-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ย่านาง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ย่านาง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
hearse
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 08/01/2010
ตอบ: 110

ตอบตอบ: 07/08/2010 4:10 pm    ชื่อกระทู้: ย่านาง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ย่านาง

ชื่อพื้นเมือง
ภาคกลาง: เถาย่านาง, เถาหญ้านาง, เถาวัลย์เขียว, หญ้าภคินี
เชียงใหม่: จ้อยนาง, จอยนาง, ผักจอยนาง
ภาคใต้: ย่านนาง, ยานนาง, ขันยอ
สุราษฎร์ธานีี: ยาดนาง, วันยอ
ภาคอีสาน: ย่านาง
ไม่ระบุถิ่น: เครือย่านาง ปู่เจ้าเขาเขียว เถาเขียว เครือเขางาม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นไม้เถาเลื้อย เกี่ยวพันไม้อื่น เป็นเถากลมๆ ขนาดเล็ก แต่เหนียว มีสีเขียว เมื่อเถาแก่จะมีสีเข้มคล้ำ บริเวณเถามีข้อห่างๆ เถาอ่อน มีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างรียบ

ราก มีหัวใต้ดิน รากมีขนาดใหญ่

ใบ เป็นใบเดี่ยวคล้ายใบพริกไทย ออกติดกบลำต้นแบบสลับรูปร่างใบคล้ายรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบเรียว ฐานะใบมนขนาดใบยาว ๕-๑๐ ซม. กว้าง ๑-๔ ซม. ขอบใบเรียบ ผิดใบมนขนาดใบยาว ๑-๑.๕ ซม. ในภาคใต้ใบค่อนข้างเรียวยาวแหลมกว่า สีเขียวเข้ม หน้าและหลังใบเป็นมน

ดอก ออกตามซอกใบ ซอกโคนก้าน จากข้อเถาแก่เป็นช่อยาว ๒-๕ ซม. ช่อหนึ่งๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง ๓-๕ ดอก ออก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก ขนาดโตกว่าเมล็ดงาเล็กน้อย ต้นเพศผู้จะมีดอกสีน้ำตาล อับเรณูสีเหลืองอ่อน ดอกย่อยของต้นเพศผู้จะมีขนาดเล็ก ก้านช่อดอกมีขนสั้นๆ ละเอียด ปกคลุมหนาแน่น ออกดอกช่วงเดือนเมษายน

ผล รูปร่างกลมเล็กขนาดเท่าผลมะแว้ง สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองงอมแดง หรือสีแดงสด และกลายเป็นสีดำในที่สุด

เมล็ด เมล็ดแข็งรูปเกือกม้า

แหล่งที่พบ ย่านางเป็นพืชที่พบในแหล่งธรรมชาติ ป่าทั่วไปที่มีความชุ่มชื้น บริเวณป่าผสมผลัดใบ ป่าดงดิบ และป่าโปร่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งภาคอื่นก็มีกระจายทั่วไป


การปลูกและขยายพันธุ์
ย่านางเป็นพืชที่ขึ้นในดินทุกชนิด และปลูกได้ทุกฤดู ขยายพันธุ์โดยการใช้หัวใต้ดิน เถาแก่ที่ติดหัว ปักชำยอด หรือการเพาะเมล็ด เป็นไม้ที่ปลูกง่ายโดยปลูกเป็นหลุมหรือยกร่องก็ได้

ประโยชน์ทางยา
สารเคมีที่สำคัญ รากย่านางมี isoquinlone alkaloid ได้แก่ Tiliacorine, Tiliacorinine, Nortiliacorinine A, Tiliacotinine 2-N-oxde และ tiliandrine, tetraandrine, D-isochondendrine (isberberine)

การทดลองทางห้องปฏิบัติการ
จากการทดลองพบว่าสารสกัดจากรากย่านางมีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียชนิดฟัลซิพารัมในหลอดทดลอง (พร้อมจิตและคณะ, ๒๕๔๓)

ใบ รสจืดขม รับประทาน ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้ ตัวร้อน แก้ไข้รากสาด ไข้พิษ ไข้เซื่องซึม ไข้หัว ไข้กลับซ้ำ ใช้เข้ายาเขียว ทำยาพอก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง กวาดคอ แก้ไข้ฝีดาษ ไข้ดำแดงเถา

ราก รสจืดขม กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้ ปรุงยาแก้ไข้รากสาด ไข้กลับ ไข้พิษ ไข้สันนิบาต ไข้ป่าเรื้อรัง ไข้ทับระดู ไข้ผิดสำแดง ไข้เหนือ ไข้หัวจำพวกเหือดหัด สุกใส ฝีดาษ ไข้กาฬ รับประทานแก้พิษเมาเบื่อแก้เมาสุรา แก้พิษภายในให้ตกสิ้น บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้โรคหัวใจบวม ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไม่ผูก ไม่ถ่าย แก้กำเดา แก้ลม

ทั้งต้น ปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ


การใช้เป็นยาในการแพทย์พื้นบ้านล้านนา
1.แก้ไข้ ใช้รากย่านางแห้ง ๑ กำมือ (ประมาณ ๑๕ กรัม) ต้มกับน้ำ ๒ แก้วครึ่ง เคี่ยวให้เหลือ ๒ แก้ว ให้ดื่มครั้งละ ๑/๒ แก้ว ก่อนอาหาร ๓ เวลา
2.แก้ป่วง (ปวดท้องเพราะกินอาหารผิดสำแดง) ใช้รากย่านางแดงและรากมะปรางหวาน ฝนกับน้ำอุ่น แต่ไม่ถึงกับข้น ดื่มครั้งละ ๑/๒-๑ แก้วต่อครั้ง วันละ ๓-๔ ครั้ง หรือทุกๆ ๒ ชั่วโมง ถ้าไม่มีรากมะปรางหวาน ก็ใช้รากย่านางแดงอย่างเดียวก็ได้ หรือถ้าให้ดียิ่งขึ้น ใช้รากมะขามฝนรวมด้วย
3.ถอนพิษเบื่อเมาในอาหาร เช่น เห็ด กลอย ใช้รากย่านาง ต้น และใบ ๑ กำมือ ตำผสมกับข้าวสารเจ้า ๑ หยิบมือ เติมน้ำ คั้นให้ได้ ๑ แก้ว กรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่เกลือและน้ำตาลเล็กน้อยพอดื่มง่ายดื่มให้หมดทั้งแก้ว ทำให้อาเจียนออกมา จะช่วยทำให้ดีขึ้น
4.ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ใช้หัวย่านางเคี่ยวกับน้ำ ๓ ส่วน ให้เหลือ ๑ ส่วน ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว

การใช้เป็นยาพื้นบ้านในภาคอีสาน
1.ใช้ราก ต้มเป็นยาแก้อีสุกอีใส ตุ่มผื่น
2.ใช้รากย่านางผสมรากหมอน้อย ต้มแก้ไข้มาเลเรีย
3.ใช้ราก ต้มขับพิษต่างๆ



ที่มา http://morkeaw.com/yanang.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
eawbo
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 03/03/2010
ตอบ: 52

ตอบตอบ: 07/08/2010 4:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน่อไม้ต้มย่านางจิ้มน้ำพริก แค่นี้ก็อร่อย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11691

ตอบตอบ: 07/08/2010 5:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน่อไม้รวกย่านางต้มเปรอะอร่อยกว่า.....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
nokkhuntong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 26/02/2010
ตอบ: 256

ตอบตอบ: 07/08/2010 11:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ซุปหน่อไม้ อร่อยสุดๆ (ข้าวเหนียว ส้มตำ ไก่ย่างจ้า...)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์  
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11691

ตอบตอบ: 07/08/2010 11:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ซุปหน่อไม้มากๆ ระวังดั้งหัก.....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/08/2010 6:31 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
nokkhuntong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 26/02/2010
ตอบ: 256

ตอบตอบ: 08/08/2010 12:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
ปหน่อไม้มากๆ ระวังดั้งหัก.....


ดั้งหักเพราะกินข้าวเหนียวมากไป ใช่บ่ (งานนี้ขอคุณจุ๋ม goodwind ดีกว่า)
หน่อไม้ระวังเกาต์เด้อ...ลุง

ราตรีสวัสดิ์ค่ะลุง ทุกคนด้วยน่ะ...
นกขุนทอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์  
dokmai
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 18/07/2009
ตอบ: 23

ตอบตอบ: 08/08/2010 6:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขออนุญาตนะคะ นำข้อมูลมาฝากนิดนึงค่ะ สำหรับท่านทีจะลองนำใบย่านางมาคั้นกินนะคะ


มาดูวิธีการทำน้ำใบย่านางค๊ะ ที่ทำทานประจำคะ

1. นำใบย่านางที่เตรียมไว้มา เด็ด และล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า (บางท่านกลัวไม่สะอาดให้ใช้น้ำอุ่นๆ ล้างก็ได้ค่ะ)
จำนวนกี่ใบ ก็ให้ดูตามนี้นะคะ
- เด็กใช้ใบย่านาง 1-5 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว (200-600 ซีซี.)
- ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอม บาง เล็ก ทำงานไม่ทน ใช้ 5-7 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
- ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอม บาง เล็ก ทำงานทน ใช้ 7-10 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
- ผู้ใหญ่ที่รูปร่างสมส่วนถึงตัวโต ใช้ 10-20 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว

2. เมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้วใช้เมื่อขยี้กับน้ำ (ตามอัตราส่วน) ขยี้จนใบย่านางขาวเลยนะคะ (แต่การปั่นในเครื่องใช้ไฟฟ้าจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง)

3. กรองผ่านกระชอน เอาแต่น้ำดื่ม ดื่มครั้งละ 1/2-1 แก้ว วันละ 2-3 เวลา ก่อนอาหารหรือตอนท้องว่าง หรือผสมเจือจางดื่มแทนน้ำเปล่า ในอุณหภูมิห้องปกติ ควรดื่มภายใน 4 ชั่วโมง หลังจากทำน้ำใบย่านาง เพราะถ้าเกิน 4 ชั่วโมง มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่เหมาะที่จะดื่ม แต่ถ้าแช่ในน้ำแข็งหรือตู้เย็น ควรใช้ภายใน 3-5 วัน โดยให้สังเกตที่กลิ่นเหม็นเปรี้ยวเป็นหลักการ

** รดชาดจืด ทานง่าย ไม่ขม เติมน้ำตาลไปสัก 1-2 ช้อน หรือ ปั่นน้ำใบเตย จะทำให้ทานง่ายขึ้น เพราะทำให้หอมกลิ่นใบเตย แต่ที่ทำทานประจำจะเติมน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ ทำเสร็จแล้วทานเลย และถ้าได้แช่ตู้เย็นให้พอเย็นๆ จะยิ่งทานง่ายอร่อยดีค่ะ ลองทำทานดูค่ะ เมื่อหลายปีก่อน แม่จะทำให้เราทานบ่อยๆ ใช้มือขยี้ไม่ได้ใช้เครื่องปั่น ไม่ได้ใส่น้ำตาล ตอนนั้นจำได้ว่า เป็นไข้ ร้อนเนื้อร้อนตัวไปหมด ยิ่งเวลาที่เราจะเริ่มเป็นประจำเดือน ปวดเมื่อยเนื้อเมื่อยตัว เหมือนไข้ เมื่อทานน้ำใบย่านาง แล้วรู้สึกว่า อาการทุเลาลง และผลที่ตามมาก็คือ อาการปวดท้องจากการเป็นโรคกระเพาะ แต่ก่อนนอนปวดท้องช่วงตีหนึ่ง ตีสอง ตอนนี้อาการเหล่านั้นค่อยๆ หายไป (ต้องทานประจำนะค๊ะ) ลองทำทานดูค่ะ

(ดูภาพวิธีทำจะรู้ว่าทำง่าย ๆ) ในภาพอาจจะดูเลอะเทอะไปหน่อยแต่ ก็เป็นฝีมือจากเราทำเองนะคะ อิๆ
ขอเตือน ! ล้างมือให้สะอาดก่อนขยำและขยี้นะคะ









ค่ะ..ฝากตอนท้ายนิดนึงนะคะว่า สมุนไพรเนี่ย บางคนก็กินถูก บางคนก็กินไม่ถูก แบบว่า "ลางเนื้อชอบลางยา" นะคะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11691

ตอบตอบ: 08/08/2010 7:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เทคนิคการบำรุง "พืชสมุนไพร" ....

1. ไม่ปุ๋ยเคมีเด็ดขาด
2. ไม่ฮอร์โมนสังเคราะห์เด็ดขาด
3. ไม่สารเคมีฆ่าแมลงเด็ดขาด

4. ใช้มูลสัตว์เลี้ยงแบบปล่อยให้หากินตามแหล่งธรรมชาติ
5. ใช้อินทรีย์วัตถุประเภทเศษซากพืชมากๆ
6. จัดการ "น้ำ-อุณหภูมิ" ให้เหมาะสมกับธรรมชาติแท้จริงของเขา

เหตุผล :
- บำรุงให้เขาเจริญเติบโตตามธรรมชาติอย่างแท้จริง จะทำให้ได้สารอาหารหรือสารออกฤทธิ์ที่บริสุทธิ์
- การใช้สารเคมีจะทำให้มีการปนเปื้อน
- พื้นที่ปลูกที่เกี่ยวเนื่องกับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางก็มีผลต่อการเจริญเติบโต ซึ่งการเจริญเติบโตนี้จะส่งผลกระทบไปถึงสรรพคุณหรือสารออกฤทธิ์


ลุงคิมครับผม
ปล.
ซินแสเคยบอกว่า กินยาสมุนไพรพื้นบ้านให้ระวัง...
- อย่ากินตัวเดียวซ้ำนานๆ แต่ให้กิน 4 วัน เว้น 3 วัน
- กินหลายๆตัวสลับกันแต่ละวัน
- ธาตุในเรือนกายก็มีผลต่อสรรพคุณของตัวยาด้วย
- พืชทุกชนิดในโลกนี้ คือ สมุนไพร
- (ตัวอย่าง....) สะเดาทั้งห้าทั้งหก (เจ็ดแปดเก้าด้วยก็ได้) หมายถึง ยอด-ดอก-ใบ-ผล-ต้น-ราก ทุกส่วนใช้ทำยาได้ทั้งน้านนนน


**** โรคคน โรคพืช โรคสัตว์ มีสมุฐานตัวเดียวกัน เพราะฉนั้นใช้สมุนไพรป้องกันและกำจัดได้เหมียนนนน กัน********
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 08/08/2010 7:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
เทคนิคการบำรุง "พืชสมุนไพร" ....

ฯลฯ

**** โรคคน โรคพืช โรคสัตว์ มีสมุฐานตัวเดียวกัน เพราะฉนั้นใช้สมุนไพรป้องกันและกำจัดได้เหมียนนนน กัน********


ขอบคุณครับลุง
วันนี้ว่าจะลง พลูคาว เพิ่มให้แม่สักหน่อยครับ
คนแก่ อายุ ๘๐ เป็นมะเร็ง ไม่ให้เคมี แต่แกกิน พลูคาว ครับ
ไปเจาะเลือดมา หมอบอก เลือดดีขึ้นน่ะ งงเลยครับ

ต้องปลูกในแนวทางของลุงครับ เอายังงั้น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์  
nokkhuntong
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 26/02/2010
ตอบ: 256

ตอบตอบ: 08/08/2010 8:38 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
- พืชทุกชนิดในโลกนี้ คือ สมุนไพร

ในกาลสมัยของพระพุทธเจ้า หมอชีวกโกมารภัจน์ขณะที่ยังเรียนวิชาแพทย์ อาจารย์ผู้สอนของท่าน ทดสอบท่านว่าศึกษาผ่านหรือไม่ ด้วยการให้ท่านออกไปหาว่า มีพืชใดที่ไม่ใช่ยา พบแล้วให้นำกลับมาให้อาจารย์ดู ผลปรากฎว่า ท่านกลับมามือเปล่า และบอกอาจารย์ว่า ข้าพเจ้าไม่สามารถหาพืชที่ไม่ใช่ยาได้เลย อาจารย์บอก ".... ถูกต้องแล้ว พืชทุกชนิด สามารถเป็นยาได้ทั้งสิ้น ..เจ้าศึกษาวิชาแพทย์จบแล้ว(กลับบ้านได้)...."

สวนสมุนไพร เป็นอีกหนึ่งอย่างที่น่าปลูก

สวัสดีค่ะ..คุณdokmai
ขอบคุณสำหรับข้อมูลจ๊ะ ย่านางมีประโยขน์ และมีฤทธิ์เย็น
วิธีกินน้ำใบย่านางของนกขุนทองคือเดินผ่านต้น ล้าง เด็ด เคี้ยว กินน้ำตาม คายกากทิ้ง (วิธีของคนขี้เกียจแฮ่ะ..แฮ่ะ Laughing )
กินแบบคนโบราณดีที่สุด แต่ยุคสมัยนี้เรากินอาหารสำเร็จรูปไม่ได้ทำกับข้าวเอง วิถีชีวิตเปลี่ยนไป การกินก็เปลี่ยนตามไปด้วย ว่าไหม

นกขุนทอง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์  
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11691

ตอบตอบ: 08/08/2010 12:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกพืชสมุนไพร

การที่พืชสมุนไพรจะเจริญเติบโตแข็งแรงได้ดีนั้น หาได้ขึ้นอยู่กับการให้น้ำและให้ปุ๋ยอย่างเพียงพอเท่านั้นไม่แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชสมุนไพรอยู่อีกหลายประการ ที่ผู้ปลูกเลี้ยงควรจะรู้และทำความเข้าใจเอาไว้

สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกพืชสมุนไพรมีอยู่ด้วยกันหลายประการดังนี้
ดิน
แสงสว่าง
น้ำ และความชื้น
อุณหภูมิ
ธาตุอาหาร
อากาศ

ดิน
ดิน คือสิ่งที่พืชใช้ยึดเกาะเพื่อการทรงตัวและใช้รากชอนไชหาอาหาร จึงถือได้ว่าดินนั้นคือแหล่งอาหารของพืช เพราะว่าในดินนั้นประกอบด้วยธาตุอาหารต่าง ๆ มากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับวัตถุต้นกำเนิดดินดินที่มีความเหมาะสมในการปลูกพืชจะต้องเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง คือจะต้องมีธาตุอาหารที่พืชต้องการอยู่อย่างครบถ้วนหรือเกือบจะครบ แต่ในยุคปัจจุบันนี้ เราจะหาดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าวจากธรรมชาติได้ยากมาก จึงต้องอาศัยการปรุงแต่งจากภายนอกโดยการเพิ่มธาตุอาหารหรืออินทรีย์วัตถุต่างๆลงไป เพื่อปรับสภาพโครงสร้างของดิน ให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชและการเจริญเติบโตของพืชดินที่เราพบเห็นกันโดยทั่วไปมีอยู่ 3 ประเภท คือ ดินร่วน ดินทราย และดินเหนียว ในบรรดาดินทั้ง 3 ประเภทนี้ ดินร่วนถือได้ว่าเป็นดินที่มีความเหมาะสมในการปลูกพืชมากที่สุดเพราะสามารถเก็บความชื้น ระบายน้ำและระบายอากาศได้เป็นอย่างดี ดินทรายเป็นดินที่มีเม็ดดินใหญ่ อุ้มน้ำได้น้อย ไม่พอกับความต้องการของพืช ส่วนดินเหนียวนั้นเป็นดินที่มีขนาดของเม็ดดินเล็กมากจนละเอียดก็ว่าได้ ซึ่งเมื่อได้รับความชื้นเข้าไปจะจับตัวกันแน่นอุ้มน้ำได้ดี แต่ไม่สามารถจะถ่ายเทได้สะดวก

ถึงอย่างไรก็ตามทั้งดินทรายและดินเหนียวต่างก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย การที่จะนำมาใช้ประโยชน์นั้นจะต้องพิจารณาถึงชนิด ความต้องการและประเภทของพืชเป็นหลักด้วย

ดินที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช ควรจะมีส่วนประกอบโดยปริมาตรดังนี้
1. แร่ธาตุ .......... 45 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร
2. อินทรีย์วัตถุ ..... 5 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร
3. น้ำ .............. 25 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร
4. อากาศ ......... 25 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร

รวม 100 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร แร่ธาตุ และอินทรีย์วัตถุซึ่งเป็นส่วนที่เป็นของแข็งรวมกันเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาตรของดินทั้งหมด ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นน้ำ และอากาศซึ่งจะบรรจุอยู่ในช่องว่าง ระหว่างเม็ดดิน น้ำและอากาศในดินมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เพราะบรรจุอยู่ในช่องว่างระหว่าง เม็ดดินอันเดียวกัน เมื่อมีน้ำมาก น้ำจะไล่ที่อากาศ ทำให้อากาศน้อยและเมื่อมีน้ำน้อยอากาศก็จะเข้ามา แทนที่น้ำที่หายไป

แสงสว่าง
แสงเป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสง และเป็นพลังงานที่พืชใช้ปรุงอาหาร แสงสว่างที่ส่องมายังใบของพืชจะต้องมีปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการของพืชแต่ละชนิด เนื่องจากพืชแต่ละชนิดต้องการปริมาณแสงที่แตกต่างกัน จำต้องดูแลให้เหมาะสม มิฉะนั้นพืชจะปรุงอาหารไม่เต็มที่หรือมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติเช่น ต้นแคระแกร็น ไม่ออกดอกหรือผล เป็นต้น

นอกจากที่กล่าวแล้ว แสงยังเป็นภาวะที่จำเป็นในการงอกของเมล็ดพืช เมื่อพืชออกต้นอ่อนแล้ว พืชจะต้องการแสงเพิ่มขึ้น เพราะแสงสว่างจากดวงอาทิตย์เป็นพลังงานที่จะทำให้พืชเจริญเติบโต

ประโยชน์ของแสงสว่างที่มีต่อพืชมีดังนี้
เป็นพลังงานที่พืชใช้ในการปรุงอาหาร แสงสว่างที่ส่องลงมาจะต้องมีปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการของพืชแต่ละชนิดเพราะพืชต่าง ๆใช้แสงสว่างไม่เท่ากันแสงน้อยเกินไปพืชจะปรุงอาหาร ไม่ได้ ดังนั้นในการดูแลรักษาต้นไม้ จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งให้แสงสว่างส่องลงให้ทั่วถึงทั้งต้น เพื่อให้ใบทุกใบทำหน้าที่ปรุงอาหารได้เต็มที
เกี่ยวกับการงอกของเมล็ดพืช เพราะแสงแดดมีแสงอินฟราเรด เป็นแสงที่ช่วยให้พืชงอกงามเร็ว นอกจากจะเกี่ยวกับการงอกงามของเมล็ดแล้ว แสงสว่างยังช่วยให้ลำต้นเจริญรวดเร็วด้วย จะเห็นได้จากต้นไม้มักจะเอนเข้าหาแสงสว่างอยู่เมอ ด้านที่ถูกแสงสว่างมากมักจะเจริญรวดเร็วกว่าด้านที่ไม่ถูกแสงสว่าง

เกี่ยวกับสรีระภายใน พืชบางชนิดจะออกดอกในเมื่อได้รับแสงสว่างเพียงพอ แสงมากเกินไปหรือน้อยเกินไปพืชก็จะไม่ออกดอก ผู้ปลูกจะต้องทราบว่าพืชสมุนไพรแต่ละชนิด ต้องการแสงสว่างมากหรือน้อยเพียงใด ถ้าแสงแดดมากเกินไปใบก็จะไหม้ ใบก็ไม่สามารถจะทำหน้าที่ปรุงอาหารได้ เมื่อปรุงอาหารไม่ได้พืชสมุนไพรที่ปลูกก็จะชะงักการเจริญเติบโต และในทางตรงกันข้าม ถ้านำพืช สมุนไพรที่ชอบอยู่กลางแจ้งไปปลูกในร่มที่ไม่ได้รับแสง พืชก็จะไม่เจริญเติบโตเพราะไม่มีแสงแดดสำหรับช่วยเป็นพลังงานในการสังเคราะห์แสง
น้ำและความชื้น

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะต้องมีน้ำเป็นส่วนประกอบของร่างกายด้วยกันทั้งนั้น พืชก็เช่นกัน เพราะพืชมีความจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำในขบวนการสังเคราะห์แสงและหล่อเลี้ยงเซลล์และยังเป็นตัวละลายแร่ธาตุต่าง ๆ ก่อนที่จะลำเลียงเข้าสู่ต้นพืชอีกด้วย พืชทุกชนิดจะต้องการน้ำในปริมาณที่ต่างกัน และความต้องการน้ำของพืชย่อมขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของพืช ถิ่นกำเนิดของพืชบางครั้งก็สามารถที่จะบอกได้ถึงความต้องการน้ำของพืชนั้น ๆ เช่นพืชที่เกิดอยู่ในแถบที่มีความแห้งแล้งย่อมจะต้องการปริมาณน้ำน้อยกว่าพืชที่เคยอยู่ในที่ ๆ ชุ่มชื้นมาก่อน พืชบางชนิดต้องการความชื้นสูง เช่น กระวาน กานพลู เป็นต้น สำหรับความชื้นในอากาศนั้นถือว่าเป็นปัจจัยทางอ้อม ที่มีผลต่อปริมาณความต้องการ น้ำของพืชคือถ้าความชื้นในอากาศมีมาก พืชก็จะคายน้ำน้อยลง ทำให้พืชสามารถคงความสดชื่นอยู่ได้ แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ความชื้นในอากาศลดลง พืชก็จะคายน้ำมากขึ้นและนั่นก็แน่นอนว่าพืชจะต้องการน้ำ เพื่อมาชดเชยปริมาณน้ำที่สูญเสียไปมากขึ้นเช่นกัน

อุณหภูมิ
อุณหภูมิ คือความร้อนเย็นของอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญ เติบโตของพืช จะเห็นได้ว่าอุณหภูมิหรือความร้อนในอากาศยิ่งสูงขึ้นมากเท่าไร พืชก็จะคายน้ำมากขึ้น เท่านั้น รวมไปถึงการระเหยของน้ำที่อยู่รอบ ๆ บริเวณต้นพืชด้วย ในทางตรงกันข้ามถ้าอุณหภูมิต่ำการคายน้ำของพืชก็จะน้อยลงไปด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชคืออุณหภูมิที่อยู่ในช่วง 15-40o C ดังนั้น การที่จะนำพืชสมุนไพรมาปลูกนั้น ผู้ปลูกเลี้ยงจะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่พืชเหล่านั้นต้องการด้วย

ความสำคัญของอุณหภูมิ
อุณหภูมิมีความสำคัญต่อพืชสมุนไพรดังนี้
การเจริญเติบโต
การเกิดตาดอก
การสังเคราะห์แสง
การหายใจ
การคายน้ำ
การขยายพันธุ์

ดังนั้น อุณหภูมิมีบทบาทต่อกระบวนการต่าง ๆ ทางด้านสรีระวิทยา และกระบวนการทางชีวเคมีของพืชสมุนไพรทุกชนิด

ธาตุอาหารพืช
ธาตุอาหารพืช หมายถึง แร่ธาตุที่พืชจำเป็นต้องใช้ในการสร้างความเจริญเติบโตและให้ผลผลิตถ้าพืชได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอก็จะชะงักการเจริญเติบโต หรือแคระแกร็น

ธาตุอาหารพืชที่พืชต้องการ มีทั้งหมด 16 ธาตุ ได้แก่
ชื่อธาตุ สัญญลักษณ์ ชื่อธาตุ สัญญลักษณ์
1. คาร์บอน C ...................... 9. กำมะถัน S
2. ไฮโดรเจน H .................... 10. แมงกานีส Mn
3. ออกซิเจน O .................... 11. โบรอน B
4. ไนโตรเจน N .................... 12. ทองแดง Cu
5. ฟอสฟอรัส P .................... 13. สังกะสี Zn
6. พอแทสเซียม K ................. 14. เหล็ก Fe
7. แคลเซี่ยม Ca ................... 15. โมลิบดินัม Mo
8. แมกนีเซียม Mg ................. 16. คลอรีน Cl

ประเภทของธาตุอาหารพืช
ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จัดแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. ธาตุอาหารหลัก
ธาตุอาหารหลัก เป็นธาตุอาหารที่พืชใช้ในการสร้างความเจริญเติบโต และให้ผลผลิตพืชต้องการในปริมาณมากขาดไม่ได้ ปกติมีอยู่แล้วในดิน ได้แก่ ธาตุไนโตรเจน (N) ธาตุฟอสฟอรัส (P) และธาตุพอแทสเซียม (K) แต่เนื่องจากพื้นที่เกษตรทั่ว ๆ ไป มักจะเกิดการชะล้างธาตุไนโตรเจน (N) และ ธาตุพอแทสเซียม (K) ออกไปหมด จึงทำให้ธาตุอาหารหลักมีไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ของพืช จำเป็นต้องเติมธาตุอาหาร N-P-K ลงไปในดินในรูปของปุ๋ยชนิดต่าง ๆ ธาตุอาหารหลักทั้ง 3 ธาตุ มีหน้าที่และความสำคัญต่อพืชดังนี้

ความสำคัญของธาตุอาหารหลักที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืช

ชื่อธาตุอาหาร หน้าที่และความสำคัญต่อพืช อาการของพืชที่ขาดธาตุอาหาร
ไนโตรเจน (N)
เป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นความเจริญเติบโตของใบและลำต้น
ทำให้ใบมีสีเขียวเข้ม
ทำให้พืชตั้งตัวเร็วในระยะเริ่มปลูก
เพิ่มปริมาณโปรตีนแก่พืช
ช่วยให้พืชสมุนไพรที่ใช้ใบและ ลำต้นมีคุณภาพดีขึ้น
ใบซีด ใบเหลืองผิดปกติ โดยใบล่างจะเหลืองก่อน
ใบแห้งหลุดร่วง
ลำต้นผอมสูง กิ่งก้านลีบเล็ก
พืชโตช้ามาก ให้ผลผลิตต่ำ คุณภาพเลว

ฟอสฟอรัส (P)
ช่วยในการออกดอก และสร้างเมล็ด พืช
ช่วยให้รากฝอยรากแขนงเจริญเติบ โตเร็วในระยะเริ่มปลูก
ช่วยเร่งให้พืชแก่เร็ว ลำต้นแข็งแรง
ดอกและผลแคระแกร็น พืชบางชนิดอาจมีลำต้น หรือเถาบิด ต้นแคระแกร็น
พืชพวกธัญพืชจะล้มง่าย
ขอบใบของพืชบางชนิดเป็นสีม่วงเช่นข้าวโพด
ต้นเตี้ย ออกดอกช้า

พอแทสเซียม (K)
ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต ของราก หัว
ช่วยให้ผลไม้มีรสชาติดีขึ้น
ทำให้พืชมีความต้านทานโรค ทนแล้งได้ดี
สร้างคาร์โบไฮเดรตแก่พืช เพิ่มปริมาณแป้งในพืชกินหัว
ขอบใบเหลือง แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ปลายใบไหม้เหี่ยวแห้ง
พืชที่ให้หัว จะมีแป้งน้อย มีน้ำมาก เนื้อฟ่าม
พืชให้ฝัก จะมีเมล็ดไม่เต็มฝัก
เมล็ดพืชจะลีบ มีน้ำหนักเบาผิดปกติ

2. ธาตุอาหารรอง
ธาตุอาหารรอง เป็นธาตุที่พืชมีความจำเป็นต้องใช้ในปริมาณมาก รองลงไปจากธาตุอาหาร หลัก เป็นส่วนประกอบของเซลล์พืชของคลอโรฟิลล์ (ส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช) และโปรตีนในพืช ปกติในการใส่ปุ๋ยพวกธาตุอาหารหลักมักมีธาตุอาหารรองติดมาด้วย ส่วนในดินก็พบว่ามีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของพืช ได้แก่ ธาตุแมกนีเซียม (Mg) แคลเซียม (Ca) และกำมะถัน (S)

3. ธาตุอาหารเสริม มี 7 ธาตุ
ธาตุอาหารเสริม เป็นธาตุที่พืชจำเป็นต้องใช้ในขบวนการสร้างความเจริญเติบโต พืชต้อง การในปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับธาตุอื่น ๆ แต่จะขาดเสียมิได้ เปรียบได้กับวิตามินและเกลือแร่ที่ร่างกายมนุษย์ต้องการ ธาตุอาหารเสริม มี 7 ธาตุ คือ เหล็ก ( Fe) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) โบรอน (B) แมงกานีส (Mn) คลอรีน (Cl) และโมลิบดินัม (Mo) ซึ่งพบว่าดินที่มีอินทรียวัตถุโดยทั่ว ๆ ไป หรือดินป่าเบิกใหม่มักจะมีธาตุอาหารเสริมอยู่อย่างเพียงพอต่อความต้องการของพืช

ส่วนธาตุอาหารอีก 3 ธาตุ ได้แก่ คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน(H) ออกซิเจน(O) พืชได้รับอย่างเพียงพออยู่แล้วจากน้ำ และอากาศ โดยธาตุคาร์บอน (C) ส่วนใหญ่พืชดูดไปใช้ทางใบในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ดินชนิดต่าง ๆ ย่อมมีส่วนประกอบและปริมาณของแร่ธาตุต่าง ๆ เหล่านี้ไม่เหมือนกัน บางแห่งก็มีธาตุต่าง ๆ อุดมสมบูรณ์ แต่บางแห่งก็มีน้อยและขาดธาตุใดธาตุหนึ่ง และ พืชจะขาดธาตุใดธาตุหนึ่งนั้น หรือทั้ง 16 ธาตุนี้ไม่ได้ ดังนั้นเมื่อในดินมีปริมาณธาตุต่าง ๆ ไม่พอเพียงต่อความเจริญเติบโตของพืช ก็จะต้องหาทางเพิ่มเติมอาหารของมันทางใดทางหนึ่ง ทางใดที่จะเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินหรือแก่พืชนี้เรียกว่า การใส่ปุ๋ยบำรุงดิน

ธาตุอาหารหรือปุ๋ยที่เราเติมลงไปในดินให้กับพืชนั้น มีอยู่ 2 ชนิดคือ

ปุ๋ยอินทรีย์ คือปุ๋ยที่เกิดจากซากพืชและซากสัตว์ ได้แก่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและปุ๋ยเทศบาล เป็น ต้น

ปุ๋ยอนินทรีย์ คือปุ๋ยที่เกิดจากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ได้แก่ปุ๋ยยูเรีย แอมโมเนียมซัล เฟต หรือร็อคฟอสเฟต ปุ๋ยพวกนี้มีทั้งเป็นปุ๋ยเดี่ยวและปุ๋ยรวมส่วนมากจะเรียกกันเป็นสูตร เช่น 46-0-0 หรือ 15-15-15 เป็นต้น

ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกนั้น นิยมใช้กับดินที่จะปลูกหรือรองก้นหลุมเพื่อให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์และร่วนซุย อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินให้ดีอีกด้วย แต่การให้ผลตอบสนองจะช้ากว่าปุ๋ยเคมีซึ่งปุ๋ยเคมีนั้นจะให้ผลตอบสนองรวดเร็วทันใจ แต่ผลเสียก็คือว่าดินจะจับตัวกันแน่นและโครงสร้างของดินก็จะเสียไปด้วยถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียแก่พืชสมุนไพร ในการใช้ปุ๋ยนั้นควรจะพิจารณาและเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของต้นไม้และดินด้วย

อากาศ
อากาศ ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งในอากาศมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจน ที่จำเป็นในการสร้างอาหารและการหายใจของพืชโดยพืชจะหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปทางใบ เพื่อใช้ในขบวนการต่าง ๆ การหายใจของพืชไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่ใบเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นที่รากอีกด้วย เราจะพบอยู่บ่อย ๆ ว่าพืชที่รากแช่อยู่ในน้ำนาน ๆ นั้นจะเหี่ยวเฉาและตายในที่สุด สาเหตุเพราะน้ำเข้าไปแทรกอยู่ในดินจนหมด ทำให้ไม่มีช่องว่างที่อากาศจะไหลเวียนเข้ามาได้ ดังนั้นในการปลูกพืชสมุนไพร ผู้ปลูกจะต้องมีการเตรียมดินให้ดี คือดินจะต้องมีความร่วนซุยพอ เพื่อให้อากาศในดินถ่ายเท ได้สะดวก.

www.angelfire.com/ri2/rangsan/env_fit.html -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
thumsiri
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 13/07/2009
ตอบ: 71

ตอบตอบ: 09/08/2010 10:15 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การแปรรูปหน่อไม้ด้วยการต้มกับใบย่านาง



เคล็ด(ไม่)ลับในการต้มหน่อไม้ สูตรที่ผมทำกินประจำคือ
นำหน่อไม้ไปต้มกับน้ำเปล่า จากนั้นเทน้ำทิ้งหนึ่งน้ำ
แล้วน้ำสองก็นำมาต้มกับน้ำที่คั้นจากใบย่านางกัข้าวสาร
นำข้าวสาร(ข้าวเหนียวหรือข้าวจ้าวก็ได้)มาแช่น้ำไว้สักสิบนาที
แล้วเอาข้าวสารนั้นขึ้นมาตำ ๆ กับใบย่านางให้ละเอียด เติมน้ำแล้วแล้วกรองเอาน้ำนั้นไปต้มหน่อไม้(น้ำสอง)
ก็จะได้หน่อไม้ต้มใบย่านางที่หอมน่ารับประทาน...
กินกับน้ำพริกอร่อย ๆ น้ำต้มใบย่านางที่เข้มข้มนั้นก็ซดกินได้ อร่อยดีครับ...

พ่อค้าเจ้านี้(ตามรูปข้างบน)ต้มหน่อไม้ขายกับน้ำพริก(ไอเดียดีมาก ๆ เลย)หน้าห้างแห่งหนึ่ง
ขายดีมาก ๆ ขายถุงละยี่สิบ ๆ ถุงใหญ่สี่สิบ วันหนึ่งผมเห็นคนซื้อเยอะเลยลองซื้อมากินดู
รสชาติก็เหมือน ๆ กันครับ กับสูตรดังกล่าว...

หมายเหตุ :
- ถ้ามั่นใจว่าหน่อไม้เป็นพันธุ์หวานก็ต้มกับน้ำย่านางได้เลยน้ำเดียว โดยไม่ต้องต้มกับน้ำเปล่าทิ้งก่อน
- ถ้าใส่ข้าวสารพันธุ์จ้าวหอมมะลิ(ที่ตำกับใบย่านาง)ใส่กลิ่นจะหอมกว่านิด ๆ
- ใช้ข้าวเหนียวนึ่งสุก ทำรูปแบน ๆ นำไปย่างพอเหลือง แล้วนำมาตำ ใส่แทนข้าวสารได้ (อีสานเรียกว่า “ข้าวเบีย”)
- น้ำยานางคั้นแล้วใช้ไม่หมดก็เก็บใส่ช่องแช่แข็ง เก็บไว้ใช้ได้อีกหวายวัน...
- นำหน่อไม้ที่ยังไม่ปอกไปเผาไฟก่อน แล้วปอกเปลือกจึงนำมาต้ม สีหน่อไม้จะเหลืองและหอม Very Happy


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย thumsiri เมื่อ 17/08/2010 3:48 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
eawbo
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 03/03/2010
ตอบ: 52

ตอบตอบ: 09/08/2010 11:31 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ใกล้เที่ยงแล้วเห็นรูปน้ำพริกกับหน่อไม้ต้มย่านางน่ากินจัง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11691

ตอบตอบ: 09/08/2010 2:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

น้ำคั้นหน่อไม้สดใหม่ มี "ไซโตไคนนิน - ไคตินไคโตซาน" เอาไปบำรุงพืชขยายขนาดได้....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว  
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©