หน้า: 1/2
มะลิ
พันธุ์
มะลิโดยทั่วไปจะมีอยู่ด้วยกันหลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกเป็นการค้า ได้แก่ มะลิลา ซึ่งมีลักษณะเป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ ตรงกันข้าม ใบเป็นรูปไข่ ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อสีขาว ช่อละ 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน มีกลิ่นหอม มะลิลาที่เป็นพันธุ์ส่งเสริมได้แก่
|
พันธุ์แม่กลอง
พันธุ์ราษฎร์บูรณะ
พันธุ์ชุมพร |
ลักษณะ
|
พันธุ์แม่กลอง |
พันธุ์ราษฎร์บูรณะ |
พันธุ์ชุมพร |
ทรงต้น |
ทรงพุ่มใหญ่ หนาและทึบ
เจริญเติบโตเร็ว |
ทรงพุ่มเล็กกว่า และค่อนข้างทึบ |
คล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะ
แต่ทรงพุ่มโปร่งกว่าเล็กน้อย |
ใบ |
ใหญ่หนา สีเขียวเข้มจนออกดำ
รูปใบค่อนข้างกลม ปลายใบมน |
ใบเล็กกว่า สีเขียวเข้ม รูปใบเรียว |
ใบคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะ
แต่เรียวกว่า สีอ่อนกว่าและบางกว่า |
ช่วงข้อใบ |
ห่าง |
ค่อนข้างถี่ |
ถี่ |
ดอก |
ใหญ่ กลม |
เล็ก เรียวแหลม |
คล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะ |
ช่อดอก |
มักมี 1 ชุด
ชุดละ 3 ดอก |
มักมี 1-2 ชุด
ชุดละ 3 ดอก |
มักมีมากกว่า 2 ชุด
ชุดละ 3 ดอก |
ผลผลิต |
ดอกไม่ดก |
ดอกดก ทะยอยให้ดอก |
ดอกดกมาก
แต่ทิ้งระยะห่างเป็นช่วง ๆ |
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ ที่นิยมทำกันมากที่สุด คือการปักชำ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายสะดวกและรวดเร็ว โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. เตรียมวัสดุเพาะชำ โดยใช้ทรายผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1:1 บรรจุในตะกร้าพลาสติกที่เตรียมไว้ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
2. การเตรียมกิ่งพันธุ์ กิ่งที่ใช้จะเป็นกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน ตัดให้มีความยาวของกิ่งประมาณ 4 นิ้ว หรือมีข้ออย่างน้อย 3 ข้อ การตัดกิ่งควรจะตัดให้ชิดข้อ ริดใบส่วนล่างออกให้เหลือใบคู่บนสุด 1 คู่ ตัดใบออกให้เหลือเพียง 1/2 ใบ เพื่อลดการคายน้ำ ถ้าต้องการเร่งรากควรนำกิ่งมะลิไปจุ่มในฮอร์โมน IBA [Indole Butyric Acid] และ NAA [Naphthalene Acetic Acid] ในอัตราส่วน 1:1 ความเข้มข้น 4,500 ppm
3. นำกิ่งมะลิที่เตรียมไว้ปักชำลงในภาชนะเพาะ โดยปักเรียงเป็นแถว ให้มีระยะห่างระหว่างแถวและกิ่ง 2 x 2 นิ้ว จากนั้นรดน้ำและสารกันรา เช่น แคปแทน และสารเคมีกำจัดแมลง เช่น เซฟวิน
4. รักษาความชื้นให้เหมาะสมและคงที่ โดยนำเอาภาชนะเพาะชำ (ตะกร้าพลาสติก) ไปวางไว้ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ มัดปากถุงให้แน่น (มัดให้สูง) นำไปผูกไว้ที่กิ่งหรือท่อนไม้ เพื่อไม่ให้ปากถุงกดทับกิ่งชำ แล้วนำไปวางไว้ในที่ร่ม ถ้าเป็นมะลิลากิ่งปักชำจะออกรากภายใน 3 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นมะลิซ้อนจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
5. หลังจากกิ่งปักชำออกรากแล้วให้นำไปเลี้ยงต่อในถุงขนาด 2x3 นิ้ว โดยใส่ดิน, ขุยมะพร้าว และปุ๋ยคอก อัตรา 3:1:1 จนต้นมะลิแข็งแรงดีแล้ว จึงนำไปปลูกต่อไป
ในกรณีที่ต้องการขยายพันธุ์เพื่อเป็นการค้า ให้ปักชำในกระบะปักชำที่สร้างไว้ในที่ร่ม เช่น ในเรือนเพาะชำ ขนาดของกระบะอาจจะใช้ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 20 เมตร สูง 80 เซนติเมตร หรือขนาดอื่นก็ได้ตามความเหมาะสม ใช้ขี้เถ้าแกลบเก่า ๆ เป็นวัสดุปักขำ โดยใส่ลงในกระบะประมาณ 50 เซนติเมตร ระยะห่างของกิ่งที่ใช้ปักชำประมาณ 2 นิ้ว และระยะระหว่างแถวประมาณ 2 นิ้ว เมื่อชำเสร็จแล้วให้ใช้พลาสติกใสปิดกระบะให้มิดชิด ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ กิ่งมะลิจะออกรากประมาณ 90% ของมะลิทั้งหมด เมื่อมะลิออกรากแล้ว ให้สังเกตดูความสมบูรณ์ของรากก่อนที่จะย้ายลงปลูกในถุงพลาสติกหรือในแปลง การปักชำวิธีนี้จะได้จำนวนต้นครั้งละมาก ๆ และเปอร์เซ็นต์การออกรากสูง แต่มีข้อควรระวังคือ การปักชำในกระบะซ้ำ ๆ กันหลายครั้งอาจเกิดโรคราขึ้นได้ ดังนั้นควรใช้สารเคมีป้องกันราราด หรือฉีดพ่นลงในกระบะขณะปักชำด้วย
การปลูก
ควรจะปลูกให้มะลิได้รับแสงแดดเต็มที่ เพื่อดอกจะได้ดกตามต้องการ
|
|
นิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม |
มะลิชอบดินร่วนซุยมีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารสมบูรณ์ |
หากจะปลูกมะลิให้มีอายุยืนยาว ควรขุดหลุมลึก กว้าง และยาวด้านละ 50 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอก ใบไม้ผุหรือปุ๋ยหมัก และวัสดุอื่น ๆ ในอัตราส่วน 1:1:1 พร้อมกับเติมปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) และปุ๋ยผสมสูตร 15-15-15 อย่างละ 1 กำมือ คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วใส่กลับลงไปในหลุมใหม่ ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน จึงนำเอาต้นมะลิที่ซื้อมา หรือได้จากการปักชำลงปลูก |
การดูแลรักษา
1. การกำจัดวัชพืช ปกติชาวสวนนิยมใช้กรัมม๊อกโซนฉีดตามร่องปลูกทุกเดือน โดยไม่ให้โดนต้นมะลิ
2. การใส่ปุ๋ย ให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตราการใส่ปุ๋ยขึ้นอยู่กับขนาดของทรงพุ่ม ใส่เดือนละครั้ง โดยการหว่านและรดน้ำตามด้วย
3. การตัดแต่ง หลังจากปลูกมะลิไปนาน ๆ แล้วมะลิจะแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ควรตัดแต่ทรงพุ่มให้โปร่ง รวมทั้งตัดกิ่งที่แห้งและตายออกด้วย จะช่วยให้มะลิมีทรงพุ่มสวยงาม โรคและแมลงลดน้อยลง มะลิมีอายุยืนยาวขึ้น ให้ดอกมากขึ้น พร้อมทั้ง จะช่วยให้เกษตรกรมีความสะดวกในการปฏิบัติงานอีกด้วย
4. การให้น้ำ มะลิจะต้องการน้ำพอสมควร หากดินยังแฉะอยู่ไม่ควรรดน้ำ ควรรอจนกว่าดินจะแห้งหมาด ๆ เสียก่อน ทั้งนี้อาจให้น้ำวันละ 1-2 ครั้งหรืออาทิตย์ละครั้งก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพของดิน โดยให้รดน้ำในตอนเช้า แต่ระวังอย่าให้น้ำท่วม หรือมีน้ำขังอยู่ในแปลงนาน ๆ เพราะจะทำให้ต้นมะลิแคระแกร็น ใบเหลือง และตายได้
เนื่องจากในฤดูหนาว มะลิจะออกดอกน้อย แต่ตลาดมีความต้องการในปริมาณที่สูง จึงทำให้มะลิมีราคา แพงกว่าปกติ ดังนั้นหากเกษตรกรสามารถทำให้มะลิออกดอกในฤดูหนาวได้ ก็จะทำให้มีรายได้ดีจากการปลูกมะลิ ปัจจัย สำคัญที่ทำให้มะลิออกดอกในฤดูหนาวมี 2 ข้อดังนี้
1. ตัดแต่งกิ่ง
โดยทำการตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งที่เป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย กิ่งไขว้ล้มเอนไม่เป็นระเบียบ และ กิ่งเลื้อย ซึ่งวิธีการตัดแต่งกิ่งมี 2 วิธี คือ
- แบบเหลือกิ่งไว้กับต้นยาว โดยตัดแต่งกิ่งออกเพียงเล็กน้อยให้เหลือกิ่งสมบูรณ์ไว้กับต้นมาก ๆ การตัดแต่งกิ่งวิธีนี้เหมาะกับมะลิที่มีอายุน้อย
- แบบเหลือกิ่งไว้กับต้นสั้น โดยตัดแต่งกิ่งให้เหลือเพียง 3-4 กิ่ง แต่ละกิ่งยาวประมาณ 1-1.5 ฟุต
การตัดแต่งกิ่งวิธีนี้ใช้กับมะลิอายุ 2 ปีขึ้นไป มะลิมีช่วงระยะเวลาตั้งแต่เก็บดอก จนถึงตากิ่งเจริญให้ดอกใหม่อีกครั้งประมาณ 6 สัปดาห์ ดังนั้น ถ้าเกษตรกรต้องการให้มะลิออกดอกในเดือนใด ก็ต้องนับย้อนเวลาตัดแต่งกิ่งถอยหลังไป 6 สัปดาห์ และถ้าต้องการให้แปลงมะลิทุกแปลงออกดอกพร้อมกันหมด เวลาตัดแต่งกิ่งก็ตัดให้หมดทุกแปลงเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นเมื่อต้องการให้มะลิออกดอกในฤดูหนาว ระยะเวลาที่เหมาะสมในการตัดแต่งกิ่งคือ ช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน
2. การบำรุงรักษาต้นและดอก
2.1 การบำรุงต้น เมื่อตัดแต่งกิ่งมะลิแล้ว จำเป็นมากที่ผู้ปลูกจะต้องบำรุงต้นมะลิให้สมบูรณ์ โดยการใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอกใส่ได้ไม่จำกัด ส่วนปุ๋ยเคมีใส่เดือนละครั้ง สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือสูตร 15-15-15 ใช้ในอัตรา 1-2 ช้อนแกง/ต้น
2.2 การบำรุงดอกในฤดูหนาว นอกจากมะลิจะออกดอกน้อยแล้ว ยังมีขนาดเล็กอีกด้วย ดังนั้น จึงควรให้ปุ๋ยทางใบที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูง เช่น สูตร 10-45-10 ฉีดพ่นหลังใบ ในอัตรา 3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร โดยฉีดพ่นทุก 10 วัน แนะนำให้ใช้ในฤดูหนาวเท่านั้น สำหรับฤดูอื่นไม่แนะนำให้ใช้ปุ๋ยทางใบ เนื่องจากมะลิมีราคาไม่สูงซึ่งไม่คุ้มกับการลงทุน
การใช้สารไทโอยูเรียเร่งการออกดอกในฤดูหนาว
สารไทโอยูเรียมีผลต่อการชักนำให้มะลิออกดอก จากการวิจัยเกี่ยวกับการบังคับให้มะลิออกดอกในฤดูหนาวได้นั้น พบว่า สารไทโอยูเรียเป็นสารที่มีผลทำลายการพักตัวของมะลิ และเร่งการออกดอกของมะลิ ในฤดูหนาวได้เป็นผลสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
1. ตัดแต่งกิ่งมะลิในเดือนกันยายน
2. ให้ปุ๋ยและน้ำเพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์ โดยใช้ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กรัมต่อต้นในเดือนกันยายนและตุลาคม
3. พ่นสารไทโอยูเรีย 1% (ไทโอยูเรีย 200 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร) ในเดือนพฤศจิกายน
มะลิจะออกดอกหลังจากพ่นสารไทโอยูเรียแล้วประมาณ 20 วัน และเก็บดอกต่อเนื่องไปอีก 1 เดือน นอกจากนี้ยังพบอีกว่า การให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงร่วมกับการพ่นสารไทโอยูเรีย ก็จะมีผลต่อการเพิ่มปริมาณดอกได้ดีขึ้นอีก
จากการปฏิบัติดังกล่าว เราสามารถบังคับมะลิให้มะลิออกดอกในช่วงที่ต้องการได้คือ ในเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ซึ่ง เป็นช่วงฤดูหนาวดอกมะลิมีราคาแพง
|
การปลูกมะลิกางมุ้ง
เป็นวิธีการปฏิบัติ เพื่อลดต้นทุนทางด้านการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดแมลง และรักษาสภาพแวดล้อม โดยใช้ตาข่ายคลุมแปลงมะลิ จะคลุมเฉพาะช่วงกลางคืนเท่านั้น เพื่อป้องกันการวางไข่ของหนอนผีเสื้อกลางคืน ซึ่งเป็นหนอนกัดกินดอกมะลิ สาเหตุที่ไม่คลุมช่วงกลางวันก็เพราะว่า มะลิต้องการแสงแดดจัดเพื่อการออกดอก ถ้ามะลิได้รับแสงน้อยมะลิจะให้ดอกไม่ดก การปฏิบัติเช่นนี้ จะเพิ่มต้นทุนด้านค่าใช้จ่ายแรงงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องใช้แรงงานในการเปิด - ปิดตาข่าย แต่เมื่อเทียบกับการใช้สารเคมีแล้ว ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นยังน้อยกว่าการใช้สารเคมี ดังนั้น วิธีนี้จึงเหมาะที่จะใช้กับแปลงมะลิมาก |
การเก็บเกี่ยวดอกมะลิต้องเก็บขณะดอกตูม มีความเจริญเต็มที่ มีลักษณะสีขาวนวล วิธีเก็บให้ใช้มือเด็ดตรงก้านดอกใต้กลีบเลี้ยง เกษตรกรมักเก็บดอกตอนเช้ามืด ประมาณ 03.00-04.00 น. ทั้งนี้เพื่อจะส่งตลาดตอนเช้าตรู่
ราคาของดอกมะลิจะขึ้นอยู่กับฤดูกาล ในฤดูหนาวจะแพงมาก ราคาที่ปากคลองตลาด ในบางวันของบางปีจะมีราคาลิตรละ 600-700 บาท ส่วนฤดูร้อนและฤดูฝนราคาจะถูกเฉลี่ยประมาณ 30 บาท โดยปกติพบว่าผลผลิตเฉลี่ยมีดังนี้
อายุ 1 ปี ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,000 - 2,000 ลิตร/ไร่
อายุ 2 ปี ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 3,000 - 4,000 ลิตร/ไร่
อายุ 3 ปี ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 3,000 ลิตร/ไร่ และหลังจากนั้นแล้วผลผลิตจะเริ่มลดลงเรื่อย ๆ
ในการส่งออกดอกมะลิ มักจะพบปัญหาดอกช้ำเน่าเสียเมื่อถึงปลายทาง ดังนั้น การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวจนถึงบรรจุหีบห่อเพื่อส่งออกให้ดอกมะลิได้รับความเสียหายน้อยที่สุดนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ จากการทดลองของ ชณิฏฐ์ศิริ สุยสุวรรณ และบุญลือ กล้าหาญ ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยการเปรียบเทียบการลดอุณหภูมิของดอกมะลิด้วยการใช้ความเย็น โดยการใช้ความเย็นจากน้ำแข็งในกล่องโฟมและการใช้ความเย็นจากน้ำแข็งในถังสังกะสีพบว่า วิธีการลดอุณหภูมิโดยการใช้ความเย็นจากน้ำแข็งในกล่องโฟมช่วยรักษาความสดของดอกมะลิและเกิดความเสียหายหรือชอกช้ำน้อยที่สุด ซึ่งวิธีการดังกล่าว มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เก็บเกี่ยวดอกมะลิจากสวน |
ขั้นตอนที่ 2 ลดอุณหภูมิของดอกมะลิด้วยความเย็น จากน้ำแข็งในกล่องโฟมที่ปูพื้นกล่องด้วยน้ำแข็งเกล็ด นำดอกมะลิบรรจุในถุงพลาสติกวางลงในกล่องและปูทับด้วยน้ำแข็งเกล็ด เก็บรักษาไว้ 3 ชั่วโมง |
ขั้นตอนที่ 3 บรรจุดอกมะลิในถุงพลาสติกใหญ่ และนำส่งผู้ซื้อ |
ขั้นตอนที่ 4 ลดอุณหภูมิดอกมะลด้วยน้ำเย็น อุณหภูมิประมาณ 23 องศาเซลเซียส จนดอกสดแข็ง |
ขั้นตอนที่ 5 บรรจุดอกมะลิในถุงพลาสติกเล็ก ถุงละ 500 กรัม มัดปากถุงบรรจุในกล่องโฟม ซึ่งรองพื้นและปูทับด้วยน้ำแข็งเกล็ด เมื่อครบ 6 ชั่วโมง ให้เปลี่ยนเป็นบรรจุน้ำแข็งในถุงพลาสติก และใช้น้ำแข็งรองพื้นและปูทับถุงมะลิ เก็บรักษาไว้ 11 ชั่วโมง ก็นำมาวางผึ่งในที่ที่มีอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส |
1. โรครากเน่า เกิดจากเชื้อรา จัดได้ว่าเป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่ง จะเกิดกับมะลิที่มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป โดยจะมีอาการใบเหลือง เหี่ยวและทิ้งใบต้นแห้งตาย เมื่อขุดดูจะพบว่ารากเน่าเปื่อย และที่โคนต้นจะพบเส้นใยสีขาว มักระบาดในสภาพดินที่เป็นกรด และพื้นที่ที่ปลูกซ้ำเป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัด
- เมื่อพบต้นที่เป็นโรค ให้ถอนเผาไฟทำลายเสีย รวมทั้งเผาดินในหลุมด้วย แล้วใช้ปูนขาว หรือเทอราคลอผสมน้ำราดลงดิน
- ถ้าระบาดทั่วสวน ให้เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นๆ ก่อนประมาณ 4-5 ปี
- ถ้าต้องการปลูกซ้ำที่เดิม ก็ควรมีการปรับดินด้วยการใส่ปูนขาวและปุ๋ยคอก |
|
2. โรคแอนแทรกโนส เกิดจากเชื้อรา โดยจะเริ่มมีจุดสีน้ำตาลอ่อนบนใบ และขยายลุกลามออกไป ขอบแผลเป็นสีน้ำตาลแก่เห็นได้ชัด แผลที่ขยายออกไปมีลักษณะเป็นรอยวงกลมซ้อนกัน เนื้อเยื่อขอบแผลแห้งกรอบ เวลาอากาศชื้น ๆ บริเวณตรงกลางจะพบสปอร์เกิดเป็นหยดสีส้มอ่อน ๆ ขนาดแผลขยายใหญ่ไม่มีขอบเขตกำจัด จนดูเหมือนโรคใบแห้ง เชื้อราชนิดนี้แพร่ระบาดได้โดยปลิวไปกับลมหรือถูกฝนชะล้าง
การป้องกันกำจัด
ทำได้โดยการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดเทนเอ็ม 45 |
3. โรครากปม
เกิดจากไส้เดือนฝอย โรคนี้จะพบได้เฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น คือใบจะมีสีเหลืองด่าง ๆ ทั่วทั้งใบ คล้ายกับอาการขาดธาตุอาหาร ทั้งนี้เนื่องจากไส้เดือนฝอยจะไปอุดท่อน้ำท่ออาหารไว้ เมื่อถอนต้นดูจะพบว่ามีรากปมเล็ก ๆ อยู่ทั่วไป ถ้าเฉือนปมนี้ออกดูจะพบถุงสีขาวเล็ก ๆ ขนาดเมล็ดผักกาดฝังอยู่
การป้องกันกำจัด
- ปลูกมะลิหมุนเวียนสลับกับพืชชนิดอื่น ๆ
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากขึ้น
- ขุดต้นที่เป็นโรคนี้เผาไฟทำลายเสีย
- ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด เช่น ฟูราดาน ไวย์เดท-แอล
แมลงศัตรูที่สำคัญ
1. หนอนเจาะดอก
ลำตัวมีขนาดเล็ก สีเขียว ปากหรือหัวดำ ระบาดมากในฤดูฝน ทำให้ดอกเสียหายมาก โดยการเจาะกัดกินดอก ทำให้ดอกเป็นรูและผิดรูปร่าง เมื่อหนอนดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกจะทำให้กลีบดอกเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมม่วง จะพบการทำลายของหนอนเจาะดอกนี้มากกว่าแมลงตัวอื่น ๆ หากป้องกันกำจัดไม่ทันจะเกิดความเสียหายมาก
การป้องกันกำจัด
1. เก็บเศษพืชที่หล่นบริเวณโคนต้นเผาทำลาย เพื่อป้องกันดักแด้ของหนอนเจาะดอก
2. ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัด เช่น แลนเนท
3. ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของตัวแก่ได้
4. การใช้กับดักแสงไฟ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดการทำลายของหนอนเจาะดอกมะลิ และช่วยลดปริมาณการพ่นสารเคมีอีกด้วย
กับดักแสงไฟ ที่นิยมใช้มี 3 ชนิด คือ
|
- หลอดไฟนีออน [Fluorescent] เป็นหลอดทั่วไปที่ใช้ในบ้านเรือน นิยมใช้ติดตั้งเพื่อจับแมลง เพราะหาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพงนัก
- หลอดไฟแสงสีม่วง [Black light] เป็นหลอดสีดำให้แสงสีม่วง มีประสิทธิภาพในการล่อแมลงดีกว่าหลอดไฟนีออน แต่หาซื้อยาก เนื่องจากราคาแพง และเป็นอันตรายต่อเยื่อบุนัยน์ตา
- หลอดไฟแสงสีฟ้า [Blue light) เป็นหลอดสีขาวเหมือนหลอดไฟนีออนให้แสงสีฟ้า นิยมใช้ล่อจับแมลงเช่นเดียวกับหลอดสีม่วงแต่ราคาถูกกว่า |
จากการศึกษาของ นางพิสมัย ชวลิตวงษ์พร นักกีฏวิทยา กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร โดยการติดตั้งการดักแสงไฟสีฟ้าและสีม่วงพบว่า ให้ผลที่พอ ๆ กัน ฉะนั้น เราจึงควรเลือกใช้แสงสีฟ้าเพราะมีราคาถูก และการติดตั้งแสงสีฟ้าที่ความสูง 50 เซนติเมตร เหนือต้นมะลิจะช่วยให้จับตัวเต็มวัยของแมลงศัตรูมะลิได้หลายชนิด ทำให้ดอกมะลิถูกแมลงทำลายได้น้อยกว่าแปลงที่พ่นสารเคมี
2. หนอนกินใบ
มักระบาดในฤดูฝน จะทำลายใบมะลิโดยพับใบเข้าด้วยกัน แล้วซ่อนตัวอยู่ในนั้น และกัดกินทำลายใบ
การป้องกันกำจัด
1. เก็บหนอนหรือดักแด้ทำลายเสีย
2. ใช้สารเคมีประเภทโมโนโครโตฟอส เช่น อโซดริน อัตรา 20-30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือวิมลอร์ด 25% อีซี. อัตรา 8-10 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 4-6 วัน เมื่อมีการระบาด
3. หนอนเจาะลำต้น
หนอนจะเจาะตรงบริเวณโคนต้น ทำให้ต้นแห้งตาย อาการเริ่มแรกจะพบต้นมีใบเหลืองและหลุดร่วง ตรงบริเวณโคนต้น จะมีขุยไม้ที่เกิดจากการกัดกินของหนอนกองอยู่เห็นได้ชัด
การป้องกันกำจัด
- ถอนต้นที่ถูกทำลายเผาไฟทิ้งเสีย
- ใช้สารเคมีพวกไตโครวอส เช่น เดนคอล อัตรา 10 ซีซี. ต่อน้ำ 1 ลิตร ฉีดเข้าไปในรูที่หนอนเจาะ แล้วเอาดินเหนียวอุดรูให้มิด
4. เพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและดอก ทำให้ส่วนที่ถูกทำลายหงิกงอ แคระแกร็น เสียรูปร่าง
การป้องกันกำจัด
- ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัด เช่น พอสซ์ คูมูลัส
ที่มา : เอกสารคำแนะนำที่ 91
กองส่งเสริมพืชสวน
กรมส่งเสริมการเกษตร
เศรษฐพงศ์ เลขะวัฒนะ
ทวีพงศ์ สุวรรณโร
อัญชลี พัคฆีเทศ
พันธุ์มะลิ
1. มะลิลา เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว มะลิชนิดนี้ จะใช้ในการเด็ดดอกขาย
2. มะลิลาซ้อน ลักษณะต้น ใบ อื่น ๆ คล้ายมะลิลา แต่ใบใหญ่กว่าดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก และดอกกลางบานก่อน เช่นกัน แต่มีดอกซ้อน 3-4 ชั้น ปลายกลีบมน
3. มะลิถอด ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ขนาดดอก 2.5-3.5 ซม.
4. มะลิซ้อน ลักษณะทั่ว ๆ ไปคล้ายมะลิถอด และมะลิลาซ้อน แต่ใบมีลักษณะแคบกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอกเช่นกัน กลีบดอกซ้อน แต่ซ้อนกว่า 5 ชั้น แต่ละชั้นมีกลีบดอก 10 กลีบ ขึ้นไป ขนาดดอก 3-4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอมมาก
5. มะลิพิกุล หรือมะลิฉัตร ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอก ดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ เห็นได้ชัด (คล้ายฉัตร) และดอกมีขนาดเล็กพอ ๆ กับดอกพิกุล ขนาดดอก 1-1.4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอม
6. มะลิทะเล เป็นไม้รอเลื้อย ดอกเป็นกระจุก ๆ หนึ่ง มี 5-6 ดอก กลิ่นหอมฉุน
7. มะลิพวง ลำต้นเป็นไม้พุ่ม กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขนเห็นเด่นชัดเช่นกัน ใบและรูปแบบตลอดจนการจัดเรียง คล้ายมะลิอื่น ๆ แต่ใบมีขนเห็นเด่นชัด ดอกออกเป็นช่อแน่น สีขาวกลีบดอกชั้นเดียว กลีบเล็กยาว ปลายแหลม ขนาดดอก 3-4.5 ซม. มีกลิ่นหอมมาก
8. มะลิเลื้อย ลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดินยาวประมาณ 1 ฟุต ใบเล็กกว่าพันธุ์อื่นมาก
9. มะลิวัลย์หรือมะลิป่า เป็นไม้เถาเลื้อย พาดต้นไม้อื่นหรือขึ้นร้าน ใบเล็กกว่าและยาวกว่ามะลิอื่น ๆ กลีบดอกเล็กยาว สีขาว กลิ่นหอมเย็นชืด
10. พุทธิชาติ เป็นไม้รอเลื้อย ใบเป็นใบเดี่ยวแต่ใบด้านล่างลดขนาดลงมากจนมีลักษณะคล้ายหูใบ ดอกเป็นช่อ ออกที่ปลายกิ่ง และข้างกิ่ง ดอกสีขาว ปลายกลีบมน ก้านดอกยาว
11. ปันหยี ต้นเป็นไม้เลื้อยเช่นเดียวกับมะลิวัลย์ ใบเดี่ยว การออกของใบเช่นเดียวกันแต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า ใบเป็นมันสีเขียวเข้ม หนาและแข็ง ดอกเป็นดอกช่อ สีขาวกลีบดอกใหย่กว่ามะลิวัลย์ กลีบดอกกว้างและมน ดอกชั้นเดียว ขนาดดอก 4-4.5 ซม. กลิ่นไม่หอม
12. เครือไส้ไก่ เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเดี่ยว ปลายใบแหลม สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อดอกกลางบานก่อน กลีบดอกขาว ชั้นเดียวปลายกลีบแหลม
13. อ้อยแสนสวย เป็นไม้เลื้อย กิ่งอ่อนสีม่วงแดง ไม่มีขน กิ่งแก่สีน้ำตาล ใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ก้านใบสีม่วง ดอกออกเป็นช่อมี 8 ดอก ดอกกลางบานก่อน ก้านดอกยาว กลีบดอกขาว ชั้นเดียวปลายกลีบมน
14. มะลิเขี้ยวงู (มะลิก้านยาว) เป็นไม้เลื้อย แตกกิ่งก้านมาก ไม่มีขน ใบออกเป็นช่อคล้ายใบแก้ว แต่บางกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอก ก้านดอกเป็นหลอดสีแดงอมม่วง กลีบดอกขาว กลิ่นหอมจัด นอกจากนี้ยังมีมะลิอื่น ๆ อีกเช่น มะลิฝรั่ง, มะลิเถื่อน ฯลฯ แต่มะลิที่นิยมปลูกเป็นการค้าในปัจจุบัน ได้แก่ มะลิลา มีชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum sambac และที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเรื่องของมะลิลา
มะลิลาพันธุ์ที่ส่งเสริมและนิยมปลูกมี 3 พันธุ์คือ
1. พันธุ์แม่กลอง ทรงต้นพุ่มต้นใหญ่ หนาและ ทึบเจริญเติบโตเร็ว ใบใหญ่หนา สีเขียวเข้ม จนดูออกดำ รูปใบ ค่อนข้างกลม ปลาย ใบมน ช่วงข้อใบห่าง ดอกใหญ่ กลม ช่อดอกมักมี 1 ชุด ๆ ละ 3 ดอก ผลผลิตดอกไม่ดก
2. พันธุ์ราษฎร์บูรณะ ทรงต้นพุ่มเล็กกว่า ค่อนข้างทึบ ใบเล็กบางกว่า สีเขียวเข้มรูปใบเรียวกว่า ช่วงข้อใบ ค่อนข้างถี่ ดอกเล็กเรียวแหลม ช่อดอกมักมี 1-2 ชุด ๆ ละ 3 ดอก ผลผลิตดอกดกทะยอยให้ดอก
3. พันธุ์ชุมพร ทรงต้นคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะแต่ดู โปร่งกว่าเล็กน้อย ใบคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะ แต่เรียวว่า สีอ่อนกว่าและ บางกว่า ช่วงข้อใบถี่ ดอกคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะ ช่อดอกมักมีมากกว่า 2 ชุด ๆ ละ 3 ดอก ผลผลิตดอกดกมากแต่ทิ้งระยะห่าง เรื่อย ๆ เป็นช่วง ๆ
www.nanagarden.com/Content.aspx?ContentID=10171
เทคนิคการบังคับมะลิให้ออกดอกในฤดูหนาว
เนื่องจากในฤดูหนาว มะลิจะออกดอกน้อย แต่ตลาดมีความต้องการในปริมาณที่สูง จึงทำให้มะลิมีราคา แพงกว่าปกติ ดังนั้นหากเกษตรกรสามารถทำให้มะลิออกดอกในฤดูหนาวได้ ก็จะทำให้มีรายได้ดีจากการปลูกมะลิ ปัจจัย สำคัญที่ทำให้มะลิออกดอกในฤดูหนาวมี 2 ข้อดังนี้
|
|
1. การตัดแต่งกิ่งมะลิ:
โดยทำการตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งที่เป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย กิ่งไขว้ล้มเอนไม่เป็นระเบียบ และ กิ่งเลื้อย ซึ่งวิธีการตัดแต่งกิ่งมี 2 วิธี คือ
1.1.วิธีตัดแต่งแบบเหลือกิ่งไว้กับต้นยาว โดยตัดแต่งกิ่งออกเพียงเล็กน้อยให้เหลือกิ่งสมบูรณ์ไว้กับต้นมาก ๆ การตัดแต่งกิ่งวิธีนี้เหมาะกับมะลิที่มีอายุน้อย
1.2.วิธีตัดแต่งแบบเหลือกิ่งไว้กับต้นสั้น โดยตัดแต่งกิ่งให้เหลือเพียง 3-4 กิ่ง แต่ละกิ่งยาวประมาณ 1-1.5 ฟุต การตัดแต่งกิ่งวิธีนี้ใช้กับมะลิอายุ 2 ปีขึ้นไป
มะลิมีช่วงระยะเวลาตั้งแต่เก็บดอก จนถึงตากิ่งเจริญให้ดอกใหม่อีกครั้งประมาณ 6 สัปดาห์ ดังนั้น ถ้าเกษตรกรต้องการให้มะลิออกดอกในเดือนใด ก็ต้องนับย้อนเวลาตัดแต่งกิ่งถอยหลังไป 6 สัปดาห์ และถ้าต้องการให้แปลงมะลิทุกแปลงออกดอกพร้อมกันหมด เวลาตัดแต่งกิ่งก็ตัดให้หมดทุกแปลงเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นเมื่อต้องการให้มะลิออกดอกในฤดูหนาว ระยะเวลาที่เหมาะสมในการตัดแต่งกิ่งคือ ช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน
2. การบำรุงรักษาต้นและดอกมะลิ :
2.1. การบำรุงต้นมะลิ
เมื่อตัดแต่งกิ่งมะลิ แล้วจำเป็นมากที่ผู้ปลูกจะต้องบำรุงต้นมะลิให้สมบูรณ์ โดยการใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอกใส่ได้ไม่จำกัด ส่วนปุ๋ยเคมีใส่เดือนละครั้ง สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือสูตร 15-1 5-15 ใช้ในอัตรา 1-2 ช้อนแกง/ต้น
2.2 การบำรุงดอกมะลิในฤดูหนาว
นอกจากมะลิจะออกดอกน้อยแล้ว ยังมีขนาดเล็กอีกด้วย ดังนั้น จึงควรให้ปุ๋ยทางใบที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูง เช่น สูตร 10-45-10 ฉีดพ่นหลังใบ ในอัตรา 3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร โดยฉีดพ่นทุก 10 วัน แนะนำให้ใช้ในฤดูหนาวเท่านั้น สำหรับฤดูอื่นไม่แนะนำให้ใช้ปุ๋ยทางใบ เนื่องจากมะลิมีราคาไม่สูงซึ่งไม่คุ้มกับการลงทุน
การใช้สารไทโอยูเรียเร่งการออกดอกมะลิในฤดูหนาว:
สารไทโอยูเรียมีผลต่อการชักนำให้มะลิออกดอก จากการวิจัยเกี่ยวกับการบังคับให้มะลิ ออกดอกในฤดูหนาวได้นั้นพบว่า สารไทโอยูเรียเป็นสารที่มีผลทำลายการพักตัวของมะลิ และเร่งการออกดอกของมะลิ ในฤดูหนาวได้เป็นผลสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน:
1. ตัดแต่งกิ่งมะลิในเดือนกันยายน
2. ให้ปุ๋ยและน้ำเพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์ โดยใช้ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กรัมต่อต้นในเดือนกันยายนและตุลาคม
3. พ่นสารไทโอยูเรีย 1% (ไทโอยูเรีย 200 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร) ในเดือนพฤศจิกายน
มะลิจะออกดอกหลังจากพ่นสารไทโอยูเรียแล้วประมาณ 20 วัน และเก็บดอกต่อเนื่องไปอีก 1 เดือน นอกจากนี้ยังพบอีกว่า การให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงร่วมกับการพ่นสารไทโอยูเรีย ก็จะมีผลต่อการเพิ่มปริมาณดอกได้ดีขึ้นอีก
จากการปฏิบัติดังกล่าว เราสามารถบังคับมะลิให้มะลิออกดอกในช่วงที่ต้องการได้คือ ในเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ซึ่ง เป็นช่วงฤดูหนาวดอกมะลิมีราคาแพง
www.original65.com/home/topic-บังคับมะลิให้ออกดอก-46.html -
|
|
มะลินอกฤดู
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jasminum sambac Ait. อยู่ในวงศ์ Oleaceae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนและกึ่งร้อน มะลิเป็นไม้ดอกเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่อง ดอกมะลิมีกลิ่นหอมนิยมนำมาใช้ร้อยพวงมาลัย สกัดน้ำมันหอมระเหย และอื่นๆ และเมื่อพิจารณาถึงลักษณะการออกดอกของมะลิพบว่ามะลิออกดอกบริเวณปลายกิ่งโดยมะลิจะออกดอกมากในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน แต่ในฤดูหนาวหรือในช่วงเดือนพฤศจิกายน- กุมภาพันธ์ มักพบปัญหามะลิออกดอกน้อย ดอกชะงักการเจริญเติบโตทำให้ดอกเล็กแคระแกร็น ส่งผลให้ดอกมะลิมีราคาแพงแต่เกษตรกรไม่สามารถผลิตดอกมะลิออกจำหน่ายในช่วงดังกล่าวได้
|
สาเหตุที่มะลิให้ผลผลิตน้อยในช่วงฤดูหนาวมาจากการพักตัวของต้นมะลิ ซึ่งการพักตัว (dormancy) หมายถึง สภาวะที่พืชหยุดการเจริญเติบโตชั่วคราว ซึ่งตรงกับธรรมชาติของต้นมะลิที่เจริญเติบโตและแตกกิ่งใหม่พร้อมกับการออกดอกได้ดีในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน แต่ในฤดูหนาวมะลิจะหยุดการเจริญเติบโตและมีแตกยอดใหม่น้อยทำให้การออกดอกน้อยตามไปด้วย โดยสาเหตุของการพักตัวแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1) การพักตัวเนื่องจากสภาพแวดล้อมภายนอกไม่เหมาะสม เช่น ช่วงระยะเวลาที่พืชได้รับแสงสั้นลง ต้นมะลิได้รับอุณหภูมิต่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้นมะลิแตกยอดใหม่น้อยลง
2) การพักตัวเนื่องจากปัจจัยภายในพืชเอง ได้แก่ฮอร์โมนในกลุ่มของสารยับยั้งการเจริญเติบโต เช่น ABA (abscisic acid) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพักตัวของตาพืช
การทำลายการพักตัวของพืชแบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ
1. การปฏิบัติทางเขตกรรม เช่น การเด็ดยอด และการตัดแต่งกิ่ง ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้เป็นการลดการข่มตาข้าง เมื่อตัดส่วนยอดของพืชออกซึ่งเป็นแหล่งสร้างฮอร์โมนออกซิน (auxin) จึงทำให้พืชแตกตาข้างมากขึ้น
2. การใช้สารเคมี เช่น ปุ๋ยโพแทสเซียมในเตรท (13-0-46) ปุ๋ยชนิดนี้มีคุณสมบัติในการทำลายการพักตัวของตาพืชได้
การผลิตมะลินอกฤดู
1. การเตรียมต้นมะลิให้สมบูรณ์
จากกราฟราคาผลผลิตมะลิในปี 2549-2551 ดอกมะลิราคาแพงในช่วงเดือนธันวาคม- กุมภาพันธุ์ ดังนั้นถ้าเราต้องการที่จะผลิตมะลิให้ออกในเดือนใดเราต้องนับย้อนหลังประมาณ 1.5-2 เดือน ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการผลิตมะลิให้สามารถเก็บดอกได้ในช่วงเดือนมกราคม เราจำเป็นต้องบำรุงต้นมะลิให้สมบูรณ์ในช่วงเดือนพฤศจิกายน โดยรดน้ำ ใส่ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมี เพื่อให้ต้นมะลิสมบูรณ์มีอาหารสะสมเพียงพอ และทำการตัดแต่งกิ่งในเดือนธันวาคมเพราะเราจะเก็บดอกมะลิได้ภายหลังจากตัดแต่งกิ่ง 30 วัน
2. การกระตุ้นให้ต้นมะลิแตกตาดอก
ทำการตัดแต่งกิ่งต้นมะลิในช่วงต้นเดือนธันวาคม โดยตัดเฉพาะส่วนยอดมะลิออกประมาณ 2-3 ชั้นใบ ให้มีใบที่สมบูรณ์อยู่กับต้นให้มากที่สุด และพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท (13-0-46) อัตรา 500 กรัม/ น้ำ 20 ลิตร (ความเข้มข้น 2.5 %)ให้ทั่วทั้งต้น จำนวน 1 ครั้ง เพื่อกระตุ้นให้ต้นมะลิแตกตาข้าง การตัดแต่งกิ่งมะลิร่วมกับการพ่นสารโพแทสเซียมไนเตรทความเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ สามารถกระตุ้นให้ต้นมะลิแตกกิ่งใหม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อกระตุ้นให้ต้นมะลิแตกยอดใหม่ได้ย่อมทำให้ต้นมะลิออกดอกได้เช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากต้นมะลิจะออกดอกภายหลังจากแตกยอดใหม่ และเราสามารถเก็บดอกมะลิได้ภายหลังจากการตัดแต่งกิ่ง 30 วัน โดยมีระยะเวลาที่เก็บดอกมะลิได้นานประมาณ 20 วัน และมีจำนวนดอกต่อต้นมากกว่าต้นที่ไม่ได้ตัดแต่งกิ่งถึง 72 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างไรก็ตามขนาดของดอกมะลิที่ได้ก็ยังมีขนาดเล็กกว่าดอกมะลิที่ออกในช่วงฤดูร้อน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาวิธีการเพื่อเพิ่มขนาดของดอกมะลิให้ใหญ่ขึ้น
3. การเพิ่มคุณภาพของดอก
จากข้อมูลของคุณจตุโชค จันทรภูมี เจ้าหน้าที่ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ แนะนำให้คุณณัฐกฤตา กัญยะมาสา ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้ปลูกมะลิใน จ.เพชรบูรณ์ ได้ใช้ ซิลิโคเทรซร่วมกับไวตาไลเซอร์ซึ่งเป็นธาตุอาหารรวมสำหรับพืช และใช้ไคโตซานซึ่งเป็นสารสกัดธรรมชาติจากเปลือกกุ้ง นำมาพ่นต้นมะลิทุกๆ 7 วัน พบว่าต้นมะลิมีความแข็งแรง ต้านทานโรคได้ดี และทำให้ดอกมะลิมีขนาดใหญ่ขึ้น
1. บำรุงต้นมะลิให้สมบูรณ์
2. ตัดแต่งกิ่งต้นมะลิ โดยใช้กรรไกรตัดหญ้าที่คมตัดเฉพาะส่วนยอดของต้นมะลิ และพ่นปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท (13-0-46) ในช่วงเย็น พ่นให้ทั่วทั้งต้น อัตราปุ๋ยที่ใช้ 500 กรัม/ น้ำ 20 ลิตร เราสามารถเก็บดอกมะลิได้ภายหลังจากตัดแต่งกิ่ง 30 วัน
3. เมื่อมะลิออกช่อดอกแล้วให้พ่นธาตุอาหารเสริมต่างๆ และสารสกัดไคโตซานเพื่อช่วยเพิ่มขนาดของดอกมะลิให้ใหญ่ขึ้น
|
www.thaigreenagro.com/aticle.aspx?id=5871 -