-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 607 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้ดอก-ไม้ประดับ






วิธีการใส่ปุ๋ย ไม้ดอก-ไม้ประดับ

 

(Broadcast) เป็นวิธีการใส่ปุ๋ยก่อนที่จะปลูกพืช ความสำคัญอยู่ที่การหว่านให้ทั่วแปลงอย่างสม่ำเสมอ ควรหว่านก่อนการไถดินเพื่อให้ปุ๋ยได้อยู่ลึกลงไปในดินในระดับบริเวณรากพืช หรืออาจจะหว่านปุ๋ยแล้วตามด้วยการพรวนดิน สำหรับแปลงปลูกธัญพืชเมล็ดเล็กแบบไม่ยกร่อง หรือพืชที่มีระบบรากหนาแน่นและตื้น อาจจะหว่านปุ๋ยหลังการไถหรือพรวนดินก็ได้ หรือถ้าต้องการยกร่องปลูก ปุ๋ยจะถูกกลบคลุกเคล้ากับดินอยู่บนร่องปลูก ซึ่งอาจสรุปได้ว่าเป็นวิธีที่ใช้ได้ดีกับพืชหลายชนิด โดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้นมากการใส่แบบหว่าน ความเข้มข้นของปุ๋ยจะลดลงและปุ๋ยมีโอกาสทำปฏิกิริยากับดินได้มาก ทำให้สามารถใส่ปุ๋ยเป็นปริมาณมากในคราวเดียวกันได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อพืช


 (Band Placement, Banding) เป็นวิธีการใส่พร้อมกับการปลูกพืช และมักเรียกปุ๋ยนี้ว่า ปุ๋ยเร่งต้นอ่อน (Starter) การใส่ปุ๋ยวิธีนี้จะช่วยให้พืชเจริญเติบโตเร็วในช่วงแรก ลดการถูกตรึงฟอสเฟตในดิน ซึ่งเป็นวิธีการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินรอบ ๆ บริเวณรากพืช พืชหลายชนิดจะตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยวิธีนี้ปุ๋ยอาจใส่ในร่องใต้เมล็ดพืช หรือในร่องตามแนวขนานกับแถวปลูกพืชและควรใส่ใต้ผิวดิน ประมาณ 2-4 นิ้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของดินและพืชที่ปลูก การใส่ปุ๋ยใกล้เมล็ดพืชมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อรากของต้นอ่อนได้วิธีการนี้เป็นการลดปฏิกิริยาระหว่างเม็ดปุ๋ยกับดินให้เหลือน้อยที่สุด เหมาะกับปุ๋ยเคมีพวกฟอสเฟต เพราะจะช่วยลดปริมาณการตรึงฟอสเฟตของดิน และช่วยให้การชะล้างปุ๋ยจากหน้าดินเกิดขึ้นน้อย ทำให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นปัจจุบันนี้มีวิธีการใส่ปุ๋ยแบบโรยเป็นแถบแต่อาจแรกอีกชื่อหนึ่งว่า “ป๊อป-อั๊พ” (Pop-up) หมายถึงการใช้ปุ๋ยในปริมาณน้อยผสมรวมไปกับเมล็ดพืชในขณะปลูก หลังจากเมล็ดงอกก็สามารถใช้ปุ๋ยได้ทันที



(Side Dressing) เป็นวิธีการใส่ปุ๋ยไว้ข้างแถวพืชที่ปลูกนิยมใส่เมื่อพืชงอกแล้วและโตเป็นกล้า อายุประมาณ 2-4 สัปดาห์ หรือหลังจากการดายหญ้าเพื่อกำจัดวัชพืชแล้ว อาจใส่หลายครั้งก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของพืช วิธีการให้น้ำและชนิดของดิน ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ การแบ่งใส่ปุ๋ยหลายครั้งจะให้ผลดีกว่าใส่ครั้งเดียวโดยวิธีหว่านหรือโรยเป็นแถบ ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง-ค่อนข้างต่ำ การใส่ปุ๋ยแบบโรยเป็นแถบพร้อมปลูกร่วมกับการใส่แบบโรยข้างแถวอีก 1-2 ครั้ง ก็จะได้ผลคุ้มค่าเช่นกันสำหรับฟอสเฟตและโพแทสเซียมต้องใส่ให้ใกล้แถวพืชที่ปลูก เพื่อรากพืชจะได้งอกถึงและนำปุ๋ยไปใช้ ปุ๋ยไนโตรเจนไม่จำเป็นใกล้ต้นพืชเกินไป เนื่องจากสามารถละลายน้ำได้ดี จึงเคลื่อนที่ไปตามความชื้นในดินเข้าสู่รากพืชได้ นอกจากนี้การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนใกล้เกินไปอาจเป็นอันตรายต่อรากพืชได้โดยเฉพาะแม่ปุ๋ยแอมโมเนียม ส่วนแม่ปุ๋ยไนเตรท ควรใช้กับพืชที่มีระบบรากตื้นและควรใส่ให้ลึกลงไปในดินข้าง ๆ รากพืชที่มีระยะห่างพอสมควร เพื่อป้องกันการสูญเสียที่เกิดจากการชะล้างหรือถูกพัดพาไปโดยน้ำได้ง่าย



 (Top Dressed) เป็นวิธีการใส่ปุ๋ยบนผิวดิน ในขณะที่พืชงอกแล้วและกำลังเจริญเติบโต เป็นการใส่ปุ๋ยแบบหว่านใช้กับธัญพืชเมล็ดเล็ก เช่น ข้าวและพืชทุ่งหญ้าอาหารสัตว์ ฝ้าย ถั่วลิสง ฯลฯ ในต่างประเทศนิยมใช้แทรกเตอร์ในการหว่านปุ๋ย หรือใช้เครื่องบินในการให้ปุ๋ยในนาข้าว การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสำหรับพืชไร่บางชนิดอาจใส่ครึ่งหนึ่งพร้อมปลูกโดยโรยเป็นแถบและอีกครึ่งหนึ่งใส่แบบโรยเหนือต้นพืช



(Foliar Application) การให้ปุ๋ยทางใบเป็นวิธีการให้ธาตุอาหารแก่พืชทางส่วนเหนือดินของพืช นิยมใช้ในกรณีที่ต้องการให้พืชตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยทันที และในกรณีที่การใส่ปุ๋ยทางดินไม่ได้ผล ปุ๋ยที่เคยให้ทางใบให้ผลกับพืชหลายชนิดแล้ว ได้แก่ ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสเฟต โพแทช แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน แมงกานีส ทองแดง โบรอน โมลิบดีนัม เหล็ก และสังกะสีปุ๋ยที่ใช้อาจอยู่ในรูปเป็นผง หรือในรูปสารละลาย แต่ในรูปสารละลายจะให้ผลดีกว่า การให้ปุ๋ยทางใบสามารถให้ได้ตลอดอายุพืช โดยเฉพาะในพืชที่เริ่มแสดงอาการขาดธาตุอาหารก่อนออกดอกหรือก่อนการเกิดเมล็ด สำหรับไม้ผลต่าง ๆ รวมทั้งองุ่น นิยมให้ก่อนแตกใบอ่อน พืชจะตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยในตอนเช้าดีกว่าในช่วงอื่นของวัน ความเข้มข้นของปุ๋ยที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของปุ๋ยและพืช โดยทั่วไปความเข้มข้นจะอยู่ระหว่าง 1-2 เปอร์เซ็นต์ และในกรณีที่เป็นปุ๋ยยูเรียไม่ควรมี ไบยูเรท (Biuret) เกิน 0.25 % ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อใบพืชและต้นกล้าอ่อนเครื่องฉีดอาจใช้เครื่องพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั่วไปได้ (เครื่องพ่นแรงอัดต่ำ) แต่นิยมใช้ทั่วไป เป็นเครื่องพ่นชนิดแรงอัดสูงและใช้น้ำน้อย ซึ่งจะให้ความสม่ำเสมอ ปุ๋ยที่ใช้ทั้งหมดจะเกาะอยู่ตามส่วนเหนือดินของพืช ข้อสำคัญในการใช้คือต้องคอยปรับหัวฉีด และเพิ่มแรงอัดเพื่อให้สารละลายที่พ่นออกมามีลักษณะเป็นฝอยขนาดเล็กซึ่งจะทำให้การตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้นการให้ปุ๋ยทางใบโดยอาศัยระบบการให้น้ำชลประทานแบบฝนเทียม (Overhead Sprinkler system) ต้องใส่ปุ๋ยในรูปสารละลายในช่วงก่อนปิดเครื่องเพื่อให้ปุ๋ยจับติดที่ใบพืชและป้องกันการชะล้างจากน้ำความเข้มข้นของปุ๋ยต้องให้น้อยกว่าการให้ทางดินและต้องระวังเศษผงและวัสดุใช้เคลือบปุ๋ย ซึ่งอาจทำให้หัวฉีดอุดตันได้ ซึ่งรวมทั้งหัวฉีดที่ใช้กับเครื่องพ่นชนิดอื่นด้วยการให้ปุ๋ยทางใบอาจให้ทางเครื่องบิน ในกรณีที่ไม่สามารถใช้เครื่องจักรทางพื้นดินหรือต้องใส่ในพื้นที่กว้างและให้เสร็จทันเวลาที่จำกัดเคยใช้ได้ผลกับข้าวฟ่าง-ข้าวโพดและธัญพืชเมล็ดเล็กรวมทั้งในนาข้าว



 (Water-Run Application)การให้ปุ๋ยพร้อมกับการให้น้ำ จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่าวิธีการใส่ปุ๋ยวิธีอื่น อย่างไรก็ตามถ้าพืชให้ผลผลิตคุ้มค่า ทำให้ประหยัดเวลา แรงงาน ลดค่าเครื่องจักร และเชื้อเพลิงแล้ว ก็สมควรใช้ได้ การให้ปุ๋ยอาจให้ก่อนการปลูกพืช หรือหลังพืชงอกแล้วก็ได้ ใช้ได้ทั้งปุ๋ยในรูปสารละลายหรือในรูปของแข็ง ส่วนมากนิยมใช้แต่ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารที่เคลื่อนตัวได้น้อยในดิน เช่น ฟอสเฟต และโพแทช ก็เคยให้ได้ผลมาแล้วกับพืชผักต่าง ๆ ธัญพืชเมล็ดเล็ก พืชอาหารสัตว์และทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ปุ๋ยในรูปของแข็งควรละลายในน้ำก่อนนำไปผสมลงในน้ำชลประทาน โดยเฉพาะการให้น้ำแบบฝนเทียม (Sprinkler system) และควรระวังการใช้ปุ๋ยเม็ดที่มีสารเคลือบปุ๋ยซึ่งอาจทำให้หัวฉีดอุดตันได้ ปุ๋ยในรูปของแข็งสามารถให้โดยตรงกับการให้น้ำแบบร่องได้ แต่เครื่องควบคุมการให้ปุ๋ยจะทำให้ไม่สะดวกในการใช้ สำหรับปุ๋ยในรูปของสารละลายสามารถใช้กับระบบการให้น้ำชลประทานได้โดยทั่วไป ยกเว้นแอมโมเนียมเหลว และสารละลายแอมโมเนียมรวมทั้งสารละลายที่จะให้แอมโมเนียมผสมอยู่ด้วยไม่ควรใช้กับการให้น้ำแบบฝนเทียมไม่ว่าจะใช้ระบบการให้น้ำแบบไหน ปุ๋ยที่ใช้ต้องผ่านเครื่องควบคุมการให้ปุ๋ยก่อนผสมลงในน้ำชลประทาน เพื่อให้การกระจายของปุ๋ยเป็นไปอย่างทั่วถึง วิธีคำนวณปริมาณปุ๋ยที่จะใช้และการควบคุมเครื่องก็ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต ดังนั้นควรทำความคุ้นเคยให้ดีก่อนนำออกใช้ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการผสมปุ๋ยลงในน้ำชลประทานคือ ช่วงกึ่งกลางระหว่างกำลังให้น้ำ ไม่ควรผสมปุ๋ยลงในน้ำขณะเพิ่งให้น้ำ และปุ๋ยที่ใช้ควรให้หมดก่อนให้น้ำจะสิ้นสุดเล็กน้อย เพื่อป้องกันการชะล้างปุ๋ยก่อนออกไปจากบริเวณรากพืชหรือตกค้างอยู่บนผิวดิน ซึ่งพืชไม่สามารถนำไปใช้ได้



(Miscellaneous Practices)นอกจากนี้ยังมีวิธีการใส่ปุ๋ยแบบอื่นอีก เช่น การใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมเหลว โดยวิธีอัดปุ๋ยลงไปในดินด้วยเครื่องอัดปุ๋ยซึ่งทำขึ้นมาโดยเฉพาะ การใส่ปุ๋ยเป็นหลุมรอบต้นไม้ผล หรือทำร่องรอบโคนต้นบริเวณทรงพุ่ม ฯลฯ แต่หลักการใส่ก็อยู่ในหลักการตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น



www.bloggang.com/mainblog.php?id=nahoad&month=05...
-
http://gardenone.blogspot.com/2008/09/blog-post_7972.html 









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (3801 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©