-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 639 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อ้อยเคี้ยว





                              อ้อยเคี้ยว                               

 
            ลักษณะทางธรรมชาติ
               
       * อ้อยเคี้ยว (อ้อยควั่น) หรืออ้อยคั้นน้ำ (น้ำอ้อยสดพร้อมดื่ม) ต่างจากอ้อยโรงงาน (น้ำตาลทราย) ตรงที่อ้อยคั้นน้ำต้องการน้ำมากหรือต้องมีน้ำหล่อในร่องข้างแปลงปลูกตลอดเวลา ถ้าไม่มีน้ำหล่อลำอ้อยจะเล็กเรียวและน้ำหวานน้อย
                
       * ไม่ควรให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ฮอร์โมนไข่ หรือสารอาหาร(ทำเอง)ใดๆที่มีส่วนผสมของกากน้ำตาลฉีดพ่นทางใบต่ออ้อยที่กำลังเจริญเติบโตจนถึงระยะย่างปล้อง เพราะจะทำให้อ้อยแตกตะเกียง (ตา) ตามข้อ ส่งผลให้อ้อยลำไม่โตและไม่หวาน แต่ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือฮอร์โมนไข่ซึ่งมีส่วนผสมของกากน้ำตาลมีสารอาหารที่อ้อยต้องการจึงควรให้โดยใส่ผ่านน้ำในร่องแทน  จากนั้นรากก็จะดูดซึมเข้าสู่ต้นได้เช่นกัน
 
      * เมื่อลำต้นเริ่มสูงขึ้น (ย่างปล้อง) ควรไม้ค้ำยันเพื่อให้ลำตรง
                 
       * เนื่องจากอ้อยต้องใช้สารอาหารปริมาณค่อนข้างมากในการสร้างน้ำตาล ช่วงที่ต้นเจริญเติบโตได้ 50 เปอร์เซ็นต์แล้วควรให้ยิบซั่มธรรมชาติและกระดูกป่นอีก 1 ครั้ง

       * ไม่ควรให้มูลค้างคาว มูลไก่ไข่ มูลนกกระทา เพราะจะทำให้อ้อยออกดอกได้
   
                
          สายพันธุ์นิยม
               
          อ้อยคั้นน้ำที่เกษตรกรนิยมปลูกกันทั่วไปมาเป็นเวลานาน ได้แก่พันธุ์ สิงค์โปร. เมอริชาด. สุพรรณบุรี-50. เนื่องจากมีลักษณะเปลือกอ่อนบาง  ปล้องยาว น้ำหวานมาก รสหวานจัด กลิ่นหอม ปัจจุบันนี้  ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ได้พัฒนาอ้อยเคี้ยวหรืออ้อยคั้นน้ำสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาชื่อ อ้อยเคี้ยวสุพรรณบุรี-72  ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะตัวเหนือกว่าพันธุ์เดิมที่นิยมกัน กล่าวคือ ลำต้นมีสีเขียวอมเหลือง   กาบใบสีเขียวอมม่วง   ความยาวหรือความสูง 2.70 ม.  ขนาดลำปานกลางถึงใหญ่  ปล้องยาว  ข้อเล็ก  เนื้อนุ่ม ชานเหนียวไม่แตกยุ่ยง่าย ให้ผลผลิตทั้งกอสูงถึง 17-18 ตัน/ไร่  ปอกเปลือกแล้วได้เนื้ออ้อยไม่รวมข้อ 6,300-6,500 กก./ไร่  อายุเก็บเกี่ยวตั้งแต่เริ่มปลูก 8-9 เดือน  เมื่อเทียบกับพันธุ์เมอริชาด  สุพรรณบุรี-72 ให้ผลผลิตรวมต่อไร่สูงกว่า 2 เท่า ให้ความหวาน 19.3 องศาบริกซ์หรือหวานกว่าเมอริชาด 12 เปอร์เซ็นต์ น้ำอ้อยที่คั้นออกมาแล้วมีสีเหลืองอมเขียวทำให้น่ารับประทานกว่าเมอริชาดซึ่งนำคั้นมีสีน้ำตาลคล้ำและหลังจากล้มตอ (หลังเก็บเกี่ยวแล้ว) แตกหน่อใหม่ดีกว่าเมอริชาดทำให้ไม่ต้องปักกล้าปลูกใหม่ทุกปี นอกจากนี้สุพรรณบุรี-72 ยังให้ปริมาณผลผลิตใกล้เคียงกับพันธุ์สุพรรณบุรี-50 คือ 4,900 ล./ไร่ และน้ำคั้นสีเหลืองอมเขียวเหมือนกันอีกด้วย 
 
        อ้อยคั้นน้ำหรืออ้อยเคี้ยวพันธุ์  หยวนเจียง  ขนาด  1 ลำให้น้ำ 1 ล.  เนื้อนุ่มแม้แต่ส่วนข้อก็เคี้ยวได้                   

          การขยายพันธุ์
                
       -  ปักดำด้วยยอดตัดใบทิ้ง  โดยใช้ส่วนยอดปักลงดินเฉียง 45 องศา ลึกมิด 1-2 ตา หน่อใหม่จะเกิดจากตาส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน 1 ตา/1 ยอด หรือปักดำด้วยท่อนพันธุ์แก่โดยวิธีการเดียวกันกับปักดำด้วยยอด หน่อใหม่เกิดจากตาที่ข้อเช่นเดียวกันแต่หน่อที่เกิดจากท่อนพันธุ์แก่จะโตช้ากว่าหน่อที่เกิดจากยอด
         - ใช้ท่อนพันธุ์จากลำที่แก่แล้วตัดเฉพาะส่วนข้อมีตาติดอยู่ 1 ตา ฝังดินให้ตาอยู่ด้านบนลึกพอมิดตาหรือฝังดินทั้งท่อนมีตา 2-3 ตาหรือมากกว่าโดยพยายามจัดให้ตาอยู่ด้านบนมากตาที่สุดเท่าที่มีในท่อนพันธุ์ท่อนนั้นหรืออย่างน้อยให้อยู่ด้านข้างก็ได้ แต่ถ้าตาอยู่ด้านล่างจะไม่แทงหน่อออกมา
  
                 

           เตรียมแปลง  
               
       1. ใส่อินทรีย์วัตถุประเภทคงทน (แกลบดิบ แกลบเก่า ยิบซั่มธรรมชาติ กระดุกป่น ปุ๋ยคอก)  โดยหว่านให้ทั่วแปลงปลูก จากนั้นไถดะไถแปรและไถพรวนตามลำดับ เสร็จแล้วจึงยกร่องทำแปลงปลูกแบบลูกฟูก สันลูกฟูกกว้าง 1.5-3 ม. สูง 20-30 ซม. โค้งหลังเต่า  ยาวตามความเหมาะสม ร่องน้ำกว้าง 1-1.5 ม.ลึก 20-30 ซม. ก้นร่องแบน
               
       2. ปรับเรียบผิวดินบนสันลูกฟูก บ่มดินด้วยการรด  น้ำ 100 ล. + น้ำสารอาหาร + จุลินทรีย์   ให้โชก  ทุก 5-7 วัน  ติดต่อกันนาน 1 เดือน
       3. และหลังจากได้ร่องน้ำแล้วหว่าน  ปุ๋ยคอก + ยิบซั่มธรรมชาติ + กระดูกป่น  ให้ทั่วพื้นที่ก้นร่อง  จากนั้นจึงปล่อยน้ำเข้าจนเต็มพร้อมกับใส่  น้ำสารอาหาร   ลงไปในน้ำ 1-2 ล./ร่องยาว 20 ม.                
          หมายเหตุ :
                
          กระดูกป่นและมูลค้างคาวช่วยบำรุงให้อ้อยหวานจัดกลิ่นดีแต่มีปัญหาที่ทำให้อ้อยออกดอกเร็ว  ดังนั้นจึงให้ใส่แต่น้อยๆ
                 

          เตรียมต้นพันธุ์             
                
      1. ใช้ลำอ้อยแก่จัด  ตัดเป็นท่อนแต่ละท่อนมีข้ออย่างน้อย 3 ข้อ  เมื่อนำไปปลูกแล้วจะได้หน่อที่
เกิดจากตา 3 หน่อ.........หรือตัดเฉพาะส่วนข้อมีตา 1 ตา  เมื่อนำไปปลูกแล้วจะได้ 1 หน่อ........หรือใช้ลำส่วนยอด มีตาติดอยู่ 2-3 ตา ตัดใบทิ้ง  เมื่อนำไปปลูกจะได้หน่อที่เกิดจากตา 1-2 หน่อ               
      2. นำท่อนอ้อยที่จะใช้ทำพันธุ์มาลงแช่ใน    น้ำ 20 ล. + ไคตินไคโตซาน 20 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 20 ซีซี.    นาน 1 คืน  นำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง   แห้งดีแล้วใช้ปูนกินหมากทาแผลรอยตัด  ทิ้งไว้ในร่ม 2-3 คืนเพื่อให้ท่อนพันธุ์เกิดความเครียด  จึงนำไปปลูกในแปลงจริง
                 
          ระยะปลูก
                 
        - ระยะปกติ  2 X 3 ม. หรือ  2 X 4 ม.  ปลูกแบบ 2 แถวสลับฟันปลาริมสันแปลง
        - ระยะชิด   1 X 1  ม. หรือ  1 X 1.5 ม. ปลูกแบบแถวเดี่ยวกลางสันแปลง
                 
          วิธีปลูกอ้อย  
                
      1. ต้นพันธุ์ที่ตัดเป็นท่อนๆละ 3 ตาให้ปลูกโดยการวางราบกับพื้นดิน  ปรับตำแหน่งตาให้ชี้ออกด้านข้างหรือด้านบน  ถ้าตาชี้ลงล่างจะไม่งอกเพราะชอนหรือเลี้ยวขึ้นมาไม่ได้  ฝังท่อนพันธุ์ลึกพอท่วม  กลบดินแล้วคลุมด้วยฟางหนาๆ..........ต้นพันธุ์ที่เป็นข้อๆละ 1 ตาให้ฝังลงดินลึกพอท่วมโดยให้ตาอยู่ด้านบน  กลบดินแล้วคลุมด้วยฟางหนาๆ..........ต้นพันธุ์ที่เป็นลำส่วนยอดให้ปักลงดินเฉียง 45-60 องศา  ให้ข้อจมลงไปในดิน 1-2 ข้อ  แล้วคลุมโคนด้วย
ฟางแห้งหน้าๆ
               
       2. ปลูกที่ริมลูกฟูก  ห่างจากน้ำในร่อง 20-30 ซม.  ระยะห่างระหว่างกอ 1.5-2 ม. สลับฟันปลาเป็น 2 แถวต่อ 1 สันลูกฟูก
               
       3. หลังจากลงต้นกล้าไปแล้วให้น้ำโชกๆ  จากนั้นให้น้ำเปล่าทุก 3-5 วัน  ระวังอย่าให้หน้าดินแห้งหรือรักษาหน้าดินให้ชื้นอยู่เสมอ
          



                                  การปฏิบัติบำรุงต่ออ้อย
 
       1. บำรุงระยะต้นเล็ก
                 
           ทางใบ :  
               
        - ให้น้ำ 100 ล. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.   ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบทั่วพื้นสันแปลงปลูก  ทุก 7-10 วัน
                
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               
          ทางราก :
                
          ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 หรือ 16-8-8  อัตรา 1-2 กก./ไร่ หว่านทั่วสันแปลงปลูกแล้วรดน้ำตามเพื่อละลายปุ๋ย
                
          หมายเหตุ :
               
       - เริ่มให้หลังจากแตกยอดได้ 2-3 ใบแล้วให้  
                
       - ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริมเดือนละ 1 ครั้ง 
          

       2.บำรุงระยะเริ่มย่างปล้อง
                
          ทางใบ :
                
       - ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (200 กรัม) + กลูโคสผง 250 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.    ฉีดอาบให้โชกทั่วต้นลงถึงพื้นทั่วสันลูกฟูก  ทุก 7-10 วัน
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                  
         ทางราก :
                
       - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14  สลับกับ  8-24-24  (1-2 กก.)/ไร่/เดือน  หว่านทั่วสันแปลงปลูกแล้วรดน้ำตามเพื่อละลายปุ๋ย
                
         หมายเหตุ :
                
       - เริ่มให้เมื่อยอดสูง 1-1.5 ม.หรือโคนต้นเริ่มเป็นลำ
                
       - ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริมเดือนละครั้ง
                
       - ลอกเฉพาะกาบแห้งออกและหมั่นลอกบ่อยๆเมื่อกาบแห้งจนถึงเก็บเกี่ยวจะช่วยให้ผิวสวย
               
       -  ทำราวไม้รวกล้อมกอเพื่อป้องกันต้นเอนหรือคดงอทำให้ราคาตก
          

       3.บำรุงระยะต้นโต
                
          ทางใบ :  
                
        - ให้น้ำ 100 ล. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนลงลงถึงพื้น  ทุก 7-10 วัน
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                  
          ทางราก :
                
        - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 สลับกับ 8-24-24  (1-2 กก.)/ไร่/เดือน  หว่านทั่วสันแปลงปลูกแล้วตามด้วยน้ำให้ปุ๋ยละลาย
        - รักษาระดับน้ำในร่องน้ำให้ต่ำกว่าผิวพื้น 15-20 ซม.เสมอ
    
                 
          หมายเหตุ :
                
        - เริ่มให้เมื่อลำอ้อยส่วนที่ลอกกาบแล้วสูง 1-1.5 ม.
                
        - วิธีให้ปุ๋ยทางรากโดยการหว่านบนพื้นสันแปลงแล้วถ้ามีการหว่านแบบแบ่งลงไปน้ำในร่องน้ำบ้างสักเล็กน้อยก็จะช่วยให้ต้นอ้อยได้รับปุ๋ยมากขึ้น
        - ให้ฮอร์โมนสมส่วนเดือนละ 1 ครั้ง          

       4.บำรุงก่อนเก็บเกี่ยว
                
          ทางใบ :  
               
        - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-0-50 หรือ 0-21-74 (สูตรใดสูตรหนึ่ง) 200 กรัม + กลูโคสผง 250 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 7-10 วัน
                
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน 
               
         ทางราก :
                
       - ให้ 8-24-24 (1-2 กก.)/ไร่  หว่านทั่วสันแปลงปลูกแล้วตามด้วยน้ำให้ปุ๋ยละลาย
       - ระบายน้ำออกจากร่องให้หมดตลอด 1 เดือน (เดือนสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว)
   
      หมายเหตุ  :                
       - เริ่มให้เมื่ออายุต้นได้ 8 เดือนหรือช่วงเดือนสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว
                                          







                           *********************************









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (8969 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©