-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 563 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชไร่





กำลังปรับปรุงครับ


การผลิตหม่อนไหมครบวงจรเพื่อเกษตรยั่งยืน
 
ปราโมทย์ สฤษดิ์นิรันดร์ อุไรวรรณ นิลเพ็ชร อรกมล ไกรวงศ์ และ ภาวัต ฟุ้งขจร
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โทร. 034-281-084

          หม่อนเป็นพืชยืนต้นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากใบหม่อนเป็นอาหารที่ดีที่สุดของหนอนไหม หม่อนที่ปลูกในเมืองไทยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Morus alba ชื่อภาษาอังกฤษว่า White Mulberry, Mulberry Tree อยู่ในวงศ์ Moraceae มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน หม่อนนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง โดยใบหม่อนใช้ในการเลี้ยงตัวหนอนไหม ในที่สุดก็ได้เป็นรังไหม เมื่อนำเอารังไหมมาสาวเป็นเส้นและทอเป็นผ้าจะได้ผ้าที่เลื่อมมัน และด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นสรรค์สร้างปฏิมากรรมบนเส้นไหมเป็นลวดลายต่างๆ ก่อเกิดเป็นผ้าไหมไทยที่สวยงามเลื่องชื่อของโลก เป็นที่ต้องตาตรึงใจแก่ผู้ที่พบเห็น นอกจากนี้ยอดอ่อนของใบหม่อนยังบริโภคเป็นผักพื้นบ้านใช้ในการประกอบอาหาร และทำเป็นชาสมุนไพร ผลหม่อนใช้รับประทานผลสดและแปรรูปได้หลายชนิด เช่น แยม เยลลี่ ไวน์หม่อน น้ำหม่อน ลูกอมสมุนไพรจากใบหม่อนและผลหม่อน เป็นต้น หม่อนมีสรรพคุณทางเภสัชวิทยาหลายชนิด โดยใบ มีรสเย็นจืด ใช้เป็นยาขับเหงื่อ แก้เจ็บคอ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไอ ระงับประสาท ผล ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ แก้ธาตุไม่ปกติ ดับร้อน ทำให้ชุ่มคอ บำรุงไต ดังนั้นหม่อนจึงเป็นพืชหนึ่งที่น่าสนใจในการนำมาแปรรูปของสินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลตามรูปแบบ คือ

ลักษณะทั่วไปของหม่อนพันธุ์กำแพงแสน-เอ็มบี-42-1 (KPS-MB-42-1)

          หม่อนพันธุ์ KPS-MB-42-1 เป็นหม่อนกินผล ที่นำต้นพันธุ์มาจากสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยเกษตรกร และทางโครงการการวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบการเกษตรในเขตชานเมืองใหญ่ ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระบบเกษตรกรรม (DORAS Center) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำพันธุ์มาปลูกทดสอบ ณ แปลงทดลอง 2 ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อ ปี 2542

          หม่อนพันธุ์ KPS-MB-42-1 เป็นหม่อนกินผล อายุหลายปี สามารถตัดแต่งให้มีทรงพุ่มขนาดเล็ก เปลือกต้นสีน้ำตาล ใบเดี่ยวหนาออกสลับ สีเขียวเข้ม รูปหัวใจขอบจักฟันเลื่อย ผิวใบสากคาย ขนาดใบกว้าง 8-14 เซนติเมตร ยาว 12-18 เซนติเมตร ผลออกตามซอกใบ ผลมีขนาดใหญ่และติดผลดก ผลอ่อนจะมีสีเขียว ผลแก่สีแดง เมื่อสุกมีสีม่วงแดงถึงดำ รสหวานอมเปรี้ยวถึงหวานมากเมื่อสุกเต็มที่ หม่อนพันธุ์ KPS-MB-42-1 เป็นหม่อนกินผลที่ไม่เพียงแต่ใช้บริโภคผลเท่านั้น แต่ยังให้ใบที่เหมาะกับการเลี้ยงไหม เนื่องจากใบหนา หม่อนพันธุ์ KPS-MB-42-1 จึงใช้ประโยชน์ได้ทั้งเป็นหม่อนกินผลและหม่อนใบ ซึ่งโดยปกติหม่อนพันธุ์กินผลจะมีใบบางและขนาดเล็กไม่เหมาะที่จะใช้เลี้ยงไหม ส่วนหม่อนที่ให้ใบสำหรับเลี้ยงไหม จะไม่ค่อยให้ผล หรือให้ผลขนาดเล็กมาก และติดผลน้อย ดังนั้น หม่อนพันธุ์ KPS-MB-42-1 จึงเป็นพันธุ์ที่ให้ทั้งผลและใบที่ดี

การขยายพันธุ์

          ขยายพันธุ์โดยการปักชำ การเตรียมกิ่งพันธุ์ควรเลือกกิ่งที่แข็งแรง ไม่มีโรคและแมลงทำลาย ผิวเปลือกเป็นสีน้ำตาลเพื่อให้กิ่งมีอาหารสะสมไว้เพียงพอที่รากจะงอกได้ ตัดท่อนพันธุ์ด้วยกรรไกรตัดแต่งกิ่งเพื่อไม่ให้กิ่งช้ำ ความยาวท่อนละประมาณ 20 เซนติเมตร หรือมีตาหม่อนอยู่บนท่อนพันธุ์ 4-5 ตา วิธีตัดควรตัดส่วนบนของท่อนพันธุ์ให้มีลักษณะตรงและเหนือตาบนสุดประมาณ1 เซนติเมตร ส่วนโคนของท่อนพันธุ์ให้ตัดเฉียงประมาณ 45 องศา เป็นรูปปากฉลามโดยตัดต่ำกว่าข้อตาล่างสุดประมาณ 1.5 เซนติเมตร และให้ด้านเฉียงอยู่ตรงข้ามกับตาล่างสุด ปักชำในถุงเพาะชำ ให้กิ่งมีอายุ 2-3 เดือน แล้วจึงนำปลูกในแปลง หม่อนจะให้ผลผลิตทั้งใบและผลดีเมื่อต้นมีขนาดสมบูรณ์เต็มที่

การปลูกและการดูแลรักษา

          การปลูกหม่อนพันธุ์ KPS- MB- 42-1 ในแปลงปลูกจะปลูกแบบแถวคู่โดยใช้ระยะปลูก 60x75 เซนติเมตร ซึ่งจะทำให้หม่อนเจริญเติบโตดี สะดวกในการดูแลรักษาและเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรเตรียมดินให้มีความอุดมสมบูรณ์และร่วนโปร่งก่อนการปลูกหม่อน โดยใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 15-15-15 อัตรา 30-50 กก./ไร่ และปุ๋ยอินทรีย์ 1 ตัน/ไร่ หลังจากนั้นมีการบำรุงต้นหลังการตัดแต่งทุกครั้ง มีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ต้องมากเนื่องจากหม่อนเป็นพืชทนแล้ง กำจัดวัชพืชโดยแรงงานคน หรือการไถพรวนด้วยเครื่องจักรขนาดเล็ก ไม่ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมี เมื่อหม่อนมีขนาดใหญ่ขึ้น ปัญหาด้านวัชพืชจะน้อยลง หม่อนเป็นพืชดูแลง่าย ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง แต่จะมีแมลงศัตรูที่สำคัญของหม่อน ได้แก่ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย แมลงหวี่ขาว ไรแดง เพลี้ยจั๊กจั่น เป็นต้น กำจัดโดยการตัดแต่งกิ่งและใบที่มีแมลงเหล่านี้อยู่ไปเผาทำลาย ไม่ควรใช้สารเคมี เพราะจะมีผลกระทบต่อไหม เมื่อนำใบหม่อนมาเลี้ยง

การให้ผลผลิตผลหม่อน

          หม่อนพันธุ์ KPS-MB-42-1 จะให้ผลผลิตของผลเมื่อมีการตัดแต่ง ซึ่งในขณะเดียวกัน ก็จะได้ใบสำหรับเลี้ยงไหมด้วย โดยทำการตัดแต่งกิ่งหม่อนได้ทันทีหลังจากทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตหม่อนเสร็จในแต่ละรุ่น โดยการตัดกิ่งแขนงออกให้เหลือต้นสูงจากพื้นดินประมาณ 80 เซนติเมตร -1 เมตร ประมาณ 28-30 วัน หลังทำการตัดแต่งกิ่ง หม่อนจะเริ่มมีการติดผล และเก็บเกี่ยวผลได้เมื่ออายุ 44-46 วัน หลังตัดแต่งกิ่ง

          หม่อนกินผลพันธุ์ KPS-MB-42-1 สามารถให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปีเมื่อมีการตัดแต่งกิ่ง ใน 1 ปี จะให้ผลผลิตผลหม่อนได้ถึง 5 รุ่น ในแต่ละรุ่นจะใช้ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวผลประมาณ 30 วัน ผลหม่อนจะเริ่มทยอยสุก จึงต้องทำการเก็บเกี่ยวผลทุก 2-3 วันต่อครั้ง โดยจะให้ผลผลิตของผลเฉลี่ย 352 กิโลกรัม/ไร่/รุ่น หรือคิดเป็น 1,760 กิโลกรัม/ไร่/ปี สำหรับใบหม่อนเก็บเกี่ยวหลังจากการตัดแต่งกิ่งในแต่ละครั้งได้ผลผลิตรวม 2,200 กิโลกรัม/ไร่

การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลหม่อน

          หม่อนพันธุ์ KPS-MB-42-1 ใช้ประโยชน์ได้ทั้งใบและผลหม่อน ซึ่งใช้ทั้งรับประทานสดและนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย เช่น การทำน้ำหม่อนทำได้โดยนำส่วนผสมของ ผลหม่อนสี

          แดง (แก่แต่ยังไม่สุก) : ผลสีม่วงดำ (สุก) อัตรา 1:1 หรือ1:2 จำนวน 1.5 กิโลกรัม ล้างน้ำให้สะอาด นำไปต้มกับน้ำสะอาด 4.5 ลิตร พอเดือด จากนั้นเคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ เติมน้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม คนให้ละลาย ก็จะได้น้ำหม่อนที่มีรสชาติดี มีรสหวานอมเปรี้ยว ได้กลิ่นของผลหม่อน ซึ่งเป็นกลิ่นเฉพาะตัว เป็นที่นิยมของผู้บริโภค หากสนใจเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เล็กน้อยก็สามารถนำมาทำเป็นไวน์หม่อน ซึ่งวิธีการทำก็ง่ายโดยการใช้น้ำผลหม่อนดังกล่าว นำมาหมักกับเชื้อยีสต์ Saccharomyces cerevisiae   ประมาณ 5-7 วัน กรองเอากากหม่อนออก จากนั้นหมัก ที่อุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิห้องนาน 2-4 สัปดาห์ โดยทดลองชิมดูรสชาติเป็นระยะ ๆ ตามความชอบ หยุดการหมักโดยการนำไปแช่ที่อุณหภูมิประมาณ 20 องศาเซลเซียส หรือแช่ในตู้เย็น หรือเติมโปแตสเซียมเมตาไบซัลไฟต์ 0.08-0.1 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร เพื่อทำให้ยีสต์ตกตะกอนหลังจากนั้นนำส่วนใสออกมาบรรจุขวด หรือบ่มไว้ที่อุณหภูมิต่ำ ก็จะได้ไวน์หม่อนที่มีรสชาติดี นอกจากนี้ยังสามารถทำแยมหม่อน ผลหม่อนอบแห้ง ลูกอมผลหม่อน ไอศครีมผลหม่อน เป็นต้น ซึ่งผลหม่อนดังกล่าวมีรายงานการวิจัยว่ามีคุณประโยชน์อย่างมากและมีสรรพคุณทางยาต่อมนุษย์ด้วย

หม่อนกับการเลี้ยงไหม

          หม่อนเป็นพืชที่ใช้เป็นอาหารของหนอนไหมซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของการเลี้ยงไหม โดยหนอนไหมจะใช้ปริมาณโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ และไวตามินในใบหม่อนไปสร้างเป็นเส้นไหม ดังนั้นจำนวนผลผลิตรังไหม คุณภาพรังไหมและเปอร์เซ็นต์เส้นใยไหม จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของใบหม่อนที่ใช้ในการเลี้ยงไหมนั่นเอง

ลักษณะหม่อนที่เหมาะสมกับการเลี้ยงไหม ควรมีลักษณะดังนี้

1. มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยสูง
2. หลังการตัดแต่งจะต้องแตกกิ่งจำนวนมากพอสมควรและแข็งแรง
3. กิ่งหม่อน สามารถนำไปขยายพันธุ์ได้ดี
4. ควรมีปล้องถี่ เพื่อให้มีใบจำนวนมาก
5. ใบควรมีขนาดปานกลางไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไปและมีความหนานุ่มของใบพอสมควร ไม่บางเหี่ยวง่าย
6. ใบล่างไม่ควรทิ้งต้น (ร่วง) เร็วเกินไป
7. ควรมีความต้านทานโรคและแมลง
8. อายุยืนให้ผลผลิตสม่ำเสมอ

          หม่อนสามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด แต่ชอบดินร่วนปนทรายถึงดินเหนียวที่มีความอุดมสมบูรณ์หน้าดินลึก ความเป็นกรดเป็นด่างของดินอยู่ระหว่าง 6.0 -6.5 การปลูกหม่อนส่วนใหญ่จะปลูกด้วยท่อนพันธุ์ ซึ่งสามารถใช้ท่อนพันธุ์ปลูกโดยตรงหรือชำกิ่งหม่อนแล้วจึงย้ายปลูกในแปลง เมื่อปลูกหม่อนแล้วประมาณ 6-8 เดือน จึงสามารถใช้ใบเลี้ยงไหมได้ จะทำการตัดแต่งเพื่อให้มีการแตกใบอ่อนที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงไหมและเพื่อให้หม่อนมีความสมบูรณ์ดีหลังจาการตัดแต่งแต่ละครั้งจะต้องใส่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมี

          ไหมที่กินใบหม่อนเป็นอาหารมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bombyx mori  Linn อยู่ในวงศ์ Bombycidae ซึ่งเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดกลางที่สามารถผสมพันธุ์ทันที่ที่ออกจากดักแด้ เมื่อผสมพันธุ์ได้ 3 ชั่วโมง ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ประมาณ 300-500 ฟอง ตัวอ่อนที่ฟักจากไข่จะเริ่มต้นการกินใบหม่อน ตัวหนอนเจริญเติบโตเต็มที่ของวัยจะทำการลอกคราบโดยการอยู่นิ่ง ๆ ไม่กินอาหาร จึงเรียกตามอาการว่า ไหมนอน เมื่อลอกคราบเสร็จจะเริ่มกินอาหารอีกครั้ง หนอนไหมเมื่อลอกคราบครั้งที่ 4 แล้วจะกินใบหม่อนมากเพื่อให้ต่อมไหมพัฒนาเต็มที่ และเมื่อต่อมไหมพัฒนาเต็มที่ ผนังลำตัวจะใสและเริ่มต้นหาที่ทำรังโดยหนอนไหมจะเริ่มพ่นเส้นใยยึดติดภาชนะที่ให้หนอนไหมทำรังซึ่งเรียกว่า จ่อ โดยการพ่นเส้นจะใช้เวลา 3 วัน หนอนไหมจะเปลี่ยนเป็นดักแด้อยู่ในรังไหม ซึ่งผู้เลี้ยงจะเก็บรังไหมไปขายให้โรงงานสาวไหม หรือทำการสาวเอาเส้นด้วยเครื่องสาวแบบต่าง ๆ เส้นไหมที่ได้จะนำไปสร้างผลิตภัณฑ์มากมาย เช่นผ้าไหมลวดลายต่าง ๆ ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น เสื้อผ้าไหมตามเทคนิคการทอแบบใหม่ที่ผสมกับเส้นใยชนิดอื่น ผงไหมตามวิทยาการสมัยใหม่เป็นสารให้ความชุ่มชื้นในเครื่องสำอางค์ต่าง ๆ และดักแด้ไหมที่อยู่ในรังไหมสามารถเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารของมนุษย์ หรือเป็นแหล่งโปรตีนให้สัตว์เลี้ยง






 
http://www.rdi.ku.ac.th/Techno_ku60/res-26/index26.html









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-05 (2299 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©