หน้า: 1/2
ถั่วแขก
1.พันธุ์
พันธุ์ที่นิยมปลูกมี 2 ประเภท คือ พันธุ์พุ่มจะมีความสูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร และพันธุ์เลื้อย จะมีความสูงถึง 1.80 เมตร ถ้าปลูกพันธุ์เลื้อยควรจะทำค้างให้เลื้อยเหมือนถั่วฝักยาว
2. การเตรียมดินปลูก
ไถดินตากทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ปรับหน้าดินให้เรียบ ยกร่องแบบการปลูกผัก หรือชักร่องแบบการปลูกถั่วฝักยาวก็ได้ ง่ายต่อการให้น้ำ
3. วิธีการปลูก
- พันธุ์พุ่ม ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ ระหว่างต้น 10 เซนติเมตร และระหว่างแถวประมาณ 60 เซนติเมตร
- พันธุ์เลื้อย ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ ระหว่างต้น 15 เซนติเมตร และระยะระหว่างแถวประมาณ 100 เซนติเมตร หลังจากเตรียมดินแล้วให้หยอดเมล็ดลงแปลงตามระยะปลูกที่กล่าวมาแล้ว หลุมละ 2-3 เมล็ด ลึกประมาณ 2 เซนติเมตร กลบดินบางๆ โรยทับด้วยฟางข้าว ถ้าปลูกในร่องปล่อยน้ำไปตามร่องพอดินหมาดๆ ตีหลุม หยอดเมล็ดได้เลยตามระยะปลูก และเมื่อขึ้นมาแล้วมีใบจริงประมาณ 2 ใบ ควรถอนแยกเหลือหลุมละ 1 ต้น ส่วนพันธุ์เลื้อยเมื่ออายุประมาณ 15 วัน ต้องทำค้างให้เลื้อย วิธีการปฏิบัติเหมือนการทำค้างถั่วฝักยาว
4. การให้น้ำ
ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอ โดยเฉพาะช่วงออกดอก และติดฝักอย่าให้ขาดน้ำ
5. การใส่ปุ๋ย
แบ่งใส่เป็น 2 ครั้ง ครั้งแรก รองก้นหลุม และครั้งที่ 2 ใส่เมื่อถั่วแขกอายุได้ 25-30 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 10-20-10 หรือ สูตร 15-15-15 อัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยโรยข้างต้นแล้วพรวนดินกลบโคนต้น
6. การเก็บเกี่ยว
พันธุ์เบาอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 50-60 วัน พันธุ์หนักอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 70-80 วัน หลังจากหยอดเมล็ด ควรเก็บฝักบ่อยๆ ไม่ควรปล่อยให้ฝักแก่เพราะจะทำให้เสียคุณภาพ และรสชาติได้ ควรใช้มีด หรือกรรไกรตัดบริเวณขั้วฝัก อย่าใช้มือดึงจะทำให้ต้นโยกคลอนได้รับความเสียหายได้
7. โรค
โรคที่พบ ได้แก่ โรคใบจุด โรคราสนิม โรคราน้ำค้าง ป้องกันกำจัดด้วยการพ่นสารป้องกันกำจัดโรค แมนโคเชป เมทาแลคซิล ตัวใดตัวหนึ่งตามอาการของโรค
8. แมลง แมลงศัตรูที่พบ ได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่น ไรแดง แมลงหวี่ขาว หนอนเจาะฝัก หนอนกระทู้ผัก ป้องกันกำจัดด้วยการพ่นสารเคมี เช่น คอนฟีดอร์ อะบาเม๊กติน อาทาบรอน เดซิส ไซเปอร์เมทริน และไมแทค ตัวใดตัวหนึ่งตามการระบาดของแมลงและศัตรูถั่วแขก
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
ถั่วแขก (Bush Bean)
ถั่วแขก เป็นพืช ตระกูลถั่ว (Leguminosae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phaseolus vulgaris L. ถั่วแขกมีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของเม็กซิโก สามารถเจริญเติบโต ได้ดีในสภาพอากาศอบอุ่น ถั่วแขกเป็นพืชฤดูเดียว ลำต้นแข็ง แตกกิ่งก้านน้อย มีการเจริญเติบโตหลายลักษณะ เช่น เป็นพุ่ม กิ่งเลื้อย หรือเลื้อย ใบเป็นแบบสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ สามารถเจริญเติบโต ได้ทุกช่วงแสง ถั่วแขกเป็นพืชผสมตัวเอง ฝักมีหลายสี เช่น เหลือง ม่วง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของถั่แขก
อุณหภูมิ ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของถั่วแขกอยู่ระหว่าง 20-25′C และอุณหภูมิดินอยู่ระหว่าง 18-30′C ในช่วงที่มีฝนตกชุก อุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์สูงไม่เหมาะเหมาะสมต่อการปลูก ในขณะที่อุณหภูมิสูง สภาพอากาศแห้งแล้ง หรือช่วงที่มีฝนตกชุก ช่วงดอกบาน จะทำอัตราการติดฝักต่ำ ดอกร่วง โดยเฉพาะถั่วแขกค้าง ซึ่งต้องการอุณหภูมิต่ำกว่าถั่วแขกพุ่ม
ดิน
สภาพดินที่เหมาะสมต่อการปลูกควรเป็นดินร่วยซุย ถ่ายเทอากาศได้ดีสภาพดินที่เหมาะสม คือดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี pH 6.0-6.5 แปลงที่มีความชื้นและใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมาก จะทำให้ฝักแก่ช้า และควรได้รับแสงอย่างเต็มที่ตลอดทั้งวัน
การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของถั่วแขก
ถั่วแขก ลักษณะเหมือนถั่วฝักยาว แต่ขนาดจะสั้นกว่า ให้รสชาติหวานและกรอบ มีโปรตีนสูง อุดมด้วยธาตุเหล็ก แคลเซียมและวิตามินซี ซึ่งมีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือด อีกทั้งวิตามินชี ยังช่วนให้ร่างกาย ดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น นิยมนำมาลวกเป็นเครื่องเคียงใสสเต๊ก ผัดน้ำมันหอย หรือลวกจิ้มน้ำพริก เป็นส่วนผสม ของไส้ไข่ยัดไส้
ถั่วเข็ม เป็นถั่วแขกขนาดเล็ก มีรสชาติหวาน นิยมนำมาลวกเป็นเครื่องเคียงในสเต๊ก หรือผัดโดยใช้ไฟแรง
การปฏิบัติดูแลรักษาถั่วแขกในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
การเตรียมกล้า นำเมล็ดถั่วแขกคลุกเชื้อไตรโคเดอร์มา บ่มผ้าอุณหภูมิ 40′C ประมาณ 6 ชั่วโมง
การเตรียมดิน
ไถดินตากแดดไม่ต่ำว่า 14 วัน หรือขุดพลิกดินตากแดดอย่างน้อย 7-14 วัน เก็บเศษวัชพืชให้สะอาด ขึ้นแปลงปลูก รองพื้นด้วยปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก อัตรา 1 กก./ตร.ม. และใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 10-20 กรัม/ตร.ม. สำหรับพืชตระกูลถั่ว ควรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนรองพื้น จะทำให้ต้นกล้าแข็งแรงขึ้น
กากปลูกและดูแลรักษา
หยอดเมล็ดที่บ่มแล้ว 2-3 เมล็ดต่อหลุม ลึก 2-3 ซม. และกลบดินรดน้ำ โดยมีระยะปลูก(ต้นxแถว) 30×50 ซม.
ข้อควรระวัง ไม่ควรคลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันแมลง
การให้น้ำ
ปลูกซ่อม 7-10 วัน หลังจากหยอดเมล็ด ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 10-20 กรัม/ตร.ม. หลัวจากปลูก 40 วัน ใส่ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 10-20 กรัม/ตร.ม แล้วพูนโคนต้นเพื่อป้องกันต้นล้ม เน้นการกำจัดวัชพืชแล้วรดน้ำควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอช่วง 30 วันแรก หลังจากนั้นทุก 2-3 ;น ขึ้นกับระดับความชื้นในดิน การทำค้างนั้นควรทำหลังปลูกให้เสร็จก่อน 7-10 วัน ค้างสูงประมาณ 2 ม.
การใส่ปุ๋ย
- อายุ 15 วัน ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 15 กรัม/ต้น
- อายุ 30 วัน ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25 กรัม/ต้น
- อายุ 45 วัน ปุ๋ย 13-13-21 อ้ตรา 25 กรัม/ต้น
การเก็บเกี่ยว เมื่ออายุได้ประมาณ 45-50 วัน ควรมีการทยอยเก็บ เมื่อฝักได้ขนาดตามต้องการ สำหรับถั่วเข็มเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 5 วัน และ 10 วันหลังดอกบานทำเป็นถั่วแขกทั่วไป
โรคและแมลงศัตรูถั่วแขกที่สำคัญในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
ระยะปลูก-ถอนแยก อายุ 0-10 วัน โรคโคนเน่า, เพลี้ยอ่อน, หนอนชอนใบ, แมลงวันเหนอนเจาะลำต้น,
ระยะเริ่มติดดอก อายุ 35-40 วัน โรคใบจุด, โรคราสนิม, โรคแอนแทรคโนส, เพลี้ยอ่อน, หนอนชอนใบ, แมลงหวี่ขาว, ด้วงน้ำมัน,
ระยะฝักเจริญเติบโต อายุ 40-45 วัน โรคใบจุด, โรคราสนิม, โรคแอนแทรคโนส, เพลี้ยอ่อน, หนอนชอนใบ, แมลงหวี่ขาว, หนอนเจาะฝัก,
ระยะเก็บเกี่ยว อายุ 45-50 วัน โรคใบจุด, โรคราสนิม, โรคแอนแทรคโนส, เพลี้ยอ่อน, หนอนชอนใบ, แมลงหวี่ขาว, หนอนเจาะฝัก,
ที่มา : ไม่ระบุ
ถั่วหวาน (Sugar Snap Pea)
ถั่วหวาน เป็นถั่วลันเตา ชนิดรับประทาน เมล็ด มีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า Pisum sativum อยู่ในพืช ตระกูลถั่ว (Leguminosae) ซึ่งโดยปกติ ถั่วลันเตา ชนิดรับประทาน เมล็ดจะมีฝัก เหนียวและแข็ง เมล็ดโต แต่ได้รับ การปรับปรุงพันธุ์ สำหรับการ รับประทานฝักสด มีเนื้อฝักหนา รสหวาน กรอบ
สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของถั่วหวาน
ดิน ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกถั่วลันเตา ควรมีลักษณะร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี มีความอุดมสมบูรณ์สูง หน้าดินลึก และควรมี pH อยู่ระหว่าง 5.5-6.5
อุณหภูมิ ที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 13-18′C หากอุณหภูมิต่ำกว่า 4′C หรือสูงกว่า 29′C จะทำให้การเจริญเติบโตชะงัก และในกรณีที่อุณหภูมิสูงกว่า 30′C ดอกและฝักร่วง ไม่ควรปลูก ในสภาพอากาศเย็นมีน้ำค้างแข็ง โดยเฉพาะในระยะที่ดอกบานและเริ่มติดฝัก และควรได้รับแสงตลอดทั้งวัน
การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร
ถั่วหวาน มีคุณค่าทางอาหารเหมือนถั่วลันเตาโดยทั่วไป คือ มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสมาก เหมาะอย่างยิ่งต่อการบำรุงกระดูกและฟัน ฟากฝักแก่สามารถนำเมล็ดมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ลวกและโรยบนสลัด ผัดผักรวม ใส่ไข่ยัดไส้ ข้าวผัด เป็นต้น สำหรับฝักสดสามารถนำมาลวกรับประทานกันสเต๊ก หรือผัดไฟแรงอย่างรวดเร็ว จะมีรสหวานและกรอบ การปฏิบัติดูแลรักษาถั่วหวานในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
การเตรียมดิน
ขุดดินและใส่ปูนขาวตามคำแนะนำจากการวิเคราะห์ดิน อัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม. ทิ้งไว้ 10 วัน ก่อนปลูกคลุกปุ๋ย 0-4-0 อัตรา 40 กรัม/ตร.ม. กับ 12-24-12 อัตรา 25-30 กรัม/ตร.ม. ลงในดินแปลงกว้าง 1 ม.(แถวคู่)
การปลูก ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 1 กก./ตร.ม. รองพื้นก่อนปลูกและโรยตามร่องแถวปลูก พรวนดิน และหยอดเมล็ดโดยขีดร่องยาวตามแปลง ลึก 2 ซม. หยอดเมล็ด 1 เมล็ด ห่างกัน 6 ซม. แถวห่าง 50 ซม. (ปลูกแถวคู่) กลบดินแล้วรดน้ำ ราดแปลงด้วยเซฟวิน-85 บนแปลงป้องกันมดกินหรือขนย้ายเมล็ด
ข้อควรระวัง
- หยอดเมล็ดลึกจะทำให้เน่า
- ควรคลุกเคล้าเมล็ดด้วยไตรโครเดอร์มา หรือเอพรอน 35
การทำค้าง เมื่อปลูกได้ 10 วัน โดยปักไม้ค้างสูง 2 ม. ระยะห่าง 1 ม. ผูกเชือกช่วงละ 20 ซม. ของค้าง
การให้น้ำ ให้น้ำทุก 2-3 วัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก หากขาดน้ำจะไม่ติดฝัก
การใส่ปุ๋ย
- พืชอายุ 20 วัน ให้ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม.
- พืชอายุ 30 วัน ให้ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. กลบดินบางๆ แล้วรดน้ำตาม ควรกำจัดวัชพืชพร้อมการให้ปุ๋ย
การเก็บเกี่ยว เริ่มเก็บผลผลิต เมื่อมีอายุได้ประมาณ 45-70 วัน เก็บ 3 วัน/ครั้ง เป็นเวลา 15-25 วัน(ถ้าดูแลรักษาดี) ปลิดให้มีขั้วติดฝัก ไม่ควรล้างน้ำ คัดฝักเสียทิ้งและผึ่งให้แห้ง 1 คืน ก่อนบรรจุลงในตะกร้าพลาสติก
โรคและแมลงศัตรูของการปลูกถั่วหวานที่สำคัญในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
ระยะปลูก-ปลูกซ่อม 0-10 วัน โรคเหี่ยว, หนอนชอนใบ,
ระยะเริ่มติดดอก 25-35 วัน โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคเน่าเปียก, หนอนชอนใบ, เพลี้ยไฟ,
ระยะฝักเจริญเติบโต 35-45 วัน โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคเน่าเปียก, หนอนชอนใบ, เพลี้ยไฟ,
ระยะเก็บเกี่ยว 45-70 วัน โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคเน่าเปียก, หนอนชอนใบ, เพลี้ยไฟ,
ที่มา : ไม่ระบุ
ถั่วหวาน เป็นถั่วลันเตา ชนิดรับประทาน เมล็ด มีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า Pisum sativum อยู่ในพืช ตระกูลถั่ว (Leguminosae) ซึ่งโดยปกติ ถั่วลันเตา ชนิดรับประทาน เมล็ดจะมีฝัก เหนียวและแข็ง เมล็ดโต แต่ได้รับ การปรับปรุงพันธุ์ สำหรับการ รับประทานฝักสด มีเนื้อฝักหนา รสหวาน กรอบ สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของถั่วหวาน
ดิน ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกถั่วลันเตา ควรมีลักษณะร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี มีความอุดมสมบูรณ์สูง หน้าดินลึก และควรมี pH อยู่ระหว่าง 5.5-6.5
อุณหภูมิ ที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 13-18′C หากอุณหภูมิต่ำกว่า 4′C หรือสูงกว่า 29′C จะทำให้การเจริญเติบโตชะงัก และในกรณีที่อุณหภูมิสูงกว่า 30′C ดอกและฝักร่วง ไม่ควรปลูก ในสภาพอากาศเย็นมีน้ำค้างแข็ง โดยเฉพาะในระยะที่ดอกบานและเริ่มติดฝัก และควรได้รับแสงตลอดทั้งวัน
การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร
ถั่วหวาน มีคุณค่าทางอาหารเหมือนถั่วลันเตาโดยทั่วไป คือ มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสมาก เหมาะอย่างยิ่งต่อการบำรุงกระดูกและฟัน ฟากฝักแก่สามารถนำเมล็ดมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ลวกและโรยบนสลัด ผัดผักรวม ใส่ไข่ยัดไส้ ข้าวผัด เป็นต้น สำหรับฝักสดสามารถนำมาลวกรับประทานกันสเต๊ก หรือผัดไฟแรงอย่างรวดเร็ว จะมีรสหวานและกรอบ
การปฏิบัติดูแลรักษาถั่วหวานในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
การเตรียมดิน ขุดดินและใส่ปูนขาวตามคำแนะนำจากการวิเคราะห์ดิน อัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม. ทิ้งไว้ 10 วัน ก่อนปลูกคลุกปุ๋ย 0-4-0 อัตรา 40 กรัม/ตร.ม. กับ 12-24-12 อัตรา 25-30 กรัม/ตร.ม. ลงในดินแปลงกว้าง 1 ม.(แถวคู่)
การปลูก ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 1 กก./ตร.ม. รองพื้นก่อนปลูกและโรยตามร่องแถวปลูก พรวนดิน และหยอดเมล็ดโดยขีดร่องยาวตามแปลง ลึก 2 ซม. หยอดเมล็ด 1 เมล็ด ห่างกัน 6 ซม. แถวห่าง 50 ซม. (ปลูกแถวคู่) กลบดินแล้วรดน้ำ ราดแปลงด้วยเซฟวิน-85 บนแปลงป้องกันมดกินหรือขนย้ายเมล็ด
ข้อควรระวัง
- หยอดเมล็ดลึกจะทำให้เน่า
- ควรคลุกเคล้าเมล็ดด้วยไตรโครเดอร์มา หรือเอพรอน 35
การทำค้าง เมื่อปลูกได้ 10 วัน โดยปักไม้ค้างสูง 2 ม. ระยะห่าง 1 ม. ผูกเชือกช่วงละ 20 ซม. ของค้าง
การให้น้ำ ให้น้ำทุก 2-3 วัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก หากขาดน้ำจะไม่ติดฝัก
การใส่ปุ๋ย
- พืชอายุ 20 วัน ให้ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม.
- พืชอายุ 30 วัน ให้ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. กลบดินบางๆ แล้วรดน้ำตาม ควรกำจัดวัชพืชพร้อมการให้ปุ๋ย
การเก็บเกี่ยว เริ่มเก็บผลผลิต เมื่อมีอายุได้ประมาณ 45-70 วัน เก็บ 3 วัน/ครั้ง เป็นเวลา 15-25 วัน(ถ้าดูแลรักษาดี) ปลิดให้มีขั้วติดฝัก ไม่ควรล้างน้ำ คัดฝักเสียทิ้งและผึ่งให้แห้ง 1 คืน ก่อนบรรจุลงในตะกร้าพลาสติก
โรคและแมลงศัตรูของการปลูกถั่วหวานที่สำคัญในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
ระยะปลูก-ปลูกซ่อม 0-10 วัน โรคเหี่ยว, หนอนชอนใบ,
ระยะเริ่มติดดอก 25-35 วัน โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคเน่าเปียก, หนอนชอนใบ, เพลี้ยไฟ,
ระยะฝักเจริญเติบโต 35-45 วัน โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคเน่าเปียก, หนอนชอนใบ, เพลี้ยไฟ,
ระยะเก็บเกี่ยว 45-70 วัน โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคเน่าเปียก, หนอนชอนใบ, เพลี้ยไฟ,
http://www.vegetweb.com/%e0%b8%96%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%99-sugar-snap-pea/
หนุนปลูกถั่วแระญี่ปุ่นพืช ศก.กาญจน์
นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า จังหวัดกาญจนบุรีมีพื้นที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 3 มีความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องน้ำ และมีอุตสาหกรรมการแปรรูปทางการเกษตรที่มีผลผลิตมากเป็นอันดับ 1-3 ของประเทศ จังหวัดจึงตั้งเป้าหมายส่งเสริมให้ปลูกพืชพลังงานทดแทนใหญ่ที่สุดในประเทศ ทั้งนี้บริษัท ไวต้าฟู้ดแฟคทอรี่ (1989) จำกัด ได้ร่วมมือกับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกาญจนบุรี ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชเสริมกับการปลูกพืชพลังงาน ในช่วงที่รอผลผลิตจากพืชพลังงานโดยการปลูกถั่วแระ ซึ่งเป็นพืชที่เติบโตและให้ผลผลิตภายใน 65-68 วัน
ทั้งนี้จากการศึกษาวิจัยถั่วแระญี่ปุ่นจะให้ผลผลิตประมาณ 1,000 กิโลกรัม/ไร่ มีต้นทุน 5,500 บาท ซึ่งบริษัทไวต้าฟู้ดฯจะประกันราคารับซื้อในกิโลกรัมละ 12 บาท เกษตรกรจะมีรายได้สุทธิไร่ละ 6,000 บาทในเวลาเพียง 2 เดือน เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จสามารถไถกลบเป็นปุ๋ยธรรมชาติที่ดีได้ อีกด้วย ซึ่งถั่วแระญี่ปุ่นจะก้าวเข้ามาเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ของจังหวัดกาญจนบุรี และสามารถส่งออกทำรายได้ให้กับประเทศได้
ภาพ/ข่าว นสพ.ประชาชาติธุรกิจ
ที่มา : http://tanuki.diaryis.com/?20060817
ถั่วแระ
ลักษณะทางธรรมชาติ
* เป็นพืชไร่ประเภททนแล้งได้ดี แม้จะเป็นพืชทนแล้งแต่มิได้หมายความว่าไม่ต้องการน้ำเสียเลย หากแต่ต้องการน้ำเพียงหน้าดินชื้นเท่านั้นก็เจริญเติบโตได้ดี ในขณะเดียวกันหากได้
รับน้ำมากจนพื้นดินแฉะก็จะทำให้เฝือใบ ไม่ออกดอกติดฝัก
* ถั่วแระ คือ ถั่วเหลือง ที่อายุผลกลางอ่อนกลางแก่ เมล็ดยังเป็นสีเขียวหรือเขียวอม
เหลืองเล็กน้อย ผ่านการปรับปรงพันธุ์จนกระทั่งได้ขนาดเมล็ดใหญ่กว่าถั่วเหลืองไร่ทั่วๆไป (ถั่ว
เหลืองไร่ 100 เมล็ด/12-18 กรัม.....ถั่วแระ 100 เมล็ด/25-35 กรัม)
* ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล ที่สามารถควบคุมปริมาณน้ำได้แน่นอน
เจริญเติบโตดีในดินร่วนปนทราย มีอินทรีย์วัตถุมากๆ ระบายน้ำดี ไม่ทนต่อสภาพน้ำขังค้าง
* นิยมปลูกช่วงปลายฝนต่อต้นหนาว เพื่ออาศัยความชื้นของเนื้อดินที่ได้รับน้ำตั้งแต่
ช่วงหน้าฝนและได้รับน้าค้างในช่วงหน้าหนาว แต่ช่วงหน้าฝนปลูกไม่ได้เพราะไม่สามารถควบ
คุมปริมาณน้ำได้จึงทำให้มีราคาแพง ปัญหาควบคุมน้ำไม่ได้นี้ หากปรับรูปแบบแปลงปลูกจาก
ปลูกบนพื้นดินมาเป็นปลูก
* ชอบอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน ช่วงเดือน มี.ค. – เม.ย. อากาศจึงไม่ค่อย
เหมาะสมต่อการปลูก
* ปลูกง่ายโตเร็ว อายุเก็บเกี่ยว 60-65 วันหลังหยอดเมล็ด
* เก็บเกี่ยวมื่อผลหรือฝักกลางอ่อนกลางแก่ หรือเมล็ดเต่ง 80 % หรืออายุ 30-35 วันหลังดอกบาน หรือ 60-65 วันหลังปลูก.........ช่วงหน้าร้อนผลจะทะยอยให้เก็บได้ 5-7 วัน แต่ถ้าเป็นหน้าหนาวผลจะทะยอยให้เก็บได้ 12-14 วัน........ไม่ควรเก็บผลตอนแสงแดดจัดหรืออากาศร้อนเพราะจะทำให้ผลเหี่ยว คุณภาพไม่ดี ควรเก็บตอนเช้ามืดและเมื่อเก็บเกี่ยวลงมาแล้วต้องเข้าร่มหรืออุณหภูมิห้องทันที
* การปลูกในนาข้าวหลังเกี่ยวข้าวหรือปลูกในแปลงผักหลังเก็บเกี่ยวผัก นอกจากเป็น
การตัดวงจรชีวิตเชื้อโรคในดินแล้ว เศษซากต้นถั่วแระเมื่อไถกลบลงดินยังช่วยปรับสภาพโครง
สร้างดินได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
* ชาวญี่ปุ่น. ไต้หวัน. นิยมบริโภคกันมาก แต่ช่วงหน้าหนาวที่หิมะลงไม่สามารถปลูกกลางแจ้งได้จึงปลูกถั่วแระด้วยวัสดุปลูก (ดินปลูกปรุงสำเร็จ) ในภาชนะปลูก (ถุง) ภายในโรง
เรือนที่ควบคุมอุณหภูมิได้ ซึ่งเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก
สายพันธุ์
กำแพงแสน-292. เกาซุง-1. ชิโรโนมาอิ. ไวท์ไลออน.
เตรียมเมล็ดพันธุ์
ตรวจสอบวันหมดอายุและภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์........นำเมล็ดพันธุ์ลงแช่ในน้ำ
เกลือเจือจาง คัดเมล็ดลอยทิ้งเพราะเสื่อมสภาพ เลือกใช้เฉพาะเมล็ดจมน้ำ นำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง....
.นำเมล็ดพันธุ์ที่เลือกได้แล้วคลุกกับ “ไรโซเบียม” แล้วจึงนำไปเพาะ จะช่วยให้ต้นเมื่อโตขึ้นสมบูรณ์แข็งแรง
เตรียมแปลง
1.ไถดินเปล่าให้ขี้ไถขนาดใหญ่ ทิ้งตากแดดจัด 15-20 แดดเพื่อฆ่าเชื้อโรคและกำจัดเหง้าวัชพืช
2. ใส่อินทรีย์วัตถุ ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ + มูลค้างคาว + เลือด) หมักข้ามปี. ยิบซั่มธรรมชาติ.กระดูกป่น.เศษพืชบดป่น หว่านทั่วแปลงปลูกแล้วไถพรวนอินทรีย์วัตถุคลุกเคล้าลงดิน
3. ไถยกร่องลูกฟูก สันร่องกว้าง 50-60 ซม. โค้งหลังเต่า สูงจากพื้นระดับ 30-50 ซม. ร่องทางเดินระหว่างสันแปลงกว้าง 1 ม. ลึก 20-30 ซม.
4. คลุมหน้าแปลงด้วยฟางแห้งหนาๆ
5. บ่มดินโดยรดด้วย น้ำ + ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (เน้น...เลือดและไขกระดูก) ทุก 5-7 วัน ติดต่อกันนาน 1 เดือน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ปรับสภาพดิน กำจัดเชื้อโรคและย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นฮิวมิค แอซิด.....เลือดหมักที่เป็นส่วนผสมในน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงจะช่วยบำรุงให้ต้นถั่วแระคุณภาพดียิ่งขึ้น
หมายเหตุ :
- การเตรียมสารอาหารไว้ในดินล่วงหน้าก่อนต้นเจริญเติบโตหรือให้ต้นได้กินสารอาหาร
ทันทีที่เริ่มงอก ต้นถั่วแระซึ่งมีช่วงอายุเพียง 60-65 วัน ก็จะเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างต่อ
เนื่อง ดังนั้นช่วงเตรียมดินจึงควรใส่ ฮอร์โมนบำรุงราก. เลือดสัตว์สด. โดยใส่ร่วมไปกับ
จุลินทรีย์หน่อกล้วยหรือปุ๋ยน้ำชีวภาพ
- ถั่วแระตอบสนองต่อเปลือกไข่สดบดละเอียดดีมาก
- จากการที่พืชตระกูลถั่วทุกชนิดชอบจุลินทรีย์กลุ่ม “คีโตเมียม – ไรโซเบียม – ไมโครไรซ่า” ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีมากในเปลือกถั่วลิสง หรือเศษซากพืชตระกูลถั่ว ดังนั้น เทคนิคการเตรียมดินโดยใส่เปลือกถั่วลิสงลงไปด้วยจะเป็นการดีอย่างมากสำหรับถั่วแระ
ระยะปลูก
ระยะปลูก 15-20 ซม. ที่ริมสันแปลงแบบแถวคู่สลับฟันปลา
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อถั่วแระ
1. ระยะต้นเล็ก
- ให้น้ำ 100 ล. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นให้เปียกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นพอหน้าดินชื้น ทุก 5-7 วัน ช่วงแดดจัด
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มให้เมื่อแตกใบอ่อนได้ 3-5 ใบ
2. ระยะก่อนออกดอก
- ให้น้ำ 100 ล.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นให้เปียกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นพอหน้าดินชื้น 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ช่วงแดดจัด
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มให้เมื่ออายุ 20 วัน หลังหยอดเมล็ด ซึ่งช่วงนี้ถั่วแระจะเริ่มออกดอก
- ฉีดพ่นรอบแรกแล้ว ถ้ามีดอกออกมาไม่มากพอให้ฉีดพ่นรอบสอง ห่างตากรอบแรก 5-7 วัน
3. ระยะเริ่มติดฝัก – เก็บเกี่ยว
- ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (400 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นให้เปียกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นพอหน้าดินชื้น 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ช่วงแดดจัด
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มให้หลังจากเริ่มติดฝักขนาดเล็ก และให้ไปเรื่อยๆจนกระทั่งเก็บเกี่ยว
- ระยะที่ฝักพัฒนาได้ 50 เปอร์เซ็นต์แล้วฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้คุณภาพผลผลิตดีมาก
- ก่อนเก็บเกี่ยวไม่จำเป็นต้องบำรุงด้วยสูตร “บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว” เพราะถั่วแระเก็บเกี่ยวเมื่ออายุฝักกลางอ่อนกลางแก่
- ตลอดอายุปลูกของถั่วแระไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ย (เคมี) ทางรากเพราะระยะเวลาสั้นมาก การทำให้ถั่วแระมีสารอาหารกินอย่างเพียงพอนั้นแนะนำให้ใส่ “ปุ๋ยอินทรีย์หมักด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง” ไว้ก่อนตั้งแต่ช่วงเตรียมดินก็พอเพียงแล้ว
- การให้ "เลือดหมัก" โดยละลายน้ำรดโคนต้น 15-20 วัน/ครั้ง จะช่วยบำรุงให้เมล็ดฝักขนาดใหญ่