แครอท
1.พันธุ์ พันธุ์แครอทที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์หงส์แดง, Newkurada, Imperator, Nantes .
2. การเพาะกล้า โดยการขุด หรือไถดินตากประมาณ 7 วัน กำจัดวัชพืชออกให้หมด ใส่ปูนขาวและปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กก.ต่อไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากัน ทำการยกร่องแบบร่องผักแล้วทำแนว แถวห่างกัน 10 เซนติเมตรโรยเม็ลดบางๆตามแนว เกลี่ยดินกลบบางๆใช้ฟางข้าวคลุมรดน้ำให้ชุ่ม เช้า-เย็น จนกว่าต้นกล้าจะงอก
3. การเตรียมดิน การปลูกแครอท มีการเตรียมดินโดยการไถดินตากประมาณ 7 วัน เก็บวัชพืชออกให้หมด ทำกาารพรวนดิน หรือตีดินด้วยรถแทรคเตอร์ โดยใส่ปูนขาว ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก ลงไปด้วย การยกร่องเหมือนร่องผักทั่วๆ ไป แล้วโรยฟางคลุม รดน้ำให้ชุ่ม
4. วิธีการปลูก เมื่อต้นกล้าอายุประมาณ 15-20 วัน หรือมีใบจริงประมาณ 3-5 ใบ ถอนกล้านำไปปลูกในร่องที่เตรียมไว้ ระยะปลูก (ต้น x แถว) ประมาณ 10 x 15 เซนติเมตร หรือทำการหว่านเมล็ดพันธุ์แครอทลงในแปลงปลูกเลย แล้วใช้วิธีถอนแยกต้นกล้าที่แน่นให้ได้ระยะประมาณ 10 x 15 เซนติเมตรก็ได้ ทำการรดน้ำเช้า-เย็น จนกว่าต้นแครอทจะติดดี จึงพิจารณาเว้นวันในการรดน้ำ
5. การให้น้ำ เนื่องจากระยะแรกของการปลูกแครอทน้ำมีส่วนสำคัญโดยต้องรักษาความชื้นให้เพียงพอ เพื่อกระตุ้นการงอกของราก และการเจริญเติบโต แต่ควรลดลงเมื่อเกิดแง่งหรือหัวจะทำให้มีการแตกของหัว
6. การใส่ปุ๋ย เมื่ออายุได้ 30 วัน ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือ 12-12-17 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
7. การเก็บเกี่ยว แครอทจะสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 80-100 วันหรือดูที่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 3.9 นิ้ว ตัดใบให้เหลือความยาว 10 เซนติเมตร ล้างให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้ง บรรจุถุง หรือเข่งรอการจำหน่ายต่อไป โดยเฉลี่ยผลผลิตที่ได้ประมาณ 2,000-2,500 กิโลกรัมต่อไร่
8. โรคของแครอท เช่นโรครากเน่าของแครอท และโรคราแป้ง ป้องกันกำจัดโดยการเตรียมดินก่อนปลูก โดยใส่ปูนขาว ประมาณ 200-300 กิโลกรัมต่อไร่ และฉีดพ่นด้วยสารเคมี เทอราคลอ 75 หรือ เบนเลท ตัวใดตัวหนึ่งตามอาการของโรค
9. แมลง พบหนอนในดินเข้าทำลายรากแครอททำให้ชะงักการเจริญเติบโต ป้องกันกำจัดโดยการ พ่นด้วยสารเคมี เช่น พาราไธออน หรือคลอเดน
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
แครอท อยู่ในวงศ์ Apiaceae (Umbelliferae) มีถิ่นกำเนิด อยู่แถบเอเชียกลาง จนถึงทางตะวันออก ต่อมาได้เผยแพร่เข้าไปใน ยุโรป และประเทศจีน แครอทเป็นพืชสองฤดู โดยฤดูแรกเจริญทางต้น ใบ และราก ฤดูที่สองจะเจริญทางดอก และเมล็ด ลักษณะลำต้นเป็นแผ่นใบ จะเจริญจากลำต้น เป็นกลุ่มมีก้านใบยาว ประกอบด้วย เปลือกบาง(Periderm) และส่วนของเนื้อ(Cortex) ซึ่งประกอบด้วยท่ออาหาร และเป็นแหล่งเก็บ อาหารสำรอง ส่วนใหญ่อยู่ในรูป ของน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ 45-65% ของหัว เนือสีขาว เหลือง ส้ม แดง ม่วงและดำ ส่วนของแกน(inner core) ประกอบด้วย ท่อน้ำ(xylem) และแกน(pith) แครอท สายพันธุ์ที่มีคุณภาพสูง จะมีแกนขนาดเล็ก และมีสีเดียว กับเนื้อหรือมีส่วนของเนื้อ มากกว่าส่วนของแกน การปลูกฤดูที่สองเพื่อผลผลิตเมล็ดพันธุ์ลำต้นจะยืดตัว สร้างก้านดอกยาว 2-4 ฟุต บนยอดมีช่อดอก ซึ่งช่อแรกจะเจริญ จากส่วนกลางของลำต้น ต่อจากนั้นช่ออื่นๆ จะเจริญตาม การผสมเกสรจะเป็น แบบผสมข้าม ส่วนใหญ่ แมลงเป็นตัวช่วยผสมเกสร
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
แครอทเจริญได้ดีในเขตหนาว โดยทั่วไปอุณหภูมิ ที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโต อยู่ระหว่าง 25-28′C หากอุณหภูมิสูงกว่า 28′C จะทำให้การเจริญทางใบลดลง สำหรับอุณหภูมิ ที่เหมาะสมต่อการเจริญของหัวอยู่ระหว่าง 18-21′C หากมีความแตกต่างของอุณหภูมิ ระหว่างผิวดิน และระดับดินที่ลึกลงไป 10-15 เซนติเมตรมาก จะทำให้รูปทรงของหัว ไม่สม่ำเสมอ แครอทเป็นพืชที่ต้องการแสงมาก โดยเฉลี่ยวประมาณ 9-14 ชั่วโมง/วัน
แครอทเจริญได้ดีในดินละเอียด และร่วนซุย หน้าดินลึก มีอินทรีย์วัตถุสูง ระบายน้ำได้ดี ความเป็นกรด-ด่าง ของดิน 6.5-7.5 การปลูกในดินเหนียว หรือโครงสร้างดินแข็งจะทำให้หัวแตก มีรูปทรงผิดปกติ หาแปลง ปลูกมีความชื้นสูง หัวจะมี่แผลสีดำ
การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร
แครอท เป็นพืชที่อุดมไปด้วยสาร Beta carotene โดยเฉพาะบริเวณส่วนของเปลือกแก่ ซึ่งสามารถเปลี่ยน เป็นวิตามินเอสูง (11,000 IU) นอกจากนี้ยังมีวิตามินบี 1 บี 2 และวิตามินบี วิตามินเอ ช่วยทำให้ร่างกาย มีภูมิต้านทานโรคหวัด ป้องกันมะเร็ง ป้องกันอาการผิดปกติ ในกระดูก โรค
ผิวหนัง และรักษาสายตา
แครอท นิยมรับประทานสด ในสลัด หรือนำมาประกอบอาหารชนิดอื่นๆ เช่น ผัด ต้มซุป ใส่แกงจืด ใช้ทำส้มตำแบบมะละกอ คั้นสดรับประทาน เป็นน้ำเพื่อสุขภาพ และช่วยเพิ่มสีสรรในจานอาหา
การปฏิบัติดูแลรักษาแครอทในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
การเตรียมดิน
ขุดดินตากแดด และโรยปูนขาวอัตราม 0-100 กรัม/ตร.ม. ไว้อย่างน้อย 14 วัน กำจัดวัชพืช ขึ้นแปลงกว้าง 1 ม.
การเตรียมกล้า ปลูกโดยหยอดเมล็ด
การปลูก
1. ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 20-30 กรัม/ตร.ม. ลงในดิน ปรับหน้าแปลงให้เรียบ
2. ขีดร่องลึก 1 ซม. ขวางแปลงห่างกันร่องละ 15 ซม.
3. หยอดเมล็ดที่ละเมล็ดระยะห่าง 1 ซม. กลบเมล็ดแล้วรดน้ำให้ชุ่ม
4. การถอนแยก
ครั่งที่ 1 หลังหยอดเมล็ด 15-20 วัน (มีใบจริง 3-5 ใบ) เหลือระยะปลูก 3 ซม.
ครั้งที่ 2 หลังหยอดเมล็ด30-35 วัน (มีใบจริง 8-9 ใบ) เหลือระยะปลูก 5-8 ใบ
ข้อควรระวัง ช่วงแรกระวังมดคาบเมล็ดหรือแมลงกัดกินเมล็ด
การให้น้ำ หลังปลูกรดน้ำให้ชุ่ม และให้น้ำทุกวันสม่ำเสมอ แต่อย่าให้น้ำขัง หัวจะเน่า
การให้ปุ๋ย
1. หลังถอนแยกครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30-50 กรัม/ตร.ม. พร้อมกำจัดวัชพืช
2. หลังการใส่ปุ๋ยครั้งแรก 15-20 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 30-50 กรัม/ตร.ม. โรยในร่องลึก 2-3 ซม. ระหว่างแถวปลูก
การเก็บเกี่ยว
1. เมื่อมีอายุได้ 100-120 วัน
2. เก็บเกี่ยวโดยการขุดเมื่ออายุและขนาดเหมาะสม
3. ล้างรากให้สะอาด ผึ่งให้แห้งระวังอย่าให้ผิวถลอก
ข้อควรระวัง
1. การหยอดเมล็ดอย่าให้เมล็ดที่หยอดติดกัน ระยะห่างประมาณ 1 ซม.
2. ควรให้น้ำสม่ำเสมออย่าให้แฉะเกินไป
โรคแมลงศัตรูที่สำคัญของแครอทในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
ระยะหยอดเมล็ด-ถอนแยก ครั้งที่ 1 อายุ 15-20 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม,
ระยะถอนแยก ครั้งที่ 2 อายุ 30-35 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม, เสี้ยนดิน,
ระยะลงหัว 35-100 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม, เสี้ยนดิน, โรคหัวเน่า,
ระยะเก็บเกี่ยว 100-120 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม, เสี้ยนดิน, โรคหัวเน่า,
ที่มา:
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.