-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 552 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้ดอก-ไม้ประดับ





จำปา - จำปี


จำปี-จำปา เป็นไม้ดอกยืนต้นที่ปลูกในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว ในปัจจุบันมีเกษตรกรสนใจปลูกเป็นการค้ากันมากขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บดอกใช้ทำพวงมาลัยหรือใช้ประกอบในงานพิธีต่าง ๆ และยังปลูกตกแต่งสวนได้เพราะว่าทั้งดอกจำปี-จำปามีกลิ่นหอม นอกจากนี้ยังมีจำปีสีนวล จำปาแขกที่จัดเป็นชนิดเดียวกันอีกด้วย พื้นที่การปลูกจำปี-จำปาในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2534 มีประมาณ 2,000 ไร่ และผลผลิตส่วนใหญ่ใช้บริโภคภายในประเทศมีเพียงส่วนน้อยที่เหลือส่งออกมีมูลค่า 8,000 บาท ประเทศที่รับซื้อคือเนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม บรูไน (ข้อมูลจากด่านตรวจพืช)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ทั้งจำปี-จำปา เป็นไม้ยืนต้นมีลักษณะเป็นพุ่มใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว กว้าง ปลายใบแหลม การออกดอกจะออกที่บริเวณส่วนยอดของกิ่งและตามซอกใบ ดอกมีกลิ่นหอมแต่กลิ่นจะแตกต่างกัน กลีบดอกจำปีมีสีขาว-ขาวครีม ส่วนจำปานั้นกลีบดอกมีเหลืองเข้ม กลีบดอกมี 10-12 กลีบภายในดอกประกอบด้วยเกสรตัวเมีย 1 อันและเกสรตัวผู้มากกว่า 1 อัน



ลักษณะแตกต่างของจำปี-จำปา


จำปี จำปา
1. ทรงต้น เป็นพุ่ม คล้ายต้นสน 1. ค่อนข้างเป็นพุ่มและเตี้ย
2. ใบ ขนาดใหญ่ หนา สีเขียวเข้ม ใบมนรี



2. ใบเล็กกว่า สีเขียวอ่อน ใบมีขนบาง ๆ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเกลี้ยง ใบยาว เมื่อเอามือจับใบแล้วรู้สึกเกาะมือ รูปใบยาว 18-22 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบโค้งจรดกัน เป็นมุม แหลมเข้าหาก้านใบ ใบยาว 10-15 ซม.
3. ดอก สีขาว-เหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมแรง



3. ดอก สีเหลืองอมส้ม ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว กว่าจำปา จะออกดอกตามโคนก้านใบใน แต่รวมกันเป็นช่อตามโคนก้านใบส่วนยอด บริเวณยอดของลำต้นและปลายกิ่ง
4. ดอกบานเวลา 2-3 ทุ่ม 4. ดอกบานเวลาตี 2-3
5. เก็บดอกเฉลี่ยวันละ 40 ดอก/ต้น 5. เก็บดอกเฉลี่ยวันละ 70 ดอก/ต้น
6. มีอายุยืนนานถึง 10-15 ปี 6. ส่วนใหญ่จะโค่นทิ้งเมื่ออายุ 9-10 ปี แต่ถ้ารักษาดีอาจจะมีอายุถึง 9-10 ปี
7. บริเวณที่เปลือกของต้นและกิ่งแก่ จะแตก 7. ลำต้นและกิ่งมีตุ่มเล็ก ๆ เป็นละอองประอยู่ เป็นร่องถี่เล็ก ๆ คล้ายร่างแห เป็นแนวยาวไป ทั่วไป




การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ จำปี นิยมใช้วิธีตอนกิ่ง โดยจะทำการตอนในช่วงฤดูฝนเพราะจะออกรากดีที่สุด ในฤดูอื่นไม่นิยมการตอนกิ่งเลย ส่วนการเพาะเมล็ดจะไม่นิยมทำกันเพราะการติดเมล็ดยากกว่าจำปา จำปา นิยมขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เนื่องจากการติดเมล็ดง่ายและมีจำนวนมาก ในปัจจุบันมีการขยายพันธุ์โดยการตอนอีกด้วย เพราะว่าจะได้ต้นที่เจริญเติบโตเร็วกว่าการเพาะเมล็ด แต่ยังไม่นิยมทำกันมากนัก เพราะจำปาจะออกรากยาก เมื่อเราจะตอน จะต้องเตือนกิ่งทิ้งไว้ก่อน จึงจะทำการตอนได้


การปลูก
การปลูก การเตรียมดิน โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะทำการยกร่องแล้วปลูกบนร่อง ถ้าหากสภาพพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องยกร่องปลูก หลังจากนั้นทำการเตรียมดินโดยการขุดไถพรวนดิน ใส่ปูนขาว ตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน ทำการขุดหลุมปลูกโดยใช้ระยะปลูก 4 x 6 เมตร ขนาดของหลุม 1 x 1 x 1 เมตร แล้วนำปุ๋ยคอกประมาณ 1 บุ้งกี๋และปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนโต๊ะ ผสมคลุกเคล้ากับดินที่ขุดขึ้นมาให้เข้ากันดี แล้วใส่ลงไปในหลุม ก่อนที่จะนำต้นมาปลูกต่อไป นอกจากนี้อาจมีการนำเอาเศษกระดูกสัตว์จากโรงงานมาใส่ในหลุมปลูกด้วย เพื่อช่วยให้ออกดอกมากขึ้น

ขั้นตอนการปลูก
นำต้นกล้าจากที่เตรียมเองหรือซื้อมาจากสวนเกษตรกรหรือสวนจตุจักรโดยจำปี-จำปา ราคาต้นละ 50-100 บาท มาปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ หลังจากปลูกแล้วควรรดน้ำทุกวันจนกว่าจะตั้งตัวได้ ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมคือ เดือนตุลาคม-ธันวาคม แต่อาจจะปลูกเดือนมีนาคม-เมษายน เพื่อที่ว่าพฤษภาคม ซึ่งเริ่มเข้าฤดูฝนทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ดีอีกเช่นกัน


การดูแลรักษา
1. การให้น้ำ จำปี-จำปา เป็นไม้ที่ชอบน้ำมาก แต่อย่าให้น้ำขัง จึงจำเป็นต้องรดน้ำทุกวัน โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งมาก ๆ อาจต้องรดวันละ 2 ครั้ง ก็ได้ ถ้าให้น้ำไม่เพียงพอจะให้ดอกน้อยลง

2. การให้ปุ๋ย
หลังจากจำปี-จำปา ตั้งตัวได้ดีแล้ว (ประมาณ 24 สัปดาห์) ควรมีการใส่ปุ่ยสูตร 15-15-15, 16-16-16, 20-15-15 อัตรา 2-3 กก./ต้น/ปี โดยเจาะใส่เป็นหลุม ตามแนวของทรงพุ่ม การใส่ปุ๋ยควรใส่เดือนละครั้ง หลังจากใส่ปุ๋ยแล้วควรรดน้ำตามด้วย นอกจากนี้ยังมีการใส่ปุ๋ย คอกและปูนขาวทุกปีเพื่อปรับสภาพดินให้ดีขึ้น 3.

การตัดแต่งกิ่ง
เมื่อต้นมีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จะมีลำต้นสูง จะต้องตัดแต่งโดยตัดยอดให้ต่ำลง เพื่อให้แตกกิ่งใหม่ สะดวกในการเก็บดอก แล้วควรตัดกิ่งแก่ กิ่งแห้งออกด้วยเพื่อให้ทรงต้นโปร่งไม่เป็นที่สะสมของโรคและแมลง


4. โรคแมลงและการป้องกันกำจัด
1. โรคใบแก้ว จะพบในจำปา ส่วนจำปีไม่ค่อยพบ สาเหตุเกิดจากการเตรียมดินไม่ดีอาการเหมือนกับโรคใบแก้วของส้ม คือ ใบจะเป็นสีเหลืองบริเวณยอด ส่วนเส้นใบจะเป็นสีเขียว ขนาดดอกเล็กลง และมีสีเปลี่ยนไป การแก้ไข ทำได้โดยการปรับปรุงดินให้มีสภาพดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยคอก และปูนขาว

2. โรคกิ่งแตก
สาเหตุการเกิดโรคยังไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร อาการจะพบว่าที่กิ่งและลำต้นเปลือกนอกของกิ่ง จะแตกเต็มไปหมด ทำให้ออกดอกน้อยลง จะพบในต้นที่มีอายุมาก ๆ การแก้ไข ให้โค่นต้นทิ้งแล้วปลูกใหม่

3. หนอน
จะทำลายทั้งต้นและดอก ทำให้ใบเหี่ยวและดอกเสียหายถ้าปล่อยไว้ ต้นอาจตายได้ การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีฆ่าแมลง เช่น แลนเนต อโซดริน ริพคอร์ด ฉีดพ่นเดือนละ 1 ครั้ง


การเก็บดอก
การเก็บดอก เมื่อต้นมีอายุประมาณ 1 ปีครึ่ง หรือสูงประมาณ 1-5 เมตร ก็จะเริ่มออกดอกการเก็บดอกจะเก็บเมื่อดอกบาน เวลาในการเก็บไม่พร้อมกัน เนื่องจากการบานของดอกไม่พร้อมกัน ดอกจำปีจะเก็บวันละ 2 รอบ คือ ช่วงเย็น และในตอนเช้ามีด ส่วนจำปาจะเก็บตอนเช้ามีดอย่างเดียว ระยะเวลาจากดอกตูมถึงดอกบานที่เก็บขายได้ ประมาณ 25-30 วัน สิ่งสำคัญในการเก็บดอก คือ ห้ามดึงโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้ยอดหรือขั้วช้ำ จะใช้วิธีการเด็ดแต่ถ้าสูงเกินไปใช้ไม้ทำเป็นง่ามตอนปลาย บิดออกตรงขั้วให้หลุดลงมา


การตลาด
ตลาดของจำปี-จำปา อยู่ตามแหล่งไม้ดอกต่าง ๆ ของตลาดเช่น ร้านร้อยมาลัยจะใช้กันมาก ในกรุงเทพ จะอยู่ที่ตลาดปากคลองตลาดเป็นส่วนมาก ในการขายจะขายกันเป็นร้อยดอก โดยราคาจะขึ้น ๆ ลง ๆ ตั้งแต่ร้อยละ 30-70 บาท แล้วแต่สภาวะการผลิต และความต้องการของตลาด


ที่มา  :  กองส่งเสริมพืชสวน  กรมส่งเสริมการเกษตร









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2494 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©