kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11658
|
ตอบ: 17/08/2013 8:43 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 17 AUG *ไซโตไคนิน-ไคตินไคโตซาน |
|
|
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 17 AUG
วิทยุ ปตอ. AM 594 เวลา 08.15 & 20.05 ทุกวัน
********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, แลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ เคมี)
1) ชมรม (ใหญ่) ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี (089) 814-3204
2 )คุณชาตรี (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)
3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (สั่งทาง ปณ.)
4) คุณล่า (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี
5) คุณประเสริฐ (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) คุณอรุณ ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.
7) คุณพรพรรณ (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) คุณน้ำส้ม (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
จาก : (088) 190-28xx
ข้อความ : ดูข่าว ทีวี. บอกว่าในตัวหนอนแมลงวันมีโปรตีนสูง เอามาเป็นอาหารคนได้ ในเน็ตลุงคิมบอกว่า หนอนเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกหลัง มีไคโตซาน ถ้าเราเอาหนอนมาหมักในน้ำหมักชีวภาพ จะได้ทั้งโปรตีน ไคโตซาน หรือไม่ .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
- หนอนทุกชนิดมีโปรตีนสูง เรื่องนี้จริง 1,000% .... กินหนอนแล้วได้โปรตีนแต่ ใจ ไม่รับเอง .... ดูสารคดีที่แคนนาดา หนอนทอดประมาณ 10 ตัว จานละ 1,500 บาท ในฝรั่งเศษก็มีขายในภัตตาคารใหญ่ๆ เมืองไทยก็มีหนอนไผ่ แม่ผีเสื้อเจาะไม้ไผ่เข้าไปวางไข่ในกระบอกไม้ไผ่ แล้วไข่กลายเป็นหนอน ตัวขนาดนิ้วก้อยแน่ะ
- ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังมีไคโตซาน เรื่องนี้จริง 100% .... แต่จริงแค่ 1%
เพราะกรรมวิธีในการทำยังไม่ถึงขั้นเป็นไคโตซาน แต่เป็นเพียงขั้น ไซโตไคนิน เท่านั้น
- กรรมวิธีในการทำ เริ่มจากซากสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังให้ได้ไซโตไคนิน ทำโดยกระบวนการจุลินทรีย์ คือ การหมักชีวภาพ .... ไซโตไคนิน มีโมเลกุลสายยาว ไม่สามารถ ผ่านปากใบพืชได้ ในขณะที่ ไคโตซาน มีโมเลกุลสายสั้น สามารถผ่านปากใบพืชได้
- ยกตัวอย่างกรรมวิธีในการทำไซโตไคนินให้เป็น ไคโตซาน จากเปลือกกุ้ง (หาง่าย ปริมาณมาก ราคาถูก) ต้องใช้กระบวนการทางฟิสิกส์ มีขั้นตอนดังนี้....
1. นำเปลือกกุ้ง แกะเนื้อ อบแห้ง สดใหม่ แช่ใน ด่างจัด นาน 72 ชม. เพื่อล้างไขมัน
2. เปลือกกุ้งล้างไขมันแล้ว แช่น้ำ เป็นกลาง นาน 72 ชม. เพื่อล้างด่าง
3. เปลือกกุ้งล้างน้ำเป็นกลางแล้ว แช่ใน กรดจัด นาน 72 ชม. เพื่อล้างโปรตีน
4. เปลือกกุ้งล้างโปรตีนแล้ว แช่น้ำ เป็นกลาง นาน 72 ชม. เพื่อล้างกรดจัด
5. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 1
6. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 2
7. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 3
8. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 4
9. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 1
10. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 2
11. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 3
12. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 4
หมายเหตุ (1) :
- ปัจจุบัน ไทยน้ำเข้าเปลือกกุ้งแกะเนื้อ อบแห้ง ส่วนใหญ่จากบังคลาเทศ
ขั้นตอนการทำ คือ แช่ด่างจัด 3 รอบ, แช่กรดจัด 3 รอบ, ระหว่างการเปลี่ยนแช่ กรดไปด่าง หรือด่างไปกรด ให้แช่น้ำเปล่าเป็นกลางก่อนทุกครั้ง
- ขั้นตอนแต่ละรอบต้อง คนหรือกวน ความเร็วรอบสม่ำเสมอกันตลอด 72 ชม.
ครบทุกขั้นตอนแล้ว นำมากรองระดับเม็ทซ์ ของเดิมสีขาวขุ่น ถ้าต้องการให้เป็นสีอะไรก็ใส่สีนั้นลงไป สีทำให้ขลังเท่านั้น....ที่ไร่กล้อมแกล้ม เอา น้ำยาอุทัย ใส่ในไคโตซาน เขย่าๆ แพร็บเดียวใครเห็นใครก็ร้อง ใช่เลย ....
ที่ใครต่อใครเอา เปลือกกุ้ง เปลือกปู มาหมักชีวภาพแล้วบอกว่าได้ ไคโตซาน น่ะ เข้าใจผิดทั้งนั้น ในความเป็นจริงได้เพียง โปรตีน ธรรมดาๆเท่านั้น เป็นโปรตีนที่โมเลกุลขนาดใหญ่ไม่สามารถผ่านปากใบได้ จะต้องย่อยสลายให้โปรตีนธรรมดาๆ ให้เป็น อะมิโน โปรตีน ที่โมเลกุลขนาดเล็กเสียก่อนจึงจะผ่านปากใบพืชได้....สรุป เปลือกกุ้ง เปลือกปู หมักแล้วได้เพียง โปรตี ธรรมดาๆ เท่านั้น
------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ (2) :
ไซโตไคนิน (Cytokinin) เป็นกลุ่มของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุม การแบ่งเซลล์ การขยายตัว และการเปลี่ยนแปลงของเซลล์พืช มีผลต่อการข่มของตายอด การเจริญของตาข้าง และการชราของใบ การออกฤทธิ์ของสารกลุ่มนี้ค้นพบในน้ำมะพร้าวเมื่อ พ.ศ. 2483 โดย Folke Skoog นักวิทยาศาสตร์ที่ University of WisconsinMadison
ไซโตไคนินมีสองประเภท ได้แก่ ไซโตไคนินที่เป็นอนุพันธ์ของอะดีนีน โดยมีโซ่
ข้างมาเชื่อมต่อกับเบสที่ตำแหน่ง N6 ไซโตไคนินแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามชนิดของโซ่ข้าง คือ ไอโซพรีนอยด์ ไซโตไคนิน (Isoprenoid cytokinin) มีโซ่ข้างเป็นสารกลุ่มไอโซพรีน กับ อะโรมาติก ไซโตไคนิน เช่น ไคนีติน ซีเอติน และ 6-benzylaminopurine อีกกลุ่มหนึ่งคือ ไซโตไคนินที่เป็นอนุพันธ์ของไดฟีนิล ยูเรีย และ ไทเดียซูรอน (TDZ) ไซโตไคนินชนิดอะดีนีน มักสังเคราะห์ที่ราก แคมเบียม และเนื้อเยื่อเจริญอื่นๆ เป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์ ไซโตไคนินเช่นกัน ไม่มีหลักฐานว่าพืชสร้างไซโตไคนินชนิดฟีนิลยูเรียได้ ไซโตไคนินเกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณทั้งระยะใกล้และระยะไกล และเกี่ยวข้องกับการขนส่งนิวคลีโอไทด์ในพืชโดยทั่วไป ไซโตไคนินถูกขนส่งผ่านไซเลม.
การออกฤทธิ์ทางสรีรวิทยาที่สำคัญของไซโตไคนิน ได้แก่ :
- สนับสนุนการขยายตัวของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการดูดน้ำเข้าไปภายในเซลล์ เพราะไม่ทำให้น้ำหนักแห้งเพิ่มขึ้น
- สนับสนุนการพัฒนาและการแตกตาข้าง ไซโตไคนินสามารถกระตุ้นให้ตาข้างที่ถูกยับยั้งด้วยตายอดเจริญออกมาได้ สิ่งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากอัตราส่วนระหว่างไซโตไคนินต่ออกซิน ออกซินจากตายอดจะถูกขนส่งลงไปยังตาข้างเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโต ทำให้ยอดยาวขึ้น แต่ไม่แตกกิ่งใหม่ ในขณะที่ไซโตไคนินจะเคลื่อนที่จากรากขึ้นมายังยอด และจะเป็นตัวกระตุ้นการเจริญของตาข้าง ถ้าตัดตายอดออกไป ตาข้างจะไม่ถูกยับยั้งและจะเจริญออกมาได้ พืชจึงเจริญออกทางด้านข้างมากขึ้น ถ้าให้ออกซินที่รอยตัด การเจริญของตาข้างยังคงถูกยับยั้งต่อไป
- การชลอการชรา ความชราของพืชเกิดจากกระบวนการแก่ตัวของเซลล์ มีการสูญเสียคลอโรฟิลล์ RNA โปรตีน และไขมัน การชลอควมชราของออกซินเกิดขึ้นโดยการป้องกันสลายตัวของโปรตีน กระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีน และขนส่งธาตุอาหารมายังเนื้อเยื่อ ไซโตไคนินสนับสนุนการเกิดคลอโรฟิลล์ และการเปลี่ยน อีทิโอ พลาสต์ ไปเป็น คลอโรพลาสต์
- การเกิดปม ปมที่เกิดในพืชเป็นเนื้อเยื่อที่ไม่มีการกำหนดพัฒนาและมีลักษณะคล้ายเนื้องอก เกิดจากเชื้อ Agrobacterium tumefaciens
- ไซโตไคนินจากปลายราก มีผลต่อการเจริญของลำต้นและราก การตัดรากออกไปจะทำให้การเจริญเติบโตของลำต้นหยุดชะงัก
- การเพิ่มไซโตไคนินจากภายนอกลดขนาดของเนื้อเยื่อเจริญที่ปลายรากลงโดยไม่กระทบต่ออัตราการขยายตัวของเซลล์ภายในเนื้อเยื่อเจริญ แต่ไซโตไคนินปริมาณมากจะมีความจำเป็นในการรักษากิจกรรมของเนื้อเยื่อเจริญที่ปลายยอด
- กระตุ้นการออกดอกของพืชวันสั้นบางชนิด เช่นในแหนเป็ด ไซโตไคนินกระตุ้นให้พืชสร้างสารฟลอริเจน ซึ่งชักนำให้พืชออกดอกได้ ไซโตไคนินยังช่วยให้เกิดดอกตัวเมียมากขึ้น
- ทำลายระยะพักตัวของพืช ของเมล็ดพืชหลายชนิดได้ เช่น ผักกาดหอม
การใช้ประโยชน์ :
ในทางการค้า ใช้เพิ่มผลผลิตของพืชเศรษฐกิจ ผลผลิตของฝ้ายเพิ่มขึ้น 5-10% เมื่อแช่ในไซโตไคนินตั้งแต่ยังเป็นเมล็ด
http://th.wikipedia.org
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
.
|
|