ถั่วลันเตา
1.พันธุ์ มีทั้งกินฝักและพันธุ์กินเมล็ด เช่น พันธุ์ลูกผสมต่างๆ พันธุ์แม่โจ้-1, พันธุ์แม่โจ้-2 และจากร้านค้า
2. การเตรียมดิน เริ่มจากการไถดินตาก ประมาณ 7 วัน ทำการพรวนดิน ใส่ปุ๋ยคอก โดยขุดร่องเป็นแถวยาว หรือขุดหลุม ระยะปลูกระหว่างต้น x ระหว่างแถว ประมาณ 30 x 1 00 เซนติเมตร
3. วิธีการปลูก หยอดเมล็ดพันธุ์ถั่วลันเตาหลุมละ 4-5 เมล็ด หรือโรยห่างๆ ไปตามร่องที่ขุดไว้ กลบด้วยดิน รดน้ำให้ชุ่ม เช้า-เย็น จนกว่าถั่วลันเตาขึ้น ค่อยๆ ลดน้ำลง หรือวันละครั้ง
4. การปักค้าง หลังจากถั่วลันเตางอกแล้ว ปักค้างยาว 2 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร โดยขึงตาข่าย มัดเชือกติดกับหลัก หรือถ้าไม่ใช้ตาข่ายก็มัดเชือกฟางอย่างเหนียวประกบต้นถั่วลันเตา ซ้าย-ขวาของร่อง เป็นชั้นๆ ไป โดยเชือกมัดรวมกับหลักทุกๆ หลัก
5. การให้น้ำ ควรรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอด้วยสายยาง แต่ไม่นิยมใช้ระบบสปริงเกอร์เพราะจะทำให้เกิดโรคระบาดได้ และควรให้น้ำช่วงออกดอกและติดผลเป็นช่วงสำคัญที่สุดที่จะขาดน้ำไม่ได้
6. การใส่ปุ๋ย หลังจากถั่วลันเตางอกแล้วอายุประมาณ 20 วัน ต้นสูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 24-8-8 และทุกๆ 10-15 วัน ใส่ด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กก.ต่อไร่ หรือโดยใส่บางๆ แต่บ่อยครั้ง ตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน
7. การเก็บเกี่ยว เมื่อายุได้ประมาณ 60 วัน ก็เก็บผลผลิตได้ โดยใช้มือเด็ดขั้วฝักถั่วลันเตาที่มีขนาดเมล็ดพอง นุ่ม แต่สียังอ่อนอยู่ ใส่ถุงๆ ละ 5หรือ10 กก. ส่งขาย
8. โรคและแมลงศัตรู โรคถั่วลันเตาคือโรคราน้ำค้าง แก้ไขโดยการพ่นด้วยแมนโดเซป หรือ ไดเมทโทม็อบ ส่วนแมลงจะมีหนอนเจาะสมอฝ้ายอเมริกัน และเพลี้ยแป้ง พ่นด้วยไซเปอร์เมริน แลมด้าไซฮาโลทริน และอิมิดาโดลพริด ตัวใดตัวหนึ่งตามการระบาดของแมลง
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
as.doa.go.th/hort/database/framehom_files/vegetable/marum.htm -
ถั่วหรั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Voandzeia subterranea, Vigna subterranea
ชื่อสามัญ : Bambarra Groundnut
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
• ถั่วหรั่งเป็นพืชตระกูลถั่วล้มลุก มีระบบรากแก้ว ประกอบด้วยลำต้น 2 ชนิด คือ แบบตั้งตรง และเลื้อยขนานไปกับพื้นดิน
• บนข้อของลำต้นเลื้อยเป็นที่เกิดของใบ รากวิสามัญ รวมทั้งดอก และฝักถั่วหรั่ง
• ใบเป็นใบประกอบ ดอกเกิดตามมุมโคน ก้านใบสีเหลือง
• ฝักและเมล็ดเกิดบริเวณที่เคยเป็นที่อยู่ของดอก มีรูปร่างกลมรีเล็กน้อย
• เปลือกผลชั้นนอกเชื่อมติดกับชั้นกลาง ส่วนเปลือกชั้นในแยกออกต่างหาก เมล็ดภายในมีหลายสี ขึ้นอยู่กับพันธุ์ เช่น ครีม น้ำตาล แดง ม่วง ดำ หรือ แดงลาย
• ขนาดเมล็ด 1.0 x 0.8 ซม. ความหนาและเหนียวของเปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat) ขึ้นอยู่กับพันธุ์เช่นกัน
แหล่งปลูกที่เหมาะสม
• สามารถปลูกได้ในพื้นที่ของหลายจังหวัดของภาคใต้ เช่น สงขลา นราธิวาส ยะลา กระบี่ ตรัง พัทลุง ปัตตานี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช • สภาพพื้นที่ ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลเล็กน้อยถึงความสูง 1,520 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล
• ลักษณะดิน ดินดอนที่มีการระบายน้ำและระบายอากาศในดินดี
• ในพื้นที่ดอน เช่นดินทราย ทรายร่วน ดินร่วนปนทราย
• ถั่วหรั่งเป็นพืชทนดินกรด ไม่ทนดินด่างและดินเค็มในระดับ pH 5.0- 6.5 เป็นระดับที่เหมาะสม สามารถปลูกได้ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ไม่มีเชื้อโรคสะสมในดิน
• สภาพภูมิอากาศ เป็นพืชที่ต้องการอุณหภูมิสูง โดยอุณหภูมิเฉลี่ย กลางวัน-กลางคืน ประมาณ 20-28 องศาเซลเซียส
• ควรมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 600-750 มิลลิเมตร และจะให้ผลผลิตสูงขึ้นถ้ามีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 900-1,200 มิลลิเมตร
• แหล่งน้ำ ถั่วหรั่งต้องการน้ำในช่วงระยะเริ่มปลูกจนถึงระยะออกดอก หากมีปริมาณฝนตกอย่างสม่ำเสมอในช่วงดังกล่าวจะทำให้มีการเจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตสูงขึ้นมาก
• การปลูกส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนที่ตกตามฤดูกาล จึงไม่จำเป็นต้องมีแหล่งน้ำ เพราะถั่วหรั่งสามารถปรับตัวทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี แต่ถ้าหากมีแหล่งน้ำ ก็สามารถผลิตถั่วหรั่งนอกฤดูได้
พันธุ์
ถั่วหรั่งเป็นพืชผสมตัวเอง และมีการผสมเกสรก่อนการบานของดอก หลังการผสมเกสรแล้วจะใช้เวลา 60-70 วัน พัฒนาไปเป็นฝักและ เมล็ดที่สมบูรณ์ พันธุ์ที่นิยมปลูกมี 2 พันธุ์
พันธุ์สงขลา 1
อายุเก็บเกี่ยวสั้น 110 - 120 วันระยะดอกเริ่มบานเมื่ออายุประมาณ 38 วันการติดฝักแน่นเป็นกระจุก เนื่องจากทรงต้นค่อนข้างเป็นกระจุก ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 462 กก./ไร่ และผลผลิตฝักแห้งเฉลี่ย 161 กก./ไร่ ขนาดเมล็ดโต ใน100 เมล็ดมีน้ำหนัก 48.3 กรัม เมล็ดภายในสีแดง เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ค่อนข้างมีความทนทานต่อโรคใบไหม้ ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่
พันธุ์พื้นเมือง
อายุเก็บเกี่ยวยาวกว่า 150 - 180 วัน ระยะดอกแรกเริ่มบาน เมื่ออายุประมาณ 52 วัน ติดฝักโปร่ง เนื่องจากข้อห่างและทรงต้นแผ่กว้าง ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 401 กก./ไร่ และผลผลิตฝักแห้งเฉลี่ย 121 กก./ไร่ ขนาดเมล็ดเล็ก ใน 100 เมล็ดมีน้ำหนัก 36.9 กรัม เมล็ดภายในสีเหลืองครีม ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคใบไหม้
การเลือกพันธุ์
• ให้ผลผลิตมีคุณภาพมาตรฐานตรงตามความต้องการตลาด
• มีการเจริญเติบโตดีเหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศ
• ทนทานต่อโรคและแมลง
การวางแผนการผลิต
ถั่วหรั่งเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุค่อนข้างยาว วางแผนการผลิตขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์
พันธุ์พื้นเมือง (150-180 วัน) และพันธุ์สงขลา 1 ( 110-120 วัน) ถ้าอาศัยน้ำฝนอย่างเดียวสามารถปลูกได้ปีละ 1 ครั้ง เริ่มฤดูกาล ปลูกในเดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งจะไปเก็บเกี่ยวผลผลิตใน เดือนสิงหาคมจนถึงเดือนกุมภาพันธ์
ผลผลิตที่ได้ในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน จะได้ราคาค่อนข้างสูง(18 -22 บาทต่อกิโลกรัม) เพราะมีความต้องการสูงขณะผลผลิตยังมีออกมาน้อย หลังจากนั้น ผลผลิตจะเริ่มทะยอยออกสู่ตลาดมากขึ้นทำให้ราคาเริ่มลดลง จนถึงต่ำสุด 8 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งปกติราคาโดยเฉลี่ย 10-12 บาท ต่อ กิโลกรัม โดยทั่วไปถั่วหรั่งพันธุ์สงขลา 1 มีีราคาสูงกว่าพันธุ์พื้นเมือง กิโลกรัมละ 1-2 บาท
ที่ตลาดหัวอิฐเป็นแหล่งตลาดใหญ่ พ่อค้ารวบรวมผลผลิตจะรับซื้อ ถั่วหรั่งจากพ่อค้ารายย่อยในท้องถิ่นจังหวัด ใกล้เคียงร้อยละ 95 ที่เหลือร้อยละ 5 รวบรวมจากแหล่งอื่น
การกำหนดราคาผลผลิต
พ่อค้ารวบรวมที่ตลาดหัวอิฐเป็นผู้กำหนด โดยพิจารณาจากปริมาณผลผลิตที่มี อยู่ในตลาดและปริมาณความ ต้องการของตลาดเป็นเกณฑ์ นอกนั้น พิจารณาจากคุณภาพของสินค้า(ความแก่ ความชื้น ดินที่ติดมากับเมล็ด) ผลผลิตถ้าจำหน่ายไม่หมดในวันเดียวจะเก็บไว้ได้นาน 3-4 วัน แต่ราคาจำหน่ายก็จะลดลงด้วย
• พ่อค้ารายย่อย จะรับซื้อถั่วหรั่งจากเกษตรกรในราคาเฉลี่ย 10 บาทต่อกิโลกรัม และจำหน่าย 12 บาทต่อกิโลกรัม (ขายปลีก) และ 11.50 บาท (ขายส่ง)
• พ่อค้าขายปลีก จะนำถั่วหรั่งไปต้มสุก และจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรง ราคากระป๋องละ 10 บาท หรือ 40 บาทต่อกิโลกรัม
การปลูก
ฤดูการปลูก
• ฤดูปลูกที่เหมาะสม คือ ต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม หากเลยช่วงนี้ไปฝนตกหนัก ถั่วหรั่งจะออกดอกและติดฝักน้อยลง
• การปลูกนอกฤดูฝนจะเหมาะกับพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ ช่วงการปลูก นอกฤดูฝนจะให้ผลดีกว่าเพราะจะมีการระบาดของโรคน้อยกว่าการปลูกในฤดูฝน
การเตรียมดิน
• พื้นที่ร่วนซุยอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีการไถเตรียมดิน
• เมื่อเอาวัชพืชและเศษวัสดุออกจากแปลงแล้ว สามารถใช้จอบสับ เป็นหลุมแล้วหยอดเมล็ดปลูกได้ทันที
• พื้นที่ที่มีวัชพืชมากหรือดินมีความแน่นทึบมาก
• ควรไถเพื่อกำจัดวัชพืชและปรับสภาพดินให้ร่วนซุยก่อน เพื่อให้เหมาะกับการงอกของเมล็ด แล้วตามด้วยการพรวน หรือไถ 2 ครั้ง หรือไถครั้งเดียว แล้วใช้จอบแต่งเกลี่ยแปลง แล้วแต่ความเหมาะสมใน การปฏิบัติ
วิธีการปลูกและระยะปลูก
ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ ที่กระเทาะเปลือกแล้ว 4-5 กิโลกรัม หรือเมล็ดทั้งเปลือก 7 กิโลกรัม ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 60 x 60 ซม. จำนวน 2 ต้นต่อหลุม ปลูกโดยใช้เสียมเปิดหลุมหรือไม้กระทุ้ง เป็นหลุมแล้วหยอดเมล็ด 2-3 เมล็ดสลับกันแล้วปิดหลุม ถ้ามีความชื้นเพียงพอเมล็ดถั่วหรั่งจะงอก ภายใน 8-10 วัน
การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ย
• หลังจากงอก 21 วัน ฉีดสารควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืชอะลาคลอร์ หรือเมทาลาคลอร์ อัตรา 160-320 กรัม สารออกฤทธิ์ต่อไร่ แล้วใส่ ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 หรือ 15-15-15 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นอยู่กับ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยหว่านแถวแล้วพูนโคนกลบปุ๋ยเข้าหา ต้นถั่วหรั่งทั้งสูงข้างเป็นแถวยาว
• ในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูงอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย แต่ควรพูนโคน เพราะช่วยให้มีการติดฝักมากขึ้นและสะดวกเมื่อเก็บเกี่ยว
แมลงและการป้องกันกำจัด
เพลี้ยอ่อน
พบอยู่เสมอในแปลงปลูกถั่วหรั่ง เข้าทำลายพืชโดยดูดกิน น้ำเลี้ยงจากต้นพืชบริเวณโคนใบ ก้านใบ และลำต้น ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต โดยเฉพาะในต้นเล็กๆ จะมีความรุนแรงกว่าต้นโต นอกจากนี้แมลงชนิดนี้ ยังเป็นพาหนะนำเชื้อไวรัสให้เกิดกับต้นถั่วหรั่งให้ฉีดพ่นด้วยสารสกัดสะเดา หรือสารสกัดน้ำมันธรรมชาติ เพื่อควบคุมแมลงไม่ให้แพร่กระจายออกไป อาจเป็นเหตุทำให้เกิดการระบาดของโรคไวรัสได้
หนูและการป้องกันกำจัด
• พบมากในแปลงปลูกที่มีวัชพืชหนาแน่น ซึ่งหนูจะขุดดินกินฝักตั้งแต่ ระยะฝักอ่อนจึงถึงระยะเก็บเกี่ยว
• ควรป้องกันกำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูกและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยของหนู หรือใช้กรงดักหรือกับดักร่วมกับการใช้เหยื่อพิษ เช่น ชิงค์ฟอสไฟต์ (80 % ชนิดผง)
วัชพืชและการป้องกันกำจัด
• วัชพืชใบแคบอย่างเดียว ใช้สาร fluazifop-butyl (วันไซด์) อัตรา 36 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ควรฉีดเมื่อวัชพืชมีขนาดเล็ก แต่ระยะพืขที่โตทนต่อสารชนิดนี้
• วัชพืชใบแคบและกว้างปนกัน ใช้สาร haloxyfop-methyl (กาแล็น) อัตรา 30 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ในดินทรายที่มีวัชพืชรบกวนน้อย ควรใช้แรงงานกำจัดเป็นครั้งเป็นคราว
โรคและการป้องกันกำจัด
โรคใบไหม้
เกิดจากเชื้อ Rhizoetonia solaniเป็นเชื้อที่อาศัยอยู่ในดิน เมื่อระบาดจะทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงมากแก่ต้นถั่วหรั่ง ส่วนใหญ่พบว่า การระบาดของโรคเริ่มในระยะออกดอกเป็นต้นไป จะรุนแรงมากยิ่งขึ้นในระยะ ฝักเริ่มแก่ อาจทำความเสียหายมากถึง 90-100% จึงไม่ควรปลูกถั่วหรั่งซ้ำ ในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดรุนแรงมากก่อนเพราะ เชื้อชนิดนี้อาศัยอยู่ในดิน ตลอดเวลา ถ้าปลูกซ้ำหลายๆ ครั้งในพื้นที่เดิม ทำให้เกิดการสะสมโรค จึงมีการระบาดรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สารเคมีบางชนิดอาจช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ในบ้างครั้ง เช่น prodione(รอฟรัล) โดยฉีดพ่นทุก 10 ถึง 14 วัน แต่เชื้อโรคอาจ ดื้อสารภายหลัง อย่างไรก็ตามธาตุอาหารในดินก็มีนัยสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการเกิดโรคในระยะออกดอกของถั่วหรั่งเพราะเป็นระยะที่พืชต้องการ ธาตุอาหารมากที่สุดระยะหนึ่งจึงทำให้พืชเกิดความอ่อนแอต่อการเข้าทำลาย ของเชื้อโรค
โรคใบจุด
เกิดจากเชื้อ Corynespora cassicola , Cercospora canesuens, Colletotrichum truncatum และ C. gloeosporoides มีความรุนแรงน้อยกว่าโรคใบไหม้
โรคจากเชื้อไวรัส
เกิดจากเชื้อไวรัส By MV PWV PMV SMV และ CMV เข้าทำลายทำให้เกิดอาการต้นเตี้ยแคระเป็นกระจุกติดดิน ก้านใบและลำต้นสั้น ใบหงิกงอขรุขระ หยาบย่นเป็นคลื่น ใบด่างประ เนื้อใบปุ๋มบิดเบี้ยว ต้นที่ถูกทำลายตั้งแต่เล็กจะไม่สามารถให้ผลผลิตได้เลย เชื้อไวรัสพวกนี้มีพืชอาศัยหลายชนิด เช่น ถั่วเหลือง งา ถั่วลิสง พริก สาบแร้งสาบกา ผักแครด หญ้าไม้กวาด สาบเสือ ทองงู จึงมีความ จำเป็นอย่างยิ่งในการกำจัดวัชพืชเหล่านี้ในบริเวณใกล้เคียงเสียหาย เพื่อทำลายแหล่งอาศัยของโรค ควบคู่ไปกับการควบคุมแมลงพาหะ เช่น เพลี้ยอ่อน และแมลงหวี่ขาว ไม่ให้เกิดระบาด
ไส้เดือนฝอย
Meloidogyne javanica
• เป็นไส้เดือนฝอยที่มีพืชอาหารกว้างมากที่สุดชนิดหนึ่ง เข้าทำลายพืชทำให้ เกิดการปุ่มปมที่ผิวฝักและเกิดรากปม
• วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดควรปลูกพืชหมุนเวียนโดยมีดาวเรือง สลับรวมอยู่ในระบบการปลูกพืชด้วย
• จากผลการทดลองพบว่าการปล่อยดินทิ้งไว้ระยะหนึ่งอาจช่วยลดปริมาณไข ่และตัวอ่อนของไส้เดือนฝอยลงบ้าง หลังจากนั้นจึงให้น้ำตามปกติ แล้วตามด้วยสารเคมี เช่น คาร์โบฟูราน ทำให้การควบคุมได้ผลดีขึ้นมาก
การเก็บเกี่ยว
ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม
• พิจารณาได้จากอายุเก็บเกี่ยวของทั้ง 2 พันธุ์ ร่วมกับการสุ่มถอนขึ้นมาดู
• พันธุ์สงขลา 1 ระยะเก็บเกี่ยว 110-120 วันหลังปลูก
• พันธุ์พื้นเมือง ระยะเก็บเกี่ยว 140-180 วัน
• หลังปลูกการผลิตเพื่อใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ ควรปล่อยให้เมล็ดแก่จัดเพิ่มขึ้นอีก 10-15 วัน
• หากถั่วหรั่งแสดงอาการทรุดโทรมเนื่องจากเป็นโรคทางใบ ก็สามารถ ใช้เป็นตัวกำหนดในการเก็บเกี่ยวได้
วิธีการเก็บเกี่ยว
ใช้มือถอนต้นขึ้นมา ถ้าเป็นดินค่อนข้างเหนียวการถอนฝักจะขาดติดอยู่ในดิน มากกว่าในดินร่วนซุย จึงเปลืองแรงงานและเวลามาก ฝักที่ติดอยู่ในดิน สามารถคุ้ยดินที่มีฝักขาดติดอยู่มาร่อนในตะแกรง หรือภาชนะที่มีรูเล็ก กว่าถั่วหรั่งเล็กน้อย เขย่าให้ดินร่วงออกไปก็จะได้ถั่วหรั่งทั้งหมด การปลิดฝักที่ติดอยู่กับต้นที่ถอนขึ้นมาแล้ว โดยใช้มือลูบเบาๆ ฝักถั่วหรั่งก็จะหลุดออกมาโดยง่าย
การปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว
ใช้ทำเมล็ดพันธุ์
• เมล็ดถั่วหรั่งควรมีความชื้นประมาณ 10-11%
• สามารถเก็บไว้ในภาชนะบรรจุถ่ายเทอากาศได้ในสภาพห้องปกติ เก็บได้นาน 1 ปี โดยความงอกไม่ลดลง
• ถ้าหากเก็บไว้ในต้องปรับอากาศอุณหภูมิประมาณ 22 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65% สามารถเก็บได้นาน 6 ปี
• เมื่อนำมาตรวจสอบความงอกพบว่า มีความงอกเกินกว่า 90%
• เมล็ดถั่วหรั่งสด 100 กิโลกรัม เมื่อแห้งดีแล้วจะเหลือน้ำหนักประมาณ 30 กิโลกรัม และเมื่อกระเทาะเปลือกออกจะเหลือน้ำหนักเมล็ดประมาณ 20-21 กิโลกรัม
การลดความชื้น
เกษตรกรใช้วิธีการผึ่งลมสลับผึ่งแดดใช้เวลา ประมาณ 12-20 วัน จนเมล็ดถั่วหรั่งแห้งพอสำหรับเก็บไว้ทำพันธุ์ แต่เมล็ดจะไม่ค่อยแข็งแรง และมีความงอกต่ำ ส่วนวิธีการลดความชื้นด้วยลมร้อนอุณหภูมิไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส จะไม่กระทบต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ด
การแปรรูป
การแปรรูปอาหาร
การนำไปบริโภค สามารถใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ คือ
• ถั่วหรั่งต้ม เป็นการต้มใส่เกลือสำหรับกินเล่น เช่นเดียวกับถั่วลิสง ซึ่งส่วนใหญ่มักนิยมบริโภคแบบนี้
• ถั่วหรั่งฝักอ่อน มีรสชาติหวานและกรอบใช้เป็นผักในผัดต่างๆได้
• เมล็ดแห้ง ใช้บดทำแป้งเพื่อประกอบอาหารตามต้องการ
• เมล็ดสดหรือแห้งต้มสุกแกะเปลือก ใช้ใส่อาหารคาวซึ่งปกติใช้เมล็ดถั่วลิสง หรือใช้ทำไส้ขนม
การแปรรูปอุตสาหกรรม
ในลักษณะถั่วหรั่งต้มน้ำเกลือบรรจุกระป๋อง สำหรับใช้ในการประกอบอาหาร เช่นเดียวกับถั่วลันเตา หรือส่วนประกอบในอาหารกินเล่นหรืออาหารเพื่อ สุขภาพ
สารอาหารในเมล็ด
องค์ประกอบของสารอาหารในเมล็ดถั่วหรั่งแห้ง
http://it.doa.go.th/vichakan/print.php?newsid=31
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.