-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 574 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่







 

ไม้ดอกประดับบ้าน  พืชอาหาร สมุนไพร
แก่นตะวัน (Jerusalem artichoke)



แก่นตะวัน (Jerusalem artichoke)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helianthus tuberosus L. มี ดอกคล้ายบัวตอง มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ ชื่อเรียก Jerusalem artichoke มักจะสับสนกับพืชอีกชนิดหนึ่ง คือ Globe artichoke (Cynara scolymus) ซึ่งใช้ดอกรับประทานเป็นผักสด Jerusalem artichoke พืชนี้มีถิ่นกำเนิดในแถบหนาวของทวีปอเมริกาเหนือ แต่มีชื่อนำว่า Jerusalem ก่อให้เกิดความ เข้าใจผิดว่ามีถิ่นกำเนิดแถบตะวันออกกลาง มีความสามารถปรับตัวได้ดีในเขตร้อน มีความแข็งแกร่งทนทานต่อสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันมาก จึงให้ชื่อนำหน้าพืชนี้ว่า  b และเป็นพืชที่ใกล้ชิดกับทานตะวัน จึงให้ชื่อพืชชนิดใหม่นี้ว่า "แก่นตะวัน" พืชนี้จัดเป็นพืชหัว พืชอาหารเพื่อสุขภาพ พืชสมุน ไพรสัตว์ พืชพลังงานทดแทน และพืชเพื่อการท่องเที่ยว


การนำไปใช้ประโยชน์
หัวใช้เป็นอาหารประเภทผัก หัวสดมีรสชาติคล้ายแห้ว นำมาประกอบ อาหารคาว หวาน ได้หลายชนิด หัวเป็นแหล่งสะสมของอินนูลิน (inulin) ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลฟรุ๊คโตสที่ต่อกันเป็นโมเลกุลยาว เมื่อเก็บหัวแก่นตะวันไว้ในห้องเย็นจะทำให้หัวแก่นตะวันมีความหวานมากขึ้น  "อินนูลิน"  มีคุณสมบัติช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวาน ลดไขมันในเลือด ลดความเสี่ยงการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือด และโรคหัวใจ สร้างภูมิคุ้มกันโรค อินนูลิน เป็นสารเยื่อใยอาหาร ไม่ถูกย่อยในกระเพาะ และลำไส้เล็ก จึงอยู่ในระบบทางเดินอาหารเป็นเวลานาน ทำให้ไม่มีความรู้สึกหิว กินอาหารได้น้อยลงจึงช่วยลดความอ้วนได้ และลดความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ จึงนับว่าเป็นพืชอาหารเพื่อสุขภาพ หัว ใช้เสริมในอาหารสัตว์ มีผลต่อการเจริญเติบโต ลดจุลินทรีย์ที่เป็นโทษในระบบทางเดินอาหาร สร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้ลดการใช้สารปฏิชีวนะ และมูลสัตว์มีกลิ่นเหม็นน้อยลง จึงถูกนำมาใช้เป็นสมุนไพรในสัตว์ นอกจากนั้น หัวใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแอลกอฮอล์ หัวสด 1 ตัน สามารถผลิตเอทานอล ที่บริสุทธิ์ 99.5% ได้ 100 ลิตร นำไปผสมเบนซิน เพื่อผลิตแก๊สโซฮอล์ จึงจัดเป็นพืชพลังงานทดแทนได้ด้วย

       
แก่นตะวันจะมีดอกบานเมื่ออายุประมาณ 60 วัน และทั้งแปลง ปลูกจะมีต้นทยอยออกดอกได้นานประมาณ 2 เดือน ดอกมีสีเหลืองคล้ายบัวตอง มีความสวยงามไม่แพ้ทุ่งบัวตอง หรือทุ่งทานตะวันเลยทีเดียว จึงนับได้ว่าเป็นพืชที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ 

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

         แก่นตะวันเป็นพืชล้มลุก เพาะปลูกในเขตร้อนได้ดี มีขนคล้ายหนามกระจายทั่วลำต้น และใบ จึงต้านทานต่อแมลงได้ดี ความสูงต้นประมาณ 1.5-2.0 เมตร ลักษณะหัว คล้ายหัวของขิงหรือข่า และมีดอก คล้ายดอกบัวตอง พันธุ์แก่นตะวัน

        หลังจากนำพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาปลูกทดสอบ จำนวน 24 สายพันธุ์ และคัดเลือกสายพันธุ์ให้บริสุทธิ์ โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่าสายพันธุ์ KKU Ac 008 ให้ผลผลิตหัวสดสูง 2-3 ตัน/ไร่ ทั้งการปลูกในฤดูฝนและฤดูแล้ง หัวใหญ่ มีแขนงน้อย รสชาติหวานเหมาะที่จะรับประทานหัวสด และใช้ในอุตสาหกรรม จึงได้แนะนำพันธุ์นี้สำหรับ เกษตรไทย โดยให้ชื่อพันธุ์แก่นตะวันพันธุ์ใหม่นี้ว่า "พันธุ์แก่นตะวัน #1"

ฤดูปลูกแก่นตะวัน

        การปลูกต้นฤดูหรือปลายฤดูฝนในสภาพไร่ ควรมีการให้น้ำเมื่อ ฝนทิ้งช่วง ออกดอกเมื่ออายุประมาณ 60 วันหลังปลูก อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน หรือสังเกตจากดอกร่วงเกือบหมด และลำต้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และต้นเริ่มแห้ง



การปลูกและการดูแลรักษา
ตัดหัวแก่นตะวันเป็นชิ้นขนาด 3-5 ซม. แล้วนำมา บ่มในแกลบดำชื้นเพื่อชักนำให้เกิดต้นอ่อน ประมาณ 1 สัปดาห์ นำต้นอ่อนมาปลูกให้ลึกประมาณ 1-2 เซนติเมตร ระยะปลูก 50x50 เซนติเมตร ขณะปลูกดินควรมีความชื้นสูง โดยดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วนปนทรายระบายน้ำดี  การกำจัดวัชพืชทำ 1-2 ครั้ง เมื่อต้นมีความสูงประมาณ 15 ซม. ควรใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25 กก./ไร่ การเก็บเกี่ยวโดยใช้พลั่วขุด และถอนด้วยมือ ผลผลิตหัวสด ประมาณ 2-3 ตันต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูปลูก แหล่งปลูก และการจัดการผลิต

       
แก่นตะวันมีดอกบานเมื่ออายุประมาณ 2 เดือน และมีดอกทยอยบานอยู่ประมาณ 2 เดือน จึงเหมาะปลูกเป็นไม้กระถาง หรือปลูกเป็นแปลงไม้ดอกในบ้านเพื่อใช้เป็นไม้ดอกไม้ประดับบ้านเรือนให้สวยงาม เมื่อต้นเริ่มแก่เก็บเกี่ยวล้างทำความสะอาดหัวใส่ถุงพลาสติก เก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับใช้รับประทานเพื่อสุขภาพ สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน 6-8 เดือน


 




“แก่นตะวัน” พืชไร่พันธุ์ใหม่ สารพัดประโยชน์ อนาคตไกล


“ แก่นตะวัน” พันธุ์พืชต่างประเทศ แต่เหมาะกับเมืองไทย
ปลูกง่าย เหมือนมันสำปะหลัง มีตลาดรองรับ ใช้ได้ทั้งบริโภค
สกัดเป็นเอทานอล และเป็นแหล่งท่องเที่ยว
         
รศ.ดร.สนั่น จอกลอย หัวหน้าทีมงานวิจัยของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้นำสายพันธุ์แก่นตะวัน มาปลูกทดลองในประเทศไทย กล่าวว่า
แก่นตะวัน หรือ Jerusalem artichoke มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helianthus tuberosus เป็นพืชที่ใกล้ชิดกับทานตะวัน มีดอกคล้ายทานตะวัน และบัวตอง

แต่มีขนาดเล็กกว่า มีหัวใต้ดินคล้ายมันฝรั่ง เพื่อเก็บสะสมอาหาร ซึ่งเป็นน้ำตาล Inulin
ประกอบด้วยน้ำตาล fructose ต่อกันเป็นโมเลกุลยาว

พืชนี้มีถิ่นกำเนิดในเขตหนาวของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่สามารถปลูก และปรับตัวได้ดี
ในสภาพเพาะปลูกของประเทศไทย การใช้ประโยชน์โดยใช้หัวเป็นอาหารคน และอาหารสัตว์
รวมทั้งการใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแอลกอฮอล์ จากรายงานการวิจัยของต่างประเทศ พบว่า การบริโภค แก่นตะวันจะไม่ถูกย่อยในกระเพาะ เป็นสารเยื่อใยอาหารที่ให้แคลลอรี่ต่ำ ช่วยลดความอ้วน ไม่เพิ่มปริมาณน้ำตาลในเลือด จึงไม่เป็นปัญหากับผู้เป็นโรคเบาหวาน
ช่วยลด Cholesterol Triglyceride และ LDL ในร่ายกาย จึงลดความเสี่ยง
จากการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

นอกจากนี้ยังพบว่าเป็นประโยชน์ต่อแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
เช่น Bifidobacteria และ Lactobacilli แต่ลดกิจกรรมของแบคทีเรีย ก่อโรค เช่น Coliforms และ E. Coli จึงเป็นที่ยอมรับกันว่าแก่นตะวันเป็น Prebiotic  ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายดีขึ้น

 จากการทดลองปลูก แก่นตะวันเป็นพืชที่ปลูกง่าย ชอบดินร่วนปนทรายระบายน้ำดี เพราะจะลงหัวได้ง่าย หากมีน้ำขังแฉะจะทำให้หัวเน่า การปลูกสามารถปลูกได้ในฤดูฝน ในพื้นที่ไร่เหมือนกับพืชไร่ทั่วไป การปลูกในฤดูแล้งต้องมีระบบน้ำชลประทาน เช่น การปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าวในนาดินร่วนทรายเขตชลประทาน การปลูกโดยใช้หัวปลูกต้องตัดหัวให้เป็นท่อน ๆ ยาวท่อนละประมาณ 2- 3 เซนติเมตร บ่มหัวที่หั่นแล้วในถังมีความชื้น  จะกระตุ้นให้เกิดต้นอ่อนบนหัวท่อนพันธุ์ แล้วจึงนำไปปลูก

การปลูกในฤดูฝนต้องใช้ระยะปลูกห่าง ประมาณ 70 x 50 เซ็นติเมตร แต่ฤดูแล้งอาจ จะใช้ระยะปลูกแคบขึ้น เนื่องจากจะมีการเจริญเติบโตน้อยกว่าฤดูฝน 50 x 30 เซนติเมตร

การปลูกจากหัวที่มีต้นอ่อน ดินต้องมีความชื้นดีมาก หลังปลูกดายหญ้ากำจัดวัชพืช 1-2 ครั้ง ตามความจำเป็น

การใส่ปุ๋ย  ใส่ปุ๋ยพืชไร่ สูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อมีอายุ 20-30 วันหลังปลูก ปัจจุบันยังไม่พบโรค และแมลงที่สำคัญของพืชนี้

พืชนี้จะออกดอกสีเหลืองอร่ามเต็มทุ่งจนอาจขนานนามว่า
“ทุ่งแก่นตะวันบาน” นับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีไม่แพ้ทุ่งทานตะวันเลยทีเดียว
 แต่การปลูกในฤดูหนาวราวเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม อาจไม่มีดอก
ถ้าปลูกในฤดูฝน พืชนี้จะเก็บเกี่ยวหัวเมื่ออายุประมาณ120-140 วัน
และสำหรับการปลูกในฤดูแล้งเก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุ100-110 วัน
โดยสังเกตพบว่า หัวขยายเต็มที่ ใช้วิธีขุด หรือถอนเก็บเกี่ยวหัว
เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปมีศักยภาพในการให้ผลผลิต สูง
โดยพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดให้ผลผลิต 2.5-2.8 ตันต่อไร่ ใช้เวลาปลูกเพียง 4 เดือน
หากเปรียบเทียบกับมันสำปะหลังที่ให้ผลผลิตระดับเท่านี้ต้องให้เวลาการผลิต 10-12 เดือน

แก่นตะวันนับว่าเป็นพืชชนิดใหม่ของไทย ที่มีโอกาสพัฒนาไปเป็นพืชทางเลือกเป็นการค้าหรืออุตสาหกรรมในอนาคต ถึงแม้ว่าพืชแก่นตะวันไม่ใช่พืชพื้นเมืองของประเทศไทย แต่ว่าเรานำเอาเข้ามาพัฒนาด้วยการศึกษาวิจัย ให้ผลผลิตแล้ว ก็มาพัฒนาเรื่องพันธุ์ของไทย เพื่อที่จะแนะนำเกษตรกรให้ปลูก สำหรับพืชนี้เป็นพืชที่อยู่ในเขตหนาวแต่ว่าเรานำเข้ามาแล้วทดสอบดูแล้วปรากฏ ว่า

มีการปรับตัวได้ดีในเขตร้อน มีอายุสั้น ประมาณ 120 วัน ให้ผลผลิตสูงประมาณ 2 ถึง 3 ตัน ต่อไร่ เป็นพืชหัว เราสามารถนำเอาหัวมาใช้ประโยชน์ เป็นอาหารได้ทั้งคนและสัตว์  จัดว่าเป็นพืชสมุนไพร ทำอาหารได้หลากหลาย เช่น บริโภคสด  ทำเป็นอาหารคาว หวาน เพราะว่าในหัวมีสารสำคัญเรียกว่า อินโนริน เมื่อคนบริโภคเข้าไป จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้นโดยเฉพาะมีแบคทีเรียที่อยู่ในระบบลำไส้ที่มีประโยชน์ จะเจริญเติบโตดี เช่น แลคโตบาซิลัส ในขณะเดียวกันก็ทำให้แบคทีเรียตัวที่ก่อโรคมีการเจริญเติบโตต่ำ

นอกจากนั้นผลงานวิจัยต่างประเทศชี้ชัดว่า พืชชนิดนี้เมื่อคนบริโภคเข้าไปแล้วจะช่วยลดครอเลสเตอรอล ก็จะลดปัญหาการเสี่ยงเนื่องจากโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด

ในแง่ของการผลิตเป็นอาหารสัตว์ ทีมงานวิจัยของ รศ.เยาวมาลย์  ค้าเจริญ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ศึกษาพบว่า

เมื่อสัตว์บริโภคหัวแก่นตะวันเข้าไปจะทำให้ลดกลิ่นของมูลสัตว์  เหมาะ กับในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ เช่น การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงสุกร คือตรงนี้ก็จะช่วยลดกลิ่นของการเลี้ยงสัตว์ และจะทำให้ภูมิคุ้มกันของสัตว์ดีขึ้นด้วย

อีกประการหนึ่ง เนื่องจากหัวแก่นตะวันมีปริมาณน้ำตาล ครุโตสอยู่ค่อนข้างสูง และเราสามารถเอาแก่นตะวันไปหมักเพื่อจะได้ เอทานอล หรือแอลกอฮอล์ออกมาโดยหัวแก่นตะวัน 1 ตัน สามารถให้
เอทานอล ประมาณ 80- 100 ลิตร มากกว่าการผลิตเอทานอลจากอ้อย

 พืชชนิดนี้จึงเป็นพืชที่มีศักยภาพในแง่ของการผลิตพลังงานทดแทนต่อไปในอนาคต
นอกจากนั้น แก่นตะวันมีดอกสีเหลืองเมื่อออกดอกจะออกพร้อม ๆ กันเต็มไร่ ซึ่งมีความสวยงามมาก สามารถส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ เช่นเดียวกับทุ่งทานตะวันของจังหวัดลพบุรี และสระบุรี”

ข้อมูลเบื้องต้น ที่ได้จากการสอบถามผู้ที่บริโภค หัวแก่นตะวันสด เป็นประจำ พบว่า
เมื่อรับประทานหัวแก่นตะวัน จะรู้สึกอิ่ม กินอาหารน้อยลง ระบบขับถ่ายดี ไม่มีปัญหาท้องผูก
และช่วยลดอาการจุกเสียดแน่น และแก้อาการท้องเสียได้ ส่วนผลทางอ้อม ทำให้สุขภาพ
ในช่องปากดี ลดกลิ่นปากจากเชื้อแบคทีเรียในช่องปากและในระบบลำไส้ได้"รศ.ดร.สนั่น กล่าวและว่า
         
 สรรพคุณที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพดังกล่าว ทำให้ แก่นตะวัน ได้รับความสนใจ เพราะเข้ากับกระแสรักษ์สุขภาพ สังคมกำลังให้ความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์รักษาสุขภาพจากสมุนไพร ที่ผ่านมา การทดลองปลูกแก่นตะวันพันธุ์ 1 ที่แปลงสาธิตคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีประชาชนที่ทราบถึงสรรพคุณของหัวแก่นตะวัน ติดต่อซื้อ หัวสด ไปบริโภคในลักษณะผักสด หรือประกอบอาหารเหมือนผักทั่วๆไป จนไม่เพียงพอต่อความต้องการ

ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี้

รศ.ดร. สนั่น จอกลอย คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
e-mail sanun@kku.ac.th โทรศัพท์ 043-364637, 01-3914190
http://home.kku.ac.th/info/month_07july_49.htm




แก่นตะวัน

ได้มีโอกาสไปเจอพืชผล ที่น่าสนใจมาจากเมืองโคราชชนิดหนึ่งซึ่งมีความแปลก ( เนื่องจากไม่เคยได้ยินมาก่อน )
ให้ได้รู้จักกันน่ะค่ะ ( อันนี้เป็นเก็บตก ที่บอกว่าจะมาเล่าให้ฟังทีหลังจากกลับมา กทม. )

    แก่นตะวัน  (Jerusalem artichoke หรือ sunchoke)
เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับทานตะวัน  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " ทานตะวันหัว " ต้นและดอกเหมือนดอกทานตะวัน และดอกบัวตองมากแต่มีขนาดเล็กกว่า มีหัวใต้ดินคล้ายมันฝรั่ง เพื่อเก็บสะสมอาหาร ซึ่งเป็นน้ำตาล Inulin ประกอบด้วยน้ำตาล fructose ต่อกันเป็นโมเลกุลยาว พืชนี้มีถิ่นกำเนิดในเขตหนาวของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่สามารถปลูก และปรับตัวได้ดีในสภาพเพาะปลูกของประเทศไทย  การใช้ประโยชน์โดยใช้หัวเป็นอาหารคน และอาหารสัตว์ รวมทั้งการใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแอลกอฮอล์

จากรายงานการวิจัยของต่างประเทศ พบว่า การบริโภค แก่นตะวันจะไม่ถูกย่อยในกระเพาะ เป็นสารเยื่อใยอาหาร
ที่ให้แคลลอรี่ต่ำ ช่วยลดความอ้วน ไม่เพิ่มปริมาณน้ำตาลในเลือด จึงไม่เป็นปัญหากับผู้เป็นโรคเบาหวาน ช่วยลด Cholesterol Triglyceride และ LD ในร่ายกาย จึงลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ได้ นอกจากนี้ยังพบว่าเป็นประโยชน์ต่อแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
เช่น Bifidobacteria และ Lactobacilli แต่ลดกิจกรรมของแบคทีเรีย ก่อโรค เช่น Coliforms และ E. Coli จึงเป็นที่ยอมรับกันว่าแก่นตะวันเป็น Prebiotic ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายดีขึ้น

การบริโภค
แก่นตะวันทานได้ทั้งสด และสุก หัวสุกจึงมีรสชาติคล้ายแห้ว มันแกว แต่ไม่มีรสหวาน สามารถนำมาประกอบ อาหารคาว-หวาน ได้หลายชนิด เช่นแกงเผ็ด ผัด ไข่ตุ๋น สลัด ยำ เป็นต้น ถ้าเอมาสับสดๆๆ ใช้ทำส้มตำแทนมะละกอ ก็ได้ แต่ถ้าเอาแก่นๆไปลวกจะนุ่มกว่า เหมาะกับการนำมาทำยำ

สาระน่ารู้:-
จากการทดลองปลูก แก่นตะวันเป็นพืชที่ปลูกง่าย ชอบดินร่วนปนทรายระบายน้ำดี เพราะจะลงหัวได้ง่ายหากมีน้ำขังแฉะจะทำให้หัวเน่า การปลูกสามารถปลูกได้ในฤดูฝน ในพื้นที่ไร่เหมือนกับพืชไร่ทั่วไปการปลูกในฤดูแล้งต้องมีระบบน้ำชลประทาน เช่น การปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าวในนาดินร่วนทรายเขตชลประทาน การปลูกโดยใช้หัวปลูกต้องตัดหัวให้เป็นท่อน ๆ ยาวท่อนละประมาณ 2- 3 เซนติเมตร บ่มหัวที่หั่นแล้วในถังมีความชื้น จะกระตุ้นให้เกิดต้นอ่อนบนหัวท่อนพันธุ์ แล้วจึงนำไปปลูก การปลูกในฤดูฝนต้องใช้ระยะปลูกห่าง ประมาณ 70 x 50 เซ็นติเมตร แต่ฤดูแล้ง
อาจจะใช้ระยะปลูกแคบขึ้น เนื่องจากจะมีการเจริญเติบโตน้อยกว่าฤดูฝน 50 x 30 เซนติเมตร การปลูกจากหัวที่มีต้นอ่อน ดินต้องมีความชื้นดีมาก หลังปลูกดายหญ้ากำจัดวัชพืช 1-2 ครั้ง ตามความจำเป็น การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยพืชไร่ สูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อมีอายุ 20-30 วันหลังปลูก ปัจจุบันยังไม่พบโรค และแมลงที่สำคัญของพืชนี้

พืชนี้จะออกดอกสีเหลืองอร่ามเต็มทุ่งจนอาจขนานนามว่า “ทุ่งแก่นตะวันบาน” นับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีไม่แพ้ทุ่งทานตะวัน เลยทีเดียว แต่การปลูกในฤดูหนาวราวเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม อาจไม่มีดอก ถ้าปลูกในฤดูฝน พืชนี้จะเก็บเกี่ยวหัวเมื่ออายุประมาณ 120-140 วัน และสำหรับการปลูกในฤดูแล้งเก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุ 100-110 วัน โดยสังเกตพบว่า หัวขยายเต็มที่ ใช้วิธีขุด หรือถอนเก็บเกี่ยวหัวเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปมีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูง โดยพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดให้ผลผลิต 2.5-2.8 ตันต่อไร่ ใช้เวลาปลูกเพียง 4 เดือน หากเปรียบเทียบกับมันสำปะหลังที่ให้ผลผลิตระดับเท่านี้ต้องให้เวลาการผลิต 10-12 เดือน

“แก่นตะวันนับว่าเป็นพืชชนิดใหม่ของไทย ที่มีโอกาสพัฒนาไปเป็นพืชทางเลือกเป็นการค้าหรืออุตสาหกรรมในอนาคต
 ถึงแม้ว่าพืชแก่นตะวันไม่ใช่พืชพื้นเมืองของประเทศไทย แต่ว่าเรานำเอาเข้ามาพัฒนาด้วยการศึกษาวิจัย ให้ผลผลิตแล้วก็มาพัฒนาเรื่องพันธุ์ของไทย เพื่อที่จะแนะนำเกษตรกรให้ปลูก สำหรับพืชนี้เป็นพืชที่อยู่ในเขตหนาวแต่ว่าเรานำเข้ามาแล้วทดสอบดูแล้วปรากฏว่า มีการปรับตัวได้ดีในเขตร้อน มีอายุสั้น ประมาณ 120 วัน ให้ผลผลิตสูงประมาณ 2 ถึง 3 ตัน ต่อไร่ เป็นพืชหัว เราสามารถนำเอาหัวมาใช้ประโยชน์ เป็นอาหารได้ทั้งคนและสัตว์ จัดว่าเป็นพืชสมุนไพร ทำอาหารได้หลากหลาย เช่น บริโภคสด ทำเป็นอาหารคาว หวาน เพราะว่าในหัวมีสารสำคัญเรียกว่า อินโนริน เมื่อคนบริโภคเข้าไป จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้น โดยเฉพาะมีแบคทีเรียที่อยู่ในระบบลำไส้ที่มีประโยชน์ จะเจริญเติบโตดี เช่น แลคโตบาซิลัส ในขณะเดียวกันก็ทำให้แบคทีเรียตัวที่ก่อโรคมีการเจริญเติบโตต่ำ นอกจากนั้นผลงานวิจัยต่างประเทศชี้ชัดว่า พืชชนิดนี้เมื่อคนบริโภคเข้าไปแล้วจะช่วยลดครอเลสเตอรอล ก็จะลดปัญหาการเสี่ยงเนื่องจากโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด

ในแง่ของการผลิตเป็นอาหารสัตว์ ทีมงานวิจัยของ รศ.เยาวมาลย์ ค้าเจริญ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ศึกษาพบว่า เมื่อสัตว์บริโภคหัวแก่นตะวันเข้าไปจะทำให้ลดกลิ่นของมูลสัตว์ เหมาะกับในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ เช่น การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงสุกร คือตรงนี้ก็จะช่วยลดกลิ่นของการเลี้ยงสัตว์ และจะทำให้ภูมิคุ้มกันของสัตว์ดีขึ้นด้วย
อีกประการหนึ่ง เนื่องจากหัวแก่นตะวันมีปริมาณน้ำตาล ครุโตสอยู่ค่อนข้างสูง และเราสามารถเอาแก่นตะวันไปหมักเพื่อจะได้เอทานอล หรือแอลกอฮอล์ออกมาโดยหัวแก่นตะวัน 1 ตัน สามารถให้เอทานอล ประมาณ 80-100 ลิตร มากกว่าการผลิตเอทานอลจากอ้อย เพราะฉะนั้น พืชชนิดนี้จึงเป็นพืชที่มีศักยภาพในแง่ของการผลิตพลังงานทดแทนต่อไปในอนาคต นอกจากนั้น แก่นตะวันมีดอกสีเหลืองเมื่อออกดอกจะออกพร้อม ๆ กันเต็มไร่ ซึ่งมีความสวยงามมาก สามารถส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ เช่นเดียวกับทุ่งทานตะวันของจังหวัดลพบุรี และสระบุรี”[/color]

สนใจขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ รศ.ดร. สนั่น จอกลอย คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
e-mail sanun@kku.ac.th โทรศัพท์ 043-364637, 081-3914190

ขอเล่าต่ออีกว่า การที่ไปเจอ " แก่นตะวัน " ด้วยความบังเอิญจริงๆๆ และได้สอบถามถึงการปลุกจากชาวไร่ ที่ อ.ปักธงชัย ซึ่งก็ได้สืบเสาะหาข้อมูลมาดังที่ข้างต้น จากวารสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น ชื่อว่า " กัลปพฤกษ์ "

www.kku.ac.th

ยิ่งน่าสนใจเรื่องของการปลูก เพื่อเพิ่มผลผลิตและการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคในวงกว้าง น่ะค่ะ
ตอนที่ไป โคราชมา ก็ได้ซื้อมา 4 ถุง ในราคา ถุงละ 25.-  และตอนนี้ให้ทางต่างจังหวัดไปปลูกดู ว่าจะเป็นยังไง??
และก็ได้นำมาทานด้วย แต่ทานสด จิ้มน้ำพริก อร่อยมาก กรอบอร่อย คล้ายมันแกว ที่ไม่มีรสหวาน

จึงอยากเผยแพร่ให้ทุกท่านที่สนใจในอาหาร พืช ผัก สมุนไพรที่ได้จากธรรมชาติ ได้รู้จักกันค่ะ ส่วนท่านผู้ใดสนใจอยากลองชิมก็ลองหามาปลูก หาซื้อดูน่ะค่ะ เพราะไม่ทราบจริงๆว่า ที่กรุงเทพฯ หรือที่อื่นๆ มีที่ไหนบ้าง ? เดี๋ยวต้องรอท่านอื่นๆ มาคุยต่อ ...ส่วนใครอยากลองทาน ที่เราให้เค้าไปปลุกก็คงต้องรอไปอีก 120 วัน ตามที่เค้าบอกไว้น่ะค่ะ

รายงานข่าวจาก เมืองบางกอก

มข.วิจัย "แก่นตะวัน" ผลิตเอทานอล วช.ทุ่มทุนสนับสนุนสร้างทางเลือกพืชพลังงานรองรับ E-85

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 51

ศ.ดร.อานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เผยว่า วช.ตระหนักถึงปัญหาวิกฤติพลังงานที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จึงให้การสนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่นทำการศึกษาการผลิตเอทานอลจากแก่นตะวัน เพื่อเป็นพืชพลังงานทางเลือกในการผลิตเอทานอล

รศ.ดร.สนั่น จอกลอย อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า แก่นตะวันเป็นพืชเมืองหนาวที่มีต้นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ มีดอกสีเหลืองสดใสคล้ายดอกบัวตองและทานตะวัน แต่มีหัวใต้ดินคล้ายกับมันฝรั่งเพื่อเก็บสะสมสารอาหาร จากการศึกษาพบว่า หัวของแก่นตะวันสามารถนำมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงทดแทน เนื่องจากเป็นแหล่งสะสมน้ำตาล ที่สามารถใช้จุลินทรีย์หมักเป็นเอทานอล เพื่อนำมาผลิตเป็นแก๊สโซฮอล์ชนิดต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น E20 หรือ E85

สำหรับ หัวแก่นตะวันสด 1 ตัน สามารถหมักเป็นเอทานอลได้ประมาณ 100 ลิตร ซึ่งสูงกว่าอ้อย 1 ตัน ที่สามารถหมักเป็นเอทานอลได้ประมาณ 65-70 ลิตร แต่ปัญหาคือการผลิตเอทานอลจากแก่นตะวัน ยังมีต้นทุนค่อนข้างสูง คือ กิโลกรัมละ 3 บาท ขณะที่หัวมันสำปะหลังมีราคากิโลกรัมละ 1.50-2 บาทเท่านั้น ที่สำคัญหัวมันสำปะหลัง 1 ตัน ยังให้เอทานอลสูงถึง 160 ลิตร ดังนั้นทีมวิจัยจึงต้องทำการศึกษาปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น และหากรัฐบาลมีการสนับสนุนเกษตรกรปลูกแก่นตะวันให้มากขึ้น รวมทั้งมีการสนับสนุนงานวิจัยด้านนี้เพิ่มเติม เชื่อว่าแก่นตะวันจะเป็นพืชทางเลือกอีกชนิดที่สามารถผลิตเชื้อเพลิงทดแทนได้

รศ.ดร.สนั่นกล่าวอีกว่า แก่นตะวันไม่ได้มีศักยภาพในการผลิตเอทานอลเท่านั้น แต่ยังสามารถนำมาผลิตเป็นอาหารเพื่อสุขภาพมากมาย เนื่องจากแก่นตะวันมีสารอินนูลิน ที่สามารถจับไขมันในเส้นเลือดที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ซึ่งจะช่วยความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย และยังความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวาน อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร และเสริมการทำงานของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ จึงเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้ดีขึ้น



ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 10 กรกฎาคม 2551

http://www.naewna.com/news.asp?ID=112666





 









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (3695 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©