-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 597 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้ดอก-ไม้ประดับ








การปลูกไม้ดอกกระถางคล้ายคลึงกับการปลูกไม้กระถางทั่วไป โดยต้องคำนึงถึงหัวข้อต่อไปนี้

(1) เมล็ดพันธุ์ (2) กระถาง (3) การเพาะเมล็ด (4) การย้ายกล้า
(5) การย้ายปลูกลงกระถาง (6) การเด็ดยอด (7) การให้น้ำ (8) การให้ปุ๋ย
(9) การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช (10) การใช้สารชลอการเจริญเติบโต
(11) โรคของไม้ดอกกระถาง (12) การปฏิบัติเพื่อให้มีอายุใช้งานได้นา




เมล็ดพันธํ :
  1. ควรเป็นพันธุ์เหมาะสมที่จะปลูกในประเทศไทย คือเป็นพันธุ์ไม้ดอกเมืองร้อน เช่น ดาวเรือง, บานชื่น, สร้อยไก่, ดาวกระจาย และรักแรก เป็นต้น ถ้าต้องการปลูกไม้ดอกเมืองหนาวต้องคัดเลือกพันธุ์ที่ทนร้อน เช่น ผีเสี้อ สายพันธุ์เทลสตาร์ (Telstar) เป็นต้น  
2. ควรเป็นพันธุ์เตี้ย เพื่อให้เหมาะกับการปลูกเป็นไม้กระถาง ความสูงวัดจากผิวหน้าเครื่องปลูก อยู่ระหว่าง 30 ถึง 50 ซม.
3. ควรเป็นพันธุ์ดี คือ ทนทานต่อโรคและแมลง, ขนาดและสีดอกตรงตามพันธุ์, เปอร์เซ็นต์การงอกดี (มากกว่า 80% ขึ้นไป) ราคาพอสมควร และหาซื้อได้ง่าย
ตัวอย่างพันธุ์ไม้ดอกกระถางที่นิยมปลูก เช่น บานชื่น สายพันธุ์ดรีมแลนด์ (Dreamland), ผีเสี้อ สายพันธุ์เทลสตาร์ (Telstar), พังพวย สายพันธุ์คูเลอร์ (Cooler) และดาวกระจาย สายพันธุ์ซันนี่ (Lady bird) เป็นต้น ในแต่ละสายพันธุ์ยังมีสีต่าง ๆ ให้เลือก เช่น สีเหลือง, สีทอง, สีแดง, สีส้ม, สีม่วง, สีชมพู และแบบ Mixed คือแบบคละสีในซองเดียวกันก็มี แต่บางสายพันธุ์มีสีให้เลือกเฉพาะบางสีเท่านั้น



กระถาง
1. กระถางดินเผา
 
มีข้อดีคือดูเป็นธรรมชาติ, แข็งแรง, มีน้ำหนักทำให้ไม่ล้มง่าย และทำให้รากได้รับอากาศและเย็นกว่ากระถางพลาสติกเพราะกระถางดินเผามีรูพรุนขนาดเล็กมากมาย เมื่อน้ำระเหยออกจากรูเหล่านี้จะทำให้กระถางเย็นลง ข้อเสียคือแตกง่าย, มักมีตะใคร่น้ำขึ้นที่ผิวกระถางทำให้ดูไม่สวยและเสียแรงงานขนย้ายมากเนื่องจากความหนักของกระถาง
  2. กระถางเคลือบ
คุณสมบัติคล้ายกับกระถางดินเผา แต่จะมีสีและลวดลายให้เลือกมาก และไม่มีตะไคร่น้ำขึ้นที่ผิวกระถาง แต่การระบายความร้อนและอากาศจะน้อยลง เพราะที่ผิวกระถางถูกเคลือบไว้
3. กระถางพลาสติก
มีน้ำหนักเบา ราคาพอสมควรมีให้เลือกหลายสี เก็บรักษาน้ำได้ดีกว่ากระถางดินเผา ทำให้ลดระยะเวลาการให้น้ำลง ในปัจจุบันยังไม่มีการทำลายที่กระถาง


เมล็ดพันธุ์ :
เมล็ดไม้ดอกส่วนมากมีขนาดเล็ก (เล็กกว่า 1 ซม.) พวกที่เมล็ดมีขนาดพอจับต้องได้ไม่เล็กมาก ได้แก่ เมล็ดดาวเรือง, ดาวกระจาย, บานชื่น ฯ ส่วนพวกที่มีขนาดเล็ก เช่น เมล็ดหงอนไก่, แอสเตอร์, เวอร์บีน่า ฯ ส่วนเมล็ดที่มีขนาดเล็กมาก เช่น เมล็ดพิทูเนีย, โลบีเลีย, ฤาษีผสม, กล็อกซิเนีย ฯ
หลักการเพาะเมล็ด
ให้กลบเมล็ดหนา 2 เท่าของความหนาของเมล็ด และหว่านหรือโรยเมล็ดโดยไม่ให้เมล็ดทับกัน โดยให้เมล็ดนอนตามธรรมชาติ
วัสดุเพาะ 
ควรมีคุณสมบัติ เบา, โปร่ง, สะอาด, อุ้มน้ำได้ดีพอสมควร เช่น ทรายหยาบ (เลือกทรายก่อสร้าง ไม่ควรใช้ทรายขี้เป็ด) ร่อน 1 ส่วน, ขุยมะพร้าวร่อน 1 ส่วน โดยปริมาตร ผสมคลุกให้เข้ากันในขณะที่แห้ง เมื่อเข้าเป็นเนื้อเดียวกันแล้วจึงพรมน้ำเล็กน้อย คลุกใหม่อีกครั้งให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ใช้มือสัมผัสวัสดุเพาะ ถ้ารู้สึกเย็นมือหรือเมื่อกำแล้วจับเป็นก้อนได้แต่จะแตกออกได้ง่ายเมื่อสัมผัส แสดงว่าใช้ได้ แต่ถ้ายังไม่เย็นมือให้พรมน้ำและคลุกใหม่อีก ทำเช่นนี้เรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ความรู้สึกเย็นมือเมื่อสัมผัส ถ้าไม่มีวัสดุเพาะดังกล่าวให้เลือกใช้วัสดุอื่นได้ เช่น ทราย + ถ่านแกลบ หรือ ขุยมะพร้าว + ถ่านแกลบ เป็นต้น ในต่างประเทศนิยมใช้ พีชมอส, เวอร์มิคูไลท์ หรือทั้ง 2 อย่างผสมกัน
ภาชนะเพาะเมล็ด
อาจใช้ตระกร้าพลาสติกสี่เหลี่ยมแบบที่ขอบตระกร้าทั้งสี่ด้านและที่พื้นเป็นตระแกรง มีขนาดของช่องประมาณ 3 ถึง 5 มิลลิเมตร ส่วนขนาดตระกร้าไม่จำกัด แล้วแต่จำนวนเมล็ดและความสะดวก หรืออาจใช้กระถางปากกว้างทรงเตี้ยหรือภาชนะอื่นๆ แทน ถ้าใช้ตระกร้าพลาสติกสี่เหลี่ยม ให้ตัดกระดาษหนังสือพิมพ์ (เลือกใช้เฉพาะที่ซึมน้ำได้ง่าย) 5 ชิ้น โดย 4 ชิ้น จะตัดให้มีขนาดเท่ากับภายในด้านข้างทั้งสี่ของตระกร้า ส่วนอีก 1 ชิ้น ตัดให้พอดีกับก้นตระกร้าด้านใน กระดาษแต่ละชิ้นต้องไม่เลื่อมกันหรือเป็นผืนเดียวกัน นำวัสดุเพาะที่ทำให้ชื้นแล้วใส่ลงในตระกร้า โดยใส่ที่มุมทั้งสี่ก่อน ใส่วัสดุเพาะให้สูงประมาณ 3 ส่วน 4 ของความสูงสองตระกร้า แล้วเกลี่ยผิวหน้าวัสดุเพาะในตระกร้าให้เรียบ ได้ระดับขนาดกับขอบตระกร้า เพื่อให้ผิวหน้าวัสดุปลูกเก็บความชื้นได้สม่ำเสมอ ทำร่องที่วัสดุเพาะ แต่ละร่องห่างกันประมาณ 1.5 นิ้ว ทำร่องเป็นลักษณะตัววี ปากกว้าง ความลึกแล้วแต่ขนาดเมล็ด คือร่องต้องลึกประมาณ 2 เท่าของความหนาของเมล็ดที่จะเพาะ โรยเมล็ดลงในร่อง ๆ ละ 1 ชนิด ถ้าเมล็ดมีความงอกดีให้โรยเมล็ดห่างกว่าเมล็ดที่มีความงอกไม่ดี เพราะถ้าโรยเมล็ดมากเกินไป ต้นกล้าจะงอกขึ้นมาเบียดเสียดกัน จะทำให้การระบายอากาศไม่ดี เกิดโรคโคนเน่าได้ง่าย และต้นกล้าจะผอมและยืด ซึ่งเป็นลักษณะต้นกล้าที่ไม่ดี เขียนชื่อพันธุ์และวันที่ที่เพาะลงที่ป้ายชื่อและปักไว้ที่หัวร่องทุกร่องเพื่อกันลืม ต่อไปให้กลบเมล็ด โดยปาดดินจากขอบร่องทั้งสองข้างกลบร่อง และเกลี่ยผิวหน้าวัสดุเพาะให้เรียบและได้ระดับเช่นเดิม แต่ระวังไม่ให้เมล็ดโผล่ขึ้นมา จากนั้น ตัดกระดาษให้มีขนาดเท่ากับผิวด้านบนวัสดุเพาะแล้วปิดทับด้านบน
การรดน้ำตระกร้าเพาะเมล็ด
ทำได้ 2 วิธี จะใช้วิธีใดก็ได้ คือ 1) ใช้บัวฝอยละเอียดรดไปมา พอน้ำเริ่มท่วมผิวหน้าวัสดุเพาะให้หยุด รอจนน้ำซึมลงไปแล้วจึงรดอีก ทำเช่นนี้สัก 2 ถึง 3 ครั้ง แล้วยกตระกร้า ถ้าตระกร้ายังเบาให้รดน้ำอีกแล้วยกใหม่ ทำเช่นนี้เรื่อย ๆ จนกว่ารู้สึกว่าตระกร้าหนักพอเหมาะจึงหยุดรดน้ำ ปิดผิวหน้าด้วยกระดาษที่เตรียมไว้แล้วโปรยน้ำพอกระดาษเปียก 2) ปิดผิวหน้าด้วยกระดาษที่เตรียมไว้ แล้วใช้บัวฝอยละเอียดรดไปมา เมื่อน้ำเริ่มท่วมกระดาษให้หยุดรด รอจนน้ำซึมลงไปก่อนจึงรดต่อ ทำเช่นนี้ 2 ถึง 3 ครั้ง แล้วแยกตระกร้าเช่นเดียวกับข้อ 1.) ถ้ายังเบาให้รดอีก ถ้าหนักแล้วจึงหยุด
วางตระกร้าบนที่ราบเรียบและได้ระดับน้ำ และควรวางบนโต๊ะ สูงจากพื้นดินอย่างน้อย 50 ซม. ไม่ควรวางที่พื้นโดยตรง เมื่อกระดาษที่ปิดอยู่ด้านบนเริ่มแห้งให้เปิดกระดาษเพื่อดูว่าผิวหน้าวัสดุปลูกยังเปียกหรือชื้นอยู่ให้โปรยน้ำที่กระดาษพอให้เปียก แต่ถ้าผิวหน้าวัสดุปลูกแห้ง ต้องรดน้ำที่วัสดุปลูกให้เปียกดีก่อนปิดด้วยกระดาษแล้วจึงรดให้กระดาษเปียก ถ้าเพาะโดยใช้กระถางปากกว้างทรงเตี้ย วิธีเพาะคล้ายคลึงกัน ต่างกันที่ไม่ต้องตัดกระดาษ 5 ชิ้น เพียงตัดแค่ชิ้นเดียวเพื่อปิดด้านบนเท่านั้น แต่ที่สำคัญคือต้องเอาเศษกระถางแตกวางคว่ำปิดรูระบายน้ำที่ก้นกระถาง แล้วปิดทับด้วยใยมะพร้าวหนาประมาณ 1 ซม. เพื่อกันวัสดุเพาะไหลออกทางรูก้นกระถาง
ในกรณีที่เมล็ดมีขนาดเล็กมาก เช่น เมล็ดพิทูเนีย จะนำเมล็ดมาคลุกกับทรายละเอียด ประมาณ 1 ช้อนชาก่อน แล้วหว่านทั่วผิวหน้าวัสดุเพาะที่ชื้น แล้วจึงนำตระกร้าหรือกระถางวางบนจานรองที่มีน้ำอยู่พอสมควร ปล่อยให้น้ำซึมขึ้นจนผิวหน้าวัสดุเพาะเปียกจึงยกกระถางออกจากจานรอง แล้วปิดปากกระบะหรือกระถางด้วยแผ่นกระจกใสหรือพลาสติกใส เพื่อรักษาความชื้นให้สม่ำเสมอ แต่ต้องเผยอกระจกขึ้นบ้างเพื่อไม่ให้อากาศภายในร้อนและอบจนเกินไป นำกระบะหรือกระถางไปวางในที่แสงรำไร เมื่อเมล็ดนั้นต้องการแสงในการงอก เช่น เมล็ดพิทูเนีย แต่ถ้าเมล็ดบางชนิดงอกดีในที่มืด เช่น เมล็ดพังพวย ให้นำกระบะหรือกระถางไปไว้ในที่มืด หรือใช้ผ้าหรือพลาสติกสีดำคลุมกันแสง เมื่อกล้าเริ่มงอกแล้วต้องรีบนำกระบะเพาะหรือกระถางไปไว้ในที่ได้แสงมากขึ้น มิฉะนั้นกล้าจะยืด เมื่อด้านบนของวัสดุเพาะเริ่มแห้งให้นำไปวางบนจานรองที่มีน้ำอยู่เหมือนครั้งแรกตอนเพาะเมล็ด เมื่อกล้ามีใบจริง 2 ถึง 4 ใบ สามารถย้ายปลูกได้

 
การย้ายกล้า
ก่อนย้ายกล้า ควรงดน้ำกล้าก่อน 1 วัน หรือให้วัสดุเพาะแห้งหมาด ๆ เพื่อให้กล้าแกร่งทนต่อการบอบช้ำระหว่างการย้ายกล้า และต้นกล้าทั่วไปควรมีใบเลี้ยงกางเต็มที่ หรือใบจริงคู่แรกเริ่มโผ่ลให้เห็น ซึ่งกล้าจะมีอายุประมาณ 7 ถึง 10 วัน แต่ยกเว้นไม้ดอกบางชนิดควรรอให้มีใบจริงคู่แรกก่อน เช่น เยอร์บีร่า, ผีเสื้อ และพิทูเนีย
วัสดุที่ใช้ย้ายกล้า
อาจใช้วัสดุเพาะกล้าก็ได้ หรืออาจผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า (ซึ่งปุ๋ยทั้งสองต้องแห้ง และร่อนให้มีขนาดเดียวกับวัสดุเพาะ) ลงไปประมาณ 1 ใน 10 ส่วนของวัสดุเพาะ เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับวัสดุย้ายกล้า หรืออาจใช้ปุ๋ยละลายช้าใส่ลงในวัสดุย้ายกล้า ประมาณ 2 ถึง 4 เมล็ดต่อต้นกล้า 1 ต้น แทนการใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า
กระถางหรือถุงที่ใช้ย้ายกล้า
ไม่ควรใหญ่เกินไป โดยทั่วไปเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ควรเกิน 3 นิ้ว นำวัสดุย้ายกล้าใส่กระถางหรือถุง โดยใส่แค่ถึงปากถุงหรือกระถาง แล้วตบกระถางหรือถุงเบา ๆ วัสดุปลูกจะยุบตัวลงเล็กน้อย

วิธีย้ายกล้า :
มือซ้ายใช้หัวแม่มือและนิ้วชี้จับใบเลี้ยงใบหนึ่ง ขณะที่มือขวาจับเศษไม้หรือดินสอซึ่งปลายได้เหลาไว้แล้วแต่ไม่แหลมมาก มือขวาจับดินสอแทงลงในวัสดุเพาะข้าง ๆ ต้นกล้าเพื่อทำให้วัสดุเพาะหลวม ในขณะที่มือซ้ายค่อย ๆ ดึงต้นกล้าขึ้นมา เมื่อได้ต้นกล้าแล้วใช้มือขวาจัดดินสอแทงลงกึ่งกลางถุงเพาะซึ่งใส่วัสดุย้ายกล้าไว้แล้ว โดยแทงให้ถึงก้นถุง แล้วยกดินสอขึ้น มือซ้ายนำต้นกล้าวางบนหลุมให้ส่วนต่อระหว่างต้นกับรากอยู่บนปากหลุม มือขวาจับดินสอโดยให้ปลายดินสอกดดันต้นกล้าลงในหลุม ส่วนของรากและลำต้นจะลงไปพร้อม ๆ กัน
เมื่อใบเลี้ยงอยู่ระดับผิววัสดุย้ายกล้า ถ้ามีรากบางส่วนที่ยังไม่ลงในหลุมให้ใช้ดินสอดันรากเหล่านั้นลงไป และดันวัสดุย้ายกล้าลงกลบหลุม รดน้ำด้วยบัวฝอยละเอียดไปมาจนน้ำไหลออกก้นถุงหรือก้นกระถาง นำถุงกล้าไปไว้ในที่รำไร 1 วัน เมื่อกล้าตั้งตัวได้ให้รีบนำออกแดดมิฉะนั้นกล้าจะยืด โดยทั่วไปอีกประมาณ 2 สัปดาห์กล้าจะมีใบจริงประมาณ 4 ถึง 6 ใบ ซึ่งพร้อมสำหรับการย้ายลงปลูกลงกระถางที่ใหญ่ขึ้น



การย้ายกล้า
กระถาง
มีขนาดตั้งแต่ 6 ถึง 12 นิ้ว แล้วแต่ชนิดและจำนวนกล้าที่จะปลูก โดยทั่วไปถ้าปลูกต้นเดียวมักใช้กระถางขนาด 6 ถึง 9 นิ้ว ดินผสม ดินผสมที่ใช้ย้ายปลูกลงกระถางควรเป็นดินผสมที่มีเนื้อดินจริง ๆ น้อยซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายสูตร ซึ่งแต่ละสูตรพอที่จะใช้แทนกันได้ เพียงขอให้เป็นสูตรที่มีดินจริง ๆ อยู่น้อย ถ้าใช้ไม่มากแนะนำให้ซื้อดินผสมสำเร็จรูปที่มีขายทั่วไป แต่ถ้าจะผสมใช้เองควรเลือกสูตรที่หาวัสดุได้ง่าย หรือดัดแปลงสูตรให้ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายแทน การย้ายปลูก
การย้ายปลูกเริ่มด้วยการนำเศษกระถางแตกวางคว่ำ ปิดรูก้นกระถางเพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุปลูกไหลออกทางรูก้นกระถาง ถ้าเป็นกระถางพลาสติกซึ่งมีรูที่ก้นกระถางมากอาจใส่วัสดุปลูกได้เลย ถ้าเป็นรูขนาดเล็ก แต่ถ้าเป็นรูขนาดใหญ่ให้ใช้ใยมะพร้าวที่เหลือจากการร่อนขุยมะพร้าว, มะพร้าวสับ, เปลือกถั่วลิสงหรือแกลบดิบรองก้นกระถางให้หนาประมาณ 1 นิ้วก่อน จากนั้นใส่วัสดุปลูกลงไปให้หนาประมาณ 1 นิ้ว ใส่ปุ๋ยเม็ดสูตรเสมอ เช่น สูตร 16-16-16 ลงบนวัสดุปลูก ประมาณกระถางละ 10 ถึง 15 เม็ด แล้วเอาวัสดุปลูกกลบปุ๋ยเม็ดให้สูงอย่างน้อย 1 นิ้ว นำกล้าออกจากถุงหรือกระถาง โดยพยายามให้รากขาดน้อยที่สุด นำกล้าวางบนวัสดุปลูกในกระถาง ให้ต้นตั้งตรงอยู่กลางกระถาง แล้วใส่วัสดุปลูกให้ถึงประมาณ 1 นิ้วจากปากกระถาง ถ้ากล้าต้นเตี้ย เมื่อกลบวัสดุปลูกอาจทับยอด ให้ขยับต้นกล้าขึ้นกะให้วัสดุปลูกอยู่ระดับเดียวกับใบเลี้ยง แต่ถ้ากล้าต้นสูงมาก ให้นำดินบริเวณรากของต้นกล้าออกบ้างเพื่อทำให้ต้นกล้าอยู่ต่ำลง ใช้นิ้วมือกดผิวด้านบนวัสดุปลูกเบา ๆ เพื่อให้วัสดุปลูกกระชับกับรากมากขึ้น รดน้ำด้วยบัวฝอย ให้น้ำท่วมผิวหน้าวัสดุปลูกประมาณ 1/2 นิ้วจึงหยุดรด รอให้น้ำซึมลงไปก่อนค่อยรดต่อ รดเช่นนี้จนกว่าน้ำไหลออกก้นกระถางจึงหยุดรด นำกระถางไปไว้ในที่รำไรประมาณ 1 ถึง 2 วัน จึงค่อยนำออกแดดเต็มที่ การรดน้ำครั้งต่อไปจะรดเมื่อผิวหน้าวัสดุปลูกเริ่มแห้ง ถ้ารดด้วยสายยางให้เปิดน้ำเบา ๆ ให้ปลายสายยางอยู่ใกล้ปากกระถาง แล้วรดแบบวนไปมารอบต้นกล้าเพื่อให้น้ำขังเหมือนการรดด้วยบัวรดน้ำ รอให้น้ำซึมลงไปก่อนค่อยรดอีก แต่ถ้าเริ่มเห็นน้ำไหลออกก้นกระถางให้หยุดรดได้ ไม่รดน้ำถูกดอกเพาะอาจทำให้ดอกช้ำหรือเน่าได้
หมายเหตุ
1. กองวัสดุที่เบาที่สุดไว้ชั้นล่างสุด และวัสดุที่หนักกว่าวางไว้ชั้นต่อไป
2. ต้องย่อยวัสดุทั้งหมดให้มีขนาดไล่เลี่ยกัน ใหญ่สุดไม่เกิน 3/4 นิ้ว
3. วัสดุทั้งหมดไม่ต้องร่อน
4. วัสดุทั้งหมดต้องแห้งหรือชื้นไม่เปียก
5. ต้องผสมแบบย้ายกอง ประมาณ 3 ถึง 4 ครั้ง
6. ควรผสมปูนมาร์ล, ปูนดิบ หรือปูนขาว ประมาณ 1/2 กก. และปุ๋ยเม็ดสูตรเสมอ เช่น สูตร16-16-16 ประมาณ 1/2 กก. ต่อดินผสมที่ผสมเสร็จแล้วในสภาพแห้ง 1 ลบม.
7. เมื่อผสมเสร็จในสภาพแห้งแล้ว ให้พรมน้ำและคลุกให้ชื้นหรือเย็นมือเหมือนผสมวัสดุเพาะ
8. ส่วนผสมข้างต้นไม่ตายตัว สามารถปรับเพิ่มหรือลดอัตราส่วนต่าง ๆ ได้ โดยมีหลักดังนี้ คือ ถ้าเป็นดินไม่ดี เช่น ดินเค็ม, ดินเปรี้ยว, ดินด่าง ไม่ควรใส่มาก ปุ๋ยหมักจะมีความเป็นด่าง ไม่ควรใส่มาก ปุ๋ยคอกสดไม่ควรใช้ถึงแม้จะตากแห้งแล้วก็ตาม เพราะมียูเรียและจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุโรคพืชอยู่มาก แกลบดิบถ้าเป็นแกลบใหม่ห้ามใส่มากเพราะเวลาสลายตัวจะใช้ธาตุไนโตรเจนมากทำให้พืชขาดธาตุไนโตรเจน
การให้น้ำ
การให้น้ำมีหลักคือ หลังจากย้ายกล้าหรือย้ายปลูกต้องรดน้ำให้มาก จนน้ำไหลออกก้นกระถาง จากนั้นจะไม่รดจนกว่าผิวหน้าวัสดุปลูกเริ่มแห้งหมาด ๆ จึงจะเริ่มรดน้ำอีก จนน้ำไหลออกก้นกระถาง การที่เหลือที่ว่างระหว่างปากกระถางถึงผิวเครื่องปลูกประมาณ 1 นิ้วเพราะต้องการให้เป็นที่เก็บน้ำตอนรดน้ำ น้ำจะค่อย ๆ ซึมลงยังก้นกระถางทำให้ ประหยัดเวลาในการรดน้ำ

การเด็ดยอด

ไม้ดอกส่วนมากควรจะเด็ดยอด เพื่อทำให้ต้นแตกพุ่มมากขึ้น, ออกดอกมากขึ้น, ดอกบานพร้อมกันทีละหลายดอก และความสูงของต้นลดลง จะเด็ดยอดเมื่อใดขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ปลูก เช่นเมื่อต้องการให้แตกกิ่งข้าง 4 กิ่ง ต้องเด็ดยอดให้เหลือใบจริง 4 ใบ หรือถ้าต้องการ 6 กิ่ง ต้องเด็ดให้เหลือใบจริง 6 ใบ การเด็ดยอดจะเด็ดขณะที่ต้นกล้ายังมีอายุน้อย คือ เริ่มมีใบจริงตามจำนวนที่ต้องการ
วิธีเด็ด ให้ใช้นิ้วทั้ง 4 ยกเว้นนิ้วก้อยของมือซ้ายหนีบใบคู่บนสุดที่จะเหลือไว้ ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือขวาจับที่โคนยอดของส่วนที่จะเด็ดออก แล้วค่อย ๆ ใช้มือขวาโน้มยอดลงจนยอดหักที่บริเวณข้อพอดี ควรเด็ดยอดในตอนเช้า เพราะเนื้อเยื่อพืชจะอวบน้ำเวลาเด็ดจะหักง่ายกว่าตอนสายหรือตอนบ่าย
 



แกลแลรี่ ไม้ดอก :
คลิก.
..
http://www.the-than.com/FLower/Flower-0.html









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (4231 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©