หน้า: 1/3
กระเทียม
1.พันธุ์ เกษตรกรจะมีการเก็บขยายพันธุ์กันมานาน เช่นพันธุ์ของจังหวัดเชียงราย จังหวัดลำพูน จังหวัดศรีสะเกษ เเละแบ่งตามอายุการเก็บเกี่ยวได้ ดังนี้
1.1 พันธุ์เบา
หรือพันธุ์ขาวเมือง ลักษณะใบแคบ ลำต้นแข็ง กลีบและหัวขาว กลีบเท่าหัวแม่มือ กลิ่นฉุนและรสจัด อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 75-90 วัน
1.2 พันธุ์กลาง
ลักษณะใบเล็กและยาว ลำต้นใหญ่และแข็ง หัวขนาดกลาง หัวและกลีบสีม่วงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 90-120 วัน ปริมาณ 15-20 หัวต่อ 1 กิโลกรัมนิยมปลูกในภาคเหนือ
1.3 พันธุ์หนัก
บางทีเรียกพันธุ์จีนลักษณะใบกว้างและยาว ลำต้นเล็กหัวใหญ่ กลีบโต เปลือกหุ้มสีชมพูอายูเก็บเกี่ยวประมาณ 150 วัน ปริมาณหัว 15-20 หัวต่อ 1 กิโลกรัม
2. การเตรียมดิน
ไถดินตากประมาณ 7-10 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วคลุกเคล้าหรือพรวนดินให้เข้ากันพร้อมยกร่องแบบปลูกผักปรับหน้าดินให้เรียบใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อรองพื้นรดนํ้าให้ชื้นพร้อมปลูก
3. การเตรียมพันธุ์
ใช้กลีบหรือโคลฟ (clove) ของกระเทียมโดยแกะออกจากหัวแยกเป็นกลีบๆคัดเลือกเฉพาะกลีบที่ใหญ่และสมบูรณ์ดีใช้พันธุ์ประมาณ 80-100 กิโลกรัมต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่
4. การปลูก
ควรรดนํ้าให้ชื้นก่อนแล้วดำกลีบกระเทียมลงในแปลงโดยดำกลีบลึกประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของกลีบลงในดินให้เป็นแถวเป็นแนวตามระยะปลูก คือระหว่างต้น10 เซนติเมตรและระยะระหว่างแถว 10-15 เซนติเมตรคลุมด้วยฟางข้าวรดนํ้าให้ชุ่ม
5. การให้น้ำ
กระเทียมควรให้นํ้าอย่างสมํ่าเสมอและเพียงพอในช่วงระยะของการเจริญเติบโตและควรงดการให้นํ้าเมื่อหัวเริ่มแก่
6. การใส่ปุ๋ย
ครั้งแรกใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่เป็นการรองพื้น ครั้งที่สองเมื่ออายุประมาณ 10-14 วันควรใส่ปุ๋เคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบรณ์ของดินครั้งที่สามอายุประมาณ 30 วันหลังปลูกใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
7. การเก็บเกี่ยว
เมื่อได้อายุการเก็บเกี่ยวตามพันธุ์หนักพันธุ์เบาแล้วเลือกเก็บหัวที่แก่จัดสังเกตุที่คอกระเทียม ( ระหว่างต้นกับหัว ) เหี่ยวและต้นพับลงมาใช้มือถอนทั้งต้นและหัวที่แก่จัดมัดแขวนหรือผึ่งลมในร่มกันฝนกันแดดได้ให้หมาดๆหรือเกือบแห้งแล้วมัดเป็นจุกๆรอการจำหน่ายต่อไป
8. โรค
ได้แก่โรคเน่า โรคใบใหม้ โรคใบจุด โรคแอนแทรคโนส และโรครานํ้าค้างป้องกันกำจัดโดยการฉีดพ่น เมทาแลคซิล โปรคลอราช สกอร์ แมนโคเซป ตัวใดตัวหนึ่งตามอาการของโรค
9. แมลง
ได้แก่ เพลี้ยไฟ หนอนกระทู้หอม ป้องกันกำจัดโดยการฉีดพ่น อะบาเม็กติน อาทาบรอน หรือไซเปอร์เมทรินตัวใดตัวหนึ่ง
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
*******************************************************************************************************************************************
กระเทียม (Garlic) |
|
|
|
สถานการณ์ทั่วไป
กระเทียมเป็นพืชเศรษฐกิจพืชหลักของประเทศนอกจากจะใช้ประกอบอาหารและยังเป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคได้หลายชนิด ประเทศที่ผลิตกระเทียมได้มากคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ และอินเดีย สำหรับประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกระเทียม 150,000-190,000 ไร่ ผลผลิตประมาณ 9,000 ตัน/ปี ผลผลิตสดเฉลี่ย 1,700-1,900 กิโลกรัม (สด) |
|
|
|
ลักษณะทั่วไปของพืช
กระเทียมเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า หัว หัวมีกลีบย่อยหลายกลีบติดกันแน่นเนื้อสีขาวมีกลิ่นฉุนการปลูกจะใช้กลีบกระเทียมเป็นพันธุ์ปลูกได้ดีในดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำดีกระเทียมจะลงหัวในช่วงที่มีอากาศหนาว ดังนั้นจึงปลูกได้ดีเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย |
|
|
|
พื้นที่ส่งเสริม
พื้นที่เหมาะสมเชิงธุรกิจจังหวัด เชียงใหม่, ลำพูน, เชียงราย, ลำปาง,พะเยา, อุตรดิตถ์, แม่ฮ่องสอน, ศรีสะเกษ
พื้นที่ปลูกที่สำคัญ จังหวัด เชียงใหม่, ลำพูน, เชียงราย, ลำปาง, พะเยา, อุตรดิตถ์, แม่ฮ่องสอน, ศรีสะเกษ |
|
|
|
พื้นที่ปลูก ประมาณ 209,430 ไร่ ( พศ.2540 / 2541)
พันธุ์ที่ส่งเสริม กระเทียมพันธุ์เบาของศรีสะเกษ, กระเทียมพันธุ์เชียงใหม่, กระเทียมพันธุ์หัวใหญ่
ต้นทุนการผลิต/ไร่ 13,860 บาท/ไร่ ( พศ.2539 )
|
|
|
|
ผลผลิต
ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 429,441 ตัน ( พศ. 2540 / 2541)
ผลผลิตเฉลี่ย 2,051 กก./ไร่ (พศ. 2540 / 2541)
ราคาที่เกษตรกรขายได้ 22 - 60 บาท/กก. (พศ. 2541)
ปริมาณที่ใช้ในประเทศ 429,416 ตัน (พศ. 2541)
การส่งออก ปริมาณ 25 ตัน มูลค่า 3.5 ล้านบาท ( พศ. 2540 )
การนำเข้า ปริมาณ - มูลค่า - ล้านบาท (พศ.- )
|
|
การปลูก |
|
วิธีการปลูก
1. เตรีมแปลงกว้างประมาณ 1.20 เมตร ความยาวตามสภาพพื้นที่ ความสูงของแปลงประมาณ 20 เซนติเมตร
2. ใชัพันธุ์กระเทียมโดยฝังกลีบกระเทียมหลุมละ 1 กลีบ ลึกประมาณ 1 เซนติเมตร
3. ให้รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 5-7 วัน/ครั้ง |
|
ระยะปลูก 15-20 เซนติเมตร X 15-20 เซนติเมตร
จำนวนต้น/ไร่
|
|
การดูแลรักษา |
|
การใส่ปุ๋ย
1. ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เช่นปุ๋ยคอก, ปุ๋ยหมัก, รองพื้นระยะเตรียมดิน ประมาณ 2-3 ตัน/ไร่
2. ปุ๋ยเคมีสูตร 10-10-15หรือ 13-13-21 อัตรา50-100 กก./ไร่
การให้น้ำ
1. โดยใส่น้ำขังแปลงและตักรดทุก 3-5 วัน/ครั้ง โดยสังเกตุจากใบกระเทียมถ้าเริ่มเหี่ยวต้องรีบให้น้ำทันที
การปฏิบัติอื่นๆ
การคลุมฟาง หลังปลูกกระเทียมแล้วให้คลุมฟางหนาประมาณ 2-3 นิ้ว เพื่อควบคุมการงอกของวัชพืช และควบคุมความชื้นในดิน ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโต
|
|
ศัตรูพืชที่สำคัญและวิธีการป้องกันกำจัด |
|
1. โรค
1.1 โรคใบเน่าหรือแอนแทรกโนส จะทำให้ใบเป็นแผลเน่ายุบตัวและระบาดจนถึงทำให้หัวเน่า โดยใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดโพลาแทน, แมนเชทดี, ไดเท็นเอ็ม-45 หรือ ชินโคโฟน ฉีดยาพ่นทุก 5-7วัน/ครั้ง
1.2 โรคใบจุดสีม่วง โรคนี้จะทำให้กะเทียมไม่ลงหัว ใบแห้งมีแผลจำนวนมากตามใบและจะแห้งตายไปในที่สุดป้องกันกำจัด ใช้ยากำจัดเชื้อราเช่น ไดเท็นเอ็ม-45, ชินโคโพล เดอโรชาล, นาวิสตินหรือไดโพลาแทนฉีดพ่นทุก5-7 วัน/ครั้ง
1.3 โรคหัวและรากเน่า กระเทียมเริ่มมีใบแก่เหลืองเหี่ยวแห้งไป กาบหัวช้ำเริ่มมีเส้นใยสีขาวขึ้นฟูอยู่บนแผลและตาม รากเน่าเป็นสีน้ำตาลจะทำให้หัวนิ่มเน่าและเนื้อเยื่อยุ่ยมีกลิ่นเหม็น
การป้องกันกำจัด
1. ให้ขุดหอมและดินที่เกิดโรครวบรวมไปเ ผาทำลายเสีย เพื่อป้อองกันมิให้ระบาดแพร่ทั่วไป
2. ในการปลูกหอมหรือพืชอื่นๆในปีต่อไป ในที่ๆมีโรคนี้ระบาด ควรทำการปรับปรุงแก้ไขดินเสียใหม่ โดยใส่ปูนขาวประมาณ 100-200 กก./ไร่ ก็จะช่วยให้โรคนี้ชะงักไปได้ระยะหนึ่งหรือหายไป
3. ใช้ยาเทอราคลอ, เทอราโซล หรือเทอราคลอซุปเปอร์เอกซ์ราดโคนต้น4). ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5 ปี
1.4 โรคเน่าคอดิน ที่โคนต้นบริเวณเหนือพื้นดินขึ้นไปจะมีรอยช้ำเป็นจุดเล็กๆก่อนแล้วจึงขยายตัวขึ้นตามลำดับจนรอบต้น สังเกตดูจะเห็นรอยช้ำสีน้ำตาล ต้นกล้าจะหักพับและส่วนยอดก็จะแห้งตาย
การป้องกันกำจัด
1. หว่านเมล็ดบางๆเพราะถ้าแน่นเกินไปกล้าจะมีโอกาสเป็นโรคได้ง่ายและอย่ารดน้ำให้แฉะเกินไป
2. ถ้ามีโรคเริ่มระบาดเล็กน้อยใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น บลาสซิโคล, ไดเทนเอ็ม-45 ในอัตราที่กำหนดในฉลากสัก 2-3 ครั้ง หลังจากนั้นให้ใช้น้ำปูนใส่อย่างเจือจางรดเป็นระยะ |
|
|
|
2. แมลง
2.1 เพลี้ยไฟ จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใบกระเทียม ป้องกันกำจัดโดยใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น เซฟวิน,พ็อส ฉีดพ่น |
|
|
|
|
|
ปฏิทินการปลูกและการดูแลรักษา |
กิจกรรม |
ระยะเวลาปฎิบัติ |
หมายเหตุ |
พ.ย.
|
ธ.ค.
|
ม.ค.
|
ก.พ.
|
มี.ค.
|
เม.ย.
|
พ.ค.
|
ม.ิย.
|
ก.ค.
|
ส.ค.
|
ก.ย
|
ต.ค
|
ปลูก |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-13 หรือปุ๋ยสูตร 10-10-15 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ให้น้ำ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เก็บเกี่ยว |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
แนวทางการส่งเสริม |
|
1.แนะนำให้เกษตรกรปลูกในพื้นที่เท่ากับที่กำหนดไว้ในเป้าหมาย
2. แนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรใช้พันธุ์กระเทียมที่ตลาดต้องการ
3. ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการจัดชั้นคุณภาพกระเทียมก่อนขาย |
|
|
|
ปัญหาอุปสรรค
1. มีการผลิตเกินเป้าหมายกำหนดอยู่เสมอทำให้ราคาตกต่ำ
2. ปัญหาเรื่องพันธ์กระเทียมยังไม่ได้มาตราฐานตามความต้องการของตลาด |
|
|
|
|
|
|
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
1. สถานีทดลองพืชสวนฝาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
2. สถานีพืชสวนเชียงราย อำเภอเมืง จังหวัดเชียงราย |
**************************************************************************************************************************************************
กระเทียมต้น
จัดอยู่ในวงศ์ Alliaceae (Amaryllidaceae) มี ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium ampeloprasum L. porrum มีถิ่นกำเนิดแถบเมดิเตอเรเนียน เป็นพืชเมืองหนาวที่มีการ เจริญเติบโตสองฤดู คือ ฤดูที่หนี่งเจริญทางลำต้น ฤดูที่สองเจริญทางดอก และเมล็ด แต่นิยมปลูกเป็นพืชฤดูเดียว กระเทียมต้นประกอบด้วยราก(root) สองระบบคือ fibrous root และ root hair ลำต้น(stem) มีลักษณะเป็นแผ่นอยู่ระหว่างลำต้นเทียม และราก ใบจริง(leaf) มีลักษณะเป็นตัว V แบบยาวคล้ายใบกระเทียม แต่มีขนาดใหญ่ และหนากว่า มีความยาวประมาณ 5-10 ซม. เจริญด้านตรง กันข้ามสลับกัน
ลำต้นเทียม(pseudostem) หรือโคนก้านใน(shaft) เป็นส่วนที่ขยายตัวและสะสมอาหารสำรอง และมีน้ำร้อยละ 40 ของต้น ขนาดและความยาวของลำต้นเทียมขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ความสูงของต้นโดยทั่วไปประมาณ 40-70 เซนติเมตร
สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต
พื้นที่ปลูกกระเทียมต้นควรสูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,100 เมตรขึ้นไป สามารถปลูกได้ตลอดปี กระเทียมต้นเป็นพืชที่ีมีระบบรากตื้น ดินที่ใช้ต้องร่วยซุย มีหน้าดินลึก ระบายน้ำได้ดี และมีอินทรีย์วัตถุสูง ก่อนปลูกควรเติมปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก จัด pH ที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 ไม่สามารถเจริญได้ดีในดิน ที่มีสภาพเป็นกรด อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการปลูก 12-21′C อากาศเย็นจะทำให้การเจริญเติบโตดี
การใช้ประโยชน์ และคุณค่าทางอาหาร
ใช้ทำซุป สตู ผัดน้ำมันหอย ผัดกับอาหารทะเล หรือตุ๋น
การปฎิบัติดูแลรักษาระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
การเตรียมกล้า
- การเตรียมแปลงเพาะกล้า ในฤดูฝนควรอยู่ภายใต้หลังคาพลาสติก สำหรับ ฤดูร้อน/หนาวใช้อุโมงตาข่าย
- ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ใส่ปุ๋ยรองพื้น ดังนี้
- ปุ๋ย 12-24-12 ปริมาณ 30 กรัม/ตร.ม.
- ปูนขาว ปริมาณ 30 กรัม/ตร.ม.
- ปุ๋ยคอก(มูลไก่ไม่ควรใช้มูลไก่อัดเม็ด) ปริมาณ 1ก.ก./ตร.ม. คลุกให้ทั่วแปลง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
การบ่มเมล็ด
โดยการแช่เมล็ดในน้ำผสมยากันรา นาน 15 นาที ผึ่งเมล็ดไว้ประมาณ 30 นาที แล้วห่อด้วยผ้าไว้ 1 คืน นำเมล็ดที่บ่มแล้ว หยอดในแปลงเพาะกล้า
- ขีดร่องขวางแปลงลึก 1 ซม. ห่าง 10 ซม. หยอดเมล็ดที่บ่มแล้วห่างกัน 1 ซม. กลบดินบางๆ แล้วคลุมด้วยฟาง
- ควรรดน้ำวันละ 1 ครั้ง เมื่อมีอายุได้ 2 เดือน จึงย้ายปลูก หรือสังเกตเส้นผ่านศูนย์์กลางของลำต้นเทียมประมาณ 8 มิลลิเมตร(ลำต้นเท่ากับดินสอ) ควรใส่ปุ๋ยเคมี เช่น 15-15-15 และยูเรีย เมื่ออายุได้ 25 และ 50 วัน
- กล้าสำหรับย้ายปลูกตัดปลายให้สูงกว่ายอด 2 ซม. ตัดรากเหลือ 1 ซม. แช่รากในน้ำผสม ไดเทนเอ็ม 45 นาน 10 นาที ก่อนย้ายปลูก
การเตรียมดิน
กระเทียมต้นเป็นพืชรากตื้น การเตรียมดินควรไถ หรือขุดให้ลึกประมาณ 15-20 ซม. แล้วตากทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อกำจัดโรค แมลง และวัชพืช ใส่ปูนขาวปรับ pH ตามผลการวิเคราะห์ดิน ทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก และรองพื้นด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 20 กรัม/ตร.ม. คลุกเคล้าให้เข้ากัน
การปลูก
หลังจากเตรียมแปลงปลูกเรียบร้อยแล้ว ก่อนปลูกควรรดน้ำให้แปลงมีความชุ่มชื่น แล้วทำการปลูก โดยขุดร่องลึก 30 ซม. ห่างกัน 80 ซม. เลือกต้นกล้าที่มีขนาดเท่ากันปลูกก่อนในแปลงเดียวกัน กลบดินรดน้ำให้ทั่วแปลง
การใส่ปุ๋ย
หลังปลูก 20 วัน โรย 21-0-0 และ 15-15-15 อัตรา 20 กรัม/ตร.ม. ลงในร่องปลูก แล้วกลบดิน พูนโคน อายุได้ 40 วัน โรยปุ๋ย 15-15-15 แล้วกลบดินพูนโคนต้นถึงระดับใบล่าง
การเก็บเกี่ยว ถอนต้นเมื่ออายุ 80 วันขึ้นไป หลังจากย้ายปลูก หรือเมื่อใบล่างห่างจากพื้น 15 ซม. หรือโดนต้นโตเกิน 2.5 ซม. ใช้จอบขุดเอาต้นโตออก ล้างรากให้สะอาดตัดรากทิ้ง เหลือ 0.5 ซม. เก็บใบเสียทิ้ง
โรคแมลงศัตรูที่สำคัุญในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
ระยะหยอดเมล็ด 0-60 วัน โรคโคนเน่า, โรครากปม,
ระยะการเจริญเติบโต 60-70 วัน โรคใบจุดสีม่วง, โรครากปม, เพลียไฟ, หนอนกระทู้,
ระยะห่อหัว 80-90 วัน โรคใบจุดสีม่วง, โรครากปม, เพลี้ยไฟ, หนอนกระทู้,
ระยะเก็บเกี่ยว 100-120 วัน โรคใบจุดสีม่วง, โรครากปม, เพลี้ยไฟ, หนอนกระทู้,
ระยะเก็บเกี่ยว 140-160 วัน โรคใบจุดสีม่วง, โรครากปม, เพลี้ยไฟ, หนอนกระทู้,
ต้นทุนการผลิต และปริมาณผลผลิตของกระเที่ยมต้น
รายการ
|
ฤดูฝน
|
ฤดูหนาว
|
ฤดูแล้ง
|
แรงงานเตรียมดิน
|
580
|
380
|
300
|
แรงงานปลูก
|
320
|
180
|
150
|
มูลค่าแปลงปลูก
|
520
|
390
|
390
|
แรงงานให้น้ำ
|
100
|
500
|
500
|
แรงงานใส่ปุ๋ยเคมี
|
150
|
150
|
150
|
มูลค่าปุ๋ยเคมี
|
600
|
600
|
600
|
มูลค่าปุ๋ยคอก
|
200
|
200
|
200
|
แรงงานพ่นยาฆ่าแมลง, ฆ่าเขื้อรา
|
100
|
100
|
100
|
มูลค่ายาฆ่าแมลง. ฆ่าเชื้อรา
|
80
|
80
|
80
|
แรงงานดายหญ้า
|
100
|
100
|
100
|
แรงงานเก็บเกี่ยว และขนย้าย
|
200
|
200
|
200
|
ต้นทุนเฉลี่ย(บาท/งาน)
|
2,950
|
2,980
|
2,870
|
ผลผลิตเฉลี่ย(กก./งาน)
|
400
|
600
|
500
|
ต้นทุนเฉลี่ย(บาท/กก.)
|
7.37
|
4.96
|
5.74
|
ที่มา :
- คู่มือการปลูกผักบนที่สูง