|
ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่
|
|
|
|
|
|
ขณะนี้มี 525 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม
ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่
|
|
|
|
|
|
|
|
เข้าระบบ
|
|
|
|
|
|
ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง
|
|
|
|
|
|
|
|
product13
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product9
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product10
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product11
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product12
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| |
|
|
|
|
พืชไร่
ฝ้าย
ฝ้ายเป็นวัตถุดิบที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศ ซึ่งปัจจุบันความต้องการใช้ ฝ้ายเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสิ่งทอมีปีละกว่า 350,000 ตัน (ฝ้ายปุย) แต่ในขณะเดียวกันการผลิตฝ้ายของประเทศมีปริมาณน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศ คือผลิตฝ้ายได้เพียงปีละประมาณ 25,000 ตัน (ฝ้ายปุย) คือคิดเป็นร้อยละ 7 ของปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศนั้น ส่วนที่เหลือทั้งหมดต้องนำเข้าจากต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าปีละไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาท แต่ประเทศไทยสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอซึ่งใช้ฝ้ายเป็นวัตถุดิบออกจำหน่ายยังต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่าปีละ 100,000 ล้านบาท ซึ่งจากแนวโน้มการปลูกฝ้ายนับตั้งแต่ปี 2524 ที่ประเทศไทยเคยมีพื้นที่ปลูกฝ้ายถึง 1 ล้านไร่ นั้น ก็มีแนวโน้มลดลงทุกปี สาเหตุที่สำคัญคือฝ้ายเป็นพืชที่มีแมลงศัตรูมา รบกวนมากโดยเฉพาะหนอนเจาะสมอฝ้าย เกษตรกรจะต้องฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูฝ้ายปีละประมาณ 10-14 ครั้ง ทำให้ต้นทุนการผลิตฝ้ายสูงและยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายของเกษตรกร และมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอีกด้วย รวมทั้งเกษตรกรขาดแคลนเงินทุนและแรงงานในการฉีดพ่นสารเคมี การเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งนับวันจะมีราคาแพงและหายาก นอกจากนี้ปัญหาในด้านพืชแข่งขันอื่น เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด ซึ่งได้รับการสนับสนุนและแทรกแซงจากภาครัฐชัดเจนทั้งด้านปัจจัยการผลิตและการตลาดทำให้เกษตรกรที่เคยปลูกฝ้ายหันไปปลูกพืชไร่ชนิดอื่นแทน ความไม่มีเสถียรภาพของราคาฝ้ายดอกที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามราคาตลาดโลก เกษตรกรขาดอำนาจในการต่อรองราคาก็ส่งผลทำให้ เกษตรกรปลูกฝ้ายลดลง อย่างไรก็ตามในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 กำหนดให้ฝ้ายเป็นพืชที่ต้องรักษาระดับปริมาณการผลิต เพื่อทดแทนการนำเข้าฝ้ายจากต่างประเทศ ดังนั้นจึงควรมีการ ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตฝ้าย ลดปริมาณการใช้สารเคมี เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตฝ้ายและคุณภาพฝ้ายให้ดีขึ้นสามารถผลิตฝ้ายใช้ในประเทศได้มากขึ้นเพื่อช่วยเหลือประเทศชาติในยุคที่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดจากผลกระทบจากค่าเงินบาทลอยตัว เน้นให้มีการใช้ผลผลิตทางการเกษตรภายในประเทศมากขึ้น ลดการนำเข้าผลผลิตจากต่างประเทศและให้ภาคเกษตรสามารถรองรับแรงงานที่จะเคลื่อนย้ายจากภาคอุตสาหกรรมกลับสู่ชนบทอีกด้วย
แหล่งผลิต 26 จังหวัด
ภาคกลาง |
สระบุรี ลพบุรี |
ภาคตะวันออก |
จันทบุรี สระแก้ว |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
นครราชสีมา อุบลราชธานี ชัยภูมิ อุดรธานี เลย หนองบัวลำภู |
ภาคเหนือ |
เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พะเยา พิษณุโลก สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ |
ภาคตะวันตก |
กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี |
|
ฤดูปลูก
ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม
|
|
ปริมาณการผลิต (ทั้งประเทศย้อยหลัง 5 ปี) |
ปี |
พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) |
ผลผลิตฝ้ายดอก (ตัน) |
ผลผลิตต่อไร่ (กก.) |
2536/37
2537/38
2538/39
2539/40
2540/41 |
328,166
355,353
363,215
336,816
313,913 |
66,574
77,907
80,751
75,142
70,211 |
216
226
222
223
224 |
พันธุ์ส่งเสริม
พันธุ์ศรีสำโรง 60
ลักษณะประจำพันธุ์ มีทรงต้นโปร่งใบค่อนข้างใหญ่ และตรงแฉกของใบยกขึ้นเล็กน้อย คล้าย ๆ กับพันธุ์ฝ้ายศรีสำโรง 2 ดอกสีขาวนวล อับละอองเกสรตัวผู้สีขาวครีม สมอค่อนข้างกลมและโต น้ำหนักฝ้ายปุยทั้งเมล็ดต่อหนึ่งสมอประมาณ 6.3 กรัม ปลายสมอแหลมคล้ายกับพันธุ์ศรีสำโรง 2 อายุ เก็บเกี่ยวประมาณ 110-160 วัน เป็นฝ้ายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงค่อนข้างสม่ำเสมอ น้ำหนัก 100 เมล็ดหนักประมาณ 11 กรัม มีความต้านทานต่อโรคใบหงิกผลผลิตปุยทั้งเมล็ดเฉลี่ย 329 - 360 กก.ต่อไร่ เปอร์เซ็นต์ปุย 39.6 % ความยาวเส้นใยประมาณ 28 มม. (1.14 นิ้ว) ค่าความละเอียดอ่อนของเส้นใย (ไมโครแนร์) 4.2 ค่าความเหนียวของเส้นใย 20 กรัมต่อเท็กซ์ และความสม่ำเสมอของเส้นใย 47.5%
พันธุ์ศรีสำโรง 2
ลักษณะประจำพันธุ์ มีทรงต้นโปร่ง สูงประมาณ 123 ซม. มีกิ่งกระโดง 0-4 กิ่ง กิ่งผลไม่ยาวมากและทำมุมแหลมกับลำต้น มีข้อของกิ่งผลถี่ ใบมีขนาดเล็ก กว้างประมาณ 4.5 นิ้ว ใบเป็นแฉก 3-5 แฉกและที่โคนของจักใบยกสูงขึ้นเห็นได้ชัด สมอมีขนาดใหญ่จึงทำให้การติดของสมอห่างดูไม่ดกมาก ดอกแรกบานอายุ 50 วัน อับเรณูมีสีขาวนวล หรือครีม อายุเมื่อเก็บเกี่ยวได้ 120-160 วัน น้ำหนักฝ้ายปุย ทั้งเมล็ดต่อหนึ่งสมอ ประมาณ 6.3 กรัม เมล็ดมีขนาดปานกลาง น้ำหนัก 100 เมล็ด ประมาณ 11.4 กรัม มีความต้านทานต่อโรคใบหงิกค่อนข้างสูง ผลผลิตปุยทั้งหมด 280-330 กก. ต่อไร่ มีเปอร์เซ็นต์หรือปุย 38.2% เส้นใยยาวประมาณ 30 มม. (1.19 นิ้ว) ค่าความเหนียวของเส้นใย 20.4 กรัมต่อเท็กซ์ และมีความสม่ำเสมอของเส้นใย 50.9% ค่าความละเอียดอ่อนของเส้นใย (ไมโครแนร์) 3.9
พันธุ์นครสวรรค์ 1
ลักษณะประจำพันธุ์ มีลักษณะทรงต้นสูงโปร่ง รูปกรวยยาวคล้ายต้นสน กิ่งผลสั้น ทำให้สะดวกต่อการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูฝ้าย ความสูงเฉลี่ย 140 ซม. กระโดงน้อย 0-3 กิ่งใบค่อนข้างเรียบและมีขนาดปานกลางกว้างประมาณ 4.5 นิ้ว ข้อของกิ่งผลถี่ ดอกแรกบานเมื่ออายุประมาณ 45 วัน อับเรณู มีสีขาวนวล อายุเก็บเกี่ยว 105-150 วัน สมอโตกว่าฝ้ายพันธุ์ศรีสำโรง 3 มีขนาดน้ำหนักฝ้ายปุยทั้งเมล็ดต่อหนึ่งสมอ 5.8 กรัม มีความต้านทานต่อโรคใบหงิกสูง และต้านทานต่อโรคแบคทีเรียลไบล์ ปานกลาง ผลผลิตปุยทั้งเมล็ด 300-360 กก./ไร่ เปอร์เซ็นต์ปุยประมาณ 39.5 % เส้นใยยาวประมาณ 28 มม.ความเหนียวของเส้นใยประมาณ 19 กรัมต่อแท็กซ์ ค่าความละเอียดอ่อนของเส้นใย (ไมโครแนร์) 4.8 และความสม่ำเสมอของเส้นใย 49.9%
|
|
ต้นทุนการผลิต |
หน่วย:บาท |
รายการ |
2536/37 |
2537/38 |
2538/39 |
2539/40 |
2540/41 |
ต้นทุนผันแปร
ต้นทุนคงที่
ต้นทุน/กก.
ต้นทุน/ไร่ |
2,248.81
152.51
11.83
2,401.32 |
2,317.48
171.77
11.37
2,489.61 |
2,464.51
156.50
11.79
2,621.01 |
2,500.90
156.50
11.97
2,657.40 |
2,564.82
156.50
12.15
2,721.32 |
|
การใช้ประโยชน์
1) ปุยฝ้าย (Lint or Fibre)
1.1) ใช้ทำเครื่องนุ่งหุ่ม
1.2) เครื่องใช้ภายในบ้าน
1.3) วัตถุทางอุตสาหกรรม ยางรถยนต์ เบาะที่นั่ง เชือก ถุง สายพาน ผ้าใบ ท่อส่งน้ำ และการผลิตเส้นใยเทียม หรือ เรยอง (rayon)
2) เมล็ดฝ้าย
ซึ่งประกอบด้วย ขนปุยที่ติดกับเมล็ด (linter or fuzz) เปลือกเมล็ด (Seed coat) และเนื้อในเมล็ด (Kernel) ส่วนประกอบแต่ละอย่างของเมล็ดสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
2.1) ขนปุย (linter or fuzz) : นำไปใช้ทำผ้าซึมซับ ทำเบาะผ้าสักหลาด พรม วัตถุระเบิด และอุตสาหกรรม เซลลูโลส เช่น ทำเส้นใยประดิษฐ์ ฟิล์มเอ๊กซเรย์ พลาสติก
2.2) เปลือกเมล็ด (Seed Coat) : นำไปใช้ทำเป็นส่วนประกอบของอาหารสัตว์ ทำปุ๋ย อินทรีย์ ใช้ในด้านอุตสาหกรรมพลาสติก ทำยางเทียม และเป็นส่วนประกอบในการเจาะและกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง
2.3) เนื้อในเมล็ด (Kernel) เป็นส่วนสำคัญของเมล็ดฝ้ายที่ใช้ประโยชน์ต่อมนุษย์ โดยนำไปสกัดเอาน้ำมัน (oil) ซึ่งใช้เป็นน้ำมัน ประกอบอาหารชนิดดีใช้ทำเนยเทียม ใช้เป็นตัวทำละลาย (Solvent or emulsifier) ในโรงงานอุตสาหกรรม ทำยารักษาโรค สารปราบโรคและแมลงศัตรูพืช เครื่องสำอาง ยางพลาสติก เครื่องหนังกระดาษและอุตสาหกรรมสิ่งทอ กากที่เหลือหลังจากสกัดเอาน้ำมันออกแล้ว มีปริมาณโปรตีนสูง นำไปทำเป็นอาหารสัตว์ เป็นปุ๋ย และมีการนำไปทำอาหารมนุษย์ เช่น ผสมทำขนมปัง ผสมอาหารพวกที่มีเนื้อ เช่น ทำไส้กรอก
|
|
ภาวะการตลาด |
รายการ |
ปี 2536/37 |
ปี2537/38 |
ปี 2538/38 |
ปี 2539/40 |
ปี 2540/41 |
1. การใช้ภายในประเทศ (ตัน)
2. ปริมาณการนำเข้าฝ้ายปุย (ตัน)
3. มูลค่าการนำเข้า (ล้านบาท)
4. ปริมาณการส่งออก ฝ้ายปุย
5. มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) |
556,206
537,949
13,528.59
5,377
121.31 |
337,804
313,215
14,883.98
3,937
132.54 |
377,989
353,670
17,456.61
4,316
128.88 |
386,904
306,691
14,167.80
5,486
128.88 |
-
-
-
-
- |
ปี 2540/41 อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล |
|
เทคโนโลยีการปลูก |
การเตรียมดิน
ควรทำการเตรียมดินก่อนถึงฤดูปลูกประมาณ 1 เดือน โดยการไถดะ 1 ครั้ง พลิกดินและตากไว้ปล่อยให้วัชพืชแห้งตาย นอกจากนี้ศัตรูพืชอื่น ๆ เช่น เชื้อโรค และแมลงศัตรูต่าง ๆ ก็จะถูกทำลายไปด้วย หลังจากนั้นประมาณ 2-3 สัปดาห์ จึงไถแปร ต่อมาก็ทำการพรวนดินให้มีขนาดละเอียดพอสมควรที่จะหยอดเมล็ดฝ้ายได้
ระยะปลูก
ระยะระหว่างแถว 125 ซม. ระหว่างหลุม 50 ซม.
พันธุ์ปลูก
พันธุ์ฝ้ายที่แนะนำให้เกษตรกรปลูก ได้แก่ พันธุ์ศรีสำโรง 60 ศรีสำโรง 2 และ นครสวรรค์ 1
|
|
วิธีการปลูก
ควรปลูกฝ้ายเป็นแนว ขวางทิศทางลมโดยการหยอดเมล็ดเป็นหลุม ๆ หลุมละ 5-7 เมล็ด กลบดินให้มิดเมล็ด การปลูกจะมี 2 วิธีคือ
1. การปลูกเมื่อดินมีความชื้นพอแล้ว วิธีนี้หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์แล้วจะกลบดินเพียงบาง ๆ ประมาณ 2.5 ซม.
2. การปลูกเพื่อรอฝน เป็นการปลูกในขณะที่ดินยังแห้งและมีความชื้นไม่เพียงพอกับการงอก วิธีนี้จะต้องกลบดินให้หนาเมล็ดอยู่ลึกประมาณ 5 ซม.
|
|
การดูแลรักษา
ระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ
ฝ้ายเริ่มงอกหลังจากปลูกไปแล้ว 3-5 วัน และมีช่วงการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบประมาณ 28 วัน เมื่อฝ้ายอายุได้ 15-20 วัน ควรทำการถอนแยกต้นฝ้ายครั้งแรก ให้เหลือ 2 ต้นต่อหลุม และทำการกำจัดวัชพืชด้วย ในระยะนี้เกษตรกรควรระมัดระวัง แมลงศัตรูฝ้ายประเภทปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยไฟ เข้าทำลาย หากพบว่ามีการระบาดของแมลงประเภทนี้ให้พ่นสารเคมี โอเมทโธเอท หรือโมโนโครโตฟอส อย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนโรคฝ้ายที่สำคัญในระยะนี้คือ โรคใบหงิก ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส โดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นตัวนำเชื้อมาสู่ต้นฝ้าย ดังนี้หากกำจัดเพลี้ยอ่อนลงได้ ก็จะช่วยลดปริมาณการเป็นโรคใบหงิก ของฝ้ายได้
ระยะติดปี้ (ดอกอ่อน)
ฝ้ายเริ่มมีดอกอ่อน หรือติดปี้เมื่ออายุ 28-30 วัน
ระยะนี้เกษตรกรควรถอนแยกต้นฝ้ายให้เหลือต้นที่สมบูรณ์ เพียง 1 ต้น ต่อหลุมมีการกำจัดวัชพืช และใส่ปุ๋ย พูนโคนต้นฝ้าย ปุ๋ยที่ใช้ควรเป็น
1. ปุ๋ยสูตร 20-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ ในพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวสีดำ
2. ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 40-60 กก./ไร่ ในพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวสีแดง
ระยะออกดอก
ฝ้ายออกดอกหรือดอกบานเมื่ออายุประมาณ 45-50 วัน ควรระมัดระวังการเข้าทำลายของหนอนเจาะสมอฝ้าย โดยหมั่นตรวจแปลงฝ้ายทุก 3-5 วัน ในพื้นที่ขนาด 5 ไร่ ทำการสุ่มตรวจต้นฝ้ายให้ ทั่วแปลงจำนวน 30 ต้น ถ้าพบหนอนเจาะสมอฝ้ายมากกว่า 6 ตัว จะต้องรีบพ่นสารเคมีกำจัด โดยใช้สารเคมีในกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟต เช่น ซัลโปรฟอส หรือ โปรเฟนโนฟอส สลับครั้งกับสารเคมีในกลุ่มอื่น ต้องไม่ใช้สารฆ่าแมลงเพียงกลุ่มเดียวฉีดพ่นกำจัดหนอนติดต่อกันตลอดฤดู
ระยะติดสมอ
ฝ้ายจะเริ่มติดสมอเมื่ออายุประมาณ 60-65 วัน ในระยะที่ฝ้ายติดสมอจนถึงช่วงก่อนสมอแก่ (100 วัน) เกษตรกรต้องดูแลรักษาฝ้ายเป็นพิเศษโดยเฉพาะการป้องกันกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้ายเช่นเดียวกับที่ปฏิบัติในระยะที่ฝ้ายออกดอกหากพบว่ามีแมลงปากดูดชนิดใดชนิดหนึ่งระบาดจำเป็นต้องใช้สารเคมีประเภทดูดซึม เช่น โมโนโครโตฟอสพ่นเสริมด้วย
|
|
การใส่ปุ๋ย
มักจะปฏิบัติไปพร้อมกับการพรวนดินพูนโคน จะใส่ปุ๋ยเมื่อฝ้ายอายุประมาณ 3-4 สัปดาห์ หลังงอก การให้ปุ๋ยฝ้าย 2 วิธี ดังนี้
1. การให้ทางดิน จะให้แบบโรยข้าง ๆ แถวฝ้าย อัตราปุ๋ยที่แนะนำคือ
- ในดินเหนียวสีดำ ควรใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 30 กก./ไร่ หรือให้ปุ๋ยยูเรีย 13 กก./ไร่
- ใช้ดินเหนียวสีแดง ควรใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 50 กก./ไร่
2. การให้ทางใบ จะผสมน้ำแล้วพ่นให้ทางใบฝ้าย มีปุ๋ยสูตรต่าง ๆ ในตลาดเกษตรกรนิยมใช้ปุ๋ยทางใบกับฝ้าย
|
|
การกำจัดวัชพืช
โดยใช้แรงงานคน สัตว์ เครื่องจักรกล หรือฉีดพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืช
|
|
การเก็บเกี่ยว
โดยปกติแล้วจะสามารถเริ่มเก็บเกี่ยวฝ้ายได้เมื่ออายุ 120 วันหลังงอก และจะเก็บเกี่ยวไปเรื่อย ๆ ช่วงห่างกันประมาณ 10 วัน เก็บเกี่ยว 3-4 ครั้งก็จะแล้วเสร็จ การเก็บเกี่ยวเป็นขั้นตอนสุดท้ายในไร่นาและเป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่ง การเก็บเกี่ยวที่ถูกต้องจะทำให้ผลผลิตมีคุณภาพและได้ราคาสูง การเก็บเกี่ยวผลผลิตฝ้ายมีหลักการดังนี้
1. เก็บปุยที่แก่และแตกบานเต็มที่ แต่ต้องไม่ทิ้งให้อยู่ในไร่นานเกินไปจะทำให้คุณภาพเส้นใยลดลง
2. เก็บปุยที่แห้งไม่เปียกฝน
3. ระวังความสะอาดของปุย ให้มีสิ่งเจือปน เช่น ใบแห้ง ดินทรายให้น้อยที่สุด
4. เก็บแยกเป็นรุ่น ๆ ควรแยกเป็นฝ้ายสมอล่าง , สมอกลาง และสมอปลาย เพราะมีคุณภาพเส้นใยต่างกันโดยเฉพาะสมอปลาย
5. เก็บแยกตามคุณภาพ ควรแยกฝ้ายเปียก ฝ้ายฟันม้าไว้ต่างหากจากฝ้ายคุณภาพดี การเก็บปะปนกันจะทำให้ถูกตีราคารับซื้อต่ำ
6. ใช้ถุงผ้าหรือกระสอบปอที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติในการเก็บและบรรจุ อย่าใช้ถุงที่ทำจากพลาสติกจะทำให้เส้นใยพลาสติกปะปนไปในใยฝ้าย ซึ่งจะทำให้ผ้าผืนมีคุณภาพต่อเนื่องจากย้อมสีไม่ติด
7. ควรผึ่งฝ้ายไว้ในที่ร่มจะทำให้ได้เส้นใยที่มีคุณภาพดีกว่าตากแดด
|
โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ |
โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคใบหงิก โรคใบไหม้ โรคใบจุด และโรคเหี่ยว
แมลงศัตรูฝ้าย
1) ชนิดปากดูด ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว
2) ชนิดปากดูด ได้แก่ หนอนเจาะสมอฝ้าย |
|
ปฏิทินการดูแลรักษา |
การปฏิบัติ |
มิย. |
กค. |
สค. |
กย. |
ตค. |
พย. |
ธค. |
มค. |
กพ |
มีค |
เมย. |
พค. |
1). ปลูก |
2). งอกหลังปลูก 2-3 วัน |
3). 15 วันถอนแยกครั้งที่1 เหลือ 2 ต้น/หลุม พร้อมกำจัดวัชพืชครั้งที่1 |
4). 30 วัน ติดปี้ ถอนแยกเหลือ 1 ต้น/หลุม พร้อมใส่ปุ๋ย /พูนโคน |
5). 45 วันติดดอก กำจัดวัชพืชครั้งที่ 2 |
6). 50 วัน ติดสมอ |
7). 65-66 วันกำจัดวัชพืชครั้งที่ 3 |
8). 120 วัน เริ่มเก็บเกี่ยว |
9). 150 -160 |
|
*หมายเหตุ ภาคเหนือ : ปลูกต้นเดือน-ปลายเดือนกรฎาคม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ปลูกปลายเดือนมิถุนายน-ต้นกรกฎาคม
ภาคตกและภาคกลาง : ปลูกปลายกรกฎาคม-ต้นสิงหาคม
: ช่วงตั้งแต่เริ่มงอกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรมีการตรวจนับแมลงทุก 3-5 วัน และเมื่อพบว่า มีการระบาดถึงระดับเศรษฐกิจให้ฉีดพ่นสารเคมีกำจัด
เริ่มงอกจนถึงช่วงติดปี้ เน้นการป้องกันกำจัดแมลงปากดูด เช่น เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยอ่อน สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ สารกลุ่มโมโนโครโตฟอส
ตั้งแต่ช่วงติดปี้จนถึงเก็บเกี่ยว เน้นการป้องกันกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้าย สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ สารกลุ่ม ออร์แกนโนฟอสเฟต สลับกับสารเคมี กลุ่มอื่น ๆ
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved. ติดประกาศ: 2010-05-05 (2079 ครั้ง) [ ย้อนกลับ ] |
|
|
|
|
|