-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตสูง
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตสูง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตสูง
ไปที่หน้า 1, 2  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 16/10/2010 8:00 pm    ชื่อกระทู้: ปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตสูง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตสูง...ควรทำอย่างไร

ดร. โอภาษ บุญเส็ง
ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6

สถานการณ์ในปัจจุบัน
การผลิตหัวสดมันสำปะหลังภายในประเทศที่ผ่านมาในอดีตผลิตได้สูงสุดปีละประมาณ 20 ล้านตันจากพื้นที่ปลูกเกือบ 7 ล้านไร่ การผลิตเอทานอลจากหัวมันสำปะหลัง ทำให้เกิดกระแสการตื่นตัวทั้งภาครัฐบาลและเอกชนว่า จะไม่สามารถหาผลผลิตหัวสดมารองรับโรงงานผลิตเอทานอลได้อย่างแน่นอน จากการให้สัมภาษณ์ของนายกสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทยว่าในปี 2550 รัฐบาลได้อนุมัติให้มีการสร้างโรงงานผลิตเอทานอลไปแล้ว 49 โรง กำลังการผลิตรวมกันทั้งสิ้น 11 ล้านลิตรต่อวัน มีความต้องการผลผลิตหัวสด 15 ล้านตันต่อปี นอกจากนี้มีการนำข้าวโพดไปผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป ทำให้ความต้องการมันสำปะหลังเพื่อไปแทนข้าวโพดในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์มากขึ้น ประกอบกับสาธารณรัฐประชาชนจีนมีความต้องการมันเส้นไปผลิตเอทานอลมากเป็นพิเศษด้วย ดังนั้นตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไปความต้องการผลผลิตหัวสดเพื่อให้พอรองรับภาคอุตสาหกรรมเอทานอล แป้ง และมันเส้นจะต้องสูงกว่า 35 ล้านตันต่อปีอย่างแน่นอน ผู้เขียนในฐานะที่ทำงานวิจัยมันสำปะหลังมาเกือบ 30 ปี อดคิดเป็นห่วงในเรื่องนี้ไม่ได้ หวังว่านักวิจัยมันสำปะหลังทุกท่านคงต้องช่วยกันค้นหานวัตกรรมใหม่ๆ มาเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นโดยเฉลี่ย 5 ตันต่อไร่ เพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมดังกล่าวที่เติบโตขึ้นอย่างมโหฬารในอนาคตอันใกล้นี้ นอกจากนี้นักวิจัยต้องช่วยกันจับผิดและชี้แจงข่าวการโฆษณาชวนเชื่อนวัตกรรมการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังที่เกินความเป็นจริง ซึ่งสร้างความสับสนและความเสียหายอย่างรุนแรงให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง

การปลูกมันสำปะหลังให้ได้ 30 ตันต่อไร่ตามกระแสของปราชญ์ชาวบ้าน...ทำได้จริงหรือ
มีกระแสข่าวลือในหมู่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ว่ามีปราชญ์ชาวบ้านในเขตจังหวัดชัยภูมิ จัดอบรมเกษตรกรโครงการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ 30 ตันต่อไร่ด้วยนวัตกรรมที่คิดขึ้นมาเอง โดย เน้นหลักการใหญ่ 2 ประการ เพื่อสร้างจุดขายของปราชญ์ชาวบ้านผู้นี้ คือ เทคนิคการใช้ท่อนพันธุ์ปลูก และการใช้ปุ๋ยชีวภาพจากจุลินทรีย์ 12 ตระกูล คือ photosynthetic bacteria, yeasts, actinomysys, streptococcus, streptomysys, lactobacillus, aspergillus, bacillus, clostridium, pecdiococcus, asomonus และ sacaromicroosys ใช้เป็นหัวเชื้อในการย่อยสลายอินทรียวัตถุในกระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพ โดย วัสดุที่ใช้ผลิตปุ๋ยชีวภาพมีโดโลไมท์ มูลโค มูลไก่ไข่ มูลไก่เนื้อผสมแกลบ มูลค้างคาว และขี้เค้กหรือตะกอนดินที่ได้จากโรงงานน้ำตาล อย่างละ 500 กิโลกรัม พร้อมรำละเอียดอีก 90 กิโลกรัม ใช้เวลาหมักนาน 15 วัน จะได้ปุ๋ยชีวภาพจากจุลินทรีย์ จำนวน 3 ตัน ใช้เป็นปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

กล่าวโดยรวมในเรื่องปุ๋ยชีวภาพจากจุลินทรีย์ที่โฆษณาดังกล่าวนี้ ไม่มีอะไรเป็นพิเศษไปจากปุ๋ยชีวภาพที่แนะนำโดยกรมพัฒนาที่ดิน หรือปุ๋ยชีวภาพที่บริษัทเอกชนผลิตขึ้นมาเพื่อจำหน่าย โดย มีสารโดโลไมท์เป็นแหล่งให้ธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม และปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้เป็นกลาง ส่วนมูลโค มูลไก่ไข่ และมูลไก่เนื้อผสมแกลบเป็นแหล่งให้ไนโตรเจนและปรับโครงสร้างดินให้ร่วนขึ้น สำหรับมูลค้างคาวเป็นแหล่งให้ฟอสฟอรัสและไนโตรเจน ขี้เค้กเป็นแหล่งให้โพแทสเซียม ส่วนรำละเอียดเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรทให้กับจุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายวัสดุทั้งหมดเพื่อให้เป็นปุ๋ยชีวภาพ ดังนั้น การใช้ปุ๋ยชีวภาพดังกล่าวในอัตรา 2 ตันต่อไร่ จึงประกอบไปด้วยธาตุอาหารหลักอย่างไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ส่วนธาตุอาหารรองก็ประกอบไปด้วยแคลเซียมและแมกนีเซียม มีปูนโดโลไมด์ช่วยปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้เป็นกลาง เรียกได้ว่าปรับสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสมต่อการปลูกมันสำปะหลังซึ่งเหมือนกับกรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2 ตันต่อไร่

เทคนิคการใช้ท่อนพันธุ์ปลูก โดย สร้างจุดขายของการปลูกมันสำปะหลังให้ออกหัวแบบคอนโค แบบคอนโดสามเหลี่ยม และแบบคอนโคพวงร้อย เพื่อเรียกร้องความสนใจต่อเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังให้คิดว่าวิธีการปลูกแบบดังกล่าวเป็นเรื่องที่มหัศจรรย์ สามารถนำพาไปสู่การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ 30 ตันต่อไร่ได้ ผู้เขียนได้ศึกษารายละเอียดวิธีการปลูกทั้งสามแบบ โดย แบบที่ 1 การปลูกให้ออกหัวแบบคอนโค ใช้ท่อนพันธุ์ส่วนที่เป็นลำต้นตัดแบบโคนตรง ปกติเกษตรกรมักตัดแบบโคนเฉียง 45 องศา โดย เฉือนเอาตาข้างท่อนพันธุ์จากด้านล่างออก 7 ตา เพื่อหวังให้ได้หัวที่เกิดจากฐานรอบโคน 9 หัว และข้างลำต้นที่เฉือนเอาตาออกอีก 7 หัว เรียงเป็นชั้นคล้ายคอนโคมิเนียมในเมืองหลวง ส่วนแบบที่ 2 การปลูกให้ออกหัวแบบคอนโคสามเหลี่ยม ใช้ท่อนพันธุ์ส่วนที่เป็นลำต้นที่มีกิ่งสามง่ามแรก (primary branch) ติดอยู่ด้วยปลูก โดย เฉือนเอาตาข้างท่อนพันธุ์จากด้านล่างออก 7 ตา และเฉือนเอาตาข้างส่วนที่เป็นกิ่งออกกิ่งละ 2 ตา เพื่อหวังให้ได้หัวที่เกิดจากตาข้างกิ่งเพิ่มขึ้นอีก 6 หัว เรียงเป็นชั้นคล้ายคอนโคมิเนียมสามเหลี่ยม และแบบที่ 3 การปลูกให้ออกหัวแบบคอนโคพวงร้อย ใช้ท่อนพันธุ์คล้ายกับการปลูกแบบคอนโดสามเหลี่ยม แต่เป็นลำต้นที่มีกิ่งสามง่ามที่สอง (secondary branch) ติดอยู่ด้วยปลูก โดย มีความเชื่อว่าส่วนที่เป็นกิ่งสามง่ามที่สองอยู่ใกล้ยอด เป็นกิ่งที่อ่อนกว่ากิ่งสามง่ามแรกของลำต้นจะเจริญเติบโตได้เร็วและให้ผลผลิตดีกว่า การปลูกทั้งสามแบบใช้ท่อนปลูกยาว 40 เซนติเมตร ปลูกปักตรง โดย ให้ส่วนที่เฉือนตาออกทั้งส่วนที่อยู่ด้านข้างลำต้นและกิ่งอยู่ใต้ดิน

ในทางพฤกษศาสตร์นั้นรากฝอย (adventitious roots) ของท่อนปลูกมันสำปะหลังจะเกิดขึ้นที่เพอริไซเคิล (pericycle) อยู่บริเวณรอยแผลระหว่างเปลือกกับเนื้อไม้ของท่อนปลูก นอกจากนี้รากฝอยยังเกิดที่ตาของท่อนปลูกอีกด้วย รากฝอยที่เกิดจากรอยแผลที่โคนของท่อนปลูกมีมากกว่า 50 ราก ส่วนรากฝอยที่เกิดจากรอยแผลที่ตามีน้อยมากเมื่อเปรียบกับรอยแผลที่โคนของท่อนปลูก ดังนั้น การที่งอกฝอยจะพัฒนาเป็นหัวสะสมแป้งเป็นจำนวนมากน้อยขึ้นอยู่กับการเคลื่อนย้ายน้ำตาลและสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะความแน่นของดินที่ใช้ปลูก รากฝอยที่เกิดจากรอยแผลที่โคนท่อนปลูกจะพัฒนาเป็นหัวสะสมอาหารได้ดีกว่ารากฝอยที่เกิดจากรอยแผลที่ตา หัวที่เกิดจากรอยแผลที่ตาจะมีขนาดเล็กกว่าหัวที่เกิดจากรอยแผลที่โคนท่อนปลูกมาก และเสี่ยงที่จะเป็นหัวที่ลอยโผ่พื้นดิน เป็นหัวแคระแกรนไม่โต มีแป้งน้อย ในกรณีที่เกิดปัญหาหัวเน่ารากฝอยที่เหลือสามารถพัฒนาเป็นหัวสะสมอาหารขึ้นมาใหม่ได้อีก ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องเฉือนเอาตาข้างของลำต้นและตาข้างของกิ่งสามง่ามออกเพื่อทำให้เกิดหัวสะสมอาหารเพิ่มขึ้นมาอีก ซึ่งเป็นการยากต่อการปฏิบัติและการปลูกในสภาพไร่ที่มีความชื้นในดินเป็นปัจจัยจำกัดต่อการงอกของท่อนปลูกมันสำปะหลัง รากฝอยที่เกิดจากรอยแผลที่โคนของท่อนปลูกก็มีมากเพียงพอที่จะพัฒนาเป็นหัวสะสมอาหารได้ นอกจากนี้หัวที่เกิดจากโคนท่อนปลูกจะออกรอบโคน สะดวกต่อการเก็บเกี่ยว และหัวขาดยากเมื่อมีการขุดถอนหัวมันสำปะหลัง

การให้ผลผลิตของมันสำปะหลังนั้นขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพแวดล้อม ในแง่ของพันธุ์ควรเลือกพันธุ์ให้เหมาะกับพื้นที่ที่ปลูก ส่วนสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยหลักในการกำหนดผลผลิตของมันสำปะหลังก็คือความอุดมสมบูรณ์ของดินและความเป็นประโยชน์ของน้ำในดิน ถึงแม้ว่าดินจะมีธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองที่จำเป็นเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังแล้ว ดินต้องมีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำได้ดีด้วย มีความสามารถให้น้ำส่วนเกินในฤดูฝนซึมผ่านลงใต้ดินได้ดี เพื่อไม่ให้เกิดหัวเน่าเพราะน้ำท่วมขัง และไม่มีชั้นดินดานปิดกั้นการใช้น้ำจากใต้ดินของมันสำปะหลังในช่วงฤดูแล้ง หมายความว่า ดินต้องมีคุณสมบัติทางกายภาพเพื่อช่วยส่งเสริมให้ใช้น้ำได้ดีทั้งในฤดูฝนและแล้ง โดย ตลอดการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังจะมีช่วงชะงักการเจริญเติบโตในช่วงฤดูแล้ง ประมาณ 5 เดือน คือ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม ผลผลิตไม่เพิ่มขึ้นในช่วงนี้ ดังนั้น การส่งเสริมให้มันสำปะหลังได้ใช้น้ำในช่วงนี้ เพื่อให้มันสำปะหลังมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีผลทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

ผู้เขียนมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยมันสำปะหลังมาเกือบ 30 ปี พบว่า ข้อมูลที่ได้จากการทดลองผลผลิตมันสำปะหลังที่อายุ 12 เดือนภายใต้ประชากรหรือมีจำนวนต้น 1,600 ต้นต่อไร่หรือระยะปลูก 1x1 เมตร โดย แปลงทดลองขนาดเล็กได้ผลผลิตสูงสุด 14 ตันต่อไร่โดยคำนวณจากพื้นที่ 96 ตารางเมตร แปลงทดลองขนาดใหญ่ได้ผลผลิตสูงสุด 12 ตันต่อไร่โดยคำนวณจากพื้นที่ 1 ไร่จริง ถ้ามีการใช้แบบจำลองมันสำปะหลังโปรแกรม DSAT เพื่อคำนวณหาศักยภาพในการให้ผลผลิตของมันสำปะหลังโดยป้อนข้อมูลพันธุ์ดี การใช้ปัจจัยการผลผลิตที่เหมาะสม จัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง โปรแกรมคำนวณออกมาได้ผลผลิตสูงสุด 20 ตันต่อไร่ เมื่อช่วงปลายเดือนธันวาคม 2550 ผู้เขียนและคณะได้มีโอกาสไปติดตามแปลงสาธิตโครงการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ 30 ตันต่อไร่ โดย ทำตามวิธีการที่ปราชญ์ชาวบ้านโฆษณาไว้ ณ มูลนิธิพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ตำบลห้วยบ่ง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา สุ่มเก็บเกี่ยวขึ้นมาแล้ว ทุกคนคาดว่าผลผลิตที่อายุ 12 เดือน ไม่น่าถึง 4 ตันต่อไร่ แสดงให้เห็นว่า ผลผลิตแปรปรวนตามความอุดมสมบูรณ์ของดินและความเป็นประโยชน์ของน้ำในดินของพื้นที่นั้นเป็นหลัก ซึ่งต้องใช้เวลานานพอสมควรในการปรับปรุงดินเพื่อให้มีสมรรถนะในการให้ผลิตสูง ไม่ใช่แค่ใช้เทคนิคการปลูกแบบคอนโดและใช้ปุ๋ยจุลินทรีย์ 12 ตระกูลดังที่โฆษณาไว้ แล้วได้ผลผลิต 30 ตันต่อไร่ในทุกพื้นที่ภายในปีเดียว นี่คือ การโฆษณาชวนเชื่อที่เกินความเป็นจริง เป็นการหลอกลวงระดับชาติ สร้างความสับสน และความเสียหายอย่างรุนแรงให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง

การปลูกมันสำปะหลังให้ได้ 10 ตันต่อไร่ที่อายุ 6 เดือน เป็นการโฆษณาชวนเชื่อที่หลอกลวง...
ข่าวนี้ลงโฆษณาในทีวีและวิทยุสร้างความสับสนให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังมากพอสมควร โดย มีการสร้างจุดขายที่จะนำไปสู่เป้าหมายผลผลิต 10 ตันต่อไร่ที่อายุ 6 เดือน คือ การใช้พันธุ์อายุสั้น เทคนิคการปลูก และฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต นวัตกรรมดังกล่าวนี้ขายพร้อมท่อนพันธุ์ในราคา 5,000 บาทต่อไร่ บริษัทขอรับรองว่าสามารถทำได้ในทุกสภาพพื้นที่ ผู้เขียนได้ศึกษารายละเอียดของวิธีการดังกล่าว โดยมีการใช้พันธุ์ที่ทางบริษัทปรับปรุงขึ้นมาเองมีชื่อว่า พันธุ์ทองขาว ทองแดง และทองเหลือง โดยกล่าวอ้างว่าให้ผลผลิตสูง ในส่วนของเทคนิคการปลูก คือ การยกร่องปลูกแบบร่องปลูกผัก มีขนาดกว้าง 1.50 เมตร ความยาวของร่องไม่จำกัด ตัดท่อนพันธุ์ยาว 50 เซนติเมตร นำท่อนพันธุ์มาห่อด้วยกระสอบเปียกซึ่งชุบด้วยฮอร์โมนที่ประกอบด้วยสารไคโตซานและฮอร์โมนเร่งการเกิดของราก เมื่อรากออกเป็นปมแล้วย้ายลงปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ โดย ปลูกบริเวณริมขอบแปลงที่เตรียมไว้ ใช้ 2 ท่อนพันธุ์ ปลูกไขว้กันแบบกากบาท หรือในทำนองว่า 1 หลุมใช้ท่อนปลูก 2 ต้น แต่ปลูกไขว้กันแบบกากบาท ระยะระหว่างแถว 150 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 50-100 เซนติเมตร โดย พ่นสารฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตทางใบเดือนละ 1-2 ครั้ง กล่าวโดยรวมนวัตกรรมนี้ไม่เน้นการใช้ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารหลักเลย เมื่อศึกษาสรีรวิทยาของมันสำปะหลัง พบว่า มันสำปะหลังต้องใช้เวลา 4 เดือนในการสร้างทรงพุ่มใบให้คลุมพื้นที่เพื่อเป็นครัวสร้างแป้ง ดังนั้น จึงมีเวลาสร้างแป้งเพื่อส่งไปสะสมที่หัวแค่ 2 เดือน ผลผลิตมันสำปะหลังที่ได้จะก้าวกระโดดสูงถึง 10 ตันต่อไร่คงเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน เวลานี้ราคาหัวมันสูงทำให้เกิดกระแสการปลูกมันสำปะหลังในนาหลังเก็บเกี่ยวข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก คือ ปลูกพฤศจิกายนเก็บเกี่ยวพฤษภาคม โดย ใช้เวลา 6-7 เดือน เกษตรกรหลายรายถูกหลอกให้ซื้อนวัตกรรมนี้เพื่อไปปลูกหลังนาโดยรับประกันว่าจะได้ผลผลิต 10 ตันต่อไร่ จากการสำรวจการปลูกมันสำปะหลังในนา ให้ผลผลิตเฉลี่ย 3 ตันต่อไร่ ปริมาณแป้งในหัวสดต่ำกว่า 20 เปอร์เซ็นต์

สำหรับเรื่องของพันธุ์ที่ใช้ปลูก สันนิฐานว่าพันธุ์พวกนี้เป็นพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตรคัดทิ้งในขั้นตอนของการเปรียบเทียบพันธุ์ในไร่เกษตรกร โดย บริษัทแอบอ้างว่าเป็นพันธุ์ที่ทางบริษัทปรับปรุงขึ้นมาใหม่ ส่วนเทคนิคการปลูก โดย นำท่อนพันธุ์มาห่อด้วยกระสอบเปียกที่ชุบด้วยฮอร์โมนที่ประกอบด้วยสารไคโตซานและฮอร์โมนเร่งการเกิดของราก ซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อการเกิดการเน่าเปื่อยของท่อนปลูก เนื่องจากเกิดความร้อนจากจุลินทรีย์ในขณะที่ท่อนปลูกถูกห่อด้วยกระสอบเปียก และเสี่ยงต่อรากอาจเกิดถูกกระทบกระเทือนในขณะขนย้ายลงปลูกในแปลง ที่ถูกต้องควรแช่ท่อนพันธุ์ในสารดังกล่าวแล้วนำท่อนพันธุ์ไปปลูกก่อนที่รากจะงอก การปลูกหลุมละ 2 ต้น ปลูกแบบไขว้กากบาท โดย มีความเชื่อว่าการปลูกหลุมละสองต้นจะช่วยกันสร้างทรงพุ่มเหนือพื้นดินได้มากเพื่อทำหน้าเป็นครัวผลิตแป้งส่งมายังราก นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มจำนวนหัวสะสมแป้งเพื่อรองรับปริมาณการผลิตแป้งที่ได้จากทรงพุ่มใบ เรียกว่า ใช้ประโยชน์จากทฤษฎี sink and source มากำหนดวิธีการปลูกแบบหลุมละสองต้น แต่มองข้ามในเรื่องทฤษฎีการแข่งขันระหว่างต้นที่เรียกว่า intra-plant competition ไป การปลูกแบบหลุมละสองต้นจะมีการแข่งขันระหว่างต้นทำให้ต้นหนึ่งโตอีกต้นหนึ่งแคระแกรน ทั้งสองต้นไม่ได้ส่งเสริมซึ่งกันและกันเหมือนดังความเชื่อที่กล่าวข้างต้น ผิดกับทฤษฏีการทาบกิ่ง (grafting theory) ส่วนของท่อนพันธุ์ที่ใช้ทาบกิ่งทั้งสองส่วนจะช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกัน ตามวิธีการของมูกิบัดนักวิจัยชาวอินโดนีเซียที่เสนอในที่ประชุมทางวิชาการของสมาคมมันสำปะหลังโลกเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา โดย นำมันสำปะหลังพันธุ์ป่าเป็นส่วนยอดซึ่งให้ทรงพุ่มมากเป็นครัวผลิตแป้ง และพันธุ์ที่ให้หัวมากเป็นต้นตอไว้เก็บสะสมแป้งที่ทรงพุ่มใบผลิตส่งลงมาเก็บที่หัว

ส่วนฮอร์โมนเร่งการเกิดของรากและสารไคโตซาน ผู้เขียนขอแนะนำว่าการใช้ท่อนพันธุ์ปลูกที่ดี คือ ท่อนพันธุ์ที่อายุระหว่าง 8-12 เดือนปลูกในดินที่มีความชื้นพอเหมาะก็เพียงพอต่อการเกิดของรากแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนเร่งการเกิดของราก เนื่องจากตามปกติที่รอยแผลของโคนท่อนปลูกจะเกิดรากฝอยมากกว่า 50 รากตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สำหรับสารไคโตซานเป็นสารโพลิเมอร์ธรรมชาติประเภทแซคคาไรด์ มีโครงสร้างคล้ายกับเซลลูโลสจากพืช สกัดจากสารไคตินซึ่งเป็นองค์ประกอบอยู่ในเปลือกนอกของสัตว์พวกปู หอย กุ้ง แมลง และเชื้อรา สารธรรมชาตินี้มีลักษณะโดดเด่น คือ เป็นวัสดุชีวภาพย่อยสลายตามธรรมชาติ ปลอดภัยเมื่อใช้กับมนุษย์ และไม่เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อม โดย ไคโตซานจะซึมผ่านเข้าทางผิวใบและลำต้นพืช เป็นตัวกระตุ้นให้พืชผลิตเอ็นไซม์เพื่อป้องกันการคุกคามของโรคพืช กระตุ้นให้พืชสร้างสารลิกนินและแทนนินคล้ายแวกซ์ เพื่อป้องกันการกัดดูดกินของแมลงศัตรูพืช นอกจากนี้ ไคโตซานยังส่งเสริมการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน เช่น actiomycetes sp. แต่ลดปริมาณจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรค เช่น phythopthora sp. โดยตามธรรมชาติ พบว่า มันสำปะหลังมีศัตรูจากแมลงและโรคน้อยมาก เนื่องจากภายในตัวพืชสามารถสร้างสารพิษไซยาไนด์ได้ในทุกส่วนของอวัยวะ สำหรับในส่วนของใบและลำต้นสามารถสร้างแวกซ์ขึ้นมา เพื่อป้องกันการคายน้ำอยู่แล้วทำให้มันสำปะหลังมีลักษณะทนแล้งได้ดี ดังนั้น การใช้สารไคโตซานจึงไม่จำเป็นในมันสำปะหลัง แต่อาจจำเป็นต่อพืชชนิดอื่นที่มีโครงสร้างอ่อนแอต่อโรคและแมลงศัตรูพืช

การปลูกมันสำปะหลังเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงโดยใช้หินฝุ่นความเป็นไปได้ขนาดไหน...
ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ และบุรีรัมย์ เป็นแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญแห่งหนึ่ง มีพื้นที่ปลูกประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของทั้งประเทศ เป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้แหล่งโรงงานโม่หินในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีหินฝุ่นเป็นของเหลือใช้จากโรงงานชนิดนี้เป็นจำนวนมหาศาล จากการศึกษาพบว่าหินฝุ่นนี้ประกอบไปด้วยธาตุอาหารรองที่จำเป็นต่อพืช ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก แมงกานีส ทองแดง และสังกะสี นอกจากนี้ หินฝุ่นยังช่วยปรับสภาพเป็นกรดเป็นด่างของดินให้เป็นกลาง ช่วยทำให้ดินร่วนซุยขึ้น ในถั่วลิสงถือว่าธาตุอาหารรองอย่างแคลเซียมมีความสำคัญมากต่อการสร้างฝักและการติดเมล็ดของฝัก ส่วนใน มันสำปะหลังถือว่าธาตุอาหารหลักอย่างโพแทสเซียมมีความสำคัญมากในการสร้างแป้งและการเคลื่อนย้ายแป้งในหัว การใช้หินฝุ่นเป็นเพียงการเสริมธาตุอาหารรองที่จำเป็นให้พืช เพื่อให้พืชนั้นมีคุณภาพของผลผลิตที่ดีขึ้น การใช้หินฝุ่นในมันสำปะหลังคงเป็นแต่เพียงการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้เป็นกลางมากขึ้น ช่วยทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น การใช้หินฝุ่นต้องใส่ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์และเคมี เพราะปุ๋ยทั้งสองให้ธาตุอาหารหลักอย่างไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ข้อควรระวังเป็นพิเศษ การใส่หินฝุ่นติดต่อกันอาจทำให้ดินเกิดสภาพเกินปูนแก้ไขได้ยาก ดังนั้น การใช้หินฝุ่นในมันสำปะหลัง ผลผลิตจะขึ้นอยู่กับธาตุอาหารหลักที่ใส่ลงไปและความเป็นประโยชน์ของน้ำในดินต่อมันสำปะหลังตลอดช่วงของการเจริญเติบโตของพื้นที่นั้นเป็นหลัก

การให้น้ำมันสำปะหลังสามารถยกระดับผลผลิตให้สูงขึ้นได้อย่างแน่นอน...
ในช่วงสองปีที่ผ่านมาราคามันสำปะหลังสูงมากเป็นประวัติศาสตร์การปลูกมันสำปะหลังของประเทศไทยเนื่องจากมีการนำข้าวโพดไปผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป ดังนั้น ความต้องการมันสำปะหลังไปแทนข้าวโพดในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์จึงมีมากขึ้น ประกอบกับสาธารณรัฐประชาชนจีนต้องการมันเส้นไปผลิตเอทานอลมากเป็นพิเศษ ทำให้เกิดกระแสตื่นตัวในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่เพื่อรองรับความต้องการของตลาดโลก เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปดูการปลูกมันสำปะหลังแบบมีการให้น้ำของเกษตรกรในเขตอำเภอครบุรี หนองบุญมาก และเสิงสางของจังหวัดนครราชสีมา ถือได้ว่าแหล่งปลูกมันสำปะหลังดังกล่าวนี้ มีเทคโนโลยีการปลูกมันสำปะหลังที่ดีที่สุดในโลก ได้ศึกษารายละเอียดวิธีการปลูกมันสำปะหลังแบบมีการให้น้ำ โดย ใช้น้ำใต้ดินที่ถูกสูบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า หนึ่งบ่อมีน้ำใช้เพียงพอต่อพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 10 ไร่ โดย ให้น้ำผ่านท่อหลักพีวีซีที่มีบันไดเปิดปิดน้ำ แล้วแยกตามร่องปลูกด้วยสายยางน้ำหยด การให้น้ำใช้เวลา 3 ชั่วโมงต่อพื้นที่หนึ่งจุดโดยหมุนเวียนกันไป พื้นที่ปลูก 10 ไร่ จะใช้เวลาในการให้น้ำ 1-2 วันต่อครั้ง ตลอดอายุมันสำปะหลังจะให้น้ำ 4-8 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาวะแห้งแล้งที่เกิดขึ้น เก็บเกี่ยวที่อายุ 12-14 เดือนได้ผลผลิต 10-12 ต้นต่อไร่ เมื่อเปรียบกับผลผลิตแบบไม่ให้น้ำได้ 6 ตันต่อไร่
เมื่อศึกษาโมเดลการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง พบว่า มันสำปะหลังจะหยุดชะงักการเจริญเติบโตในช่วงฤดูแล้ง 5 เดือน คือ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม โดย จำนวนใบที่ทำหน้าที่เป็นครัวสร้างแป้งลดลง เพื่อลดการคายน้ำออกจากต้น ค่าดัชนีพื้นที่ใบที่มีประสิทธิภาพในการสร้างแป้งได้มากที่สุดเท่ากับ 4 หมายความว่า ถ้าปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ 1 ตารางเมตร มันสำปะหลังสามารถสร้างพื้นที่ใบได้ 4 ตารางเมตร ค่าดัชนีพื้นที่ใบที่สูงกว่านี้ใบจะเกิดการบังแสงกันซึ่งกันและกัน ทำให้ประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงของใบลดลง ดังนั้น ควรให้น้ำในช่วงฤดูแล้งเพื่อจะช่วยให้มันสำปะหลังมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องหรือทำให้ใบร่วงน้อยที่สุด มีผลทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่ละเดือนอย่างก้าวกระโดด ดังนั้น เมื่อวิเคราะห์โมเดลการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง การปลูกมันสำปะหลังแบบมีการให้น้ำเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด ต้องปลูกในช่วงต้นฤดูฝน คือ ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม มีการให้น้ำในช่วงสองเดือนแรกของการเจริญเติบโตตามความจำเป็นและให้น้ำเต็มที่ในช่วงฤดูแล้ง 5 เดือนตามที่กล่าวข้างต้น

จริง ๆแล้ว...การปลูกมันสำปะหลังเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงควรทำอย่างไร
ผลผลิตมันสำปะหลัง ขึ้นอยู่กับพื้นฐานการใช้ที่ดินที่ผ่านมาหรือสมรรถนะของดินเป็นหลัก ส่วนการจัดการดินและน้ำ และเทคนิคการปลูกที่ถูกต้องและเหมาะสม เป็นตัวช่วยเสริมในการยกระดับผลผลิตมันสำปะหลังให้สูงขึ้น การปรับปรุงสมรรถนะของดินที่เสื่อมโทรมแล้วต้องใช้เทคนิคและเวลาพอสมควร เพื่อให้ฟื้นกลับมามีสมรรถนะสูงเหมือนเดิม ดังนั้น การใช้ปัจจัยการผลิตอย่างเช่น ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมี ประกอบกับเทคนิคการปลูก ไม่สามารถยกระดับผลผลิตให้สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดในทันทีทันใดได้เหมือนกันในทุกชนิดของดิน ซึ่งต้อง ขึ้นอยู่กับความเป็นประโยชน์ของน้ำในดินตลอดช่วงของการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังในพื้นที่นั้นเป็นหลัก ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

การปรับปรุงสมรรถนะของดินให้เหมาะสมต่อการผลิตมันสำปะหลัง หลักสำคัญก็คือการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินเป็นการสร้างให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดี และการเพิ่มธาตุอาหารหลักให้กับดิน ได้แก่ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์หรือเปลือกมันจากโรงงานแป้งหรือปุ๋ยพืชสดจากปอเทืองและถั่วพร้าปลูกแล้วไถกลบ ในกรณีที่ดินถูกใช้งานมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดชั้นดินดานใต้ดินจากรถแทรคเตอร์ในการเตรียมดิน ทำให้ระบายน้ำลงใต้ดินได้ยากในฤดูฝน เกิดปัญหาหัวเน่าจากน้ำท่วมขัง ในช่วงฤดูแล้งมันสำปะหลังไม่สามารถใช้น้ำใต้ดินได้ ทำให้เกิดการชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้น ควรใช้หญ้าแฝกปลูกประมาณ 1-2 ปี เพราะหญ้าแฝกมีระบบรากลึกถึง 3 เมตร สามารถทำลายชั้นดินดานได้และเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้กับดินด้วย

การเลือกฤดูปลูก
หลักสำคัญก็คือควรจัดวันปลูกเพื่อให้ช่วงอายุ 3-12 เดือนของมันสำปะหลังได้รับน้ำฝนมากที่สุด โดย พื้นฐานผลผลิตจะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนในช่วงอายุดังกล่าว โดย ในช่วงแรกระยะตั้งแต่ 1-3 เดือนหลังปลูก มันสำปะหลังต้องการน้ำน้อยเพื่อการเจริญเติบโต ดังนั้น เมื่อคำนวณแล้ว พบว่า การปลูกมันสำปะหลังแบบอาศัยน้ำฝนจะให้ผลผลิตสูงสุดเมื่อปลูกในช่วงฤดูร้อน (กุมภาพันธ์-มีนาคม) รองลงมา คือ ต้นฤดูฝน (เมษายน-พฤษภาคม) และปลายฤดูฝน (ตุลาคม-พฤศจิกายน) แต่การปลูกในช่วงฤดูร้อนและปลายฤดูฝนมีข้อจำกัดของปริมาณน้ำฝนค่อนข้างน้อย มีผลต่อการงอกของท่อนพันธุ์

การเลือกพันธุ์มันสำปะหลัง
หลักสำคัญก็คือ ดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลังโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ดินร่วนเหนียวถือได้ว่าเป็นดินดี ดินชนิดนี้สามารถนำไปปั้นเป็นลูกกระสุนได้ และดินร่วนทรายถือได้ว่าเป็นดินปานกลางถึงเลว ดินชนิดนี้ไม่สามารถนำไปปั้นเป็นลูกกระสุนได้ เนื่องจากดินแตกง่ายไม่เกาะติดกัน โดย ดินร่วนเหนียว ควรปลูกพันธุ์ระยอง 5 และระยอง 72 ส่วนดินร่วนทรายควรปลูกพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 90 ห้วยบ่ง 60 และระยอง 9 เนื่องจากทั้ง 4 พันธุ์ เมื่อนำไปปลูกในดินร่วนเหนียวจะเจริญเติบโตในส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือดินมากกว่าลงหัว หรือชาวบ้านเรียกกันว่าขึ้นต้นหรือบ้าต้นเกินไป ส่วนพันธุ์ระยอง 7 นั้นเหมาะทั้งดินร่วนเหนียวและดินร่วนทรายที่มีความชื้นของดินดีตลอดช่วงของการเจริญเติบโต แต่ไม่เหมาะกับสภาพดินที่แห้งแล้ง

การเตรียมดินให้ลึก
ที่ผ่านมาเกษตรกรไม่ให้ความสำคัญในเรื่องการเตรียมดินมากนัก หลักสำคัญก็คือ ต้องไถดะครั้งแรกให้ลึกที่สุดด้วยผาล 3 หรือ ผาล 4 เท่านั้น ควรไถดะในขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ ห้ามไถดะด้วยผาล 7 เพราะจะไถได้ไม่ลึก การไถดะให้ลึกจะเพิ่มความสามารถในการเก็บกักความชื้นของดินได้มากขึ้นและมันสำปะหลังลงหัวได้ง่าย จากนั้น ตากหน้าดินเพื่อให้วัชพืชตาย ถ้าเป็นดินร่วนเหนียวควรไถแปรครั้งที่สองเพื่อย่อยดินด้วยผาล 7 และตามด้วยการยกร่องพร้อมปลูก ส่วนดินร่วนทรายไม่จำเป็นต้องไถแปรครั้งที่สองด้วยผาล 7 สามารถยกร่องพร้อมปลูกได้เลย ในกรณีที่เกษตรกรสามารถหาปุ๋ยอินทรีย์ได้ ควรหว่านปุ๋ยอินทรีย์ก่อนไถดะ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ได้ผล คือ ปุ๋ยมูลไก่ 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ กากมันวัสดุเหลือจากโรงงานแป้ง 2 ตันต่อไร่

การปลูกที่ถูกต้อง
หลักสำคัญก็คือ ควรเลือกต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูกที่มีอายุ 10-12 เดือน จะให้ความงอกดีที่สุด โดย เลือกต้นพันธุ์ที่แข็งแรง มีตาถี่ ขนาดโตพอสมควร ต้องตัดท่อนปลูกด้วยมีดที่คม เพื่อมิให้ท่อนปลูกช้ำ ยาวไม่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตร ปลูกปักตรงให้ลึก 2 ใน 3 ของความยาวท่อนปลูก ในดินร่วนเหนียว ควรใช้ระยะแถวกว้าง 1.20 เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-1.00 เมตร และในดินร่วนทราย ควรใช้ระยะแถวแคบ 0.80 เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-0.80 เมตร เทคนิคการเฉือนตาข้างของท่อนปลูกออกเพื่อให้เกิดหัวเพิ่มขึ้นอย่ากระทำโดยเด็ดขาด เพราะ รากฝอยที่เกิดจากรอยแผลที่โคนของท่อนปลูกก็มีมากเพียงพอที่จะพัฒนาเป็นหัวสะสมอาหารได้ นอกจากนี้หัวที่เกิดจากโคนท่อนปลูกจะออกรอบโคนสะดวกต่อการเก็บเกี่ยวและหัวขาดยากเมื่อมีการขุดถอนหัวมันสำปะหลัง

การกำจัดวัชพืช
หลักสำคัญก็คือ มันสำปะหลังใช้เวลาประมาณ 3 เดือนหลังจากปลูก เพื่อสร้างพุ่มใบให้คลุมพื้นที่ระหว่างร่องทั้งหมด ดังนั้น ภายในช่วง 3 เดือนแรกถือว่าเป็นช่วงวิกฤตของมันสำปะหลัง ต้องดูแลรักษาให้มันสำปะหลังปลอดวัชพืช ถ้าปล่อยให้วัชพืชแข่งขันกับมันสำปะหลัง มันสำปะหลังจะแคระแกร็น มีผลให้ผลผลิตลดลงมาก การกำจัดวัชพืชสามารถเลือกทำแบบผสมผสาน โดย ใช้จอบถาง รถไถเดินตามแถกระหว่างร่อง ใช้สารเคมีประเภทคลุมก่อนวัชพืชงอกหรือสารเคมีฆ่าหลังวัชพืชงอก สารเคมีประเภทคลุมใช้ได้ผลเฉพาะการปลูกต้นฤดูฝนเท่านั้น สารเคมีประเภทฆ่า โดยเฉพาะ ห้ามใช้ไกลโฟเสทในขณะที่มันสำปะหลังต้นเล็กอยู่ เพราะมีผลทำให้ชะงักการเจริญเติบโต

การใส่ปุ๋ยเคมี
ควรเลือกใช้ปุ๋ยเคมีอัตราส่วน 2 : 1 : 2 ปุ๋ยเคมีที่แนะนำ คือ 15-7-18 หรือ 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดย ใส่ปุ๋ย 2 ข้างลำต้นรัศมีพุ่มใบแล้วกลบ ใส่ปุ๋ยครั้งเดียวเมื่ออายุ 1 เดือนหลังจากปลูก หลักสำคัญก็คือ ต้องใส่ปุ๋ยเคมีในขณะที่ดินมีความชื้นและต้องกลบปุ๋ยด้วย ถ้าไม่กลบปุ๋ยอาจสูญเสียปุ๋ยมากเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการเก็บเกี่ยว หลักสำคัญก็คือ ควรเลือกเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงที่เหมาะสมตั้งแต่อายุ 10-18 เดือน ควรงดเว้นการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงฝนแรก คือ ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน เนื่องจากมันสำปะหลังแตกใบอ่อน จะให้เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ

ทางเลือกใหม่ของเกษตรกรในภาวะราคาหัวมันสูง ควรจัดการเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างไร...
ในยุคที่หัวมันราคาสูงเป็นประวัติศาสตร์การปลูกมันสำปะหลังของไทย อันเนื่องมาจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมีความต้องการมันเส้นอย่างมหาศาล เพื่อไปผลิตเอทานอลและอาหารสัตว์ แรงจูงใจในราคานี้ทำให้เกษตรกรรีบเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังทั้งที่อายุยังน้อยเกินไป ทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่อายุ 18 เดือนหรือปีครึ่งที่ระดับประชากรปลูก 1,600 ต้นต่อไร่ โดย ใช้ระยะปลูก 1x1 เมตร จะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับเก็บเกี่ยวที่อายุ 12 เดือน เกษตรกรสามารถจัดการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังได้ก่อนในปีแรกที่อายุ 12 เดือน แล้วปล่อยบางส่วนไว้เก็บเกี่ยวที่อายุ 18 เดือนโดยคุณภาพของหัวยังได้มาตรฐาน จากการศึกษาคุณภาพของหัวมันสำปะหลัง พบว่า หัวมันที่อายุเกิน 18 เดือนไปแล้ว จะให้ปริมาณแป้งในหัวสดต่ำ คุณภาพของแป้งไม่ได้มาตรฐาน มีปริมาณเส้นใยสูง และหัวบางส่วนเริ่มเน่า แล้ว ดังนั้น การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังแถวเว้นแถวตามด้านยาวที่อายุ 12 เดือนหรือประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมดโดยให้มันสำปะหลังเหลืออยู่ 800 ต้น ได้ระยะปลูกใหม่ 1x2 เมตร หรือเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังแถวเว้นแถวทั้งด้านยาวและด้านกว้างที่อายุ 12 เดือนหรือประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมดโดยให้มันสำปะหลังเหลืออยู่ 400 ต้น ได้ระยะปลูกใหม่ 2x2 เมตร ดังนั้น การทำให้พื้นที่ต่อต้นเพิ่มขึ้นในช่วงหลังจากอายุ 12 เดือน เป็นการเพิ่มศักยภาพในการให้ผลผลิตของมันสำปะหลังตามหลักสรีรวิทยาของพืช นอกจากนี้ ยังไม่เสียต้นทุนในการปลูกใหม่อีก นี่คือ ทางเลือกใหม่ในการจัดการเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ได้กำไรสูงสุดอีกวิธีหนึ่ง



บรรณานุกรม
โอภาษ บุญเส็ง จิณณจาร์ หาญเศรษฐสุข เมธี คำหุ่ง และอุดม จันทะมณี. 2544-46. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงน้ำหนัก
แห้ง ชีวเคมีในหัว และเคมีฟิสิกส์ของแป้งมันสำปะหลัง : พันธุ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเกษตร. หน้า 871-943
ใน เอกสารผลงานวิจัยมันสำปะหลัง ปี 2544-46 ชุดโครงการวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการใช้
ประโยชน์มันสำปะหลัง, กองแผนงานและวิชาการ, กรมวิชาการเกษตร, กระทรวง เกษตรและสหกรณ์.
โอภาษ บุญเส็ง. 2549. เลือกพันธุ์ให้เหมาะกับพื้นที่วิธีเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง. หนังสือพิมพ์กสิกร 79(4) : 17-20


http://www.phtnet.org/webboard/viewTopic.asp?question_id=42
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 16/10/2010 9:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คนชัยภูมิ ปลูก "มันคอนโดฯ" เทคนิคง่ายๆ เพิ่มผลผลิตมัน

สถานการณ์ การผลิตมันสำปะหลังในการเพาะปลูก ปี 2549/2550 นับรวมพื้นที่โดยประมาณได้ 7.2 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 26.41 ล้านตัน ซึ่งนับได้ว่าประเทศไทยสามารถผลิตมันสำปะหลังได้เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากประเทศไนจีเรีย และบราซิล

แต่เมื่อเฉลี่ยค่าผลผลิตต่อ จำนวนไร่ที่มีอยู่นี้ เท่ากับว่าเกษตรกรมีผลผลิตต่อไร่เพียง 3 ตันเศษเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่หนีห่างคู่แข่งในเอเชียอย่างอินโดนีเซียและเวียดนามที่ สามารถปลูกมันสำปะหลังได้ดีไม่แพ้ไทยเลย

คุณทองสุข ศรีษะโคตร เกษตรกรวัย 52 ปี จากจังหวัดชัยภูมิ เป็นผู้ปลูกมันสำปะหลังรายหนึ่งที่ยอมรับว่า ตั้งแต่ปลูกมันสำปะหลังมาตลอดหลายสิบปี ตนและเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงยังไม่เคยปลูกมันสำปะหลังได้ผลผลิตมากกว่า 4 ตัน ต่อไร่ เลย

"ผมปลูกมันมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ เรียกได้ว่าผมปลูกมันมาตั้งแต่เกิดเลย เมื่อก่อนปลูกแบบซื้อปุ๋ยเคมีมาใส่ แต่เดี๋ยวนี้ค่าปุ๋ยเคมีกระสอบละพันกว่าบาท พอปุ๋ยแพงผมกับชาวบ้านก็ไม่ใส่เลย ปรากฏว่าผลผลิตมันก็พอกัน เลยปลูกแบบปล่อยไปอย่างนั้น หัวมันขึ้นได้แค่ไหนก็แค่นั้น เมื่อก่อน 2 ตัน 3 ตันอย่างไรตั้งแต่เกิด ไม่ใช้ปุ๋ยก็เหมือนกัน ไม่ได้มีผลอะไรเลย ผลผลิตได้อยู่แค่นี้ตั้งแต่ขายได้กิโลกรัมละ 50 สตางค์" คุณทองสุข เล่า

ระยะหลังคุณทองสุขจึงแบ่งพื้นที่ 15 ไร่ ปลูกพืชผลชนิดอื่นบ้าง เพื่อสร้างรายได้หลากหลาย ทั้งปลูกข้าว ปลูกข้าวโพด ปลูกผัก และแบ่งขุดสระน้ำไว้ใช้ แต่ก็ยังเน้นปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ 10 ไร่อยู่เช่นเดิม เพราะมีความคิดว่ามันสำปะหลังเป็นพืชที่ไม่ต้องดูแลมาก ทนแล้งกว่าพืชอื่นอีกหลายชนิด และตนก็คุ้นเคยกับมันจนยากจะถอนตัว ประกอบกับราคามันสำปะหลังก็เริ่มมีการปรับราคาสูงขึ้น

จนเมื่อปี 2550 คุณทองสุข ได้พบกับเทคนิคการเพิ่มผลผลิตใหม่ หลังจากเข้ารวมกลุ่มกับเพื่อนเกษตรกรเข้าเรียนรู้กับ ส.ป.ก.จังหวัดชัยภูมิ ตามโครงการเพิ่มศักยภาพมันสำปะหลังในเขตปฏิรูปที่ดิน ทำให้คุณทองสุขได้รู้ว่าสามารถเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังของตนเองได้ โดย "วิธีการสับตา" หรือที่เรียกว่า "การปลูกมันแบบคอนโดฯ"

"ปกติผมปลูก แบบใช้ท่อนพันธุ์ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ปลูกแบบเว้นห่างแต่ละต้นคืบสองคืบเหมือนกับที่ชาวบ้านปลูกกันทั่วไป ไร่หนึ่งก็ตกประมาณ 2,000-3,000 ต้น ผลผลิตรวมส่วนใหญ่ได้ประมาณ 3 ตัน แต่ปลูกแบบคอนโดฯ นี้ไม่เหมือนกัน ผมใช้ท่อนพันธุ์ยาวกว่าแล้วสับตาออก ปลูกห่างมากกว่า ไร่หนึ่งปลูกได้แค่ 1,600 ต้น แต่ปรากฏว่ามันอายุ 8 เดือน ที่ผมขุดมา ต้นเดียวหนักถึง 8 กิโลกรัม" คุณทองสุข เล่า

ขณะที่ผู้ เขียนได้พบปะพูดคุยกับคุณทองสุขนั้น เป็นช่วงเวลาที่คุณทองสุขยังไม่ได้ขุดผลผลิตออกจำหน่าย แต่เมื่อทดลองขุดดูผลงานเป็นที่น่าพอใจเช่นนี้ คุณทองสุขจึงคาดการณ์ว่าจะได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 8 ตัน ต่อไร่ อย่างแน่นอน ซึ่งเท่ากับได้ผลผลิตมากกว่าเดิมเป็นเท่าตัว

ขั้นตอนการปลูกมันคอนโดฯ
การปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ 10 ไร่ ของคุณทองสุข เขาเลือกใช้พันธุ์เกษตรศาสตร์ และพันธุ์ห้วยบง 60 ปลูกสลับแปลงกัน แต่ในการปลูกมันคอนโดฯ รุ่นแรกนี้ คุณทองสุขเลือกทดลองปลูกโดยใช้พันธุ์เกษตรศาสตร์เป็นหลัก นำร่องปลูกก่อนในพื้นที่ 2 ไร่ โดยเริ่มต้นที่การเตรียมดินเป็นขั้นแรก

การเตรียมดิน
ไถเตรียมดินก่อน 2 ครั้ง โดยไถเป็นร่องลึกประมาณ 1 ฟุต หรือ 30 เซนติเมตร จากนั้นใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพรองพื้นแล้วไถกลบ โดยใช้ปุ๋ยหมักที่เขาหมักเอง จำนวน 1 ตัน ต่อไร่ จากนั้นคุณทองสุขก็เว้นระยะเพื่อลงหลุมปลูกท่อนพันธุ์ ห่าง 1x1 เมตร แล้วใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพรองก้นหลุมอีกครั้ง หลุมละ 7 ขีด

คุณทองสุข บอกว่า ปุ๋ยหมักใช้ได้ดีกับการปรับปรุงดินในแปลงปลูกมันสำปะหลัง เพราะเท่าที่ปลูกแบบเดิมด้วยวิธีนี้มาหลายปีพบว่า เมื่อเน้นใช้ปุ๋ยหมักในการเตรียมดินและรองก้นหลุมมาหลายปี เมื่อใช้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยในระหว่างดูแลต้นอีก ยกเว้นบางครั้งที่เกิดกรณีที่ว่าเห็นใบอ่อนเริ่มเหลืองหรือแดง คุณทองสุขจึงจะใช้น้ำหมักชีวภาพฉีดเสริมเพื่อบำรุงต้น

การเตรียมท่อนพันธุ์
คุณทองสุขไม่ได้หาซื้อท่อนพันธุ์จากไหน แต่เขาคัดเลือกต้นมันสำปะหลังที่สมบูรณ์มาใช้เป็นท่อนพันธุ์เอง โดยตัดท่อนพันธุ์ให้มีความยาวประมาณ 70 เซนติเมตร นำมามัดเรียงเป็นแผงยาว 20 ลำ พาดราวไว้เพื่อให้อากาศผ่านถ่ายเท ป้องกันต้นตาย และรดน้ำสัปดาห์ละครั้ง จะช่วยรักษาต้นพันธุ์ให้เขียวสดอยู่เสมอ

การสับตา
คุณทองสุข บอกว่า การสับตาเป็นการเพิ่มจำนวนราก ช่วยเปิดทางให้เกิดหัวมันจำนวนมากขึ้น โดยใช้มีดคมสับตาออก ประมาณ 5-9 ตา ตามความเหมาะสม หัวมันจะออกตาละหัว แต่หากท่อนพันธุ์นั้นมีตาห่างกันมาก ก็ควรสับตาออกแค่ 5 ตา ก็เพียงพอ เพื่อไม่ให้หัวมันลงลึกจากหลุมปลูกมากเกินไป

คุณทองสุข แนะนำว่า หากเกษตรกรมีเวลาและต้องการบำรุงท่อนพันธุ์เพื่อให้ผลผลิตดีขึ้น ก็สามารถนำท่อนพันธุ์แช่น้ำหมักชีวภาพประมาณ 1 คืน ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนนี้ แต่ที่สำคัญก็คือ การสับตา ควรทำเมื่อแปลงปลูกพร้อม เมื่อสับตาแล้วควรลงปลูกทันที ไม่ควรทิ้งไว้ให้ตาท่อนพันธุ์แห้ง

การปลูก
เมื่อท่อนพันธุ์ที่ผ่านการสับตาพร้อมแล้ว ก็นำท่อนพันธุ์มาเสียบลงหลุมที่กลบปุ๋ยหมักไว้เรียบร้อยแล้ว โดยสังเกตให้ตาบนสุดลึกลงจากปากหลุมไม่เกิน 3 นิ้ว คุณทองสุขบอกว่าไม่ควรปักลึกจนปลายท่อนพันธุ์ชิดก้นหลุม เพราะหากหลายท่อนพันธุ์ถึงก้นหลุมซึ่งจะเป็นดินแข็งทำให้ท่อนพันธุ์ไม่ออก หัว

การดูแล
เมื่อปักท่อนพันธุ์เสร็จแล้ว ถ้าฝนไม่ตกหรือลงปลูกในช่วงแล้ง ควรรดน้ำในวันรุ่งขึ้นและควรรดน้ำสัปดาห์ละครั้ง เนื่องจากในช่วงที่มันสำปะหลังสร้างรากสร้างหัวก็คือในระยะ 4 เดือนแรกนี้ หลังจากนั้น จะปล่อยให้เทวดาเลี้ยงก็ได้ แต่คุณทองสุขแนะนำว่า อย่างไรก็ควรให้น้ำสัปดาห์ละครั้ง

ในกรณีที่ต้นเกิดใบออกมาไม่สวย ออกสีแดงหรือเหลืองผิดปกติ คุณทองสุขแก้ปัญหาโดยฉีดพ่นปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ 5-7 วัน ต่อครั้ง ฉีดในช่วงเช้าหรือเย็น และฉีดติดต่อกันนาน 3 ครั้ง โดยปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพดังกล่าวเขาหมักเองจากผลไม้สุก ได้แก่ กล้วยสุก มะละกอสุก ฟักทองแก่ กากน้ำตาล และเชื้อ พด.2 หมักไว้ประมาณ 1 เดือน จึงนำมาใช้

ข้อดี คุณทองสุขเผยถึงข้อดีของการปลูกมันแบบคอนโดฯ ว่า นอกจากสามารถเพิ่มผลผลิตได้เป็นเท่าตัวแล้ว สังเกตดูแปลงปลูกไม่ค่อยมีหญ้าขึ้นมากมาย ซึ่งอาจเกิดจากหัวมันอยู่ตื้นขึ้นและใช้ธาตุอาหารจากผิวดินด้วย อีกทั้งเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ก่อนนำส่งพ่อค้าหรือโรงงานเกษตรกรต้องสับเหง้าออกแล้วส่งไปแต่หัวมัน ซึ่งการปลูกแบบเดิมมันจะออกหัวที่ปลายท่อนพันธุ์อย่างหนาแน่น เวลาสับเหง้าออกมักจะกินเนื้อมันมาก แต่สำหรับการปลูกมันแบบคอนโดฯ หัวมันที่เกิดจากการสับตาจะออกหัวแบบเดี่ยว ทำให้ง่ายต่อการตัดหัวมันส่งพ่อค้า และได้หัวมันที่เรียวยาวชัดเจน ไม่ได้สร้างความยุ่งยากในการเก็บเกี่ยวผลผลิตเพิ่มแต่อย่างใด

ปัจจุบัน คุณทองสุข คือแกนนำกลุ่มเกษตรกรบ้านคลองไทร ตำบลนายางกลัก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ และเป็นแกนนำศูนย์ศักยภาพมันสำปะหลังในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดชัยภูมิ แต่คุณทองสุขบอกว่า ตอนนี้มีคุณทองสุขเพียงรายเดียวที่ปลูกด้วยเทคนิคการปลูกมันแบบคอนโดฯ เพราะเกษตรกรในกลุ่มมีหลายรายที่สนใจ แต่ก็ยังไม่มีใครลงมือทำเช่นตน และคาดว่าหากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ชาวบ้านก็จะเห็นว่าสามารถเพิ่มผลผลิตได้จริงแล้วพวกเขาก็จะหันมาปลูกด้วย วิธีนี้มากขึ้น (หากต้องการสอบถามรายละเอียด ติดต่อ คุณทองสุข ได้ที่ (087) 808-9436)

ส่วนคุณทองสุขเองก็มีแผนเช่าพื้นที่เพื่อปลูกมัน สำปะหลังเพิ่ม และจะปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกด้วยวิธีนี้ให้มากที่สุด แต่ก็คงเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ตามแรงกำลังที่มี

"หลังขุดขายแล้ว ผมคิดว่าจะขยายเพิ่ม ไปปลูกในพื้นที่เช่าด้วย แต่ก็คงทำเองเหมือนเดิมกับครอบครัว ไม่มีต้นทุนค่าแรงงานมาก มีแต่ค่าจ้างไถ เพราะผมไม่มีรถไถเอง แต่ไม่จ้างใครปลูก คิดว่าทำกันเองดีกว่า กลัวเขาสับตาไม่ดี ปลูกไม่ดี เลยลงแรงปลูกเองทั้งหมด ปลูกไปวันละงาน ได้สัปดาห์ละงานสองงานก็ยังดี ผลออกมาได้แค่ไหนก็เป็นของเรา" คุณทองสุข กล่าวทิ้งท้าย

ส่วนการ จำหน่ายมันสำปะหลังของเกษตรกรรายนี้ ส่งให้กับพ่อค้าท้องถิ่นเป็นหลัก โดยราคาที่พ่อค้ารับซื้อล่าสุดที่คุณทองสุขได้รับอยู่ที่กิโลกรัมละ 2.55 บาท (สัมภาษณ์ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 ) ซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจจะมีการปรับราคาสูงขึ้นอีก แต่คุณทองสุขบอกไว้ว่าตนยังไม่อยากคิดมากเรื่องราคา เพราะยังไม่แน่นอนว่าจะปรับขึ้นหรือลดลงเมื่อไหร่ อย่างไร หากได้ราคาที่กิโลกรัมละ 1.50-2.00 บาท ตนก็อยู่ได้ เพราะต้นทุนไม่มาก แต่ตอนนี้ตนสนใจเรื่องการเพิ่มผลผลิตมากกว่า

...เพราะนั่นหมายถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องอิงกับกระแสตลาดแต่อย่างใด

องค์ความรู้มันสำปะหลัง
การ เพิ่มผลผลิตต่อไร่ และลดต้นทุนการผลิต สามารถจัดการด้วยมาตรการต่างๆ เช่น การศึกษาวิจัยด้านการพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลัง การกระจายพันธุ์มันสำปะหลังดีสู่เกษตรกรอย่างทั่วถึง รวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพของดิน เทคโนโลยีการปลูกและการเก็บเกี่ยว การสร้างระบบการจัดการเพื่อคุณภาพ และระบบการตลาด ที่จะนำไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตในรูปแบบต่างๆ อย่างเพียงพอ

องค์ ความรู้มันสำปะหลังจาก ส.ป.ก. เผยถึงเทคนิคเบื้องต้นในการปลูกมันสำปะหลังสำหรับเกษตรกรว่า ควรคำนึงถึง พันธุ์ เป็นหลัก ควรใช้พันธุ์ดีที่มีการรับรองพันธุ์ เช่น พันธุ์ห้วยบง 60 เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 60 ระยอง 72 และพันธุ์ที่เหมาะแก่การผลิตเอทานอล เช่น ระยอง 7 ระยอง 9

ส่วนกระบวนการผลิตนั้นที่เหมาะสมควรปลูกใน ช่วงต้นฝน ปลายฝน ปลูกในพื้นที่ลุ่ม หากเป็นพื้นที่ลาดเอียง ควรยกร่องขวางแนวลาดเอียง แต่หากเป็นพื้นที่ราบ ดอน ไม่ต้องยกร่อง

ส่วนการเตรียมท่อนพันธุ์ ควรใช้ท่อนพันธุ์ใหม่และสด ตัดไว้ไม่เกิน 15-30 วัน จากต้นที่มีอายุ 8-12 เดือน ในการปลูก การปักท่อนพันธุ์ตั้งหรือเอียง ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ระวังและป้องกันกำจัดศัตรูมันสำปะหลังอย่างใส่ใจ

ใน การเก็บเกี่ยว ควรเก็บในช่วงอายุตั้งแต่ 8-12 เดือน โดยใช้มีดตัดเหนือพื้นดิน ประมาณ 30 เซนติเมตร ถอนโดยใช้จอบหรือเครื่องมือขุด ตัดแยกหัวออกจากเหง้า

ที่สำคัญ...ควรนำผลผลิตหัวมันสดส่งโรงงานทันที ไม่ควรเก็บไปไว้เกิน 2 วัน



http://ethanol-update.blogspot.com/2008/04/8.html
ethanol-update.blogspot.com/2008/04/8.html -


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/10/2010 9:56 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 16/10/2010 9:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)










http://gotoknow.org/blog/newwave1/239871
gotoknow.org/blog/newwave1/239871 -








"ปลูกมันคอนโด" วิธีเพิ่มผลผลิต สูงสุด15ตัน/ไร่


คมชัดลึก :ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังนอกจากจะประสบปัญหาภัยแล้งแล้ว ยังต้องประสบปัญหาเรื่องเพลี้ยแป้งระบาด ทำให้ผลผลิตตกต่ำ ล่าสุดเกษตรกรเมืองโคราช "ลุงอ่อนสี ไทยธานี" ในวัย 70 ปี แห่งหมู่ 1 อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา ที่ได้คิดค้นเทคนิคการเพาะมันสำปะหลังแบบคอนโด จนสามารถเพิ่มผลผลิตได้สูงสุดถึง 15 ตันต่อไร่ สร้างรายได้ให้ครอบครัวได้เป็นกอบเป็นกำ

ถึงแม้บุตรสาวจะเป็น “ต้องตา ยาใจ” นักร้องลูกทุ่งชื่อดังเจ้าของบทเพลง “นักร้องคั่นเวลา” แต่ลุงอ่อนสี ผู้เป็นบิดาก็ยังคงยึดอาชีพทำไร่มันสำปะหลัง บนพื้นที่เกือบ 70 ไร่ ซึ่งถือเป็นอาชีพหลักที่ตัวเองใช้เลี้ยงครอบครัวเรื่อยมา

ด้วยรักในอาชีพและอยากยกระดับการผลิตมันสำปะหลังให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ จึงกลายเป็นที่มาของความสำเร็จในการริเริ่มเพาะมันสำปะหลังคอนโด ซึ่งช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ที่จากเดิมผลิตได้ราวไร่ละ 4 ตันต่อปี มาเป็นสูงสุดถึงไร่ละ 15 ตัน จนได้รับยกย่องจากกรมส่งเสริมการเกษตร และจังหวัดนครราชสีมา ให้ได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นด้านเกษตรกรผู้คิดค้นเทคนิคการเพิ่มผลผลิต ประจำปี 2552 และเป็นเกษตรกรต้นแบบของจังหวัดปัจจุบัน

ลุงอ่อนสี อธิบายถึงวิธีการผลิตมันสำปะหลังคอนโด เริ่มจากเตรียมท่อนมันที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด ควรเลือกท่อนพันธุ์ที่มาจากต้นที่มีอายุ 8-15 เดือน แต่ท่อนพันธุ์ที่จะให้ผลดีที่สุดต้องอายุ 12 เดือน และควรเป็นพันธุ์ “ห้วยบง 60” ซึ่งจะให้ผลผลิตที่ดีกว่าพันธุ์อื่นๆ เลือกท่อนที่มีตาถี่ มีความสมบูรณ์เท่าๆ กัน แล้วมัดรวมกันมัดละ 15 ท่อน ตัดให้ยาว 25 เซนติเมตร วิธีตัดต้องให้เสมอกันทั้งหัวและท้าย ปาดตาออกจนถึงเยื่อเจริญด้านที่เป็นโคน ท่อนละ 3-5 ตา แล้วนำท่อนมันด้านที่ไม่ได้ปาดตาไปจุ่มน้ำปูนขาวเพื่อป้องกันเชื้อรา

"ด้านที่ปาดตาไว้นำไปจุ่มน้ำขี้หมู ที่ใช้ขี้หมูแห้งผสมน้ำ อัตราส่วน 15 กก.ต่อน้ำ 100 ลิตร ทิ้งไว้ 4-5 ขั่วโมง เพื่อให้น้ำขี้หมูซึมเข้าไปในไส้มันเพื่อเร่งรากเพราะขี้หมูมีฮอร์โมนช่วยเร่งการเจริญเติบโต จากนั้นนำไปปลูกลงแปลงโดยให้โคนที่ปาดตาไว้จมสู่ผิวดิน โดยการปาดปาดตาตรงลำต้นเป็นการเพิ่มพื้นที่การงอกรากของมัน ซึ่งจะเรียงตัวงอกออกมาเป็นชั้นๆ" ลุงอ่อนสี บอกว่า นั่นจึงเป็นที่มาของชื่อ “มันสำปะหลังคอนโด”

พร้อมเสริมอีกว่า การปลูกต้องระยะห่างต้นละ 1x1 เมตร เพื่อไม่ให้หัวมันแย่งอาหารกัน ให้น้ำโดยใช้ระบบน้ำหยด 3 วันครั้ง จนอายุได้ 2 สัปดาห์ก็ให้เลื่อนเป็นสัปดาห์ละครั้งจนกว่าจะเก็บเกี่ยว เมื่ออายุได้ 6 เดือน ให้ปุ๋ยทางใบด้วยใช้น้ำขี้หมูผสมน้ำกากสาโททุกๆ เดือน เพื่อกระตุ้นให้ใบสังเคราะห์อาหาร จากนั้นหมั่นดูแลกำจัดวัชพืชอย่าให้ขึ้นรก และควรเก็บเกี่ยวช่วง 10-15 เดือน เพราะช่วงนี้มันสำปะหลังจะเติบโตเต็มที่และให้คุณภาพแป้งที่สูง ขายได้ราคาดี ผลผลิตเฉลี่ยอายุ 10 เดือน จะได้ผลผลิตประมาณ 8 ตันต่อไร่ แต่หากอายุ 15 เดือน จะได้ผลผลิตสูงถึง 15 ตันต่อไร่

"ภูมิใจอย่างมากที่เป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการเกษตร และช่วยเหลือเพื่อนๆ เกษตรกร" ลุงอ่อนสี กล่าว

ด้วยคลุกคลีกับการปลูกมันมาค่อนชีวิต ลุงอ่อนสียอมรับว่าถือเป็นวิถีชีวิต เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้ครอบครัวกระทั่งปัจจุบัน ดังนั้นจึงอยากทำตรงนี้ต่อไป และพยายามต่อยอดขยายผลเพิ่มศักยภาพเพิ่มผลผลิต เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนเกษตรกร ต่อลูกหลานได้ใช้เพื่อสร้างชีวิตสร้างความสำเร็จอย่างที่ตนเองเป็นอยู่

ทว่าลุงอ่อนสี ไม่วายที่จะฝากถึงเพื่อนเกษตรกรท่านอื่นๆ ที่สนใจการปลูกมันแบบนี้ ให้สอบถามไปได้ที่ 08-0470-9104 หรือแวะไปดูงานได้ที่ศูนย์สาธิตการเกษตรของลุงที่บ้านสุขไพบูลย์ หมู่ 1 อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา ซึ่งเจ้าของศูนย์ยินดีให้ความกระจ่างแก่ทุกท่าน

"ประสิทธิ์ ตั้งประเสริฐ "

http://www.komchadluek.net/detail/20100708/65666/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%9415%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3.html

www.komchadluek.net/.../


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/10/2010 10:00 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 16/10/2010 9:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มันสำปะหลังคอนโดคืออะไร

มันสำปะหลังปัจจุบันเราผลิตหรือปลูกได้ประมาณ 10-20 ตันต่อไร่ แต่มันสำปะหลังคอนโดคือวิธีที่จะทำให้ได้ผลผลิตถึง 30 ตันต่อไร่เลยทีเดียว ไม่เกินอาทิตย์หน้าจะมาสาธยายให้ฟัง เพราะผมกำลังจะไปทำข่าว


แบบที่ 1 การปลูกให้ออกหัวแบบคอนโดฯ ใช้ท่อนพันธุ์ส่วนที่เป็นลำต้นตัดแบบโคนตรง ปกติเกษตรกรมักตัดแบบโคนเฉียง 45 องศา โดยเฉือนเอาตาข้างท่อนพันธุ์จากด้านล่างออก 7 ตา เพื่อหวังให้ได้หัวที่เกิดจากฐานรอบโคน 9 หัว และข้างลำต้นที่เฉือนเอาตาออกอีก 7 หัว เรียงเป็นชั้นคล้ายตึกคอนโดมิเนียม

แบบที่ 2 การปลูกให้ออกหัวแบบคอนโดฯ สามเหลี่ยม ใช้ท่อนพันธุ์ส่วนที่เป็นลำต้นที่มีกิ่งสามง่ามแรก (primary branch) ติดอยู่ด้วยปลูก โดยเฉือนเอาตาข้างท่อนพันธุ์จากด้านล่างออก 7 ตา และเฉือนเอาตาข้างส่วนที่เป็นกิ่งออก กิ่งละ 2 ตา เพื่อหวังให้ได้หัวที่เกิดจากตาข้างกิ่งเพิ่มขึ้นอีก 6 หัว เรียงเป็นชั้นคล้ายคอนโดมิเนียม
สามเหลี่ยม

แบบที่ 3 การปลูกให้ออกหัวแบบคอนโดฯ พวงร้อย ใช้ท่อนพันธุ์คล้ายกับการปลูกแบบคอนโดฯ สามเหลี่ยม แต่เป็นลำต้นที่มีกิ่งสามง่ามที่สอง ติดอยู่ด้วยปลูก โดยมีความเชื่อว่าส่วนที่เป็นกิ่งสามง่ามที่สองอยู่ใกล้ยอด เป็นกิ่งที่อ่อนกว่ากิ่งสามง่ามแรกของลำต้นจะเจริญเติบโตได้เร็วและให้ผลผลิตดีกว่า การปลูกทั้งสามแบบใช้ท่อนปลูกยาว 40 เซนติเมตร ปลูกปักตรง โดยให้ส่วนที่เฉือนตาออกทั้งส่วนที่อยู่ด้านข้างลำต้นและกิ่งอยู่ใต้ดิน ของท่อนปลูกมันสำปะหลังจะเกิดขึ้นที่เพอริไซเคิล อยู่บริเวณรอยแผลระหว่างเปลือกกับเนื้อไม้ของท่อนปลูก นอกจากนี้รากฝอยยังเกิดที่ตาของท่อนปลูกอีกด้วย รากฝอยที่เกิดจากรอยแผลที่โคนของท่อนปลูกมีมากกว่า 50 ราก ส่วนรากฝอยที่เกิดจากรอยแผลที่ตามีน้อยมากเมื่อเปรียบกับรอยแผลที่โคนของท่อนปลูก

นี่ที่หาข้อมูลมาน่ะครับเดี๋ยวไปดูจริงเป็นไงจะมาแถลงไขอีกที

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=542fe4062bdc805f
guru.google.co.th/guru/thread?tid=542fe4062bdc805f -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 16/10/2010 9:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




การปลูกมันสำปะหลังแบบคอนโด 30 ตัน/ไร่ ทำอย่างไร

http://www.amnuaykaset.com/article/art_477669.jpg
www.amnuaykaset.com/index.php?mo=3&art=477669 -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 16/10/2010 9:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา : http://www.amnuaykaset.com/index.php?mo=3&art=477669

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 16/10/2010 9:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)





ตลึงมันสำปะหลังสายพันธุ์ใหม่ผลิตปลูกได้ถึง 94 ตันต่อไร่?

ข้อมูลจำเพาะ
ชื่อพันธุ์ : เกล็ดมังกรจัมโบ้ (เป็นสายพันธุ์มาใหม่ โดยผสมเยื้อจากมันฯ 3 สายพันธุ์)
ลักษณะเด่น : พันธุ์ใหม่ หัวยาวใหญ่ จะได้ผลผลิตสูง เฉลี่ย อยู่ที่ 20 - 94 ตัน ต่อไร่
ขึ้นกับสภาพดิน เทคนิค และการดูแลเอาใจใส่ ตัวอย่างที่สุโขทัย ได้ผลผลิต
เฉลี่ย 94 ตัน ต่อไร่ ปลูกระบบน้ำหยด
ระยะเก็บเกี่ยว : 8 - 10 เดือน ไม่เกิน 1 ปี ปลูกระยะห่าง 1 x 1 เมตร
สภาพพื้นที่ปลูก : ดินร่วนปนทรายจะดีมาก ไม่เหมาะกับดินเหนียว ส่วนเทคนิคข้อมูล
การปลูกจะแนะนำให้ เมื่อตกลงจะปลูก เพราะต้องทราบพื้นที่ก่อน
ความมั่นใจ 100%

*** รับประกันสายพันธุ์ และเป็นที่ปรึกษา พร้อมให้ข้อมูลเทคนิคการปลูก การดูแล อย่างต่อเนื่อง

***หากต้องการปลูกเพื่อขยายพันธุ์ จะได้ประโยชน์ สูงสุด
สนใจ ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม และสั่งจองด่วน จากทางทีมงานของเราได้เลย

ติดต่อ เด 0819400198
successgrow@hotmail.co.th

http://www.thaigreet.com/product3482211.html
www.thaigreet.com/tag/มันสำปะหลัง-40173.html -


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/10/2010 10:01 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Soup
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 01/09/2010
ตอบ: 181
ที่อยู่: อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี

ตอบตอบ: 16/10/2010 10:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โอ้แม่เจ้า Shocked มันแถวบ้านผม 15 หัวถึงจะได้มันในรูปข้างบนหัวนึง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
maxnum
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 17/10/2010
ตอบ: 13

ตอบตอบ: 17/10/2010 9:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แล้วมันสำปะหลังที่ประกวดชนะที่เมืงทอง (100 กว่า ก.ก/กอ) ทำไงครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 17/10/2010 10:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พลิกที่นาแห้งแล้งปลูกมันสำปะหลังได้ผลดี

นายอำคา ทองหลอด อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 53 หมู่ 7 บ้านคำกลาง ต.โนนหนามแท่ง อ.เมืองฯ จ.อำนาจเจริญ ประธานกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังบ้านคำกลาง เปิดเผยว่า ในพื้นที่แห้งแล้งทุกปี ระยะแรกใช้พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 9 ไร่ ปลูกข้าว 11 ไร่ พอฝนแล้งผลผลิตข้าวได้ไม่มาก จึงปลูกเอาไว้บริโภคแค่ 5 ไร่ ที่เหลือปลูกมันสำปะหลังทั้งหมด ปรากฏว่าได้ผลดี จึงเช่าที่ข้างเคียงปลูกเพิ่มจนปัจ จุบันมีพื้นที่เกือบ 100 ไร่ แม้ทุกวันนี้ราคาจะตกต่ออยู่ที่ กก.ละ 1.90-2 บาท ก็พออยู่ได้

ต่อมาก็มีผู้เดินทางมาขอคำแนะนำไปปลูกในที่นาแทนข้าวจำนวนมาก จนมีการตั้งเป็นกลุ่มเกษตรกรปลูกมันสำปะหลังขึ้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2550 และได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานกลุ่ม มีสมาชิก 20 คน ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก อบต.โนนหนามแท่ง 50,000 บาท

นายอำคากล่าวว่า มันสำปะหลังเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ไม่มีน้ำท่วมขัง ต้องการธาตุอาหารประกอบด้วย ไนโตรเจน 10-20 กก./ไร่ ฟอสฟอรัส 6-10 กก./ไร่ โพแตสเซียม 8-10 กก./ไร่ มีอุณหภูมิช่วง 10-30 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 500-2,500 มิลลิลิตรต่อปี ที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์ระยอง 1 ระยะปลูก 100x100 ซม. พันธุ์ระยอง 60 ระยะปลูก 60x100 ซม. พันธุ์ระยอง 90 ระยะปลูก 80x100 ซม.

ก่อนปลูกต้องเตรียมดินโดยไถกลบและพรวนดินอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ลึก 20-30 ซม. เพื่อกลบเศษซากพืช ถ้าพื้นที่ลาดชันต้องไถพรวนตามแนวขวางเพื่อป้องกันการชะล้างของดิน ปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ถั่วพร้า 10 กก./ไร่ พออายุได้ 50 วันก็ไถกลบปล่อยให้ย่อยสลาย 15 วัน ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ผลิตจากสารเร่ง พด.5 ลิตรต่อไร่ นำมาเจือจาง 1:500 ก่อนปลูกมันสำปะหลังให้ใส่เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุระหว่างแถว 100 กก.ต่อไร่ เพื่อป้องกันโรคเน่า

ท่อนพันธุ์ควรเลือกที่สมบูรณ์อายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป ตัดเป็นท่อนยาว 15-20 ซม. นำไปแช่ในปุ๋ยอินทรีย์น้ำเจือจาง 1:500 หรือ 1:1,000 เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นปักลงดินที่เตรียมไว้ประมาณ 2/3 ของท่อนพันธุ์ ระวังอย่าปักส่วนยอดลงดิน เพราะตาจะไม่งอก ควรปักตรง 90 องศา หรือเอียง 45 องศากับพื้นดิน ซึ่งสะดวกต่อการกำจัดวัชพืช ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวและให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูกลึก 10-15 ซม.

หลังปลูกได้ 15 วันให้ปลูกถั่วพุ่มหรือถั่วพร้าโรยแทรกระหว่างแถวป้องกันวัชพืช พออายุได้ 50 วันก็ตัดแล้วนำมาคลุมดินรักษาความชื้นเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้ดิน กรณีพื้นที่ลาดชันควรปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ โดยขุดหลุมในร่องยาวตามพื้นที่ให้ต้นห่างกัน 5 ซม. แนวต่อไปก็ปลูกให้ขนานกับแนวแรก และควรตัดใบหญ้าแฝกให้อยู่ในระดับ 30-50 ซม. และปลูกซ่อมแซมให้หนาแน่นเพื่อชะลอและกระจายน้ำไหลบ่า หลังเกี่ยวมันสำปะหลังแล้วต้องรีบส่งหัวมันสดเข้าโรงงานทันที ต้นเก็บไว้ทำพันธุ์ กิ่ง ก้านใบและตอให้ไถกลบ จากการที่ขยัน อดทน ประหยัด ซื่อสัตย์ ปัจจุบันทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถส่งลูกจนจบและรับราชการครูไปแล้ว.

Facebook Twitter พิมพ์ข่าวนี้ ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ราคาขายมันสำปะหลังในประเทศ ประจำวันที่ 15 ต.ค. 53

คอลัมน์ : ฉลามเขียว :
ไม่ได้หรอกครับ ราคาขายมันสำปะหลังในประเทศ ประจำวันที่ 14 ต.ค. 53 ราคาขายมันสำปะหลังในประเทศ ประจำวันที่ 13 ต.ค. 53 ราคาขายมันสำปะหลังในประเทศ ประจำวันที่ 12 ต.ค. 53

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง เกษตรกร มันสำปะหลัง อำนาจเจริญ

http://www.ryt9.com/s/tpd/983176
www.ryt9.com/economy/.../

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mongkol
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010
ตอบ: 136

ตอบตอบ: 17/10/2010 7:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การบ้านที่ลุงฝากหาภาพต้นมันสำปะหลังในงานประชุมที่เมืองทองธานี อย่าลืมนะครับ นี่คือ "การประกวด" ไม่ใช่ผลผลิตที่ได้จากแปลงปลูกในสภาวะปรกติ

http://www.thaitapiocastarch.org/article19_th.asp
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 17/10/2010 8:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขออนุญาตพี่มงคลน่ะครับ
ที่มา : http://www.thaitapiocastarch.org/article19_th.asp




กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 17/10/2010 8:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นอกจากการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการแล้ว งานครั้งนี้ยังประกอบได้ด้วยกิจกรรมที่น่าสนใจอื่นๆ เช่น นิทรรศการ การประกวด และมอบรางวัลแก่เกษตรกรดีเด่นระดับประเทศ และการนำผู้สนใจเยี่ยมชมงานวิจัย การเพาะปลูก และการแปรรูปผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง นอกจากนั้น คณะทำงานได้จัดให้มีการประกวดหัวมันขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มสีสันให้กับงาน ซึ่งผู้ชนะการประกวดส่งต้น
มันสำปะหลังที่มีน้ำหนักหัวมันสดรวมกันมากถึง 148.3 กิโลกรัม ในต้นเดียว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 17/10/2010 9:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ฟ้องด้วยภาพ :

งานนี้คงไม่ใช่ "ต้มหมู" หรือ "หลอกคนดู" หรอกนะ อย่างน้อยดีกรีระดับ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์. พอจะประกันความเป็นของแท้ได้ ส่วนนักวิชาการอีก 2 ท่าน แม้ไม่รู้จักแต่ด้วยดีกรีระดับนี้ ความน่าเชื่อถือสูงพอสำหรับความน่าเชื่อถือ

แต่ที่แน่ๆ คือสำปะหลังกอชนะเลิศ ถ้าไม่ใช่ของแท้ 148 กก. กอที่ขนาดรองลงมาก็ต้องโวยแล้ว ว่าไหม.....อันที่จริง งานนี้มีประกาศรับสมัครประกวดสำปะหลังล่วงหน้าก่อนแล้ว ในประกาศกำหนดว่า นน.ต้องไม่น้อยกว่า 80 กก. เห็นในประกาศก็ยังนึกอยู่ว่ากำหนดสูงขนาดนี้เชียวหรือ

สำปะหลังตัวนี้เป็นสำปะหลังที่เขาสร้างขึ้นมาเพื่อประกวดโดยเฉพาะ แล้วก็คงไม่ได้สร้างหรือปลูกเพียง "กอเดียว" เท่านั้นหรอกนะ อย่างน้อยก็ต้อง 1 ไร่ หรือ 2-3 ไร่ นั่นแหละ เพราะต้องเผื่อเลือกด้วย

ที่น่าสนใจมากกว่านี้ :
- ในแปลงที่อยู่ของกอที่ชนะเลิศ ได้ปริมาณผลผลิตรวมต่อไร่เท่าไร
- อันดับรองลงมา ที่ 2-3-4 ได้ผลผลิต 1 กอเท่าไร และผลผลิตรวมต่อไร่เท่าไร
- สำปะหลังกอชนะเลิศนี้เป็นของใคร ? อยู่จังหวัดไหน ?
- เทคนิคการปลูก การบำรุง ทำอย่างไร ?


ท่านใดกังขาอย่างไร นำเสนอได้นะ
ลุงคิม (ค่อนข้างเชื่อ) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Yuth-Jasmine
สาวดี่
สาวดี่


เข้าร่วมเมื่อ: 05/07/2010
ตอบ: 384

ตอบตอบ: 17/10/2010 9:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)



เปรียบเทียบกับแขนของ "คุณพรทิวา" แล้วเอาเรื่องเหมือนกันน่ะครับ
เสียดายมีให้ชมแค่ภาพเดียว เลยไม่แน่ใจว่าที่ใหญ่ขนาดนี้
เพราะมุมกล้องช่วยหรือเปล่า

แต่ก็ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีในภาคการเกษตรไทย หากไม่มีการเล่นกลขนานใหญ่
เกษตรกรเราจะได้ลืมตาอ้าปากกะเขาบ้างครับ พณฯท่าน ทั้งหาย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
mongkol
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010
ตอบ: 136

ตอบตอบ: 17/10/2010 10:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณครับที่ช่วยขยายภาพและข้อมูลให้อ่านสะดวกขึ้น มีบางอย่างที่อยากให้เข้าไปดูในรายละเอียด โดยเฉพาะคาดหมายผลผลิตในปี 2555 ที่คุณอภิชาติได้ประมาณความก้าวหน้าที่ผลผลิต 33.75 ตันต่อเฮกตาร์ ซึ่งคำนวนมาจะเท่ากับ 5.36 ตันต่อไร่ ดูจะขัดแย้งในผลงานที่นำเสนอ ในขนาดของหัว รูปแบบการจัดงานเมืองไทยชอบนำเสนอเรื่องแบบของแปลก แต่สาระความรู้น้อยมาก กระตุ้นแต่สร้างความแปลก. เอาไว้ ถ่ายรูป. นวตกรรมหลอกลวง. คอนโดมัน. จุลินทรีย์มหัศจรรย์. และปุ๋ยน้ำ. แบบทำได้ทุกอย่าง ไม่ปรากฏว่ามาร่วมงานเพราะทางมูลนิธิมันสำปะหลังเขาทำการทดสอบในความเป็นไปได้หมดแล้ว ที่เราเห็นมาเสนอมันเป็นงานโฆษณา ขนาดใน you tube ถ้าใครเข้าไปดูยังเจอตัวผมตอนไปช่วยงานโฆษณากับเขา แต่ถ้าใครอยากเห็นนวตกรรมหลอกลวง งานเกษตรทั่วไปหาชมได้

นอกเรื่องนิด ผมเคยไปงานเกษตรในบางพื้น ที่ช่วงนั้นข้าวดีดระบาด มีปรากฏว่ามีจุลินทรีย์แบบสุดยอดย่อยข้าวดีด พอเราถามกลไกลการทำงาน การเลือก ทำลายแต่หญ้าอย่างไร เขาก็ตีรวนตอบวกวน ไปโทษสารเคมีฆ่าหญ้าบ้าง ปุ๋ยเคมีบ้าง เราถามซ้ำเขากลับอ้างว่าสินค้ามีตรา OTOP เราเลยงง งง พอเราไปค้นข้อมูลไปมาพบว่า น่าจะเป็นสารกลุ่ม "อาลาคลอ" เพราะแนะนำฉีดแล้วให้หมักต่อ อ้าว ไปไกลแต่รับรองเรื่องตามทันกันนะ เล่ห์เหลี่ยมอย่างนี้ผมเจอมาแยะ ถลกหนังพวกหลอกลวงมามาก ยอมรับ มันชอบแต่ไม่ใช่สีข้างเข้าถู เราเอาวิทยาศาสตร์เข้าไปตรวจสอบ แล้วเราจะได้ความรู้กลับมาได้ช่วยคนที่จะถูกหลอก

สงสารเกษตรกร โดนตั้งแต่ต้นจนจบ

สงสัยคุยแบบกันเองได้ที่ 089-144-1112
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1281

ตอบตอบ: 17/10/2010 10:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดูจากภาพ ขนาดของกอมีขนาดใหญ่มาก ทั้งหัวหลายๆขนาด จริงแล้วผมว่า ต้องคนที่ปลูกมัน ขุดมัน และขนมันขึ้นรถ ไปขายที่ลานมัน เรียกว่า อยู่กับ หัวมัน ตลอดเวลา น่าจะวิเคราะห์ น้ำหนักของกอนี้ได้

แต่ว่า การที่ทำให้ได้ น้ำหนักขนาดนี้ เขาทำอย่างไร ผมคิดแบบที่ลุงว่า คงไม่ใช่บังเอิญนะ ขุดกอเดียวได้ น้ำหนักขนาดนี้ น่าจะมีการปลูกเป็นแปลงไว้สำหรับโชว์ผลงาน

148.3 กก กอนี้ เป็นของเกษตรกรเองหรือของใคร?

หากเกษตรกรปลูกเองเป็นเรื่องที่น่ายินดีครับ


สมชาย กลิ่นมะพร้าว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 18/10/2010 5:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถูกต้องคร้าบบบบ...........

บอกแล้วไง....
- จงอย่า เชื่ออะไรง่ายๆ โดยไม่มีเงื่อนไข....และ
- จงอย่า ไม่เชื่ออะไร ชนิดหัวชนฝา....แต่
- จงเชื่อตัวเอง โดยมีหลักวิชาการรองรับ และประสบการณ์ตรงยืนยัน

เกมส์นี้ ใครมีวิจารณญานอย่างไรอีกเสนอมาได้นะ...ช่วยกันคิด ช่วยกันวิเคราะห์นะ


คน "ไม่รู้+โลภ" ย่อมตกเป็นเหยื่อคนฉลาด
ลุงคิม (ไม่รู้+ไม่โลภ) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mongkol
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010
ตอบ: 136

ตอบตอบ: 18/10/2010 12:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขยายความเรื่อง ดร.ศุภชัย ในงานนี้ท่านมาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้าน ดุลยภาพของการแสวงหาความมั่นคงทางอาหารและพลังงานทดแทน ถ้าขยายความ คือ ชาวโลกที่ไม่สามารถผลิตอาหารได้ เขากลัวการแย่งกันของพืชพลังงานกับอาหาร

กล่าวคือ พื้นที่การเกษตรจะถูกนำไปใช้ผลิตพืชพลังงานมากกว่าผลิตอาหาร การแย่งพื้นที่กัน รวมถึงการแย่งปัจจัยการผลิต คล้ายกันกับที่ระยองที่มีการแย่งน้ำในภาคเกษตรกับอุตสาหกรรม

ดร.ศุภชัยไม่ได้มาเกี่ยวข้องกับเทคนิคการผลิตมันสำปะหลัง มูลนิธิมันสำปะหลังเขาเป็นผู้รับผิดชอบการจัดหามันสำปะหลังมาแสดง จึงจัดหาของแปลกมาแสดง

มีการเชิญชวนให้เข้าร่วมประกวดมันสำปะหลัง หัวใหญ่ ส่วนเทคนิคการผลิตแบบนวตกรรมที่แสดงกันในชุมชน. ปราชญ์ชาวบ้าน. ทางมูลนิธิเขามีทีมงานทดสอบความเป็นไปได้...... ถ้าอ่านโดยละเอียดจะเข้าใจ

ดังนั้น ข้อมูลบางอย่างต้องย่อยมาก่อนแล้วค่อยบริโภค แต่ถ้ามองแบบเชิงศึกษาปัจจัยที่จะได้ผลตอบแทนสูงกว่าที่เคยทำก็คือ ต้องสร้างความสมบูรณ์ของดิน ครบในส่วนประกอบด้านอาหาร. การให้น้ำ. การป้องกันศัตรู. การกระตุ้นการ. เก็บอาหารให้มากว่าการนำไปใช้พัฒนาต้นและใบ. พันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่.

อยากให้มองอะไรแบบครบทุกมิติ หลงทางไปเสียเวลา แต่ถ้าหลงเชื่อแบบไร้เหตุผลมันจะขาดทุน คล้ายกับกระแสสบู่ดำ คนขายพันธุ์ รวย คนจัดอบรม รวย คนขายหนังสือ รวย ......

หลายธุรกิจเกี่ยวข้องรวมถึงภาครัฐบุคคลกร รวยตามๆกัน ผมมีรุ่นน้องเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย งานนั้นฟันเป็นล้าน แค่ขายต้นละ 5 บาท แบ่งกันถ้วนหน้า แต่ตอนนี้คนปลูก ........ ม่ายรู้เป็นไง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
maxnum
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 17/10/2010
ตอบ: 13

ตอบตอบ: 20/10/2010 9:13 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมเป็นสมาชิกใหม่ แต่ส่วนตัวแล้วติดตาม "ผลงาน/แนวคิด/การปฎิบัติจริง/ความตรงไปตรงมา/ของสีสันชีวิตไทย" ทั้งทางรายการวิทยุและหนังสือเกษตรใหม่ มานานแล้ว ถ้ายังจำมันสำปะหลังผีสิง (สูตรลุงคิม) ได้.

ผมว่าสามารถเพิ่มผลผลิตมันฯได้ในระดับหนึ่ง และเมื่อเปรียบเทียบกับแล้วในช่วงมันสำปะหลังผีสิง (ปี 46) องค์ความรู้บางส่วนเรายังไม่ค่อยทราบมากนัก (เช่น ชนิดพันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมกับพื้นที่, ปริมาณความต้องการน้ำของมันฯ, ความต้องการแสงของมันฯ, และความพร้อมของดิน หมายถึง ปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน การอุ้มน้ำของดิน และค่า Ph ของดิน ฯลฯ, สมบัติของโฮโมนต่างๆ ที่จำเป็น) ซึ่งในคราวนั้น (ปี 46) มีพี่น้องเกษตรกรได้นำหลักการของลุงคิมไปปฏิบัติในพื้นที่ ก็สามารถเพิ่มผลผลิตมันฯได้ในต้นทุนที่ต่ำเช่นกัน.....ลุงคิม "ศึกษา/แนะนำ" ซึ่งผมถือว่าเป็นคุณานุปการต่อวงการเกษตรที่เกษตรกรต้องพึ่งตนเองเช่นในปัจจุบัน...อย่าท้อครับลุงคิม./ ซึ่งตัวผมเองคิดว่าหลังจากโรงงานฯ ปิดตัว เนื่องจากภาวะเศรฐกิจในปัจจุบัน (คงอีก 6 เดือน) ตั้งใจว่าจะกลับไปทำไร่มันสำพปะหลังที่บ้าน (จ.หนองบัวลำภู) มีทีอยู่ 30 กว่าไร่. ขุดสระไวตั้งแต่ปีกลาย 2 ไร่.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
maxnum
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 17/10/2010
ตอบ: 13

ตอบตอบ: 21/10/2010 8:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แนวคิดการปรับปรุงดินเพื่อปลูกมันฯ ของผม

ดิน = แร่ธาตุอาหาร 45 + อินทรีย์วัตถุ 5 + น้ำ (สารละลาย) 25 + อากาศ 25 ...

แร่ธาตุอาหาร = ปุ๋ยเคมีต่างๆ ที่เราใส่ลงไปในดิน (ยึดวิธีให้น้อยแต่บ่อยครั้ง )

อินทรีย์วัตถุ = ปุ๋ยพืชสด (ปลูกซัก 2 รอบ. แล้วไถกลบ)

น้ำ (สารละลาย) = ระบบนำหยด, นำพุ่ง (ยังไมได้คิด)

อากาศในดิน = ผลมาจากไถผาน 3, ปุ๋ยพืชสด หายิปซั่มมาใส่, ปุ๋ยหมัก (พด.12)

ลุงคิมและเพื่อนๆ ทุกท่าน ช่วยแนะนำเพิ่มเติมด้วนครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11626

ตอบตอบ: 21/10/2010 5:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

maxnum บันทึก:
แนวคิดการปรับปรุงดินเพื่อปลูกมันฯ ของผม

ดิน = แร่ธาตุอาหาร 45 + อินทรีย์วัตถุ 5 + น้ำ (สารละลาย) 25 + อากาศ 25 ...

แร่ธาตุอาหาร = ปุ๋ยเคมีต่างๆ ที่เราใส่ลงไปในดิน (ยึดวิธีให้น้อยแต่บ่อยครั้ง )

อินทรีย์วัตถุ = ปุ๋ยพืชสด (ปลูกซัก 2 รอบ. แล้วไถกลบ)

น้ำ (สารละลาย) = ระบบนำหยด, นำพุ่ง (ยังไมได้คิด)

อากาศในดิน = ผลมาจากไถผาน 3, ปุ๋ยพืชสด หายิปซั่มมาใส่, ปุ๋ยหมัก (พด.12)

ลุงคิมและเพื่อนๆ ทุกท่าน ช่วยแนะนำเพิ่มเติมด้วนครับ


ที่ทำเครื่องหมาย "ตัวแดง" โดยเฉพาะ "ตัวเลข" น่ะ = คืออะไร ? สูตรใหม่เหรอ งง (ว่ะ)
ขอคำตอบนี้ก่อน แล้วจะบอกวิธีทำแบบง่ายๆ ได้ 15 ตัน/ไร่
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
maxnum
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 17/10/2010
ตอบ: 13

ตอบตอบ: 21/10/2010 7:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

% จ้า...ลุงคิมมาตอบแล้วพวกเรา อิ..อิ.. Laughing
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1281

ตอบตอบ: 21/10/2010 9:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




จำภาพนี้ได้ไหมครับ เมื่อหลายปีก่อน


สมชาย กลิ่นมะพร้าว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
maxnum
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 17/10/2010
ตอบ: 13

ตอบตอบ: 22/10/2010 8:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จากภาพที่ คุณ somchai ส่งมา...ดูจากหัวมันฯ แล้วคิดว่าอายุน่าจะเกินระยะเก็บ
เกี่ยว/ แต่ที่น่าสนใจคือต้นมันสามารถผลิตหัวมันได้ขนาดใหญ่ (ไม่ทราบพันธุ์
อะไร) น่าศึกษาครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©