หน้า: 1/2
โกสน
โกสนจัดเป็นไม้ประเภทไม้พุ่ม มีขนาดตั้งแต่พุ่มขนาดเล็กจนถึงพุ่มขนาดใหญ่โดยทั่วนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในกระถาง เพื่อให้มีลักษณะเป็น
พุ่มเล็กๆ แต่ถ้าปลูกลงดินและมีอายุหลายปีลำต้นสูงใหญ่เป็นพุ่มขนาดใหญ่ได้เช่นกัน จุดเด่นของโกสนคือเป็นไม้ที่มีใบแปลกไปจากไม้ชนิดอื่นๆ คือ มีรูปร่างลักษณะของใบแตกต่างกันออกไปหลากหลายรูปแบบ มีสีสันของใบหลายสีในใบหรือต้นเดียวกัน ส่วนประกอบของใบ ลักษณะรูปทรงและสี แยกออกได้ดังนี้
ส่วนประกอบของใบ
• พื้นใบ คือส่วนของหน้าใบทั้งหมด
• กระดูกหรือไส้ คือเส้นที่อยู่กลางใบ จากโคนใบไปหาปลายใบ
• หูใบ คือส่วนล่างทั้งสองข้างของกระดูก
• ตะโพกใบ อยู่ถัดจากหูใบขึ้นมาทางปลายใบเล็กน้อย
• สายระโยงหรือสายระยาง คือสายเส้นเล็กๆ ที่แตกออกจากหลังใบบริเวณปลายใบ และจะมีแผ่นใบเล็กๆ ที่ปลายสาย
• ปลายใบงอนปากเป็ด คือลักษณะของใบที่ปลายใบมนๆ และคอดไม่เหยียดตรงอาจงอนไปทางใดทางหนึ่ง
• ปลายใบจีบ มีลักษณะคล้ายปลายงอนปากเป็ด แต่ใบจะเหยียดตรงและทีปลายใบทั้งสองข้างจะจีบเข้าหากัน
ลักษณะรูปทรงใบ
• ใบกลม รูปใบมีลักษณะกลมคล้ายใบบัวบก ลักษณะใบเช่นนี้ส่วนใหญ่จะมีสายเปียระโยง
• ใบกลมค่อนข้างยาว มีลักษณะกลมรี ส่วนใหญ่ปลายใบจะกระดกหรืองุ้มขึ้น กลางใบมีทั้งย่นและเรียบ ลักษณะใบเช่นนี้ส่วนใหญ่จะมีสายเปียระโยง
• ใบกลมย่นไหล่ละคร มีลักษณะคล้ายใบกลมค่อนข้างยาว แต่ปลายใบจะกระดกขึ้นมากกว่า กลางใบนูนขอบใบทั้งสองข้างหลุบลู่ลงเป็นรูปหลังเต่าคล้ายเครื่องแต่งกายที่ประดับบนไหล่ทั้งสองข้างของตัวละคร
• ใบกลมตะโพกกว้าง รูปใบลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะมีหูใบผายตะโพกกว้าง ปลายใบเรียวเล็กลงงอนหรืองุ้มขึ้น
• ใบขนาดกลาง ขนาดของใบตั้งแต่ตะโพกถึงบริเวณกลางใบเกือบเท่ากัน ปลายใบเรียวเล็กลงงอนหรืองุ้มขึ้น ตะโพกใบมน
• ใบขนาดกลางปลายใบมน ลักษณะของใบไม่ยาวมากนัก รูปใบไม่บิด ปลายใบมน บางสายพันธุ์ตะโพกใบแคบบางสายพันธุ์ตะโพกใบกว้าง
• ใบแคบยาวตะโพกเล็กปลายใบจีบ ความกว้างหรือแคบของใบวัดที่บริเวณกลางใบ จากริมใบด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ใบลักษณะนี้จะแคบและยาว ปลายใบจีบ
• ใบยาวกลางใบบิด มีลักษณะคล้ายกับรูปใบแคบยาวตะโพกเล็กปลายใบจีบ แต่ช่วงกลางของใบจะบิด
• ใบยาวกว้างหน้าใบเป็นร่องลึกหลังใบนูน เป็นโกสนรูปใบยาว หน้าใบเป็นร่องคล้ายรางน้ำฝน หลังใบนูน
• ใบสามแฉกหรือใบตรี ลักษณะใบเป็นสามแฉกคล้าย อาวุธตรีศูล หรือ ใบสาเก มีทั้งสั้นและยาว
• ใบขนมเปียกปูน โคนใบและปลายใบแหลม กลางใบพองกางออกคล้ายขนมเปียกปูน
การกัดสีของใบ
โดยส่วนใหญ่แล้วใบอ่อนหรือใบน้องที่ผลิออกจากยอดใหม่ๆ ใบจะมีสีเขียวก่อนแล้วจะเปลี่ยนสีของพื้นใบจากส่วนใดส่วนหนึ่งไปเป็นสีอื่นเมื่อ
ใบมีอายุมากขึ้นเป็นใบพี่ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า กัดสี ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการกัดสีของใบโกสนจะกัดสีจากใบอ่อนสีเขียวมาเป็นสีเหลือง เป็นชมพูอมส้ม และเป็นสีเปลือกมังคุดหรือสีม่วงอมดำตามลำดับ
• กัดสีจากลูกบวบไปหาขอบใบ ที่ด้านหลังของพื้นใบบริเวณกลางใบจะเป็นลอนๆ คล้ายลูกฟูก เรียกว่า ลูกบวบ การกัดสีลักษณะนี้จึงเป็นการกัดสีจากบริเวณกลางใบไล่ไปหาขอบใบ
• กัดจุดประ คือลักษณะของสีที่ต่างกับพื้นใบเป็นจุดเล็กบ้างใหญ่บ้าง แต่ขอบของจุดจะพร่ากลมกลืนกับพื้นใบไม่เห็นขอบชัดเจน
• จุดประ คือลักษณะของสีที่ต่างกับพื้นใบเป็นจุดเล็กบ้างใหญ่บ้าง เห็นเป็นจุดชัดเจน
• กัดสีจากริมใบไปหากระดูก คือลักษณะการกัดสีหรือเปลี่ยนสีจากริมใบไล่เข้ามาหาไส้หรือกระดูก
• ใบแก่หรือใบพี่กัดจากริมใบและใส้หรือกระดูกและพื้นใบจะเปลี่ยนสี เป็นลักษณะการกัดสีจากริมใบและกระดูด เมื่อใบแก่พื้นใบจะเปลี่ยนสี
|
การปลูกเลี้ยงและดูแลรักษา
|
โกสนเป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ชอบดินโปร่งร่วนซุย อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่มีน้ำขังแฉะ มีอินทรีย์วัตถุปานกลาง ดินที่เหมาะในการใช้ปลูกเลี้ยงโกสน
คือดินท้องร่องสวนที่มีส่วนผสมของใบทองหลาง ใบก้ามปู หรือกาบมะพร้าวสับละเอียดถ้าใช้ดินปลูกเป็นดินเหนียวที่แน่นทึบจะทำให้รากเน่าและ
ใบร่วงง่าย ปุ๋ยคอกควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไปเพราะอาจทำให้โกสนสูงชลูดเสียรูปทรงได้ ปุ๋ยเคมีควรใช้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัส
และโปรแตสเซียมสูง จะช่วยให้สีของใบสดใสและเข้มขึ้น ถ้าใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงจะทำให้โกสนมีใบเขียวจัด ลายของสีอื่นๆ จะลดลง แสงแดดก็มีส่วนช่วยให้สีของใบโกสนสวยเป็นเงางาม แต่ไม่ควรให้รับแสงแดดตลอตทั้งวัน การรดน้ำควรรดในปริมาณที่พอเหมาะไม่แฉะเกินไป ควรทำการตัดแต่งกิ่งก้านและใบให้ได้รูปทรงที่สวยงาม รวมทั้งตัดใบและกิ่งที่แก่หรือแห้งออกบ้าง
|
|
การขยายพันธุ์โกสนสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน คือ การปักชำ การตอนกิ่ง การเสียบยอด การติดตาและการเพาะเมล็ด
• การปักชำกิ่ง เป็นวิธีการที่ง่ายและประหยัด คือ ใช้มีดที่คมและสะอาดเลือกตัดกิ่งที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไปมาเป็นกิ่งชำ ชุบโคนกิ่งชำลงในฮอร์โมนเร่งราก เอ็กโซติกฮอร์โมน ประมาณ 3-5 นาที ทิ้งไว้ให้หมาด จากนั้นนำกิ่งชำลงชำในกระถางซึ่งมีขี้เถ้าแกลบผสมกับขุยมะพร้าวในตัตราส่วนเท่าๆ กันเป็นวัสดุปักชำ วางไว้ในที่ร่มที่มีความชื้นสูงรดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง ประมาณ 4-5 สัปดาห์ รากและใบอ่อนก็จะเริ่มงอก จึงย้ายลงปลูกในกระถางใหม่ต่อไป
• การตอนกิ่ง เลือกกิ่งที่ต้องการตอน โดยเลือกจากกิ่งที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ใช้มีดที่คมและสะอาดควั่นหรือบากเอาเปลือกออกรอบลำต้นยาวประมาณ 1-2 ซม. ไช้ฮอร์โมนเร่งราก เอ็กโซติกฮอร์โมน ทารอบรอยควั่นให้ทั่ว ทิ้งไว้พอหมาด จากนั้นใช้ถุงพลาสติกใส่ขุยมะพร้าวให้เต็มรดน้ำให้ชุ่มแล้วรัดปากถุง หรือที่เรียกว่าตุ้มขุยมะพร้าว นำมาผ่าด้านข้างด้านใดด้านหนึ่งแล้วสวมรอยผ่าเข้ากับรอยควั่นของกิ่งตอนให้ขุยมะพร้าวและถุงพลาสติดหุ้มรอบกิ่งตอน ใช้เชือกมัดหัวท้ายตุ้มขุยมะพร้าวให้แน่น ประมาณ 4-6 สัปดาห์ รากก็จะขึ้นเต็มตุ้มขุยมะพร้าวจึงตัดไปปลูกลงกระถางต่อไป
• การเสียบยอด คือการนำยอดของโกสนพันธุ์ดีไปเสียบกับตอของโกสนพันธุ์ที่มีระบบรากและลำต้นแข็งแรงกว่า เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ค่อนข้างยุ่งยากต้องอาศัยความชำนาญและการฝึกหัดเป็นอย่างดี ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ เตรียมต้นตอโดยการหาต้นโกสนที่มีราคาไม่สูง เช่น ตะเพียนทอง มาเป็นต้นตอ และเตรียมโกสนที่มีราคาหรือที่ต้องการจะขยายพันธุ์ไว้ ใช้มีดที่คมและสะอาดตัดยอดของต้นตอออกพร้อมกับบากตอลงไปในลักษณะปากฉลามลึกประมาณ 1/2 ซม. ตัดยอดของต้นพันธุ์ดีพร้อมทั้งเฉือนส่วนปลายสองข้างให้พอดีกับปากฉลามของต้นตอ เสียบลงไปให้ประสานเสมอกันพอดีมัดด้วยเชือกพลาสติก นำต้นตอและยอดที่มัดดีแล้วใส่ในถุงพลาสติกใบใหญ่มัดปากถุงให้แน่นวางไว้ในที่ร่มประมาณ 7 วัน จึงนำออกจากถุง
• การติดตา คือการนำตาของโกสนพันธุ์ดีไปเสียบกับตอของโกสนพันธุ์ที่มีระบบรากและลำต้นแข็งแรงกว่า เป็นวิธีที่ยุ่งยากเช่นเดียวกับการเสียบยอด มีขั้นตอนดังนี้ เตรียมต้นตอโดยการหาต้นโกสนที่มีราคาไม่สูง เช่น ตะเพียนทอง มาเป็นต้นตอ และเตรียมโกสนที่มีราคาหรือที่ต้องการจะขยายพันธุ์ไว้ ตัดยอดของต้นตอพร้อมทั้งปลิดใบบริเวณที่จะติดตาออก ใช้มีดที่คมและสะอาดเฉือนเปลือกต้นตอออกเป็นแนวยาวตามลำต้นประมาณ 1-2 ซม. เฉือนตาต้นพันธุ์ที่ต้องการจะติดตาให้มีใบติดมาด้วยและให้มีขนาดพอๆ กับที่เฉือนต้นตอ แนบตาเข้ากับรอยเฉือนของต้นตอ ใช้เชือกเล็กๆ มัดให้แน่น ใส่ในถุงพลาสติกใบใหญ่มัดปากถุงให้แน่นวางไว้ในที่ร่มประมาณ 7 วัน จึงนำออกจากถุง
• การเพาะเมล็ด เป็นการขยายพันธุ์อีกแบบหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดโกสนพันธุ์ใหม่ นักเลี้ยงโกสนนิยมใช้วิธีช่วยผสมเกสรแล้วเก็บเมล็ดมาเพาะ โดยใช้ทรายหรือขี้เถ้าแกลบเป็นวัสดุในการเพาะ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ก็จะเป็นต้นอ่อน เมื่อต้นอ่อนอายุ 2-3 เดือนจึงย้ายปลูกได้
การผสมพันธุ์
ดอกโกสนจัดเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ คือดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันอยู่คนละดอกในต้นเดียวกัน โดยจะออกดอกที่บริเวณยอดกิ่ง เป็นช่อเล็กๆ ยาวประมาณ 8-10 นิ้ว ตามปกติโกสนจะออกดอกเป็น 2 ช่อ โดยช่อดอกที่มีเกสรตัวเมียจะออกก่อน มีลักษณะก้านดอกสั้น ในหนึ่งช่อมีดอกประมาณ 10-20 ดอก แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5-6 กลีบ มีปลายเกษรตัวเมียเป็น 3 แฉก มีรังไข่ 3 ช่อง อยู่ติดกับก้านดอก ส่วนช่อดอกตัวผู้จะออกตามหลังช่อตัวเมียในยอดเดียวกัน ก้านช่อดอกจะยาวกว่าช่อดอกตัวเมีย ดอกบานเป็นรูปกลมคล้ายดอกกระทุ่ม มีเกสรตัวผู้สีเหลือง เมื่อดอกบานแล้วเกสรตัวผู้จะร่วงจากก้านช่อดอกเพื่อผสมกับเกสรตัวเมียที่ช่อดอกตัวเมีย เมื่อดอกตัวเมียได้รับการผสมกับเกสรตัวผู้ก็จะติดผล ผลอ่อนของโกสนจะมีสีเขียวอ่อน เมื่อแก่ผลจะมีสีม่วงคล้ำเกือบดำขนาดเท่าเม็ดพริกไทยและจะแตกออกพร้อมกับดีดเมล็ดกระเด็นออกไป ระยะตั้งแต่ติดผลจนผลแก่แตกออกจะใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ ในการผสมพันธุ์โกสนเพื่อให้ได้โกสนพันธุ์ใหม่จะใช้วิธีช่วยผสมเกสร โดยนำเกสรตัวผู้จากต้นหนึ่งไปผสมกับเกสรตัวเมียของโกสนอีกต้นหนึ่งที่มีสายพันธุ์คนละสายพันธุ์ เมื่อติดผลจนเป็นผลแก่จึงนำเอาเมล็ดไปเพาะต่อไป
|
|
ที่มา : yalor.yru.ac.th/~research/biodiversity/room1/koson.html
โกสน
ลักษณะโดยทั่วไป
โกสนจัดเป็นไม้ประเภทไม้พุ่ม มีขนาดตั้งแต่พุ่มขนาดเล็กจนถึงพุ่มขนาดใหญ่ โดยทั่วนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในกระถางเพื่อให้มีลักษณะเป็นพุ่มเล็กๆ แต่ถ้าปลูกลงดินและมีอายุหลายปีลำต้นสูงใหญ่เป็นพุ่มขนาดใหญ่ได้เช่นกัน จุดเด่นของโกสนคือเป็นไม้ที่มีใบแปลกไปจากไม้ชนิดอื่นๆ คือ มีรูปร่างลักษณะของใบแตกต่างกันออกไปหลากหลายรูปแบบ มีสีสันของใบหลายสีในใบหรือต้นเดียวกัน ส่วนประกอบของใบ ลักษณะรูปทรงและสี แยกออกได้ดังนี้
ส่วนประกอบของใบ
- พื้นใบ คือส่วนของหน้าใบทั้งหมด
- กระดูกหรือไส้ คือเส้นที่อยู่กลางใบ จากโคนใบไปหาปลายใบ
- หูใบ คือส่วนล่างทั้งสองข้างของกระดูก
- ตะโพกใบ อยู่ถัดจากหูใบขึ้นมาทางปลายใบเล็กน้อย
- สายระโยงหรือสายระยาง คือสายเส้นเล็กๆ ที่แตกออกจากหลังใบบริเวณปลายใบ และจะมีแผ่นใบเล็กๆ ที่ปลายสาย
- ปลายใบงอนปากเป็ด คือลักษณะของใบที่ปลายใบมนๆ และคอดไม่เหยียดตรงอาจงอนไปทางใดทางหนึ่ง
- ปลายใบจีบ มีลักษณะคล้ายปลายงอนปากเป็ด แต่ใบจะเหยียดตรงและทีปลายใบทั้งสองข้างจะจีบเข้าหากัน
ลักษณะรูปทรงใบ
- ใบกลม รูปใบมีลักษณะกลมคล้ายใบบัวบก ลักษณะใบเช่นนี้ส่วนใหญ่จะมีสายเปียระโยง
- ใบกลมค่อนข้างยาว มีลักษณะกลมรี ส่วนใหญ่ปลายใบจะกระดกหรืองุ้มขึ้น กลางใบมีทั้งย่นและเรียบ ลักษณะใบเช่นนี้ส่วนใหญ่จะมีสายเปียระโยง
- ใบกลมย่นไหล่ละคร มีลักษณะคล้ายใบกลมค่อนข้างยาว แต่ปลายใบจะกระดกขึ้นมากกว่า กลางใบนูนขอบใบทั้งสองข้างหลุบลู่ลงเป็นรูปหลังเต่าคล้ายเครื่องแต่งกายที่ประดับบนไหล่ทั้งสองข้างของตัวละคร
- ใบกลมตะโพกกว้าง รูปใบลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะมีหูใบผายตะโพกกว้าง ปลายใบเรียวเล็กลงงอนหรืองุ้มขึ้น
- ใบขนาดกลาง ขนาดของใบตั้งแต่ตะโพกถึงบริเวณกลางใบเกือบเท่ากัน ปลายใบเรียวเล็กลงงอนหรืองุ้มขึ้น ตะโพกใบมน
- ใบขนาดกลางปลายใบมน ลักษณะของใบไม่ยาวมากนัก รูปใบไม่บิด ปลายใบมน บางสายพันธุ์ตะโพกใบแคบบางสายพันธุ์ตะโพกใบกว้าง
- ใบแคบยาวตะโพกเล็กปลายใบจีบ ความกว้างหรือแคบของใบวัดที่บริเวณกลางใบ จากริมใบด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ใบลักษณะนี้จะแคบและยาว ปลายใบจีบ
- ใบยาวกลางใบบิด มีลักษณะคล้ายกับรูปใบแคบยาวตะโพกเล็กปลายใบจีบ แต่ช่วงกลางของใบจะบิด
- ใบยาวกว้างหน้าใบเป็นร่องลึกหลังใบนูน เป็นโกสนรูปใบยาว หน้าใบเป็นร่องคล้ายรางน้ำฝน หลังใบนูน
- ใบสามแฉกหรือใบตรี ลักษณะใบเป็นสามแฉกคล้าย อาวุธตรีศูล หรือ ใบสาเก มีทั้งสั้นและยาว
- ใบขนมเปียกปูน โคนใบและปลายใบแหลม กลางใบพองกางออกคล้ายขนมเปียกปูน
การกัดสีของใบ
โดยส่วนใหญ่แล้วใบอ่อนหรือใบน้องที่ผลิออกจากยอดใหม่ๆ ใบจะมีสีเขียวก่อน แล้วจะเปลี่ยนสีของพื้นใบจากส่วนใดส่วนหนึ่งไปเป็นสีอื่นเมื่อใบมีอายุมากขึ้นเป็นใบพี่ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า กัดสี ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการกัดสีของใบโกสนจะกัดสีจากใบอ่อนสีเขียวมาเป็นสีเหลือง เป็นชมพูอมส้ม และเป็นสีเปลือกมังคุดหรือสีม่วงอมดำตามลำดับ
- กัดสีจากลูกบวบไปหาขอบใบ ที่ด้านหลังของพื้นใบบริเวณกลางใบจะเป็นลอนๆ คล้ายลูกฟูก เรียกว่า ลูกบวบ การกัดสีลักษณะนี้จึงเป็นการกัดสีจากบริเวณกลางใบไล่ไปหาขอบใบ
- กัดจุดประ คือลักษณะของสีที่ต่างกับพื้นใบเป็นจุดเล็กบ้างใหญ่บ้าง แต่ขอบของจุดจะพร่ากลมกลืนกับพื้นใบไม่เห็นขอบชัดเจน
- จุดประ คือลักษณะของสีที่ต่างกับพื้นใบเป็นจุดเล็กบ้างใหญ่บ้าง เห็นเป็นจุดชัดเจน
- กัดสีจากริมใบไปหากระดูก คือลักษณะการกัดสีหรือเปลี่ยนสีจากริมใบไล่เข้ามาหาไส้หรือกระดูก
- ใบแก่หรือใบพี่กัดจากริมใบและใส้หรือกระดูกและพื้นใบจะเปลี่ยนสี เป็นลักษณะการกัดสีจากริมใบและกระดูด เมื่อใบแก่พื้นใบจะเปลี่ยนสี
|
การปลูกเลี้ยงและดูแลรักษา
โกสนเป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ชอบดินโปร่งร่วนซุย อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่มีน้ำขังแฉะ มีอินทรีย์วัตถุปานกลาง ดินที่เหมาะในการใช้ปลูกเลี้ยงโกสนคือดินท้องร่องสวนที่มีส่วนผสมของใบทองหลาง ใบก้ามปู หรือกาบมะพร้าวสับละเอียด ถ้าใช้ดินปลูกเป็นดินเหนียวที่แน่นทึบจะทำให้รากเน่าและใบร่วงง่าย ปุ๋ยคอกควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไปเพราะอาจทำให้โกสนสูงชลูดเสียรูปทรงได้ ปุ๋ยเคมีควรใช้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสและโปรแตสเซียมสูง จะช่วยให้สีของใบสดใสและเข้มขึ้น ถ้าใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงจะทำให้โกสนมีใบเขียวจัด ลายของสีอื่นๆ จะลดลง แสงแดดก็มีส่วนช่วยให้สีของใบโกสนสวยเป็นเงางาม แต่ไม่ควรให้รับแสงแดดตลอตทั้งวัน การรดน้ำควรรดในปริมาณที่พอเหมาะไม่แฉะเกินไป ควรทำการตัดแต่งกิ่งก้านและใบให้ได้รูปทรงที่สวยงาม รวมทั้งตัดใบและกิ่งที่แก่หรือแห้งออกบ้าง
|
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์โกสนสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน คือ การปักชำ การตอนกิ่ง การเสียบยอด การติดตาและการเพาะเมล็ด
-
การปักชำกิ่ง เป็นวิธีการที่ง่ายและประหยัด คือ ใช้มีดที่คมและสะอาดเลือกตัดกิ่งที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไปมาเป็นกิ่งชำ ชุบโคนกิ่งชำลงในฮอร์โมนเร่งราก เอ็กโซติกฮอร์โมน ประมาณ 3-5 นาที ทิ้งไว้ให้หมาด จากนั้นนำกิ่งชำลงชำในกระถางซึ่งมีขี้เถ้าแกลบผสมกับขุยมะพร้าวในตัตราส่วนเท่าๆ กันเป็นวัสดุปักชำ วางไว้ในที่ร่มที่มีความชื้นสูงรดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง ประมาณ 4-5 สัปดาห์ รากและใบอ่อนก็จะเริ่มงอก จึงย้ายลงปลูกในกระถางใหม่ต่อไป
-
การตอนกิ่ง เลือกกิ่งที่ต้องการตอน โดยเลือกจากกิ่งที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ใช้มีดที่คมและสะอาดควั่นหรือบากเอาเปลือกออกรอบลำต้นยาวประมาณ 1-2 ซม. ไช้ฮอร์โมนเร่งราก เอ็กโซติกฮอร์โมน ทารอบรอยควั่นให้ทั่ว ทิ้งไว้พอหมาด จากนั้นใช้ถุงพลาสติกใส่ขุยมะพร้าวให้เต็มรดน้ำให้ชุ่มแล้วรัดปากถุง หรือที่เรียกว่าตุ้มขุยมะพร้าว นำมาผ่าด้านข้างด้านใดด้านหนึ่งแล้วสวมรอยผ่าเข้ากับรอยควั่นของกิ่งตอนให้ขุยมะพร้าวและถุงพลาสติดหุ้มรอบกิ่งตอน ใช้เชือกมัดหัวท้ายตุ้มขุยมะพร้าวให้แน่น ประมาณ 4-6 สัปดาห์ รากก็จะขึ้นเต็มตุ้มขุยมะพร้าวจึงตัดไปปลูกลงกระถางต่อไป
-
การเสียบยอด คือการนำยอดของโกสนพันธุ์ดีไปเสียบกับตอของโกสนพันธุ์ที่มีระบบรากและลำต้นแข็งแรงกว่า เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ค่อนข้างยุ่งยากต้องอาศัยความชำนาญและการฝึกหัดเป็นอย่างดี ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ เตรียมต้นตอโดยการหาต้นโกสนที่มีราคาไม่สูง เช่น ตะเพียนทอง มาเป็นต้นตอ และเตรียมโกสนที่มีราคาหรือที่ต้องการจะขยายพันธุ์ไว้ ใช้มีดที่คมและสะอาดตัดยอดของต้นตอออกพร้อมกับบากตอลงไปในลักษณะปากฉลามลึกประมาณ 1/2 ซม. ตัดยอดของต้นพันธุ์ดีพร้อมทั้งเฉือนส่วนปลายสองข้างให้พอดีกับปากฉลามของต้นตอ เสียบลงไปให้ประสานเสมอกันพอดีมัดด้วยเชือกพลาสติก นำต้นตอและยอดที่มัดดีแล้วใส่ในถุงพลาสติกใบใหญ่มัดปากถุงให้แน่นวางไว้ในที่ร่มประมาณ 7 วัน จึงนำออกจากถุง
-
การติดตา คือการนำตาของโกสนพันธุ์ดีไปเสียบกับตอของโกสนพันธุ์ที่มีระบบรากและลำต้นแข็งแรงกว่า เป็นวิธีที่ยุ่งยากเช่นเดียวกับการเสียบยอด มีขั้นตอนดังนี้ เตรียมต้นตอโดยการหาต้นโกสนที่มีราคาไม่สูง เช่น ตะเพียนทอง มาเป็นต้นตอ และเตรียมโกสนที่มีราคาหรือที่ต้องการจะขยายพันธุ์ไว้ ตัดยอดของต้นตอพร้อมทั้งปลิดใบบริเวณที่จะติดตาออก ใช้มีดที่คมและสะอาดเฉือนเปลือกต้นตอออกเป็นแนวยาวตามลำต้นประมาณ 1-2 ซม. เฉือนตาต้นพันธุ์ที่ต้องการจะติดตาให้มีใบติดมาด้วยและให้มีขนาดพอๆ กับที่เฉือนต้นตอ แนบตาเข้ากับรอยเฉือนของต้นตอ ใช้เชือกเล็กๆ มัดให้แน่น ใส่ในถุงพลาสติกใบใหญ่มัดปากถุงให้แน่นวางไว้ในที่ร่มประมาณ 7 วัน จึงนำออกจากถุง
-
การเพาะเมล็ด เป็นการขยายพันธุ์อีกแบบหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดโกสนพันธุ์ใหม่ นักเลี้ยงโกสนนิยมใช้วิธีช่วยผสมเกสรแล้วเก็บเมล็ดมาเพาะ โดยใช้ทรายหรือขี้เถ้าแกลบเป็นวัสดุในการเพาะ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ก็จะเป็นต้นอ่อน เมื่อต้นอ่อนอายุ 2-3 เดือนจึงย้ายปลูกได้
|
การผสมพันธุ์
ดอกโกสนจัดเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ คือดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันอยู่คนละดอกในต้นเดียวกัน โดยจะออกดอกที่บริเวณยอดกิ่ง เป็นช่อเล็กๆ ยาวประมาณ 8-10 นิ้ว ตามปกติโกสนจะออกดอกเป็น 2 ช่อ โดยช่อดอกที่มีเกสรตัวเมียจะออกก่อน มีลักษณะก้านดอกสั้น ในหนึ่งช่อมีดอกประมาณ 10-20 ดอก แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5-6 กลีบ มีปลายเกษรตัวเมียเป็น 3 แฉก มีรังไข่ 3 ช่อง อยู่ติดกับก้านดอก ส่วนช่อดอกตัวผู้จะออกตามหลังช่อตัวเมียในยอดเดียวกัน ก้านช่อดอกจะยาวกว่าช่อดอกตัวเมีย ดอกบานเป็นรูปกลมคล้ายดอกกระทุ่ม มีเกสรตัวผู้สีเหลือง เมื่อดอกบานแล้วเกสรตัวผู้จะร่วงจากก้านช่อดอกเพื่อผสมกับเกสรตัวเมียที่ช่อดอกตัวเมีย เมื่อดอกตัวเมียได้รับการผสมกับเกสรตัวผู้ก็จะติดผล ผลอ่อนของโกสนจะมีสีเขียวอ่อน เมื่อแก่ผลจะมีสีม่วงคล้ำเกือบดำขนาดเท่าเม็ดพริกไทยและจะแตกออกพร้อมกับดีดเมล็ดกระเด็นออกไป ระยะตั้งแต่ติดผลจนผลแก่แตกออกจะใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ ในการผสมพันธุ์โกสนเพื่อให้ได้โกสนพันธุ์ใหม่จะใช้วิธีช่วยผสมเกสร โดยนำเกสรตัวผู้จากต้นหนึ่งไปผสมกับเกสรตัวเมียของโกสนอีกต้นหนึ่งที่มีสายพันธุ์คนละสายพันธุ์ เมื่อติดผลจนเป็นผลแก่จึงนำเอาเมล็ดไปเพาะต่อไป
|
ที่มา : www.oknation.net/blog/Anurak/2007/12/12/entry-9