|
ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่
|
|
|
|
|
|
ขณะนี้มี 581 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม
ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่
|
|
|
|
|
|
|
|
เข้าระบบ
|
|
|
|
|
|
ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง
|
|
|
|
|
|
|
|
product13
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product9
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product10
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product11
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
product12
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| |
|
|
|
|
พืชไร่
หน้า: 1/2
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชอาหารที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เป็นอย่างมาก ซึ่งการส่งออกในรูปเนื้อสัตว์จะมีมูลค่าเพิ่มมากกว่าการส่งออกในรูปข้าวโพดเมล็ดและความต้องการใช้
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมากหลังจากที่มีการขยายการเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่ปี 2535 เป็นผลให้การส่งออกลดลงตามลำดับ ปัจจุบันการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในและมีปริมาณไม่แน่นอนเนื่องจากการผลิตขึ้นกับดินฟ้าอากาศ ทำให้มีความเสี่ยงต่อความเสียหายจากความแห้งแล้งมาก และพื้นที่ปลูกต้องแข่งขันกับพืชเศรษฐกิจอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในระยะ 4 - 5 ปี ที่ผ่านมาประเทศไทยจำเป็นต้องนำเข้าเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการการใช้ภายในทั้ง ๆ ที่ในอดีตไทยเคยเป็นประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่รายหนึ่งของโลกและไทยมีศักยภาพด้านการผลิตการตลาดที่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ดังนั้นจึงควรเร่งการผลิตภายในประเทศให้เพิ่มขึ้นทันกับความต้องการใช้และมีเหลือส่งออก
แหล่งผลิตในประเทศที่สำคัญ |
ภาคเหนือ ได้แก่ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ พิษณุโลก |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครราชสีมา ศรีสะเกษ ชัยภูมิ |
ภาคกลาง ได้แก่ สระบุรี ลพบุรี |
ภาคตะวันตก ได้แก่ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี |
ภาคตะวันออก ได้แก่ สระแก้ว จันทบุรี |
d |
ฤดูปลูก แบ่งเป็น 2 ฤดู |
ต้นฝน เดือนมีนาคม-พฤษภาคม |
ปลายฝน เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม |
d |
ปริมาณการผลิตในประเทศ |
ที่ |
ประเด็น |
หน่วยวัด |
ปี |
หมายเหตุ |
2540/41 |
2541/42 |
2542/43 |
2543/44 |
2544/45 |
1 |
พื้นที่ปลูก |
ล้านไร่ |
8.729 |
9.008 |
7.803 |
7.866 |
7.900 |
|
2 |
ผลผลิตรวม |
ล้านตัน |
3.832 |
4.617 |
4.286 |
4.462 |
4.470 |
|
3 |
ผลผลิตเฉลี่ย |
กก./ไร่ |
439 |
513 |
549 |
567 |
566 |
|
|
d |
พันธุ์ส่งเสริม |
ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมเดี่ยวของหน่วยงานราชการ |
ชื่อพันธุ์สุวรรณ 3601 |
ลักษณะพันธุ์ |
พันธุ์รอยัล 1 |
ผลผลิต(กก./ไร่) |
ให้ผลผลิตสูงสุดถึง 110 ถังต่อไร่ หรือ 1,500 กก./ไร่ |
การปรับตัว |
ปรับตัวได้ดีทุกสภาพแวดล้อม |
การหักล้ม |
เปอร์เซ็นต์ต้นหักล้มต่ำ |
การออกไหม 50% |
52 วัน |
ความสูงของต้น |
166 ซม. |
ความต้านทานโรคทางใบ |
ดีมาก |
ความต้านทานโรคราน้ำค้าง |
ดีมาก |
ลักษณะใบและต้น |
ใบสีเขียวเข้ม โคนลำต้นมีสีม่วง |
เปลือกหุ้มฝัก |
เปลือกฝักหุ้มมิด หัวไม่โผล่ |
จำนวนฝักเน่า |
เปอร์เซ็นต์ฝักเน่าต่ำ แกนฝักไม่ผุง่าย |
จำนวนฝัก/ต้น |
ต้นละ 1 ฝัก ถ้าดินดีบางต้นจะมี 2 ฝัก |
การเก็บเกี่ยว |
หักง่าย |
เปอร์เซ็นต์เมล็ด/ฝัก |
83 – 85 % |
สีและลักษณะเมล็ด |
สีส้มเหลืองกึ่งหัวแข็ง |
|
ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมเดี่ยวของบริษัทเอกชน |
ชื่อบริษัทรอยัลซีด
ชื่อพันธุ์รอยัล 1 |
ลักษณะพันธุ์ |
พันธุ์รอยัล 1 |
ผลผลิต(กก./ไร่) |
ให้ผลผลิตสูงถึง 110 ถังต่อไร่ หรือ 1,660 กก./ไร่ |
การปรับตัว |
ปรับตัวได้ดีทุกสภาพแวดล้อม |
การหักล้ม |
เปอร์เซ็นต์ต้นหักล้มต่ำ |
การออกไหม 50% |
52 วัน |
ความสูงของต้น |
166 ซม. |
ความต้านทานโรคทางใบ |
ดีมาก |
ความต้านทานโรคราน้ำค้าง |
ดีมาก |
ลักษณะใบและต้น |
ใบสีเขียวเข้ม โคนลำต้นมีสีม่วง |
เปลือกหุ้มฝัก |
เปลือกหุ้มมิด หัวไม่โผล่ |
จำนวนฝักเน่า |
เปอร์เซ็นต์ฝักเน่าต่ำ |
จำนวนฝัก/ต้น |
ต้นละ 1 ฝัก |
การเก็บเกี่ยว |
หักง่าย |
เปอร์เซ็นต์เมล็ด/ฝัก |
81 % |
สีและลักษณะเมล็ด |
สีส้มเหลืองกึ่งหัวแข็ง |
|
ชื่อบริษัทยูนิซีดส์ จำกัด
ชื่อพันธุ์U-90 |
ลักษณะพันธุ์ |
พันธุ์ U-90 |
ชนิดพันธุ์ |
ลูกผสมเดี่ยว |
ผลผลิต(กก./ไร่) |
1,350-1,500 |
สีเมล็ด |
สีเหลืองส้ม |
ชนิดเมล็ด |
หัวแข็งกึ่งบุบ |
ขนาดเมล็ด |
ขนาดกลาง |
สีซัง |
ขาว |
ทรงใบและสีใบ |
ใหญ่/สีเขียวเข้ม |
ความสูงฝัก |
105 เซนติเมตร |
ความสูงต้น |
210 เซนติเมตร |
อายุออกดอก |
53 วัน |
อายุเก็บเกี่ยว |
105 วัน |
ความทานแล้ง |
ดีมาก |
ต้านทานโรคทางใบ |
ดีมาก |
ความต้านทานโรคราน้ำค้าง |
ดี |
ความสม่ำเสมอ |
ดี |
|
จุดเด่น |
1. ผลผลิตสูง
2. ต้นแข็งแรง
3. ต้านทานโรค เมล็ดดีมาก
4. เหมาะในการปลูกทั่วไป |
ชื่อบริษัทแปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด
ชื่อพันธุ์แปซิฟิค 328 |
ลักษณะพันธุ์
|
พันธุ์แปซิฟิค328 |
ชนิดพันธุ์ |
ข้าวโพดลูกผสมเดี่ยว |
ผลผลิตเฉลี่ย |
1,594 กก./ไร่ (เฉลี่ยจาก 16 ท้องที่การทดลอง) |
ผลผลิตสูงสุด |
2,085 กก./ไร่ (ข้อมูลจากการทดลอง) |
เปอร์เซ็นต์กระเทาะ |
81.3 เปอร์เซ็นต์ |
วันออกดอก |
49 วัน |
ความสูง |
205 เซนติเมตร |
อายุเก็บเกี่ยว |
105-110 วัน |
ระบบราก |
ดีมาก |
ต้านทานการหักล้ม |
210 |
สีเมล็ด |
ส้มหัวแข็ง |
|
ลักษณะพิเศษ |
1. ให้ผลผลิตสูงมากทุกสภาพแวดล้อม
2. มีความสม่ำเสมอสูงมาก
3. ระบบรากดีมาก
4. ทนแล้งดีมาก
5. ลำต้นอวบใหญ่ แข็งแรง
6. ฝักมีขนาดใหญ่และไม่เน่า |
ชื่อบริษัทไพโอเนีย ไฮ-เบรด (ไทยแลนด์) จำกัด
ชื่อพันธุ์ไพโอเนีย 3012 |
ลักษณะพันธุ์ |
พันธุ์ ไพโอเนีย 3012 |
ความสูงของต้น |
180-120 เซนติเมตร |
อายุเก็บเกี่ยว |
95-100 วัน(กรณีต้องการเก็บเกี่ยวเร็ว) 110 วัน (กรณีต้องการเก็บเกี่ยวปกติ) |
ลักษณะเมล็ด |
หัวแข็ง |
สีเมล็ด |
สีส้ม |
ลำต้น |
แข็งแรง |
ระบบราก |
ดีมาก |
ความทนแล้ง |
ดีมาก |
ต้านทานโรค |
ดีมาก |
ผลผลิต |
1,500-2,200 กก./ไร่ |
|
ลักษณะเด่น |
ฝักยาว ฝักใหญ่ เมล็ดติดฝักสุด น้ำหนักดี กาบหุ้มฝักมิด อัตราการกระเทาะสูงมาก (ประมาณ 83 %) หักง่าย ขั้วไม่เหนียว ทั้งฝักและลำต้นมีความสูงสม่ำเสมอสูง ปรับตัวได้ดีเกือบทุกพื้นที่ ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยสูตรที่มีโปรแตสเซียมผสมอยู่ด้วย |
ชื่อบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด
ชื่อพันธุ์ซีพี.ดีเค.888 |
ลักษณะพันธุ์ |
พันธุ์ ซีพี.ดีเค 888 |
ลักษณะพันธุ์ |
ลูกผสมเดี่ยว |
ผลผลิต (กก./ไร่) |
1,400 |
% การกระเทาะ |
82 |
สีเมล็ด |
สีเหลืองอมส้ม |
ลักษณะของเมล็ด |
หัวแข็งบุบเล็กน้อย |
ลักษณะฝัก (ขนาด,ทรง) |
ฝักเรียวขนาดกลาง มักมี 2 ฝัก ติดเมล็ดถึงฝัก |
ขนาดแกน |
เล็ก |
สีของซัง |
ขาว |
ลักษณะใบ |
สีเขียวค่อนข้างตั้ง ปลายใบห้อย |
สีของดอกตัวผู้ |
ม่วงแดง |
ตำแหน่งฝัก (ซม.) |
110 |
ความสูงต้น (ซม.) |
195 |
อายุออกดอกหัว (วัน) |
55 |
อายุเก็บเกี่ยว (วัน) |
110 |
ความทานแล้ง |
ดีมาก |
ต้านทานโรคทางใบ |
ดีมาก |
ความต้านทานโรคราน้ำค้าง |
ดีมาก |
ความสม่ำเสมอ |
|
|
จุดเด่นของพันธุ์ |
1. มี 2 ฝัก 70-80%
2. สีสวย สีส้ม
3. ผลผลิตสูงมาก
4. ต้านทานการหักล้มดีมาก
5. ความสม่ำเสมอสูง
6. ปลูกได้ทั้ง 2 รุ่น
7. ทนแล้งได้นาน 45 วัน |
ชื่อบริษัทคาร์กิลล์เมล็ดพันธุ์ จำกัด
ชื่อพันธุ์บิ๊ก 919 |
ลักษณะพันธุ์ |
พันธุ์ บิ๊ก 919 |
ผลผลิต (กก./ไร่) |
1,900-2,000 |
ลักษณะฝัก |
ฝักใหญ่สม่ำเสมอ |
ลักษณะของเมล็ด |
เมล็ดมีคุณภาพดีเต็ม |
อายุเก็บเกี่ยว(วัน) |
105-110 |
สีเมล็ด |
สีส้มสวยสด |
ความทนแล้ง |
ทนแล้งได้ดีมาก |
|
จุดเด่น |
การปรับตัวได้กว้างขวางมาก ปลูกได้ดีในทุกสภาพดิน สีได้น้ำหนัก เปอร์เซ็นต์การกระเทาะสูงกว่า 8ขีด ต่อ 1 กิโลกรัม |
ชื่อบริษัทโนวาร์ตีส (เอ็ม พี แอล) จำกัด
ชื่อพันธุ์เหล็กแดง 45 (G5445) |
ลักษณะพันธุ์ |
พันธุ์ G5445 |
ชนิดพันธุ์ |
ลูกผสมเดี่ยว |
ผลผลิตเฉลี่ย(กก./ไร่) |
1,500-2,000 |
ลักษณะของเมล็ด |
หัวแข็ง |
สีเมล็ด |
สีแดงสวย |
อายุออกไหม |
53 วัน |
อายุการเก็บเกี่ยว |
เก็บเกี่ยวสีสดอายุ 95 วันขึ้นไป สีแห้ง 110 วันขึ้นไป |
ความทนแล้ง |
ไม่ต่ำกว่า 45 วัน |
|
จุดเด่น |
1. ปลูกได้ดีในดินทุกชนิด และทุกฤดูกาล
2. เก็บเกี่ยวง่าย
3. ทนต่อโรคราสนิม
4. ปลูกในรุ่น 2 ได้ดีเยี่ยม |
ประมาณการต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เฉลี่ยทั้งประเทศ ปีเพาะปลูก 2540/41 – 2542/43 |
หน่วย : บาท/ไร่
รายการ |
2543/44
(2543) |
2544/45
(2544) |
2545/461/
(2545) |
1. ต้นทุนผันแปร |
1,716.71 |
1,763.24 |
1,785.49 |
1.1 ค่าแรงงาน |
1,079.28 |
1,097.60 |
1,110.74 |
เตรียมดิน |
263.47 |
275.25 |
277.05 |
ปลูก |
125.92 |
125.93 |
129.64 |
ดูแลรักษา |
176.46 |
176.46 |
178.59 |
เก็บเกี่ยว |
513.43 |
519.96 |
525.46 |
1.2 ค่าวัสดุ |
588.79 |
603.26 |
611.62 |
ค่าพันธุ์ |
244.46 |
250.30 |
252.00 |
ค่าปุ๋ย |
233.84 |
241.93 |
248.42 |
ค่ายาปราบศัตรูพืชและวัชพืช |
61.67 |
62.12 |
62.37 |
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น |
15.86 |
15.95 |
15.87 |
ค่าอุปกรณ์การเกษตรและวัสดุอื่น ๆ |
28.14 |
28.14 |
28.14 |
ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์การเกษตร |
4.82 |
4.82 |
4.82 |
1.3 ค่าเสียโอกาสเงินลงทุน |
48.64 |
62.38 |
63.13 |
2. ต้นทุนคงที่ |
235.62 |
235.62 |
235.62 |
ค่าเช่าที่ดิน |
227.76 |
227.76 |
227.76 |
ค่าเสื่อมอุปกรณ์การเกษตร |
7.86 |
7.86 |
7.86 |
3. ต้นทุนรวมต่อไร่ |
1,765.54 |
1,947.31 |
1,949.25 |
4. ต้นทุนรวมต่อกิโลกรัม (บาท/กก.) |
3.44 |
3.53 |
3.60 |
ผลผลิตต่อไร่ (กก./ไร่) 2/ |
268.00 |
566.00 |
562.00 |
ราคาผลผลิตที่เกษตรกรขายได้ ณ ไร่นา (บาท/กก.)3/ |
3.82 |
3.95 |
|
5. ผลตอบแทนต่อไร่ |
2,169.76 |
2,235.70 |
|
6. ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ |
217.43 |
236.84 |
|
7. ผลตอบแทนสุทธิต่อกิโลกรัม (บาท/กก.) |
0.38 |
0.42 |
|
|
หมายเหตุ : |
1/ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีเพาะปลูก 45/46 หมายถึง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปลูกระหว่างมี.ค.45 – 28 ก.พ. 46
(ประมาณการเฉพาะปีเพาะปลูก 2545/46)
2/ รูปผลผลิตเป็นเมล็ดข้าวโพดที่สีแยกออกจากฝักแล้ว ความชื้นไม่เกิน 14%
3/ ราคาที่เกษตรกรขายได้ที่ไร่นา ปี 2544/45 หมายถึง ราคาเฉลี่ยระหว่าง (ก.ค.44 – 31 มี.ค.45) |
ที่มา : สผ. 2 ศูนย์สารสนเทศการเกษตร โทร. 0-2579-8544 โทรสาร 0-2940-6638 |
การใช้ประโยชน์จากข้าวโพด |
1. ใช้เป็นอาหารมนุษย์ ได้แก่ การใช้เมล็ดข้าวโพดเป็นอาหารประจำวัน เช่น การทุบเมล็ดให้แตกแล้วหุงต้มรับประทานหรือใช้แป้งข้าวโพดทำเป็นขนมปังโรตี ประชาชนที่รับประทาน
ข้าวโพดในรูปเมล็ดและแป้ง ได้แก่ ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน
เม็กซิโก สเปน อิตาลี ปอส์ตุเกต อเมริกาใต้ และหลายประเทศในยุโรป
2. ใช้เป็นอาหารสัตว์ เมล็ดข้าวโพดเป็นธัญญพืชที่มีคุณค่าอาหารสูง เป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ในหลายประเทศ เช่น อเมริกา ออสเตรเลีย เดนมาร์ก สำหรับประเทศที่มีพลเมืองหนาแน่นทำให้ไม่มีพื้นที่ว่างพอที่จะปลูกข้าวโพด แต่ต้องการเนื้อสัตว์มากจึงจำเป็นต้องสั่งเมล็ดข้าวโพดจากประเทศที่ปลูกข้าวโพดได้มากเพื่อเอาไปเลี้ยงสัตว์ประเทศเหล่านี้ ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน และประเทศทางตะวันออกกลาง เป็นต้น สำหรับประเทศที่ปลูกข้าวโพดเองสามารถใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในรูปแบบต่าง ๆ กันคือ เมล็ด ซัง ต้นสด ต้นแก่ และผลพลอยได้อื่น ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรมข้าวโพด ได้แก่ เปลือกเมล็ด กาก และรำ เป็นต้น ในประเทศไทยปัจจุบันมีโรงงานอาหารสัตว์ได้ใช้ข้าวโพดเป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ของอาหารสัตว์ ฉะนั้น ความต้องการข้าวโพดของโรงงานเหล่านี้จึงมีปริมาณสูงมาก
3. ใช้ในอุตสาหกรรม แป้งข้าวโพดเป็นแป้งที่มีคุณภาพดีและนิยมใช้เป็นอุตสาหกรรมในการประกอบอาหารในรูปแบบต่าง ๆ ได้มากมายหลายชนิด สำหรับผลพลอยได้จากเมล็ดข้าวโพดได้ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อาหารกระป๋อง อาหารแห้ง น้ำมัน น้ำตาล น้ำเชื่อม แอลกอฮอล์ น้ำส้ม เวชภัณฑ์ น้ำหอม น้ำมันใส่ผม แบตเตอรี่อุปกรณ์กันความร้อน เครื่องเคลือบ สีย้อมหมึก พรม น้ำมันน้ำยาชักเงา สารแทนพวกยาง สารเคมี สารระเบิด อุตสาหกรรมกระดาษแผ่นใยอัดแน่น ซังใช้ทำจุกก๊อกและกล้องสูบยา วัตถุฉนวนไฟฟ้า |
ภาวะการตลาด |
การผลิตและการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทย
|
ประเด็น |
หน่วยวัด |
ปี 2540/
41 |
ปี 2541/
42 |
ปี 2542/
43 |
ปี 2543/
44 |
ปี 2544/
45 |
1. พื้นที่ปลูก |
ล้านไร่ |
8.729 |
9.008 |
7.803 |
7.866 |
7.900 |
2. ผลผลิต |
ล้านตัน |
3.83 |
4.617 |
4.286 |
4.462 |
4.470 |
3. ผลผลิตเฉลี่ย |
กก./ไร่ |
439 |
513 |
549 |
567 |
566 |
4. ต้นทุนการผลิต |
บาท/ไร่
บาท/กก. |
1,765.54
4.02 |
1,918.38
3.74 |
1,961.50
3.57 |
1,901.92
3.35 |
1,947.31
3.44 |
5. ราคาที่เกษตรกรขายได้ |
บาท/กก. |
4.40 |
3.69 |
4.29 |
3.82 |
3.95 |
6. มูลค่าของผลผลิตตาม
ราคาที่เกษตรกรขายได้ |
ล้านบาท |
16,860.80 |
17,036.73 |
15,301.02 |
14,947.70 |
15,376.80 |
7. ปริมาณการใช้ภายในประเทศ |
ล้านตัน |
3.95 |
4.18 |
4.19 |
4.16 |
4.26 |
8. ปริมาณการส่งออก |
ล้านตัน |
0.074 |
0.144 |
0.020 |
0.281 |
0.235
(กค.-กพ.) |
9. มูลค่าการส่งออก |
ล้านบาท |
446.61 |
611.33 |
111.28 |
1,315.50 |
1,031.28 |
10.ปริมาณการนำเข้า |
ล้านตัน |
0.228 |
0.082 |
0.387 |
0.006 |
0.004
(กค.-กพ.) |
11.มูลค่าการนำเข้า |
ล้านบาท |
1,179.65 |
439.74 |
1,648.99 |
66.75 |
47.12 |
|
ที่มา : ศูนย์สถิติการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมศุลกากร กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ |
เทคโนโลยีการปลูกข้าวโพด |
1. การเตรียมดินปลูกข้าวโพด
วัตถุประสงค์ของการเตรียมดิน
- ผิวดินจะอ่อนตัว และห่อหุ้มเมล็ดข้าวโพดให้ชื้นอยู่เสมอ
- ดินมีอากาศถ่ายเทสะดวก
- ดินเก็บความชื้นได้ดี
- ทำลายเหง้าวัชพืชให้แห้งตาย และฝังกลบซากวัชพืชเดิมให้จมดิน
1.ไถดะด้วยแทรกเตอร์หรือแรงงานสัตว์ 1–2 ครั้ง ลึก 8–10 นิ้ว และตากดินไว้ 7–15 วัน
2.ไถแปรอีก 1–2 ครั้ง โดยไถขวางรอยเดิมของไถดะ
3.ปรับผิวดินให้เรียบ และเก็บวัชพืชโดยทำการพรวน การคราด
4.หลังจากนั้น ใช้รถแทรกเตอร์แถกร่องเพื่อเตรียมปลูกโดยจะใช้แรงคนหรือรถแทรกเตอร์ปลูกเลยก็ได้
2. การปลูกข้าวโพด
ควรหยอดเมล็ดข้าวโพดให้ลึก 2.5 – 3 นิ้ว ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพด 3 กิโลกรัมต่อไร่ ใน 1 ไร่ จะมีต้นข้าวโพดประมาณ 8,533 ต้น ถ้าใช้อัตราและระยะปลูกดังนี้
1.ระยะปลูก 75 x 25 ซม.หยอด 2 เมล็ดต่อ 1 หลุม ถอนแยกเหลือ 1 ต้นต่อ 1 หลุม
2.ระยะปลูก 75 x 50 ซม.หยอด 3 เมล็ดต่อ 1 หลุม ถอนแยกเหลือ 2 ต้นต่อ 1 หลุม
3.ระยะปลูก 75 x 75 ซม.หยอด 4 เมล็ดต่อ 1 หลุม ถอนแยกเหลือ 3 ต้นต่อ 1 หลุม
3. การใส่ปุ๋ย
ชนิดดิน สูตรปุ๋ย อัตรา (กิโลกรัม/ไร่)
ดินเหนียวสีดำ 21 - 0 – 0 25 - 50
ดินเหนียวสีแดง 16 - 20 – 0 25 - 50 |
หน้าถัดไป (2/2)
|
|
|
|
|
|