-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 583 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้ดอก-ไม้ประดับ





ดาหลา

ดาหลาเป็นไม้ดอกที่มีการปลูกมาเป็นระยะเวลานานแล้วทางภาคใต้ของไทย ซึ่งเดิมได้มี การนำหน่ออ่อนและดอกมาใช้เป็นผักประกอบอาหารบางประเภท ปัจจุบันได้มีการนำมาปลูก เป็นไม้ตัดดอกมากขึ้น เนื่องจากดาหลาเป็นไม้ดอกที่ให้ดอกดกในฤดูร้อน ขณะที่ไม้ดอกชนิด อื่น ๆ ไม่ค่อยจะมีดอก ประกอบกับดอกมีขนาดใหญ่ สีสดใส รูปทรงแปลกตา ทำให้เป็นที่สนใจ ของผู้พบเห็นและเป็นที่ต้องการของตลาด ดังจะเห็นได้จาก ความต้องการซื้อขายดอกที่ตลาด ปากคลอง มีปริมาณถึง 200-500 ดอกต่อสัปดาห์ มีมูลค่า 3,000 - 7,500 บาท นอกจากนี้ ยังสามารถส่งออกต้นพันธุ์ได้บ้าง แหล่งผลผลิตที่สำคัญได้แก่ อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร อ.บางกรวย จ. นนทบุรี อ.ด่านมะขามเตี้ย จ. กาญจนบุรี อ. เมือง จ.กระบี่

ลักษณะทางพันธุศาสตร์
ลำต้น
ดาหลาเป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า (rhizome) เหง้ามนี้ จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ดาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ ในเวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่น เช่นเดียวกับพวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้นเทียม (pseudostem) ลำต้นเหนือดินสูง 2-3 เมตร มีสีเขียวเข้ม

ใบ
มีรูปร่างยาวรี กลางใบกว้างแล้วค่อย ๆ เรียวไปหาปลายใบ และฐานใบ ใบไม่มีก้านใบ ผิวเกลี้ยงท้งด้านบนและด้านล่าง ใบยาว 30-80 เซ็นติเมตร กว้าง 10-15 เซนติเมตร ปลายใบ แหลมฐานใบเรียวลาดเข้าหาก้านใบ เส้นกลางใบปรากฏชัดทางด้านล่างของใบ

ดอก
ดอกดาหลาเป็นดอกช่อมีลักษณะดอกแบบ (head) ประกอบด้วยกลีบประดับ (Bracts) มี 2 ขนาด ส่วนโคนประกอบด้วยกลีบประดับขนาดใหญ่ มีความกว้างกลีบ 2-3 ซ.ม. จะมีสีแดงขลิบขาวเรียงซ้อนกันอยู่และจะบานออก ประมาณ 25-30 กลีบ และมีกลีบประดับ ขนาดเล็กอยู่ส่วนบนของช่อดอก ความกว้างกลีบประมาณ 1 ซ.ม. ซึ่งมีสีเดียวกับกลีบประดับ ขนาดใหญ่ กลีบประดับเล็กนี้จะหุบเข้าเรียงเป็นระดับมีประมาณ 300-330 กลีบ ภายในกลีบ ประดับขนาดใหญ่ที่บานออกจะมีดอกจนิงขนาดเล็กกลีบดอกสีแดง ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศอยู่ จำนวนมาก ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างดอกประมาณ 14-16 เซนติเมตร ความยาวช่อ 10-15 เซนติเมตร มีก้านช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ลักษณะก้านช่อดอกแข็งตรง ดอก จะออกตลอดปีแต่จะให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูร้อน คือ เดือนมีนาคม - พฤษภาคม ดอกจะ พัฒนามาจากหน่อดอกที่แทงออกมาจากเหง้าใต้ดินลักษณะของหน่อจะมีสีชมพู ที่ปลายหน่อ

พันธุ์
ปัจจุบันพันธุ์ดาหลาที่ปลูกตัดดอกมีอยู่ 2 พันธุ์ด้วยกันคือ พันธุ์สีชมพู และพันธุ์สีแดง


การขยายพันธุ์
ดาหลาสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้


1. การแยกหน่อ
ควรแยกหน่อที่มีความเหมาะสมนำไปปลูกคือ สูงประมาณ 60-100 ซ.ม. ขึ้นไปและมีกิ่งอ่อนกึ่งแก่นประมาณ 4-5 ใบ ใช้มีตัดให้มีเหง้า และรากติดอยู่ด้วย ซึ่งหน่อชนิดนี้จะมีหน่อดอกอ่อน ๆ ติดมาด้วยประมาณ 3 หน่อ นำไปชำในถึงพลาสติก 1 เดือนเพื่อให้หน่อแข็งแรงก่อนปลูก


2. การแยกเหง้า
โดยการแยกเหง้าที่เกิดใหม่ที่โคนต้น แล้วนำไปชำในแปลงเพาะชำ วิธีนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี จึงจะเริ่มให้ดอก


3. การปักชำหน่อแก่
โดยนำไปชำในแปลงเพาะชำให้แตกหน่อใหม่แข็งแรง แล้วจึงค่อยย้ายมาปลูกลงแปลง



ปัจจัยการผลิต
แสง
ดาหลาเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่มีแสงแดดรำไรหรือที่ร่มไม้ยืนต้น ถ้าหากโดนแดดจัดเกินไปสีของกลีบประดับจะจางลง และทำให้ใบไหม้

ฤดูปลูก
การปลูกดาหลาสามารถปลูกได้ทุกฤดู แต่ฤดูปลูกที่เหมาะสมที่สุดคือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งดาหลาจะมีการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและแตกหน่อ ช่วงที่ดาหลาแตกหน่อได้มากคือ เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม แต่ในที่ ๆ มีน้ำเพียงพอไม่จำเป็นต้องรอฤดูฝน



การเตรียมแปลง
พื้นที่ดอน
ทำการพรวน ตากดินไว้ประมาณ 5 - 7 วัน และย่อยดินให้ละเอียดเก็บวัชพืชออกให้หมด

พื้นที่ลุ่ม
ทำการขุดยกร่องสวน มีคูน้ำลึก 1 เมตร กว้าง 1 เมตร แปลงปลูกกว้าง 2-3 เมตร ความยาวตามขนาดของพื้นที่ และมีการไถพรวนตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน เก็บวัชพืชออกให้หมด

การเตรียมดิน
การเตรียมดินโดยไถพรวนดิน แล้วขุดหลุมปลูก จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมในกรณีที่ปลูกดาหลาแบบไม่ยกร่องสวน จะทำการไถปรับดินให้สม่ำเสมอ เพิ่มปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตร 20-20-20 ในอัตรา 1 : 25 แล้วขุดหลุมปลูกแบบเดียวกับการปลูกแบบยกร่องสวนนี้อาจปลูกแซมในไม้หลักเช่น ไม้ผล

ระยะปลูก
การปลูกดาหลาจะไม่มีระยะปลูกที่แน่นอน แต่จะขึ้นอยู่กับความต้องการและความสะดวกของเกษตรกรเอง โดยส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรจะปลูกในระยะ 2 x 2 เมตร

การปลูก
โดยใช้หน่อที่มีเหง้าและรากติดมาด้วย เหง้าที่ตัดมาควรมีความยาวประมาณ 5 นิ้ว โดยสังเกตุให้หน่อนั้น ๆ มีใบติดมาประมาณ 4 คู่ใบ ปลูกลงในหลุมที่เตรียมไว้ แล้วทำการกลบดินให้สูงประมาณ 6 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่ม อาจใช้ดินเลนจากท้องร่องพอกทับโคนต้น เพื่อรักษาความชุ่มชื้น นอกจากนี้ควรหาไม้หลักมาผูกติดกับลำต้นกันต้นโยก


การดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย
จะให้ปุ๋ยดาหลาประมาณ 2 - 3 เดือนต่อครั้ง ซึ่งจะใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ (16-16-16) ในอัตรา 96 กก./ไร่/ปี และให้ปุ๋ยคอกในอัตรา 15 กก./ต้น/ปี นอกจากนี้อาจใช้อินทรีย์วัสถุที่ผุพังแล้ว เช่น ใบไม้ต่าง ๆ หรือลำต้นแก่ของดาหลา, วัชพืชที่ขึ้นตามท้องร่อง มาเป็นปุ๋ยหมัก หรืออาจใช้ดินเลนจากท้องร่องพูนใส่ตามโค้นต้น ซึ่งดินแลนนี้จะมีอินทรีย์วัตถุสูง

การให้น้ำ
ดาหลาเป็นพืชที่ต้องการน้ำในปริมาณที่มากพอสมควร โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรกของการปลูก ควรรดน้ำให้ชุ่ม โดยใช้แครงสาดวันละ 1 ครั้ง เมื่อต้นดาหลาตั้งตัวได้อาจเว้นระยะห่างของการให้น้ำจากวันละครั้งออกไปเป็นประมาณ 2-3 วันต่อครั้ง แต่ต้องคำนึงถึงสภาพอากาศ ถ้าเป็นฤดูร้อนควรเพิ่มการให้น้ำมากขึ้นโดยใช้ระบบการให้น้ำแบบพ่นฝอย (springkler) บนแปลงที่ไม่ยกร่อง

การป้องกันกำจัดวัชพืช
ดาหลาเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตเร็ว แตกหน่อได้มาก ทำให้กอแน่นใบบังแสงซึ่งกันและกัน การกำจัดวัชพืชจะต้องกระทำมากในช่วงแรกของการปลูก เมื่อดาหลาโตมาก ๆ จะทำให้แสงที่ส่องผ่านมากระทบพื้นดินน้อย วัชพืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จึงไม่ต้องทำการกำจัดวัชพืชมากนัก


การเก็บเกี่ยว
ดอกดาหลาที่มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้มีอายุประมาณ 2 อาทิตย์ นับตั้งแต่เริ่มแทงหน่อดอก ตัดดอกในช่วงเช้าโดยการตัดก้านดอกให้ยาวชิดโคนต้น แล้วแช่ก้านดอกลงในถังที่มีน้ำบรรจุอยู่


การปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว
ดอกดาหลาที่ตัดมาแล้วจะนำมาแช่ในน้ำสะอาด เพื่อป้องกันการเหี่ยวใช้ถุงพลาสติกใส่ห่อดอกแต่ละดอก เพื่อป้องกันไม่ให้กลีบดอกห้อยและช้ำ จากนั้นจึงนำถังที่บรรจุดอกไม้ขึ้นไปส่งให้แก่พ่อค้า


อายุการปักแจกัน
ดอกดาหลาเมื่อตัดจากต้นแล้วนำมาปกแจกันในน้ำสะอาจจะมีอายุอยู่ได้ ประมาณ 3 - 7 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมโดยรอบ



ต้นทุนการผลิตต่อไร่
ต้นทุนการผลิตดาหลาเบื้องต้นโดยทั่วไปจะมาจากค่าใช้จ่ายตามรายละเอียดดังนี้


1. ค่าหน่อพันธุ์ต่อไร่ ในปีแรก (หน่อละ 100) 32,000 บาท
2. ค่าเตรียมดินไร่ละ 1,000 บาท
3. ค่าแรง 3,200 บาท
4. ค่าปุ๋ยคอก 2,000 บาท
5. ค่าปุ๋ยเคมี 800 บาท
6. ค่าสารเคมี 1,500 บาท
รวม 40,500 บาท



ผลผลิต
ผลผลิตที่เกษรตกรจะได้รับมีดังต่อไปนี้

ปริมาณดอกต่อปี 32,000 ดอก
ปริมาณหน่อต่อปี (1 ต้นให้ 7 หน่อ) 2,240 บาท



การจำหน่ายผลผลิต
ส่งดอกดาหลาให้แก่ร้านดอกไม้ โรงแรมฯ หรือส่งขายให้กับพ่อค้าตลาดปากคลองตลาด


ราคาผลผลิต
ดอกดาหลามีราคาสูงหรือต่ำต่างกันขึ้นกับปัจจัยหลายด้าน เช่น แหล่งปลูกผู้รับซื้อ และผู้ปลูกเอง ดอกดาาหลามีราคาตั้งแต่ 8-50 บาทต่อดอก นอกจากนี้ยังมีการขายหน่อพันธุ์ซึ่งราคาขายก็ต่างกัน เช่นเดียวกับดอก คืออยู่ในช่วง 50 - 300 บาทต่อหน่อ

ปัจจุบันราคาหน่อพันธุ์ดาหลายังคงสูงอยู่ เกษตรกรผู้ปลูกดาหลาปัจจุบันจึงได้รายได้จากการขายหน่อพันธุ์ด้วย แต่เนื่องจากดาหลาขยายพันธุ์ได้ไม่ยากนัก และมีเกษตรกรบางรายขยายพันธุ์ดาหลาโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จึงคาดว่าต่อราคาพันธุ์จะต่ำลง และมีการขยายพื้นที่ปลูกเป็นการค้าเพื่อการตัดดอกมากขึ้น

การตลาดในปัจจุบันเป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกรผู้ปลูกดาหลา เพราะเกษตรกรขาดข้อมูลเรื่องความต้องการของตลาด ทำให้ขาดความมั่นใจในการลงทุน ดังนั้นเกษตรที่ประสพผลสำเร็จในการปลูกดาหลาในปัจจุบันจึงเป็นเกษตรกรที่มีการโฆษณาตนเอง และสามารถหาตลาดได้เอง


โรคและแมลง
ยังไม่พบโรคที่เป็นปัญหาสำคัญกับดาหลา แต่มีแมลงสำคัญดังนี้

หนอนเจาะลำต้น
ลักษณะการทำลาย เข้าทำลายต้นแก่ โดยไปเจาะบริเวณลำต้น ทำให้ต้นดาหลาหยุดชะงักการเจริญเติบโต และไม่สามารถให้ออกดอกได้
การป้องกันกำจัด ใช้ฟูราดาน 3% โรยบริเวณรอบ ๆ โค้นต้น หรืออาจใช้เซฟวิน

มดแดง
ลักษณะการทำลาย กรดจากสิ่งขับถ่ายของมดแดงจะทำให้กีบดอกเกิดรอยขาวเป็นจุด ๆ
การป้องกันกำจัด เก็บรังมดแดงออกจากต้น และใช้ย่าฆ่ามด



ที่มา  :  กองส่งเสริมพืชสวน  กรมส่งเสริมการเกษตร










สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2417 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©