ผักกาดหางหงษ์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica campestris var. pekinensis จัดอยู่ใน ตระกูลกะหล่ำ มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ปลูกกันมากในประเทศจีน เป็นพืชล้มลุก ลำต้นส้ำมาก ใบเรียงตัวซ้อนกัน ห่อหัวเป็นปลียาวรี หรือรูปทรงกระบอก ใบสีเขียวอ่อน ขอบใบหยัก กาบใบและเส้นใบ มีสีขาว ใบและกาบใบกรอบ ชุ่มน้ำ เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เหมาะสมสำหรับปลูกในฤดูหนาว ส่วนฤดูแล้งอาจพบปัญหาโรคและแมลงรบกวนมาก
อุณหภูมิ
ผักกาดหางหงษ์ เป็นพืชผักเมืองหนาวต้องการความเย็นในการเจริญ อุณหภูมิ ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ในช่วงแรกอยู่ระหว่าง 18-20′C ในขณะที่อุณหภูมิที่เหมาะ ต่อการเข้าปลีอยู่ระหว่าง 15-16′C การปลูกในสภาพอุณหภูมิสูงกว่า 25′C จะส่งผลให้ห่อ หัวช้า คุณภาพต่ำ เข้าปลีหลวม มีรสขม
ดิน
ที่เหมาะสมต่อการปลูกควรเป็นดินที่ร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว(clay loam) มีความอุดมสมบูรณ์สูง pH 6.0-6.5 การเตรียมดินควร ขุดให้หน้าดินลึก การระบายน้ำดี ควรให้น้ำอย่างพอเีพียง และสม่ำเสมอ และได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ตลอดทั้งวัน
การใช้ประโยชน์ และคุณค่าอาหาร
ผักกาดหางหงษ์ มีสรรพคุณหลายชนิด เช่น ช่วยให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรง มีกรดโฟลิค (folic acid) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการแบ่ง ตัวของเซลล์ ช่วยในการพัฒนาเนื้อเยื่อ และสังเคราะห์ DNA ดีกับหญิงมีครรภ์ นอกจากนั้นยังมีแคลเซียมสูง ช่วยสร้างกระดูกและฟัน ให้แข็งแรง หากมารดาขาดกรดโฟลิคจะทำให้การแบ่งเซลล์ของทารกผิปกติ
ผักกาดหางหงษ์ นำนิยมนำมาผัดกับเนื้อสัตว์ ใส่แกงจืด ทำน้ำซุป ลวกจิ้มน้ำพริก สามารถนำมาแปรรูปเป็นผักตากแห้ง ทำกิมจิ หรือ ใช้ประดับตกแต่งจาน
การปฏิบัติดูแลรักษาผักกาดหางหงษ์ในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
การเตรียมกล้า
เพาะกล้าแบบประณีตในถาดหลุมอายุกล้า ไม่ควรเกิน 21 วัน
การเตรียมดิน
ขุดดินตากแดด 7-14 วัน เพื่อกำจัดโรคแมลง และวัชพืช โรยด้วยปูนขาวอัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม. ใช้ปุ๋ยรองพื้น 12-24-12 อัตรา 20-30 กรัม/ตร.ม. และปุ๋ยคอกหมัก 4-5 กก./ตร.ม. หรือขึ้ไก่ 1 กก./ตร.ม.
การปลูก เก็บเศษซากวัชพืช ออก ขึ้นแปลงขนาด 1 เมตร ระยะปลูก ในฤดูฝนและฤดูหนาว 30-40 ซม. ฤดูแล้ง 30×30 ซม.
ข้อควรระวัง
- ไม่ควรกลบเมล็ดลึกเกินไป อาจทำให้เมล็ดไม่งอก
- ไม่ควรเหยียบแปลงปลูก
- หากเพาะกล้าช่วงฤดูหนาว ควรเพาะในที่สภาพอากาศอบอุ่น เพื่อป้องกันการแทงช่อดอก
การให้น้ำ
ให้น้ำโดยสปิงเกอร์ ส่วนมากจะปลูกในฤดูฝน
การให้ปุ๋ย
หลังจากย้ายปลูกใส่ปุ๋ยครั้งแรก ใช้ 46-0-0 หลังจากปลูก 10 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ประมาณ 25-30 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 สูตร 13-13-21 และ 46-0-0 อัตรา 1:1 ควรมีการพ่นยาเพื่อป้องกันโรคและแมลงโดยเฉพาะช่วงฤดูฝน
ข้อควรระวัง
- การปฏิบัติควรระมัดระวังอย่าให้กระทบกระเทือนราก
- ควรหมั่นตรวจแปลงเพื่อแก้ไขปัญหาโรคและแมลงได้ทันท่วงที
- ให้ระวังปัญหาการขาดธาตุอาหารรอง ทำให้เกิดอาการไส้เน่า โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน
การเก็บเกี่ยว
เมื่ออายุ 60-70 วัน หลังปลูก ใช้มือจับดู ถ้าการเข้าหัวแน่น สามารถเก็บได้ โดยใช้มีดตัดโคนต้น พร้อมตัดแต่ง ใบนอกออกให้เหลือหุ้มหัว 2-3 ใบ การเก็บเกี่ยวตอนเย็น ผึ่งผักให้แห้งไม่เปียกน้ำก่อนบรรจุ
ข้อควระวัง
- การตัดควรตัดชิดราก เพราะเมื่อตัดแต่งแล้วจะได้หัวที่ดีมีใบนอกหุ้ม
- การบรรจุไม่ควรแน่นเกินไป
โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของผักกาดหางหงษ์ในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
ระยะกล้า 18-21 วัน ไม่มี
ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 21-28 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, ด้วงหมัดผัก, หนอนกระทู้ดำ, หนอนใยผัก, หนอนคืบ, หนอนกระทู้,
ระยะเข้าหัว 40-45 วัน โรคเน่าเละ, โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, หนอนใยผัก, หนอนคืบ, หนอนกระทู้,
ระยะโตเต็มที่ 60-70 วัน โรคเน่าเละ, โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, หนอนใยผัก, หนอนคืบ, หนอนกระทู้,
ที่มา : ไม่ระบุ
ผักกาดหวาน ( Cos Lettuce , Romain Lettuce )
ชื่อวิทยาศาสตร : Lactuce sativa var. longifolla
ผักกาดหวานเป็นพืชล้มลุกการปลูกดูแลรักษาคลายผักกาดหอมห่อต้องการสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10 – 24 องศาเซนเซส ในสภาพอุณหภูมิสูงการเจริญเติบโตทางใบจะลดลง และสร้างสารสีขาวคล้ายน้ำนมหรือยางมาก เส้นใยสูงเหนียวและมีรสขมดินที่เหมาะสมต่อการปลูกควรร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ และมีอินทรียวัตถุสูง หน้าดินลึก และอุ้มน้ำได้ดีปานกลาง สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินอยู่ระหว่าง 6 – 6.5 พื้นที่ปลูกควรโล้งและได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ เนื่องจากใบผักกาดหวานมีลักษณะบางไม่ทนต่อฝน ดังนั้นในช่วงฤดูฝนควรปลูกใต้โรงเรือน
การปลูกผักบนพื้นที่สูงการเตรียมดินขุดดินตากแดดและโรยปูนขาวหรือโดโลไมท์ อัตรา 100 กรัม/ตารางเมตรทิ้งไว้ 14 วัน ให้วัชพืชแห้งตาย ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ใส่ปุ๋ยสูตร 12–24–12 และสูตร 15–0–0 รองพื้นปุ๋ยคอกอัตรา 2–4 ตัน/ไร่ การเตรียมกล้าเพาะกล้าในถาดหลุมแบบประณีต วัสดุเพาะควรมีระบบน้ำดีการปลูกนําต้นกล้าที่เพาะไว้อายุประมาณ 3–4 สัปดาห์ มาปลูกโดยใช้ระยะปลูก 30 x 30 เซนติเมตร ในฤดูร้อน และ 40 x 40 เซนติเมตร ในฤดูฝนเพื่อป้องกันการระบาดของโรค
การปลูกผักบนพื้นที่สูงการให้น้ำควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอต่อการเจริญเติบโต การให้ไม่ควรมากเกินไป อาจทําให้เกิดโรคโคนเน่าการให้ปุ๋ยหลังปลูก 7 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 46 – 0 – 0 ผสมสูตร 15 – 15 – 15 อัตราส่วน 1 : 1 ปริมาณ 50 กิโลกรัม/ไร่ พร้อมกําจัดวัชพืช หลังปลูก 20 – 25 วันใส่ปุ๋ยสูตร 13 – 13 – 21 โดยขุดร่องลึก 2 – 3 เซนติเมตร รอบโคนต้น รัศมีจากต้น 10 เซนติเมตร โรยปุ๋ย 2 ช้อนโต๊ะ กลบดินแล้วรดน้ำพร้อมกําจัดวัชพืช
ข้อควรระวัง
1. ควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ (Tipburn) ในบางพื้นที่ซึ่งมีปัญหาขาดธาตุรอง
2. การพรวนดิน ระวังอย่า กระทบกระเทือนรากหรือต้น เพราะจะมีผลต่อการเข้าปลีที่ไม่สมบูรณ์
3. ไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิม
การปลูกผักบนพื้นที่สูงการเก็บเกี่ยวเมื่อผักกาดหวานมีอายุได้ ประมาณ 40 – 60 วัน หลังจากย้ายปลูกใช้หลังมือกดดูถ้าแน่นก็เก็บได้ ( กดยุบแล้วกลับคืนเหมือนเดิม ) ใช้มีดตัด และเหลือใบนอก 3 ใบ เพื่อป้องกันความเสียหายในการขนส่ง หลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวตอนเปียก ควรเก็บเกี่ยวตอนบ่ายหรือควรผึ่งลมในที่ร่มและคัดเกรด ป่ายปูนแดงที่รอยตัด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคเข้าสู่หัวแล้วบรรจุลงในพลาสติกเพื่อรอขนส่งต่อไป
ข้อควรระวัง
1. ในฤดูฝน เก็บเกี่ยวก่อนผักโตเต็มที่ 2 – 3 วัน เพราะถ้าปล่อยให้ผักโตเต็มที่ผักจะเน่าง่าย
2. เก็บซากต้นนําไปเผาหรือฝังลึกประมาณ 1 ฟุต ป้องกันการระบาดและสะสมโรคในแปลงปลูกคุณค่าทางโภชนาการผักกาดหวานมีน้ำเป็นองค์ ประกอบ และมีวิตามินซีสูง นอกจากนี้ยังมีฮีโมโกลบิน ( hemoglobin ) ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง บรรเทาอาการท้องผูกเหมาะสําหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
การใช้ประโยชน์ ผักกาดหวานเป็นพืชที่นิยมบริโภคสดโดยเฉพาะในสลัดหรือกินกับยํา แต่สามารถประกอบอาหารได้ในบางชนิด เช่น นําไปผัดกับน้ำมันโดยใช้ไฟแรงอย่างรวดเร็ว
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร .2547. เอกสารวิชาการการปลูกผักบนพื้นที่สูง. กลุ่มงานพัฒนาพื้นที่สูง.กรุงเทพฯ
จัดทำโดย : ดาราวรรณ ทวีศักดิ์บวรกุล
http://www.doae.go.th/library/html/2549/1809/Coslettuce/index.htm