-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 561 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้ดอก-ไม้ประดับ





ธรรมรักษา


ธรรมรักษาเป็นไม้ดอกเขตร้อนชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น มีการปลูกและนำเข้ามา นานแล้ว ส่วนมากนิยมปลูกไว้ริมน้ำที่น้ำแฉะใช้สำหรับตัดดอกบูชาพระ ปัจจุบันธรรมรักษา ได้รับความนิยมมากขึ้น มีการนำพันธุ์ใหม่ ๆ เข้ามาจากต่างประเทศที่ช่อดอกมีสีสวย ดอกบานทน เพื่อตัดดอกเป็นการค้า เกษตรกรส่วนมากจะปลูกพันธุ์ดอกเล็กสำหรับตัดดอกเป็นการค้า พันธุ์ ดอกใหญ่ยังไม่มีปลูกตัดดอกเป็นการค้ามากนัก โดยมากจะปลูกกันในหมู่นักสะสมพันธุ์เนื่องจาก ต้นพันธุ์ราคาสูงและมีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่า

ธรรมรักษาบางพันธุ์เหมาะสำหรับปลูกดูเล่นเป็นกอ ๆ หรือจัดสวนตกแต่งบริเวณ นอกจากจะปลูก สำหรับตัดดอกใช้ในประเทศแล้วยังมีการส่งออกไปตลาดต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2534 การส่งออก ดอกและต้นธรรมรักษามีมูลค่าถึง 115,489 บาท ประเทศรับซื้อคือ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และซาอุดิอาระเบีย (จากด่านตรวจพืช) ในต่างประเทศมีการปลูกเป็นค้าที่ฮาวาย ฟลอริดาประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเนเธอร์แลนด์ และประเทศในทวีปอเมริกาใต้ (คอสตาริกา จาไมกา ฮอนดูรัส เป็นต้น) เนื่องจากดอกธรรมรักษามีความสวยงามหลาย หลายขนาดและยังให้บรรยากาศของเมืองร้อน ในอนาคตจึงเชื่อว่าธรรมรักษาจะเป็นไม้ตัดดอกที่อยู่ในความนิยมอีกชนิดหนึ่ง


ชนิดและพันธุ์ธรรมรักษา
ธรรมรักษา ถ้าแบ่งตามลักษณะของช่อดอก จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือช่อตั้งและช่อห้อย ช่อตั้งมักเรียกว่า ก้ามกุ้ง, ส่วนช่อห้อยเรียกว่า ก้ามกั้ง



ธรรมรักษารประเภทช่อตั้ง
1. พวก ซิตาคอรัม (H. psittacorum)
เป็นธรรมรักษาชนิดเล็กที่มีความสูง 0.6-2 ม. ขยายกอ เป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว ช่อดอกตั้งมีลักษณะคล้ายปักษาสวรรค์จึงมีการเรียกชื่อผิดบ้าง ออกดอก ตลอดปี พวกซิตาคอรัมนี้มีหลายพันธุ์ เช่น แซสซี (Sassy-สีชมพู), เลดี้ได (Lady Di-สีแดงเข้ม),  แอนโดรมีดา (Andromeda-สีส้มแดง), ฟูเซีย (Fuchsia-สีแดงม่วง), พาราคีท (Parakeet-โคนใบ ประดับสีเหลืองครีม ปลายสีแดงหรือชมพู) และลูกผสมของซิตาคอรัม เช่น โกลเดนทอร์ช (Golden Torch-สีเหลือง) ซึ่งนิยมปลูกตัดดอกขายในปัจจุบันเพราะมีกลีบดอกหนา และสีสดใส

2. พวก สตริกตา (H. stricta)
หรือก้ามกุ้งเล็กเป็นธรรมรักษาเล็กอีกชนิดหนึ่งความสูง 0.5-2.5 ม. ช่อดอกตั้งมีลักษณะคล้ายก้ามกุ้ง ใบประดับแบน ออกดอกตลอดปี พันธุ์ต่าง ๆ เช่น จาไมกันแคระ (Dwarf Jamaican-สีแดงหรือชมพู), บักกี้ (Bucky-สีแดง)

3. พวก แองกุสตา (H. angusta)
เป็นธรรมรักษาขนาดเล็ก ความสูง 0.6-2 ม. ช่อดอกตั้ง ดอกมีสี สันสดใส และมักจะออกดอกในช่วงเทศกาลคริสต์มาส และปีใหม่ เช่นพันธุ์ ฮอลิเดย์ (Holiday- สีแดง), คริสต์มาสสีส้ม (Orange X’mas-สีส้ม), และคริสต์มาสสีเหลือง (Yellow X’mas-สีเหลือง) 

4. พวก บอเจียนา (H. bougaeana)
เป็นธรรมรักษาขนาดใหญ่ ความสูง 2-4 ม. ช่อดอกตั้ง มีขนาด ใหญ่ใบประดับอ้วนกลม และมีสีแดงชมพูเป็นมันคล้ายผ้าซาติน

5. พวก บีไฮ (H. bihai)
หรือก้ามกุ้งใหญ่ เป็นธรรมรักษาขนาดใหญ่ ความสูง 2-4 ม. ช่อดอกตั้ง คล้ายก้ามกุ้งเสียบไม้ ดอกอาจยาวได้ถึง 16 นิ้ว มีหลายสี บางชนิดออกดอกเป็นฤดูและบางชนิด ออกดอกตลอดปี เช่น พันธุ์คาเมฮาเมฮา (Kamehamaha-สีแดง ปากสีเหลือง), ลอบสเตอร์คลอว์ วัน (Lobster Claw I-สีแดง ปากมีแถบสีขาวใต้แถบสีเขียว), ลอบสเตอร์คลอว์ ทู (Lobster Claw II-สี ส้มแดง ปากมีแถบสีเหลือง), เยลโล่ว์ แดนเซอร์ (Yellow Dancer-สีเหลือง), ชอคโกแลต แดนเซอร์ (Chocolate Dancer-สีชอคโกแลต ปากมีแถบสีเหลืองใต้แถบสีเขียว) 

6. พวก แคริเบีย (H. caribaea)
เป็นธรรมรักษาขนาดใหญ่ ความสูง 3-4.5 ม. ช่อดอกตั้ง มีขนาดใหญ่และซ้อนกันแน่น ออกดอกตลอดปี เช่นพันธุ์ โกลด์ (Gold-สีเหลืองทอง), เพอพูเรีย (Purpurea-สีแดง), ครีม (Cream-สีเหลืองครีม)

7. พวก แวกเนอเรียนา (H. wagneriana)
เป็นธรรมรักษาขนาดกลาง ความสูง 1.8-2 ม. ช่อดอกตั้ง คล้ายกับพวกบีไฮ แต่ใบประดับที่ยังไม่บานมีลักษณะซ้อนกันเหมือนก้างปลา ออกดอกเป็นฤดู เช่น พันธุ์เรนโบว์ (Rainbow-สีเหลืองแกมเขียว แก้มสีแดงหรือชมพู) 

8. พวก อินดิกา (H. indica)
หรือธรรมรักษาดอกเขียว ความสูง 2-5 ม. ใบประดับจะมีสีเขียว ส่วนใบจริงจะมีได้หลายสีตั้งแต่ เขียวเหลือง, เขียว ไปจนถึงเขียวออกแดง ธรรมรักษาชนิดนี้มักใช้ ใบประกอบการปักแจกัน หรือใช้ตกแต่งสวนเพื่อเพิ่มสีสัน


ธรรมรักษาชนิดดอกห้อย (Pendent)
1. พวก รอสตราต้า (H. rostrata)
หรือปากนกแก้ว เป็นธรรมรักษาขนาดกลาง ความสูง 1.5-2 ม. ช่อดอกห้อย ใบประดับมีสีแดง ตอนปลายสีเหลือง ลักษณะคล้ายปากนกแก้ว ออกดอกเป็นฤดู

2. พวก ชาร์เตซี (H. chartacea)
เป็นธรรมรักษาขนาดกลาง ความสูง 1.8-2 ม. ช่อดอกห้อยพันธุ์ เซ็กซีพิงค์ (Sexy Pink-สีชมพู)

3. พวก เพนดูลา (H. pendula)
เป็นธรรมรักษาขนาดกลาง ความสูง 1.5-2 ม. ช่อดอกห้อย พันธุ์ ไบรท์เรด (Bright Red-สีแดงสด ดอกสีขาว) ออกดอกตลอดปี

4. พวก คอลลินเซียนา (H. collinsiana)
เป็นธรรมรักษาขนาดใหญ่ ความสูง 3.6-4.5 ม. ใบประดับสีแดงเข้ม และมักจะมีนวลสีขาวทั่วไป ออกดอกเป็นฤดู


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ธรรมรักษาเป็นพืชล้มลุกข้ามฤดูหรือหลายฤดูลักษณะอวบน้ำยืนต้น (Herbaceous Perenial) ลำต้นใต้ดินแบบเหง้า (Rhizome) คล้ายขิง ส่วนเหนือดินเรียกว่าลำต้นเทียม ซึ่งประกอบด้วย กาบใบเรียงซ้อนสลับกันคล้ายกาบกล้วย ใบมีลักษณะคล้ายใบกล้วย ลักษณะของกอแบ่งออก เป็น 2 ลักษณะคือ  กอแน่น กอลักษณะนี้ เหง้าจะมีข้อชิดกันทำให้หน่อใหม่เกิดชิดโคนต้นเดิมจึงทำให้กอมี ลักษณะแน่น กอขยายกว้าง กอลักษณะนี้เหง้าจะมีข้อห่างกันทำให้หน่อเกิดใหม่เกิดห่างต้นเดิมกอขยายกว้าง อย่างรวดเร็ว



ช่อดอกจะเกิดขึ้นที่กลางลำต้นเทียม ช่อดอกประกอบด้วย
ก้านช่อดอก (Peduncle) ก้านต่อระหว่าง ใบประดับ (Rachis) ใบประดับ (Bract) ซึ่งรองรับดอกอยู่ เรียงสลับกันเหมือนรูปเรือ ใบประดับ อาจอยู่ในระนาบเดียวกันหรือต่อกันก็ได้แล้วแต่พันธุ์ ใบประดับมีหลายสี (แดง, ชมพู, เหลือง, และแสด) ภายในกลีบประดับจะมีดอกคล้ายดอกกล้วยเล็ก ๆ เรียงกันอยู่แถวเดียว ดอกนี้เรียกว่า ดอกจริง ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศ แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ และกลีบดอก 3 กลีบ ทั้งหมดนี้ จะหลอมติดกันเป็นหลอดภายในมีเกสรตัวผู้ 6 อัน ซึ่งจะเจริญเพียง 5 อัน อีก 1 อันเป็นหมัน รังไข่ อยู่ใต้กลีบเลี้ยงและกลีบดอก ภายในมี 3 ช่องเป็นผลนุ่ม เมล็ดคล้ายเมล็ดกล้วย แข็ง ผลสุกมีสี น้ำเงิน ถ้าเป็นชนิดที่มาจากทวีปอเมริกา และมีสีแดงถ้ามาจากหมู่เกาะแปซิฟิก
 

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต
1. แสง (Light)
พันธุ์ธรรมรักษาที่ปลูกเป็นการค้าส่วนใหญ่จะเป็นไม้กลางแจ้งมีความต้องการแสง 100% เพราะว่าจะมีผลต่อการออกดอกและสีของดอก

2. อุณหภูมิ (Temperature)
พบว่ายังไม่มีผลโดยตรงต่อการกระตุ้นการออกดอก แต่ถ้าอุณหภูมิ สูงขึ้นจะกระตุ้นให้ออกดอกเร็วขึ้น ธรรมรักษาแต่ละพันธุ์ต้องการอุณหภูมิที่แตกต่างกันไป เช่น ต้องการอุณหภูมิ 21-35 องศา C และจะหยุดการเจริญเติบโต 10 องศา C

การเตรียมดิน
ธรรมรักษาสามารถปลูกได้ดีในดินที่เป็นกรด ไปจนถึงด่างเล็กน้อย (pH ประมาณ 5.4-6.2) ดินควรเป็นดินร่วนซุยมีอินทรีย์วัตถุสูงและระบายน้ำดี ควรใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยสูตร 15-15-15, 16-16-16 ซุปเปอร์ฟอสเฟต ครึ่งช้อนชา คลุกเคล้ากัน รองก้นหลุมก่อนปลูกด้วย


การปลูก
ระยะปลูก ควรใช้ 1 x 1 เมตร ถึง 2 x 2 เมตร รดน้ำเช้าเย็นขณะเริ่มปลูกใหม่ ๆ และช่วงแรกควรอยู่ในร่มก่อนประมาณ 1 เดือน หากต้องปลูก ลงแปลงเลยในช่วงแรกควรพรางแสงด้วยซาแรน


การดูแลรักษา และการใช้ประโยชน์
การดูแลรักษา
1. การให้น้ำ
ธรรมรักษาเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำแฉะ วิธีการให้น้ำควรให้แบบกล้วยไม้คือใช้เรือเดิน ตามร่องแล้วฉีดพ่นมาบนแปลง ถ้าธรรมรักษาได้รับน้ำไม่เพียงพอจะมีผลต่อคุณภาพของดอกและ อายุการปักแจกัน

2. การใส่ปุ๋ย
ธรรมรักษาตอบสนองต่อการให้น้ำ + ปุ๋ย n ในช่วงแรก ของการเจริญเติบโตเราควรใส่ปุ๋ยคอก สลับกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร 16-16-16 เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโต ทางด้านลำต้นรวมทั้งการแตกหน่อแตกกอด้วย n ช่วงการออกดอก จะใช้ปุ๋ยที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูงเพื่อเร่งดอก เช่น 10-30-10 หรือ 13-13-21 และที่สำคัญควรให้ธาตุเหล็กเพิ่มด้วยเพื่อจะทำให้ใบเข้มและสีดอกสด

3. การตัดดอก
หลังจากปลูกจนต้นสูงมีใบประมาณ 4-5 ใบก็จะให้ดอก หรืออายุของต้นประมาณ 1 ปี ธรรมรักษาสามารถทำเป็นไม้ตัดดอกได้ ทั้งดอกเล็กและดอกใหญ่ แต่พันธุ์ดอกเล็กปลูกเป็น ไม้ตัดดอกได้ดีสามารถใช้ประโยชน์ได้มาก ส่วนพันธุ์ดอกใหญ่จะให้ปริมาณดอกน้อยกว่า การตัด ดอกในบ้านเรานิยมตัดดอกเมื่อบานประมาณ ฝ -1/3 ดอกแล้ว ส่วนในต่างประเทศนิยมตัดเมื่อเห็น ใบประดับแรกผลิออกมา แต่ดอกยังไม่โผล่ ดอกธรรมรักษาหลังจากตัดดอกจะคงอยู่ในสภาพเดิม จะไม่บานอีกต่อไป
การตัดดอกประเภทดอกใหญ่จะตัดระดับดิน มักจะริดใบทิ้ง และตัดก้านใบ เหนือช่อดอกเล็กน้อย เพื่อป้องกันการบอบช้ำของใบประดับส่วนดอกเล็กให้ตัดใบและเหลือใบยอดไว้ 1-2 ใบ อายุการปักแจกันจะอยู่ได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ แล้วแต่พันธุ์และการดูแลรักษา ดอกไม้นั้น

4. โรคแมลง และการป้องกันกำจัด
(1) โรคโคนเน่า และรากเน่าที่เกิดจากเชื้อรา จะเป็นมากในฤดูฝน ควรฉีดพ่นยากันราเดือนละครั้ง (2) โรครากปม เกิดจากไส้เดือนฝอย จะทำให้ต้นเหี่ยวทั้งต้น, แคระแกรนไม่สมบูรณ์ เนื่องจาก ไส้เดือนฝอยไปอุดท่อน้ำ และท่ออาหาร ป้องกันกำจัดโดยใช้ยาพวกไวเดทแอลราดลงพื้นเป็นครั้ง คราวเดือนละ 1 ครั้ง


การใช้ประโยชน์

1. ไม้ตัดดอก
2. ไม้กระถาง
3. ตกแต่งสวน


ที่มา  :  กองส่งเสริมพืชสวน  กรมส่งเสริมการเกษตร









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2681 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©