ชื่อสามัญ Maize, Corn
ชื่อวิทยาศาสตร์ Zea mays L.
แหล่งปลูก เพชรบูรณ์ นครราชสีมา เลย ลพบุรี นครสวรรค์ ปราจีนบุรี
ข้าวโพดเป็นพืชไร่เศรษฐกิจที่สำคัญของไทยชนิดหนึ่งซึ่งทำรายได้ให้ประเทศปีละกว่าหมื่นล้านบาท ปลูกมากในภาคเหนือ คิดเป็นพื้นที่กว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ที่ปลูกข้าวโพดทั้งหมดของประเทศ รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ซึ่งในแต่ละปีจะมีพื้นที่ปลูกข้าวโพด ทั้งประเทศ ประมาณ ๘ - ๙ ล้านไร่ โดยได้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ ๔๗๐ กิโลกรัม/ไร่
ผลผลิตของข้าวโพดที่ผลิตได้ ยังไม่พอเพียงกับความต้องการใช้ภายในประเทศ อันเนื่องมาจากการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ของอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ จึงต้องมีการนำข้าวโพดจากต่างประเทศเข้ามาอย่างน้อย ปีละ ๕๒,๐๐๐ ตัน ดังนั้น การเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจัยหลายอย่างในการเพิ่มผลผลิต เช่น พันธุ์ สภาพดินฟ้าอากาศที่ เหมาะสมปริมาณน้ำฝน การดูแลรักษาที่ถูกวิธี มีข้อแนะนำดังต่อไปนี้
สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม
ข้าวโพดปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่จะขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำดี ดินมีความเป็นกรดหรือด่าง (pH) ระหว่าง ๕.๕ - ๘ ต้องการปริมาณน้ำฝนน้อยตลอดฤดูปลูกเพียง ๓๕๐ - ๔๐๐ มิลลิเมตร (นาปรังใช้น้ำถึง ๘๐๐ มิลลิเมตร) และ อุณหภูมิที่ปลูกข้าวโพดได้มีช่วงกว้างระหว่าง ๑๐ - ๔๐ องศาเซลเซียส ดังนั้นจึงปลูกข้าวโพดได้ตลอดปี และ เกือบทุกภาคของประเทศไทย
ความต้องการน้ำ
ในระยะเวลาของการเจริญเติบโต ข้าวโพดต้องการน้ำเพียงเล็กน้อยแต่จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามอายุ และต้องการน้ำสูงสุดในช่วงออกดอก และ ช่วงระยะของการสร้างเมล็ดแล้วค่อย ๆ ลดลงอีก
ดังนั้นถ้าขาดน้ำในช่วงออกดอก จะทำให้ผลผลิตลงมาก จึงต้องคาดคะเนวันปลูก เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ข้าว โพดกระทบแล้งในช่วงออกดอก
พันธุ์
พันธุ์ข้าวโพดที่หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลทั้งของกรมวิชาการเกษตร และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งพันธุ์ผสมเปิดและลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูง และแนะนำส่งเสริมแก่การเกษตรกร มีหลายพันธุ์ ดังนี้
๑.นครสวรรค์ ๑ พัฒนาโดยศูนยวิจัยพืชไร่นครสวรรค์ กรมวิชาการเกษตร เป็นพันธุ์ผสมเปิด รับรองพันธุ์โดยกรมวิชาการเกษตร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒
มีลักษณะเด่น คือ
อายุเก็บเกี่ยว ๑๐๐ - ๑๑๐ วัน
ผลผลิต ๕๐๐ - ๘๐๐ กิโลกรัม/ไร่
ต้านทานโรคราน้ำค้างได้ดี
เมล็ดกึ่งหัวแข็ง สีเหลืองส้ม
๒.สุวรรณ ๕ เป็นข้าวโพดพันธุ์ผสมเปิดที่ให้ผลผลิตสูงมาก และ เหมาะที่จะปลูกเพื่อตัดต้นสดไปเลี้ยงสัตว์ได้อีกด้วย เพราะให้ผลผลิตต้นสดสูงและมีคุณภาพดี
ลักษณะเด่น คือลำต้นสูง ๒๑๐ - ๒๔๐ เซนติเมตร
อายุเก็บเกี่ยว ๑๑๐ - ๑๒๐ วัน
ผลผลิต ๙๑๐ - ๙๕๐ กิโลกรัม/ไร่
ต้านทานโรคราน้ำค้าง และโรคทางใบได้ดี
เมล็ดสีส้มเหลือง
๓.สุวรรณ ๓๖๐๑ เป็นพันธุ์ลูกผสมเดี่ยว ให้ผลผลิตสูงมาก
ลักษณะเด่น คือ
ลำต้นสูง ๒๑๐ - ๒๓๐ เซนติเมตร
อายุเก็บเกี่ยว ๑๑๐ - ๑๒๐ วัน
ต้านทานโรคราน้ำค้างได้ดีมาก และต้านทานการหักล้มดี
ผลผลิตสูงกว่า ๘๕๐ - ๑,๐๐๐ กิโลกรัม/ไร่
ฤดูปลูก
ต้นฤดูฝน ระหว่าง เมษายน - พฤษภาคม
ปลายฤดูฝน ระหว่าง กรกฎาคม - สิงหาคม
ในเขตชลประทาน สามารถปลูกข้าวโพดได้ตลอดปี โดยทั่วไปการปลูกต้นฤดูฝน มักจะได้ผลดีกว่าปลูกปลายฤดูฝน แต่มีข้อเสียคือ ในระยะเก็บเกี่ยวจะมีฝนชุก ทำให้ข้าวโพดชื้น จะเกิดปัญหาสารอะฟลาทอกซิน เพราะตากข้าวโพดไม่แห้ง
แต่ปลูกปลายฤดูฝน จะมีปัญหาเตรียมดินไม่สะดวก เพราะฝนชุกและโรคต้นกล้าเน่า
การเตรียมดิน
ควรเตรียมดินใกล้ ๆ ก่อนจะปลูก หลังฝนตกแล้ว ควรไถดิน ๑ - ๒ ครั้ง ไถดะให้ลึก ๒๐ - ๓๐ เซนติเมตร ตากดินไว้ ๑๐ - ๑๕ วัน เพื่อทำลายวัชพืชและศัตรูพืชในดินบางชนิด แล้วไถแปรหรือพรวนอีก ๑ - ๒ ครั้ง เพื่อให้ดินร่วนเหมาะแก่การเจริญของต้นข้าวโพด
การปลูกแบบไม่ไถพรวน
การปลูกแบบไม่ไถพรวนหรือพรวนเฉพาะบริเวณแถวที่จะปลูกเท่านั้นก็ได้ การปลูกแบบนี้จะมีผลดีต่อเมื่อมีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชโดยมีสารเคมีหลัก คือ กรัมมอกโซน หรือ พาราควอท ควบคู่กับ อาทราซีน อะลาคลอร์ การปลูกแบบนี้จะมีเศษซากพืชคลุมดิน ซึ่งจะช่วยในการซับน้ำและ เก็บรักษาความชื้นในดิน รวมทั้งลดความเสียหายจากการ ชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ดี โดยเฉพาะในที่ที่ลาดเทสูง
การปลูกข้าวโพดในพื้นที่นา
การปลูกข้าวโพดในพื้นที่นาในฤดูแล้ง จะแบ่งช่วงการปลูกเป็น ๒ ช่วง ดังนี้
๑.การปลูกช่วง พฤศจิกายน - ธันวาคม เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด ของการปลูกข้าวโพด เนื่องจากช่วงอุณหภูมิโดยทั่วไป จะอยู่ระหว่าง ๒๐ - ๒๕ C ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสม รวมไปถึงเมื่อเช้าสู่การเก็บเกี่ยวเป็นระยะที่อากาศร้อนและแห้งแล้ง จึงสะดวกในการเก็บเกี่ยว และสามารถตากห้งได้ดี (ยกเว้นบางปีที่อุณหภูมิต่ำมาก ๆ ทำให้พืช ชะงักการเจริญเติบโต)
๒.การปลูกช่วง มกราคม - กุมภาพันธ์ สภาพอากาศค่อนข้างเย็นแล้ว หลังจากนั้นอากาศจะร้อนขึ้น ทำให้ต้นข้าวโพดมีอาการใบเหี่ยวแม้ความชื้นในดินจะมีเพียงพอ
ดินนาส่วนมากเป็นดินเหนียวถึงเหนียวจัด เมื่ออากาศแห้งแล้งมักจะเกิดการแตกระแหงของผิวหน้าดิน ทำให้กระทบกระเทือนต่อรากนอกจากนี้การที่อุณหภูมิสูงมาก จะเป็นอันตรายต่อการผสมเกสรและการสร้างเมล็ดด้วย
หมายเหตุ การปลูกในเดือนมีนาคม ไม่เหมาะสมที่จะปลูกข้าวโพดเพราะอากาศจะร้อน ต้นข้าวโพดจะเจริญช้า และต้องให้น้ำบ่อยกว่าช่วงอื่นจึงไม่แนะนำให้ปลูกในช่วงเดือนมีนาคม
การเตรียมดินปลูกข้าวโพดในพื้นที่นา
ควรไถโดยใช้ผานเจ็ด ไถดินในขณะที่ดินยังมีความชื้นปานกลางหลังจากนั้นจะต้องยกร่องลูกฟูก ให้สันลูกฟูกห่างกันประมาณ ๗๕ เซนติเมตร เพื่อที่จะให้ปลูกข้าวโพดบนบนสันร่องนี้ หรือจะยกร่องหว้าง ๑๕๐ เซนติเมตร แล้วปลูกข้าวโพดบนร่อง ๒ แถวก็ได้ การที่ต้องยกร่องในการปลูกข้าวโพด ก็เพื่อประโยชน์ในการน้ำตามร่องลูกฟูกนี้ การยกร่องจะช่วย ไม่ให้รากข้าวดพดแช่น้ำนานเกินไป เพราะข้าวโพดไม่ชอบน้ำขัง (หากพื้นที่นา ไม่สามารถยกร่อง ได้ ไม่ควรปลูกข้าวโพด)
การปลูก ระยะปลูก การดูแลรักษา การใส่ปุ๋ย การป้องกันโรคแมลง และการเก็บเกี่ยว ทำเช่นเดียวกับการปลูกในสภาพไร่ ยกเว้นการกำจัดวัชพืช ควรใช้วิธีกลเท่านั้น เพราะสารเคมี ในการควบคุมวัชพืชจะเป็นอันตรายต่อข้าวที่จะปลูกตามในภายหลังได้
การปลูกและระยะปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ใช้ระยะ ๗๕ x ๗๕ เซนติเมตร หยอดเป็นหลุมหลุมละ ๔ เมล็ด กลบดินหนา ประมาณ ๕ เซนติเมตร ให้แน่นพอประมาณเมื่อข้าวโพดอายุประมาณ ๑๕ วัน ควรถอนต้นที่ไม่แข็งแรงทิ้ง เหลือไว้ หลุมละ ๓ ต้น
หรือ ใช้ระยะ ๗๕ x ๕๐ เซนติเมตร หยอดหลุมละ ๓ เมล็ด ถอนให้เหลือหลุมละ ๒ ต้น
ถ้าใช้เครื่องจักรปลูก ควรใช้ระยะ ๗๕ x ๕๐ เซนติเมตร โดยให้มีจำนวนต้นข้าวโพดประมาณ ๘,๕๐๐ ต้น/ไร่ ซึ่งใช้เมล็ดพันธุ์ ๓ - ๔ กิโลกรัม/ไร่
ข้าวโพดหวานหรือข้าวโพดเทียน ใช้ระยะปลูกเดียกัน แต่ปลูกให้มีจำนวนต้น/ไร่ มากกว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อีก ๒๕ - ๕๐ %
การใส่ปุ๋ย
ผลจากการวิเคราะห์พบว่า ผลผลิตข้าวโพดทุก ๆ ๑๐๐ ืกิโลกรัมจะสูญเสียธาตุอาหารหลักไปกับเมล็ด คือ ไนโตรเจน ๑.๕๙ กิโลกรัม ฟอสฟอรัส ๐.๓๘ กิโลกรัม โพแทสเซียม ๐.๕๑ กิโลกรัม ส่วนใดตอซังจะสูญเสีย ไนโตรเจน ๐.๗๗ กิโลกรัม ฟอสฟอรัส ๐.๑๑ กิโลกรัม โพแทสเซียม ๑.๖๒ กิโลกรัม ดังนั้นจึงไม่ควรเผาต้นหรือนำตอซังไปทิ้ง ควรไถกลบลงดินเป็นปุ๋ยพืชสด
การให้ปุ๋ยข้าวโพด พิจารณาจากดินที่ปลูก ดังนี้
ดินเหนียวสีแดง
ใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา ๑๓ กิโลกรัม/ไร่ (หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา ๕๐ กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี ๑๖ - ๒๐ - ๐ อัตรา ๒๕ กิโลกรัม/ไร่ ควรใส่ปุ๋ย ๑๖-๒๐-๐ ก่อนปลูกเล็กน้อยหรือพร้อมปลูก และใส่ปุ๋ยยูเรียเมื่อข้าวโพดอายุ ๑ เดือน
ดินเหนียวสีดำ
ใส่ปุ๋ยยูเรีย ๒๒ กิโลกรัม/ไร่ (หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา ๕๐ กิโลกรัม/ไร่) ควรใส่เมื่อข้าวโพดมีอายุได้ ๑ เดือน
ดินปนทราย
ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร ๑๖-๑๖-๘ อัตรา ๕๐ - ๗๕ กิโลกรัม/ไร่ ใส่ปุ๋ยครั้งเดียวเมื่อข้าวโพดอายุ ๒๐ - ๓๕ วัน หรือมีความสูงเท่าเข่า และดินมีความชื้นเพียงพอ พร้อมกับการกำจัดวัชพืชครั้งแรก การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและประหยัดมากที่สุดนั้น คือใส่ปุ๋ยเฉพาะเท่าที่จำเป็น โดยนำดินไปวิเคราะห์หาว่ามีธาตุอาหารอยู่มากหรือน้อยเพียงใด แล้วใส่ธาตุ อาหารเฉพาะที่ขาดแคลนเท่านั้น
การกำจัดวัชพืช
ช่วงวิกฤตที่ข้าวโพดอ่อนแอต่อวัชพืชที่สุดคือ ระยะ ๑๓ - ๒๕ วัน หลังงอก ระยะนี้ถ้ามีวัชพืชรบกวนจะทำให้ผลผลิต ข้าวโพดเสียหายสูงสุด ดังนั้นการปลูกข้าวโพดให้ได้ผลผลิตสูง จึงต้องให้แปลงปลอดวัชพืช ตลอดช่วง ๑ เดือนแรกตั้งแต่ปลูก โดยเลือกวิธีการกำจัดวัชพืชที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ ดังนี้
๑.การไถและพรวนดิน ก่อนปลูกข้าวโพด โดยไถและพรวนดินหลังวัชพืชงอก จะช่วยทำลายกล้าวัชพืชให้ตายได้ ส่วนกล้าและเหง้าวัชพืชที่ตายยาก ควรตากดินนาน ๑๐ - ๑๕ วัน เพื่อให้วัชพืชพืชตาย ก่อนปลูกข้าวโพด
๒.การทำรุ่น เป็นการพรวนดิน ดายหญ้า หลังข้าวโพดงอกแล้วแต่ก่อนจะถึง ระยะวิกฤตโดยใช้เครื่องมือกลต่าง ๆ เช่น จอบ ไถ รถไถและรถแทรกเตอร์ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม การใช้ไถพูนโคนมักมีวัชพืช ในแถวหลงเหลืออยู่จึงต้องใช้ขอบดายตามอีกครั้ง
๓.การใช้สารเคมี อาจใช้ทันทีหลังปลูกข้าวโพดหรือพ่นกำจัดวัชพืชฟลังข้าวโพดและวัชพืชงอกแล้ว การใช้สารเคมีเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัด แต่ต้องระมัดระวัง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อคน พืชอื่น ๆ และสิ่งแวดล้อม ควรฉีดพ่นขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่ สารเคมีที่แนะนำมีดังนี้
อาทราซีน (ชนิดผง ๘๐%) ใช้ก่อข้าวโพดงอก อัตรา ๕๐๐ กรัม/ไร่ ถ้าเป็นดินเหนียวให้ใช้เพิ่มขึ้นอีก ใช้ควบคุมวัชพืชใบกว้างและแคบได้ดีเป็นพิษต่อผักและพืชตระกูลถั่ว ดังนั้น ถ้าจะปลูกถั่วตามหลังข้าวโพด ไม่ควรใช้อาทราซีน
อะลาคลอร์ ใช้ฉีดพ่นวัชพืชก่อนข้าวโพดงอก ใช้อัตรา ๕๐๐ - ๑,๐๐๐ ซีซี/ไร่ กำจัดวัชพืชใบแคบได้ดี เป็นพิษต่อข้าวฟ่าง ดังนั้นถ้าจะปลูกข้าวฟ่างตามหลังข้าวโพด ไม่ควรใช้อะลาคลอร์
หมายเหตุ การใช้สารกำจัดวัชพืช จะได้ผลดีถ้าปฏิบัติถูกต้อง แต่มีข้อควรระวัง คือ ต้องผสมน้ำและฉีดพ่นขณะที่ดินยังชื้นอยู่ และไม่แนะนำให้ปลูกข้าวฟ่างตามหลังข้าวโพด เพราะทั้ง ๒ พืชมีระบบรากคล้ายกันและใช้ธาตุอาหารคล้ายกัน ดินจะเสื่อมเร็ว ควรปลูกพืชหมุนเวียนชนิดอื่น
โรค-แมลงศัตรูข้าวโพด
๑.โรคราน้ำค้าง เชื้อรานี้จะเข้าทำลายตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงอายุประมาณ ๒ เดือน ใบจะเป็นทาง ซีดขาวหรือเขียวอ่อนจากฐานใบถึงปลายใบ ถ้าเป็นมากจะทำให้ต้นแห้งตาย เชื้อนี้ปลิวไปในอากาศหรืออาจติดไปกับเมล็ดได้
การป้องกันกำจัด
๑.ปลูกพันธ์ต้านทานในแหล่งที่โรคระบาด
๒.คลุกเมล็ดด้วยสารเคมี เมตาแล็กซีล เช่น เอพรอน ๓๕ SD อัตรา ๗ กรัม/เมล็ดพันธุ์ ๑ กิโลกรัม
๓.เมื่อพบเห้นต้นข้าวโพดแสดงอาการ รีบถอนแล้วเผาทำลาย
๒.โรคใบไหม้ แผลเล็ก
ลักษณะอาการ ต้นข้าวโพดจะเกิดแผลบนใบขนานไปตามเส้นใบ ขอบแผลสีน้ำตาล ตรงกลางแผลกว้าง ๖ - ๑๒ มิลลิเมตร ยาว ๖ - ๒๗ มิลลิเมตร ถ้าเกิดกับต้นกล้าจะแห้งตายทั้งต้น หากเป็นกับต้นโต จะ เป็นที่ใบล่าวก่อน แล้วลามไปทั้งต้น
การป้องกันกำจัด
๑.ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ไม่เป็นโรค
๒.ถอนต้นที่เป็นโรคแล้วเผา
๓.เมื่อเริ่มเป็นโรคใช้สารเคมี ไซเนบ มาเนบ อัตรา ๒-๓ ช้อนแกง/น้ำ ๒๐ ลิตร ฉีดพ่น ๗-๑๐ วัน/ครั้ง จำนวน ๔ ครั้ง
๔.เผาทำลายพืชอาศัยของโรค เช่น หญ้าเดือย ซากข้าวโพดซากข้าวฟ่าง ฯลฯ
๓.โรคต้นเน่า
ลักษณะอาการ ถ้าเกิดจากเชื้อดิโพลเดีย จะเกิดบริเวณโคนต้นโดยเกิดเป็นแผลสีซีด ตามความยาวของลำต้น ต่อมาแผลจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ถ้าเป็นรุนแรง ลำต้นจะแตกหรือฉีกออกทำให้ต้นหักล้มง่าย
ลักษณะอาการ ถ้าเกิดจากเชื้อฟิวซาเรียม เกิดบริเวณโคนต้นแผลสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม บริเวณแผลจะแห้ง ลำต้นแตกหรือฉีกขาดบางครั้งพบเส้นใยของเชื้อราสีขาว ปกคลุมบริเวณแผลทำให้ต้นหักล้มง่าย
การป้องกันกำจัด
๑.ใช้พันธุ์ต้านทาน
๒.อย่าใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป
๓.อย่าปลูกข้าวโพดแน่นมากเกินไป
๔.โรคฝัก-เมล็ดเน่า
ลักษณะอาการ ถ้าเกิดจากเชื้อโพลเดีย เชื้อจะเข้าทำลายเมื่อข้าวโพดติดฝัก ข้าวโพดจะเริ่มขาวซีด แล้วเปลี่ยนเป็นสีเทา หรือน้ำตาลแล้วฝักจะเน่าในที่สุด
ลักษณะอาการ ถ้าเกิดจากเชื้อฟิวซาเรียม ระยะแรกตรงหัวของเมล็ดจะมีสีขาวซีด ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู หรือสีน้ำตาลแดง ขึ้นอยู่กับความชื้นของเมล็ด ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม จะพบเส้นใยสีขาวหรือสีชมพู เจริญอยู่บนเมล็ดที่เป็นโรคหรือปกคลุมทั้งฝักข้าวโพด
ลักษณะอาการ ถ้าเกิดจากเชื้อเพนนิซิเลียม หรือแอสเปอร์จิลลัส ฝักข้าวโพดจะมีเชื้อรา ซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีเขียวเจริญอยู่ระหว่างเมล็ดข้าวโพด มักเกิดตรงปลายฝัก
การป้องกันกำจัด
๑.พ่นสารเคมี ป้องกันกำจัดแมลงเจาะฝัก
๒.อย่าปล่อยข้าวโพดที่แก่จัดไว้คาแปลงนานเกินไป
๓.ตากฝักให้แห้งสนิทก่อนนำไปกะเทาะ
๔.คัดฝักที่เป็นโรคทิ้ง
๕.ตากเมล็ดให้แห้งสนิทมากที่สุด (ความชื้นไม่เกิน ๑๕%) ก่อนนำไปเก็บ
๕.มอดดิน
ลักษณะอาการ จะออกทำลายข้าวโพดในเวลาค่ำ
การป้องกันกำจัด
๑.ใช้สารฆ่าแมลงคลุกเมล็ดก่อนปลูก เช่น คาร์โบซัลแฟน (พอสส์) อัตรา ๒๐ กรัม/เมล็ดพันธุ์ ๑ กิโลกรัม
๒.เมื่อมอดดินระบาด ใช้ พอสส์ อัตรา ๓๐ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร ฉีดพ่นเมื่อข้าวโพดอายุ ๑๐ - ๑๒ วัน
๖.เพลี้ยไฟข้าวโพด
ลักษณะอาการ มักระบาดในระยะที่ต้นกล้ายังเล็กและฝนแล้ง
การป้องกันกำจัด
๑.ใช้สารเอ็นโดซัลเฟน (ธีโอดาน ๓๕% EC) อัตรา ๑๕ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร พ่นเมื่อพบเพลี้ยไฟระบาด
๗.หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด
ลักษณะอาการ หนอนจะทำลายโดยเจาะลำต้น ทำความเสียหายทั้งข้าวโพดไร่ และข้าวโพดฝักสด
การป้องกันกำจัด
๑.ระยะข้าวโพดออกไหม ใช้สารไตรฟูมูรอน (อัลซิทิน) อัตรา ๓๐ กรัม/น้ำ ๒๐ ลิตร ฉีดพ่น
๘.หนอนกระทู้ข้าวโพด
ลักษณะอาการ ทำลายข้าวโพดในระยะที่ใบยอดใกล้จะคลี่และในระยะที่ กำลังออกไหม หนอนจะกัดกินยอดและใบทำให้แหว่งวิ่น ถ้าระบาดรุนแรง ใบจะถูกกัดกินเหลือเพียงก้านใบ
การป้องกันกำจัด
๑.ใช้สารฆ่าแมลงคาร์บารีล (เซพวิน) อัตรา ๔๕ กรัม/น้ำ ๒๐ ลิตร ฉีดพ่นเมื่อพบหนอน ทำลายข้าวโพด เฉลี่ย ๓-๔ ตัว/ต้น
๙.หนอนเจาะฝักข้าวโพด
ลักษณะอาการ หนอนจะทำลายข้าวโพดโดยกัดกินไหม และเจาะเข้าไปที่ปลายฝัก
การป้องกันกำจัด
๑.ใช้สารเมโทมิล (แลนเนท) พ่นเฉพาะที่ฝัก อัตรา ๒๕ กรัม/น้ำ ๒๐ ลิตร
๑๐.มอดข้าวโพด
ลักษณะอาการ มอดจะกัดกินเมล็ดทั้งเมล็ด
การป้องกันกำจัด
๑.ทำความสะอาดเมล็ดก่อนเก็บ
๒.ลดความชื้นเมล็ดให้ต่ำที่สุด ต่ำกว่า ๙.๕% มอดจะไม่ทำลาย
๓.เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท
๔.ทำความสะอาดยุ้งฉากก่อนใช้เก็บข้าวโพด โดยการพ่นมาลาไธออน ๓% อัตรา ๙.๕ ลิตร ต่อเนื้อที่ ๑,๐๐๐ ตารางฟุต
การเก็บเกี่ยวและการตาก
ควรเก็บเมื่อข้าวโพดแก่จัดและแห้งสนิท โดยปล่อยข้าวโพดทิ้งคาต้นไว้ให้แห้งที่สุด ควรเก็บเฉพาะฝัก แล้วนำไปตากแดด ๒-๓ วัน ก่อนที่จะนำไปเก็บยุ้งฉางหรือกะเทาะเมล็ด
ในการเก็บรักษาฝักต้องระวังอย่าให้ถูกฝน หรือมีความชื้นสูงมิฉะนั้นจะเกิดเชื้อรา ซึ่งอาจเป็นพิษต่อคน หรือสัตว์กินเข้ไปได้
การกะเทาะเมล็ด
ข้าวโพดที่เก็บมาใหม่ ๆ ควรตากให้แห้งสนิทมากที่สุด จึงนำไปกะเทาะเมล็ด เมื่อกะเทาะแล้ว ต้องตากแดดให้แห้งแล้งสนิทมากจริงๆ จึงนำไปเก็บ มิฉะนั้นเมล็ดจะเน่าเสีย เกิดเชื้อรา ซึ่งเป็นพิษ ต่อคนหรือสัตว์ที่กินเข้าไป
คุณภาพเมล็ดหลังการเก็บเกี่ยว
ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ ความสูญเสียอันเนื่องมาจากเชื้อรา ซึ่งเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ที่กินเข้าไป
สารพิษอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) เกิดจาเชื้อราแอสเปอร์จิลลัสฟลาวัส หรือราเขียว และยังมีเชื้อราอีกหลายชนิด ที่สามารถสร้างสารพิษในข้าวโพดได้
สารพิษนี้ เป็นปัญหาสำคัญของการส่งข้าวโพดไปต่างประเทศเพราะสารพิษนี้ มักปะปน ในผลผลิตและผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหลายชนิดบางครั้งพบเชื้อราบนข้าวโพด แต่ไม่ใช่สารพิษอะฟลาทอกซิน หรือบางครั้งพบสารพิษแต่ไม่เห็นเชื้อราเจริญอยู่ สารพิษนี้ทนทานต่อความร้อนได้สูงถึง ๒๕๐ C เมื่อเกิดการปนเปื้อนสารพิษในผลผลิตการเกษตร จะก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมากมายเมื่อกินเข้าไป ยังเป็นสาเหตุที่ทำ ให้เกิดมะเร็งที่ร้ายแรงที่สุดได้สารหนึ่ง
สาเหตุที่ทำให้ข้าวโพดเกิดเชื้อรานั้นมีหลายประการ แต่ที่สำคัญ คือ ความชื้นสูงจะง่ายต่อการเข้าทำลายของเชื้อรา
ระดับความชื้นที่ปลอดภัยของเมล้ดข้าวโพดที่กะเทาะจากฝักแล้วคือ ๑๓% ส่วนข้าวโพดที่ใช้เป็นอาหาร คือ ๑๑% และแสงแดดช่วยทำลายการปนเปื้อนของสารพิษได้บ้าง โดยป้องกันไม่ให้เชื้อราเจริญบนเมล็ดแต่แสงแดดไม่สามารถฆ่า เชื้อที่ทำให้เกิดสารพิษให้ตายได้
วิธีการป้องกัและกำจัดสารพิษอะฟลาทอกซิน
เนื่องจากการเข้าทำลายของเชื้อรา และการสร้างสารพิษเริ่มขึ้นได้ทุกๆ ช่วงตั้งแต่ในไร่ก่อนการเก็บเกี่ยว ขณะเก็บเกี่ยว ขณะทำให้แห้งระหว่างการเก็บรักษา และการขนส่ง ดังนั้น ควรมีการป้องกันกำจัดเป็นขั้นตอนดังนี้
๑.ก่อนการเก็บเกี่ยว
๑.๑เลือกช่วงการเพาะปลูก เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าทำลายของเชื้อรา คือ หลีกเลี่ยงการเก็ยเกี่ยวในช่วงที่ฝนตกชุก
๑.๒กำจัดทำลายวัชพืชในแปลงปลูกให้สะอาดตลอดจนทำลายเศษซากพืชที่ เป็นโรคโดยการนำไปเผาทิ้งเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อรา
๑.๓ควรปลูกพืชอย่างอื่นที่เป็นพืชหมุนเวียนด้วย จะช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อราสะสมอยู่ในแปลงปลูก หรืออาจปลูกข้าว, พริก, มะเขือเทศ,ถั่วเขียว ฯลฯ ตามหลังข้าวโพดก็ได้
๑.๔เมื่อข้าวโพดออกฝัก ควรพ่นยาป้องกันแมลงทำลายฝักเพราะเชื้อราจะเกิดตามแผลที่แมลง เข้าทำลาย และเจริญเข้าไปในฝักได้
๑.๕อย่าปลูกถี่หรือแน่นเกินไป จะทำให้ต้นข้าวโพดอ่อนแอและเกิดเชื้อราบนฝักได้ง่าย
๒.เก็บเกี่ยว
๒.๑ควรเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวโพดแก่จัด และเก็บในช่วงที่อากาศแห้งถ้ามีฝนตก ควรงดการเก็บเกี่ยวเพราะ ราเขียวจะขึ้นบนฝักที่ชื้นได้รวดเร็วมาก
๒.๒ไม่ควรเก็บเกี่ยวข้าวโพดก่อนกำหนด ถ้าต้องการพื้นที่ปลูกเพื่อปลูกพืชรุ่น 2 ก็สามารถตัดยอดข้าวโพดออก ปล่อยให้ฝักข้าวโพดห้งบนต้นได้ การตัดยอดและใบข้าวโพดออกเป็นการเปิดหน้าดินให้พืชรุ่น ๒ ได้รับแสงแดดโดยไม่ต้องรีบเก็บเกี่ยวก่อนกำหนด การตัดยอดข้าวโพดหลังจากข้าวโพดออกไหม้แล้ว ๑ เดือน เป็นต้นไป ไม่ทำให้ผลผลิตลดลง
๒.๓ถ้าข้าวโพดไม่แก่เต็มที่ ความชื้นจะยังสูง ทำให้กะเทาะเมล็ดยาก เกิดบาดแผลได้ง่าย จึงควรปล่อย ให้ข้าวโพดแห้งคาต้นก่อนจึงเก็บเกี่ยวโดยหักฝักข้าวดพดให้หัวห้อยลง วิธีจะป้องกันการเข้าทำลายของแมลงทางปลายฝักได้ และสามารถป้องกัน ความชื้นหรือน้ำที่ปลายฝักได้
๒.๔ข้าวโพดที่หักมาแล้ว ควรคัดฝักเสียออกไป เช่นฝักที่มีหนอนแมลงเจาะทำลายหรือฝักที่มีเชื้อราขึ้น จะทำให้เชื้อราไม่แพร่ระบาดไปยังฝักที่ดี แล้วจึงนำฝักที่ดีไปตากให้แห้งโดยเร็ว
๓.การทำให้แห้ง
ระยะนี้เป็นช่วงที่สำคัญมาก และมีผลโดยตรงต่อคุณภาพของเมล็ดที่จะนำไปเก็บรักษาโดยต้องรีบทำให้แห้ง สู่ระดับความชื้นที่ปลอดภัยโดยเร็วที่สุด ควรตากบนพื้นที่สะอาด คอยกลับและเกลี่ยอยู่เสมอหรืออาจตากบนแคร่เตี้ย ๆ ยกสูงจากพื้นดินและเคลื่อนย้านได้สะดวก ถ้าฝนตกต้องมีผ้าใบคลุมกันฝน
๔.ขณะเก็บรักษา
การเก็บเป็นฝัก จะได้รับความเสียหายจากนก หนู แมลง และ เชื้อราน้อยกว่าการเก็บเป็นเมล็ด โดย
๔.๑เก็บรักษาฝักข้าวโพดไว้ในโรงเก็บที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกหากเก็บไว้นาน ต้องสามารถที่จะป้องกัน นก หนู และแมลงที่จะเข้าทำลายได้ดี
๔.๒ถ้าเก้บไว้เป็นระยะเวลานาน ควรรมกองข้าวดพดด้วยสารฆ่าแมลงและสารฆ่าเชื้อราเป็นระยะ ๆ
๔.๓ถ้าเก็บเกี่ยวข้าวโพดแล้วทำให้แห้งโดยเร็วไม่ได้ ต้องรีบส่งข้าวโพดไปยังโซโลที่มีเครื่องอบแห้ง ถ้าไม่ส่งไซโล ต้องพ่นสาร หรือคลุกสารบางอย่าวเพื่อชะลอการเกิดสารพิษ โดยอาจรมด้วยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ หรือไนโตรเจน อัตรา ๐.๕ กิโลกรัม/เมล็ดข้าวโพด ๑ ตันจะทำให้สามารถยืดเวลาไปได้ประมาณ ๕ วัน
๔.๔หากข้าวโพดฝักเสียหรือมีสารพิษ ควรนำไปเผาทำลายทันที
๕.การขนส่ง
ควรมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุเมล็ดที่ใช้ในการ ขนส่งและต้องระวังเรื่องความชื้นให้มาก เพราะเมล็ดที่แห้งจัดสามารถดูดความชื้นจากอากาศ ทำให้เกิดเชื้อราได้
การปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดสารอะฟลาทอกซิน
แนวทางปฏิบัติในระดับไร่
๑.เก็บเกี่ยวข้าวโพดเมื่อฝักแก่จัด
๒.อย่าเก็บเกี่ยวขณะฝนตก
๓.แยกฝักเสียและเป็นราออกจากฝักดี
๔.อย่ากองฝักข้าวโพดบนพื้นดิน
๕.เก็บฝักที่แห้งแล้งเท่านั้นเข้ายุ้งฉาง
๖.ยุ้ง)างควรยกสูงจากพื้นดิน ประมาณ ๑ เมตร หลังคากันฝนและน้ำค้างได้ ใช้สังกะสีพันขายุ้งกันหนูและสัตว์อื่น ๆ (ดูรูปหน้า ๑๙)
๗.ทำความสะอาดยุ้งฉางก่อนเก็บข้าวโพด
๘.ควรมีการระบายถ่ายเทอากาศได้ดีในยุ้งฉาง
แนวทางปฏิบัติระดับผู้ค้าท้องถิ่น
๑.หลังจากสีข้าวโพดแล้ว ต้องทำให้แห้งภายใน ๒ วัน
๒.ถ้าไม่มีแสดงแดดหรือแดดไม่ดี ให้ส่งไซโลหรือใช้เครื่องอบแห้งทันทีหลังจากสีข้าวโพด
๓.ควรแยกข้าวโพดเป็นกลุ่มตามระดับความชื้น
๔.อย่านำข้าวโพดที่เป็นราผสมกับข้าวโพดดี
๕.กำจัดสิ่งสกปรก และสิ่งเจือปนออกจากเมล็ดข้าวโพด
๖.ในการขนส่งให้มีผ้าใบคลุมกันฝนและน้ำค้าง
๗.หากเก็บนาน ต้องทำความสะอาดและรมสารฆ่าแมลงและ เชื้อราก่อนเก็บเป็นระยะ ๆ
๙.ต้องมีการระบายถ่ายเทอากาศภายในโรงเก็บได้ดี
๑๐.จัดวางกระสอบข้าวโพดเป็นกอง ๆ ละ ๒๐ - ๒๕ กระสอบให้มีช่องระหว่างกอง และผนังพื้นโรงเรือน ถ้าต้องการวางกระสอบสูงขึ้นไปอีก ควรมีวัสดุกั้นให้ระบายอากาศได้ อย่าวางติดผนังและพื้นโรงเก็