สะตอ
ลักษณะทางธรรมชาติ
* เป็นไม้ยืนต้นอายุยืนหลายสิบปี ทรงพุ่มขนาดกลางถึงสูง ลำต้นค่อนข้างตรง ปลูกได้ทุก
ภาค ทุกพื้นที่ และทุกฤดูกาล เจริญเติบโตเร็วในพื้นที่ดินลูกรังร่วนมีความชื่นสูง มีอินทรีย์วัตถุ
มาก ระบบรากลึก สามารถยึดเหนี่ยวป้องกันการพังทลายของหน้าดินได้ดี ต้องการน้ำสม่ำเสมอ
ตลอดปี กิ่งเจริญยาวออกทางข้างได้มากจนทำให้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่มค่อนข้างใหญ่ ถ้า
ปลูกระยะห่างระหว่างต้น 16 X 16 ม. ในพื้นที่ 1 ไร่ด้วยระยะเวลาเพียง 10 ปี ทุกต้นจะแผ่
ขยายกิ่งชนกันจนเต็มพื้นที่
* ในอดีตทราบแต่เพียงว่าปลูกได้ในภาคไต้เขต จ.ชุมพร จ.นครศรีธรรมราช จ.ระนอง
จ.สุราษฎร์ธานี กับอีกหลายจังหวัด เท่านั้น แต่ปัจจุบันในภาคอิสานเขต จ.ศรีสะเกษ. จ.กาฬ
สินธุ์ จ.กาญจนบุรี. มีแปลงปลูกสะตอขนาดใหญ่ กับอีกในหลายๆจังหวัดทั่วภาคกลางที่ปลูก
สะตอแล้วเจริญเติบโตให้ผลผลิตดีได้ไม่แพ้ภาคใต้
* อายุต้น 20 ปีขึ้นเนื้อไม้มีลวดลายสวยและแกร่งดีมากเหมาะสำหรับใช้ทำเฟอร์นิเจอร์
* ให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3-4 ปีหลังปลูก ออกดอกติดฝักปีละ 1 รุ่น โดยออกดอกช่วงเดือน
เม.ย.-พ.ค. ผลแก่เก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือน มิ.ย.-ส.ค. หรือตั้งแต่ดอกบานผสมติถึงวันเก็บ
เกี่ยว 70 วัน
* ออกดอกที่ปลายกิ่งนอกทรงพุ่ม ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศผสมตัวเองหรือต่างดอกต่างต้น
ได้ ดอกออกมาตอนแรกรูปร่างกลมรีเหมือนไข่ ใน 1 ดอกสามารถติดเป็นฝักเป็นช่อได้ 3-16
ฝัก แต่ละฝักมีเมล็ด 10-20 เมล็ด ใน 1 ต้นให้ผลิตได้ถึง 200-1,000 ฝัก ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสาย
พันธุ์และความสมบูรณ์ของต้นเป็นหลัก และจะให้ปริมาณผลผลิตมากขึ้น คุณภาพดีขึ้น เมื่ออายุต้นมากขึ้น
* ปลูกสะตอแซมแทรกในสวนยางพารา ทุเรียน เงาะ มังคุด เพื่ออาศัยความชื้นจากไม้ผล
เหล่านี้ได้ดีแต่มีข้อแม้ว่าสะตอต้องได้รับแสงแดด 100 เปอร์เซ็นต์ด้วย
สายพันธุ์
สะตอข้าว :
ผลผลิตเร็ว (2-3 ปีหลังปลูก) ติดฝักดกดี (8-20 ฝักๆละ 10-20 เมล็ด) ขนาด
ฝักสั้นบ้างยาวบ้าง บิดเบี้ยวชัดเจน ลักษณะเมล็ดเล็ก/ถี่ กลิ่นไม่แรงนัก รสออกหวานเล็ก
น้อย เนื้อในไม่ค่อนแน่น นิยมปลูกมากที่สุด ส่งออกต่างประเทศได้
สะตอดาน :
ลักษณะฝักแบเหมือนไม้กระดาน ฝักใหญ่กว่าสะตอข้าว แต่ความดกและขนาดฝักด้อยกว่า
สะตอข้าว กลิ่นแรงและเนื้อในแน่นมาก เหมาะสำหรับปรุงอาหารรสจัด นิยมปลูกน้อยกว่าสะตอข้าว
สะตอแต :
เนื้อแข็ง กลิ่นแรงมาก มีอยู่ในป่ามากมาย ไม่นิยมปลูกเพื่อบริโภคแต่นิยมใช้เนื้อไม้ทำ
เฟอร์นิเจอร์
ขยายพันธุ์
ตอน. ชำ. ทาบ. เพาะเมล็ด (สะตอแตหรือเหลียง)เสริมรากเสียบยอด (ดีที่สุด).
ระยะปลูก
- ระยะปกติ 6 X 6 ม. หรือ 6 X 8 ม.
- ระยะชิด 4 X 4 ม. หรือ 4 X 6 ม.
เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ
- ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา...แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
- ให้ยิบซั่มธรรมชาติ ปีละ 2 ครั้ง
- ให้กระดูกป่น ปีละ 1 ครั้ง
- คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
หมายเหตุ :
- การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่ ปลาสด เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขต
ทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อ
เนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตก
ใบอ่อน ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่ และการให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยแพร่ระบาด
ของเชื้อราได้
- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพ
ความสมบูรณ์สูง
เตรียมต้น
ตัดแต่งกิ่ง :
- สะตอออกดอกที่ซอกใบปลายกิ่งอายุข้ามปี ดังนั้นในการตัดแต่งกิ่งประจำปีหรือหลังเก็บ
เกี่ยวผลผลิตให้ตัดเฉพาะกิ่งที่ออกดอกติดผลเพื่อสร้างใบใหม่สำหรับให้ออกดอกติดผลในปีต่อไป
ส่วนกิ่งที่ไม่ออกดอกติดผลในปีนี้ให้คงไว้แล้วบำรุงต่อไปสำหรับเอาดอกผลในรุ่นปีถัดไป
- ตัดกิ่งที่บังแสงแดดต่อกิ่งอื่นออก ทำให้ทรงพุ่มโปร่งจนแสงแดดสามารถส่องได้ถึงทุกกิ่งทั่ว
ภายในทรงพุ่ม กิ่งที่ได้รับแสงแดดจะสมบูรณ์ดีกว่ากิ่งที่ไม่ได้รับแสงแดดหรือได้รับแสงแดดน้อย
- ตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค
และกิ่งที่ออกดอกติดผลแล้วเพื่อเรียกยอดใหม่สำหรับออดอกติดผลในรุ่นปีต่อไป การตัดแต่งกิ่งภาย
ในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
- ตัดแต่งกิ่งปกติควรตัดให้เหลือใบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์และเมื่อใบอ่อนชุดใหม่ออกมาแล้ว
ให้มีใบประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จะช่วยให้การผลิดอกติดผลดี
- ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ นอกจากช่วยทำให้แสงแดด
ผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดีและ
เพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย
- ลักษณะทรงพุ่มที่ดี ลำต้นควรมีลำเปล้าเดี่ยวๆหรือกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 1-1.20 ม.ความ
สูง 3-5 ม. กว้าง 3-4 ม. มีกิ่งประธาน 3-5 กิ่งแผ่กระจายออกรอบทิศ
- นิสัยสะตอมักออกดอกหลังจากกระทบหนาวได้ระยะหนึ่ง ดังนั้นจึงควรตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบ
อ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการ
ตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น หมายความว่า หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วยังไม่ต้องตัดแต่งกิ่งแต่ให้บำรุงตาม
ปกติต่อไปก่อน จนกระทั่งเข้าสู่หน้าฝนจึงลงมือตัดแต่งกิ่ง
ตัดแต่งราก :
- สะตอต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งรากแต่หากต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการ
หาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากโดยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
- ต้นอายุหลายปี ระบบรากเก่าและแก่มาก ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน
4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกราก
ใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อสะตอ
1.เรียกใบอ่อน
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 46-0-0(200 กรัม)หรือ 25-5-5(200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง
+ จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่น
พอเปียกใบ ทุก 5-7 วัน ต่อการเรียกใบอ่อน 1 รุ่น
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มลงมือปฏิบัติทันทีหลังจากตัดแต่งกิ่ง
- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วันถ้าต้นใดแตกใบอ่อนดีน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่น
ซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม
- ถ้ามีการตัดแต่งรากด้วยแล้วให้ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีส่วนผสมของรำละเอียดด้วย จะช่วยให้
แตกรากใหม่เร็วและดี
- รักษาใบอ่อนที่แตกใหม่ให้รอดพ้นจากโรคและแมลงให้ได้ ถ้าใบอ่อนชุดหนึ่งชุดใดถูก
ทำลายไปจะต้องเริ่มเรียกใบชุดที่หนึ่งใหม่ทำให้เสียเวลา
2.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
ทางใบ :
- ในรอบ 7-10 วัน ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56 (200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม
100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกัน
รอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบจะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
- ปริมาณ 8-24-24 หรือ 9-26-26 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่
ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มาก
ขึ้น แต่ถ้ารุ่นปีที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง
- การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่น
จากเคยให้ 15 วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง
2 เดือน ในห้วง 2 เดือนนี้ให้กลูโคสผงหรือนมสัตว์สด 2 รอบ โดยรอบแรกให้เมื่อเริ่มลงมือบำรุงและ
ให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน
3.ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ทางใบ :
- ในรอบ 7 วันให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(200 กรัม)+ ธาตุรอ/ธาตุเสริม 100 ซี
ซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.1-2 รอบ ห่างกันรอบละ
5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้นโดยการนำอินทรียวัตถุคลุมโคนต้นออกให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
- งดให้น้ำเด็ดขาด
หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณ ซี.(อาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล) และ “ลด” ปริมาณ
เอ็น.(อาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น)ซึ่งจะส่งผลให้ต้นออกดอกแน่นอนหลังการเปิดตาดอก
- การให้สารอาหารทางใบซึ่งมีน้ำเป็นส่วนผสมนั้น อย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้นเพราะจะกลาย
เป็นการให้น้ำทางราก แนวทางปฏิบัติ คือ ให้บางๆเพียงเปียกใบเท่านั้น
- เมื่องดน้ำ (ไม่รดน้ำ) แล้วจำเป็นต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไปโดย
การทำร่องระบายน้ำใต้ดินหรือร่องสะเด็ดน้ำด้วย
4.เปิดตาดอก
ทางใบ :
ให้น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 200 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สาหร่าย
ทะเล 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้นเหมือนช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช
- ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกดีทั่วต้นและสภาพอากาศพร้อม
- ระหว่างสูตร 1 และ 2 ให้เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียว สลับกับสูตร 3 โดยให้
ห่างกันครั้งละ 5-7 วัน ไม่ควรใช้สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียวติดต่อกันเพราะจะทำให้เกิดอาการดื้อ
จนเปิดตาดอกไม่ออก
- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ สาเหตุมาจากตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อนแล้ว
ใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก
1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
5.บำรุงดอก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 10-45-10(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็น
เอเอ.100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ
ระวังอย่าให้โชกจนลงถึงพื้น
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1
รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้
เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสม
ติดดี
- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงไปจนถึง
ช่วงดอกบาน
- ช่วงดอกบานควรงดการฉีดพ่นทางใบโดยเฉาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.)
เพราะอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ หากจำเป็นต้องฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้ฉีดพ่นช่วง
หลังค่ำ
- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมา
แล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหาร
อื่นๆก็ได้
- การไม่ใช้สารเคมีใดๆเลยติดต่อกันมานาน จะทำให้ให้มีผึ้งและมีแมลงธรรมชาติอื่นๆเข้ามา
ช่วยผสมเกสรส่งผลให้กระท้อนติดผลดกขึ้น
- ช่วงออกดอกต้องการน้ำสม่ำเสมอจะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ดีขึ้น ช่วงนี้ถ้าขาดน้ำหรือได้น้ำไม่พอ
เพียงดอกจะแห้งและร่วง
6.บำรุงผลเล็ก
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคล
เซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นให้เหมือนเดิม
- ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
- ให้น้ำปกติทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วง หรือขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว
7.บำรุงผลกลาง
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ ไคโต
ซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10
วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (1/2-1 กก)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./
ครั้ง/เดือน
- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- สะตอบริโภคส่วนเมล็ด จึงต้องบำรุงด้วยสูตร “หยุดเนื้อ-สร้างเมล็ด” แนะนำให้มูลค้าง
คาว 1-2 กำมือ/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. โดยละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่ม 1 รอบ จะช่วยบำรุง
เมล็ดให้มีขนาดใหญ่และคุณภาพดีขึ้น
- ถ้าติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน. 1-2 รอบ โดยแบ่งให้
ตลอดช่วงผลขนาดกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากแบกภาระเลี้ยงผลจำนวนมากบนต้น
8.บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
ทางใบ :
- ให้น้ำ 100 ล.+ 0-21-74(200 กรัม)หรือ 0-0-50 (200 กรัม) สูตรใดสูตร
หนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.หรือ น้ำ 100 ล.+ มูล
ค้างคาวสกัด 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2
รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- เปิดหรือไม่เปิดหน้าดินโคนต้น และนำอินทรียวัตถุออกหรือไม่ต้องนำออกก็ได้
- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 10-20 วัน
- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลาย
รุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรม
เหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย
***********************
สะตอดานแตกต่างจากสะตอข้าวอย่างไร
ปลวกกัดกินรากสะตอจะแก้ไขอย่างไร
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ
ผมสนใจปลูกสะตอ ขณะนี้ปลูกสะตอดานไว้ประมาณ 50 ต้น ผมยังมีความสับสนว่า ความแตกต่างระหว่างสะตอดานกับสะตอข้าวนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร และในสวนสะตอของผมมีปลวกเข้ากัดกินราก ทำให้ตายไปจำนวนหนึ่ง ผมจะมีวิธีป้องกันและกำจัดปลวกได้อย่างไร ขอคำแนะนำด้วยครับ
พิษณุ สกลอินทร์ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
ตอบ คุณพิษณุ สกลอินทร์
สะตอที่นิยมปลูกอยู่ในปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ สะตอดาน หรือ สะตอกระดาน กับ สะตอข้าว สะตอทั้งสองชนิดแตกต่างกันดังนี้ สะตอดาน มีลักษณะเด่นที่ฝักแบนตรงไม่บิดเบี้ยว ความยาวเฉลี่ยประมาณ 30 เซนติเมตร ส่วนกว้าง 6 เซนติเมตร ในหนึ่งฝักมี 10-20 เมล็ด แต่ละช่อมี 8-15 ฝัก เนื้อเมล็ดมีกลิ่นฉุนมาก และเนื้อแน่น ส่วน สะตอข้าว ลักษณะเด่นของสะตอชนิดนี้จะมีฝักบิดเป็นเกลียว ขนาดฝักใกล้เคียงกับสะตอดาน และกลิ่นฉุนน้อยกว่าสะตอดาน อีกทั้งเนื้อฟ่ามกว่าอีกด้วย ส่วนปลวกเข้ากัดกินทำลายรากของสะตอ ส่วนใหญ่ปลวกมักเข้ากัดกินรากสะตอที่มีอายุหกเดือน จนถึงหนึ่งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปลวกกระหายน้ำมากในช่วงดังกล่าว วิธีป้องกันกำจัด เริ่มจากค้นหาจอมปลวกให้พบ เมื่อพบแล้วขุดและจับนางพญาทำลายทิ้งไป หากหาไม่พบ ควรทำความสะอาดในสวนที่ปลูกสะตอ ด้วยการกวาดเศษไม้ใบหญ้าบริเวณโคนต้นออกไปรวมไว้เป็นกอง ตามบริเวณริมสวนแล้วรดน้ำพอชุ่ม คลุมด้วยฟางข้าวหรือหนังสือพิมพ์เพื่อล่อให้ปลวกเข้ามาอยู่อาศัย เมื่อเห็นว่า มีปริมาณมากพอจึงทำลายทิ้งอาจใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น เฮปตาคลอร์ หรือเซฟวิน 85 เปอร์เซ็นต์ ฉีดพ่นตามอัตราแนะนำ หากไม่ต้องการใช้สารเคมีให้นำไก่พื้นเมืองเข้ามาเลี้ยงในสวนให้กินปลวกเป็นอาหาร เมื่อปริมาณปลวกลดลง ควรนำแกลบดิบโรยรอบบริเวณโคนต้นสะตอบางๆ ความคมและแข็งของแกลบมีผลทำให้ผิวหนังของปลวกเกิดการระคายเคือง ปลวกจะเคลื่อนย้ายหนีไป วิธีป้องกันไม่ให้ปลวกปีนขึ้นไปกัดกินส่วนบนของลำต้น ให้ใช้ผ้าขี้ริ้วชุบน้ำมันขี้โล้ หรือน้ำมันเครื่องรถยนต์ที่หมดสภาพแล้ว พันรอบต้นสะตอ การป้องกันและกำจัดด้วยวิธีผสมผสานจะทำให้การระบาดของปลวกหมดไปในที่สุดครับ
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.