-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 537 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้ดอก-ไม้ประดับ





ขิงแดง


ขิงแดงเป็นพืชที่มีการปลูกประดับบ้านเรือนมานานแล้ว มีการดูแลรักษาง่าย สามารถ เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทั่วไป ขยายพันธุ์ได้ด้วยหน่อ และให้ดอกตลอดปี ขิงแดงมีช่อดอก ที่สวยงาม สามารถบานอยู่บนต้นได้นาน และมีรูปทรงของดอกที่แปลกกว่าไม้ดอกชนิดอื่น ๆ ประกอบกับเมื่อนำมาปักแจกันพบว่ามีอายุการปักแจกันที่เหมาะสม ทำให้เป็นที่ต้องการของผู้ บริโภค ดังจะเห็นได้จากวิวัฒนาการจากการปลูกเป็นไม้ประดับบริเวณบ้าน มาเป็นการปลูกเพื่อ ตัดดอกเป็นการค้ามากขึ้น จากข้อมูลการซื้อขายที่ปากคลองตลาดพบว่ามีการซื้อขายขิงแดงเป็น ปริมาณ 2,000 ดอก/สัปดาห์ คิดเป็นมูลค่า 10,000 บาท/สัปดาห์ และยังพบว่ามีการส่งออก บ้าง

แหล่งพันธุ์ที่ผลิตขิงแดงปัจจุบันจะพบในจังหวัดปริมณฑล ได้แก่ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี อ. กระทุ่มแบน อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร อ.สามพราน จ.นครปฐม และอ. ท่าม่วง และกิ่ง อ. ด่านมะขามเตี้ย จ. กาญจนบุรี



การขยายพันธุ์
1. ใช้เมล็ด
พบว่าขิงแดงติดเมล็ดได้ยากในประเทศไทย ดังนั้นผู้ปลูกเลี้ยงจะต้องหมั่นสังเกตุดอกแห้งถ้าต้องการเก็บเมล็ดพันธุ์ ควรเพาะเมล็ดในวัสดุเพาะที่คุณสมบัติเป็นกรดเล็กน้อยระบายน้ำดี และกลบด้วยวัสดุเพาะบาง ๆ เวลาการงอกของเมล็ดไม่แน่น แต่งอกเร็วเมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดธรรมรักษา


2. ใช้ตะเกียง (Aerial offshoots)
ช่อดอกของขิงแดงเมื่อแก่จะสร้างตะเกียง หรือหน่อเล็ก ๆ ที่โคนกลีบประดับ สามารถแยกตะเกียงออกจากช่อดอกและปลูกได้ทันที แต่จะให้ผลดีถ้าตะเกียงมาชำให้เกิดรากก่อน โดยจะมีการสร้างราก 4-8 สัปดาห์หลังการชำ


3. การแยกหน่อ (Division)
กิ่งหน่อใหม่จะเกิดที่ส่วนบนของเหง้าของต้นแม่ การแยกหน่อมักทำโดยใช้หน่อที่ไม่แก่เกินไปนัก ให้มีส่วนของเหง้ายาวประมาณ 5 นิ้ว และส่วนของต้นเทียมยาว 8-12 นิ้ว แล้วนำมาปักชำในกระบะชำ หรือถุงพลาสติก


ปัจจัยการผลิต
แสง ขิงแดงเจริญเติบโตและให้ดอกที่มีคุณภาพดีในที่มีร่มเงา ดังนั้นในการปลูกขิงแดงจำเป็นจะต้องปลูกภายใต้โรงเรือนพรางแสงด้วยซาแรน ซึ่งแสงที่เหมาะสมในการปลูกขิงแดงจะอยู่ประมาณ 50-70 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจปลูกเป็นพืชแซมในสวนไม้ยืนต้นก็ได้


การเตรียมแปลง
1. การเตรียมแปลง มี 2 แบบ คือ
พื้นที่ดอน ทำแปลงแบบทำร่องให้ลึกประมาณ 20 เซนติเมตร กว้าง 2-3 ม. ความยาวตามขนาดของพื้นที่ แต่ละแปลงห่างกัน 1.5 เมตร
พื้นที่ลุ่ม การทำแปลงโดยการทำคันร่องขุดคูน้ำลึก 1 เมตร กว้าง 1 เมตร ทำแปลงปลูกกว้าง 1.5 เมตร ความยาวตามพื้นที่ และทำคันขอบแปลงโดยรอบแปลงสูง 20 เซนติเมตร ทำการเตรียมแปลงปลูกโดยไถพรวนตากดิน 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกผสมแกลบดิน ในแปลงปลูกเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน และใช้ปูนขาวอัตรา 100 กิโล กรัมต่อไร่ เพื่อปรับปรุงดิน

2. ระยะปลูก
ระยะปลูกที่เหมาะสม 1 x 1 ม.
ขิงแดงโดยใช้หน่อพันธุ์ปลูก หลุมละ 1 ต้น หรือใช้หน่อที่ชำจนแตกกอแล้วปลูกหลุมละกอ จากนั้นกลบดินให้แน่น และใช้หลักปัก ผูกติดกับต้น เพื่อไม่ให้ต้นล้ม แล้วรดน้ำให้ชุ่ม



การปฏิบัติดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย
การให้ปุ๋ยไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยเคมีมากเนื่องจากการตอบแทนในการให้ผลผลิตต่อการให้ปุ๋ยเคมีได้น้อย แต่อย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นต้องให้ปุ๋ยเคมีแก่ขิงแดงโดยให้ปุ๋ยสูตรที่มีอัตราส่วน 1:1:1 ปีละ 2 ครั้ง ๆ ละ 50 กก./ไร่ ให้ร่วมกับปุ๋ยคอกจะทำให้ขิงแดงให้ดอกดกและมีคุณภาพดอกดีขึ้น

การให้น้ำ
ขิงแดงเป็นพืชที่ต้องการความชื้นในดินสูง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้น้ำอย่างเพียงพอ วิธีการให้น้ำอาจให้น้ำแบบท่วมแปลงปลูกสำหรับแปลงปลูกที่เป็นที่ดอนโดยให้ 3-5 วันต่อครั้ง ที่ลุ่มให้น้ำโดยการใช้เรือรด 1-2 วัน/ครั้ง หรือโดยสังเกตุจากความชื้นดิน

การป้องกันกำจัดวัชพืช
วัชพืชจะรบกวนมากในช่วงแรก ๆ เท่านั้นหลังจากอายุ 1 ปี ไปแล้วขิงแดงจะเจริญโตเต็มที่ ทำให้วัชพืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้

การตัดแต่ง
ส่วนใหญ่จะมีการตัดแต่งต้นพร้อมกับการตัดดอกโดยการตัดดอกชิดโคนต้นเหนือดินประมาณ 2-3 นิ้ว


การเก็บเกี่ยว
โดยตัดดอกที่บานแล้วประมาณ 70-80% ของช่อดอก โดยใช้มีดคม ๆ ตัดโคนต้น เหนือดินประมาณ 2-3 นิ้ว


การปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว
เมื่อตัดดอกขิงแดงแล้วให้นำดอกแช่ลงในอ่างน้ำที่มีน้ำสะอาด และทำความสะอาด ตัดใบให้เหลือ 3-4 ใบ ตัดก้านให้ยาว 1 ม. สำหรับดอกขนาดใหญ่ และดอกขนาดกลาง ส่วนดอกเล็กมักตัดก้านให้ยาว 50-70 ซม. แล้วนำมามัดเป็นกำ ๆ ละ 10 ดอก สำหรับการคัดขนาดดอกนั้นจะคัดตามขนาดดังนี้

เกรด A ช่อดอกยาว 6 นิ้วขึ้นไป ก้านช่อดอกยาว 1 เมตร
เกรด B ช่อดอกยาว 4-5 นิ้ว ก้านช่อดอกยาว 1 เมตร
เกรด C ช่อดอกยาว 2-3 นิ้ว ก้านช่อดอกยาว 0.5-0.7 เมตร




อายุการปักแจกัน
ได้มีการศึกษาค้นพบว่าความยาวของต้นที่ติดกับช่อดอกนั้นมีผลต่ออายุการปักแจกันดังนี้

ก้านยาว 50 ซม. มีอายุการปักแจกัน 2 สัปดาห์
ก้านยาว 100 ซม. มีอายุการปักแจกัน 3-5 สัปดาห์
ก้านยาว 150 ซม. มีอายุการปักแจกัน 4-6 สัปดาห์

และ Jjia (1988) ยังพบว่าการใช้กรด ซิตริก (Citric acid: 5 UM) สามารถยืดอายุการปักแจกันดอกขิงแดง (ก้านยาว 40 ซม.) จาก 4 วันเมื่อแช่ในน้ำกลั่น เป็น 13.5 วัน เมื่อผสมกรกซิตริก ณ อุณหภูมิ 24-24 องศาเซลเซียส

การขนส่ง

จะมีการขนส่งดอกขิงแดงโดยแช่ก้านช่อดอกขิงแดงในถังน้ำ ที่วางไว้หลังรถบรรทุกเล็กส่งพ่อค้าหรือมีพ่อค้ามารับซื้อถึงสวน


ต้นทุนการผลิต
ในการผลิตขิงแดง 1 ไร่ สามารถประมาณการต้นทุนการผลิตได้ดังนี้

รายการ เป็นเงิน (บาท)
ค่าพันธุ์ จำนวน 1,280 ต้น ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 12,800
ค่าเตรียมดิน 1,000
ค่าแรงงาน 4,500
ค่าปุ๋ยคอก 2,000
ค่าปุ๋ยเคมี 1,000
ค่าสารเคมี 800
รวม 22,100


ผลผลิตต่อไร่

สามารถตัดดอกขิงแดงโดยแบ่งตามขนาดดอกได้ดังนี้คือ
ดอกเล็กจำนวน 67,200 ดอก/ปี ดอกใหญ่และดอกกลางจำนวน 48,000 ดอก/ปี

การจำหน่ายผลผลิต

ส่วนใหญ่จะมีจำหน่ายขิงแดงแก่พ่อค้าปากคลองตลาดโดยแบ่งตามขนาดดังนี้
ดอกเล็กจำนวน 67,200 ดอก/ปี ดอกใหญ่และดอกกลางจำนวน 48,000 ดอก/ปี

ดอกเล็ก 2-3 บาท
ดอกเล็ก 2-3 บาท
ดอกกลาง 4-5 บาท
ดอกใหญ่ 8-10 บาท


ปัจจุบันมีเกษตรกรส่งออกดอกขิงแดงบ้างแต่ไม่มากนัก เนื่องจากพื้นที่การปลูกขิงแดงยังมีน้อยผลผลิตยังไม่มากเพียงพอที่จะป้อนตลาดอย่างสม่ำเสมอ ส่วนการบริโภคภายในประเทศของขิงแดงนั้นมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังจะเห็นได้จากการที่ร้านดอกไม้ และโรงเรียนสอนจัดดอกไม้ มีการใช้ดอกขิงแดงมากขึ้น แต่เกษตรกรยังขาดข้อมูลด้านการตลาด ส่วนผู้ซื้อมักจะไม่ทราบแหล่งผลิต ทำให้ผู้ผลิตและผู้บริโภค ไม่พบกันทั้งที่ความต้องการใช้ขิงแดงมีเพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรไม่กล้าตัดสินใจในการขยายพื้นที่การผลิตมากนัก


เนื่องจากขิงแดงยังมีพันธุ์อื่น ๆ ที่มีรูปร่างลักษณะ และสีแตกต่างกันบ้างเกษตรกรอาจอาศัยความหลากหลายของพันธุ์นี้เปิดตลาดขิงแดงเพิ่มขึ้นได้อีกด้วยในอนาคต



โรคและแมลง
ไม่พบโรคที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับขิงแดง แต่อาจพบแมลงที่เข้าทำลายดังนี้

1. เพลี้ยแป้ง
เกิดจากการปลูกขิงแดงใกล้กับแปลงปลูกกล้วยหรือพืชอื่นที่เป็นพืชอาศัยของเพลี้ยแป้ง เพลี้ยจะเข้าทำลายดอก เกษตรกรควรใช้วิธีการตัดดอกที่ถูกทำลายทิ้ง หรือสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น ฟูราดาน 3 จี อะโซดริน เดลดริน ฟอสซ์ เป็นต้น

2. หนอนเจาะลำต้น
หนอนเจาะลำต้นจะเข้าทำลายโดยกินไส้ของต้นขิงแดงที่ยังไม่ให้ดอกทำให้ยอดแห้งตาย เกษตรกรควรตัดต้นที่ถูกทำลายมาผ่าเอาหนอนที่อยู่ภายในลำต้นมาทำลาย และใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงฉีดพ่น เช่น ฟอสซ์ แลนเนท คาราเต้ เป็นต้น




ที่มา  :  กองส่งเสริมพืชสวน  กรมส่งเสริมการเกษตร










สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (3219 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©