การปลูกผักในกระถาง หรือในภาชนะ
ควรจะพิจารณาถึง การหยั่งรากตื้น ของพืชผัก พืชผักที่หยั่งรากตื้น และสามารถ ปลูกลงภาชนะ ปลูกชนิดต่าง ๆ และชนิดห้อยแขวนได้ดี และมีความลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร ดังต่อไปนี้คือ
- ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดกวางตุ้ง (เขียวและขาว) ผักกาดฮ่องแต้ ผักกาดหอม ผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ (ขาวเล็ก ขาวใหญ่) ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน กระเทียมใบ (Leek) กุยช่าย กระเทียมหัว ผักชีฝรั่ง บัวบก สะระแหน่ แมงลัก โหระพา (เพาะเมล็ด) กะเพรา (เพาะเมล็ด) พริกขี้หนู ตะไคร้ ชะพลู หอมแดง หอมหัวใหญ่ หัวผักกาดแดง (แรดิช)
- วัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะปลูกอาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์เก่า กะละมัง ปลอกซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับภาชนะแขวน อาจใช้กาบมะพร้าว กระถาง หรือเปลือกไม้
การปลูกผักในกระถาง หรือในภาชนะ
วิธีการปลูกผักในภาชนะแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ
1.เพาะเมล็ดด้วยการหว่านแล้วถอนแยกหรือหยอดเป็นแถวแล้วถอนแยก
- ผักบุ้งจีน - คะน้าจีน - ผักกาดขาวกวางตุ้ง
- ผักกาดเขียวกวางตุ้ง - ผักฮ่องเต้ (กวางตุ้งไต้หวัน)
- ตั้งโอ๋ - ปวยเล้ง - ผักกาดหอม
- ผักโขมจีน - ผักชี - ขึ้นฉ่าย
- โหระพา - กระเทียมใบ - กุยฉ่าย
- หัวผักกาดแดง - กะเพรา - แมงลัก
- ผักชีฝรั่ง - หอมหัวใหญ่
2.ปักชำด้วยต้น และด้วยหัว
- หอมแบ่ง (หัว) - ผักชีฝรั่ง - กระเทียมหัว (ใช้หัวปลูก)
- หอมแดง (หัว) - บัวบก (ไหล) - ตะไคร้ (ต้น)
- สะระแหน่ (ยอด) - ชะพลู (ต้น) - โหระพา (กิ่งอ่อน)
- กุยช่าย (หัว) - กะเพรา (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน)
- แมงลัก (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน)
** มีบางพืชที่ปลูกด้วยหัว หรือส่วนของต้นก็ได้หรือปลูกด้วยเมล็ดก็ได้ ดังนั้นจึงมีชื่อผักที่ซ้ำกันทั้งข้อ 1 และ 2
การปฏิบัติดูแลรักษา
การดูแลรักษาด้วยความเอาใจใส่จะช่วยให้ผักเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์จนถึงระยะเก็บเกี่ยว การดูแลรักษาดังกล่าว ได้แก่
1. การให้น้ำ การปลูกผักจำเป็นต้องให้น้ำอย่างเพียงพอ การให้น้ำผักควรรดน้ำในช่วง เช้า – เย็น ไม่ควรรดตอนแดดจัด และรดน้ำแต่พอชุ่มอย่าให้โชก
2.การให้ปุ๋บ
มี 2 ระยะ คือ
2.1 ใส่รองพื้นคือการใส่เมื่อเวลาเตรียมดิน หรือรองก้นหลุมก่อนปลูกปุ๋ยที่ใส่รองพื้นควรเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก คลุกในดินให้ทั่ว ก่อน ปลูกเพื่อ ปรับโครงสร้างดินให้โปร่งร่วนซุย นอกจากนั้นยังช่วยในการ อุ้มน้ำและรักษาความชื้น ของดินให้เหมาะสม กับการ เจริญเติบโตของพืชด้วย
2.2 การใส่ปุ๋ยบำรุง ควรจะใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อย้ายกล้าไปปลูกจนกล้าตั้งตัวได้แล้ว และใส่ครั้งที่ 2 หลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ การใส่ให้โรยบาง ๆ ระหว่างแถว ระวังอย่าให้ปุ๋ยอยู่ชิดต้น เพราะจะทำให้ ผักตาย ได้ เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วให้พรวนดินและรดน้ำทันที สูตรปุ๋ยที่ใช้กับพืชผัก ได้แก่ ยูเรีย แอมโมเนียซัลเฟต สำหรับบำรุงต้น และใบ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ 12-24-12 สำหรับเร่งการออกดอกและผล
3.การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ควรบำรุงรักษาต้นพืชให้แข็งแรง โดยการกำจัดวัชพืช การให้น้ำอย่างเพียงพอและใส่ปุ๋ยตามจำนวนที่กำหนดเพื่อให้ผักเจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อโรคและแมลง หากมีโรคและ แมลง ระบาด มากควรใช้สารธรรมชาติ หรือใช้วิธีกลต่าง ๆ ในการป้องกันกำจัด เช่น หนอนต่าง ๆ ใช้มือจับออก ใช้พริกไทยป่นผสม น้ำฉีดพ่น ใช้น้ำคั้นจากใบหรือเมล็ดสะเดาถ้าเป็นพวกเพลี้ย เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และเพลี้ยจักจั่น ให้ใช้น้ำยา ล้างจาน 15 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใต้ใบเวลาเย็น ถ้าเป็นพวกมด หอย และทากให้ใช้ปูนขาวโรยบาง ๆ ลงบริเวณพื้นดิน
การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวผักควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ได้ผักสดรสดี และหากยังไม่ได้ใช้ให้ล้างให้สะอาด และนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผัก ประเภทผลควรเก็บในขณะที่ผลไม่แก่จัดจะได้ผลที่มีรสดี และจะทำให้ผลดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปจะออกผลน้อยลง
สำหรับในผักใบหลายชนิด เช่น หอมแบ่ง ผักบุ้งจีน คะน้า กะหล่ำปลี การแบ่งเก็บผักที่สดอ่อน หรือโตได้ขนาดแล้ว โดยยังคง เหลือ ลำต้นและรากไว้ไม่ถอนออกทั้งต้น รากหรือต้นที่เหลืออยู่จะสามารถงอกงามให้ผล ได้อีกหลายครั้งทั้งนี้จะต้อง มีการดูแล รักษา ให้น้ำและปุ๋ยอยู่ การปลูกพื้นหมุนเวียนสลับชนิดหรือปลูกผัก หลายชนิดในแปลงเดียวกันและปลูกผัก ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นบ้าง ยาวบ้างคละกันในแปลงเดียวกัน หรือปลูกผักชนิดเดียวกันแต่ทยอยปลูกครั้งละ 3-5 ต้น หรือประมาณว่าพอรับประทาน ได้ใน ครอบครัว ในแต่ละครั้งที่เก็บเกี่ยว ก็จะทำให้ผู้ปลูกมีผักสดเก็บรับประทานได้ทุกวันตลอดปี
ที่มา : ไม่ระบุ