ำพ่นออกที่หัวสปริงเกอร์เหนือยอดจะไม่แรง แต่ละหัวแรงไม่เท่ากัน ปล่อย ปุ๋ย/ยา ไปกับสปริงเกอร์ไม่ได้
- ที่ RKK เคยมีต้นมะม่วงติดมากับสวน สูงเท่าสันจั่วบ้าน 2 ชั้น (9-10 ม.) ขนาดทรงพุ่มเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-7 ม. (2 คนโอบ) จำนวน 3 ต้น ติดสปริงเกอร์เหนือยอดต้นละ 2 หัว เปิดน้ำแล้วคนไปยืนโคนต้นเปียกเหมือนฝนตก
- สปริงเกอร์ RKK แบบ “กะเหรี่ยงหน้ามืด” วางท่อเดี่ยววิ่งผ่านโคนต้นทุกแถว ติดวาวล์คู่ทางใบทางรากประจำต้นที่โคนต้นทุกต้น จะให้ทางใบเปิดวาวล์ทางใบปิดวาวล์ทางราก จะให้ทางรากเปิดวาล์วทางรากปิดวาวล์ทางใบ 1 โซน 50 ต้น เดินเปลี่ยนวาวล์ทีละต้นๆ ๆๆ 3 ก้าวก้มๆ แค่ 20 ต้นหน้ามืด....หน้าโซนมีหม้อปุ๋ย....ในโซนมีวาวล์ล้างท่อรวม
- สปริงเกอร์ RKK แบบ “กะเหรี่ยงเจ้าพระยา” วางท่อคู่วิ่งผ่านโคนต้น ท่อสำหรับทางใบ 1 ท่อ ท่อสำหรับทางราก 1 ท่อ ติดวาวล์คู่ “ทางใบ-ทางราก” ที่หน้าโซน จะให้ทางใบเปิดวาวล์ทางใบปิดวาวล์ทางราก จะให้ทางรากเปิดวาล์วทางรากปิดวาวล์ทางใบ 1 โซน 50 ต้น เปลี่ยนวาวล์ที่เดียวครั้งเดียวหน้าโซน....หน้าโซนมีหม้อปุ๋ย....ในโซนมีวาวล์ล้างท่อ แยกทางใบทางราก
- สปริงเกอร์ RKK แบบ “กะเหรี่ยงคอยาว” หัวสปริงเกอร์สูงกว่าต้น พ่นน้ำ 90 องศา พื้นราบ กระจายทั่วทรงพุ่ม
- สปริงเกอร์ RKK แบบ “กะเหรี่ยงหน้าง้ำ” หัวสปริงเกอร์สูงกว่าต้น พ่นน้ำคว่ำลง ครอบขนาดทรงพุ่มพอดีต้นเดียว
- สปริงเกอร์ RKK แบบ “กะเหรี่ยงลอยฟ้า” หัวสปริงเกอร์อยู่เหนือต้น พ่นน้ำลงมาตรงๆ หรือพ่นรอบตัว
- สปริงเกอร์ RKK แบบ “กะเหรี่ยงปากเป็ด” หัวสปริงเกอร์แบบพ่นน้ำด้านเดียว
- สปริงเกอร์ RKK แบบ “ไม่มีกรอง ล้างตัวเองได้” ระบบกรองประจำโซนแต่ละโซนทุกโซน กับระบบกรองที่หัวกะโหลก (ในสระน้ำ) สนนราคาอันละ 3 บาท (มั้ง...) .... หม้อกรองอิสราเอล อันละเป็นหมื่น (+) หม้อกรองไต้หวันทำเทียม อันละพัน (+)
- สปริงเกอร์ RKK วางท่อแบบ “แรงดัน-แรงอัด 3 ครึ่ง-3-2-1-ครึ่ง” โซนห่างจากปั๊ม 200 ม. (ตลับเมตรวัด) ขนาดโซน 50 ต้นเหมือนโซนติดปั๊ม แรงพ่นน้ำแต่ละต้นยังรัศมี 3 ม. (ผ่าศูนย์กลาง 6 ม.) เท่ากับโซนแรกติดปั๊ม
- สปริงเกอร์ RKK วันนี้ “แบ่งเป็นโซนๆ” ทั้งสวนรวม 20 โซน ประมาณการแล้วว่าสามารถเพิ่มพื้นที่ออกไปได้อีก 20 โซนสบายๆ เพราะระบบ “แรงดัน-แรงอัด 3-2-1-ครึ่ง” นี่เอง
- สปริงเกอร์ RKK วางท่อแบบ “อนุกรม (ไฟฟ้า)” ใน 1โซน 50หัว หรือ 1โซน 7แถว ๆละ 7หัว = 49หัว หรือ 49ต้น เปิดวาวล์รวมตัวเดียวคลุมได้ทั้งโซน พ่นน้ำออกที่หัวสปริงเกอร์รัศมี 3 ม. (ผ่าศูนย์กลาง 6 ม.) เท่ากันทุกหัว หัวไหนพ่นน้ำค่อยแสดงว่าหัวนั้นเสียให้เปลี่ยนหัว ....
- สปริงเกอร์ RKK วางท่อแบบ “ขึงหัว ขึงท้าย” ในแต่ละโซนไม้ที่ปลูกเป็นแถวแล้ววางท่อตามแนวโคนต้นทุกต้น รวม 7 แถวของ 1 โซน ที่ปลายท่อด้านหัวแถวของทุกแถวเชื่อมต่อกันด้วยท่อขนาด 1 นิ้ว (เรียกว่า "ขึงหัว") กับปลายท่อด้านท้ายแถวของทุกแถวเชื่อมต่อกันด้วยท่อขนาด 1/2 นิ้ว (เรียกว่า "ขึงท้าย") ซึ่งการ "ขึงหัว ขึงท้าย" นี้ คือ หัวใจที่ทำให้น้ำถูกดันออกที่หัวสปริงเกอร์เท่ากันทุกหัวของทั้งโซน
สปริงเกอร์แบบเป็นแถว หัวแถวมีวาวล์แถวใครแถวมัน เปิดกี่แถวได้เท่านั้นแถว เปิดวาวล์แล้วหัวแรกแรง แรงมาก หัวกลางออกกลาง หัวท้ายออกค่อย ค่อยมาก ไม่ออกเลย แบบนี้ให้น้ำออกไม่เท่ากันทั้งๆที่อยู่ในแถวเดียวกันด้วยซ้ำ บางคนแก้ไขโดยการใส่วาวล์ซ้อนที่ท่อตั้งติดหัวสปริงเกอร์เวลาทำงานจะลดวาวล์ซ้อนที่หัวแถว เพื่อให้เหลือแรงดันน้ำไปให้หัวปลายแถวแบบนี้เรียกว่า “เกือบใช่” ที่สำคัญ แบบนี้ปล่อย “ปุ๋ย/ยา/ฮอร์โมน” ไปพร้อมกับระบบน้ำ หรือไปทางท่อไม่ได้
- สปริงเกอร์ RKK เปิดน้ำโซนเดียวแรงพ่นน้ำได้ “รัศมี 3 ม. หรือผ่าศูนย์กลาง 6 ม.” แต่ถ้าเปิดน้ำพร้อมกัน 2 โซน (98หัว หรือ 98ต้น) แรงพ่นน้ำได้รัศมี 1.5 ม. หรือผ่าศูนย์กลาง 3 ม. ถ้าเป็นการให้ทางใบ ความกว้างรัศมีพ่นน้ำขนาดนี้อาจจะไม่พอ แต่ถ้าเป็นการให้ทางราก ความกว้างรัศมีพ่นน้ำขนาดนี้อาจจะ (เน้นย้ำ....อาจจะ) พอ
- สปริงเกอร์ RKK ถังปุ๋ยที่ปั๊ม 1 ถัง ใส่ปุ๋ย “สูตรเดียว” สำหรับทุกโซนตามระยะพัฒนาการของพืช
- สปริงเกอร์ RKK แบบ “ยาวตัด-สั้นต่อ-ไม่พอซื้อ-ไม่ดีรื้อทำใหม่” (ซาเล้งร้องไห้ เพราะเอาไป REUSE ใช้ใหม่ไม่ได้....)
- สปริงเกอร์ RKK ใช้งานมาแล้ว “20 ปี” คาดว่าจะใช้ได้ต่ออีก 10-20-30 ปีได้
- สปริงเกอร์ RKK ตรวจว่า “น้ำ + ปุ๋ย + ฯลฯ” ส่งไปตามท่อกระจายทั่วแปลง (โซน) โดยตัดท่อที่พื้นราบแล้วต่อเชื่อมด้วยกระบอกแก้วใส 2-3-4 จุด เมื่อเปิดวาวล์ทำงานจะเห็นน้ำเป็นสีชัดเจน เท่ากันทุกจุด
- สปริงเกอร์ RKK ทดสอบอาการ “กระจายเนื้อปุ๋ย” โดยละลายน้ำผสมยิบซั่มใส่ลงหม้อปุ๋ย แล้วเปิดวาล์วทำงานปกติ ใช้น้ำละลายยิบซั่ม มาก/น้อย ตามต้องการ เสร็จแล้วปล่อยให้พื้นในแปลงแห้ง จะเห็นผงยิบซั่มติดที่ยอดหน้าหน้าดินขาวโพลนทั่วทั้งแปลง
- หม้อปุ๋ยหน้าโซนแบบ “เวนจูรี่” (สมช.ทำงานแท่นเจาะน้ำมันในอ่าวไทยบอก เพราะระบบทำงานเป็นสุญญากาศเหมือนกัน) เปิดวาวล์เปิดหม้อปุ๋ยทำงาน แรงดันรัศมีพ่นน้ำไม่ลด ( 1 โซน 3 ม., 2 โซน 1.5 ม.) .... แต่หม้อปุ๋ย MADE IN USA รง.บางปู สมุทรปราการ ราคาอันละ 20,000 ส่งออก ตปท. เปิดวาวล์เปิดหม้อปุ๋ยทำงาน เปิดโซนเดียว แรงดันรัศมีพ่นน้ำลดลงครึ่งหนึ่งทันที
- หม้อปุ๋ยหน้าโซน 1 หม้อ 1 โซน เพื่อแยก “สูตรปุ๋ย” สำหรับแต่ละโซนตามระยะพัฒนาการของพืช
- หม้อปุ๋ยหน้าโซน ปริมาณปุ๋ยชนิดน้ำสำหรับไม้ผล 1 โซนคำนวนจาก ทดสอบใช้ปุ๋ยทางใบอัตราปกติ 20 ซีซี.+ น้ำ 20 ล. ในเป้สะพาย ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่มทั้งใต้ใบบนใบได้กี่ต้น ฉีดพ่นให้ครบทุกต้นใน 1 โซนแล้วรวมว่าใช้ทั้งหมดกี่เป้ สมมุติว่าใช้ 6 เป้ นั่นคือ ไม้ผลโซนนี้ใช้ปุ๋ยทางใบ 120 ซีซี. (เป้ละ 20 ซีซี.) ว่าแล้ว ให้เติมปุ๋ยน้ำทางใบที่จะให้แก่ไม้ผลโซนนั้น 120 ซีซี. +/- นิดหน่อย ไม่มีปัญหา
- หม้อปุ๋ยหน้าโซน RKK ถึงวันนี้มีกว่า 10 VERSION แล้วกับที่ยังอยู่ในหัวอีกหลาย VERSION ทุก VERSION ลุงคิมคิดเอง จดทะเบียนลิขสิทธิ์ได้
-----------------------------------------------------------------------
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/05/2023 6:16 pm, แก้ไขทั้งหมด 13 ครั้ง
กลับไปข้างบน
kimzagass หาวด้า เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11667
กลับไปข้างบน
kimzagass หาวด้า เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11667
ตอบ: 03/03/2024 11:52 am ชื่อกระทู้:
.
.
** ประเทศไทย ในฝัน **
ลำดับหัวข้อเรื่อง :
1. ประเทศเรา ประเทศไทย ประเทศเกษตร.... น่าจะมี
2. คนเรียนสูงระดับปริญญาเอก แต่ไม่ได้เรียนสาขาเกษตร
3. ในโลกนี้อาชีพที่มนุษย์ทำมี 2 อย่าง
4. วันนี้จะเอาเรื่อง “ปุ๋ย” อย่างเดียวไม่ได้
5. สมการปุ๋ยเคมี
6. สมการปุ๋ยอินทรีย์
7. สปริงเกอร์
8. ทุเรียน
9. เกษตรแจ๊คพ็อต
10. สร้างความพร้อมให้กับตัวเอง
11. อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย อาฟริกา ทั่วโลก
12. รวมงานวิจัยสารสมุนไพร
13. ข้าว
14. ปรัชญาสัจจะธรรม
15. หลัก 9 เลิกเด็ดขาด 9 ทำสม่ำเสมอ
16. ปฏิทินใช้สารเคมี
17. สำปะหลัง
18. เกษตร 5W. 1H.
19. สปริงเกอร์ให้ปุ๋ย
20. รอบรู้เรื่องแมลง
21. รอบรู้เรื่องหนอน
22. รอบรู้เรื่องโรค
23. รอบรู้เรื่องโลก
24. ผู้ส่งเสริม VS ผู้รับการส่งเสริม
25. ตัวอย่างแหล่งน้ำธรรมชาติ รอการพัฒนา
26. ประเทศไทย ประเทศเกษตร
27. ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วน
28. กำจัดวัชพืชในนาข้าว
29. ประเทศไทย แล้งคือแล้ง ท่วมคือท่วม
30. สัจจะธรรม ....
31. เวียดนามแบนสารเคมีไกรโฟเสต
32. ทีวี. สิงค์โปร์ เวียดนาม ไต้หวัน
33. เกมส์แบนสารเคมี 3 ฝ่ายวันนี้
34. สมุนไพรสูตรยาน็อค
35. ผักมีสารเคมีปนเปื้อน ในห้าง 60% ในตลาดสด 40%
36. คนที่อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย อาฟริกา ทั่วโลก
37. งานส่งเสริมแบบ ไม่ W. มีแต่ H.
38. สัจจะธรรมระดับโลก
39. อันตรายอาหารมียาฆ่าแมลงตกค้าง
40. สังคมไทย รวมไปถึงสังคมโลกวันนี้
41. ธรรมชาติไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีตัวเลข
42. ส่วนลึกของใจ
43. ปลูกเงาะระยะชิดพิเศษ
44. รัฐบาลเริ่มจับกุมร้านขาย “สารเคมี+ยาฆ่าหญ้า-ยาฆ่าแมลง”
45. จีนสนใจสารสกัดจากพืชถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
46. ยุโรป อเมริกา เลิกใช้ยาฆ่าหญ้า
47. ถ้าวิชาเกษตรมี 100 บท
48. ความหอมที่แฝงพิษร้ายของดอกมะลิ
49. นักเศรษฐศาสตร์การเกษตร
50. สารสมุนไพรป้องกันกำจัด โรคพืช แมลงศัตรูพืช
51. เปลี่ยน“ไม่รู้” ของตัวเองให้เป็น “รู้”
52. ประเภทของสารเป็นพิษ
53. อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย อาฟริกา ทั่วโลก
54. สัจจะธรรมระดับโลก สิ่งมีชีวิต (มนุษย์ สัตว์ พืช จุลินทรีย์)
55. สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
56. คนไทยอ่านหนังสือ
57. ไม่ใช่ "แนว" ของลุงคิม แต่เป็น "แนว" ของธรรมชาติ
58. ปุจฉา วิสัชนา
59. สมการปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
60. ที่นี่สอนให้ คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ฟันธง
61. เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง
62. ในธรรมชาติไม่มีตัวเลข ไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีคันเร่ง ไม่มีบล็อก
63. เกษตรานุสติ
64. 2 ทศวรรษ 20 ปี กับงานเกษตร
65. ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำตระกูลเผ่าพันธุ์
66. งานวิจัยด้านไบโอชีวภาพ
67. ต้นทุนค่าสาร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืช 30%
68. ประเภทคำถาม สั้น-กระทัดรัด-ได้ใจความ
69. ทำอาชีพเกษตรวันนี้ต้องคิดใหม่ทำใหม่
70. คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ
71. ธาตุอาหารในระบิดเถิดเทิง
72. กินผักแล้วหน้าบวม
73. จับหลัก “คิด-วิเคราะห์-เปรียบเทียบ-ฟันธง” สู้กับศัตรูพืช
74. ทำไมบราซิลถึงเก่งเรื่องทำไร่อ้อย
75. เกษตรานุสติ แรงบันดาลใจ
76. เทคโนโลยี สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย
อรรถาธิบาย :
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6829&sid=989848a10635c227462fa6dba33f1d73
.
กลับไปข้างบน
kimzagass หาวด้า เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11667
ตอบ: 04/03/2024 7:42 am ชื่อกระทู้: *
.
. ส่วนลึกของใจ :
คำถามที่รอคำตอบ ....
- โครงการส่งเสริมการเกษตร, ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี, ศูนย์การเรียนรู้, สวนเกษตรดีเด่น, สวนปราชญ์ชาวบ้าน, ภายในโครงการประสบความสำเร็จ = ยอมรับ.... แต่แปลงเกษตรของชาวบ้านติดรั้วโครงการไม่ทำตาม ประสบความล้มเหลว
- นักเรียนเกษตรสาขาพืช ปฏิเสธ สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย, ทำปุ๋ย/ทำยา, เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง
- ศูนย์ส่งเสริมทำนาให้ดำนาด้วยมือ ปฏิเสธ รถดำ เครื่องหยอด
- โครงการส่งเสริมเกษตรกร มุ่งเน้นแต่ตลาด (ราคาผลผลิต) ไม่ส่งเสริมการบริหารต้นทุน
- โรงเรียนเกษตรที่ดีที่สุด คือ แปลงเกษตร .... ครูเกษตรที่ดีที่สุด คือ แปลงเกษตร
- ทั่วโลกตระหนักรู้ถึงพิษภัยสารเคมีการเกษตร .... ประเทศไทยส่งเสริมอย่างแผ่วเบา
- หน่วยงานเจ้าของทฤษฎี IPM ปฏิบัติการ เชิงรับ มากกว่า เชิงรุก
- สื่อ ทีวี. เผยแพร่งานเกษตรเพียง W. ไม่มี H.
- ประเทศไทยประเทศเกษตรน่าจะมีช่อง ทีวี.เพื่อการเกษตร เน้น H. มากกว่า W โดยรัฐยอมขาดทุน เพื่อเป็นรัฐสวัสดิการ เหมือนรถเมล์ รถไฟ
KIM ZA GASS (081) 913-4986
....................................................................................................
บ่น :
** ไม้ผลยืนต้น : * หน่อไม้ เก็บหน่อได้ ปีละ 300 ครั้ง .... * มะพร้าว เก็บผลได้ปีละ 16 ครั้ง.... * ส้มเช้ง. ส้มโชกุน. ส้มเขียวหวาน. ส้มโอ. มะนาว. มะกรูด. ทุเรียนหนอนทอง. ปาล์ม. ตาล. สละ. ระกำ. มะม่วงพันธุ์เบา. มะกอก. ฝรั่ง. เก็บผลได้ตลอดปี ....
** ไม้ผลอายุสั้น : * (พุ่ม) มะเขือฯ พริกฯ กระเจี๊ยบฯ ไม้ดอกฯ .... * (เถา) แตงฯ มะระฯ บวบฯ ถั่วฯ ฟักฯ ให้ผลตลอดอายุขัย ....
** ไม้ผลให้ผลปีละครั้ง : * อ้อยตอ 6 ได้ 30 ตัน/ไร่ .... * สำปะหลัง ได้ 20 ตัน/ไร่ .... * เผือก ได้หัวละ 1.8 กก. ....
** ไม้ผลยืนต้นไต้ร่มไม้ใหญ่ : ผักหวานป่า กาแฟอาราบิก้า หน้าวัว ข่า ตะไคร้
*** หัวใจ (เน้นย้ำ....หัวใจ) ที่ขาดไม่ได้ คือ ปุ๋ย ยา ไฟฟ้า เวลา ค่าที่ ค่าแรง เทคนิค เทคโน โอกาส ตลาด ต้นทุน
----------------------------------------------------------------------------------
เกษตรานุสติ :
**ระหว่าง “อย่างเดิม ได้อย่างเดิม ได้น้อยกว่าเดิม” ..กับ.. “คิดใหม่ ทำใหม่ ได้ดีกว่าเดิม ได้มากกว่าเดิม”..
** ระหว่าง “เนื้อที่ 1 ไร่ ทำ 1 ปี ได้ 1 ครั้ง” กับ “เนื้อที่ 1 ไร่ ทำ 1 ปี ได้หลาย-หลาย-หลาย ครั้ง” ....
** ขายได้เท่าเดิม ได้เท่าข้างบ้าน แต่ต้นทุนลด คือกำไรเพิ่ม....
** ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้ เพราะ ............................ ต้นทุนสูง ต้นทุนสูญเปล่า .....
** ทุกคนเกิดมา เก่งเท่ากัน รู้เท่ากัน.............. แต่ แพ้-ชนะ กัน ที่โอกาส ......
** เรื่องง่ายทำไม่ได้ .... เรื่องยากทำได้ .......... เพราะ “ใจ” ...
** ทำน้อย ทำถูก = ได้มาก ..........................ทำมาก ทำผิด = ได้น้อย ......
** คนที่จะช่วยเราได้ดีที่สุด คือ .................... คนในกระจก ....
************** ปลูกกิน ถามคนในบ้าน ..... ปลูกขาย ถามคนรับซื้อ **************
บ่น :
ปรัชญาเกษตร :
- ผลผลิตเกษตรด้านพืชทุกชนิดมีตลาด (คนกิน) รองรับอยู่แล้ว ต่างกันที่ราคา ระหว่างเกรด เอ. กับเกรดบ๊วย
- เกษตรกรไม่สามารถ “กำหนดหรือควบคุม” ราคาในตลาดได้ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับคนกลางหรือคนรับซื้อ แต่สามารถ “กำหนดหรือควบคุม” การผลิตว่าด้วย ต้นทุน คุณภาพ ปริมาณ ฤดูกาล ฯลฯ ได้
- ขายผลผลิตได้ “เท่าเดิม เท่าข้างบ้าน” แต่ต้นทุนต่ำกว่า นั่นคือกำไรที่มากกว่าเป็นธรรมดา
- ทำแบบเดิม คงไม่มีอะไรดีไปกว่าเดิม สมัยนี้ต้อง ปรับ/เปลี่ยน/ประยุกต์
- ทำตามคนที่ล้มเหลว ย่อมล้มเหลวด้วย อาจล้มเหลวยิ่งกว่า เพราะเพิ่มต้นทุนหวังการเอาชนะ
- ทำตามคนที่สำเร็จ ย่อมสำเร็จด้วย เอาความสำเร็จนั้นมาต่อยอดขยายผล จะสำเร็จมากกว่าแน่นอน
- สมการเกษตร...สมการปุ๋ย (อินทรีย์/เคมี), สมการยา (สารสมุนไพร/สารเคมี), สมการเครื่องทุ่นแรง (เครื่องมือ/กำลังคน)
- ภาคอุตสาหกรรม พยายาม/ขวนขวาย/ลงทุน เทคโนโลยีทุกรูปแบบ แต่ภาคเกษตรกรรมด้านพืชปฏิเสธ โดยเฉพาะเทคนิคการผลิต เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง
- ผลผลิตทางการเกษตร รัฐบาลช่วย เกษตรกรได้แล้ว 1 เด้ง เกษตรกรช่วยตัวเองได้อีก 1 เด้ง นี่คือ ได้ 2 เด้ง
ปล.
ผลไม้ยืนต้น ให้ผลตลอดทั้งปี ไม่มีฤดูกาล : ส้ม (ส้มโอ ส้มเขียวหวาน ส้มเช้ง ส้มโชกุน มะนาว มะกรูด). ฝรั่ง. ทุเรียนหมอนทอง. องุ่น. มะพร้าว. ปาล์มน้ำมัน. โกโก้ สละ ระกำ มะม่วงทะวาย. ขนุนทะวาย. ลำไยทะวาย. ไผ่รวก. ไต่ตง.
--------------------------------------------------------------------------------
เกษตรานุสติ :
**ระหว่าง “ทำอย่างเดิม ได้อย่างเดิม ได้น้อยกว่าเดิม” ..กับ.. “คิดใหม่ ทำใหม่ ได้ดีกว่าเดิม ได้มากกว่าเดิม”..
** ระหว่าง “เนื้อที่ 1 ไร่ ทำ 1 ปี ได้ 1 ครั้ง” กับ “เนื้อที่ 1 ไร่ ทำ 1 ปี ได้หลาย-หลาย-หลาย ครั้ง” ....
** ขายได้เท่าเดิม ได้เท่าข้างบ้าน แต่ต้นทุนลด คือกำไรเพิ่ม....
** ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้ เพราะ ............................ ต้นทุนสูง ต้นทุนสูญเปล่า .....
** ทุกคนเกิดมา เก่งเท่ากัน รู้เท่ากัน.............. แต่ แพ้-ชนะ กัน ที่โอกาส ......
** เรื่องง่ายทำไม่ได้ .... เรื่องยากทำได้ .......... เพราะ “ใจ” ...
** ทำน้อย ทำถูก = ได้มาก ..........................ทำมาก ทำผิด = ได้น้อย ......
** คนที่จะช่วยเราได้ดีที่สุด คือ .................... คนในกระจก ....
************** ปลูกกิน ถามคนในบ้าน ..... ปลูกขาย ถามคนรับซื้อ **************
-----------------------------------------------------------------------------------
บ่น :
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ราคาปาล์มน้ำมันของไทยในไตรมาสที่ 1 น่าจะสามารถประคองตัวอยู่ในระดับสูงได้ในกรอบ 7.5-9.5 บาทต่อกิโลกรัม แม้ว่าจะเป็นระดับราคาในกรอบที่น้อยกว่าจุดสูงสุดในเดือนม.ค.2565 เฉลี่ยที่ 10.3 บาทต่อกิโลกรัม แต่นับว่ายังคงอยู่บนฐานที่สูง สอดคล้องไปกับแนวโน้มราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนอุปทานปาล์มน้ำมันโดยเฉพาะในมาเลเซียที่ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานเก็บเกี่ยวและมีผลผลิตน้อย
ในช่วงที่มีความต้องการใช้ในหลายประเทศที่กำลังฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ท่ามกลางภาวะที่ราคาพลังงานในตลาดโลกก็ยังอยู่ในระดับสูงเช่นกัน
อย่างไรก็ดี แม้ปาล์มน้ำมันจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่นอกจากราคาจะขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานในตลาดโลกเป็นหลักแล้ว ยังขึ้นอยู่กับนโยบายภายในประเทศของภาครัฐในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย
ล่าสุด ภาครัฐได้มีมาตรการปรับลดสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลเหลือเพียง B5 มีผลตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ. - 31 มี.ค.2565 เพื่อลดต้นทุนและตรึงราคาน้ำมันดีเซลในประเทศ
โดยเบื้องต้นประเมินว่า จากการปรับไปใช้สูตร B5 ทดแทน B7 อาจทำให้มีปริมาณปาล์มน้ำมันสำหรับผลิตไบโอดีเซลหายไปจากระบบในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 ที่ราว 0.32 ล้านตันปาล์มน้ำมัน หรือคิดเป็นราวร้อยละ 2 ของปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันไทยทั้งปี ซึ่งแม้จะเป็นปริมาณที่ไม่มาก
แต่เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันในประเทศกำลังทยอยออกสู่ตลาด จึงมีผลให้ราคาปาล์มน้ำมันในประเทศปรับตัวลดลง
อย่างไรก็ตาม ด้วยปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบของไทยที่อยู่ในระดับต่ำกว่า Safety Stock และยังคงมี Pent Up Demand ในหมวดอาหารรองรับอยู่ตามการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จะทำให้ราคาปาล์มน้ำมันเฉลี่ยทั้งไตรมาสที่ 1 ยังคงสามารถอยู่บนฐานที่สูงสอดคล้องไปกับราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลกที่ยังยืนในระดับสูงตามอุปทานโลกที่ตึงตัว และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังยืนระดับสูง
https://www.thansettakij.com/economy/515017
------------------------------------------
บ่น :
34. มิติเกษตร :
มิติ 1 : มูลค่าที่ดินวันนี้ไร่ละแสน ตกทอดเป็นมรดกให้หลานไร่ละล้าน
มิติ 2 : ขายที่ดิน คือ ชีวิต/วงศ์ตระกูล/นามสกุล/ศักดิ์ศรี สูญสิ้นแล้วทุกสิ่งอย่าง
มิติ 3 : ขายที่ใช้หนี้แล้วเช่าที่ตัวเอง อนาคตไม่แน่ เพราะเจ้าของคนใหม่จะเอาคืนเมื่อไหร่ไม่รู้
มิติ 4 : สังคมโลกวันนี้ หยุดอยู่กับที่ = ถอยหลัง เพราะคนอื่นก้าวไปข้างหน้า
มิติ 5 : ทำแบบเดิม ทำตามคนที่ล้มเหลว VS ทำแบบใหม่ ทำตามคนที่สำเร็จ
มิติ 6 : เปิดตัว เปิดใจ รับข้อมูล VS ไม่ทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว
มิติ 7 : ไม่รู้ไม่เป็น-ไม่เป็นไม่รู้....เกิดจากอะไร ? เกิดได้ยังไง ? แก้ไขได้ไหม ? แก้ไขยังไง ?
มิติ 8 : ไม่รวยแต่เป็นหนี้…เกิดจากอะไร ? เกิดได้ยังไง ? แก้ไขได้ไหม ? แก้ไขยังไง ?
มิติ 9 : กับดักรายได้ปานกลาง สร้างเองแล้วเข้าไปอยู่เอง
มิติ 10 : ตายแล้วเหลือกระดาษ 1 แผ่น ..... กระดาษแผ่นนั้น โฉนดที่ดิน หรือ สัญญาเงินกู้
มิติ 11 : เพื่อนที่ดีที่สุด คือ คนในกระจก
มิติ 12 : กะรวยด้วยกัน = รวยทุกคน
มิติ 13 : เอาความเก่งที่แต่ละคนมีมารวมกัน = เก่งมากทุกคน
มิติ 14 : ฯลฯ
ทำตามคนที่ล้มเหลวจะล้มเหลวยิ่งกว่า เพราะอยากเอาชนะ ไม่ทำตามสมการปุ๋ย/ยา เขาใส่ปุ๋ย 1 เราต้องใส่ 2 เขาฉีดยา 1 เราต้องฉีด 2
ทำตามคนที่สำเร็จจะสำเร็จยิ่งกว่า เพราะเอาแนวเขามา ต่อยอด/ขยายผล ตามสมการปุ๋ย เขาใส่ปุ๋ย 1 เราใส่แค่ครึ่งเดียว แล้วใส่ตัวเสริมประสิทธิภาพปุ๋ยแทน
เขาฉีดยา เราไม่ฉีด แต่ใช้สารธรรมชาติแบบเข้มข้น บ่อยๆ สม่ำเสมอ ตามหลักสมการยา แทน ผลรับที่ได้ คือ ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตดี
.......................................................................................................
.
กลับไปข้างบน
kimzagass หาวด้า เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11667
ตอบ: 04/03/2024 8:57 am ชื่อกระทู้:
.
.
@@ ชาวนารุ่นใหม่ คิดใหม่-ทำใหม่
***** รวมกลุ่ม รวมพื้นที่ไม่ได้ ทำคนเดียว ทำเองขายเอง
***** นา 10 ไร่ แรงงาน 2 คนผัวเมีย ทำงานวันเว้นวัน
***** ขายเป็นข้าวปลูกในหมู่บ้าน ส่งร้านขายข้าวปลูก
***** นา 10 ไร่ ได้ข้าวเปลือก 5 เกวียน (5,000 กก.) ขาย กก.ละ 50 ได้ 250,000
***** สีเป็นข้าวกล้องขายส่ง กก.ละ 50 ได้ 250,000 เหมือนกัน แต่ได้เงินก้อน
***** ทำนาประณีต แรงงานตัวเอง ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา ซื้อครึ่งทำเองครึ่ง
***** ตั้งปณิธาน 3รุ่น 3รอบ ก็เก่งเอง
***** ฉลาด ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ จริงจัง จริงใจ เสียสละ
ต้นทุน อินทรีย์ เคมี V.S เคมี เพียวๆ
จาก : (080) 512-83xx
ข้อความ : คุณตาขา หนูชื่อปอ ลูกสาวคนเดียวของพ่อสนธิ แม่นงคราญ พ่อกับแม่มีลูกชาย 4 คน อยู่กบินทร์บุรี ที่บ้านทำนา 20 ไร่ ตอนนี้น้ำลงให้เริ่มทำนาได้แล้ว เคยใส่ยูเรียไร่ละ 2 ลูก กับ 16-20-0 อีก 1 ลูก ซื้อเงินสดลูกละ 700 บางรุ่นได้กำไรไม่มาก รุ่นที่แล้วขาดทุน 300 เปอร์เซ็นต์ จะเปลี่ยนมาทำตามแนวคุณตา อยากให้คุณตาคำนวนต้นทุนใช้ปุ๋ยคุณตาตลอดรุ่นให้ด้วยค่ะ คุณตาตอบทางวิทยุตอนเช้า 6 พ.ย. กับตอบในเน็ตด้วยนะคะ ....ปอค่ะ
ตอบ :
- แปลงนี้โชคดีที่ ธรรมชาติให้โอกาสแก้ตัว แม่โพสพให้โอกาสทำใหม่ ผีบ้านผีเรือนดลใจให้ คิด-วิเคราะห์-เปรียบเทียบ ที่เคยทำๆมามันไม่ได้อะไร ทำอีกก็ไม่ได้อะไรอีก เพราะทำแบบ เดิมๆ มันจึงเหมือนเดิม สู้มาเสี่ยง เสี่ยงอย่างมีเหตุมีผล เสี่ยงอย่างมีหลักวิชาการ ทำแบบใหม่ อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของนาข้าว ..... แบบเดิมมีแต่เจ๊ากับเจ๊ง แบบใหม่มีแต่เจ๊ากับได้ .... บอกได้เลยงานนี้ ยากหรือง่าย อยู่ที่ “ใจ” เท่านั้น
- นา 20 ไร่ คิดต้นทุนเฉพาะค่าปุ๋ย ยูเรีย + 16-20-0 รวม 60 กส. ๆละ 700 เป็นเงิน 42,000
** สารอาหารที่ได้จากปุ๋ยเคมีเพียง 2 ตัว คือ ไนโตรเจน. กับฟอสฟอรัส. .... สิ่งที่เสีย คือ .... 1) ข้าวลีบ .... 2) เมล็ดไม่ใส .... 3) เมล็ดไม่แกร่ง .... 4) เป็นท้องไข่ .... 5) ไม่มีน้ำหนัก .... 6) โรคมาก .... 7) ต้นสูง ล้ม .... 8 ) ใช้ทำพันธุ์ไม่ได้ .... 9) ดินเสีย.... 10) จุลิน ทรีย์ ตาย .... 11) สิ้นเปลือง ....12) ฯลฯ
** อัตราใช้ปุ๋ยลุงคิม สำหรับนา 20 ไร่ :
- ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 4 ล. / ไร่ = 80 ล. / 20 ไร่
- ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า, ขนาดจุ 1 ล. ....ทุกอย่างอัตราใช้ “น้ำ 200 ล. + 200 ซีซี.” ใช้กับนาข้าวได้ 4 ไร่ .... นั่นคือ นาข้าว 20 ไร่ อัตราใช้ 1 ล. / ครั้ง
** ต้นทุนค่าปุ๋ยลุงคิม สำหรับนา 20 ไร่ :
– น้ำหมักฯ ให้ทำเทือก 1 ครั้ง, ระยะต้นกลม 1 ครั้ง รวม 80 ล....... = 8,000
- ให้ไบโออิ ระยะกล้า 3 ครั้ง ๆละ 1 ล. = 3 ล. ....................... = 600
- ให้ไทเป ระยะออกรวง 2 ครั้ง ๆละ 1 ล. = 2 ล. ..................... = 400
- ให้ ไบโออิ 2 ล. + ยูเรก้า 2 ล. ระยะน้ำนม 4 ครั้ง = 4 ล. ......... = 1000
รวมต้นทุน = 10,000
** ต้นทุนค่าปุ๋ยเสริม สำหรับนา 20 ไร่ :
- 16-8-8 ทำเทือก (10 กก.) + ต้นกลม (10 กก.) ต่อไร่ หรือ 400 กก. .... = 4,000
- 18-38-12 เร่งแตกกอ 15 กก. ๆละ 150 ..................................... = 2,250
- 0-52-34 หยุดความสูง ออกรวง 10 กก. ๆละ 150 ........................... = 1,500
รวม = 7,750
** แนวทางเปรียบเทียบต้นทุนค่าปุ๋ย สำหรับนา 20 ไร่ :
- ยูเรีย (2 กส.) + 16-20-0 (1 กส.) กส.ละ 700 ................. 42,000
- น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า, ปุ๋ยเสริม ............. 17,750
@@ สารอาหารที่ได้จากปุ๋ยลุงคิม :
- สารอาหารอินทรีย์ : ธาตุหลัก/ธาตุรอง/ธาตุเสริม/ฮอร์โมน/จุลินทรีย์ และสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น
- สารอาหารเคมี : ธาตุหลัก / ธาตุรอง / ธาตุเสริม รวม 14 ตัว
** ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตดี :
- ไม่ไถแต่ย่ำประณีต : ย่ำ 3 รอบ / กระทง .... ย่ำ 4 เที่ยว ห่างกันเที่ยวละ7-10 วัน.... สิ่งที่ได้ เปรียบเทียบระหว่าง ปกติไถ 2 รอบ ย่ำด้วยอีขลุบ 2 รอบ รวมเป็น 4 รอบ ได้ขี้เทือกไม่ลึกนัก ไม่ได้กำจัดวัชพืช กับไม่ไถแต่ย่ำด้วยอีขลุบ 4 รอบ จำนวนรอบเท่ากันแต่ ได้เทือกลึกกว่า กำจัดวัชพืชได้มากกว่า .... รถไถติดผานไถดินใช้น้ำมันมากกว่ารถไถเดินตามลากอีขลุบ
– ทำนาด้วยด้วยเครื่อง : ต้นทุนรวม “ค่าเมล็ดพันธุ์ + ค่าตกกล้า + ค่าดำ” สิ่งที่ได้ ต้นข้าวขึ้นห่าง ต้นโต แตกกอดี โรคแมลงน้อย แยกข้าวปนได้ คุณภาพดี ขายหรือใช้เป็นข้าวปลูกต่อได้ ไม่มีแรงงาน ..... นาหว่าน เมล็ดพันธุ์มาก ต้นข้าวขึ้นถี่ ต้นเล็ก โรคแมลงมาก แยกข้าวปนไม่ได้ คุณภาพไม่ดี ขายหรือใช้เป็นข้าวปลูกไม่ได้ ต้องจ้างแรงงาน
- ใช้สารสมุนไพร : ทำเอง ทำไว้ล่วงหน้าสำหรับ 1 รุ่น ฉีดพ่นพร้อมปุ๋ยทางใบ ไม่ต้องจ้างแรงงาน หรือจ้าง คนรับจ้างต้องทำตามที่คนจ้างสั่ง
- ขายข้าวปลูก : ปลูกข้าวพันธุ์ในพื้นที่นิยม ไม่มีข้าวปน ไม่มีข้าวนกข้าวดีด เมล็ดข้าวสมบูรณ์ดี ไม่มีเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องไข่ ต้นน้ำกลางน้ำ ปลายน้ำ
- ข้าวข้าวพันธุ์นิยม : ไรซ์เบอร์รี่, หอมนิล, ลืมผัว, สังข์หยด, หอมมะลิ, มะลิแดง, สุโขทัย. ขายเป็นข้าวเปลือก หรือข้าวกล้อง แบบขายส่งหรือขายปลีก
– อนาคต : ทำติดต่อกัน 3 รุ่น จะพบประวัติดินดีขึ้นๆ ๆๆ ๆๆ การใช้ปุ๋ยทางดิน 16-8-8 จะลดลง ใช้แค่น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 ตอนทำเทือกก็พอ, การกำจัดวัชพืชลด ลง, คุณภาพข้าวดีขึ้นๆ
- รวมกลุ่มทำเอง : “น้ำหมักฯ. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า.” .... รวมเนื้อที่สั่งซื้อ ประหยัดค่าขนส่ง .... ข้าวทุกแปลงคุณภาพเกรดเดียวกัน คนรับซื้อพอใจ รวมกลุ่มเทคโนโลยี-รวม กลุ่มทำ-รวมกลุ่มขาย รวยทุกบ้าน รวยทั้งหมู่บ้าน
- พืชแซมนาข้าว : เผือกน้ำริมคันนา, ผัก (มะเขือฯ พริกฯ ตะไคร้ ขิง ข่า ดาวเรือง) บนคันนา
.
กลับไปข้างบน
kimzagass หาวด้า เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11667
กลับไปข้างบน
kimzagass หาวด้า เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11667
ตอบ: 06/03/2024 7:26 am ชื่อกระทู้:
.
.
ชาวสวนรุ่นใหม่ ทำเกษตรแบบอิสราเอล ปลูกพืชผสมผสาน สวนสวย-ระบบน้ำเป็นเลิศ :
FacebookTwitterGoogle+LINE
ผู้เขียน ธาวิดา ศิริสัมพันธ์
เผยแพร่ วันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2567
คุณยุทธนา คามบุตร หรือ คุณเบิร์ด ต้นแบบเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร ในการจัดการดูแลสวนผสมผสาน พร้อมกับการวางแผนจัดการแปลงปลูกอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะระบบน้ำที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการทำเกษตร ส่งผลในแง่ของปริมาณและคุณภาพของผลผลิตได้ตามความต้องการ และได้สวนสวยตามที่ฝันไว้อีกด้วย
คุณเบิร์ด เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะมาประกอบอาชีพเกษตรเป็นหลัก ตนเองเคยทำงานประจำในตำแหน่งเจ้าพนักงานการเกษตรมาก่อน ปัจจุบันลาออกจากงานมาทำสวนเป็นของตนเองได้เป็นระยะเวลากว่า 3 ปีแล้ว ด้วยเหตุผลที่เหมือนกับหลายๆคน คือต้องการกลับบ้านมาอยู่กับครอบครัว ประกอบกับการที่ได้ทำงานในตำแหน่งที่คืเกี่ยวข้องกับงานด้านการเกษตรทำให้มองเห็นโอกาส หลายๆ อย่าง และที่บ้านก็ประกอบอาชีพเกษตรมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ เริ่มต้นที่สมัยรุ่นคุณปู่เป็นผู้บุกเบิกพื้นที่ทำสวนมะม่วง สวนกระท้อน พอมาถึงรุ่นคุณพ่อเปลี่ยนมาปลูกพืชไร่ ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพด จนมาถึงรุ่นตนเองกลับมาสานต่อการปลูกพืชไร่จากคุณพ่อ พร้อมกับการขยายพื้นที่ปลูกไม้ผล ได้แก่ ฝรั่งกิมจู ฝรั่งหงเป่าสือ และพุทราน้ำอ้อย โดยปัจจุบันที่บ้านมีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดประมาณ 90 กว่าไร่ แบ่งปลูกพืชไร่ 70 ไร่ สวนป่า 10 กว่าไร่ ไม้ผล 6 ไร่ และกำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการขยายพื้นที่ปลูกส้มโอขาวแตงกวาอีก 2 ไร่
คุณยุทธนา คามบุตร หรือ คุณเบิร์ด :
ซึ่งกำลังเป็นช่วงที่ให้ความสำคัญกับการจัดการแปลงปลูกไม้ผลมากเป็นพิเศษ เนื่องจากพืชไร่มีระบบการจัดการที่ลงตัวแล้ว เน้นอาศัยน้ำฝนช่วยดูแลเป็นส่วนใหญ่ จึงมีเวลามาพัฒนาแปลงปลูกไม้ผลได้อย่างเต็มที่ โดยวางแผนปลูกให้ออกมาในรูปแบบของสวนสวยงาม เป็นระบบระเบียบ จัดการง่าย มองแล้วสบายตา มีฝรั่งกิมจู ฝรั่งหงเป่าสือ และพุทราน้ำอ้อย เป็นพืชหลักทำเงิน
ฝรั่งกิมจู ผิวสวย รสชาติหวานกรอบ :
ด้วยจุดเด่นของฝรั่งที่สวน มีรสชาติที่หวานกรอบ อร่อย และพุทราน้ำอ้อยที่มีรสชาติหวานกรอบ กลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ไม่แพ้กัน เทคนิคอยู่ที่การจัดการดูแลที่ทางสวนจะนำหลักวิชาการเข้ามาใช้ในเรื่องของการบำรุงใส่ปุ๋ย เพื่อเพิ่มความหวาน ซึ่งเป็นความรู้ที่เคยศึกษาเล่าเรียนมาผสมผสานกับการทำงานที่ได้พบเจอกับแปลงของเกษตรกร มีโอกาสได้เจอพืชหลากหลายก็เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากตรงนั้นมาประยุกต์ใช้ในแปลงของตนเอง
“จากประสบการณ์ที่ทำงานอยู่กับกรมวิชาการเกษตร เราอยู่กับสารเคมี อยู่กับการวิเคราะห์ การทดลองมาตลอด ทำให้รู้เบื้องต้นว่าสารบำรุงหรือป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชตัวไหนที่ใช้แล้วไม่เป็นอันตราย ไม่ทำให้เกิดสารตกค้าง หรือตัวไหนที่ใช้แล้วมีสารตกค้าง รวมไปถึงการฉีดพ่นควรเว้นระยะกี่วัน ก็เอาตรงนี้มาปรับใช้ในสวน จนผลผลิตได้รับรองมาตรฐาน GAP และยังมีในส่วนของการส่งผลผลิตฝรั่งไปตรวจวิเคราะห์หาสารตกค้างก็ไม่พบสารที่ตกค้าง ตรงนี้เลยเป็นจุดเด่นของสวนเรา”
ทำเกษตรแบบอิสราเอล ให้ความสำคัญกับระบบน้ำเป็นอันดับหนึ่ง :
คุณเบิร์ดนับเป็นอีกหนึ่งเกษตรกรโดยสายเลือด ที่นอกจากที่บ้านจะเป็นเกษตรกรมาตั้งแต่บรรพบุรุษแล้ว ตัวคุณเบิร์ดเองก็เรียนจบจากสาขาพืชศาสตร์ ซึ่งพอเรียนจบออกมาได้ทำงานที่กรมวิชาการเกษตร ประกอบกับในครั้งตอนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ปวส. ได้มีโอกาสไปเป็นนักศึกษาฝึกงานที่ประเทศอิสราเอล คุณเบิร์ดจึงมีโอกาสได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากงานด้านการเกษตรมาไม่น้อย
สวนสวย เป็นระเบียบ จัดการง่าย :
ซึ่งคุณเบิร์ดเล่าถึงประสบการณ์ตอนที่เป็นนักศึกษาฝึกงานให้ฟังว่า เมื่อครั้งที่มีโอกาสได้ไปฝึกงานที่ประเทศอิสราเอลถือเป็นประสบการณ์ที่น่าประทับใจมากๆ เพราะตนเองได้ไปเรียนรู้วิชาด้านการเกษตรกับประเทศที่ถือว่าเป็นต้นแบบให้กับเกษตรกรทั่วโลกอย่างอิสราเอล โดยเฉพาะเรื่องของระบบการจัดการน้ำ เนื่องจากอิสราเอลเป็นประเทศเล็กๆ อยู่กลางทะเลทราย จุดเด่นของเขาจะเป็นในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำ ทั้งระบบน้ำหยด และระบบมินิสปริงเกลอร์ ก็ได้เรียนรู้จากตรงนั้นมา แล้วนำมาปรับใช้ในสวนของตนเองแล้วได้ผลดีมากๆ
“ตอนที่เราไปอยู่ที่อิสราเอล เราได้ทำงานหลายอย่างมาก โดยเราได้ไปทำแปลงปลูกพริกหวาน ก็ไปฝึกงานไปเรียนรู้ตั้งแต่กระบวนการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว แล้วเราก็ทำงานวิจัยเกี่ยวกับข้อเปรียบเทียบระหว่างการปลูกพืชแบบแถวเดี่ยว กับแถวคู่ ว่ามีความแตกต่างกันยังไง ปลูกแบบไหนได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่ากัน รวมไปถึงเรื่องของปริมาณและขนาดของผลผลิตที่ต้องเอามาเปรียบเทียบกันด้วยว่า ได้ขนาด เล็ก-กลาง-ใหญ่ แบบไหนได้ดีกว่ากัน แล้วมาเทียบเรื่องการคุ้มค่าในการลงทุนอีกด้วย สิ่งนี้ที่แตกต่างจากการทำเกษตรของไทย”
แปลงสะอาด ง่ายต่อการจัดการดูแล :
และนอกจากการให้ความสำคัญกับระบบน้ำและด้านการผลิตแล้ว ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดจากประเทศอีกข้อก็คือที่อิสราเอลจะเน้นใช้หลักวิชาการในการทำเกษตร โดยเจ้าของแปลงจะต้องผ่านการทดสอบความรู้ทางด้านการเกษตรก่อนถึงจะมาเป็นเกษตรกรได้ และยังมีนักวิชาการประจำแปลงคอยเข้ามาตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ยกตัวอย่างในสถานการณ์เกิดโรคแมลงระบาด ถ้านักวิชาการสั่งให้ถอนทิ้งทั้งแปลงก็ต้องถอนเพื่อกันการรุกรานของโรคไปที่อื่น ตรงนี้ถือว่ามีความเข้มงวดมาก
ซึ่งตนเองก็ได้นำเอาประสบการณ์ตรงนั้นมาประยุกต์ใช้ที่สวนของตนเองในด้านของระบบน้ำเข้ามาช่วย เนื่องจากพื้นที่ของสวนเป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน มีความคล้ายคลึงกับอิสราเอล โดยเลือกใช้เป็นระบบมินิสปริงเกลอร์ ที่มีการจัดการวางระบบจากการคำนวณตามหลักของวิศวะ คือการคำนวณอัตราการไหลของน้ำ คำนวณตามหัวจ่าย แล้วนำมาติดตั้งในระบบของเราเอง เพื่อให้ปริมาณน้ำเหมาะสมต่อความต้องการของพืชแต่ละชนิด
พุทราน้ำอ้อย อนาคตพืชสร้างรายได้หลัก ราคาดี เป็นที่ต้องการของตลาด :
ก่อนที่จะเข้าเรื่องวิธีการปลูกพุทราน้ำอ้อย คุณเบิร์ด บอกว่า นอกจากที่สวนจะเด่นเรื่องของการบริหารจัดการระบบน้ำแล้ว ยังมีอีกจุดเด่นที่ถือเป็นความภูมิใจคือการจัดการพื้นที่ที่เป็นมากกว่าแปลงปลูกผลไม้ เพราะมีการจัดระบบแปลงปลูกให้เป็นระเบียบสวยงาม ช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น และสามารถใช้สอยประโยชน์จากพื้นที่ได้คุ้มค่ามากขึ้น
พุทราน้ำอ้อย ลูกใหญ่ๆ ผิวสวยๆ พร้อมส่งถึงมือลูกค้าแล้ว :
โดยพุทราน้ำอ้อย เป็นสายพันธุ์มาจากไต้หวัน มีชื่อว่า “กานเจ้อจ่าว” แต่คนไทยรู้จักกันในชื่อ “พุทราน้ำอ้อย” เป็นพุทราที่มีรสชาติหวานอร่อยกว่าพันธุ์อื่นๆ ที่ปลูกในบ้านเรา ซึ่งนอกจากรสชาติที่หวานอร่อยจนติดใจแล้ว พุทราน้ำอ้อยยังมีจุดเด่นในเรื่องของผลที่ค่อนข้างใหญ่ ผลเกือบเท่าแอปเปิ้ลเขียวเลยทีเดียว ที่สำคัญยังให้ผลผลิตดกมาก
ปัจจุบันในประเทศไทยยังมีพื้นที่ปลูกไม่มาก ทำให้เกิดความสนใจทดลองนำต้นพันธุ์มาปลูกเพื่อทดลองตลาดว่าถ้าปลูกแล้วจะขายได้ดีหรือเปล่า เนื่องจากราคาของพุทราสายพันธุ์นี้ค่อนข้างสูง ที่สวนได้ทดลองปลูกบนพื้นที 1 ไร่ ผลผลิตออกมาเป็นที่น่าพอใจ และได้ผลตอบลัพธ์จากลูกค้าที่ดีมาก จึงได้ทำการขยับขยายพื้นที่ปลูกเพิ่ม เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค
วางระบบน้ำทั่วถึง :
การเตรียมดิน : ก่อนเตรียมดินที่สวนจะวางระบบผังแปลงก่อน แล้วไถเตรียมแปลง กำหนดระยะปลูก เพื่อให้ได้แถวที่ตรงกัน จากนั้นวางระบบน้ำให้เรียบร้อย ขุดหลุมปลูกกว้าง 30x30x30 เซนติเมตร นำต้นพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงหลุมปลูก โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม ปลูกในระยะห่างระหว่างต้น 5×5 เมตร หลังปลูกเสร็จรดน้ำด้วยระบบมินิสปริงเกลอร์ 3 วันครั้ง ไปจนถึงวันเก็บเกี่ยว
การบำรุงใส่ปุ๋ย : หลังปลูก 1 เดือนให้ปุ๋ยสูตร 25-7-7 ผสมกับปุ๋ยขี้วัวในครั้งแรก หลังจากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 25-7-7 อย่างเดียวเดือนละครั้ง ปริมาณตามขนาดต้น พอเริ่มออกดอกใส่ปุ๋ยสูตร 12-6-30 เพื่อเพิ่มการออกดอก ติดผลและเพิ่มรสชาติ ความหวาน เนื้อกรอบ โดยจะใส่เดือนละครั้งไปจนเก็บเกี่ยว ใช้เวลาการปลูกไม่ถึง 1 ปี เก็บเกี่ยวผลผลิตได้
“ในช่วงทำดอก ให้ติดผล หรือประมาณเดือนตุลาคม เราเริ่มทำยอดเพื่อให้ต้นแตกยอดใหม่ออกมา แล้วพอแตกตามาก็จะมีดอกมาเลย ช่วงนี้จะฉีดพ่นด้วยแคลเซียมโบรอนและธาตุอาหารเสริมทางใบพวกสาหร่ายทะเล ในอัตราส่วนสาหร่ายทะเล 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมกับแคลเซียมโบรอน 30 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้ในการฉีดพ่นเพื่อบำรุงการติดดอกออกผล ปริมาณการฉีดที่สวนจะคอยสังเกตอาการของพืชเป็นหลัก ไม่มีระยะที่ตายตัว”
ขั้นตอนการปลูกถือว่าไม่ยุ่งยาก แต่เคล็ดลับการทำให้พุทราผิวสวย สำคัญที่ขั้นตอนการห่อผล เพราะที่สวนไม่ได้ปลูกพุทราแบบกางมุ้ง โดยที่สวนจะเริ่มห่อตั้งแต่ผลขนาดเท่าหัวแม่โป้งมือ ใช้ถุงพลาสติกขนาด 6×10 ในการห่อผลเจาะรูที่ก้นถุงเพื่อไม่ให้น้ำขัง ซึ่งข้อดีของการปลูกแบบที่ไม่ได้กางมุ้ง ผลผลิตจะมีผิวที่ฉ่ำกว่า คงความกรอบได้นานกว่าการปลูกพุทรากางมุ้ง
ปริมาณผลผลิต-การตลาดเป็นที่น่าพอใจ ปลูก 1 ไร่ ทำรายได้เดือนละหมื่น :
สำหรับปริมาณผลผลิต คุณเบิร์ด บอกว่า เป็นที่น่าพอใจทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยคาดการณ์ผลผลิตปีนี้อยู่ที่ 50 กิโลกรัมต่อต้น เป็นผลผลิตเกรดเอทั้งหมด มีขนาดลูก 6-8 ลูกต่อกิโลกรัม ขายได้ในราคากิโลกรัม 150 บาท ส่วนในด้านของการตลาดหลักๆ ขายอยู่ในตัวเมืองชัยนาท ตามสถานที่ราชการ โรงพยาบาล และศาลากลางจังหวัด ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าประจำที่มีกำลังซื้อ ปลูก 1 ไร่ สร้างรายได้เดือนละหมื่น ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับการทำไร่ เพราะการทำไร่ต้องอาศัยน้ำฝน บางครั้งต้องประสบช่วงฝนแล้ง ได้ผลผลิตไม่ดีบ้าง พอมาคิดต้นทุนและกำไรแล้วเหลือรายได้ไม่ต่างกันเลย ในขณะที่ต้องทำพืชไร่ 60-70 ไร่ กับทำพืชสวน 4-5 ไร่ แต่เหลือรายได้พอๆ กัน แต่เหนื่อยน้อยกว่า ลงทุนน้อยกว่า
จัดเป็นกระเช้าของฝาก รับรองมาตรฐาน GAP :
“การทำตลาดเป็นปัญหาหลักของเกษตรกร ที่ปัญหาส่วนใหญ่คือเห็นใครปลูกแล้วดีก็ปลูกตามกัน สุดท้ายทำตลาดไม่ได้ แต่สำหรับผมมองว่าถ้าเราไม่กล้าออกไปหาตลาดเลย เราก็จะไม่รู้ถึงกลุ่มลูกค้า แรกๆ บางคนไม่อยากขายของ ขายของไม่เป็น กลัวจะขายไม่ได้ ก็เลยขายถูก พอขายไม่ได้ก็ขาดทุน เพราะเนื่องจากเราหากลุ่มลูกค้าไม่เจอ อย่างตอนแรกผมขายฝรั่งกิโลละ 20 บาท เราก็ขายได้แค่ในตลาดแถวบ้าน จนปัจจุบันผมขายฝรั่งไส้แดงของผมได้กิโลละ 100 บาท เพราะเราขยับมองลูกค้ากลุ่มใหม่ที่มีกำลังซื้อของเรา แล้วก็เริ่มใช้ประโยชน์จากโซเชียลในการประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จัก จากนั้นก็เริ่มมีกลุ่มลูกค้าเข้ามามากขึ้น และพูดกันปากต่อปากว่าผลผลิตของเราดียังไง รสชาติหวานกรอบ อร่อย ได้มาตรฐาน เขาก็จะไปบอกต่อกัน บวกกับที่ได้รับโอกาสติดต่อให้ไปร่วมงานแสดงสินค้าบ้าง ก็ถือเป็นโอกาสโฆษณาสินค้าให้สวนของเราไปในตัว” คุณเบิร์ด กล่าวทิ้งท้าย
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร. 097-462-5498 หรือติดต่อได้ที่เพจเฟซบุ๊ก : สวนลุงเบิร์ด
https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_256091
.
กลับไปข้างบน
kimzagass หาวด้า เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11667
ตอบ: 06/03/2024 7:53 am ชื่อกระทู้:
....
กลับไปข้างบน
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้ คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้ คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้ คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้ คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group