-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 535 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

องุ่น




หน้า: 1/3


องุ่น
                        

            ลักษณะทางธรรมชาติ
               
       * เป็นพืชเถายืนต้นอายุหลายสิบปีเลื้อยขึ้นค้าง  กิ่งแก่ไม่มีมือเกาะแต่ช่วงที่ยังเป็นกิ่งอ่อนจะมีมือเกาะ ปลูกได้ในทุกพื้นที่ของประเทศ ชอบดินดำร่วนมีอินทรีย์วัตถุมากๆ  ระบายน้ำดี  ไม่ทนต่อน้ำท่วมขังค้างนาน
                

      * เป็นพืชเมืองหนาวแต่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อน ปลูกในเขตอากาศร้อนให้ผลผลิต 2 ปี/5 รุ่น ปลูกในเขตอากาศเย็นให้ผลผลิต 2 ปี/4 รุ่น
                
      * ต้องการแสงแดดร้อยเปอร์เซ็นต์  องุ่นทุกสายพันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทยเป็นไม้เลื้อยจึงต้องมีค้างแบบถาวรและแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักกิ่งและผลได้
 
                
      * หลังปลูกช่วงแรกๆที่กล้าเริ่มเจริญเติบโตให้มีหลักสำหรับนำต้นขึ้นค้าง  ระหว่างที่ต้นไต่หลักขึ้นไปนั้นช่วงแรกองุ่นไม่มีมือเกาะก็ให้ใช้เชือกรัดเถา (ลำต้น) หลวมๆแนบกับหลักเพื่อไม่ให้ต้นคดงอจนกว่ายอดจะขึ้นถึงค้าง และเมื่อโตขึ้นจะมีมือเกาะซึ่งก็ยังต้องใช้เชือกรัดเถา (ลำต้น) เพื่อไม่ให้ลำต้นคด
                
      * ระหว่างที่ต้นโตสูงเกาะหลักขึ้นไปเรื่อยๆนั้นจะมียอดใหม่แตกออกจากข้อตามลำต้นตลอด
เวลาก็ให้หมั่นเด็ดยอดใหม่เหล่านี้ทิ้ง  เพื่อให้ต้นส่งน้ำเลี้ยงไปยังยอดอย่างเดียว
 
 
    * เมื่อยอดขึ้นถึงค้างแล้วให้ตัดยอดประธาน  จากนั้นองุ่นจะแตกยอดใหม่ 2-3 ยอดจากตาใต้รอยตัดเป็นกิ่งชุดแรกหรือกิ่งประธาน เมื่อกิ่งประธานนี้ยาวขึ้นให้จัดระเบียบให้ชี้ไปทางทิศที่กำหนดไม่ให้ทับซ้อนกับกิ่งข้างเคียงด้วยการผูกกับค้าง                

      * ระหว่างที่กิ่งประธานยาวไปเรื่อยๆบนค้างก็ยังมีกิ่งแขนงแตกออกมาอีกตามข้อแทบทุกข้อก็ให้เลี้ยงกิ่งแขนงนี้ร่วมไปด้วย  จนกระทั่งกิ่งประธานยาว 80 ซม.-1 ม.ให้ตัดยอดของกิ่งประธานพร้อมกับตัดกิ่งแขนงทิ้งกิ่งเว้นกิ่ง  โดยตัดชิดผิวกิ่งประธานเพื่อทำให้พื้นที่บนค้างโปร่ง
  
       หลังจากตัดยอดกิ่งประธานและตัดกิ่งแขนงบางส่วนทิ้งไปแล้ว ให้พิจารณาจำนวนกิ่งแขนงว่ามีมากจนเต็มพื้นที่ค้างแล้วหรือยัง  ถ้ามีเต็มแล้วพอเตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงได้  แต่ถ้ายังมีพื้นที่บนค้างว่างก็ให้ตัดยอดของกิ่งแขนงอีกเมื่อกิ่งแขนงนั้นยาว 80 ซม.- 1 ม.  กิ่งแขนงกิ่งใดถูกตัดยอดกิ่งแขนงกิ่งนั้นจะแตกยอดใหม่ออกมาจากตาตามข้อทุกข้อก็จะทำให้ได้จำนวนกิ่งเพิ่มขึ้น               
         ถ้าไม่ตัดยอดนอกจากทำให้การแตกยอดใหม่ช้าแล้ว  ยอดจะไม่มีความสมบูรณ์ ไม่อวบอ้วน  และให้ผลผลิตไม่ดี
               
        หลังจากได้จำนวนกิ่งจนเต็มพื้นที่ค้างแล้วก็ให้เตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงเพื่อเอาผลผลิตต่อไปได้                           
                

       * ระยะต้นเล็กเถาจะเป็นสีเขียว เมื่ออายุมากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล  และเมื่อโตขึ้นเรื่อยๆจนถึงช่วงให้ผลผลิตลำต้นจะขยายขนาด  จะเห็นเปลือกลำต้นล่อนแล้วลอกออก  ช่วงนี้ควรบำรุงให้ต้นสมบูรณ์อยู่เสมอเพื่อไม้ให้ต้นโทรม
  
                
       * นิสัยองุ่นที่อายุต้นให้ผลผลิตแล้ว หรือเคยให้ผลผลิตมาแล้ว 1-2 ปี (เป็นสาว) จะออกดอกติดผลแบบต่อเนื่อง หรือหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นนี้แล้วสามารถออกดอกติดผลเป็นรุ่นต่อไปได้เลย  หรือเมื่อแตกยอดใหม่ก็จะมีดอกออกตามมาด้วยเสมอ 
               
         การที่จะให้องุ่นออกดอกติดผลรุ่นต่อไปได้เลยนั้น ต้นจะต้องมีความพร้อมโดยเฉพาะการสะสมอาหารเพื่อการออกดอกและการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.อย่างต่อเนื่องมานานหลายๆปี........การปฏิบัติบำรุงต่อองุ่นที่อายุต้นให้ผลผลิตแล้วเพื่อเอาผลผลิตรุ่นหน้าให้ปฏิบัติดังนี้
                
      * บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวรุ่นปัจจุบัน  ให้ทางใบด้วย  “0-21-74 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม”  โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน  ให้ทางรากด้วย  8-24-24 หรือ 9-26-26  ก่อนเก็บเกี่ยว 10-15 วัน  เสริมทางรากด้วยมูลค้างคาว.เล็กน้อย (ระวังอย่าให้มากเพราะอาจทำให้ผลแตกได้) ให้น้ำ  1 ครั้งเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด........การให้ปุ๋ยทางใบและทางรากที่มีปริมาณฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม. สูงเช่นนี้  นอกจากจะช่วยบำรุงเพื่อเพิ่มความหวานแก่ผลองุ่นแล้ว ยังทำให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออกดอก
สำหรับรุ่นต่อไปอีกด้วย 
                

      * หลังจากเก็บเกี่ยวผลพวงสุดท้ายออกจากต้นแล้วให้พรุนกิ่งแบบเพื่อเอาผลผลิตทันที  จากนั้นบำรุงทางรากด้วยสูตร  เรียกใบอ่อน  เสริมด้วย  ยิบซั่มธรรมชาติ.  กระดูกป่น.  ฮอร์โมนบำรุงราก.  ไคตินไคโตซาน. แล้วระดมให้น้ำแบบวันต่อวันเพื่อเรียกใบอ่อน......การเรียกใบอ่อนองุ่นหลังพรุนกิ่งไม่จำเป็นต้องให้ทางใบด้วย 25-5-5  หรือ 46-0-0  และไม่ต้องให้ทางรากด้วย 25-7-7 เหมือนไม้ผลทั่วไป  ส่วนยอดหรือใบชุดใหม่ที่ออกมาจะเป็นใบมีคุณภาพดี (เร็ว-ใหญ่-หนา-มาก-พร้อมกันทั้งต้น) หรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นเป็นหลัก   
                  
        เมื่อระดมให้น้ำแล้วก็จะมี "ยอด + ดอก"  ตามออกมา จากนั้นก็ให้ตัดแต่งช่อดอกให้เหลือกิ่งละ 2-3 ช่อ ช่อละ 1 พวง  แต่ละช่อห่างกันโดยมีใบคั่น 3-4 ใบ      
                

     * การกระตุ้นตาดอกด้วยฮอร์โมน (มีจำหน่ายตามท้องตลาด/หลายยี่ห้อ) หลังจากพรุนกิ่งเสร็จแล้ววันรุ่งขึ้นให้ใช้พู่กันขนอ่อนจุ่มฮอร์โมนกระตุ้นตาดอกทาบางๆบนตุ่มตาที่สมบูรณ์จริงและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม 2-3 ตุ่มตา/1 กิ่ง ต้องการให้ตุ่มตาไหนออกดอกก็ทาเฉพาะตุ่มตานั้น  ตุ่มตาไหนไม่ต้องการให้ออกดอกก็ไม่ต้องทา   การทาฮอร์โมนเฉพาะตุ่มตาที่ต้องการให้ออกดอกแบบนี้ทำให้ไม่ต้องตัดแต่งช่อดอกหลังจากที่ช่อดอกออมาแล้วอีกครั้ง ทำให้ไม่สิ้น
เปลืองเวลาและแรงงาน ถ้าไม่ใช้วิธีทาเฉพาะตุ่มตาแต่ใช้วิธีฉีดพ่นทั่วทั้งต้นก็ได้ซึ่งก็จะทำให้มีดอกออกมาทั่วทั้งต้น แล้วจึงตัดแต่งช่อดอกให้เหลือเท่าที่จำเป็นสำหรับแต่ละกิ่งก็ได้
 
  
  * องุ่นรับประทานผลสด วิธีการให้ฮอร์โมนกระตุ้นตาดอกแบบฉีดพ่นทั่วทั้งต้นจะทำให้มีดอกออกมากหรือออกดอกทุกข้อใบ เมื่อดอกออกมากเช่นนี้ก็จะต้องตัดแต่งช่อดอกออกทิ้งให้เหลือไว้ 1-2-3 ช่อดอก/กิ่ง (คงไว้มากหรือน้อยขึ้นกับขนาดและความสมบูรณ์ของกิ่งและต้น) หรือคงไว้ 1 ช่อ/15-20 ใบเลี้ยง ถ้าใช้วิธีป้ายหรือทาฮอร์โมนที่ซอกใบเฉพาะจุดที่ต้องการให้ออกดอกก็จะทำให้ปริมาณช่อดอกอกมาตามต้องการโดยไม่ต้องตัดแต่งช่อดอกอีก ส่วนองุ่นเพื่อแปรรูป (ลูกเกด. แยม.ไวน์.) ไม่ต้องตัดแต่งช่อดอกก็ได้                   

     * ผลองุ่นที่อยู่ชิดกันจนเป็นพวงขนาดใหญ่ ซึ่งผลแต่ผลต่างก็มีขั้วผลของตัวเองออกมาจากขั้วประธานโดยตรง  เมื่อผลพัฒนาขนาดโตขึ้นจึงเบียดกันจนเสียรูปทรง  บางผลเล็กแคระแกร็นไปเลยก็มี  
               
       กรณีนี้แก้ไขด้วยการบำรุงด้วยฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลลิน.เพื่อยืดขนาดขั้วประธานให้ยาวขึ้น  ดอกที่ออกตรงกับช่วงหน้าฝนให้ฉีดพ่นจิ๊บเบอเรลลิน.  3 ครั้งโดยครั้งที่  1 เมื่อช่อดอกยาว 1.5-2 ซม.    ฉีดพ่นครั้งที่ 2 เมื่อดอกตูม (ไข่ปลา)  และฉีดพ่นครั้งที่  3 เมื่อติดผลขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว    หากดอกมาออกมาตรงกับช่วงหน้าแล้งให้ฉีดพ่นจิ๊บเบอเรลลิน. 2 ครั้งโดย ครั้งที่  1 เมื่อดอกตูม (ไข่ปลา)  และฉีดพ่นครั้งที่  2 เมื่อผลขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว
   จิ๊บเบอ
เรลลิน.นอกจากช่วยยืดขั้วให้ยาวขึ้นแล้ว  ยังช่วยบำรุงคุณภาพผลทำให้เนื้อกรอบอีกด้วย
อัตราการใช้จิ๊บเบอเรลลินให้ถือตามที่ระบุในฉลากข้างขวดหรือกล่อง (แต่ละยี่ห้อกำหนดอัตราใช้ไม่เท่ากัน) อย่างเคร่งครัด  เพราะถ้าใช้เกินอัตราระบุจะทำให้ก้านประธานยืดยาวมากจนดอกหรือผลร่วง หรือหากใช้ต่ำกว่าอัตราระบุก็จะไม่ได้ผล               
       ใช้จิ๊บเบอเรลลินสำหรับองุ่นในช่วงหน้าหนาวให้ใช้ตามอัตราที่ระบุในฉลากแต่ถ้าใช้ช่วงหน้าร้อนให้เพิ่มอัตราใช้ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราใช้ที่ระบุในฉลาก
                
 
   * หลังจากฉีดพ่นจิ๊บเบอเรลลินแล้วควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรป้องกันและกำจัดเชื้อราตามทุกครั้ง เพราะเชื้อรามักเข้าทำลายหลังองุ่นได้รับจิ๊บเบอเรลลิน
                  
    * ช่วงอากาศวิปริต (ร้อนจัด  หนาวจัด  ฝนจัด  พายุโซนร้อนจากทะเลหรือไซฮวง) เข้ามาช่วงที่องุ่นกำลังออกดอกและติดผลเล็ก  ให้บำรุงต้นด้วยฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน  2-3 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน ด้วยการฉีดพ่นทางใบล่วงหน้า (ทราบจากการติดตามข่าวพยากรณ์อากาศ) ก่อนอากาศเริ่มวิปริตเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ต้น และควรให้ทั้งช่วงก่อนอากาศวิปริต ระหว่างอากาศวิปริต  และหลังหมดสภาพอากาศวิปริต
       ต้นที่ผ่านการบำรุงแบบมีสารอาหารกินตลอด  24 ชม.ต่อเนื่องมาหลายๆปี  ต้นมีความสมบูรณ์สูง เมื่อพบกับสภาพอากาศวิปริตก็จะเกิดความเสียหายไม่มากนัก                
 
   * ช่วงมีผลอยู่บนต้นถ้าขาดโบรอน (แคลเซียม โบรอน) ผลจะเล็กจิ๋วและโตไม่สม่ำเสมอ
                

    * องุ่นรับประทานผลสดหลังจากผลโตขนาดปลายนิ้วก้อยหรือโตกว่าเล็กน้อย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตัดแต่งช่อผล (ซอยผล) โดยการใช้กรรไกปลายแหลมเล็กแทรกเข้าไประหว่างผลแล้วตัดขั้วผลเพื่อทิ้งผลบางส่วนไป การจะเลือกผลไหนซอยทิ้งให้พิจาณาผลข้างเคียงที่คงไว้ว่ามีลักษณะสวยและสมบูรณ์ดีตามต้องการ ทั้งนี้การซอยผลทิ้งทำให้เกิดพื้นที่ว่างให้แก่ผลที่คง
ไว้มีโอกาสขยายขนาดได้เต็มที่นั่นเอง
               
    * องุ่นโง่  หมายถึง  ผลองุ่นในพวงเดียวกันแก้ไม่พร้อมกันหรือไม่เท่ากัน (มีทั้งผลอ่อน  กลางอ่อนกลางแก่ และผลแก่)           
            

    * เพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์อยู่เสมอตลอดปีควรให้ฮอร์โมนบำรุงราก 2-3 เดือน/ครั้งและให้ไซโตคินนิน 1-2 เดือน/ครั้ง
                

    * การบำรุงทางรากช่วงก่อนเก็บเกี่ยวเพื่อเร่งหวานด้วย 8-24-24     หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตหมด 
แล้วเข้าสู่ช่วงพักต้นจะช่วยให้ต้นไม่โทรม ส่งผลให้การเรียกใบอ่อนของฤดูการผลิตรุ่นต่อไปใบอ่อนจะออกมาเร็วและได้ใบดีมีคุณภาพ
 
     * นอกเหนือจากผลผลิตที่เก็บเกี่ยวออกไปแล้ว  องุ่นเป็นไม้ผลที่ต้องมีการตัดแต่งกิ่งเป็นระยะๆ  การตัดแต่งกิ่งแต่ละครั้งหมายถึงการสูญเสียธาตุอาหารพืช  เว้นเสียแต่ว่าเกษตรกรจะนำส่วนที่ตัดกลับคืนสู่ดิน ณ ที่เดิม  ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มักจะไม่ปฏิบัติ   ดังนั้นการจัดการธาตุอาหารพืชในองุ่น ต้องสอดคล้องกับธาตุอาหารที่สูญเสียไป   ผลงานวิจัยซึ่งแสดงถึง ปริมาณธาตุอาหารพืชที่ องุ่น   สูญเสียไปกับการตัดแต่งกิ่งและผลผลิต เป็นดังนี้ 
       - ผลองุ่น   น้ำหนัก 1 กิโลกรัม   มีไนโตรเจน 2 กรัม  ฟอสฟอรัส  0.6 กรัม   โพแทสเซียม  5 กรัม
       - องุ่นทั้งต้น น้ำหนัก 1 กิโลกรัม  มีไนโตรเจน 12 กรัม  ฟอสฟอรัส  2.0 กรัม  โพแทสเซียม  11 กรัม
         หรือสรุปว่า  สัดส่วนของ ไนโตรเจน : ฟอสฟอรัส : โพแทสเซียม  ขององุ่นทั้งต้น =  6: 1.0 : 5.5......ของผลองุ่น    =  3 : 1.0 : 8.0
         กล่าวคือ ถ้าสามารถผลิตองุ่นได้ไร่ละ 5 ตัน/ปี  จะมีการสูญเสียธาตุอาหารพืชจากดินต่อพื้นที่ 1 ไร่ ดังนี้
      - สูญเสียไปกับผลองุ่น :   ไนโตรเจน 10 กิโลกรัม  ฟอสฟอรัส 3 กิโลกรัม  โพแทสเซียม 25 กิโลกรัม
      - สูญเสียไปกับการตัดแต่งกิ่ง :  ไนโตรเจน 16 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส 3 กิโลกรัม โพแทสเซียม 14 กิโลกรัม
        รวมธาตุอาหารพืชที่สูญเสียไปทั้งสิ้น คือ  ไนโตรเจน 26 กิโลกรัม  ฟอสฟอรัส 6 กิโลกรัม โพแทสเซียม 39  กิโลกรัม
            

       สายพันธุ์
           
      องุ่นมีเมล็ด......ได้แก่  อัลมาเนีย (สีเขียวอ่อน).  ไวท์มะละกา (สีเขียว).
แบล็คมัสแคต (สีดำ).  โกลเด้นมัสแคต (สีทอง).  บิ๊กแบล็ค (สีดำ).  ไวท์โกดโก้ (สีเขียวอ่อน).  เอกโซติก (สีดำ).  คาร์ดินัล (สีม่วงอมแดง).  น่านฟ้า (สีแดงดำ).       
               
      องุ่นไร้เมล็ด....... ได้แก่  ลูสต์เพอร์เร็ต (สีเหลืองทอง).  แบล็คโอปอล (สีม่วงอมดำ) ดีไลท์ (สีเขียว).  ทอมสันซีสเลส (สีเหลืองทอง).  แบล็คบิวตี้ (สีดำ).  เฟลมซีสเลส (สีแดง).  รูบี้ซีสเลส (สีแดง).  
           
      พันธุ์นิยม..…ได้แก่  คาร์ดินาล (หมาเตะ).  ไวท์มะละกา.  เล็บเมือนาง.  น่านฟ้า.
            
       การขยายพันธุ์
           
      ขั้นตอนที่ 1    เลือกกิ่งข้างของต้นองุ่นป่าขนาดดินสอดำหรือกลางอ่อนกลางแก่ วิธีตอนเหมือนตอนกิ่งไม้ทั่วๆไป  เถาที่มีความยาวมากๆให้ตอนเป็นท่อนๆแต่ละท่อนมีใบ 4-5 ใบบำรุงเลี้ยงกิ่งตอนจน
กระทั่งออกรากดีจึงตัดลง
 
     ขั้นตอนที่ 2   ตัดกิ่งตอนลงมาแล้วติดตาองุ่นพันธุ์ดีทับตำแหน่งตาเดิมที่โคนใบด้วยวิธีการติดตาไม้ผลทั่วๆไป               
      ขั้นตอนที่ 3  นำกิ่งตอนติดตาแล้วลงชำในถุงดำ เลี้ยงในเรือนอนุบาลจนกระทั่งยอดตาดีแตกออกมาได้ใบ 2-3 คู่แล้วนำออกฝึกแดด 7-10 วัน เมื่อเห็นว่าต้นกล้าคุ้นเคยแสงแดดดีแล้วจึงนำลงปลูกในแปลงจริง 
                

      หมายเหตุ  :
               
    - ไม่ควรนำต้นกล้าติดตาพันธุ์ดีแต่ยังไม่แตกยอด ไม่ผ่านการชำในถุงดำ และอนุบาลในเรือนเพาะชำลงปลูก เพราะโอกาสเป็นตาบอด (ไม่ติด) มีค่อนข้างสูงซึ่งจะทำให้เสียเวลา
    - ระหว่างรอให้ตาพันธุ์ดีแตกยอดให้หมั่นเด็ดยอดของตอป่าเดิมออกเสมอ
             

       ระยะปลูก
           
    - ระยะปกติ  4 X 4  ม. หรือ  4 X 6 ม.
               
    - ระยะชิด   2 X 3  ม. หรือ  2 X 4 ม.
            

       เตรียมดิน และอินทรีย์วัตถุ  
               
    - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
  
  - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง               
    - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง  
               
    - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม  ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
                
       หมายเหตุ  :
               
    - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน  
                
    - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง            

       เตรียมต้น
                       
      ตัดแต่งกิ่ง :
               
    - ธรรมชาติขององุ่นที่อายุต้นให้ผลผลิตแล้วจะให้ผลผลิตแบบต่อเนื่องโดยไม่มีการพักต้น การตัดแต่งกิ่ง (พรุนหรือพรุนกิ่ง) เพื่อสร้างผลผลิตรุ่นต่อไปจึงมีความจำเป็นและสำคัญมากเพราะองุ่นจะออกดอกติดผลดีถึงดีมากจากตาที่ซอกใบของกิ่งยอดที่แตกใหม่หลังการตัดแต่งกิ่งเท่านั้น การบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวรุ่นที่ผ่านมาจะต้องบำรุงแบบ   เร่งหวาน + สะสมอาหารเพื่อการออกดอก เตรียมรอไว้ก่อน  นั่นคือ  ให้ทางใบด้วย  0-21-74 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม  ให้ทางรากด้วย  8-24-24  หรือ  9-26-26  เสริมด้วยมูลค้างคาว
                
    - การพรุนกิ่งแขนงเพื่อให้ออกดอกติดผล  ให้พิจารณาเลือกกิ่งแขนงที่อายุ 3-5 เดือน  สีเปลือกเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาล  หรือถ้ากิ่งนั้นยังเป็นกิ่งอ่อน (สีเขียว) อยู่ให้ตัดปลายออกน้อยส่วนที่เหลือยาว แต่ถ้าเป็นกิ่งแก่ (สีน้ำตาล) ให้ตัดปลายออกมากส่วนที่เหลือสั้นก็ได้และหลังจากตัดยอดแล้วให้มีตาเหลืออยู่ตั้งแต่ 4-10 ตา/1 กิ่ง ลักษณะตานูนเด่นชัด  ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ปลายของกิ่งที่ตัดนั้นควรมีตาอยู่ด้านบนหรือด้านข้างของกิ่ง  หรือมีตาอยู่ด้านบนหรือด้านข้างมากกว่าอยู่ด้านล่างของกิ่ง  เพราะการที่ตาอยู่ด้านบนหรือด้านข้างของกิ่งนี้เมื่อดอกออกมา  ก้านดอกจะชูชี้ขึ้นซึ่งจะเป็นดอกที่ดีกว่าก้านดอกที่ชี้ลง
        วิธีตัดปลายกิ่งแขนงให้ตัดด้วยกรรไกคมจัดเพื่อป้องกันแผลช้ำ และตัดให้ชิดตุ่มตามากที่สุดโดยไม่กระทบกระเทือนต่อสภาพโครงสร้างภายในตาซึ่งเป็นเซลล์พืชที่อ่อนมาก  ถ้าตัดชิดหรือกระทบกระเทือนจนภายในตาช้ำตุ่มตานั้นจะไม่ออกดอก และถ้าตัดห่างเกินไปดอกก็ไม่ออกได้เช่นกัน    หลังจากตัดปลายกิ่งแขนงเรียบร้อยแล้วให้ริดใบออกให้หมด  ทั้งใบของกิ่งแขนงและกิ่งประธานจนไม่เหลือแม้แต่ใบเดียว               
    - นิสัยการออกดอกขององุ่นไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว  แต่การตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น
                
      ตัดแต่งราก  :
               
   -  องุ่นระยะที่ต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก แต่หากต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้น   ใช้วิธีล่อรากโดยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วน  กับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
                
   - ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม




หน้าถัดไป (2/3) หน้าถัดไป


Content ©