-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 460 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้ดอก-ไม้ประดับ







สาธิณี จองเดิน โทร. (081) 496-9307

อะโกลนีมา ไม้ประดับที่ยังไม่โรยรา

ย้อนหลังกลับไปเมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว ที่นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ได้ไปสัมภาษณ์ คุณลุงสุเมธ วิริยกิจ เกี่ยวกับอะโกลนีมา ไม้ประดับที่ได้รับความนิยมและมีราคาการซื้อขายที่สูง จากวันนั้นเมื่อเทียบกับปัจจุบันในตอนนี้ พบว่า ราคาของอะโกลนีมาไม่ได้โดดเด่นหรือมีราคาสูงมาก เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา นั่นแสดงให้เห็นว่าคงเกิดอะไรบางอย่างขึ้น ที่มีผลทำให้ราคาของอะโกลนีมามีการเปลี่ยนแปลงไป และแม้ว่าราคาของอะโกลนีมาจะเปลี่ยนไปนั้น แต่ความเป็นอะโกลนีมายังอยู่ ยังอยู่รอนักพัฒนาพันธุ์ นักผสมพันธุ์ที่หลงใหลในการสร้างความแปลกใหม่ให้กับอะโกลนีมา

ผู้ปลูก...อะโกลนีมา ไม่โรยรา
ในวันนี้ผู้ให้สัมภาษณ์ก็ยังเป็น คุณลุงสุเมธ วิริยกิจ ผู้ที่ยังคงให้ความสนใจกับอะโกลนีมา และยังยินดีให้สัมภาษณ์ด้วยอารมณ์ที่เป็นมิตรเช่นเดิม ซึ่งไม่ต่างไปจาก 4 ปีที่แล้วเลย ที่เราเคยคุยกันเกี่ยวกับเรื่องของอะโกลนีมา ครั้งนี้ที่เราเจอคุณลุงสุเมธนั้น คุณลุงสุเมธยังได้ทำหน้าที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินการประกวดอะโกลนีมา ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ คือสำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี ในงานส่งเสริมการตลาดไม้ดอกไม้ประดับอำเภอนนทบุรี ปี 2553

ทำไม อะโกลนีมา ยังได้รับความนิยม
แม้ว่าราคาของอะโกลนีมาในตลาดจะลดลง จากต้นไม้ที่เคยมีราคาในหลักพัน หลักหมื่น จนกลายมาเป็นราคาในหลักสิบ เพียงต้นละ 30-50 บาท แต่ยังมีผู้ให้ความสนใจอะโกลนีมาอยู่

คุณลุงสุเมธ บอกว่า ?ที่ อะโกลนีมา ยังคงได้รับความนิยมนั้น เพราะความสวยในตัวของมันยังคงมีอยู่ การที่อะโกลนีมามีราคาในตอนแรกสูงสุด จนลดต่ำลงมา ก็เหมือนการเล่นหุ้น เป็นธรรมดาที่ช่วงแรกราคาย่อมสูง?

นอกจากนี้ คุณลุงสุเมธ ยังได้บอกไว้อีกด้วยว่า ?แต่การที่อะโกลนีมาจะกลับมามีราคาอีกนั้น ไม่ใช่เรื่องยาก เนื่องจากสายตาของคน 1 คน ในการที่จะตัดสินนั้น เป็นความรู้สึกส่วนตัว จากไม้ที่เคยถูกมองว่า ไม่สวย แต่มาในวันหนึ่งมีสายตาบางสายตากลับมองว่ามันสวย สิ่งที่เคยไม่สวย จะกลับมาสวยอีกครั้ง กลับมาเด่นอีกครั้ง ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้?

ดังนั้น การที่ต้นไม้จะกลับมามีราคาสูงขึ้นนั้น สายตาของคนก็มีส่วนเช่นกัน!!!! เพราะแต่ละคนชอบไม่เหมือนกัน

คุณลุงสุเมธ ยังได้แนะนำให้รู้จักกับผู้รู้ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการของอะโกลนีมา อีก 2 ท่าน คือ คุณปัญญา นิ่มสมบุญ และ คุณสัมพันธ์ วรรณวงศ์ ทั้ง 2 ท่านนี้ เป็นสมาชิกชมรมแก้วกาญจนาหรืออะโกลนีมา ที่อยู่กับอะโกลนีมามานาน ทั้ง 2 ท่าน ได้ผลัดกันเล่าให้ฟังว่า แรกเริ่มเดิมที อะโกลนีมาเริ่มเป็นที่รู้จักในช่วงประมาณปี 2538 มาบูมสุดๆ ในช่วงปี 2549-2550 และก็ลดความแรงลงเรื่อยมา ทั้งจากในตลาดของบ้านเราเอง และจากที่เคยส่งออกไม้ประดับชนิดนี้ไปยังตลาดของประเทศอินโดนีเซียจำนวนมากก็เริ่มน้อยลง เนื่องจากพิษของภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศไทยนั่นเอง ทำให้ทั้ง 2 ท่าน เริ่มที่จะต้องมองหาไม้ประดับตัวอื่นๆ ที่หายากและราคาสูงเพื่อมาแทน แต่เมื่อถามว่าคิดที่จะเลิกปลูกอะโกลนีมาไปเลยหรือไม่นั้น ทั้ง 2 ท่าน ก็ให้คำตอบที่คล้ายกันว่า คงไม่ เนื่องจากอะโกลนีมายังคงมีเสน่ห์ น่าเล่น และสามารถที่จะพัฒนาไปตลอดได้

สร้างกำลังใจและแรงกระตุ้นด้วยการประกวด
จากความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ อย่างสำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี ก่อให้เกิดงานส่งเสริมการตลาดไม้ดอกไม้ประดับอำเภอนนทบุรี ปี 2553 ณ ศูนย์ไม้ดอกไม้ประดับซอยช้าง ตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยภายในงานได้จัดให้มีกิจกรรมการประกวดไม้ดอกไม้ประดับขึ้น เพื่อเป็นทางหนึ่งในการช่วยเหลือให้กับกลุ่มผู้ผลิตไม้ดอกไม้ประดับมีโอกาสแสดงศักยภาพสินค้าไม้ดอกไม้ประดับ ที่มีคุณภาพออกสู่สายตาสาธารณชน และยังเป็นประโยชน์อีกทางหนึ่งให้กับกลุ่มผู้ผลิตที่จะได้รับรู้รับทราบความต้องการของผู้บริโภค เพื่อนำไปวางแผนการผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดให้มากขึ้น

ซึ่งสำหรับไม้ประดับอย่างอะโกลนีมาได้แบ่งประเภทของการประกวดออกเป็น 8 ประเภท คือ
1. ลูกผสมโคชินและชาววัง (ชมพู, แดง) แบบเดี่ยว
2. ลูกผสมโคชินและชาววัง (ชมพู, แดง) แบบกอ
3. ลูกผสมโพธิสัตว์ โพธิ์น้ำเงินและชาววัง แบบกอ
4. ใบปื้น ใบจุด (ชมพู, แดง) แบบเดี่ยว
5. ใบปื้น ใบจุด (ชมพู, แดง) แบบกอ
6. ลูกผสมไม้ใหม่ มีเมล็ด มีสี (ไม่ต่ำกว่า 10 ใบ)

- ประเภทรวม (ขาว เขียว น้ำตาล) แบบเดี่ยว
- ประเภทรวม (ขาว เขียว น้ำตาล) แบบกอ

สาเหตุที่ยังทำให้อะโกลนีมามีการพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่องนั้น การสร้างแรงจูงใจในการประกวดก็เป็นสิ่งหนึ่งที่คอยขับเคลื่อนให้กับผู้ปลูก ผู้พัฒนาพันธุ์ ไม่ให้ถอดใจจากอะโกลนีมาไป การจัดประกวดอะโกลนีมา ในงานส่งเสริมการตลาดไม้ดอกไม้ประดับ อำเภอเมืองนนทบุรี ปี 2553 นี้ มีผู้ให้ความสนใจส่งไม้ใบประดับอะโกลนีมาเข้ามาประกวดหลายสายพันธุ์ นอกจากนี้ ก็ยังมีอะโกลนีมาสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่เพิ่งพัฒนาจากสายพันธุ์แท้อีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นได้อีกอย่างหนึ่งว่า ยังมีผู้ที่สนใจอะโกลนีมากันอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว

แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงจากสาเหตุหลายๆ อย่าง ทำให้อะโกลนีมาไม้ใบเหล่านี้ มีแนวโน้มว่า อาจจะไม่กลับมาโดดเด่นเหมือนหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ยืนยันว่าไม้ประดับชนิดนี้จะหายไปจากวงการ แม้ว่าผู้ที่เคยริเริ่มปลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงไป ให้ความสนใจกับพืชประดับชนิดอื่นแทนอะโกลนีมาบ้าง แต่เกษตรกรผู้ปลูกเหล่านี้ก็ไม่ได้คิดที่จะปล่อยหรือทิ้งอะโกลนีมาไป เพราะมันยังมีเสน่ห์ที่น่าหลงใหลให้แก่นักพัฒนาพันธุ์ที่ยังจะสร้างพันธุ์ใหม่ได้อยู่เรื่อยๆ จึงบอกไม่ได้เลยว่าจะถึงเวลาสิ้นสุดของอะโกลนีมาเมื่อใด

อะโกลนีมา จึงยังคงเป็นไม้ประดับที่ยังไม่โรยรา


ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน





คำมอกหลวงพม่า

หลายคน สงสัยว่าต้น "คำมอกหลวงพม่า" ที่มีวางขายในตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ มีป้ายชื่อพร้อมรูปของดอกติดไว้ให้ชมเป็นต้นเดียวกับ พุดนา หรือไม่ เพราะผู้ขายบอกว่าเป็นไม้ยืนต้นเหมือนกัน แต่เมื่อดูรูปทรงของดอก จำนวนของกลีบดอก และใบแล้ว ขอยืนยันว่าไม่ใช่ต้นเดียวกันอย่างแน่นอน เนื่องจากกลีบดอกของ พุดนาจะมีกลีบดอกจำนวน 5 กลีบ ส่วนกลีบดอกของ "คำมอกหลวงพม่า" จะมี 7 กลีบ และผู้ขายยังบอกว่า ดอกของ "คำมอกหลวงพม่า" บางดอกยัง สามารถมีกลีบดอกได้ถึง 12 กลีบ ด้วย จึงแตกต่างกันอย่างชัดเจน รูปทรงของกลีบดอกก็ไม่เหมือนกัน ที่สำคัญดอกของ "คำ-มอกหลวงพม่า" จะมีขนาดใหญ่กว่ามาก จึงเป็นคนละต้นกับพุดนา แน่นอน

อย่างไรก็ตาม จากลักษณะและรูปทรงของกลีบดอก พร้อมจำนวนของกลีบดอกที่มีหลายกลีบทำให้ดู คล้ายกับดอกพุดน้ำบุตรมาก หลายคนจึงคิดว่าอาจเป็นต้นเดียวกันก็ได้ ซึ่งก็ยิ่งไม่ใช่อย่างเด็ดขาด เพราะพุด-น้ำบุตรเป็นไม้พุ่ม ต้นสูงเพียง 2-3 เมตร เท่านั้น แม้จะมีจำนวนของกลีบดอกจำนวนมากเหมือนกันก็ตาม แต่รูปทรงของกลีบดอกจะต่างกันอย่างชัดเจน จึงเป็นคนละต้นอีกแน่นอน

คำมอกหลวงพม่า อยู่ในวงศ์เดียวกับคำมอกหลวงของไทย คือ RUBIACEAE มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มกว้าง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม เป็นรูปรี ปลายแหลม โคนสอบป้านลึก ใบมีขนาดใหญ่ หน้าใบเป็นสีเขียวสด หลังใบเป็นสีเขียวหม่น และเส้นแขนงใบนูนเห็นชัดเจน

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆตามซอกใบ ลักษณะดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดสั้นกว่าโคนกลีบดอกของพุดนา ซึ่งจะยาวกว่ามาก ปลายแยกเป็นกลีบดอกจำนวน 7 กลีบ แยกเป็นอิสระกัน บางดอกผู้ขายแจ้งว่า สามารถ มีกลีบดอกได้ถึง 12 กลีบ รูปทรงของกลีบดอก โคนเรียวป้าน ปลายกลีบรูปกลมรีคล้ายรูปช้อน เนื้อกลีบดอกค่อนข้างหนาและแข็ง เมื่อแรกบานจะเป็นสีขาวนวลแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด ใจกลางดอกมีเกสรตัวผู้ 6 อัน เป็นสีน้ำตาลแดง ดอกมีกลิ่นหอมแรง ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดใหญ่กว่าดอกพุดนา หรือคำมอกหลวงของไทยเยอะ ทำให้เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น แต่ละดอกมีกลีบดอกมากน้อยไม่ เท่ากันดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ประทับใจมาก "ผล" เป็นรูปกระสวย มีเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และเสียบยอด มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 แผง "คุณพร้อมพันธุ์" ราคาสอบถามกันเองครับ.

"นายเกษตร"



ที่มา  :  ไทยรัฐ










สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2777 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©