1. ชื่อ ผักบุ้งไทย
2. ชื่ออื่น ผักทอดยอด ผักบุ้ง ผักบุ้งแดง ผักบุ้งนา กำจร โหนเดาะ
3. ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea aquatica Forsk.
4. วงศ์ CONVOLVULACEAE
5. ชื่อสามัญ Swamp cabbge
6. แหล่งที่พบ ทั่วไปของทุกภาค
7. ประเภทไม้ ไม้ล้มลุกที่ลำต้นทอดคลานไปตามพื้น
8. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นไม้น้ำและเป็นไม้ล้มลุกหลายปี ลำต้นทอดเลื้อยไปตามน้ำหรือในที่ลุ่มที่มีความชื้นหรือดินแฉะ ลำต้นกลมสีเขียวหรือสีม่วงแดง มีข้อปล้องและมีรากออกตามข้อได้
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับ ใบเป็นรูปหอกหรือลูกศร ขอบใบเรียบหรือมีควั่นเล็กน้อย ปลายใบแหลมหรือมน ฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ใบยาว 3-10 ซม. กว้าง 1-9 ซม.
ดอก เป็นรูประฆังออกที่ซอกใบ แต่ละช่อมีดอกย่อย 1-5 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวกลีบดอกมีทั้งสีขาวหรือ สีชมพูอยู่ที่ฐาน เกสรตัวผู้มี 5 อัน ยาวไม่เท่ากัน ผล เป็นแบบแคปซูล รูปไข่หรือกลม สีน้ำตาล มีเมล็ดกลมสีดำ
9. ส่วนที่ใช้บริโภค ยอดอ่อน ใบอ่อน
10. การขยายพันธุ์ เมล็ด เถา
11. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เป็นไม้ที่ปลูกได้ในดินทุกชนิดขึ้นได้ในที่แห้งแล้ง แต่ถ้าหากมีน้ำมากก็จะทำ ให้ลำต้นเจริญงอกงามดี
12. ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ตลอดปี (มีมากฤดูฝน)
13. การปรุงอาหาร ยอด ใบอ่อน นำมารับประทานสดหรือลวกต้มให้สุกเป็นผักร่วมกับน้ำพริก ส้มตำ
14. นำไปประกอบ อาหาร เช่น ผัด แกงส้ม แกงคั่ว
15. ลักษณะพิเศษ ผักบุ้ง รสจืดเย็น ช่วยขับพิษ ถอนพิษเบื่อเมา
ผักบุ้ง มีวิธีการปลูกง่าย ๆ ถ้าเป็นผักบุ้งจีน เอาเมล็ดพันธุ์ผักบุ้ง จีนมาแช่น้ำเอาไว้ เอาผ้าห่อเมล็ดพันธุ์ผักบุ้ งชุบน้ำให้เปียกชุ่ม โดยตลอดซัก 1 คืนหรือ 2 คืนก็ได้ ต่อจากนั้นก็เอาไปหว่านในแปลงที่ขุด พรวนดินเอาไว้ ผสมกับปุ๋ยคอกพอสมควร หว่านเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งให้ทั่วกัน อย่าให้หนาเกินไป หว่านพอห่างๆ เอาฟางแห้งว่างลงไปทับเอาไว้บนดิน ให้คลุมบางๆเพื่อป้องกันไม่ให้ความชุ่มชื้นระเหยออกไปเร็วนัก รดน้ำให้ชุ่มพอสมควร รดน้ำเช้าเย็น รอเวลาไม่กี่วันก็จะเห็นว่ามีผักบุ้งออกมาให้เห็นแล้ว
การบำรุงรักษายังคงรดน้ำทุกวัน เช้า เย็น พอเห็นว่าต้นโตพอที่จะเก็บก็เอามีดมาตัดที่โคนต้น แต่ว่าการที่เราตัดโคนเอาเฉพาะต้นผักบุ้งมานั้น ยังทำให้ต้นผักบุ้งแตกยอดออกมาได้อีกด้วย สามารถที่จะเก็บได้หลายๆครั้งด้วยกัน
ถ้าเป็นผักบุ้งไทย เอาต้นผักบุ้งไทยมาปลูกลงในดิน แล้วรดน้ำก็ได้ ผักบุ้งจะเจริญงอกงามได้ดีไม่ต้องเพาะเมล็ดเหมือนผักบุ้งจีน แต่จะต้องรดน้ำเช้าเย็นด้วย ผักบุ้งชอบน้ำอยู่แล้ว ขอให้มีน้ำรดให้ชุ่มก็เจริญงอกงามได้ดีเสมอ และถ้าจะให้ดีก็จะต้องให้อาหารหรือปุ๋ยคอกพอสมควร
กรณีที่มีบ่อน้ำ คูน้ำ ท้องร่องหรือสระน้ำ เอาผักบุ้งไทยมาปลูกไว้ริมน้ำก็ได้ เห็นอย่างนี้แล้วคงไม่ต้องสงสัยนะครับว่าทำไมผักชนิดนี้ถึงได้อยู่คู่ครัวไทยมานาน
ที่มา: http://www.palungjitrescuedisaster.com/wiki/index.php/ผักบุ้งไทย